มะม่วง อะไรปลูกปีเดียว ได้ผลกินแน่นอน

อยากเก็บสะสมและอนุรักษ์ มะม่วง ไทยให้ได้มากที่สุด จากทั้งหมด 200 สายพันธุ์ เริ่มต้นปีแรกที่ 20 สายพันธุ์มะม่วงไทย ต่อยอดสู่ธุรกิจในอนาตคต

บ้านสีขาว ริมทะเล สไตล์ Mid-century Modern

บ้านชั้นเดียว สีขาว สไตล์ Mid-century Modern ในบรรยากาศบ้านตากอากาศริมทะเล

รวมพันธุ์กล้วย 20 สายพันธุ์ จากอาณาจักรกล้วย

รู้มั้ยว่า นอกจากกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า และกล้วยไข่แล้ว โลกเรายังมีกล้วยสายพันธุ์อื่นๆ อีกมากมายถึง 3,000 กว่าชนิด โดยเรา รวมสายพันธุ์กล้วย มาให้รู้จักก่อน 20 สายพันธุ์ น่าดีใจที่คุณสมบัติ สุขนันท์ เจ้าของ “สมบัติ อาณาจักรกล้วย” ผู้ปลูกและสะสม รวมสายพันธุ์กล้วย มานานร่วม 30 ปี มีสายพันธุ์กล้วยสะสมไว้กว่า 200 สายพันธุ์ภายในสวน 500 ไร่ที่กระจายอยู่ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี พิจิตร และเชียงใหม่ ก่อนจะมาเป็นอาณาจักรแบบนี้ คุณสมบัติ เคยทำธุรกิจค้าขายวัสดุก่อสร้างมาก่อนจะถูกโกงจนมีหนี้สินเป็นสิบกว่าล้าน แต่เขาหันมาปลูกและตระเวนขายหน่อกล้วยไปทั่วประเทศจนสามารถปลดหนี้ได้ภายใน 7 ปี พร้อมกับเก็บสะสมสายพันธุ์กล้วยป่าและกล้วยแปลก รวมถึงศึกษาหาข้อมูลกล้วยมาโดยตลอด “ผมเริ่มจากความชอบกล้วยสายพันธุ์แปลกๆ มาก่อนและสะสมกล้วยนากเป็นต้นแรก จากนั้นเวลาใครมีข้อมูลกล้วยแปลกๆ อยู่ที่จังหวัดไหน ผมจะเช็คและตามไปดูถึงที่ตลอด จากตอนแรกๆ ที่เก็บสะสมและฝากไว้ตามสวนต่างๆ จนกระทั่งตัดสินใจรวบรวมมาอยู่ในสวนตัวเอง ปรับจากสวนที่เคยปลูกแต่มันสำปะหลัง ปรับสภาพดินกันใหม่หมดเพื่อปลูกกล้วย ใต้ร่องสวนกล้วยก็ปลูกพืชอื่นที่ไม่ต้องการแสงมาก อย่างผักกูด มะเขือพวง พริก ขมิ้นไปด้วย” “ทุกวันนี้ก็ยังเสาะหาและสะสมกล้วยอยู่ […]

รีโนเวตบ้านเก่า ร่วม 25 ปีให้คุณแม่

เมื่อบ้านที่อยู่มาเนิ่นนานเริ่มไม่ตอบโจทย์การใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป การ รีโนเวตบ้านเก่า จึงเป็นอีกแนวทางที่จะทำให้บ้านกลับมามีชีวิตและน่าอยู่อีกครั้ง เช่นกันกับบ้านหลังนี้ที่สร้างมาแล้วร่วม 25 ปีบนที่ดินดั้งเดิมของครอบครัวที่อยู่กันมาตั้งแต่รุ่นคุณตาของเจ้าของบ้าน คุณชัชวาลย์-คุณวัชรินทร์ ปัทมานุช เจ้าของบ้านเล่าว่าเดิมทีบ้านหลังนี้อยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกๆ เรียนจบจึงแยกย้ายออกจากบ้านไปทำงานที่อื่นๆ แต่ก็กลับมาเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่อยู่เสมอ เมื่อ คุณกิฟท์-ชัชวลี ปัทมานุช ลูกสาวคะยั้นคะยอให้ รีโนเวตบ้านเก่า เพื่อปรับปรุงบ้านใหม่ ประกอบกับลูกชายเพิ่งสร้างบ้านที่อยู่ข้างกันเสร็จพอดีจึงได้จังหวะย้ายไปอยู่บ้านหลังนั้นชั่วคราวระหว่างปรับปรุงบ้าน “กิฟท์จะมาที่นี่ทุกสัปดาห์ พอกิฟท์รีโนเวตที่บ้านเขาเองเสร็จแล้วเขาก็บอกว่าบ้านเราก็ควรจะรีโนเวตนะเพราะ 20 กว่าปีแล้ว ทีแรกแม่แอนตี้มากเพราะเรามีอายุแล้ว ไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร อยากอยู่เหมือนเดิม แต่พอบ้านลูกชายเสร็จพอดีกิฟท์เลยได้โอกาสให้แม่กับพ่อย้ายไปอยู่บ้านลูกชายก่อน เดี๋ยวเขาจะดูแลจัดการให้ อีกอย่างคือพอบ้านกิฟท์รีโนเวตเสร็จแล้วแม่ชอบมาก น่าอยู่มากกว่าเดิมแม่เลยให้ลูกจัดการเลย” คุณคุณวัชรินทร์ เล่าถึงที่มาก่อนปรับปรุงบ้านหลังนี้ เพราะคุณกิฟท์มีประสบการณ์รีโนเวตบ้านของตัวเองมาก่อนกับมัณฑนากรและสถาปนิกคู่ใจ คุณเล็ก-นภาภรณ์และคุณอ๊อน-วิชัย โพธิรัชต์จึงทำงานด้วยกันอย่างเข้าใจ ใช้เวลาปรับปรุงบ้านทั้งหมด ประมาณ 7 เดือน โดยปรับเปลี่ยนผังภายในและช่องเปิดต่างๆ จากเดิมที่เคยดูทึบให้โปร่งโล่งอยู่สบายมากขึ้น เปลี่ยนสีสันภายในบ้านใหม่ให้สดใส และเก็บเฟอร์นิเจอร์เดิมที่เป็นความทรงจำของคุณพ่อคุณแม่ไว้เกือบทั้งหมด คุณเล็กและคุณอ๊อนอธิบายรายละเอียดการปรับปรุงบ้านครั้งนี้ว่า รีโนเวตบ้านเก่า “ บ้านหลังนี้เดิมไม่ได้ทรุดโทรม แต่จัดวางฟังก์ชันไม่เหมาะกับการใช้งานปัจจุบัน ผังบ้านเดิมมีซอกหลืบใช้งานยาก อีกอย่างโรงรถเดิมอยู่ตรงครัวแล้วพอเข้ามาก็เจอกับของเยอะ เราจึงย้ายตำแหน่งที่จอดรถใหม่ให้สามารถเดินเข้าบ้านได้จากประตูด้านหน้าและด้านหลังและเพิ่มทางลาดให้สามารถใช้งานรถเข็นสำหรับผู้สูงอายุด้วยในอนาคต ย้ายส่วนซักรีดและห้องแม่บ้านให้อยู่ด้านนอก ส่วนตำแหน่งครัวยังคงไว้ที่เดิมแต่รื้อฝ้าออกทำให้ครัวดูโปร่งขึ้น” “ตรงส่วนชั้นล่างทำห้องคุณพ่อใหม่และเพิ่มห้องเก็บของเข้าไปด้วย […]

บ้านไม้หลังเล็ก ในฟาร์มเกษตร สะดวกกับการทำงานในไร่

บ้านไม้หลังเล็ก แบบชั้นเดียวขนาด 4×4 เมตรที่สร้างไว้แค่พออยู่เพื่อให้สะดวกกับการทำงานภายในไร่ โดยใกล้ๆ กันยังมีบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงอีกหลังไว้สำหรับใช้งานอเนกประสงค์

บ้านปูนทรงกล่อง โปร่งด้วยอิฐช่องลม และซ่อนผาจำลองไว้ภายใน

บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวเรียบที่นิ่งจนเกือบจะดุดัน แต่มีเสน่ห์ด้วยช่องเปิดกว้างๆ พร้อมกับแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่มีความหลากหลายตั้งแต่แนวรั้วหน้าบ้านร้อยเรียงต่อเนื่องไปทั่วผนังอาคาร นั่นเพราะว่า บ้านหลังนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อเน้นฟังก์ชันการใช้งานภายในตามความต้องการของคุณหนู–มนต์ทิพย์ ลิปิสุนทรและคุณโป้ง-วิบูลย์ศิริ วิบูลย์มา ผู้เป็นเจ้าของ ที่อยากได้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยถึง 3 ครอบครัว บนที่ดินเดิมซึ่งมีลักษณะเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดราว 200 ตารางวา ฟังก์ชันภายในจึงเป็นตัวกำหนดผังพื้นที่เกือบ 1,000 ตารางเมตรใน บ้านปูนทรงกล่อง ขนาด 4 ชั้น ซึ่งเน้นมุมที่มองจากภายในออกมามากกว่าสร้างรูปทรงของบ้านให้โดดเด่นแล้วค่อยใส่ฟังก์ชันเข้าไป “เราเคยลองไปหาทำเลอื่นดูเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะรื้อบ้านหลังเดิมที่เก่ามากแล้วออก เพื่อสร้างหลังใหม่ให้ใหญ่พอสำหรับการใช้งาน โดยรวมครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ของเราสองคนมาอยู่ด้วยกัน และยังมีห้องเผื่อสำหรับน้าและน้องสาวไว้ด้วย“คุณโป้งเล่าถึงโจทย์เริ่มต้น และเสริมด้วยว่าเขาเองก็ทำงานด้านรับเหมาตกแต่งภายในอยู่แล้ว อีกทั้งชอบในผลงานการออกแบบบ้านที่มีเส้นสายเรียบนิ่งของทีมสถาปนิก Anonym จึงน่าจะร่วมกันสร้างบ้านหลังนี้ได้ดี สถาปัตยกรรมที่เปิดให้สายลมพัดผ่าน สิ่งแรกที่คุณบอย–พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ สถาปนิกผู้ออกแบบสัมผัสได้เมื่อมาดูพื้นที่คือสายลมเย็นที่ปะทะผ่าน เพราะหน้าบ้านหันไปทางทิศใต้และเป็นแนวช่องลมที่ดี ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการออกแบบบ้านที่เน้นการเปิดช่องลมควบคู่ไปกับคว้านสเปซภายในให้เกิดเป็นคอร์ตหน้าบ้านและตรงกลาง โดยคอร์ตหน้าบ้านออกแบบให้เป็นหน้าผาจำลองเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลงใหลการปีนผาของคุณโป้ง และคอร์ตตรงกลางเป็นแกนเชื่อมต่อมุมมองของทุกพื้นที่ในบ้าน รวมถึงเป็นช่องรับแสงธรรมชาติซึ่งส่องผ่านจากช่องหลังคากระจกใสด้านบนลงมา “เราออกแบบภายในให้เหมือนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่แยกพื้นที่ของครอบครัวไว้ในแต่ละชั้น โดยมีชั้นล่างเป็นพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน แล้วเปิดสเปซให้ลมหมุนเวียนได้ตั้งแต่คอร์ตปีนผาด้านหน้าเข้ามาถึงโถงนั่งเล่นด้านในซึ่งเป็นอีกคอร์ตหนึ่งที่มองเห็นทางเดินของแต่ละชั้นวางสลับเยื้องกัน และเติมแลนด์สเคปแทรกไปกับตัวบ้านด้วยการออกแบบกระบะปลูกต้นไม้เพื่อให้ทุกชั้นมีพื้นที่สีเขียวของตัวเอง เวลาใช้พื้นที่ทางเดินก็จะไม่รู้สึกเวิ้งว้างเพราะยังมองเห็นพื้นที่ส่วนอื่นได้ ส่วนหลังคากลางคอร์ตนี้เป็นกระจกใสติดฟิล์มกันร้อนและยกผนังก่อนถึงหลังคาไว้เกือบเมตรเพื่อเจาะเป็นช่องให้ลมถ่ายเทได้ ตามไดอะแกรมแล้วจึงมีช่องทางให้ลมเข้าออกในแต่ละชั้นได้ไปจนถึงชั้นบนสุดของบ้าน ในขณะที่การวางผังห้องจะยังมีความเป็นส่วนตัวอยู่“ ผนังคอนกรีตกับการเปิดของอิฐช่องลม ต่อเนื่องจากแนวคิดการเปิดช่องให้สายลมพัดผ่าน สถาปนิกยังเลือกใช้อิฐช่องลมโอบล้อมเป็นผนังส่วนใหญ่ของบ้าน ยกเว้นส่วนทิศตะวันตกที่เน้นการปิดทึบและกำหนดให้เป็นพื้นที่ของห้องน้ำไว้เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแสงแดดเข้าถึงในทุกๆ ชั้น อีกทั้งเพิ่มความน่าสนใจด้วยการผสมผสานแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่หลากหลาย และไล่เรียงช่องเปิดมากขึ้นตามระดับการเข้าถึงในแต่ละชั้นจากชั้นล่างที่มีช่องเปิดน้อยเพื่อคงความเป็นส่วนตัวจากภายนอก […]

สวนน้ำตกทรอปิคัลกลางเมืองใหญ่

ท่ามกลางตึกสูงที่รายล้อมรอบบ้านและบรรยากาศจอแจในเขตเมือง พื้นที่สีเขียวของ สวนน้ำตกทรอปิคัล แห่งนี้ได้ช่วยลบภาพเหล่านั้น  และมอบความสุขให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่อยู่อาศัยร่วมกันในบ้านทั้งสองหลัง เจ้าของ : คุณอิทธิธร และคุณชลินธร  อิศรเสนา ณ อยุธยา ออกแบบ-จัดสวน : บริษัทสวนสวยแลนด์สเคป โดยคุณทินกร ศรีวัฒนธรรมา หลังสร้างบ้านอีกหนึ่งหลังในอาณาเขตเดิม จึงได้เวลาปรับปรุงสวนที่เปลี่ยนสภาพไปตามกาลเวลา ซึ่งทั้งคุณกร–อิทธิธร และคุณป่าน–ชลินธรอิศรเสนา ณ อยุธยา สองพี่น้องซึ่งอาศัยในบ้านคนละหลัง  ได้มอบภารกิจสำคัญนี้ให้กับพี่ไห–ทินกร ศรีวัฒนธรรมาจากสวนสวยแลนด์สเคป ซึ่งโจทย์หลักในการปรับโฉมใหม่ให้สวน คือ ต้องการได้ สวนน้ำตกทรอปิคัล ที่เข้ากับบรรยากาศของบ้านและเก็บบ่อปลาเดิมไว้ เพื่อระลึกถึงคุณปู่คุณย่าและภาพความสนุกที่มีร่วมกันในวัยเยาว์ เมื่อพิจารณารูปแบบการวางตัวอาคารทั้งสองหลังซึ่งอยู่ในลักษณะรูปตัวแอล  พื้นที่สวนและบ่อปลาจึงกำหนดให้อยู่บริเวณด้านหน้าของอาคารทั้งสอง รับมุมมองจากทั้งห้องออกกำลังกายที่ปรับปรุงใหม่ในบ้านหลังเดิม ระเบียงห้องนั่งเล่นและห้องทานข้าวในบ้านหลังใหม่   การออกแบบเริ่มจากกำหนดเส้นทางในสวนให้เชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้ออกมาใช้งานได้อย่างสะดวก  ขยายบ่อปลาเดิมโดยทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมดแต่ยังคงเก็บรักษารูปแบบบ่อเดิมไว้ให้เป็นบ่อธรรมชาติ   ออกแบบให้มีลานไม้และสะพานที่มีมุมต่อเนื่องกัน โดยซ่อนผนังกั้นระหว่างบ่อไว้บริเวณใต้สะพาน เพื่อนำปลาดุกที่เลี้ยงดั้งเดิมมาไว้ในบ่อเล็กฝั่งหนึ่งและเลี้ยงปลาคาร์ปในบ่อใหญ่อีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งภาพที่ออกมาก็ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นบ่อเดียวกัน  ออกแบบหัวน้ำตกและลำธารจากบริเวณมุมบ้าน เพื่อเป็นต้นกำเนิดของสายน้ำให้น้ำไหลเวียนในบ่อใหญ่ซึ่งอยู่ด้านหนึ่ง ส่วนบ่อเล็กนั้นมีต้นกำเนิดน้ำที่ไหลผ่านตอไม้เก่า ซ่อนบ่อกรองของทั้งสองบ่อแยกกันเพื่อให้ดูแลรักษาง่ายภายใต้ลานไม้ บนลานออกแบบให้มีม้านั่งไม้แทนราวกันตก เพื่อป้องกันเด็กเล็กที่อาจพลัดตกลงได้ อีกทั้งผู้ใหญ่ยังได้นั่งใกล้ชิดกับปลาในบ่อ รอบบ่อเพิ่มความร่มรื่นจากพรรณไม้ที่มีอยู่เดิม เสริมด้วยพรรณไม้หลากหลายชนิดเพื่อพรางสายตาจากตึกสูง ส่วนริมรั้วสร้างความเป็นส่วนตัวด้วยไม้พุ่มอย่างต้นทองอุไรปลูกเป็นแนวเพื่อเพิ่มความสดใสให้กับสวน ภายในสวนออกแบบให้มีทางเดินที่ต่อเนื่องและเข้าไปใช้งานตามมุมต่างๆโดยใช้วัสดุอย่างหินกาบป่าเพื่อคงความเป็นธรรมชาตินำวัสดุที่มีอยู่ในสวนเดิม อย่าง ก้อนหินมาใช้ตกแต่งน้ำตกและลำธาร […]

สวนน้ำตกในบรรยากาศแบบผืนป่าทรอปิคัล

แรงบันดาลใจในการหยิบยกผืนป่ามาไว้หลังบ้านของ คุณจิ๊บ-สมยศ เชาวลิตนี้ เกิดจากความประทับใจในวัยเยาว์ ด้วยพื้นเพของคุณจิ๊บนั้นเป็นคนลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งละแวกบ้านอยู่ใกล้แหล่งน้ำตก จึงมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศของป่าน้ำตกอยู่บ่อยครั้งจนเกิดเป็นความชอบส่วนตัว ครั้นเมื่อสร้างบ้านและจัดสวนในกรุงเทพฯ จึงเกิดแนวคิดที่จะหยิบยกความประทับใจนี้ มาเป็นโจทย์ให้กับนักจัดสวน ยิ่งหลังจากได้เห็นผลงานการจัด สวนน้ำตก จากบ้านหลังก่อนๆ ของคุณวรวุฒิ แก้วสุก ด้วยแล้ว ภาพเหล่านี้ก็ยิ่งปรากฎชัดเจนในใจ    เจ้าของ : คุณสมยศ เชาวลิต ออกแบบและที่ปรึกษาการจัดสวน : คุณวรวุฒิ แก้วสุก จัดสวน : รัฐกานต์ เจือกุนทร จากผืนดินว่างเปล่าในพื้นที่ 1 ไร่ ถูกส่งผ่านมือของนักออกแบบจัดสวน อย่าง คุณวรวุฒิ แก้วสุก และคุณรัฐกานต์ เจือกุนทร ซึ่งหลังจากได้เข้ามาดูพื้นที่ คุณวรวุฒิได้ออกแบบสวนนี้ให้เป็นสวนป่าทรอปิคัลและกำหนดรูปแบบน้ำตกเป็นผาสูง  นอกจากช่วยพรางตาจากภาพตึกสูงภายนอกแล้ว ยังต้องการให้เกิดพื้นที่ด้านหน้าน้ำตกที่มากขึ้นด้วย  ต่อมาได้เพิ่มเติมในส่วนของน้ำตกย่อยฝั่งซ้ายซึ่งออกแบบเป็นผาน้ำตกขนาดย่อม และฝั่งขวาซึ่งออกแบบในลักษณะน้ำตกที่ลดหลั่นเป็นเชิงชั้นลงมา กลายเป็นแนวน้ำตกที่โอบล้อมสวนไว้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อได้รูปแบบของน้ำตกแล้ว ผู้ออกแบบจึงกำหนดทิศทางของสายน้ำ ให้มีลำธารแยกออกเป็นสองสาย สายแรกเป็นธารน้ำจากน้ำตกย่อยฝั่งซ้าย และสายที่สองเป็นธารน้ำจากน้ำตกหลักกับน้ำตกย่อยฝั่งขวา ก่อนไหลลงไปบรรจบกัน ณ บ่อเลี้ยงปลาเบื้องล่าง  ระหว่างลำธารสองสายนี้ กำหนดให้เป็นพื้นที่ใช้งานที่มีลักษณะคล้ายเกาะแก่งธรรมชาติ มีทางเดินและสะพานเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ส่วนต่างๆ […]

บ้านสีขาวริมทะเล ที่นุ่มนวบแบบมินิมัลและอบอุ่นแบบสแกน

บ้านสีขาวริมทะเล หากพื้นที่สีเขียวเล็กๆ ในบ้านทำให้คุณรู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้ พื้นที่ธรรมชาติกว้างๆ อย่างชายหาดและผืนทะเลก็จะยิ่งทำให้คุณรู้สึกถึงการเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจ

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญครบรอบ 23 ปี อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ผู้บริหารเครืออมรินทร์ ร่วมงานพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบ 23 ปี อิมแพ็ค เมืองทองธานี กว่า 15 ปีที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เป็นเสมือนบ้านอีกหลังให้เราชาว “บ้านและสวน” ใช้เป็นสถานที่จัดงานบ้านและสวนแฟร์ สำหรับใช้นัดพบคนอ่านที่รักและสนใจเรื่องบ้านและสวนตลอดมา ในครั้งนี้บริษัทอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่สถานที่และทำบุญครบรอบ 23 ปี ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีคุณระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ คุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) และพวกเราชาวบ้านและสวน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพิธีนี้ ในงานได้อาราธนาสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมเมธโช) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการเถรสมาคม พร้อมคณะสงฆ์วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร รวม 10 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์ ทำพิธีเจิมตราสัญลักษณ์และพุทธาภิเษก มอบผ้ายันต์ให้แขกผู้ร่วมงาน ซึ่งงานครั้งนี้ยังได้เชิญลูกค้าผู้จัดงานแสดงสินค้าต่างๆ เข้าร่วมงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและแสดงความพร้อมในการเปิดพื้นที่กลับมาจัดงานแสดงสินค้าอีกครั้ง อาทิ ผู้จัดงานมอเตอร์เอ็กซโป […]

บ้านปูนชั้นเดียว ที่ยกใต้ถุนสูงเผื่อน้ำท่วม

บ้านปูนชั้นเดียว เท่ๆ หลังนี้ยกใต้ถุนขึ้นสูงประมาณ 1.60 เมตร เนื่องจากเคยมีน้ำท่วมมาก่อน มีชายคาคอนกรีตยื่นยาวประมาณ 4 เมตรโดยไม่มีเสารองรับ เพราะตั้งใจให้เป็นที่จอดรถ บ้านปูนชั้นเดียว หลังนี้เป็นของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว ผู้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ซึ่งตั้งใจสร้างบ้านนี้ให้คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย ตัวบ้านตั้งอยู่บนที่ดินเดิมของบ้านคุณพ่อคุณแม่ ภายในชุมชนเล็กๆ ที่เงียบสงบของอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่และไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่เป็นบ้านที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของผู้อยู่อาศัย รูปแบบของบ้านปูนชั้นเดียวนี้ดูโมเดิร์นทั้งหน้าตาและวิธีการคิด เส้นสายที่ตรงไปตรงมาและการออกแบบที่เน้นเรื่องการใช้งานเป็นหลัก ทำให้บ้านนี้ดูเข้ายุคสมัย คุณขวัญชัยบอกว่า นำวัสดุบางส่วนจากบ้านเก่าซึ่งปลูกในบริเวณใกล้เคียงกันมาซ่อมแซมและออกแบบใช้ใหม่กับบ้านนี้ให้มากที่สุด นอกจากช่วยประหยัดงบประมาณการก่อสร้างได้มากแล้วยังเป็นการรียูส (reuse) ซึ่งไม่ทำลายทรัพยากรโลกอีกด้วย เช่นไม้ทำระแนงและผนังตกแต่งก็เป็นไม้ส่วนพื้น บันได และจันทันของบ้านเก่า ผนังภายนอกของบ้านที่มีผิวเป็นคลื่นเป็นลอนก็คือกระเบื้องลอนคู่ของบ้านเก่าเช่นกัน นำมายึดติดกับผนังก่ออิฐเลย ไม่ต้องฉาบก่อน ประหยัดค่าฉาบผนังได้อีก บ้านชั้นเดียวหลังนี้มีการยกใต้ถุนขึ้นสูงประมาณ 1.60 เมตร เนื่องจากพื้นที่นี้เคยมีน้ำท่วมมาก่อน เจ้าของบ้านจึงอยากได้บ้านที่มีใต้ถุนเพื่อความอุ่นใจเวลาน้ำมา และพื้นที่นี้ยังใช้เป็นที่จอดรถและใช้งานในบางกิจกรรมหรือเป็นที่เก็บของได้ด้วย ข้อดีอีกอย่างของการยกพื้นก็คือ ทำให้บ้านไม่ร้อน เพราะลมพัดพาเอาความร้อนออกไปได้มากขึ้น บ้านวางผังเป็นรูปตัวแอล (L) ทำช่องเปิดรับแสงแดดยามเช้าด้านทิศตะวันออก แม้แสงจะสาดส่องเข้ามาถึงภายในบ้าน แต่ก็เป็นแสงอ่อนๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนผนังอาคารด้านที่หันสู่แสงแดดตรงๆ ก็มีระแนงแนวตั้งคอยกรองแสง […]

บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก ที่มีกลิ่นอายลอฟต์นิดๆ

บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก บนที่ดินขนาดประมาณ 200 ตารางวา มีหน้าแคบแต่ลึก ออกแบบเน้นเชื่อมโยงมุมมองให้มองเห็นกันได้ตลอด สถาปนิกมักเริ่มต้นออกแบบบ้านด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดวาง“ที่ว่าง” พอๆ กับรูปทรง วัสดุ และสไตล์การตกแต่ง เพราะการออกแบบที่ว่างให้มีสัดส่วนพอเหมาะ สัมพันธ์กับทิศทางของแดดและลม มีการเชื่อมต่อระหว่างที่ว่างอย่างเหมาะสม ก็ทำให้คุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัยดีขึ้นได้ แล้วคำจำกัดความของที่ว่างที่ดีนั้นควรเป็นเช่นไร เราลองมาค้นหาคำตอบใน บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก หลังนี้กัน บ้านโมเดิร์นหลังใหญ่ในย่านพหลโยธินที่ดูเรียบง่าย แต่มีชั้นเชิงทั้งการออกแบบและตกแต่งหลังนี้เป็นของ คุณป้อง – ณภัสสร์ และ คุณนิ้ง – เปรมรัตน์ เตลิงคพันธ์ คู่สามีภรรยาที่สร้าง บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก ขึ้นใหม่อีกหลังข้างบ้านเดิมของพ่อแม่แทนการย้ายออกไปสร้างบนที่ดินอีกแปลงในย่านลาดพร้าว เพราะอยากอยู่ใกล้ๆ ครอบครัวในบรรยากาศที่ตนรักและผูกพันมาแต่เด็ก คุณป้องเล่าว่า “บ้านนี้สร้างบนพื้นที่ของสวนมะม่วง ข้างบ้านหลังเดิมที่ผมอยู่กับพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก ที่ดินผืนนี้มีขนาดประมาณ 200 ตารางวา มีหน้าแคบแต่ลึก สถาปนิกจึงวางตัวบ้านขนานไปกับที่ดิน ผนังของพื้นที่ส่วนกลางของบ้านออกแบบเป็นกระจกขนาดใหญ่ เชื่อมโยงมุมมองไปยังบ้านหลังเดิมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ ทำให้มองเห็นกันได้ตลอดแม้จะอยู่คนละบ้านก็ตาม” คุณแป้ง – กษิต จันทร์แก้ว คือสถาปนิกผู้ออกแบบ ทั้งยังเป็นเพื่อนสนิทที่รู้จักเจ้าของบ้านมาตั้งแต่เด็ก ตัวบ้านวางผังเป็นรูปตัวยู (U) หันหน้าเข้าหาบ้านหลังเดิม มีระเบียงไม้เล็กๆ […]

นิทรรศการศิลปะ Elegant and Enchanting

นิทรรศการใหม่ที่ The Shirley Sherwood Gallery of Botanical Art, Royal Botanic Gardens Kew, London,UK. The Royal Botanic Gardens, Kew and Dr.Shirley Sherwood OBE ได้จัดงานนิทรรศการใหม่ในชื่อ Elegant and Enchanting และ Zadok Ben-David: Natural Reserve  ขึ้นที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 – 27 มีนาคม 2565 โดยนิทรรศการนี้จะพาไปพบกับความงามอันละเมียดละไมจากโลกธรรมชาติ รวมถึงผลงานที่ได้รับการยกย่องในชื่อ  “Blackfield”  ซึ่งเป็นผลงานการเพ้นต์ภาพทางพฤกษศาสตร์ด้วยมือมากกว่า 17,000 ชิ้น นิทรรศการ Elegant and Enchating  ที่ Dr.Shirley Sherwood จัดขี้นนี้เพื่อเฉลิมฉลองให้กับเหล่าดอกไม้นานาพรรณที่มีอยู่ในประเทศญี่ปุ่น […]

บ้านขนาดกะทัดรัด สำหรับอยู่กับคุณแม่ผู้สูงวัย

เชื่อว่าคนในเมืองใหญ่ที่อยากหลีกหนีความสับสนวุ่นวายไปอาศัยอยู่จังหวัดอื่นเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ทุกวัน หากไม่นับเงื่อนไขด้านเงินทองแล้วก็คงต้องติดเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งหน้าที่การงานและการดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว การย้ายถิ่นฐานไปยังเมืองที่สงบ ร่มรื่น อากาศดี เพื่อสร้าง บ้านขนาดกะทัดรัด จึงเป็นไปไม่ได้ง่ายนัก เจ้าของ : ครอบครัวสุวัจฉราภินันท์ สถาปนิก : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab โดย ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ ทว่าสำหรับ ดร.สันต์  สุวัจฉราภินันท์  สถาปนิกห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลับมีจังหวะชีวิตที่ลงตัว เพราะที่ตั้งของ บ้านขนาดกะทัดรัด หลังใหม่นี้สอดรับกับหน้าที่การงานในตำแหน่งหัวหน้าหลักสูตรบัณฑิตศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งยังรองรับการอยู่อาศัยของคุณพ่อคุณแม่ซึ่งย้ายมาจากกรุงเทพฯเพื่อการดูแลได้อย่างใกล้ชิดในบรรยากาศที่คนวัยเกษียณท่านใดเห็นก็ต้องอิจฉา “บ้านหลังนี้เริ่มต้นจากเมื่อสองปีที่แล้วพยายามหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านของตัวเอง  ช่วงนั้นคุณแม่เริ่มป่วยและเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย  ทำให้ต้องเดินทางไปกลับกรุงเทพฯ – เชียงใหม่อยู่เสมอ  จากที่คิดจะสร้างบ้านเพื่อตัวเองก็เริ่มเปลี่ยนแผนว่าจะสร้างบ้านให้คุณพ่อคุณแม่ย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วยกันแทน”อาจารย์สันต์เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ให้เราฟัง “จากนั้นจึงมองหาที่ดินซึ่งมีคุณสมบัติ3 อย่าง  คือ  หนึ่ง  ต้องอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สอง  ต้องอากาศดี  สาม  ราคาไม่แพงเกินไป  ดูมาหลายแห่ง  บางที่ก็สวยมากแต่ราคาแพง  บางที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านซึ่งมีเงื่อนไขในการออกแบบบ้านจุกจิก  เราต้องการจะออกแบบบ้านเอง  จนมีคนแนะนำให้มาดูที่ดินแถวแม่ริมตรงนี้  พอมาดูที่ปุ๊บก็รู้สึกคลิกทันที  […]

สวนเมืองร้อน ของสถาปนิกระดับโลก

บ้านและสวนเดินทางไปประเทศศรีลังกา และมีโอกาสได้เยี่ยมชมบ้าน สวน และสถานที่สวยๆหลายต่อหลายแห่ง ที่หนึ่งที่เราประทับใจคือบ้านในสวนกว้างของสถาปนิกระดับปรมาจารย์ชาวศรีลังกาที่ชื่อ Geoffrey Bawa  หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อเสียงและเห็นภาพผลงานของเขามาบ้างแล้ว ที่นี่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้ที่ทำให้สถาปัตยกรรมและการจัดสวนสไตล์บาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สวนเมืองร้อน บาวาเติบโตในครอบครัวเลือดผสมในยุคที่ประเทศศรีลังกายังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ เขาได้รับการเลี้ยงดูแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก ดังนั้นความคิดความอ่านและมุมมองของเขาในเรื่องศิลปะวัฒนธรรมจึงกว้างขวาง แม้จะเรียนจบทางด้านกฎหมายในปี 1942 และเริ่มทำงานเป็นทนายความตามที่บิดาคาดหวังไว้ แต่หลังจากทำงานนี้ได้ไม่นานเขาก็เริ่มเบื่อหน่าย ในที่สุดบาวาก็ลาออกจากงานและไปท่องเที่ยวทวีปยุโรปในปี 1946 การเดินทางครั้งนี้ทำให้เขาหลงใหลในสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมคลาสสิกของประเทศอิตาลี เขาได้เห็น “วิลล่า” หรือคฤหาสน์บนเขาที่มีสวนและทิวทัศน์โดยรอบที่เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อเดินทางกลับประเทศศรีลังกาในปี 1948 เขาได้ซื้อสวนยางพาราเก่าที่ปล่อยทิ้งร้างบนภูเขาในเมืองเบนโตตา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะแปลงโฉมที่ดินเสื่อมโทรมผืนนี้ให้กลายเป็นสวนสวยแบบที่เขาเคยเห็นในประเทศอิตาลี สวนยางแห่งนี้มีชื่อว่า “ลูนากังก้า” (Lunaganga) สวนสไตล์บาหลี บาวาพยายามออกแบบบ้านและจัดสวนด้วยตัวเอง แต่ก็ได้พบความจริงว่า เขามีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการออกแบบบ้านและสวนไม่มากพอ ในปี1951 เขาตัดสินใจหางานทำในสำนักงานสถาปนิกเพื่อหาประสบการณ์เพิ่มเติม  และสมัครเข้าเรียนด้านสถาปัตยกรรมที่ Architectural Association สถาบันออกแบบที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ขณะนั้นเขามีอายุ 34 ปี และกลายเป็นนักศึกษาปีหนึ่งที่มีอายุมากที่สุดในโรงเรียน  สามสิบปีต่อมาบาวากลายเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของประเทศศรีลังกา ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อวงการออกแบบทั่วโลกในช่วงปลายศริสต์ศตวรรษที่ 20  เขาได้รับการยกย่องให้เป็นนักออกแบบที่ผสมผสานสุนทรียภาพจากระเบียบแบบแผนในงานออกแบบของยุโรปให้เข้ากับศิลปะวัฒนธรรม และเสน่ห์การใช้ชีวิตของชาวเอเชียใต้ได้อย่างกลมกลืน นอกจากงานในประเทศแล้ว เขายังมีงานออกแบบในกลุ่มประเทศเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง โดยเฉพาะที่โรงแรมบนเกาะบาหลีซึ่งกลายเป็นต้นแบบของอาคารในประเทศเขตร้อนที่เราเรียกว่า “สไตล์บาหลี”   […]

สวนสไตล์ยุโรป สวยหวานโรแมนติก

หากคุณมีโอกาสได้ขึ้นเหนือไปที่จังหวัดเชียงราย ร้านกาแฟริมแม่น้ำกกแห่งนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่ขอแนะนำให้คุณไปเยี่ยมเยือน ที่นี่โดดเด่นด้วยรูปแบบอาคารเรือนไม้สีขาว 2 ชั้น สไตล์โคโลเนียล สมัยรัชกาลที่ 6 รายล้อมด้วยต้นไม้สูงใหญ่และพรรณไม้ที่มีรายละเอียดพิถีพิถัน ซึ่งได้รับการออกแบบให้กลมกลืนไปกับตัวอาคาร เป็นมนตร์เสน่ห์ที่งดงามลงตัวราวกับถูกร่ายมนตร์ เจ้าของ : คุณนัทธมน และคุณยูอาคิม โฮล์มเบิร์ก จัดสวน :คุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง และคุณจาตุรงค์ ขุนกอง แห่ง Little Tree Landscape แม้การทำงานจะมีอุปสรรคบ้าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคย จึงต้องตระเวนสำรวจพรรณไม้ในท้องถิ่น เพื่อคัดเลือกให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ซึ่งมีไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านร่มครึ้มอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งสภาพพื้นที่เดิมเป็นสโลปเอียงลาดไปยังริมแม่น้ำกก ทำให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้น้อย จึงแก้ปัญหาด้วยการปรับเป็นพื้นราบแล้วทำสเต็ปเพื่อแบ่งขอบเขตการใช้งานแทน สวนสไตล์ยุโรป การออกแบบสวนแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ตามโครงสร้างของอาคาร คือ ส่วนของ Coffee House ซึ่งมีแนวคิดการออกแบบเป็นสวนชนบทยุโรป ปลูกแปลงไม้ดอกสีผสมเพื่อให้ตัวอาคารเด่นขึ้น และอีกส่วนคือ Day Spa อาคารยุคโคโลเนียล ที่ต้องการสร้างบรรยากาศสวน ให้สวยงามและกลมกลืนกับสถาปัตยกรรม จากบริเวณด้านหน้าส่วนของ Coffee House ตกแต่งด้วยแปลงไม้ดอกสีผสม ปลูกกุหลาบเลื้อยให้เลื้อยระไปกับซุ้มระแนงหน้าประตูทางเข้า แทรกด้วยของสะสมที่เจ้าของบ้านชื่นชอบและออกแบบให้มีพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับจอดรถมอเตอร์ไซค์คันโปรดของคุณยูอาคิม บริเวณด้านข้างมีรั้วเตี้ยสีขาวออกแบบมาพร้อมกับตัวอาคาร ตามแบบฉบับบ้านในชนบทยุโรป […]

สวนธรรมชาติ ในบรรยากาศบ้านชนบท

สวนธรรมชาติ ที่ปรับปรุงจากสวนเก่าที่เคยรกและแน่นด้วยต้นไม้แบบที่ไม่ได้จัดแต่ง จนได้นักจัดสวนมาช่วยจัดวางพื้นที่ใหม่ทั้งหมด ทำให้พื้นที่สวนดูโปร่งตา และสามารถเดินเข้าไปใช้งานได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังทำทางเดินใหม่ เติมบ่อน้ำรูปทรงธรรมชาติ และนำดินที่ขุดมาถมเป็นเนินดินและทางน้ำไหลลงสระกับบ่อพักซึ่งกระจายอยู่ทั่วสวน เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังตามสนามหญ้า เจ้าของ : คุณอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ จัดสวน : คุณมณฑล จิโรภาส เราออกเดินทางตั้งแต่ท้องฟ้ายังไม่ทันสว่างดีเพื่อไปเก็บภาพ สวนธรรมชาติ ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ให้ทันในช่วงเช้า เพราะช่างภาพกระซิบ บอกมาว่าเป็นเวลาที่ถ่ายภาพออกมาได้สวยที่สุด โชคดีที่สำนักงานของเรา อยู่แถบชานเมืองด้านตะวันตก จึงใช้เวลาเดินทางไม่นานนัก ภาพสองข้างทางที่ค่อยๆ เปลี่ยนจากหมูบ้านจัดสรรกลายเป็นชุมชน ตลาด บ้านเรือน เริ่มทิ้งระยะห่างกันมากขึ้นทุกที ในที่สุดก็กลายเป็นทุ่งนาสลับกับสวนดอกรัก เป็นอันบ่งบอกว่าใกล้ถึงที่หมายแล้ว เจ้าของบ้านหลังนี้คือนักแสดงมากฝีมือ พ่วงด้วยตำแหนง่ ครูสอนโยคะ ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึง ป้าจิ๊ – คุณอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ ถ้าใคร ยังจำกันได้ บ้านหลังนี้เคยลงในนิตยสารบ้านและสวน มาแล้ว นอกจากบ้านที่น่าอยู่แล้ว รอบบ้านยัง รายล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ดูกลมกลืนไปกับธรรมชาติโดยรอบทั้งทุ่งนาและ ท้องร่องสวนเก่า “ป้าซื้อที่ดินที่นี่เพราะเจ้าของเป็นรุ่นพี่ที่เรียนจุฬาฯด้วยกัน ตอนแรก ซื้อแปลงเดียวตรงที่ปลูกบ้านนี่ละ ส่วนแปลงข้างๆ […]

บ้านมิกซ์แอนด์แมตช์ ผสมความดิบและวินเทจ

บ้านทรงกล่องหลังนี้ มีความกลมกล่อมในเรื่องการผสมผสานสไตล์ที่แตกต่างกันระหว่างความดิบเปลือยของวัสดุสไตล์อินดัสเทรียลดีไซน์ให้เข้ากับของตกแต่งสไตล์วินเทจแบบผู้หญิง ที่ทำให้บ้านดูไม่แข็งจนเกินไป กลายเป็นบ้าน มิกซ์แอนด์แมตช์ ที่นำความชอบจากหลายๆ สิ่งมารวมกันได้อย่างลงตัว เจ้าของ : คุณชนกวนันท์ รักชีพ ออกแบบ : คุณสุวาสน์ เมฆคงถาวร “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน” ยังคงใช้ได้ดีมาทุกยุคทุกสมัย แต่ฉันรู้ซึ้งกับความหมายของคำพังเพยนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อได้มาเยี่ยมชมบ้านของคุณชนกวนันท์ รักชีพ เบื้องหลังบ้านทรงกล่องสไตล์ มิกซ์แอนด์แมตช์ บนพื้นที่หนึ่งไร่ในย่านเลียบทางด่วนรามอินทรานี้ ใครจะทราบบ้างว่ามีเรื่องราวเริ่มต้นมาจากเสื้อผ้า คุณตุ๊กเล่าให้ฟังว่า “ตุ๊กชอบเสื้อผ้าแบรนด์ WWA ของ พี่วาสน์(คุณสุวาสน์ เมฆคงถาวร) มากๆ แรกๆ ตุ๊กก็เป็นลูกค้า ชอบที่ดีไซน์และความเนี้ยบของเขา จนวันหนึ่งมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านพี่วาสน์ รู้สึกประทับใจในสไตล์ของเขามากๆ จนเอ่ยปากว่า ถ้ามีบ้านจะให้พี่วาสน์ออกแบบให้ แล้วก็สมใจค่ะ” เมื่อถามถึงสไตล์การออกแบบของบ้านหลังนี้กับคุณวาสน์บ้าง เขาก็ตอบยิ้มๆ ว่า “ผมไม่ได้เจาะจงว่าบ้านนี้เป็นสไตล์ไหน เพราะวาดออกมาจากความรู้สึก โดยเอาความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก ตอนแรกน้องบอกว่าบ้านของเขาไม่ใหญ่ แต่พอลิสต์ความต้องการแล้วก็รู้ว่าไม่เล็ก ผมจึงเริ่มจากการสเก็ตช์ทุกอย่างเป็นกล่องย่อยๆ แล้วค่อยนำมาต่อรวมกัน จากนั้นถึงออกแบบตัวอาคารครอบ “ผมว่าเรื่องของสไตล์เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์นะครับ อย่างคลาสสิกก็มาจากยุคหนึ่ง โมเดิร์นในแต่ละช่วงเวลาก็ไม่เหมือนกัน บ้านนี้ผมว่าเป็นบ้านแบบไม่มีแพตเทิร์น แต่นำความชอบพื้นที่กว้างโล่งและวัสดุแบบเปลือยๆ […]