© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
Blue Coffee at Mae Hia คาเฟ่เชียงใหม่ น่าไปเช็คอิน กับคอนเซ็ปต์เปิดร้านให้เป็นทั้งโคเวิร์กกิ้งสเปซและจัดเสิร์ฟกาแฟคุณภาพดี
ARABIA COFFEE แบรนด์กาแฟที่ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ ค.ศ.1991 กับการนำเสนอกาแฟคุณภาพจากดอยปางขอน แหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย
พาไปเยี่ยมชม สตูดิโอนักออกแบบ สถานที่ทำงานของนักออกแบบผู้มีอิสระทางความคิด “อิสรภาพ” ดีไซน์สตูดิโอที่มีผลงานโดดเด่นด้วยงานดีไซน์ร่วมสมัย กับการหยิบยกบริบทแบบไทย ๆ มาต่อยอดจนกลายเป็นไอเดียสนุก ๆ ในแบบที่ไม่มีใครคาดคิด เปลี่ยนอาคาร “เม้งกวงตี่” อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ที่เคยเป็นโรงงานคอตต้อนบัดเก่าในซอยย่านเจริญนคร สู่อาณาจักรของกลุ่ม “อิสรภาพ” กลุ่มนักออกแบบ 4 คน จาก 3 สตูดิโอ คือ คุณณิชภัค ต่อสุทธิ์กนก และคุณวนัส โชคทวีศักดิ์ จาก ease Studio คุณธีรพจน์ ธีโรภาส จาก Kitt-ta-khon และคุณรัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ จาก SATAWAT อาคารตึกแถวอายุกว่าสามทศวรรษแห่งนี้เป็นมรดกตกทอดของครอบครัวคุณณิชภัค การปรับปรุงครั้งใหญ่เริ่มต้นขึ้น เมื่อได้เวลาที่ ease Studio ต้องขยับขยาย เธอจึงชวนเพื่อนนักออกแบบร่วมอุดมการณ์มาร่วมแชร์ทั้งพื้นที่ทำงานและแนวคิดสร้างสรรค์ ให้ที่นี่กลายเป็นพื้นที่ทำงานเวิร์กชอป และพื้นที่จัดแสดงสำหรับทุกการสร้างสรรค์ของพวกเขา เดิมตึกแถวนี้เคยเป็นโรงงานคอตต้อนบัดอยู่หลายสิบปี และอดีตซอยนี้ก็เต็มไปด้วยธุรกิจห้างร้าน ทั้งโรงงานทอผ้า โรงงานทำพลั่ว โรงงานทำป้ายโฆษณา ไปจนถึงร้านตัดกางเกงยีน […]
คาเฟ่เชียงราย กับการเปลี่ยนตึกแถวเป็นคาเฟ่ฟีลเหมือนอยู่บ้าน ตัดขาดความวุ่นวายกลางเมืองเชียงราย
บ้านหน้าแคบ ในประเทศเวียดนาม ตั้งใจออกแบบและก่อสร้างให้ตอบโจทย์กับความต้องการของคุณครูสาวเจ้าของบ้าน
Holly Water Cabin บ้านเคบิน หรือกระท่อมพักตากอากาศ ตั้งอยู่อย่างถ่อมตนและดูสงบงาม กลางทุ่งกสิกรรมขนาดกว้างขวาง บนเกาะเดวอน ประเทศอังกฤษ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศในวันหยุด สำหรับเจ้าของบ้านที่อยากมารับกลิ่นอายและพลังงานบวกจากธรรมชาติรอบตัว บ้านเคบิน ชั้นเดียวกลางทุ่งสีเขียวดูสดชื่นนี้ เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอสัญชาติอังกฤษ Out of the Valley กับโจทย์ของการสร้างบ้านขนาดเล็กที่ช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถอยู่ร่วมและดื่มด่ำกับธรรมชาติอันสวยงามของเกาะเดวอนได้เต็มที่ ด้านการออกแบบตัวบ้านหรือผนังภายในถูกเคลือบด้วยดินเหนียว ซึ่งช่วยระบายอากาศและควบคุมอุณหภูมิของบ้านได้อย่างดี ภายนอกห่อหุ้มด้วยไม้สนซีดาร์ซึ่งมาจากโรงงานในท้องถิ่น ตัวบ้านเป็นแบบยกพื้นเพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นดิน หลังคาเป็นเพิงแหงนพร้อมชายคาที่กว้างขวาง ภายในบ้านเป็นพื้นที่แบบเปิดโล่ง มีมุมห้องครัวยาวขนาดตามแนวผนังด้านหนึ่งที่กรุด้านหลังด้วยไม้โอ๊ก มีห้องน้ำและเตียงนอนแสนสบายที่มองเห็นวิวทุ่งกว้าง ฐานเตียงออกแบบให้มีช่องลิ้นชักอยู่ข้างใต้สำหรับใช้เก็บของได้ ช่องเปิดของบ้านเป็นแบบประตูบานเลื่อนที่เปิดออกได้จนสุด ให้สามารถรับอากาศบริสุทธิ์และภูมิทัศน์ทุ่งเกษตรกรรมที่กว้างถึง 4.5 เอเคอร์ หรือจะออกมานอนแช่อ่างน้ำที่นอกชาน ฟังเสียงธรรมชาติ และดื่มด่ำกับวิวสีเขียวชอุ่มก็ชิลแบบสุด ๆ ออกแบบ : Out of the Valley (https://outofthevalley.co.uk/) ภาพ : Rupert McKelvie, Stephanie Osmond เรียบเรียง : Phattaraphon
เปลี่ยนพื้นที่ว่างริมสวนให้เป็น บ้านชั้นเดียว ขนานไปกับแนวกำแพงอิฐโชว์ลาย ผลงานการออกแบบโดยสตูดิโอออกแบบสัญชาติเอกวาดอร์ El Sindicato Arquitectura กับการพยายามแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่พักอาศัยให้เพียงพอ โดยเฉพาะในครอบครัวขยายที่ต้องการมีที่พักอาศัยแบบเป็นส่วนตัว แต่แนวคิดการสร้าง บ้านชั้นเดียว ให้มีผนังร่วมกับกำแพงอิฐเดิมนี้ กลับไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่าย ๆ เพราะมีปัญหาให้ต้องแก้ไข เช่น ปัญหาเรื่องความชื้น จนนำมาสู่การเว้นระยะห่างเพื่อให้ผนังยังหายใจได้ การสร้างบ้านที่ต้องเว้นระยะห่างระหว่างแนวอิฐดั้งเดิม จึงถูกคั่นด้วยสวนขนาดเล็กที่ลงตัวและช่วยสร้างบรรยากาศให้บ้านดูสดชื่น หลังคาด้านบนเว้นช่องว่างตรงกับระยะห่างระหว่างกำแพงอิฐกับพื้นที่ภายในบ้าน กรุด้วยแผ่นโปร่งแสงเพื่อทำหน้าที่นำแสงสว่างให้ส่องลงมายังพื้นที่ด้านล่าง ทำให้เกิดเป็นเส้นสายของแสงเงา เมื่อตกกระทบกับคานหลังคาไม้ ก่อนทาบลงบนผิวกำแพงอิฐ โดยแสงเงาที่ปรากฏจะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลาของวัน ขณะที่การวางแปลนตามยาวขนานกับกำแพง ผู้ออกแบบได้กำหนดให้ห้องน้ำเป็นแกนกลาง สำหรับแยกกิจกรรมต่าง ๆ ของบ้านตามลำดับการใช้งาน โดยแบ่งเป็นปีกขวาและซ้าย ฝั่งขวาจัดให้เป็นพื้นที่ของห้องครัว มุมรับประทานอาหาร และมุมนั่งเล่น เปิดวิวออกสู่ชานพักผ่อนสำหรับชมสวนหน้าบ้าน ส่วนฝั่งซ้ายคือห้องนอนที่มีความเป็นส่วนตัวอยู่ลึกเข้าไปด้านในสุด โครงสร้างและเฟอร์เนิเจอร์ส่วนใหญ่ทำจากไม้ทั้งหมด เพื่อให้ความรู้สึกที่อบอุ่น และเข้ากับวัสดุหลักอย่าง อิฐ พร้อมช่องเปิดขนาดใหญ่ ช่วยให้แสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้งภายในกับธรรมชาติภายนอก เหมาะเป็นไอเดียสำหรับผู้กำลังมองหาแบบบ้านขนาดเล็ก ที่มีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนเติมเต็ม ให้ทั้งความเรียบง่ายและสะดวกสบาย เพียงพอกับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดเล็ก ออกแบบ : El Sindicato Arquitectura (https://www.elsindicatoarquitectura.com/)ภาพ : […]
!YEH Public House คาเฟ่ประชาชื่น น้องใหม่สุดว้าว! แห่งย่าน จุดนัดพบของคนทุกวัยที่ขอเอาใจทั้งสายกาแฟและสายแฮ้งเอ๊าต์ ภายใต้ธีมเบบี้บรันช์คลับบรรยากาศเรโทฟิวเจอร์ เพราะงานออกแบบที่ดีมีส่วนช่วยสร้างสรรค์เมือง โดยเฉพาะย่านที่เรียกว่า Local Area ให้มีบรรยากาศและสีสันช่วยกระตุ้นคุณภาพชีวิตของผู้คนในย่านให้มีความสุข แบบไม่ต้องไปแสวงหาจากที่ไหนไกล นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ FLAT12x มีไอเดียในการออกแบบ !YEH Public House เพื่อเป็นจุดนัดพบบรรยากาศดี มอบให้แก่ผู้คนที่แวะเวียนมายังตลาดบองมาร์เช่ ซึ่งมีทุกเพศทุกวัย หรือคนใน Neighborhood Area ย่านประชาชื่น ได้มี Third Place สำหรับมาพบปะ หรือใช้เวลาพักผ่อนชิล ๆ ได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ความเด่นของคาเฟ่นี้ เขาเอาใจทั้งสายกาแฟและสายแฮ้งเอ๊าต์ โดยเวลากลางวันจัดเสิร์ฟกาแฟและอาหารแบบ Babybrunch อาหารมื้อเบาที่ทานได้ตลอดวัน กลางคืนเปิดเป็นบาร์จัดเสิร์ฟเบียร์และไวน์พร้อมบู๊ธดีเจให้ผู้คนได้มาเอ็นจอย ทั้งหมดมาจากการตอบคำถามที่ว่า ทำไมบางคาเฟ่จึงมีแต่กาแฟแต่ไม่มีอาหาร หรือเสิร์ฟอาหารแต่ไม่มีกาแฟ หรือบางร้านมีกาแฟแต่ไม่มีไวน์ ที่นี่จึงรวมทุกความต้องการไว้ในที่เดียว ส่วนการตกแต่งร้านก็เต็มไปด้วยสีสันกระปรี้กระเปร่า ท่ามกลางบรรยากาศที่ถูกนิยามว่า “เรโทรฟิวเจอร์” ผู้ออกแบบจาก FLAT12X เล่าว่า การออกแบบด้วยนิยามนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้คาเฟ่ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มักมาช็อปปิ้งในตลาดบองมาร์เช่มีความรู้สึกย้อนรำลึกถึงวันวาน หรือเด็ก ๆ และวัยรุ่นก็จะรู้สึกสนุกผ่านสีสันและลูกเล่นต่าง […]
Aston Gilbert คาเฟ่นครศรีฯ กลางสวนยางพารา ในอำเภอพรหมคีรี เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณแชมป์-ภวัต สุวรรณมาศ เจ้าของร้านที่อยากดึงเอกลักษณ์สภาพแวดล้อมที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในสวนยางพารากว่า 30 ไร่ ของครอบครัว ให้มาเป็นส่วนหนึ่งกับอาคารเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การดื่มกาแฟที่แปลกใหม่ พร้อม ๆ กับการได้เฝ้ามองสีสันของธรรมชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: VARC HD+ID สถาปนิกผู้ออกแบบ Aston Gilbert จาก VARC HD+ID เล่าว่า เนื่องจากบริบทรอบ ๆ ของที่ตั้งอยู่กลางสวนยางพารา รอบ ๆ เป็นสวนผลไม้ และชุมชนเล็ก ๆ มีถนนลัดเลาะไปตามภูเขา จึงออกแบบอาคารของคาเฟ่ให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไม่ดูแปลกแยกจากบริบทจนเกินไป นำมาสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์นแบบถ่อมตน โชว์สัจวัสดุและความงามของธรรมชาติรอบ ๆ ที่ตั้ง ซึ่งไม่ซ้ำกันสักวันอย่างในฤดูฝนสวนยางจะเขียวชอุ่มสดชื่น ต่างจากฤดูร้อนที่จะมองเห็นต้นยางทิ้งใบสีน้ำตาล ลำต้นโอนเอนไปตามแรงลม และแสงแดดที่ลอดผ่านกิ่งก้านลงมายังพื้นดินเบื้องล่าง ภาพเหล่านี้ถูกสะท้อนไปที่ฟาซาดกระจกเงานับ 90,000 ชิ้น ซึ่งช่วยเปลี่ยนมู้ดของอาคารไปตามแต่ละช่วงเวลา และกระจกเงาที่ใช้กรุฟาซาดนี้ ยังนับเป็นงานสุดท้าทายของสถาปนิก เสมือนการทดลองเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทั้งเจ้าของร้าน ผู้ออกแบบ และช่างประจำท้องถิ่น […]
วัสดุเหล่านี้อาจดูเหมือนวัสดุก่อสร้างโดยทั่วไป แต่แท้จริงแล้วนี่คือวัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษเหลือวัสดุ เพื่อเกิดเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้างแนว Circular Design ในนาม loqa Loqa เป็นแบรนด์ไทยที่ก่อตั้งโดย คุณนนท์-นรฤทธิ์ วิสิฐนรภัทร และ คุณมาย-มนัสลิล มนุญพร ด้วยความหวังในการเริ่มต้น “ทำ” ในสิ่งที่ทำได้ เพื่อความยั่งยืนของโลกอย่างเป็นรูปธรรม วัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ คือสิ่งที่ทั้งสองให้ความสนใจ และด้วยพื้นฐานธุรกิจทางบ้านของคุณนนท์ที่เป็นผู้ผลิตอิฐทนไฟ การเริ่มต้นกับวัสดุประเภทอิฐจึงไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกำลัง Loqa เริ่มต้นจากการทดลองใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งหลากหลาย เช่น เซรามิก แก้วจากขวดเก่า หรือวัสดุอื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ หรือขยะทางการเกษตร ณ ปัจจุบัน Loqa แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ กลุ่มประเภท Surface เช่น วัสดุก่อผนัง ปูพื้น และอิฐช่องลม และกลุ่มประเภทงาน Casted หรือการหล่อขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน เช่น แจกัน ประติมากรรม เชิงเทียง และกระถาง จุดเด่นของ Loqa […]
FILO ร้านอาหารในเมือง Torreón ประเทศเม็กซิโก โดดเด่นด้วยการตกแต่งสไตล์เมมฟิส มีแรงบันดาลใจความสดใสมาจากยุค 90’s ผลงานการออกแบบร้านอาหาร สไตล์เมมฟิส เป็นการจับมือกันของ 2 สตูดิโอออกแบบ Andrés Mier y Terán และ Regina Galvanduque (MYT+GLVDK) กับการออกแบบร้านอาหารตะวันออกกลางในบรรยากาศย้อนยุค ผสมผสานเส้นสายเรขาคณิตและกราฟิกสีสันสดใส หรือที่รู้จักกันในชื่อ Memphis Style เนื่องจากเจ้าของร้านเป็นสตรีชาวเม็กซิโกเชื้อสายเลบานอน เธอจึงอยากให้ที่นี่ช่วยเล่าเรื่องราวที่สะท้อนรากวัฒนธรรมอาหารแบบตะวันออกกลาง ด้วยการนำเฉดสีในอาหารโดยเฉพาะขนมฟีโล ขนมทานเล่นสไตล์ตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อร้าน มาใช้เป็นธีมสีในการออกแบบตกแต่ง โดยขนมชนิดนี้มีส่วนผสมหลายอย่าง อาทิ น้ำมันมะกอก ถั่วพิสตาชิโอ น้ำกุหลาบของดามัสกัส มะเดื่อ ซูแมค พริกไทย และเครื่องเทศต่าง ๆ บรรยากาศของร้านจึงเต็มไปด้วยเฉดสีที่หลากหลาย ภายในพื้นที่ 210 ตารางเมตร มีอิทธิพลงานออกแบบมาจากสไตล์เมมฟิส (Memphis Style) อีกหนึ่งแนวทางการออกแบบที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของยุค 90’s โดยสไตล์เมมฟิสนี้ มีความโดดเด่นด้วยการผสมผสานรูปทรงเรขาคณิต และการใช้สีสันสดใสที่ตัดกัน ฉีกกฎการออกแบบด้วยการให้ความสำคัญกับรูปทรง ผลงานของงานดีไซน์สไตล์เมมฟิสส่วนใหญ่ […]
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร โฉมใหม่ ที่เปลี่ยนคราบขนบอาคารราชการยุคเก่าทิ้งไป สู่สถาปัตยกรรมลุคโมเดิร์นเรียบง่ายทันสมัย ดึงดูดใจให้ผู้คนทั่วไปทุกระดับชั้น สามารถเข้ามาหาความรู้มากขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supermachine Studio อาคาร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เปิดใช้ทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 โดยตั้งใจให้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งการรวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ และสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นที่ปรึกษาและให้การอุปถัมภ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากประวัติอาคารตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพตัวอาคารที่ค่อนข้างเก่า อีกทั้งยังมีความเป็นทางการ ตามแบบประเพณีนิยมการออกแบบอาคารราชการทั่วไป ที่มักมีรายละเอียดเด่น ๆ อย่างหลังคาทรงจั่ว บันไดทางขึ้นที่สูงชัน เสาโรมันขนาดใหญ่ พื้นทรายล้าง หลังคาแบบยื่นยาว รวมถึง Drop-off ขนาดใหญ่ และฯลฯ มาวันนี้ด้วยวิสัยทัศน์ของนายแพทย์ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ท่านต้องการเปลี่ยนบรรยากาศและภาพลักษณ์ของศูนย์มานุษยวิทยาฯ ใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยมอบให้สถาปนิก Supermachine Studio เป็นผู้ออกแบบ […]