© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านหลังนี้เกิดจากความต้องการในการสร้างพื้นที่ที่ครอบครัวของพ่อแม่ และลูกๆทั้ง 3 คน จะได้อยู่รวมกันในพื้นที่ที่เรียกว่า บ้าน ได้อย่างลงตัว แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางเมืองในย่านพระราม 3 ทำให้การออกแบบนั้นต้องมีการคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย เพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อม ไปจนถึงการตอบสนองต่อบรรยากาศแห่งสุนทรียะที่ บ้าน หลังหนึ่งพึงจะมีให้กับผู้อยู่อาศัยได้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design #เฟอร์ฯเก่าในบ้านใหม่ โจทย์ข้อหนึ่งที่เป็นเหมือนคีย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้เลยก็คือ การที่เจ้าของบ้านมีความตั้งใจที่จะนำเอาเฟอร์นิเจอร์จากบ้านเดิมที่สะสมเอาไว้ตั้งแต่รุ่นตายายมาใช้ต่อในบ้านหลังนี้ บรรยากาศร่วมสมัยของเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้ม จึงทำให้การจัดวาง และเลือกใช้วัสดุภายในบ้านมีความสนใจมากขึ้นตามไปด้วย เฟอร์นิเจอร์หลายตัวนั้นถูกทำสีใหม่ โดยคำนึงถึงบรรยากาศดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด บางตัวถูกบุผ้าใหม่ บางตัวมีการย้อมสีใหม่ให้ลงตัวเข้ากันกับตัวอื่น และบางตัวก็ได้มีการปรับโทนสีให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์เก่าคือความที่เป็นไม้จริง วัสดุจริง มีความคงทนถาวร จึงทำให้สามารถซ่อมแซม หรือปรับปรุงให้สามารถไปต่อกับแนวทางการออกแบบสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อีกสิ่งที่เฟอร์นิเจอร์เก่าสามารถช่วยได้อย่างมากก็คือ บรรยากาศของความเป็นบ้าน ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้น 3 ที่มีบรรยากาศอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้านเดี่ยวแบบดั้งเดิมเลยทีเดียว ทั้งยังสานต่อเรื่องราว ความทรงจำ ไปสู่สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปได้อย่างดีอีกด้วย เคล็ดลับหนึ่งที่ PHTAA ได้ใช้กับการผสานเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเข้ากับงานออกแบบร่วมสมัยของบ้านหลังนี้คือ การเลือกใช้วัสดุที่ให้สีสันออกไปทางโทนสีเบจ และน้ำตาล โทนสีในโทนพาสเทลนี้จะช่วยลดความแข็งของไม้สีเข้มลง สร้างความรู้สึกที่นุ่มนวลอบอุ่นให้กับพื้นที่ได้อย่างดีเลยทีเดียว หากใครมีเฟอร์นิเจอร์เก่าสีเข้มเช่น ไม้สัก ไม้แดง ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็น่าสนใจไม่ใช้น้อย #บ้านทรงกล่องที่ไม่กล่องจากภายใน […]
พื้นที่ใต้บันได บ้านส่วนใหญ่มักเป็นพื้นที่สำหรับเก็บของ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สุมของเลยก็ว่าได้ ทุกครั้งที่มีข้าวของเข้าบ้านแต่ไม่มีที่วาง...
คล้ายบ้านใต้ถุนสูง แต่คือบ้านไทยในสไตล์โมเดิร์น ทั้งยังเปิด รับวิว ทะเลสาบได้อย่างไม่ทิ้งความเป็นส่วนตัวไปแม้แต่น้อย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Physicalist บ้านหลังนี้ เป็นบ้านที่เหมือนกับอยู่ติดกับทะเลสาบ แต่กลับเป็นแนวเยื้องไม่ได้ติดกับทะเลสาบเสียทีเดียว การออกแบบเพื่อเชื่อมโยงเอาธรรมชาติเข้ามาสู่การอยู่อาศัยจึงเข้ามาสร้างความพิเศษให้กับบ้านหลังนี้ ทั้งยังเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจขององค์ประกอบร่วมระหว่าง บ้านใต้ถุนสูงอย่างไทยเดิม และบ้านในยุคหนึ่งของไทยที่ตกแต่งด้วยสวนหย่อม และผนังหิน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบบ้านในสไตล์ Thai-Modern บอกเลยว่าบ้านนี้ต้องโดนใจอย่างแน่นอน บ้านยกสูงอย่างไทยในจริตโมเดิร์นเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ บ้านเดิมนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงทำให้การออกแบบใหม่ในครั้งนี้บ้านหลังจึงมีการยกสูงขึ้นไปให้พื้นที่พักอาศัยนั้นอยู่บนชั้นสอง ข้อดีก็คือสามรถรับวิวทะเลสาบได้โดยไม่ถูกบดบัง แต่การออกแบบให้สวยงามลงตัวก็เป็นอีกโจทย์ท้าทายของผู้ออกแบบ พื้นที่ชั้นล่างนั้น จะออกแบบให้เป็นลานโล่ง และห้องออกกำลังกาย และเมื่อเดินขึ้นสู่ชั้น 2 จึงจะกลายเป็นห้องรับแขกที่ดูคล้ายลอยตัวอยู่เหนือคอร์ตด้วยความบางเบา ด้วยการออกแบบโครงสร้างเหล็กในส่วนของห้องรับแขก และการเลือกใช้องค์ประกอบผนังหินที่ก่อตัวคล้ายเสารับน้ำหนักที่คอร์ตด้านล่างอาคาร ทำให้ชุดห้องที่ยื่นออกมาดูเบา และลงตัว นอกจากนี้ ห้องนอนทั้งหมดที่ชั้นบนยังหลบซ่อนอย่างเป็นส่วนตัวด้วยองค์ประกอบผนังซิกแซกที่ปิดมุมมองจากภายนอกทางหน้าบ้าน และเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติวิวทะเลสาบที่ด้านหลังได้อย่างน่าสนใจ ผนังซิกแซกเปิดรับวิวอย่างเป็นส่วนตัวเมื่อต้องการรับวิวทะเลสาบ การเปิดรับวิวโดยไม่ทำให้ความเป็นส่วนตัวถูกรบกวน จึงออกมาเป็นผนังซิกแซกอย่างที่เห็น ผนังนี้จะมีช่องหน้าต่างในทิศที่หันออกไปสู่ทะเลสาบ แต่เมื่อมองมาจากถนนใหญ่ จะไม่สามารถมองเห็นด้านในของส่วนพักอาศัยได้ จึงทำให้ห้องนอนของบ้านหลังนี้ ได้ทั้งวิว ทั้งความเปิดโล่ง แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม ผลพลอยได้ของผนังซิกแซกนี้ คือการที่แสงที่ส่องผ่านเข้าสู่ภายในอาคาร กลายเป็นแสงแบบ Indirec Light ที่ดูนวลตา สร้างให้เกิดบรรยากาศสบาย ๆ ได้อีกทาง […]
ใสใส วัยเรียนชอบ ก็ แน่นอนเพราะคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่กลางคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั่นเอง และคาเฟ่แห่งนี้ก็ใสสมชื่อ เพราะทั่วทั้งร้านมีการตกแต่งด้วยกระจกเงา ทำให้ผนังภายนอกสะท้อนภาพของธรรมชาติ และแมกไม้ที่สวยงามดั่งคาเฟ่นั้นพรางตัวหายไป ความน่าสนใจคือคาเฟ่แห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่กลุ่มบ้านพักบุคลากรของสถาบันฯ ที่ก่อสร้างมาพร้อมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อมาเมื่อคณะฯ มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องขยับขยายพื้นที่ มายังบริเวณนี้ กลุ่มบ้านพักจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยอาคารเรียนต่างๆ จนหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงสองหลัง พื้นที่โดยรอบบ้านพักทั้งสองหลังนี้มีสภาพเป็นพื้นที่รกร้างที่ถูกปกคลุมด้วยร่มไม้ขนาดใหญ่ อยู่ท่ามกลางกลุ่มอาคารเรียนที่มีนักศึกษาใช้งานจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยและการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมออกแบบจึงมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นพื้นสาธารณะ แห่งใหม่ของนักศึกษา ไปเสียเลย เพื่อช่วยสร้างให้เกิดพื้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจประมูลอาคารหลังนี้เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ร่วมเสนอแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการคัดเลือก ในการพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนการรับรู้ของผู้ใช้จากพื้นที่ที่ถูกมองว่าเป็นด้านหลัง ของคณะฯ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อให้ผู้คนเข้าไปใช้งาน จากอาคารเดิมที่ถูกออกแบบมาสำหรับพักอาศัยจึงต้องการการแบ่งพื้นที่ระหว่างภายในกับภายนอกที่ชัดเจน ทำให้เกิดพื้นที่ข้างหน้ากับพื้นที่ข้างหลังของอาคารที่แยกขาด เป็นอุปสรรคสำคัญในการเชื่องโยงพื้นที่รอบๆ เข้าด้วยกัน การออกแบบอาคารร้านกาแฟใสใสจึงเป็นเพียงการหาวิธีทำให้อาคารเลือนหายไปในหมู่ต้นไม้ และเปิดเผยพื้นที่ร่มรื่นด้านหลังอาคารออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นำไปสู่การถอดผนังอาคารออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางมุมมองจากถนนหลักไปยังพื้นที่ว่างหลังอาคาร เปลี่ยนหลังคาเป็นวัสดุโปร่งใสให้แสงที่ส่องทะลุยอดไม้ตกกระทบพื้นเกิดเป็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ใช้การลวงตาด้วยกระจกสะท้อนเงาต้นไม้กับระนาบที่จำเป็นต้องปิดทึบ คงเหลือไว้แต่เส้นสายของโครงสร้างเพื่อระลึกถึงรูปลักษณ์เดิมที่เคยเป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่ การจัดพื้นที่ใช้งานโดยจำกัดพื้นที่ที่จำเป็นต้องปิดล้อมให้มีขนาดเล็กที่สุดชั้นล่าง ซึ่งจะเป็นร้านค้า พื้นที่นั่ง พื้นที่เอนกประสงค์ที่รองรับความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีชั้นบนเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะด้วยเช่นกัน ออกแบบ: Studio of Architecture and […]
บ้านชั้นเดียว ขนาดพอดีที่เน้นการใช้งานเป็นพื้นที่ส่วนกลางของครอบครัวใหญ่ที่จะใช้พื้นที่แห่งนี้เปรียบดั่งห้องนั่งเล่นของครอบครัว
TOSTEM เปิดตัวอะลูมิเนียมสีใหม่ Dusk Gray ฉลองครบรอบ 100 ปี เป็นสีที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแสงช่วงเวลาพระอาทิตย์ยามพลบค่ำ
ขวดซอส Kikkoman อาจไม่เคยอยู่ในสายตา เหมือนเราไม่รู้ตัวว่ากำลังหายใจ ขวดโชยุใส ๆ ใส่น้ำดำฝาสีแดงเป็นภาพที่เคยชินจนไม่ทันสังเกตแต่
Shigeru Ban เผย ดีไซน์ บ้านกึ่งสำเร็จรูป จากกระดาษสำหรับผู้ประสบภัยใช้พักอาศัยชั่วคราว โดยสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซีเรีย-ตุรกี บ้านดังกล่าวได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างน่าสนใจ
สำหรับงานแสดงแสงสีเสียงที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถาปัตยกรรมสมัยเรอเนสซองอันทรงคุณค่า ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไป room ไปเก็บภาพบรรยากาศมาให้ชม และนี่คือ 2 คืนสุดท้าย
ปัจจัยสี่คาเฟ่ ร้านกาแฟหน้าบ้านพริกแกง บ้านไม้กึ่งอิฐ ที่ตีความการใช้วัสดุ และโทนสีมาจากสีสันของพริกแกงและรูปลักษณ์ของครก
รางวัลออสการ์ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อพูดถึง "หนังรางวัล" เราก็จะต้องนึกถึงรางวัลตุ๊กตาทอง เป็นอันดับแรก ๆ เพราะเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่
Alessi Juicy Salif ที่คั้นน้ำส้ม โดย Phillippe Starck ที่เปลี่ยนจุดยืนของแบรนด์อุปกรณ์ครัวไปตลอดกาล