บ้านและสวน
สวนเมืองร้อน ของสถาปนิกระดับโลก
บ้านและสวนเดินทางไปประเทศศรีลังกา และมีโอกาสได้เยี่ยมชมบ้าน สวน และสถานที่สวยๆหลายต่อหลายแห่ง ที่หนึ่งที่เราประทับใจคือบ้านในสวนกว้างของสถาปนิกระดับปรมาจารย์ชาวศรีลังกาที่ชื่อ Geoffrey Bawa หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อเสียงและเห็นภาพผลงานของเขามาบ้างแล้ว ที่นี่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้ที่ทำให้สถาปัตยกรรมและการจัดสวนสไตล์บาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สวนเมืองร้อน บาวาเติบโตในครอบครัวเลือดผสมในยุคที่ประเทศศรีลังกายังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ เขาได้รับการเลี้ยงดูแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก ดังนั้นความคิดความอ่านและมุมมองของเขาในเรื่องศิลปะวัฒนธรรมจึงกว้างขวาง แม้จะเรียนจบทางด้านกฎหมายในปี 1942 และเริ่มทำงานเป็นทนายความตามที่บิดาคาดหวังไว้ แต่หลังจากทำงานนี้ได้ไม่นานเขาก็เริ่มเบื่อหน่าย ในที่สุดบาวาก็ลาออกจากงานและไปท่องเที่ยวทวีปยุโรปในปี 1946 การเดินทางครั้งนี้ทำให้เขาหลงใหลในสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมคลาสสิกของประเทศอิตาลี เขาได้เห็น “วิลล่า” หรือคฤหาสน์บนเขาที่มีสวนและทิวทัศน์โดยรอบที่เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อเดินทางกลับประเทศศรีลังกาในปี 1948 เขาได้ซื้อสวนยางพาราเก่าที่ปล่อยทิ้งร้างบนภูเขาในเมืองเบนโตตา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะแปลงโฉมที่ดินเสื่อมโทรมผืนนี้ให้กลายเป็นสวนสวยแบบที่เขาเคยเห็นในประเทศอิตาลี สวนยางแห่งนี้มีชื่อว่า “ลูนากังก้า” (Lunaganga) สวนสไตล์บาหลี บาวาพยายามออกแบบบ้านและจัดสวนด้วยตัวเอง แต่ก็ได้พบความจริงว่า เขามีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการออกแบบบ้านและสวนไม่มากพอ ในปี1951 เขาตัดสินใจหางานทำในสำนักงานสถาปนิกเพื่อหาประสบการณ์เพิ่มเติม และสมัครเข้าเรียนด้านสถาปัตยกรรมที่ Architectural Association สถาบันออกแบบที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ขณะนั้นเขามีอายุ 34 ปี และกลายเป็นนักศึกษาปีหนึ่งที่มีอายุมากที่สุดในโรงเรียน สามสิบปีต่อมาบาวากลายเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของประเทศศรีลังกา ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อวงการออกแบบทั่วโลกในช่วงปลายศริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาได้รับการยกย่องให้เป็นนักออกแบบที่ผสมผสานสุนทรียภาพจากระเบียบแบบแผนในงานออกแบบของยุโรปให้เข้ากับศิลปะวัฒนธรรม และเสน่ห์การใช้ชีวิตของชาวเอเชียใต้ได้อย่างกลมกลืน นอกจากงานในประเทศแล้ว เขายังมีงานออกแบบในกลุ่มประเทศเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง โดยเฉพาะที่โรงแรมบนเกาะบาหลีซึ่งกลายเป็นต้นแบบของอาคารในประเทศเขตร้อนที่เราเรียกว่า “สไตล์บาหลี” […]
สวนสไตล์ยุโรป สวยหวานโรแมนติก
หากคุณมีโอกาสได้ขึ้นเหนือไปที่จังหวัดเชียงราย ร้านกาแฟริมแม่น้ำกกแห่งนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่ขอแนะนำให้คุณไปเยี่ยมเยือน ที่นี่โดดเด่นด้วยรูปแบบอาคารเรือนไม้สีขาว 2 ชั้น สไตล์โคโลเนียล สมัยรัชกาลที่ 6 รายล้อมด้วยต้นไม้สูงใหญ่และพรรณไม้ที่มีรายละเอียดพิถีพิถัน ซึ่งได้รับการออกแบบให้กลมกลืนไปกับตัวอาคาร เป็นมนตร์เสน่ห์ที่งดงามลงตัวราวกับถูกร่ายมนตร์ เจ้าของ : คุณนัทธมน และคุณยูอาคิม โฮล์มเบิร์ก จัดสวน :คุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง และคุณจาตุรงค์ ขุนกอง แห่ง Little Tree Landscape แม้การทำงานจะมีอุปสรรคบ้าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคย จึงต้องตระเวนสำรวจพรรณไม้ในท้องถิ่น เพื่อคัดเลือกให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ซึ่งมีไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านร่มครึ้มอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งสภาพพื้นที่เดิมเป็นสโลปเอียงลาดไปยังริมแม่น้ำกก ทำให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้น้อย จึงแก้ปัญหาด้วยการปรับเป็นพื้นราบแล้วทำสเต็ปเพื่อแบ่งขอบเขตการใช้งานแทน สวนสไตล์ยุโรป การออกแบบสวนแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ตามโครงสร้างของอาคาร คือ ส่วนของ Coffee House ซึ่งมีแนวคิดการออกแบบเป็นสวนชนบทยุโรป ปลูกแปลงไม้ดอกสีผสมเพื่อให้ตัวอาคารเด่นขึ้น และอีกส่วนคือ Day Spa อาคารยุคโคโลเนียล ที่ต้องการสร้างบรรยากาศสวน ให้สวยงามและกลมกลืนกับสถาปัตยกรรม จากบริเวณด้านหน้าส่วนของ Coffee House ตกแต่งด้วยแปลงไม้ดอกสีผสม ปลูกกุหลาบเลื้อยให้เลื้อยระไปกับซุ้มระแนงหน้าประตูทางเข้า แทรกด้วยของสะสมที่เจ้าของบ้านชื่นชอบและออกแบบให้มีพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับจอดรถมอเตอร์ไซค์คันโปรดของคุณยูอาคิม บริเวณด้านข้างมีรั้วเตี้ยสีขาวออกแบบมาพร้อมกับตัวอาคาร ตามแบบฉบับบ้านในชนบทยุโรป […]
สวนธรรมชาติ ในบรรยากาศบ้านชนบท
สวนธรรมชาติ ที่ปรับปรุงจากสวนเก่าที่เคยรกและแน่นด้วยต้นไม้แบบที่ไม่ได้จัดแต่ง จนได้นักจัดสวนมาช่วยจัดวางพื้นที่ใหม่ทั้งหมด ทำให้พื้นที่สวนดูโปร่งตา และสามารถเดินเข้าไปใช้งานได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังทำทางเดินใหม่ เติมบ่อน้ำรูปทรงธรรมชาติ และนำดินที่ขุดมาถมเป็นเนินดินและทางน้ำไหลลงสระกับบ่อพักซึ่งกระจายอยู่ทั่วสวน เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังตามสนามหญ้า เจ้าของ : คุณอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ จัดสวน : คุณมณฑล จิโรภาส เราออกเดินทางตั้งแต่ท้องฟ้ายังไม่ทันสว่างดีเพื่อไปเก็บภาพ สวนธรรมชาติ ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ให้ทันในช่วงเช้า เพราะช่างภาพกระซิบ บอกมาว่าเป็นเวลาที่ถ่ายภาพออกมาได้สวยที่สุด โชคดีที่สำนักงานของเรา อยู่แถบชานเมืองด้านตะวันตก จึงใช้เวลาเดินทางไม่นานนัก ภาพสองข้างทางที่ค่อยๆ เปลี่ยนจากหมูบ้านจัดสรรกลายเป็นชุมชน ตลาด บ้านเรือน เริ่มทิ้งระยะห่างกันมากขึ้นทุกที ในที่สุดก็กลายเป็นทุ่งนาสลับกับสวนดอกรัก เป็นอันบ่งบอกว่าใกล้ถึงที่หมายแล้ว เจ้าของบ้านหลังนี้คือนักแสดงมากฝีมือ พ่วงด้วยตำแหนง่ ครูสอนโยคะ ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึง ป้าจิ๊ – คุณอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ ถ้าใคร ยังจำกันได้ บ้านหลังนี้เคยลงในนิตยสารบ้านและสวน มาแล้ว นอกจากบ้านที่น่าอยู่แล้ว รอบบ้านยัง รายล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ดูกลมกลืนไปกับธรรมชาติโดยรอบทั้งทุ่งนาและ ท้องร่องสวนเก่า ป้าซื้อที่ดินที่นี่เพราะเจ้าของเป็นรุ่นพี่ที่เรียนจุฬาฯด้วยกัน ตอนแรก ซื้อแปลงเดียวตรงที่ปลูกบ้านนี่ละ ส่วนแปลงข้างๆ […]
บ้านมิกซ์แอนด์แมตช์ ผสมความดิบและวินเทจ
บ้านทรงกล่องหลังนี้ มีความกลมกล่อมในเรื่องการผสมผสานสไตล์ที่แตกต่างกันระหว่างความดิบเปลือยของวัสดุสไตล์อินดัสเทรียลดีไซน์ให้เข้ากับของตกแต่งสไตล์วินเทจแบบผู้หญิง ที่ทำให้บ้านดูไม่แข็งจนเกินไป กลายเป็นบ้าน มิกซ์แอนด์แมตช์ ที่นำความชอบจากหลายๆ สิ่งมารวมกันได้อย่างลงตัว เจ้าของ : คุณชนกวนันท์ รักชีพ ออกแบบ : คุณสุวาสน์ เมฆคงถาวร “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน” ยังคงใช้ได้ดีมาทุกยุคทุกสมัย แต่ฉันรู้ซึ้งกับความหมายของคำพังเพยนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อได้มาเยี่ยมชมบ้านของคุณชนกวนันท์ รักชีพ เบื้องหลังบ้านทรงกล่องสไตล์ มิกซ์แอนด์แมตช์ บนพื้นที่หนึ่งไร่ในย่านเลียบทางด่วนรามอินทรานี้ ใครจะทราบบ้างว่ามีเรื่องราวเริ่มต้นมาจากเสื้อผ้า คุณตุ๊กเล่าให้ฟังว่า “ตุ๊กชอบเสื้อผ้าแบรนด์ WWA ของ พี่วาสน์(คุณสุวาสน์ เมฆคงถาวร) มากๆ แรกๆ ตุ๊กก็เป็นลูกค้า ชอบที่ดีไซน์และความเนี้ยบของเขา จนวันหนึ่งมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านพี่วาสน์ รู้สึกประทับใจในสไตล์ของเขามากๆ จนเอ่ยปากว่า ถ้ามีบ้านจะให้พี่วาสน์ออกแบบให้ แล้วก็สมใจค่ะ” เมื่อถามถึงสไตล์การออกแบบของบ้านหลังนี้กับคุณวาสน์บ้าง เขาก็ตอบยิ้มๆ ว่า “ผมไม่ได้เจาะจงว่าบ้านนี้เป็นสไตล์ไหน เพราะวาดออกมาจากความรู้สึก โดยเอาความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก ตอนแรกน้องบอกว่าบ้านของเขาไม่ใหญ่ แต่พอลิสต์ความต้องการแล้วก็รู้ว่าไม่เล็ก ผมจึงเริ่มจากการสเก็ตช์ทุกอย่างเป็นกล่องย่อยๆ แล้วค่อยนำมาต่อรวมกัน จากนั้นถึงออกแบบตัวอาคารครอบ “ผมว่าเรื่องของสไตล์เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์นะครับ อย่างคลาสสิกก็มาจากยุคหนึ่ง โมเดิร์นในแต่ละช่วงเวลาก็ไม่เหมือนกัน บ้านนี้ผมว่าเป็นบ้านแบบไม่มีแพตเทิร์น แต่นำความชอบพื้นที่กว้างโล่งและวัสดุแบบเปลือยๆ […]
ปกพิเศษ บ้านและสวน ฉบับครบรอบ 45 ปีโดย BHBH
ภาพบ้าน ‘Jigsaw House’ เป็นการนำ ‘กาลเวลา’ มาเสนอในรูปแบบของการต่อจิ๊กซอว์แทนรูปแบบของบ้านในแต่ละยุคสมัย ผ่านรูปฟอร์มต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นฟอร์มของบ้านหลังใหม่ในโทนอบอุ่นจากช่วงฤดูร้อน ปีนี้ถือว่าเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากสถานการณ์โรคระบาดร้ายแรงรอบใหม่ ทำให้เราต้องใช้ชีวิตในบ้านกันมากขึ้นและต้องปรับ เปลี่ยนวิถีชีวิตกันใหม่หมด แต่สิ่งที่ยังเป็นธรรมเนียมของบ้านและสวนเสมอมาก็คือ การสรรหาภาพพิเศษสำหรับเป็นปกในฉบับครบรอบเดือนเกิดซึ่งตรง กับเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อเป็นของขวัญให้ผู้อ่าน ได้เก็บสะสมเป็นคอลเล็กชั่นประจำบ้านกัน ในบรรดานักวาดภาพประกอบรุ่นใหม่ๆ ของ ไทย ชื่อของคุณเบนซ์-ธนวัต ศักดาวิษรักษ์ ถือว่า เป็นศิลปินที่มีงานโดดเด่นและน่าจับตามองคนหนึ่ง ด้วยลายเส้นที่เรียบเนี้ยบประกอบกันเป็นรูปทรงแบบ เรขาคณิตซึ่งดูเหมือนวัตถุทางสถาปัตยกรรม แต่ให้ความรู้สึกสดใสผ่านโทนสีพาสเทลที่นุ่มนวล ทำให้ผลงานของเขาเป็นที่สนใจในหมู่คนทำงานศิลปะทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างรวดเร็ว ปกพิเศษ คุณเบนซ์เล่าว่า เขาชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก จึงเลือกเรียนด้านนิเทศศิลป์ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมีโอกาสได้ทำงานเกี่ยวกับ Lettering หรือออกแบบตัวอักษรมาตั้งแต่จบใหม่ๆ “ผมว่างานในช่วงแรกให้ อิสระทางความคิดกับเรามาก ก็เลยเกิดการทดลอง และพัฒนาไปเรื่อยๆ ทำให้เราสนุกกับการนำรูปร่าง และรูปทรงมาผสมกัน พอทำได้สักพักก็อยากเล่าเรื่องมากกว่ารูปทรงเรขาคณิตทั่วไป จนเกิดเป็นสเปซและการจัดวางองค์ประกอบแบบ Isometric มากขึ้น” แล้วความสนุกในเส้นสายและรูปทรงก็นำพา เขามาสู่งานวาดภาพประกอบ ซึ่งเมื่อนำผลงานเผยแพร่ผ่านโลกโซเชียลก็เริ่มเป็นที่สนใจและได้รับการติดต่อให้สร้างผลงานตามมาอีกหลายชิ้น ทั้งงาน นิตยสาร พ็อกเก็ตบุ๊ก แคตตาล็อก หรือลายกราฟิกบนสินค้าต่างๆ ผ่านชื่อที่เขาตั้งขึ้นมาว่า “Bloody Hell Big […]
บ้านปูนผสมไม้เก่า รูปทรงเรียบง่ายอยู่ริมทุ่งนา
บ้านปูนผสมไม้ ขนาด 2 ชั้นที่ออกแบบให้วางขวางทิศทางของลม และเน้นช่องเปิดของประตูหน้าต่างจากงานไม้เก่าเพื่อรับลมธรรมชาติหมุนเวียน
บ้านชั้นเดียว สร้างด้วยอิฐมอญ ในสวนดอกไม้
ดอกบานชื่นสีสดในแปลงตลอดสองข้างทางเดินนำไปสู่ บ้านชั้นเดียว ก่อผนังอิฐโชว์แนวที่มีเหลืองชัชวาลและกุหลาบเลื้อยพันขึ้นไปบนผนังคลุมตัวบ้านบางส่วนเอาไว้ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3 งาน ภายในหมู่บ้านสันก่อเก็ต อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในฤดูหนาวอากาศเย็นจัดอุณหภูมิลดต่ำลงเหลือเลขตัวเดียว ขณะที่กลางวันอากาศเย็นสบายกำลังดีเพียงต้น 20 องศาเซลเซียสเท่านั้น เจ้าของ : คุณพลอยทับทิม สุขแสง เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้คือคุณพลอย–พลอยทับทิม สุขแสง ผู้เป็นสถาปนิกและหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด บริษัทจัดสวนที่มีผลงานโดดเด่นในสไตล์มินิมัล บ้านหลังนี้จึงผสมผสานทั้งความเรียบง่ายแบบโมเดิร์นในสไตล์ที่เธอชอบสำหรับการอยู่อาศัยแบบสมัยใหม่ที่สะดวกสบาย แต่เจือปนด้วยบรรยากาศอบอุ่นแบบชนบทของบ้านต่างจังหวัดด้วยการเลือกใช้วัสดุอย่างอิฐมอญมาตกแต่งบ้าน และนำมาตั้งชื่อบ้านว่า “บ่าดินกี่” ในภาษาเหนือแปลว่า “อิฐ“ พลอยเล่าว่าเดิมทีบนที่ดินแปลงนี้มีบ้านแบบครึ่งปูนครึ่งไม้สร้างอยู่กลางพื้นที่ ซึ่งคุณแม่สร้างให้คุณยายตั้งแต่ราว 20 กว่าปีก่อน เมื่อคุณยายเสีย บ้านหลังนี้ถูกปิดไว้ ไม่ได้ใช้งาน ทำให้สภาพค่อนข้างทรุดโทรม และเกิดปัญหาคือปลวกขึ้นจนพื้นไม้ชั้นสองเสียหาย ไม่สามารถขึ้นไปใช้งานได้ ประกอบกับบ้านเดิมใช้งานไม่สะดวกนักตามลักษณะของบ้านยุคก่อน เนื่องจากตัวบ้านค่อนข้างเตี้ย มีหน้าต่างขนาดเล็กแบบบ้านทางเหนือที่มักจะทำช่องเปิดเล็กเพื่อป้องกันลมหนาว ทำให้บ้านดูทึบ พลอยจึงตัดสินใจรื้อบ้านและสร้างใหม่ โดยปรับตำแหน่งตัวบ้านให้ค่อนมาทางด้านหลังเพื่อให้เหลือพื้นที่ใช้งานอื่นๆ ได้มากขึ้น บ้านหลังนี้นำวัสดุของบ้านเดิมมาใช้งานหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องหลังคาลอนคู่ที่ยังอยู่ในสภาพดี นำมาล้างทำความสะอาดและมุงหลังคาใหม่ ไม้จากบ้านเดิมก็นำมาใช้ในส่วนโครงสร้าง ทั้งหลังคา […]
ปกพิเศษ บ้านและสวนฉบับครบรอบ 44 ปี โดย Pstaryu
ภาพปกที่เล่าเรื่องราวความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัว ทำกิจกรรมประจำวันหยุดร่วมกันภายในบ้านเหมือนเป็นภาพชีวิตบ้านๆ ที่เรียบง่ายแต่อุ่นอวลไปด้วยความประทับใจ นอกจากภาพบ้านสวยๆ ที่เราเลือกสรรขึ้นเป็นปกนิตยสาร บ้านและสวน มาตลอดทุกเดือนแล้วใครเป็นแฟน บ้านและสวน ตัวจริงจะรู้ว่าในฉบับเดือนกันยายนที่ครบรอบเดือนเกิดนั้น มักมีภาพวาด ปกพิเศษ เป็นของขวัญให้คุณผู้อ่านอยู่เสมอและในปีนี้เราได้ คุณปอ – ศตายุ แสนคำสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตป้ายแดงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้วาดภาพประกอบน่ารักๆ ให้คอลัมน์ “คน จัด สิ่งของ” ตั้งแต่ฉบับตุลาคมปีที่แล้ว มาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวที่ใช้เวลาทำกิจกรรมประจำวันหยุดร่วมกันภายในบ้านเหมือนเป็นภาพชีวิตบ้านๆ ที่เรียบง่ายแต่อุ่นอวลไปด้วยความประทับใจ คุณปอบอกว่าเขาชอบวาดรูปมาตั้งแต่เรียนอยู่คณะสถาปัตย์ ส่วนใหญ่วาดเป็นภาพลายเส้นการ์ตูนง่ายๆ ที่แฝงความเหมือนจริงของชีวิตไว้จนกระทั่งเพื่อนๆ และรุ่นพี่มาเห็นก็แนะนำให้ลองนำรูปทั้งหมดนี้ไปสร้างเพจของตัวเองดู ปกพิเศษ “ตอนนั้นเรียนอยู่ปี 3 และก็เลยลองทำเพจชื่อว่าPstaryu ที่มาจากชื่อเล่นผสมกับชื่อจริงของผมเพื่อวาดรูปเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตธรรมดาบ้านๆ ประจำวันที่พบเจอมา ทั้งที่เกิดขึ้นในบ้านและนอกบ้าน เช่น นั่งตัดเล็บอยู่หน้าบ้าน เลี้ยงสัตว์ซักผ้าตากผ้า ไปเที่ยวห้างกับเพื่อน ผ่านคาแร็กเตอร์คนที่เป็นลายเส้นง่ายๆ อยู่ในอายุช่วงประมาณวัยรุ่นและวัยทำงาน ไม่ดูการ์ตูนจ๋าและไม่ใช่ภาพเหมือนจริงมากเกินไป แต่เป็นลายเส้นที่คนเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายๆ” ด้วยเสน่ห์ลายเส้นง่ายๆ แบบนี้เองที่ทำให้ ผลงานของคุณปอได้รับการติดต่อจากทาง Netflix ให้วาดรูปเกี่ยวกับกิจกรรมเวลาผู้คนนั่งดูรายการ ต่างๆ ของ Netflix อยู่ที่บ้าน และได้วาดรูป ประกอบคอนเทนต์ทางออนไลน์ต่างๆ รวมถึง […]
บ้านไม้ริมคลอง ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาร่วมร้อยปี
บ้านไม้ริมคลอง ที่ประกอบด้วยบ้านไม้สักสีธรรมชาติฉลุลายแบบขนมปังขิงหนึ่งหลัง ส่วนอีกหลังเป็นบ้านไม้สไตล์โคโลเนียลทาสีเขียวอ่อน ซึ่งผ่านกาลเวลามาได้เกือบร้อยปี
บ้านกลางสวน ที่เปิดมุมมองรับธรรมชาติรอบตัว
บ้านกลางสวน สบายๆ แบบรีสอร์ตที่เปิดโล่ง แบ่งโซนนิ่งของบ้านด้วยคอร์ตยาร์ดสองคอร์ตโดยเน้นปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น พร้อมช่องเปิดเพื่อเชื่อมมุมมองธรรมชาติ
วิธีไหนใช้ทำความสะอาดไม้ใบ ให้สะอาดและดีต่อสุขภาพพืช
หลายคนอยากให้เหล่าไม้ใบที่ปลูกอยู่มีใบเงามันสวยงามเหมือนตอนที่ซื้อจากร้านค้ามาในช่วงแรก ๆ เพราะ เวลาปลูกต้นไม้ไว้ที่บ้านนาน ๆ ก็มักจะมีคราบสกปรกจากฝุ่นเกาะอยู่ตามผิวใบ ทำให้ใบดูไม่เขียวสดใสเหมือนเดิม บ้านและสวน จึงมาหาคำตอบให้ดูว่า มีวิธีไหนที่จะช่วย ทำความสะอาดไม้ใบ ให้กลับมาเขียวสดใสขึ้นกันได้บ้าง สเปรย์สำหรับฉีดเพิ่มความเงาให้ใบ ใช้ง่ายเพียงแค่ฉีดพ่นในระยะห่างจากใบประมาณ 10 ซม. แต่ด้วยความที่น้ำยาสเปรย์ก็มีส่วนผสมของน้ำมันหรือแว็กซ์เพื่อสร้างความเงางาม จึงอาจมีการอุดตันต่อผิวใบ ทำให้ใบนั้นไม่สามารถสังเคราะห์แสงหรือคายน้ำได้ดีและอาจส่งผลให้ใบนั้นเหี่ยวแห้งตายในที่สุด ทำความสะอาดไม ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันพืช เมื่อนำมาเช็ดก็จะให้สัมผัสของใบเงางามวิบวับขึ้นมาทันที แต่ตัวน้ำมันสามารถเคลือบผิวของใบ ทำให้ใบไม่สามารถสังเคราะห์แสงหรือคายน้ำได้ ส่งผลให้ใบนั้นเหี่ยวแห้งตาย โดยเฉพาะผิวใบที่มีขน ๆ อย่าง ไทรใบสัก เมื่อถูกเคลือบด้วยน้ำมันจะทำให้ใบไหม้ได้ เราจึงไม่ค่อยอยากแนะนำให้ใช้ น้ำอัดลมก็สามารถช่วยให้เกิดความเงามันบนผิวใบได้ดี แม้จะไม่เงาวับเท่ากับน้ำมันก็ตาม แต่น้ำอัดลมจะทำให้ผิวใบเกิดความเหนียวที่เป็นเหมือนตัวเคลือบการคายน้ำและสังเคราะห์แสงของใบได้เช่นกัน อีกทั้งความเหนียวยังกลายเป็นตัวกักเก็บฝุ่นได้ง่ายขึ้นด้วย เราจึงไม่แนะนำให้ใช้ การหยดน้ำยาล้างจานเพียง 2-3 หยดลงในน้ำเปล่า 1 ลิตร เพื่อนำมาเช็ดที่ใบ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเงางาม แต่ใช้เพื่อกำจัดล้างแมลงเล็ก ๆ หรือไข่แมลงที่เกาะอยู่ตามใบ ถ้าเป็นต้นที่มีใบเล็ก ๆ จำนวนมากก็สามารถยกมาล้างในห้องน้ำ หรืออ่างล้างหน้าได้ แต่ไม่ควรใช้แปรงขนมาทำความสะอาด เพราะ […]
บ้านไม้ไทย เปิดโปร่ง ใต้ถุนโล่ง
บ้านไม้ไทย ริมน้ำที่จังหวัดลำพูนหลังนี้ดูลึกลับเมื่อซ่อนอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ใบหนา จนแทบมองไม่เห็นในครั้งแรก แต่เมื่อก้าวผ่านประตูใหญ่ด้านหน้าเข้าไป จึงรู้สึกได้ถึงความสดชื่นร่มเย็นของบ้านซึ่งแทรกตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สร้างความอบอุ่นสบายใจแก่ผู้มาเยือนได้ทันที เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณสาธิต กาลวันตวานิช สถาปัตยกรรม : อาจารย์จุลพร นันทพานิช เจ้าของ บ้านไม้ไทย หลังนี้คือ คุณสาธิต กาลวันตวานิช CreativeDirector ของ Propaganda บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์และของแต่งบ้านซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ผลงานชุด Mr. P และผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาแห่ง Phenomena เขาเริ่มต้นเล่าว่า “ที่ดินเดิมมีขนาดประมาณครึ่งไร่ ภายหลังผมซื้อเพิ่มเติมและมีที่งอกตรงชายตลิ่งบ้าง ปัจจุบันจึงกลายเป็นเกือบหนึ่งไร่ต้นไม้เดิมมีแค่ลำไยแก่ๆ 6 ต้น หลายปีก่อนตอนปลูกบ้านต้องตัดทิ้งไป 2 ต้น เพื่อการใช้พื้นที่ได้สะดวกขึ้น หลังจากนั้นก็หาไม้พื้นบ้านและไม้ผลมาปลูกโดยได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกและอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเน้นการสอนแนวทางส่งเสริมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ท่านบอกว่า ให้ลงไม้ที่เกิดจากเมล็ดและเป็นไม้พื้นบ้านซึ่งเหมาะกับระดับทะเลในพื้นที่ รวมทั้งไม่ให้ถมดิน เพราะดินเดิมเป็นดินชายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยตะกอนของหน้าดินที่พัดมา ซึ่งเป็นประโยชน์กับพืชปรากฏว่า แค่ปีเดียวต้นไม้โตท่วมศีรษะ สองปีสูงเกินสะพานที่เชื่อมตัวบ้านกับศาลาชายน้ำ สามปีก็แผ่กิ่งคลุมตัวบ้านและศาลา […]