Wood and Mountain Cabin บ้านกระท่อม โฮมสเตย์กลางธรรมชาติ

ชวนคุณเดินทางไปอาบป่าพร้อมเยี่ยมเยือนโฮมสเตย์ใหม่ใน บ้านกระท่อม หลังน้อยท่ามกลางธรรมชาติที่  Wood and Mountain Cabin อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ของแบรนด์ Wood and Mountain และ If I were a carpenter แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไทยผู้รักงานไม้และภูมิปัญญาดั้งเดิม พร้อมพูดคุยกับ Sher Maker ทีมสถาปนิกท้องถิ่นที่รักการศึกษาวัสดุ และสถาปัตยกรรมเป็นชีวิตจิตใจ ออกแบบ : Sher Maker บ้านกระท่อม หรือ Cabin คือคีย์เวิร์ดที่เจ้าของโครงการมอบเป็นความคิดตั้งต้น ก่อนที่ทีมสถาปนิกผู้รักในงานไม้จะนำมาพัฒนาต่อยอด ชนิดที่เรียกว่า ‘ได้ทดลองเต็มที่ทุกอย่างกับงานสถาปัตยกรรมประเภทกระท่อม’ ก่อนส่งมอบผลลัพธ์เป็นงานสถาปัตยกรรม ที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและใช้ชีวิต แม้จะเป็นงานที่เข้าทางและดูเหมือนง่าย แต่ก็แอบมีรายละเอียดที่ท้าทายอย่างมาก อีกงานหนึ่งของทีมผู้ออกแบบเลยก็ว่าได้ รูปทรง ภายใต้โปรแกรมการทำงานที่ธรรมดา กลับมีรายละเอียดของความไม่ธรรมดาซ่อนอยู่ ซึ่งถูกคิดคำนวณและจัดสรรมาอย่างดี ผ่านการทำความเข้าใจในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมร่วมกันระหว่างสถาปนิกกับเจ้าของ​ “เวลาพูดถึงเคบิน (Cabin) หลายคนมักจะใช้คำว่า Homestay แต่เจ้าของให้คำสำคัญกับเรามาเลยว่า Cabin in the Middle of […]

NHA LONG HEM รีโนเวทบ้านเก่า เป็นบ้านสีมินต์พร้อมดีไซน์พื้นที่ใช้สอยครบลงตัว

รีโนเวทบ้านเก่า ในตรอกที่แสนคับแคบในเวียดนาม ให้กลายเป็นบ้านน่าอยู่สีเขียวมินต์แสนหวาน ตามโจทย์ที่หญิงสาวเจ้าของบ้านอยากให้ที่นี่เติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่สำคัญยังสามารถเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ ที่ชั้นล่างของบ้านได้ด้วย เล่าย้อนไปหญิงสาวเจ้าของบ้านที่อยู่อาศัยกับพ่อแม่ที่เกษียณอายุ ตัดสินใจ รีโนเวทบ้านเก่า ของตนเองใหม่ให้มีความเป็นส่วนตัว และตอบสนองการใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ทำงานอดิเรกที่เธอชื่นชอบ เช่น มุมอ่านหนังสือ วาดภาพ และเล่นดนตรี ช่วยให้แม้จะอยู่ในย่านที่พลุกพล่านและแสนคับแคบ บ้านนี้ก็ตอบสนองการใช้งานได้แบบไม่น่าเบื่อ เนื่องจากตั้งอยู่ในย่านชุมชนที่ค่อนข้างแออัด สถาปนิกจาก AD+studio จึงตั้งใจออกแบบบ้าน NHA LONG HEM หลังนี้ ให้มีความมิดชิดและเป็นส่วนตัว เด่นด้วยการเลือกใช้เส้นสายคล้ายฟันปลา หรือมองอีกแง่ก็คล้ายสันรูปสามเหลี่ยมที่เกิดจากการพับกระดาษทบกันไปมาแล้วคลี่ออก ร่วมกับการหยิบคู่สีที่ตัดกันอย่างสีเขียวมินต์กับสีส้มโอลด์โรสมาช่วยสร้างสีสันและความสดใส เห็นได้จากประตูเหล็กบานเฟี้ยมสีเขียวมินต์สูงตระหง่านจนถึงระเบียงชั้น 2 ทำหน้าที่ปิดบังสายตาจากคนที่ผ่านไปมา มีดีเทลด้วยการใช้แผ่นเหล็กเจาะรูแบบถี่ ๆ เพื่อยอมให้แสงและลมหมุนเวียนถ่ายเทเข้าสู่บ้านภายในได้ และเมื่อเข้ามาด้านในยังปรากฏให้เห็นเส้นฟันปลานี้อยู่ในส่วนต่าง ๆ ของบ้าน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างด้านหน้าถูกสงวนไว้สำหรับเจ้าของบ้านใช้เปิดเป็นร้านขายอาหารเล็ก ๆ ได้ในอนาคต ดังนั้นพื้นที่พักอาศัยที่เป็นส่วนตัวจริง ๆ จึงถูกขยับให้ขึ้นไปอยู่ที่ชั้น 2 และ 3 เกิดเป็นการออกแบบคานระเบียงในลักษณะที่ยื่นออกมาแบบเหลื่อมกันระหว่างชั้น 2 และ 3 เผยให้มองเห็นท้องคานปูนเปลือยเป็นลายซิกแซกโชว์ความดิบของโครงสร้างให้เห็นอย่างชัดเจน […]

MATCHA MOOD เข้าถึงรสมัทฉะแท้ ในคาเฟ่บรรยากาศลิตเติ้ลเจแปน

Matchamood  เอาใจคนไม่ดื่มกาแฟ กับคาเฟ่สไตล์ Matcha Specialist ที่คัดสรรชาคุณภาพระดับพรีเมียม ส่งตรงจากเมืองชิซึโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เหล่ามัทฉะเลิฟเวอร์ทั้งหลาย ได้ลิ้มลองรสสัมผัสของชาญี่ปุ่นแท้ ๆ ร้าน Matcha Mood เริ่มต้นมาจากคุณแพร-แพรทอง ทองอุทัยศิริ เจ้าของคาเฟ่ผู้ชื่นชอบการดื่มชาเขียว ทั้งยังมีโอกาสได้เดินทางไปญี่ปุ่นหลาย ๆ ครั้งในฐานะที่เคยทำงานเป็นแอร์โฮสเตส เธอจึงเปลี่ยนความชอบเป็นความหลงใหล ก่อนพาตัวเองเข้าสู่วงการชาแบบเต็มตัว ด้วยการเดินทางไปเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติถึงที่ญี่ปุ่น กระทั่งเจอพิษโควิดเมื่อปีก่อน ทำให้ต้องลาออกจากอาชัพ แล้วหันมาเปิดคาเฟ่ชาเขียวอย่างจริงจัง โดยนำสิ่งที่ตนมีความรู้และชื่นชอบมาต่อยอดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อนำเข้าชาเขียวจากแหล่งปลูกที่มีชื่อเสียงได้รับรางวัลจากเมืองชิซึโอกะด้วยตนเอง เบลนด์รสชาติชาเขียวแต่ละสายพันธุ์ที่มีรสชาติและกลิ่นหอมต่างกัน จนได้สูตรเฉพาะของที่ร้าน โดยเธอให้ชื่อว่า Matcha 01 และ 02 ซึ่งชัดเจนทั้งกลิ่นและรสชาติ (ในอนาคตคุณแพรตั้งใจจะพัฒนาสูตรชาเขียวใหม่ ๆ เพิ่มเติมตามมาอีกแน่นอน) นอกจากนั้นทางร้านยังมีชาอื่น ๆ ให้เลือกลิ้มลอง เช่น เกียวคุโระที่หาดื่มยาก เก็นไมฉะ และโฮจิฉะที่หลายคนรู้จักดี สำหรับกินคู่กับขนมมาเดอลีนสูตรฝรั่งเศสโฮมเมดแสนอร่อย ซึ่งมีให้เลือก 3 รสชาติ คือ Butter Yuzu และNutella นอกจากความจริงจังในการคัดเลือกชาระดับพรีเมียมให้ลูกค้าได้ดื่มแล้ว […]

PAPA BEACH PATTAYA พักผ่อนสไตล์บีชเฮ้าส์ ในอาคารไม้ไผ่เลียนแบบเสากระโดงเรือ

Papa Beach Pattaya ร้านอาหารที่แฝงตัวอยู่อย่างลับ ๆ เชิงผาริมหาดบ้านอำเภอ โดดเด่นด้วยทำเลเยี่ยมที่มาพร้อมวิวทะเลแบบพานอรามาสุดสายตา นอกจากบรรยากาศน่าสบายที่เกิดจากธรรมชาติ การออกแบบให้มีมุมนั่งรับประทานอาหารหลากหลายรูปแบบ ยังช่วยสร้างบรรยากาศพักผ่อนให้ Papa Beach Pattaya มีสีสันได้อย่างน่าประทับใจ จากแรงบันดาลใจเหนือจินตนาการที่บอกเล่าเรื่องราวของ “เรือสำราญที่ลอยมาเทียบท่าบนเกาะ” ได้รับการตีความให้เกิดเป็นรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมตัวอาคารไม้ไผ่ ที่เปรียบเสมือนเรือลำใหญ่ที่จอดเทียบริมหาดทรายท่ามกลางต้นไม้น้อยใหญ่ที่สร้างความร่มรื่น รายล้อมด้วยประติมากรรมไม้ไผ่ดูแปลกตา ทางเข้าอาคารโดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้ไผ่เรียงรายเหมือนเสากระโดงเรือ นำสายตาตลอดแนวทางเดินสู่ด้านใน ผนังเพ้นต์ภาพลวดลายไลฟ์สไตล์ชาวเกาะ ต้อนรับทุกคนเข้าสู่ด้านในร้านอาหาร ซึ่งตกแต่งในรูปแบบรีสอร์ตริมทะเล(Coastal Design) มุมเคาน์เตอร์บาร์ทรงโค้งออกแบบให้คล้ายกับห้องควบคุมเรือ กรุกระเบื้องสีขาวเรียบง่าย ขับเน้นให้โครงสร้างไม้ไผ่บนฝ้าเพดานโดดเด่นยิ่งขึ้น เสมือนพื้นที่พักผ่อนใต้ร่มมะพร้าวที่เรียงรายบนชายหาด เก้าอี้สานแพตเทิร์นขาว-ดำ และโต๊ะลายหินขัดสดใส เพิ่มรายละเอียดน่าสนุกให้ทุกมุม อาคารหลักเชื่อมต่อกับส่วนอัฒจันทร์สำหรับนั่งรับลมทะเล หรือชมพระอาทิตย์ตกดิน ส่วนด้านล่างมีมุมสระว่ายน้ำเล็ก ๆ สร้างบรรยากาศพักผ่อนแบบบีชคลับ รองรับการจัดงานสังสรรค์ริมสระได้ด้วย ทำให้ที่นี่เป็นทั้งร้านอาหาร และพื้นที่พักผ่อนสไตล์ชายหาดที่ไม่ซ้ำใคร IDEA TO STEAL ผนังด้านหน้าบริเวณทางเข้ามีแนวกำแพงไผ่สับฟาก เปรียบเสมือนกราบเรือ เว้นช่องให้แสงธรรมชาติสร้างแสงเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ส่วนกำแพงอาคารอีกด้านใช้การมุงจาก สร้างพื้นผิวธรรมชาติต่างสัมผัส เข้ากับโครงสร้างไม้ไผ่ได้อย่างดี ที่ตั้ง 137 ถนนสุขุมวิท ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี […]

Cofounder Studio โฮมออฟฟิศ คอนกรีตเปลือยตอบทุกโจทย์ของชีวิต

โฺฮมออฟฟิศ ของคู่รักดีไซเนอร์ที่ผสมผสาน “พื้นที่ทำงาน” เข้ากับ “พื้นที่ใช้ชีวิต”โดยมีพระเอกเป็นผนังคอนกรีตหล่อในที่สุดดิบเท่ด้วยร่องรอยไม้แบบ

BRICK SCREEN HOUSE บ้านอิฐ หลากแพตเทิร์น ดีไซน์เรียบง่ายในอินเดีย

บ้านอิฐ สะท้อนรสนิยมและบุคลิกภาพของเจ้าของบ้าน เกิดขึ้นจากการคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และสภาพอากาศของประเทศอินเดีย รูปทรงของ บ้านอิฐ หลังนี้ ถูกกำหนดโดยขนาดของที่ดิน ทำให้โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยยังคงมีพื้นที่ว่างรอบ ๆ ตัวบ้านอย่างเหลือเฟือ ดูแล้วเหมือนที่นี่จะเพอร์เฟ็กต์ จนแทบไม่มีปัญหาใด ๆ ให้ต้องแก้ไข แต่แท้จริงแล้วบ้านนี้มีปัญหาใหญ่ นั่นคือส่วนของหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งมีแสงจ้า ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหานี้ ผนังด้านดังกล่าวจึงถูกสร้างเกราะกำบังขึ้นด้วยเปลือกอาคารอิฐที่มีแพตเทิร์นสวยงามยาวต่อเนื่องเกือบตลอดตัวอาคาร ทำหน้าที่เป็นผนังชั้นนอกช่วยกรองแสง และพรางสายตาจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ขณะที่ผนังอาคารอีกด้านที่ไม่กระทบกับแดดโดยตรงนั้น เลือกกรุเปลือกอาคารด้วยอิฐลายดอกไม้ มีระเบียงเล็ก ๆ เป็นกันชนอยู่ระหว่างพื้นที่พักอาศัยชั้นใน เพื่อไม่ให้แสงแดดและความร้อนปะทะเข้ามาตรง ๆ แต่ลมยังคงพัดผ่านเข้ามาได้ ช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก แต่ในเมื่อบ้านถูกปิดล้อมด้วยเปลือกอาคารอิฐ แสงสว่างดูเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนวิตกว่าอาจไม่เพียงพอ สถาปนิกจึงเรียกแสงด้วยวิธีทำช่องหลังคาสกายไลท์ไว้ด้านบนโถงกลางบ้าน ซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหารและพักผ่อน เพื่อให้แสงสว่างส่องมายังพื้นที่ชั้นล่างนี้ โดยมีต้นไม้ในบ้านช่วยเพิ่มความสดชื่น ให้ความรู้สึกสบายและปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน ส่วนงานออกแบบตกแต่ง สถาปนิกยังคงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะกระเบื้องหินขัดที่นำมาปูพื้น เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น พื้นที่รับประทานอาหาร แม้แต่เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งก็ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี เข้ากับสุนทรียศาสตร์ของอินเดีย เช่น โคมไฟที่แขวนอยู่เหนือคอร์ตกลางบ้าน ชิงช้าไม้ เตียงนอน ฯลฯ ออกแบบ : MS […]

COFFEE J & HOSTEL คาเฟ่เชียงใหม่ ของคนรักรถคลาสสิก เท่กลมกล่อมด้วยสไตล์อินดัสเทรียล

คาเฟ่สีดำบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่นี้ ตั้งอยู่ในย่านถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าของตั้งใจเปิดควบคู่ไปกับธุรกิจโฮสเทลที่อยู่ด้านบน เพื่อให้คนทั่วไปแม้ไม่ใช่ลูกค้าโฮสเทลสามารถเข้ามานั่งเล่นได้ ภายใต้ความเข้มเท่คมคายตามแบบฉบับชายหนุ่มผู้หลงใหลรถคลาสสิก คาเฟ่เชียงใหม่ ที่นี่มีไอเดียการตกแต่งมาจากงานอดิเรกและความชื่นชอบในการสะสมรถคลาสสิกของคุณจักรพล นิยมสิริ ผู้เป็นเจ้าของ โดยทีมสถาปนิกจาก ALSO design studio ได้หยิบคาแรกเตอร์ดังกล่าว มาใช้ถ่ายทอดโดยล้อไปกับดีไซน์ของโฮสเทล ด้วยการนำกลิ่นอายที่จะพาทุกคนเชื่อมโยงเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือยุคแห่งการทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการผลิตรถยนต์ การออกแบบคาเฟ่จึงอิงหลักการออกแบบในสไตล์อินดัสเทรียล โดดเด่นด้วยความสวยงามที่มาจากการแสดงเนื้อแท้ของวัสดุแต่ถูกลดทอนความเป็นดิบบางส่วนลงเพื่อให้เข้ากับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ ภายใต้โทนสีเทา-ดำ อันเป็นสีที่มาจากเนื้อแท้ของวัสดุปูน/คอนกรีต และสีดำด้านของเหล็กโลหะ การตกแต่งเน้นวัสดุที่มีลักษณะเหมือนกับตัวอาคารของโฮสเทลอย่าง การนำคอนกรีตบล็อกมาทำเป็นฐานเคาน์เตอร์บาร์ ท็อปทำจากแผ่นคอนกรีตเปลือย ตลอดจนการปล่อยผิวผนังให้เป็นปูนเปลือยฉาบเรียบไม่ทาสี และโชว์ท่องานระบบที่เลียนแบบท่อรถยนต์แบบไร้ฝ้าปกปิด ส่วนเฟอร์นิเจอร์จัดวางแต่เพียงน้อยชิ้น เน้นเท่าที่จำเป็นในการใช้งานจริง เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของโฮสเทล โคมไฟและของตกแต่งรอบ ๆ ถอดรูปแบบมาจากลักษณะของรถ ความเงาของสเตนเลส และเหล็กสีดำที่ถูกสอดแทรกในองค์ประกอบต่าง ๆ โดดเด่นด้วยรูปภาพรถคลาสสิกสีขาว-ดำ บอกเล่าความชอบและรสนิยมของเจ้าของ ช่วยให้ร้านมีเสน่ห์ และแตกต่างจากคาเฟ่ในแนวอินดัสเทรียลทั่วไป แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างดิบกระด้างและหนาหนัก แต่ก็ยังมีการเลือกใช้กระจกมาเป็นช่องแสงขนาดใหญ่ให้ร้านมีมิติจากแสงเงา อีกทั้งเส้นสายของเฟรมกระจกสีดำยังช่วยเพิ่มลูกเล่นให้การมองเห็น กำหนดแสงและบรรยากาศของร้าน ให้สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เผื่อการใช้งานคาเฟ่ที่อาจจะปรับเปลี่ยนเป็นบาร์ได้ในอนาคต  พักสายตากับวิวสวนสีเขียวด้านนอกที่เน้นงานฮาร์สเคปเป็นหลัก โดยทำล้อไปกับรูปแบบของการออกแบบเปลือกอาคารโฮสเทลด้านนอก ด้วยการนำคอนกรีตบล็อกมาจัดเรียงซ้อนกันเพื่อเป็นขอบที่นั่งแบบเรียบง่าย พื้นโรยด้วยหินกรวด และไม้ใบเขียวที่ช่วยเพิ่มความร่มรื่น ลดความดิบกระด้างของวัสดุและสเปซ ให้ผู้ใช้งานสามารถออกมานั่งพักผ่อนได้อย่างโปร่งสบาย […]

KAIKAYA ร้านอาหารสไตล์ทรอปิคัล เจือกลิ่นอายเอกซอติกสีสันสดใส

ร้านอาหารในประเทศสเปนที่ผสานสองวัฒนธรรมอย่างญี่ปุ่นและบราซิลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อบอกเล่าการเดินทางมาถึงของชาวญี่ปุ่นคนแรกในดินแดนอเมริกาใต้ ร้านอาหารลูกครึ่งแห่งนี้จึงรุ่มรวยไปด้วยกลิ่นอายทั้ง สไตล์ทรอปิคัล และเอกซอติกสุดอาร์ต ร้านอาหาร สไตล์ทรอปิคัล แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองวาเลนเซีย ประเทศสเปน โดยมีแรงบันดาลใจมาจากชาวญี่ปุ่นคนแรกที่เดินทางมาถึงบราซิล อาหารของพวกเขาจึงจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับส่วนผสมในท้องถิ่น จนเกิดตำรับอาหารเฉพาะตัวเเบบ Nikkei Nipo-Brazilian จากสูตรอาหารลูกผสมนี้ จึงได้นำมาสู่ไอเดียการเปิดร้านอาหาร Kaikaya  บอกเล่าการผสมผสานสองวัฒนธรรมระหว่างความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมกับบราซิลร่วมสมัย โดยสะท้อนออกมาผ่านทั้งเมนูอาหารและการตกแต่งร้านที่ไม่เหมือนใคร  Kaikaya อยู่ในตึกสองชั้นเก่าแก่ใจกลางเมือง มีฝ้าเพดานโค้ง คานเหล็ก และผนังอิฐ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เดิมของอาคาร การรีโนเวตมีไฮไลต์อยู่ที่การเน้นความงามที่ไม่สมบูรณ์แบบตามกาลเวลา ภายใต้คอนเซ็ปต์การแสดงออกด้วยสีสันสดใส และการผสมผสานสองวัฒนธรรม บนพื้นที่ 125 ตารางเมตรภายในร้านใช้การออกแบบจากงานสานเส้นใยของต้นปาล์มรัฟเฟีย เพื่อสร้างการรับรู้ถึงการใช้วัสดุที่มีความเป็นญี่ปุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็สื่อถึงความเป็นบราซิลอย่างลวดลายและสีสันสดใส เช่น กระเบื้องโมเสกหลากเฉดสี ทั้งสีชมพู สีเขียว สีแดง และการใช้พืชพรรณสไตล์ทรอปิคัลหลากชนิด บริเวณบาร์มีการผสมผสานระหว่างความเป็นญี่ปุ่นกับบราซิลผ่านแพตเทิร์นลายไม้ญี่ปุ่นดั้งเดิม และสีสันลวดลายที่ได้แรงบันดาลใจจากบราซิลช่วงยุค 70 ‘sนอกจากนี้ยังตกแต่งด้วยโคมไฟนกแก้วมาคอว์สัตว์ประจำประเทศบราซิล และใบปาล์ม ทั้งหมดคือภาพจำของร้านสไตล์เอกซอติกที่เน้นการใช้สีและรูปทรงที่สนุกสนาน ผสานกับการเก็บบริบทเดิมของอาคารไว้ เกิดกลิ่นอายความเก่าปนใหม่ อันเป็นเอกลักษณ์ที่ลงตัวอย่างแท้จริง ข้อมูล เจ้าของ : Kaikaya ออกแบบ : […]

DT HOUSE บ้านซ้อนบ้าน ไอเดียเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้บ้านหน้าแคบ

บ้านหน้าแคบ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันดีในเวียดนาม ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดบ้านเขตร้อน ที่ต้องออกแบบพื้นที่และการใช้วัสดุทนทานต่อสภาพอากาศ

LA CASA DEL SAPO บ้านชั้นเดียว ริมทะเล ผสานทุกอณูเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

บ้านชั้นเดียว ริมทะเล ของสองนักเขียน สำหรับไว้ใช้พักผ่อนและตามหาแรงบันดาลใจ ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างกลมกลืนไปกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เพื่อสะท้อนบริบทของที่ตั้งซึ่งอยู่ริมชายฝั่งทะเลในรัฐ Oaxaca ประเทศเม็กซิโก ตัวอาคารของ บ้านชั้นเดียว ที่วางแปลนไว้อย่างดีนี้ มีไอเดียมาจากภาพของก้อนหินขนาดใหญ่ริมทะเล ซึ่งเป็นวิวทิวทัศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชายฝั่งโออาซาเกญา ก่อนนำมาถ่ายทอดเป็นอาคารจากคอนกรีตหล่อในที่ ผสมผสานกับวัสดุอื่น ๆ อย่าง เหล็ก อิฐ และไม้เนื้อแข็ง โดยทีมออกแบบจาก Espacio 18 Arquitectura  ตั้งใจเผยผิวสัมผัสอันแท้จริงไร้การปรุงแต่ง เป็นความงามแบบไร้กาลเวลา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อม ๆ กับการออกแบบพื้นที่ใช้งานให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนไปตามวิถีความเป็นอยู่ของสองนักเขียนผู้เป็นเจ้าของบ้าน    แม้ในบางวันที่อาจมีเพื่อน ๆ มาปาร์ตี้สังสรรค์ ที่นี่ก็มีบรรยากาศดีจนใคร ๆ ต่างต้องอิจฉา ไม่ว่าจะเป็นสระน้ำส่วนตัวที่สามารถทอดสายตามองวิวทะเลได้สุดชิล ใกล้เคียงยังมีสวนผลไม้ และมีกิจกรรมให้ท่องเที่ยว โดยยังคงเคารพบริบทของชุมชนและธรรมชาติ ระหว่างที่วันเวลาและฤดูกาลค่อย ๆ เคลื่อนไป ธรรมชาติจะค่อย ๆ ผสานกลมกลืนไปกับ La casa del sapo นั่นคือสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องการ เปรียบเสมือนได้ถูกธรรมชาติเข้าโอบกอด ส่งต่อพลังงานความสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ […]

Ursa Tiny On Wheels บ้านเล็กติดล้อของสถาปนิกหัวใจช่างไม้

Ursa คือบ้านรถพ่วงหลังเล็กขนาด 17 ตารางเมตร ที่ออกแบบโดย Madeiguincho สตูดิโอออกแบบจากโปรตุเกส โปรเจ็กต์ท้าทายการใช้ชีวิตในพื้นที่ขนาดเล็ก Tiny On Wheels (TOW) นี้ผสมผสานระหว่างศาสตร์ของการออกแบบสถาปัตยกรรมเข้ากับงานไม้ ผ่านการสร้างสรรค์บ้านติดล้อหลังเล็ก 3 ขนาด (ยาว 4 เมตร 5 เมตร และ 7 เมตร) ด้วยความกว้าง 2.5 เมตร และความสูงไม่เกิน 4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ  Ursa มีความยาว 7 เมตร ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องใช้ระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางอย่างสมบูรณ์ (off-grid) จึงมีระบบรองรับครบครันทั้งระบบน้ำ ระบบไฟ ผังพื้นของบ้านประกอบด้วยพื้นที่นอน 2 จุด สำหรับ 2 คน พื้นที่ทำงาน พื้นที่ครัว ห้องอาบน้ำ และดาดฟ้ากลางแจ้ง โดยยึดตามแนวคิดของการออกพื้นที่ขนาดเล็กให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อประหยัดพลังงาน (Passive design)    ในส่วนของระบบน้ำ เน้นการใช้น้ำฝนเป็นหลัก […]

CHANGAN NOODEL BAR กินบะหมี่แบบเท่ ๆในร้านสไตล์อินดัสเทรียล

ร้านบะหมี่ สไตล์อินดัสเทรียล ปนกลิ่นอายมินิมัล แทรกตัวอยู่ในอาคารเก่า ของเมืองผิงตง ประเทศไต้หวัน ร้านบะหมี่มีดีไซน์ เด่นด้วยการตกแต่งสุดเท่ สไตล์อินดัสเทรียล บนพื้นที่เพียง 64 ตารางเมตร แม้มีพื้นที่ไม่ใหญ่มาก แต่สามารถเเบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นสัดส่วนได้อย่างลงตัว โดยยังคงอรรถรสของร้านบะหมี่ผ่านงานตกแต่งที่มีกิมมิกเฉพาะตัว ภายในประกอบด้วยส่วนรับประทานอาหาร ลานด้านหน้า เเละพื้นที่ดิสเพลย์สินค้า ขณะที่พื้นที่ของพนักงานอย่าง ห้องครัว ห้องพนักงาน และไพรเวตออฟฟิศ ทั้งหมดได้รับการออกแบบให้เกิดการเชื่อมต่อมุมมองทางสายตา เกิดภาพกิจกรรมระหว่างทั้งสองส่วน  เพื่อให้ผู้ที่สัญจรผ่านไปมามองเห็นกิจกรรม และเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับร้านให้มากที่สุด โดยในเเง่ของงานดีไซน์ได้ผสานเสน่ห์ของวัสดุเรียบง่าย เช่น คอนกรีต  ไม้ เหล็ก เเละกระจก รวมถึงพื้นหินขัด โต๊ะไม้ เก้าอี้สแตนเลส และพัดลมเพดานเหล็ก อันเป็นองค์ประกอบสไตล์คลาสสิกที่สื่อถึงวิถีชีวิตเรียบง่าย และผ่อนคลายในแบบฉบับชาวไต้หวันทางตอนใต้ ฟาซาดด้านหน้าร้านทำหลังคาสามชั้น คือหลังคากระจกใส โครงเหล็กรูปตัวไอ และแผ่นตระแกรงเหล็กฉีก ช่วยกรองแสงให้ซอฟต์ก่อนส่องลงด้านล่างอย่างนุ่มนวล รวมถึงราวโลหะที่ตากเส้นบะหมี่ตั้งไว้ลานด้านหน้าร้าน ล้วนเป็นองค์ประกอบที่ตั้งใจแสดงเอกลักษณ์การออกแบบที่น่าสนใจได้อย่างหนึ่ง ออกแบบ :  Atelier Boter ภาพ : James  Lin ที่ตั้ง 900, […]

The Growing Pavilion สถาปัตยกรรมจากเห็ดรา

ช่วงนี้ฝนตกบ่อยอากาศอับชื้น มองไปที่โต๊ะก็พบว่า ขนมปังที่ซื้อมาวันก่อนราขึ้นไปเสียแล้ว หลังจากนำไปทิ้งก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า ในโลกของงานออกแบบเราสามารถนำเห็ดรามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง? แล้วก็ไปเจอผลงานหนึ่งที่เคยจัดแสดงเมื่อปี 2019 ในงาน Dutch Design Week 2019 ซึ่งมีชื่อว่า The Growing Pavilion ความพิเศษของอาคารนี้ไม่ธรรมดาเพราะใช้ “เห็ดรา” เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างกันเลยทีเดียว เจ้าเห็ดราที่ว่านี้เรียกว่า Mycelium ซึ่งแปลตรงตัวว่า “เส้นใยเห็ด” เจ้าเส้นใยนี่แหละที่ค่อยช่วยให้เห็ดหรือราสามารถยึดเกาะอยู่บนพื้นผิวเช่นผนังหรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ คล้ายรากของพืชไม้เลื้อย และด้วยการวิจัยกว่า 2 ปีของทีมงาน Company New Heroes ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นพันธุ์ที่มี Mycelium หนาแน่นแข็งแรงคล้ายแผ่นโฟมอย่างที่เห็น เป็นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมวงการวัสดุเพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย และในอนาคตอาจจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ย่อมเยาว์อีกด้วย อาคารแห่งนี้มีโครงสร้างหลักเป็นไม้รีไซเคิลที่นำมาทำเป็นโครงรูปทรงกระบอก จากนั้นจึงติดตั้งแผ่น Mycelium ลงไปตามช่องว่างของโครงสร้าง โดยที่แผ่นเห็ดราเหล่านี้ก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายสามารถเลี้ยงต่อให้ซ่อมแซมตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในอนาคตไม่แน่เราอาจได้เห็นอาคารที่ใช้เห็ดราเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและพื้นผิวอาคารไปพร้อมกันเลยก็เป็นได้ และสำหรับใครที่อยากสัมผัสของจริง เรามีข่าวดีเพราะ The Growing Pavilion จะไปจัดแสดงอีกครั้งที่ Floriade Expo […]

JP HOUSE บ้านขนาดกะทัดรัด เด่นด้วยเปลือกอาคาร แผ่นเหล็กเจาะรู สีพาสเทล

จะเป็นอย่างไรหากเราเปลี่ยนผนังบ้านที่มีหน้าต่างทรงสี่เหลี่ยมแบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นบ้านที่มีเปลือกอาคารเท่ ๆ ดูสดใส จาก แผ่นเหล็กเจาะรู ทำสีฟ้าพาสเทล ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและปลอดภัย ไปพร้อม ๆ กับช่วยเพิ่มความปลอดโปร่งให้บ้านหายใจได้ JP House หลังนี้ ตั้งอยู่ในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นอพาร์ตเมนต์ 2 ห้อง เชื่อมติดกัน สร้างขึ้นบนพื้นที่ขนาด 180 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น สำหรับใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทำงาน และห้องสตูดิโอวาดภาพและทำเพลง ขณะที่ชั้นล่างเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อแม่ผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากหน้าบ้านต้องหันออกสู่ถนน ซึ่งอยู่ตรงกับทิศตะวันออกแบบพอดี สถาปนิกจาก Kumar La Noce จึงออกแบบเปลือกอาคารด้วยแผงเหล็กแผ่นเจาะรูที่เปิด-ปิดได้ เพื่อช่วยกรองแสงแดดไม่ให้ส่องมายังพื้นที่ภายในบ้านโดยตรง จนกลายเป็นองค์ประกอบช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้บ้านดูสวยงามแตกต่างไปจากอาคารทั่วไป พร้อมกันนั้นยังมีความแข็งแรง และสามารถเชื่อมมุมมองและมีปฏิสัมพันธ์กับบรรยากาศภายนอกได้ การตกแต่งภายในของบ้านเน้นทำผนังสีขาว ผสมผสานกับซีเมนต์ขัดมัน และไม้แบบมินิมอล ยกเว้นพื้นที่ที่ต้องการสร้างความโดดเด่นอย่าง บันไดสีฟ้า ที่ค่อย ๆ พาไต่ระดับขึ้นไปยังชั้นต่าง ๆ ของบ้าน โดยพื้นที่ชั้น 2 โซนด้านหน้าออกแบบให้เป็นครัว […]

CARACOL BAR รีโนเวตโกดังเก่า ให้กลายเป็นบาร์บรรยากาศเท่ สไตล์อินดัสเทรียล

โกดังเก่าคับแคบ ที่ถูกชุบชีวิตใหม่ให้เป็นบาร์และร้านอาหารดิบเท่ สไตล์อินดัสเทรียล ตั้งอยู่ที่ Vila Buarque เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ที่นี่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่การเคารพและเก็บบริบทเดิมของอาคาร ผสานกับโครงสร้างใหม่ที่ถูกดีไซน์เพื่องานนี้โดยเฉพาะด้วยจุดเด่นของลักษณะอาคารเดิมที่ลึกยาวเป็นเส้นตรง พร้อมโครงหลังคาแบบฟันเลื่อย (Saw tooth roof) ทั้งหมดยังคงเก็บรักษาไว้เพื่อสร้างเสน่ห์ให้กับบาร์ สไตล์อินดัสเทรียล แห่งนี้ โดยทีมออกแบบจาก gru.a ได้มองเห็นความงามของรูปทรงหลังคาเดิม จนนำมาสู่การต่อยอดในการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ เข้าไปจนเหมาะสมลงตัว อาทิ การเพิ่มหน้าต่างให้กลายเป็นช่องแสง ช่วยนำพาแสงสว่างเข้าสู่ภายในร้าน นอกจากนี้ยังเก็บผนังกระเบื้องเซรามิกเดิมไว้ เช่นเดียวกับส่วนฟาซาดดั้งเดิมด้านหน้าที่กลายเป็นภาพจำให้แก่ผู้คนที่ได้พบเห็น แล้วสร้างพื้นที่ทางเข้าที่สังเกตง่าย เมื่อเข้ามาภายในร้านจะพบกับเคาน์เตอร์หินอ่อนสีแดงสะดุดตายาว 10 เมตร ที่รวมฟังก์ชันทั้งที่นั่งสำหรับลูกค้า บาร์สำหรับเตรียมเครื่องดื่ม และดีเจบู๊ธ จากนั้นเมื่อเข้าสู่คอร์ตด้านหลังจะพบกับโครงสร้างยกสูงสองชั้น ใช้งานเป็นทั้งอัฒจันทร์สำหรับนั่งกลางแจ้ง และบันไดสู่ระเบียงดาดฟ้าที่สร้างให้เป็นพื้นที่นั่งเล่นกลางแจ้ง โดดเด่นภายใต้ต้นมะม่วงของเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ด้านบรรยากาศที่ดี เราขอเรียกที่นี่ว่ามีส่วนผสมระหว่างโมเดิร์นกับอินดัสเทรียลสุดดิบเท่ ซึ่งอบอวลไปด้วยเสน่ห์ของอาคารเก่าและการใช้งานใหม่ได้อย่างลงตัว  ด้วยการโชว์วัสดุและโครงสร้างเรียบง่าย รวมถึงความกลมกลืนกับธรรมชาติ ผลลัพธ์คือการทำโกดังเก่าให้กลายเป็นร้านอาหารและบาร์ที่เผยเนื้อแท้ของโครงสร้างและวัสดุ อันเปี่ยมเสน่ห์โดยปราศจากการปรุงแต่งเเต่อย่างใด ข้อมูล เจ้าของ :  Milos  Keiser, Thiago Visconti, Rafael  Capobianco, […]

TETRA POD บ้านสำเร็จรูป พร้อมสร้าง ยกไปวางที่ไหนก็ได้

บ้านสำเร็จรูป ขนาด 64 ตารางเมตร ที่มีฟังก์ชันครบครัน พร้อมปรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย รีสอร์ต บ้านในสวน พื้นที่ทำงาน หรือศาลาโยคะ Tetra Pod Studio บ้านสำเร็จรูป หลังนี้ ตั้งอยู่ที่อูลูวาตู บนเกาะบาหลี สร้างสรรค์จากวัสดุรีไซเคิล ทั้งในส่วนของผนังและหลังคามาผสมผสานให้เข้ากับความเป็นพื้นถิ่น มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ตัวบ้านยกลอยจากพื้น 40 เซนติเมตร ใช้วัสดุไม้ เหล็ก กระจก และวัสดุรีไซเคิลในการก่อสร้าง สถาปนิกหาวิธีการผสานตัวบ้านให้เข้ากับบริบทโดยรอบผ่านการใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อสะท้อนตัวตน ในขณะที่บ้านต้องเปิดช่องเปิดเพื่อเชื่อมกับธรรมชาติ แปลนบ้านถูกแบ่งสเปซด้วยแกนแนวทะแยงซึ่งช่วยสร้างมุมมองที่แปลกใหม่ และช่วยให้บ้านดูกว้างอย่างไม่น่าเชื่อ“เราคิดว่าโปรเจ็กต์นี้มีความท้าทายในหลายแง่มุม ทั้งการสร้างสรรค์ดีไซน์ที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ในขณะที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ที่สำคัญคือต้องทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้สเปซได้อย่างเต็มที่ จะเป็นอย่างไรถ้าเราไม่เพียงแต่ลดปริมาณการใช้วัสดุ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยราคาการก่อสร้างที่เอื้อมถึง” เริ่มจากส่วนของหลังคาแบบหน้าจั่วที่เอื้อให้น้ำฝนระบายลงได้ง่าย แล้วนำไปกักเก็บเพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ต่อไป ช่องว่างใต้หลังคาช่วยให้อากาศสามารถไหลเวียนเป็นการลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกขั้นหนึ่ง ภายในพื้นที่เพียง 64 ตารางเมตรประกอบไปด้วยห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัว ครัวเปิด และห้องนั่งเล่นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์เสมือนพื้นที่ชานบ้าน สอดคล้องกับความสูงของบ้านที่ยกขึ้น 40 เซนติเมตร เป็นระดับที่พอดีกับการนั่งห้อยขาเป็นพื้นที่ระเบียงบานฟาซาดขนาดใหญ่สามารถเปิดได้เพื่อระบายอากาศที่ดีและทำให้พื้นที่ภายในบ้านดูโปร่งโล่ง แล้วใช้ผ้าม่านในการสร้างความเป็นส่วนตัวแทน ในส่วนของเฟอร์นิเจอร์เลือกที่ให้ความรู้สึกสะดวกสบายในส่วนของห้องนั่งเล่นและรับประทานอาหาร Tetra Pod […]

Amornyont รีโนเวทตึกแถว สู่พื้นที่ของครอบครัวและธุรกิจ

หจก.อมรยนต์ จากธุรกิจของครอบครัวที่ก่อตั้งมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ถึงคราวจำเป็นจะต้องย้ายมายังที่ตั้งแห่งใหม่ในย่านหัวลำโพง จึงถือเป็นโอกาสดีที่เจ้าของรุ่นลูกจะได้ รีโนเวทตึกแถว ให้เหมาะสมกับการทำงาน พร้อมกับพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิตของครอบครัวในอาคารพาณิชย์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ออกแบบ: Lynk Architect โดย คุณณัฐศิษฐ์ วงบุญ โปรเจ็คต์ รีโนเวทตึกแถว แห่งนี้ เกิดขึ้นภายใต้โจทย์ที่มาจากความต้องการอันหลากหลายของเจ้าของ แตกแขนงออกเป็นพื้นที่ขายปลีก พื้นที่คลังสินค้า และพื้นที่พักอาศัย ซึ่งอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน ก่อนนำทุกอย่างมาเรียบเรียงใหม่ให้เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยใช้งานดีไซน์เป็นเครื่องมือจัดการทั้งเรื่องฟังก์ชันและความงาม เปลือกอาคารและการเลือกใช้สี จุดโดดเด่นและสะดุดตาที่สุดของอาคารแห่งนี้ คือเปลือกอาคารที่เป็นแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรูพับเป็นแพตเทิร์น เว้นจังหวะช่องเปิดของอาคารตามฟังก์ชันการใช้งานภายใน ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้วัสดุนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเริ่มต้น ที่ต้องการให้อยู่ในบรรทัดฐานของความเรียบง่ายและใช้งานได้จริง  “เปลือกอาคารเป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามคิดถึงเรื่องวัสดุ และการตีความทุกอย่างแบบตรงไปตรงมา คำตอบที่ตรงโจทย์ที่สุดก็คือแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรู ซึ่งมีข้อดีเรื่องน้ำหนักเบาจึงเหมาะกับงานรีโนเวตอาคารเก่า ทั้งยังช่วยในเรื่องการควบคุมปริมาณแสงและความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะพื้นที่ภายในที่ต้องการแสงไม่เท่ากัน ถ้ามองจากด้านในจะเหมือนกับการมองผ่านผ้าม่านโปร่ง แต่คนที่อยู่ภายนอกมองเข้าไปจะทึบหมด ช่วยปกปิดส่วนที่ไม่อยากให้มองเห็น เช่น พื้นที่เก็บสินค้า ส่วนรีเทลก็จะเปิดมากหน่อยเพื่อต้อนรับ และส่วนที่พักอาศัยก็เปิดกลาง ๆ กำลังดี” เพราะแผ่นอะลูมิเนียมมีความแข็งแรงน้อย จึงต้องใช้การพับเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับตัวมันเองให้มากที่สุด แพตเทิร์นที่เลือกใช้ในการพับจึงร้อยเรียงมาจากบริบทของอาคารที่อยู่ในย่าน ไม่ว่าจะเป็นหัวลำโพง หรือเส้นสายของอาคารเพื่อนบ้านให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน แม้จะเกิดใหม่ในยุคสมัยที่แตกต่างกันก็ตาม ส่วนเรื่องการใช้สี แม้สีเขียวเป็นสีหลักของแบรนด์ แต่คุณแบงค์กลับที่จะเลี่ยงใช้สีนี้ แล้วหันไปใช้การจับคู่สีเพื่อมองหาสีอื่นที่จะมาเป็นแบ็กกราวน์ให้กับสีเขียวแทน เพื่อช่วยเน้นอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น […]

EI TERRENO COMMUNAL GARDEN ศาลาในสวน ดอกไม้ แหล่งเรียนรู้ของเด็กในชุมชนเมือง

ศาลาในสวน จากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง ที่เปิดให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มาพักผ่อนและเรียนรู้กลางทุ่งดอกไม้แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของ Michelle Kalach ผู้ก่อตั้งโครงการ ซึ่งต้องการให้ ศาลาในสวน แห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมกัน   ภายในพื้นที่ตั้งของโครงการ ผู้ออกแบบจาก Vertebral ได้จำลองบรรยากาศให้เหมือนเนินเขาขนาดย่อมตามธรรมชาติ โดดเด่นด้วยพาวิเลียน หรือศาลาอเนกประสงค์ที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง เพราะสำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบก็คือการสร้างอาคารจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยนำมาผ่านกระบวนการคิดและก่อสร้างในกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่โครงการนี้โดยเฉพาะ ตัวอาคารทำจากไม้ที่นำกลับมาใช้งานใหม่ มีท่อนเหล็กทำหน้าที่เป็นเสา เชื่อมเข้ากับผนังบรรจุหินที่ได้จากการขุดไซต์ก่อสร้าง โครงถักทั้งหมดถูกประกอบขึ้นโดยอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่น ที่นี่จึงสามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วจากแรงกำลังของจิตอาสาทั้งหลาย นอกจากผู้ใช้งานจะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ แล้ว ที่นี่ยังเปิดต้อนรับกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่เพื่อรับใช้ชาวชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากส่วนของศาลา พื้นที่สวนรอบ ๆ ยังส่งเสริมแนวคิดชุมชนแบบพอเพียง เพราะนอกจากพืชผักที่ปลูกไว้จะช่วยสร้างภูมิทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังสามารถเก็บนำไปจำหน่ายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในชุมชน ขณะที่น้ำที่นำมาใช้รดต้นไม้ภายในสวนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลังคาของศาลา ซึ่งไหลผ่านรางระบายน้ำมาตามท่อก่อนลงมายังบ่อเก็บน้ำ แล้วถูกสูบขึ้นมาใช้รดต้นไม้ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีกำลังไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์ El […]