บทความโดย room - Page 19 of 38

MIVANA COFFEE FLAGSHIP STORE ดื่มกาแฟไปพร้อมการอนุรักษ์ป่า ในคาเฟ่บรรยากาศธรรมชาติ

พาไปเยี่ยมเยือนแฟล็กชิบสโตร์ของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” กับ MiVana Coffee Flagship Store  คาเฟ่สไตล์กลาสเฮ้าส์ที่ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรีเมียร์คอร์เปอเรทปาร์ค ย่านถนนศรีนครินทร์ ที่ MiVana Coffee Flagship Store คุณจะได้สัมผัสกับบรรยากาศเย็นสดชื่น แวดล้อมด้วยกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีวนาต้องการสื่อสารไปยังลูกค้า เพื่อบอกถึงที่มาของกาแฟรสชาติดีในมือว่า ทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำได้ ผ่านกาแฟที่ค่อย ๆ บรรจงดื่มด่ำนี้ไปพร้อมกันมีป่า มีน้ำ มีกาแฟ น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ตรงตัวของแบรนด์ กับการส่งเสริมกระบวนการปลูกกาแฟอาราบิก้าอย่างเป็นระบบ ด้วยวิถีวนเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทีมส่งเสริมของมีวนากับเกษตรกรท้องถิ่นกว่า 7 หมู่บ้าน ไปพร้อมกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำแม่สรวย แม่กรณ์ และแม่ลาว เรียกง่าย ๆ หากไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ และพื้นที่สำหรับปลูกกาแฟอินทรีย์คุณภาพดีดังนั้น เมื่อตั้งใจเปิดคาเฟ่เพื่อส่งต่อถ้อยความนี้ คุณณรงค์ จันทรมาศ สถาปนิกผู้ออกแบบ จึงเลือกถ่ายทอดผ่านการออกแบบตัวอาคารให้เป็นกลาสเฮ้าส์ เพื่อให้ได้ร่มเงาของไม้ใหญ่ที่ปลูกอยู่โดยรอบ เผยให้มองเห็นภาพของความอุดมสมบูรณ์และความชุ่มชื้นของสวน สะท้อนเรื่องราวของกาแฟมีวนาที่ปลูกและเติบโตใต้ร่มเงาป่าต้นน้ำ  ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์และของประดับงานแฮนด์เมดจากวัสดุธรรมชาติ สื่อถึงกลิ่นอายความเป็นท้องถิ่น และวิถีชาวบ้านภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้าที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ โคมไฟ […]

CHURN BUTTERY คาเฟ่สไตล์นอร์ดิก ที่สายละมุนคนชอบเบเกอรี่ห้ามพลาด!!

เอาใจคนชานเมืองย่านถนนร่มเกล้า กับคาเฟ่บรรยากาศดีน่านั่ง CHURN Buttery ซึ่งมีที่มาจากคำว่า “Churn” ในภาษาอังกฤษ หมายถึงเครื่องตีเนย และปั่นนม เพื่อบอกเล่าจุดเด่นของร้านที่เน้นเมนูเบเกอรี่สูตรโฮมเมด อร่อยจนลืมอ้วน กินคู่กับกาแฟออสเตรเลียรสละมุน เป็นสองความอร่อยที่ลงตัว ผสมผสานอยู่ในคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น ตกแต่งเรียบง่ายสไตล์นอร์ดิก CHURN Buttery มีจุดเริ่มต้นมาจากแพสชั่นความหลงใหลของคู่สามีภรรยา คือคุณนที เตชะอาภรณ์กุล สัตวแพทย์ผู้หลงใหลเรื่องราวของกาแฟ และคุณจุฑาภัค สีตบุตร ที่ชื่นชอบการทำเบเกอรี่ โดยมีสูตรขนมอร่อย ๆ จากคุณแม่ แม้ทั้งคู่จะมีงานประจำกันอยู่แล้ว แต่ก็เลือกนำความชอบส่วนตัวของแต่ละคนมาสร้างสรรค์เป็นคาเฟ่ โดยเลือกทำเลย่านถนนร่มเกล้าเพราะเห็นว่าถนนสายนี้แทบไม่มีคาเฟ่สำหรับนั่งพักผ่อน หรือหาที่นั่งคุยกันค่อนข้างยาก นำมาสู่การออกแบบคาเฟ่ผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารทรงจั่วที่ให้อารมณ์เหมือนบ้านหลังใหญ่ คุณกฤติน เจริญพรวรนาม สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าให้ฟังว่า “ตอนดีไซน์เราอยากให้ที่นี่มีความรู้สึกสบาย ๆ ลักษณะของร้านจึงมีความเป็นนอร์ดิกขาว ๆ มีจั่วและหลังคาทรงสูง แทรกความอบอุ่นด้วยงานไม้ นอกจากนี้ยังนำเส้นสายของซุ้มโค้งมาใช้ในส่วนของกรอบหน้าต่าง ต่อเนื่องไปยังกำแพงฝั่งที่จอดรถ แล้วไปจบที่มุมซุ้มกำแพงสีขาวดูคล้ายสตูดิโอถ่ายรูปตรงโซนด้านหลัง ส่วนช่องเปิดได้ติดตั้งกระจกขนาดใหญ่ และมีช่องแสงสกายไลท์อยู่ด้านบน เพื่อให้แสงสามารถส่องเข้ามาในร้านได้ทั่วถึง ให้มิติของแสงเงาและบรรยากาศที่ดูอบอุ่นอย่างเต็มที่ และยังเป็นเหมือนการโฆษณาตัวร้านได้ด้วย” นอกจากความละมุนละไมของบรรยากาศภายในแล้ว จุดเด่นที่ถือเป็นไฮไลต์คืองานออกแบบแลนด์สเคปที่มีสระน้ำอยู่ทั้งสองฝั่งทางเข้า “การออกแบบให้มีสระน้ำ ผมอยากให้มีบรรยากาศแบบ Stepping stone […]

CHIA TAI FARM จากฟาร์มสู่โต๊ะกับร้านอาหารดีไซน์เฉียบกลางกรุง

CHIA TAI FARM จากฟาร์มสู่โต๊ะกับร้านอาหารดีไซน์เฉียบกลางกรุง

Chewa Heart Sukhumvit 62/1 ทาวน์โฮมรองรับการอยู่อาศัยและสร้างรายได้

Chewa Heart Sukhumvit 62/1 เป็นโครงการทาวน์โฮมระดับลักชัวรี่จาก บริษัท ชีวาฮาร์ท จำกัด ได้รับการพัฒนาและต่อยอดมาจากแนวคิดที่ต้องการผสมผสานการอยู่อาศัยแบบคนรุ่นใหม่ โดยแบ่งสัดส่วนการใช้งานอย่างชัดเจนเพื่อความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังคงตอบโจทย์ด้านการสร้างสรรค์พื้นที่สำหรับครอบครัวขยายในอนาคต ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนห้องให้เกิดรายได้ในรูปแบบ Passive income เช่นเดียวกับคอนโดมิเนียม บ้านในโครงการ Chewa Heart Sukhumvit 62/1 มีรูปแบบเดียว และมีเพียง 9 ยูนิต โดยแต่ละหลังมีขนาดพื้นที่ใช้สอยเริ่มต้นที่ 210 ตารางเมตร ตัวบ้านมีความสูง 3 ชั้นครึ่ง ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ และจอดรถได้ 2 คัน พื้นที่ใช้สอยสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระตามความต้องการ มีการจัดสรรพื้นที่ของแต่ละห้องนอนอย่างเป็นสัดส่วนสามารถปรับให้เชื่อมต่อหรือแยกออกจากกันได้ชัดเจน พร้อมรองรับกรณีที่มีผู้เช่าที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัว หากมองภาพรวมอาจดูคล้ายเป็นการจัดวางห้องรูปแบบคอนโดมิเนียมในพื้นที่ทาวน์โฮม ซึ่งช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยให้แก่เจ้าของบ้าน โถงบันไดกลางบ้าน ที่เปิดโล่งจากชั้นล่างถึงชั้นบนสุด คือหัวใจสำคัญที่ช่วยเปิดรับลมและแสงธรรมชาติจากช่องเปิดบนหลังคาให้ลงมาสู่ทางเดินส่วนกลางชั้นล่างได้อย่างทั่วถึง ขั้นบันไดทำจากแผ่นอะลูมิเนียมเจาะรูพับยิ่งช่วยให้สเปซดูโปร่งมากขึ้น นอกจากนี้ ผนังกระจกรอบโถงบันไดบนชั้น 2 และ 3 ยังติดตั้งบานหมุนกระจกนิรภัย หมุนปรับระดับองศาได้ ช่วยส่งต่อลม และแสงธรรมชาติเข้ามาภายในพื้นที่ใช้งานได้เต็มที่ […]

Citizen Tea Canteen of Nowhere คาเฟ่ชาไทยในโชว์รูมหัตถกรรม

ตึกแถวในตรอกเล็กซอยน้อยคือวิถีชีวิตอันคุ้นเคยและเปี่ยมเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ​ เช่นเดียวกันกับที่ “ย่านตลาดน้อย” แม้วันนี้เราจะมีร้านชาเปิดใหม่อย่าง Citizen Tea Canteen of Nowhere เป็นเป้าหมายซึ่งอยู่ไม่ไกลข้างหน้านี้ แต่ก่อนเลี้ยวเข้าร้าน ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าสุดปลายตรอกนี้จะมีอะไร และทะลุไปเดินเล่นที่ไหนต่อได้อีกบ้าง ช่วงสองสามปีนี้มานี้ คนรักงานออกแบบรับรองว่าต้องคุ้นเคยกันดีกับชื่อ Citizen of Nowhere แบรนด์หัตถกรรมร่วมสมัยของ คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ดีไซเนอร์สุดป็อปแห่ง 56thStudio ผู้มุ่งมั่นปลุกวิญญาณศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาชายขอบที่ถูกลืมเลือนหรือด้อยค่า ให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันยุคใหม่ และคอลเล็กชั่นหัตถกรรมของเขา ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปิดแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่นี้ Citizen Tea Canteen of Nowhere ยังมาพร้อมคาเฟ่ชาไทยสีส้มหน้าตาคุ้นเคย ที่นำเสนอในภาษาใหม่ที่ละเมียดละไมขึ้น  “หลังจากแบรนด์เข้าสู่ปีที่สาม เรามีสินค้าค่อนข้างเยอะขึ้น เลยรู้สึกว่างานหัตถกรรมมันจะน่าสนใจและน่าซื้อมากขึ้นถ้าเราสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์ เลยเกิดเป็นโชว์รูมที่มีคาเฟ่ในตัว คนจะได้มอง ได้สัมผัส ได้สำรวจข้าวของได้แบบเพลิน ๆ” จากแกนหลักของแบรนด์หัตถกรรมที่ต้องการอุ้มชูวัฒนธรรมชายขอบ สวมเข้ากันพอดีกับคอนเซ็ปต์ของสภากาแฟหรือสภาชาแบบไทย ๆ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่สำหรับการร่วมวงชวนคนใกล้เคียงมาสังสรรค์ แลกเปลี่ยนบทสนทนาผ่านเครื่องดื่มคาเฟอีนในมือ งานทั้งสองแบบแม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแง่ของระบบการจัดการ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการ Deconstruction – รื้อ ถอด ประกอบ […]

THE YARD RESTAURANT อิ่ม อร่อย อบอุ่น ในบรรยากาศบ้านไม้เก่า

The Yard Restaurant ร้านอาหารบรรยากาศฟีลกู้ด ที่เกิดจากการรีโนเวตบ้านไม้เก่าอายุร่วม 80 ปี ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง มาพร้อมสวนสีเขียวเติมความสดชื่นให้เเก่ย่านสาทรที่เต็มไปด้วยตึกสูง โดยผู้ออกแบบ The Yard Restaurant ได้พยายามเก็บโครงสร้างและรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผนังไม้เก่า ลายฝ้าเพดาน ลูกฟักหน้าต่าง ไปจนถึงโคมไฟ ด้วยความเก่าแก่ที่ยังคงสมบูรณ์แบบ ที่นี่จึงเปรียบเสมือนการเก็บประวัติศาสตร์เเละความเป็นอยู่ของคนสาทรในยุคก่อนเอาไว้ หลังจากการสำรวจพื้นที่ผู้ออกแบบพบว่าภายในโครงการประกอบด้วยอาคารไม้เก่า กับที่ว่างรอบบ้านซึ่งปกคุลมไปด้วยไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ จึงเล็งเห็นความสำคัญด้านการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า และการสร้างความสมดุลระหว่างสิ่งปลูกสร้างกับธรรมชาติรอบ ๆ  เพื่อคงเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมและเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินไปในตัว “เราเริ่มจากการออกแบบตัวบ้านเดิมกับพื้นที่ว่าง เพราะมองว่าบริเวณสาทรมีแต่ตึกกับคอนกรีต พื้นที่ว่างและสวนเป็นของมีค่ามากในย่านนี้ เราจึงออกแบบโครงการให้เป็นเสมือนปอดไว้หายใจและพักผ่อน สำหรับคนเมืองที่อาศัยอยู่ในสาทร จึงเกิดเป็นคอนเซ็ปต์ Hidden Yard ขึ้นมา”จากแนวคิดดังกล่าวนำมาสู่การผสมผสานงานออกแบบรีโนเวตลงไปในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติเเบบไม่รบกวนกัน  สร้างการรับรู้เเละเปลี่ยนผ่านความรู้สึกจากบรรยากาศภายนอกที่เเสนวุ่นวาย  ด้วยทางเดินเข้าร้านที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนระเบียงบ้าน นำทางมายังคอร์ตยาร์ดขนาดย่อมที่ทุกคนจะต้องเซอร์ไพร้ส์ไปกับบรรดาต้นไม้เขียวชอุ่ม ก่อนจะเชื้อเชิญทุกคนให้เข้ามายังพื้นที่ภายในบรรยากาศร้านด้านในยังคงความเป็นบ้านไม้โบราณ โชว์โครงสร้างหลังคาให้เห็นจันทันและแปไม้ แล้วเสริมให้ดูร่วมสมัยด้วยการเลือกของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์สไตล์คอมเทมโพรารีสีสด โดยใช้สีไม้เก่าจากพื้นและผนัง รวมถึงผนังปูนขัดสีให้ดูเก่า ผสมผสานกับการเน้นกรอบหน้าต่างและขาเก้าอี้ด้วยอะลูมิเนียมทำสีโรสโกลด์ ข้อมูล เจ้าของ : คุณญาณี องค์วัฒนกุล ออกแบบ : Arch+Brand Design ภาพ : […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

MP HOUSE บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ฟาซาดสวยด้วยบล็อกช่องลม

บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ส่วนผสมระหว่างออฟฟิศกับบ้านของคู่รักนักออกแบบ ปลอดโปร่งด้วยเพดานสูง และฟาซาดบล็อกช่องลม MP HOUSE หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองตาเงรัง (Tangerang) ประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันในบ้านที่นี่จึงได้รับการออกแบบให้มี 2 หน้าที่หลัก โดยแบ่งเป็นสำนักงานที่อยู่ชั้นหนึ่งและกึ่งชั้นใต้ดิน ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขาและพ่อแม่อยู่ชั้นบน ในส่วนของพื้นที่อยู่อาศัยมวลอาคารถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยพื้นที่กึ่งส่วนตัว ซึ่งรวมถึงมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร โดยออกแบบให้อยู่ด้านหน้าของบ้าน ขณะที่พื้นที่ส่วนตัวอย่าง ห้องนอน จะอยู่ที่ด้านหลังของอาคาร ทั้งสองส่วนถูกคั่นด้วยสวนหิน ซึ่งมีการระบายอากาศที่เพียงพอ และได้รับแสงธรรมชาติจากฟาซาดบล็อกช่องลม ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีหน้าที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและโฮมออฟฟิศ แยกส่วนพักผ่อนให้อยู่ชั้นบน ดังนั้นผู้สูงอายุในบ้านที่มีปัญหาการเดินขึ้นบันไดจึงอาจเกิดความยุ่งยากได้ เจ้าของจึงออกแบบให้มีทางลาดเพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นแทนบันได สิ่งท้าทายและน่าสนใจที่สุดของบ้านหลังนี้ คือบริเวณมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สมาชิกในบ้านมักมาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกัน ดังนั้นเพื่อให้เอื้อต่อการใช้งานจึงต้องออกแบบให้มีขนาดกว้างขวาง และมีเพดานยกสูงดูสว่างปลอดโปร่ง ช่วยระบายอากาศได้ดี การออกแบบบ้านให้มีหลังคาทรงจั่ว และใช้บล็อกรับลมสร้างลวดลายฟาซาดให้กับบ้าน ได้เอื้อให้พื้นที่พักผ่อนส่วนหน้าบ้านนี้ มีบรรยากาศที่ปลอดโปร่งจากฝ้าเพดานขนาดสูง และแสงแดดสามารถส่องเข้ามาถึงภายในได้อย่างเพียงพอผ่านบล็อกช่องลม ผลพลอยได้ที่ตามมาคือเอฟเฟ็กต์ของแสงเงาที่ลอดผ่านบล็อกช่องลม ช่วยตกแต่งให้ห้องดูสวยงามระหว่างวัน ขณะที่การตกแต่งใช้ธีมสีขาว เทา และดำ ล้อไปกับวัสดุส่วนใหญ่ที่ไร้การปรุงแต่ง ดูเป็นธรรมชาติ ก่อนสร้างมิติของบรรยากาศด้วยการออกแบบไลท์ติ้งตามส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการขับเน้นและนำสายตา เป็นอีกดีเทลที่ช่วยให้บ้านบรรยากาศเรียบนิ่งดูมีชีวิตชีวาขึ้น   ออกแบบ […]

ATHA YOGA STUDIO สุขสงบ ผ่อนคลายในดีไซน์แบบออร์แกนิก

Atha Yoga Studio สตูดิโอโยคะกลางกรุง สงบ อบอุ่นในโอบกอดของเส้นสาย และองค์ประกอบจากธรรมชาติ มาพร้อม Plant-based Café เสิร์ฟอาหารสุขภาพตอบโจทย์การดูแลร่างกายทั้งจากภายนอกและภายใน ในพื้นที่ขนาด 250 ตร.ม. ซึ่งถูกแบ่งเป็นสองส่วนของ Atha Yoga Studio ตั้งอยู่คนละฝั่งของทางเดินภายในอาคาร ด้านหนึ่งเป็นห้องสตูดิโอหลัก Surya และคาเฟ่ ส่วนอีกด้าน เป็นส่วนห้องอาบน้ำ และห้อง Private Studio จำนวน 2 ห้อง – Chandra และ Anata สเปซโดยรวมได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์กับกิจกรรมโยคะเป็นหลัก จากพื้นที่ต้อนรับ ก่อนที่จะเข้าสู่สตูดิโอหลัก Surya นักออกแบบสร้างพื้นที่เก็บรองเท้าให้กลายเป็นเหมือนถ้ำขนาดเล็ก เสมือนพื้นที่เปลี่ยนผ่าน เพื่อปรับอารมณ์ของผู้ใช้งาน ที่สับสนวุ่นวายจากภายนอก ให้มีสมาธิและปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการฝึกโยคะ Main Studio สตูดิโอหลักอยู่ด้านเดียวกับช่องเปิดอาคาร จึงรับแสงธรรมชาติและรับรู้ถึงห้วงเวลาภายนอกอาคาร รูปทรงและเส้นสายโค้งเว้าของฝ้าเพดาน และระนาบผนังที่โอบล้อมอยู่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ และความลื่นไหลของท่าฝึกโยคะ  สร้างอารมณ์ขัดแย้งกับความเป็นเหลี่ยมมุมกระด้างของตัวอาคารโดยรอบอย่างตั้งใจ และด้วยพื้นที่จำกัด สเปซภายในสตูดิโอจึงเชื่อมต่อกับส่วนคาเฟ่ผ่านผนังกระจกโค้ง เพื่อเปิดมุมมองที่โปร่งโล่งขึ้น    ภายในห้องเน้นการใช้ไฟซ่อนในผนัง หรือส่องไฟเข้าเพดานเพื่อสร้างแสง […]

LIL HOUSE คาเฟ่ในบ้าน ตอบโจทย์ธุรกิจและวิถีชีวิตกลางธรรมชาติ

Lil house คาเฟ่ในบ้านหลังคาจั่ว 2 ชั้น เรียบง่าย ที่ดูธรรมดาแต่โดดเด่นท่ามกลางสีเขียวของทุ่งนาและท้องฟ้า ผสานบริบทและกลิ่นอายของธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของเชียงราย ผ่านฝีมือการออกแบบของ ALSO Design studio ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอย 159 ตารางเมตร ตอบโจทย์การอยู่อาศัย และมีฟังก์ชันของคาเฟ่ขนาด 38 ที่นั่ง การออกแบบจึงให้ความสำคัญกับมุมมองและความรู้สึกของผู้ใช้งาน ทั้งลูกค้าคาเฟ่และผู้อยู่อาศัยที่ต้องใช้สเปซร่วมกัน โดยสะท้อนข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งกลางธรรมชาติ ภายใต้งบประมาณที่สมเหตุสมผล Lil house จึงมีลักษณะเป็น “บ้าน” อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทที่ตั้ง ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งของทุ่งนาและสวนต้นไม้ใหญ่ โดยมีการลดทอนฟังก์ชั่นของบ้านบางส่วน และเพิ่มเติมด้วยฟังก์ชั่นของคาเฟ่ สะท้อนวิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ พร้อมแฝงความอบอุ่นไว้ทุกมุม บริเวณทางเข้าสร้างความน่าสนใจด้วยแผ่นเหล็กดัดโค้งสีขาว โค้งรับกับประตูทางเข้า เมื่อก้าวเข้าไปภายในร้าน บันไดวนสีขาวเป็นจุดนำสายตา และเป็นส่วนที่เชื่อมชั้นบนและชั้นล่างเข้าด้วยกัน โดยพื้นที่ชั้นล่างจะเป็นส่วนของคาเฟ่แบบอินดอร์ ในขณะที่บันไดวนพาขึ้นไปสู่ชั้นลอย ที่มีที่นั่งเป็นลักษณะบาร์ ต่อเนื่องกับระเบียงภายนอก ซึ่งมีที่นั่งแบบเอ้าต์ดอร์ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศ และการสัมผัสรับรู้ทั้งสายตา เสียง และความรู้สึกของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ ส่วนระเบียงของรองรับการใช้งานในฐานะ “บ้าน” เชื่อมต่อกับส่วนห้องนอนและห้องน้ำอีกด้วย คาเฟ่แห่งนี้ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์ในทุกมุมมอง ทั้งจากระยะไกล จากผู้ใช้งานภายนอก และผู้ใช้งานภายใน องค์ประกอบต่างๆ […]

RONGROS ร้านอาหารไทยริมน้ำ เปิดวิวมองเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯ

ร้านอาหารไทย ที่มีชื่อไทย ๆ ว่า RONGROS (โรงรส) เกิดจากการดัดแปลงโรงจอดรถเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้กลายมาเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สังสรรค์ในย่านท่าเตียน บนทำเลที่มองเห็นวิวพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้เต็มสายตาไร้สิ่งบดบัง ตัวอาคารโรงรถเดิมได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยรื้อส่วนหลังคาออกทั้งหมด แล้วก่อร่างเป็นอาคารเรือนกระจกเปิดเปลือยวัสดุ เสริมแรงด้วยโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้อาคารเดิมยังสามารถใช้งานได้ดี และสามารถเปลี่ยนพื้นที่ชั้นดาดฟ้าเป็นมุมนั่งประทานอาหารกลางแจ้งได้ภายในร้านวางตำแหน่งเคาน์เตอร์บาร์และห้องครัวชิดขอบอาคารด้านหน้า แล้วเปิดพื้นที่ชิดแม่น้ำเป็นมุมรับประทานอาหารตลอดแนวผนังกระจก คุมโทนขรึมเข้มด้วยการเพ้นต์ผนังลายคราม ตัดสลับร่องรอยดิบกระด้างโดยการกะเทาะผิวหน้าผนังคอนกรีตให้เห็นแนวอิฐบางส่วนอีกหนึ่งจุดเด่นของร้านคือการผสานวัฒนธรรมอันหลากหลายทั้งไทย จีน และตะวันตกเข้าด้วยกัน ผ่านการใช้ของตกแต่ง เช่น การจัดวางเก้าอี้สไตล์วินเทจหลากหลายรูปแบบคละกันไปกับโต๊ะท็อปหินสีดำ แขวนประดับด้วยกรอบรูปภาพ วางฉากกั้นฉลุลายไม้กลิ่นอายจีน ตลอดจนแขวนโคมไฟระย้าเพื่อเสริมบรรยากาศให้ภายในร้านดูหรูหราและโรแมนติกมากยิ่งขึ้น – IDEAS TO STEAL – นำมู่ลี่ไม้ไผ่ที่มีความโปร่งเบามาใช้เป็นม่านบังแสงแดดยามบ่าย โดยไม่ทำให้พื้นที่ภายในดูมืดทึบ ที่ตั้ง329/16 ตรอกท่าเตียน ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพฯพิกัด https://goo.gl/maps/mtnRwFD1ihvNBxVh7เปิดทุกวัน 11.00 – 22.00 น.โทร.09-6946-1785เจ้าของ-ออกแบบ : คุณนัทธวัฒ ธาราภิบาลภาพ : ศุภกร ศรีสกุล

HAIR ATELIER BRUNO ออกแบบร้านตัดผม สไตล์เรียบง่าย ด้วยเสาไม้และอะลูมิเนียม DIY

ออกแบบร้านตัดผม ที่ซ่อนอยู่ในอาคารเก่าอายุ 34 ปี ของเมืองอาตามิ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ให้มีบรรยากาศน่าสนใจกับการใช้วัสดุที่เรียบง่ายอย่าง เสาไม้ และอะลูมิเนียม ผสานด้วยเทคนิคและกระบวนการกึ่ง DIY สุดประณีต Hair Atelier Bruno คือตัวอย่างของการ ออกแบบร้านตัดผม ที่นำแนวคิดแบบ DIY มาจับ ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถใส่กระบวนการแนวคิดสุดสร้างสรรค์ เปลี่ยนชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ชั้น ที่อยู่หันหน้าออกไปยังถนนใกล้สี่แยกของเมือง จากจุดเด่นของทำเลที่พลุกพล่าน Yuji Tanabe Architects จึงออกแบบร้านให้สามารถมองเห็นการตกแต่งที่น่าสนใจด้านใน ผ่านผนังกระจกใสที่กรุอยู่โดยรอบ ขณะเดียวกันก็พรางสายตาเพื่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ด้วยฉากกั้นที่ทำจากเสาไม้โค้งไปตามแนวพื้นที่ใช้งาน ฉากกั้นไม้ที่กล่าวถึงนี้ สถาปนิกใช้ชื่อเรียกว่า Ku-ki Bei (หมายถึงผนังอากาศ) เป็นเสาไม้ที่เรียงรายเป็นช่วง ๆ เพื่อแยกส่วนพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ยังยอมปล่อยให้แสง ลม และแมว! ของเจ้าของร้านเดินผ่านไปได้ และเมื่อมอง Ku-ki Bei ขนานไปกับแนวสายตา เสาไม้นี้ก็จะกลายเป็นแนวช่วยพรางสายตาไปในตัว โดยเสาไม้ทั้งหลายนี้จะถูกเชื่อมต่อด้วยแผ่นอะลูมิเนียมชุบอโนไดซ์หนา 1.5 มิลลิเมตร ซึ่งตัดด้วยเลเซอร์ […]