room
PONGCHUROS แซ่บนัวแบบไม่ง้อผงชูรสในร้านอีสานมินิมัล
ร้าน Pongchuros และโลโก้รูปมือที่หยิบคำว่า “ชู” มาเป็นกิมมิกอย่างที่เห็น ชวนให้รู้สึกสงสัยและสร้างเสน่ห์ให้ไม่น้อยว่า ภายใต้อาคารสีขาวมินิมัลชั้นเดียวนี้ ไม่ใช่คาเฟ่อย่างที่คิด แต่เป็นร้านอาหารอีสานรสชาติแซ่บนัว ซึ่งมีดีตรงที่ทุกเมนูของร้านเด็ดอร่อยได้แบบไม่ต้องใส่ผงชูรส แม้ภายนอกและภายในร้าน Pongchuros แห่งนี้ จะมีความขาวคลีนสไตล์มินิมัล จนหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเอ๊ะ ! ที่นี่คือคาเฟ่รึเปล่านะ นับเป็นอีกหนึ่งลูกเล่นสนุก ๆ ที่ช่วยสร้างความน่าจดจำให้แก่ ร้านผงชูรส ร้านอาหารอีสานแห่งนี้ ที่ขอบอกเล่าตนเองเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ ผ่านการตกแต่งร้านที่ดูทันสมัยสะอาดสะอ้าน ราคาน่ารักไม่ลำบากเงินในกระเป๋า พร้อมบริการเป็นกันเอง เนื่องจากร้านตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของโรงแรมเกศราในย่านสีลมที่มีภาพลักษณ์แบบบ้านเก่า การออกแบบอาคารจึงตั้งใจให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั่นคือเป็นเรือนไม้สีขาวโบราณ มีเส้นขอบสีเทา เห็นการใช้อิฐช่องลมมาประกอบเป็นองค์ประกอบในการตกแต่งร้าน ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์รับออเดอร์ หน้าประตูร้าน เคาน์เตอร์คิดเงิน รวมถึงในส่วนหน้าห้องครัว ทำให้เกิดความเรียบง่าย น้อยแต่ได้มาก จากเส้นสายที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นยังมีการใช้เส้นจากการวางแผ่นไม้ของผนังห้อง ซึ่งใช้เป็นเส้นทะแยงแทนที่จะใช้แนวตั้งตามปกติ รวมถึงช่วยเพิ่มลูกเล่นด้วยการทำผนังส่วนล่าง โดยเพิ่มฟังก์ชันให้ใช้วางของได้ ขณะที่เพดานด้านบนใช้การวางเส้นแสงบนเพดานล้อไปกับโครงสร้างด้านบนที่เปิดเปลือยดูโมเดิร์นขึ้น และยังมีการแทรกข้อความต่าง ๆ ไปกับการออกแบบได้อย่างลงตัว Tip นำอิฐช่องลมมาประกอบเป็นตัวเคาน์เตอร์รับออเดอร์หน้าร้าน เคาน์เตอร์เก็บเงิน และตกแต่งในส่วนหน้าห้องครัว สร้างเส้นสายทำให้ภาพของร้านดูน่าสนใจขึ้น และให้ความรู้สึกถึงความเป็นร้านอาหารไทย ที่ตั้ง 38 ซอยสีลม […]
เติมหลังคาให้ตึกเก่ากลายเป็นสวนดาดฟ้าและพื้นที่พบปะของชาวเมือง
โปรเจ็กต์การคืนชีพคฤหาสน์เก่าที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กลางเมืองเม็กซิโก ซิตี ให้กลับมามีชีวิตชีวาในฐานะพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันของชาวเมือง โดดเด่นด้วย สวนดาดฟ้า ภายใต้หลังคาทรงหน้าจั่วที่ยาวตามแนวอาคารกว่า 50 เมตร เพื่อใช้ทดแทนหลังคาเก่าของอาคารที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนัก จนไม่สามารถบังแดดและฝนให้แก่พื้นที่ใช้งานด้านล่างได้ Rooftop Prim คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ซึ่งมาจากคำถามที่ว่าจะอนุรักษ์อาคารเก่าหลังนี้ ไปพร้อม ๆ กับสร้างคุณค่าแก่สถาปัตยกรรมโบราณอย่างไร ให้ยังคงมีความสำคัญกับชุมชนรอบ ๆ สตูดิโอออกแบบ PRODUCTORA ผู้รับหน้าที่รีโนเวตอาคารตั้งใจจะเก็บโครงสร้างเดิมเอาไว้ ต่อเติมเพียงส่วนของหลังคาให้กลายเป็น สวนดาดฟ้า ด้วยโครงสร้างที่มีความโมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย ดึงดูดผู้คนให้อยากเข้ามาใช้งาน สมกับเจตนารมณ์ของเจ้าของ ที่ต้องการให้ที่นี่เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและงานรื่นเริงต่าง ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาและความคึกคักให้หวนคืนมาอีกครั้ง โดยงานออกแบบหลังคาที่ครอบอยู่ด้านบนนั้นมีความยาวมากถึง 50 เมตร ตลอดแนวความยาวของอาคาร โครงสร้างประกอบด้วยโครงถักโลหะน้ำหนักเบา 45 ชิ้น วางเว้นระยะห่างกันทุก ๆ 1.2 เมตร โดยแบ่งน้ำหนักให้เท่า ๆ กันตลอดโครงสร้างที่มีอยู่ เน้นจังหวะและมุมมองผ่านรูปทรงหลังคาทรงสามเหลี่ยม วัสดุที่ใช้ในการมุงหลังคาเน้นน้ำหนักเบา และนิยมใช้ในอุตสาหกรรม เช่น พื้นพีวีซี แผ่นพอลิคาร์บอเนต รวมไปถึงราวบันไดที่ทำจากอวนไนลอน เพราะพยายามที่จะลดน้ำหนักของโครงสร้างให้มากที่สุด เนื่องจากเกรงว่าฐานที่เป็นอาคารเก่าจะรับน้ำหนักไม่ไหว […]
THE HIDDEN HOUSE บ้านโมเดิร์นสีขาว แฝงความร่มรื่นภายใน
จากภายนอก บ้านโมเดิร์นสีขาว หลังนี้ดูเหมือนมวลกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวเจาะช่องให้พอมองเห็นเรือนยอดของต้นไม้ที่อยู่ภายใน ทว่าเมื่อก้าวผ่านประตูขนาดพอเหมาะเข้าไปด้านใน จะได้พบกับสวนอันร่มรื่นและบรรยากาศปลอดโปร่งผิดกับภาพภายนอกที่ผู้อื่นเห็น เจ้าของ คุณลัภปริญ รักพงค์ และคุณสุจิณณา แสนเจริญ ออกแบบ ปกรณ์ อยู่ดี INLY STUDIO โทร. 08-9266-8988 บ้านโมเดิร์นสีขาว หลังนี้เริ่มออกแบบจากพื้นที่ภายใน ภายใต้แนวคิดที่ตอบสนองความต้องการของเจ้าของบ้าน ที่จะสร้างบ้านหลังใหม่ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับรองรับเพื่อน ๆ ให้แวะเวียนมาสังสรรค์หรือใช้เวลาร่วมกันได้ แต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องการความเป็นส่วนตัวด้วย ผลลัพธ์จากการออกแบบ จึงทำให้บ้านหลังนี้มีลักษณะคล้าย ‘พูลวิลล่า’ ที่สร้างความรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัวให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการจัดการแนวกำแพง และการลดระดับพื้นที่ภายใน เงยหน้ามองสวน ที่ชั้น 1 ของตัวบ้านประกอบด้วยพื้นที่รับแขก นั่งเล่น และเคาน์เตอร์ครัว ขนาบข้างไว้ด้วยสวนและสระว่ายน้ำ การลดระดับของพื้นที่ภายในบ้านนอกจากเป็นการยกระดับความเป็นส่วนตัวแล้ว ยังเปิดมุมมองเห็นวิวสวนได้แบบเต็มตา สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้นประกอบกับ ดับเบิ้ลสเปซในส่วนพื้นที่นั่งเล่นยังช่วยสร้างการรับรู้ของภาพต้นไม้ได้ตั้งแต่พื้นดินไปจนถึงเรือนยอด เเละทะลุสูงขึ้นไปถึงท้องฟ้าเลยทีเดียว ปิด…เพื่อเปิด เพื่อให้พื้นที่สวน สระว่ายน้ำ และพื้นที่ภายในทั้งหมดเชื่อมโยงเป็นพื้นที่เดียวกัน คุณปกรณ์จึงเลือกใช้บานกระจกใสขนาดใหญ่ทำหน้าที่กั้นสเปซ แต่ยังคงมองเห็นกันเเละกันได้ผ่านมุมมองที่ปลอดโปร่ง ส่วนสำคัญของการออกแบบนี้คือแนวผนังที่ถูกดันออกไปจนชิดรั้วบ้าน สังเกตได้ว่าทั้งฝั่งสระว่ายน้ำและสวนจะมีผนังขนาดใหญ่ปิดกั้นความเป็นส่วนตัวไว้ แต่ผนังระดับบนและล่างมีการซ้อนเหลื่อมกันอยู่เล็กน้อย เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในบ้านยังสามารถมองเห็นต้นไม้และท้องฟ้าภายนอก ทั้งยังเปิดให้แสงธรรมชาติสามารถฉาบไล้เข้ามาได้ในเวลาที่เหมาะสม เป็นการปิด…เพื่อเปิดให้เกิดพื้นที่กลางแจ้งส่วนตัวที่น่าสนใจ พื้นที่ส่วนตัวที่แบ่งความร่มรื่นจากชั้นล่างขึ้นไป […]
ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา สถาปัตย์+กสิกรรม อาคารโมเดิร์นผสานโคกหนองนาโมเดล
งานออกแบบอาคารของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียง ที่มีโจทย์ทางด้านการเกษตรเข้ามาเป็นหลักการใช้งานได้อย่างโดดเด่น และยังเกื้อหนุนต่อบริบทโดยรอบได้อย่างน่าชื่นชมผ่านสถาปัตยกรรมแบบ Tropical Modern ที่มีอิฐมอญเป็นองค์ประกอบหลัก สถาปนิก : VIN VARAVARN ARCHITECTS Ltd. ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา เป็น อาคารที่มีหลังคาทรงแปลกตา โดยอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เขาใหญ่ เพื่อรองรับกิจกรรมอบรมที่เกิดขึ้นภายในศูนย์ โดยคุณผึ้ง-พรรณราย พหลโยธิน เป็นผู้ก่อตั้ง จากแนวคิดของอ.ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร ซึ่งเมื่อสามปีกว่าก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดวิกฤตขึ้น จึงควรมีสถานที่ที่สามารถรองรับผู้คนประมาณหนึ่งพันคน โดยคุณผึ้งนั้นต้องการให้ผู้ที่เข้ามาภายในศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตรนี้ มีความสะดวกสบายมากขึ้นไม่อยู่อย่างลำบากจนเกินไป แต่ต้องอยู่กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน มีความทันสมัยได้ไม่ได้จำกัดรูปแบบจากภาพเดิม คุณวิน-ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ สถาปนิกแห่ง Vin Varavarn Architects ผู้ออกแบบอาคารนี้เล่าถึงโจทย์ครั้งนี้ว่า คุณผึ้งต้องการอาคารที่มีความเรียบง่าย แต่ด้วยโปรแกรมการใช้งานอาคารที่ค่อนข้างมาก อาคารหลังนี้จึงต้องใหญ่พอควร และพื้นที่โดยรวมทั้งหมดของโครงการก็ใหญ่มาก จึงต้องการอาคารสักหลังที่เป็นแลนด์มาร์คให้กับผู้คน ส่วนแนวคิดด้านความพอเพียงก็อาจไม่ต้องตีกรอบว่าต้องอยู่บ้านไม้ไผ่ กระท่อมไม้ที่ดูลำบาก เพราะว่าการดูแลรักษาในระยะยาวก็เป็นสิ่งสำคัญ โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตผสมกับเหล็ก ปกคลุมด้วยหลังคาขนาดใหญ่ กรุด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่เรียงเป็นตับ โดยมีการศึกษาเรื่องการระบายอากาศ แสง และความโปร่งของโครงสร้างทั้งหมดก่อนก่อสร้างจริง ไม้ไผ่ที่เห็นดังกล่าวในอนาคตทางศูนย์ก็สามารถซ่อมแซมได้เองตามอายุการใช้งาน เนื่องจากมีปลูกเพื่อรองรับเอาไว้แล้ว จากการที่หลังคาเป็นหลังคาขนาดใหญ่ จึงเป็นเสมือนพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ยามฝนตกไปด้วยในตัว ช่วงแรกสถาปนิกได้คิดถึงระบบท่อและถังในการเก็บน้ำ แต่เมื่อได้มีการพูดคุยกับคุณผึ้ง […]
“แกงเวฬา” รีโนเวตโกดังเก่าให้กลายเป็นร้านข้าวแกงน่านั่งสไตล์วินเทจ
บนพื้นที่ใกล้แยกต้นเกว๋น ของถนนรอบเมืองเชียงใหม่ โกดังเก็บของเก่าหลังหนึ่งถูกรีโนเวตให้กลายเป็นร้านอาหารสไตล์วินเทจในชื่อ “แกงเวฬา” มีดีที่แกงมัสมั่น และเมนูแกงต่าง ๆ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาเรียกน้ไย่อยแบบไม่ให้ซ้ำ การปรับปรุงร้านเริ่มจากการรื้อหลังคาเดิมที่ปิดทึบและทำความสะอาดพื้นที่ภายใน แต่เหลือโครงสร้างที่สูงโปร่งไว้อย่างเดิมและเติมหลังคาแบบโปร่งเข้าไปภายหลัง จากนั้นออกแบบฟาซาดหน้าร้านด้วยการใช้ผนังดินอัดตอกมือเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ประกอบกับการออกแบบประตูทางเข้าเป็นห้องโถงทำจากเหล็กที่ช่วยดึงดูดสายตา ในขณะที่พื้นที่ภายในไม่ได้ตกแต่งมากมาย เพียงแต่ใช้เฟอร์นิเจอร์เก่าที่เป็นของสะสมและการประดิษฐ์เองจากความชอบของเจ้าของ โดยแบ่งฝั่งหนึ่งสร้างเป็นเตาย่างถาวรที่จะใช้กับร้านบาร์บีคิว ส่วนที่เหลือเป็นการวางเคาน์เตอร์ข้าวแกง และชุดโต๊ะรับประทานอาหารกระจายไปทั่วร้าน และมีการปรับเปลี่ยนการจัดวางตามความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ความน่าสนใจอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากความโปร่งเบาของโครงสร้าง เปิดรับแสงธรรมชาติช่วยสร้างบรรยากาศน่าสบายเป็นกันเอง เข้ากับการใช้เฟอร์นิเจอร์สไตล์วินเทจ สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้ตามรูปเเบบร้านที่เปลี่ยนไปเสมอ ๆ เจ้าของ-ออกแบบ : คุณฮะนีฟ พิทยาสาร, คุณรัชดาพล หมื่นหนู เเละคุณชิดชนก หมื่นหนู ที่ตั้ง แยกต้นเกว๋น ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเฉพาะวันจันทร์ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 8.30 น.-14.00 น. โทร. 06-2449-9425 www.facebook.com/kangvela รีโนเวตโกดังยาทัมใจอายุกว่าร้อยปี ให้กลายเป็นร้านอาหารเวียดนาม การันตีความอร่อยด้วยเชฟจากดุสิตธานี
อาคารโมเดิร์น รูปโดนัทสีขาวชวนฉงน แอบซ่อนฟังก์ชันใช้งานสุดว้าว! ไว้ภายใน
The L00P Boutique Hotel & Café อีกหนึ่งที่ ท่องเที่ยวเวียดนาม โดดเด่นกว่าบริบทรอบ ๆ ด้วยลักษณะอาคารโมเดิร์นรูปทรงโค้งวงรีสีขาวสะอาดตา ปิดล้อมมุมมองด้วยผนังคอนกรีตสีขาวและโครงฟาซาดโปร่งแสงให้ความรู้สึกเบาสบาย หรืออีกนัยหนึ่งยังชวนค้นหาว่า มีฟังก์ชันอะไรซ่อนอยู่ภายในนั้น!? เพราะหากมองจากภายนอก หลายคนแทบไม่รู้เลยว่า ด้านในของอาคารโมเดิร์นรูปทรงโค้งสีขาวที่เห็นนี้ จะมีบรรยากาศเป็นอย่างไร ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม G+ Architects ที่ตั้งใจอยากสร้างความเซอร์ไพรส์ให้แก่ผู้มาเยือน ก่อนจะถูกเฉลยว่า ภายในของสถานที่แห่งนี้ บรรจุไว้ด้วยฟังก์ชันเพื่อใช้เป็นที่ ท่องเที่ยวเวียดนาม หลากหลาย โดยเป็นทั้งโรงแรม คาเฟ่ สวนดอกไม้ และลานกางเต็นท์ ซึ่งรวมอยู่ในพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ความโดดเด่นของ The L00P Boutique Hotel & Café แน่นอนว่านั่นคือตัวอาคารด้านนอก ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากภาพป่าสนในยามรุ่งสาง ซึ่งแทนภาพด้วยจำนวนของเสาเหล็กทำสีขาวที่มีมากกว่า 70 ต้น เพื่อเป็นโครงสร้างยึดตัวฟาซาดที่ทำจากลูกฟูกลอนสังกะสีสีใสเอาไว้ นอกจากนี้โครงสร้างดังกล่าวยังช่วยสร้างเอฟเฟกต์ของแสงเงา ยามเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านตัวอาคารไปในช่วงเวลาต่าง ๆ เกิดเป็นเส้นสายพาดผ่านลงบนผิวผนังคอนกรีตสีขาว ดูสวยงามตามทิศทางการตกกระทบของแสงแดด ด้านฟังก์ชันการใช้งาน ที่นี่ประกอบด้วยห้องพักจำนวน 12 […]
PARK ROOF HOUSE โอเอซิสสีเขียวส่วนตัวบนหลังคาบ้าน
บ้านที่มี สวนดาดฟ้า อันแสนโดดเด่นดูไม่ต่างจากภูเขาที่ถูกปกคลุมไปด้วยแมกไม้ กลางนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม หลังนี้ เกิดขึ้นจากความต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งอยากมีบ้านที่มีบรรยากาศเงียบสงบ พร้อมกับมุมพักผ่อนซึ่งเต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียว ออกแบบ: MDA Architecture Vu Ha Anh เเละ Than Tien Hoang สองสถาปนิกจาก MDA Architecture จึงได้เกิดแนวคิดการผสมผสานสวนระเบียงกับ สวนดาดฟ้า ที่สมาชิกในครอบครัวสามารถชื่นชมได้ทั้งอยู่ในบ้าน และออกมาสัมผัสพักผ่อนใต้ร่มไม้ด้านบนของบ้าน จะออกกำลังกายเบา ๆ นั่งเล่น หรือปลูกผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภคก็ได้ ภายใต้โจทย์ด้านความเป็นส่วนตัวอีกข้อหนึ่ง สถาปนิกได้ออกแบบบ้านหลังนี้ โดยแยกออกเป็น2 ส่วน มีช่องดับเบิ้ลสเปซอยู่ตรงกลาง ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนรับเเขก เเละรับประทานอาหารเเบบโอเพ่นสเปซ เมื่อมองขึ้นไปยังห้องพักส่วนตัวด้านบน เเต่ละห้องจะถูกแบ่งออกเป็นชั้น ๆ เพื่อความเป็นส่วนตัวของสมาชิก โดยมีความพิเศษคือมุมสวนระเบียงเล็ก ๆ ที่ก่อด้วยอิฐยื่นออกมาแบบลดหลั่นสลับกันไปมาตามตำแหน่งของห้องพัก เป็นการช่วยนำธรรมชาติเข้ามาอยู่ในที่พักอาศัยอย่างที่เจ้าของต้องการ สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างของการออกแบบบ้านหลังนี้ คือการเลือกใช้วัสดุธรรมดา ๆ อย่าง “อิฐมอญ” มาช่วยในการสร้างรายละเอียด ไม่ว่าจะใช้ก่อเป็นผนังเเละขอบระเบียง ดังจะเห็นได้ทั้งจากสวนระเบียงในบ้านเเละนอกบ้าน ที่อิฐสีแดงดูตัดกับใบไม้สีเขียวช่วยเพิ่มน่าสนใจได้อย่างดี ขณะที่สวนระเบียงด้านนอกคอยทำหน้าที่เป็นเสมือนฉากกั้นสายตา […]
บ้านชั้นเดียว สไตล์มินิมัล ที่หยิบความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมมาเล่าใหม่
YOMOGIDAI HOUSE บ้านชั้นเดียว หน้าตาเรียบง่าย ดูคล้ายศาลเจ้าญี่ปุ่นโบราณ เหลือเชื่อกับการก่อสร้างขึ้นจากไม้สนทั้งหลัง ด้วยเทคนิคการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอตหรือตะปูใด ๆ บ้านชั้นเดียว ที่กำลังกล่าวถึงนี้ ตั้งอยู่ในเมืองนาโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผลงานการออกแบบโดย Tomoaki Uno Architects จากเหตุผลด้านข้อจำกัดของที่ตั้ง ซึ่งมีขนาดความกว้างเพียง 8 เมตร และยาว 28 เมตร ได้กลายเป็นโจทย์ให้ทีมสถาปนิกเลือกออกเเบบตัวบ้านให้ยาวตามเเนวที่ดิน ก่อนจะบรรจุฟังก์ชันการใช้งานไว้อย่างครบถ้วน ด้วยขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 82.80 ตารางเมตร ตัวบ้านออกแบบให้ตั้งอยู่บนเนินดินที่ทำสโลปไล่ระดับลงมายังลานจอดรถหน้าบ้าน ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้บ้านชั้นเดียวนี้ดูโดดเด่นเเตกต่างจากบ้านละเเวกใกล้เคียง นอกจากนั้นยังได้ยกใต้ถุนให้สูงเล็กน้อย เเละทำหลังคาเป็นเเบบทรงจั่วที่มีชายคายื่นยาว ซึ่งอ้างอิงมาจากสถาปัตยกรรมที่ดูคล้ายบ้านหรือศาลเจ้าญี่ปุ่นโบราณ โดยก่อสร้างขึ้นจากไม้สนที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทั้งภายนอกเเละภายใน ด้วยเทคนิคการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอต หรือตะปูใด ๆ ด้านหน้าบ้านที่หันออกสู่ถนน สถาปนิกตั้งใจออกแบบผนังด้านนี้ให้เป็นผนังโชว์ลายไม้สวย ๆ โดยไม่มีช่องเปิดใด ๆ เลย ทั้งนี้ก็เพื่อความสวยงามเเละความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้าน เเต่ใช่ว่าบรรยากาศภายในบ้านจะทึบตันอย่างที่คิด เพราะสถาปนิกได้ออกแบบผนังกระจกใสสูงจากพื้นจรดเพดาน เพื่อเปิดรับเเสงธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ จากทางด้านหลังของบ้านเเทน ในส่วนของเเผนผังการใช้งานภายใน ได้กำหนดให้ห้องนอนอยู่ที่บริเวณด้านหน้าบ้าน ขนาบข้างด้วยห้องน้ำเเละห้องซักรีด โดยมีช่องทางเดินอยู่ตรงกลางพุ่งยาวไปยังพื้นที่อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ด้านหลัง สำหรับใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นเเละรับประทานอาหารไปในตัว ซึ่งสามารถเปิดรับเเสงเเละวิวสวนได้เต็มที่จากมุมนี้ เป็นความอบอุ่นเรียบง่ายด้วยองค์ประกอบเเละเฟอร์นิเจอร์จากงานไม้ […]
“เป็นส่วนตัว-ลดแพร่เชื้อ” ตอบรับแนวทาง Social Distancing ของร้านอาหารอินเดียในยุคโควิด-19
Renesa Architecture Design Interiors สตูดิโอออกแบบสัญชาติอินเดีย นำเสนอการออกแบบสถาปัตยกรรมล่าสุดของพวกเขา กับรูปแบบร้านอาหารเวียดนามในกรุงนิวเดลี ให้ปลอดภัยและตอบสนองต่อนโยบายป้องกัน โควิด-19 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ไปทั่วโลก รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะอย่างร้านอาหาร ได้ถูกตั้งคำถามว่าจะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับยุคโควิด ที่ผู้คนจำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคม นักออกแบบหลาย ๆ คนจึงต้องให้ความสำคัญและหาทางแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม เพื่อช่วยตอบสนองต่อนโยบายลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนี้ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และสำหรับสตูดิโอออกแบบสัญชาติอินเดียรายนี้ ซึ่งรับหน้าที่ออกแบบร้านอาหารเวียดนามสาขานี้ในอินเดีย พวกเขาตอบสนองต่อการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างจริงจัง ผ่านผลงานในชื่อ “Social with Distancing” การออกแบบร้านอาหารแห่งนี้ เป็นการนำบรรยากาศความคึกคักตามตรอกซอกซอยในเวียดนามมาออกแบบ ร่วมกับวัสดุอย่าง ไม้ อิฐ สังกะสี ประตูเหล็กยืด ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุที่บ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมของเวียดนาม พร้อมกับแทรกด้วยเหล่าพรรณไม้เขตร้อนสีเขียวสด ตัดสลับกับสีน้ำตาลของโครงสร้างและเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ดูอบอุ่น ขณะที่มาตรการที่ใช้ในร้านเพื่อป้องกันโรคโควิด นอกจากพนักงานจะต้องใส่หน้ากากตลอดเวลา และมีตารางการทำความสะอาดที่บ่อยครั้งขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญคือการออกแบบพื้นที่แบบ Social Distancing เห็นได้จากการเว้นช่องทางเดินทุก ๆ 6 ฟุต หรือ 2 เมตร เพื่อลดความแออัด ขณะเดียวกันก็มีมุมนั่งรับประทานอาหารที่หลากหลายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นมุมรับประทานอาหารสองชั้นที่สับหว่างที่นั่งกันแบบเว้นระยะ ระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสอง […]
P HOUSE บ้านอิฐดินเผา ที่เย็นสบายด้วยวัสดุและแนวคิดแบบยั่งยืน
โปรเจ็กต์การออกแบบ บ้านอิฐดินเผา ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม พร้อมโจทย์การออกแบบที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน ผ่านการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่นเดียวกับการออกแบบพื้นที่เพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต P House หรือ บ้านอิฐดินเผา หลังนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ T H I A architecture ซึ่งมาพร้อมกับโจทย์ที่สร้างความท้าทายให้แก่สถาปนิกไม่น้อย เนื่องจากทำเลที่ตั้งมีความกว้างแค่เพียง 4.3 x 15 เมตร แถมยังถูกขนาบข้างด้วยอาคารเพื่อนบ้านและโรงงานเก่าทั้งสองด้าน ทำให้มีช่องเปิดมีอยู่แค่เฉพาะพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น การออกแบบจึงต้องเน้นย้ำเรื่องความปลอดโปร่งและแสงสว่างเป็นสำคัญ สถาปนิกจึงได้จัดการแก้ปัญหาทางกายภาพของที่ตั้ง ไปพร้อมกับการเน้นใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน โดยส่วนใหญ่เป็นวัสดุทำมาจากธรรมชาติไร้การปรุงแต่ง เช่น อิฐ ไม้ และคอนกรีต ซึ่งสัมพันธ์กับธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้บ้านมีทั้งความสวยงามและอยู่สบาย รูปลักษณ์ของอาคารมีจุดโดดเด่นคือ เปลือกอาคารอิฐดินเผาสีส้ม ที่ออกแบบให้มีระยะยื่นออกจากตัวบ้าน เพื่อไม่ให้แดดส่องเข้ามาถึงภายในบ้านโดยตรง อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นราวระเบียงและแผงกันแดดที่มีการจัดเรียงอิฐเป็นแพตเทิร์นง่าย ๆ โดยในวันอากาศดีสามารถเปิดผนังกระจกบานเลื่อนที่ซ้อนอยู่หลังระเบียงของแต่ละชั้นออกได้จนสุด เพื่อให้ลมพัดพานำความเย็นสบายและถ่ายเทความร้อน ขณะที่สีส้มของอิฐดูตัดกับใบไม้สีเขียวของพรรณไม้เลื้อยที่ห้อยระย้าลงมาจากระเบียงหลังคาเหนือพื้นที่จอดรถ ช่วยให้เกิดมุมมองที่สดชื่นสบายตา ลดความแข็งกระด้างจากวัสดุและอาคารทรงเหลี่ยมได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้ามาภายในตัวบ้าน ชั้น 1 จะพบกับลานโล่งที่เชื่อมต่อกับคอร์ตสวนหลังบ้าน ก่อนจะขึ้นมาที่ชั้น 2 ชั้นนี้ประกอบด้วยมุมโซฟาสำหรับพักผ่อน โต๊ะรับประทานอาหาร […]
NATURA BUILDING อาคารมิกซ์ยูสที่ดึงธรรมชาติเข้ามาช่วยสร้างสรรค์พื้นที่ชีวิต
อาคาร NATURA Building ของกลุ่มสถาปนิก Diez+Muller Arquitectos จากประเทศเอกวาดอร์ เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์อาคารสำนักงานแบบมิกซ์ยูสที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างสิ่งแวดล้อม เพื่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพนักงาน ออกแบบสถาปัตยกรรม: Diez+Muller Arquitectos ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม : Clemencia Echavarria ที่ตั้งของอาคาร Natura Building นั้น อยู่ห่างจากกีโต เมืองหลวง เป็นระยะทาง 24 กิโลเมตร และเป็นพื้นที่ที่กำลังพัฒนาเป็นแถบที่อยู่อาศัย โจทย์ทางบริบทที่สำคัญของอาคารแห่งนี้จึงอยู่ที่สภาพภูมิอากาศแบบพิเศษอันเนื่องมาจากพื้นที่ตั้งที่อยู่ในเขตภาคพื้นดินที่เป็นภูเขาซึ่งมีระดับต่ำกว่าตัวเมือง และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องเดินทางจากบ้านมาถึงที่ทำงาน ซึ่งมีความยากทั้งในเรื่องระยะทาง รูปแบบการเดินทาง มลภาวะ จำนวนผู้คนในชุมชนขยาย ซึ่งส่งผลไปสู่การขาดแคลนบริการที่จำเป็น โจทย์จึงอยู่ที่การทำให้อาคารแห่งนี้เป็นทั้งบ้านและที่ทำงานในพื้นที่เดียวกัน รวมทั้งข้อสำคัญคือ ต้องใกล้ชิดธรรมชาติ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเมือง จากสภาพแวดล้อมของผืนที่ดินเดิมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณดั้งเดิมของพื้นที่ที่อยู่มาหลายทศวรรษ ตัวอาคาร 3 ชั้น ขนาด 2,500 ตารางเมตร แห่งนี้ จึงพยายามออกแบบให้กลมกลืนกับบรรยากาศของพื้นที่เดิม ให้ความเคารพกับต้นไม้เดิมในพื้นที่ และยังมองไปเผื่ออนาคตหากมีเพื่อนบ้านรายล้อมด้วยการใช้อาคารเป็นตัวกำหนดขอบเขตอย่างชัดเจนให้กับที่ดิน บริบทอีกประการที่สำคัญของผืนที่ดินคือ ระดับของที่ดินแบบสโลปตามแนวยาวของรูปแบบที่ดิน ตัวอาคารจึงเล่นระดับตามธรรมชาติของพื้นที่ นัยหนึ่งเพื่อรักษาความเป็นธรรมชาติของพรรณไม้เก่าแก่ ไปพร้อมกับการสร้างประสบการณ์การใช้พื้นที่ภายในอาคารที่แตกต่างจากปกติ ส่วนหน้าสุดของอาคารเปิดต้อนรับด้วยบันไดและฟาซาดระนาบแนวนอน ทำหน้าที่ต้อนรับผู้คนเข้าไปสู่พื้นที่ภายในอาคารส่วนแรกซึ่งเป็นลานกว้าง ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางเชื่อมต่อทุกพื้นที่ของอาคารเข้าไว้ด้วยกัน […]
เอฟ.วี คาเฟ่กึ่งแกลเลอรี่ย่านทรงวาด ที่มีเรือนไทยอีสานกลางตึกแถว
เอฟ.วี (F.V) ตั้งอยู่ในตึกแถวย่านทรงวาด ที่นี่คือคาเฟ่กึ่งแกลเลอรี่ที่ไม่ลับแต่ซับซ้อนและน่าค้นหามากที่สุดแห่งหนึ่งในย่านนี้ ด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาต่อยอด “สิ่งที่ไม่มีใครต้องการหรือมองข้าม” อย่างทรัพยากรจากผืนดิน น้ำ หรือพืชพรรณธัญญาหารของไทย เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ใหม่ พร้อมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน . แนวคิดการก่อตั้ง เอฟ.วี เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2559 หรือในช่วงหลังการเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้คุณโอภาส จันทร์คำ เจ้าของโครงการต้องการที่จะสานต่อความดี และทำให้ที่นี่กลายเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความยั่งยืนให้เเก่ประเทศไทย จากความตั้งใจนี้ได้รับการส่งต่อให้กับทีมบริหารโครงการที่หวนกลับไปพิจารณาถึงทรัพยากรอันล้ำค่าในบ้านเรา นั่นก็คือดิน น้ำ และพืชพรรณธัญญาหารทั้งหลาย ที่แม้จะสำคัญมากขนาดไหน แต่ทรัพยากรเหล่านี้กลับถูกเพิกเฉยด้านการให้คุณค่า จึงเป็นที่มาของแนวคิดการออกแบบ “UNWANTED” ที่พยายามดึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่มีใครต้องการกลับมาสร้างคุณค่าให้กับตัวเองและชุมชนต่อไป F.V หรือ Fruit and Vegetable คือชื่อของร้านที่ต้องการแสดงถึงความตรงไปตรงมาเพื่อสื่อถึงผลิตภัณฑ์ผ่านการตั้งใจเลือกสรรพืชพรรณต่าง ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งผัก และผลไม้ที่หาได้ทั่วไปตามฤดูกาลมาสร้างคุณค่า และความหมายในรูปแบบที่ตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ผู้คนยุคปัจจุบัน ผ่านการวิจัยอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้สัดส่วนของส่วนประกอบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายลูกค้า โดยมีเมนูยอดฮิตอย่างชาไมยราบ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้หลับสบาย และมะกรูดเชื่อม สมุนไพรขึ้นชื่อของไทยที่มีกลิ่นหอมชวนผ่อนคลาย นอกจาก 2 เมนูนี้เเล้วยังมีเครื่องดื่ม […]
เพ้นต์เฮ้าส์สไตล์อินดัสเทรียลของหนุ่มโสด เพิ่มเติมลูกเล่นสนุก ๆ แนวไซไฟ
ดึงแพสชั่นของหนุ่มโสดอารมณ์ติสต์ มาสะท้อนผ่านการออกแบบเพ้นต์เฮ้าส์ส่วนตัวให้มีบรรยากาศดิบเท่ สไตล์อินดัสเทรียล ที่แอบแทรกดีเทลสนุก ๆ สุดโฉบเฉี่ยว ชวนให้นึกถึงยานอวกาศ Ecopark Penthouse ห้องพักหรูขนาด 180 ตารางเมตร บนชั้น 33 ของคอนโดมิเนียมสูงระฟ้าในเวียดนาม บอกเล่าไลฟ์สไตล์ของชายหนุ่มผู้เป็นเจ้าของ ผ่านการตกแต่ง สไตล์อินดัสเทรียล สุดเท่ที่ถูกฉาบไล้ไปทั่วทุกอณู เพิ่มความไม่ธรรมดาด้วยดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ชวนให้นึกถึงหนังแนวไซไฟ ร่วมด้วยของสะสมที่บ่งบอกความสนใจและกิจกรรมตามแบบฉบับของชายหนุ่ม ซึ่งกลายมาป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบตกแต่งห้องพักแห่งนี้ให้น่าอยู่ และพรั่งพร้อมด้วยฟังก์ชันการใช้งานไม่ต่างจากบ้านหลังใหญ่ ๆ ด้วยความที่เจ้าของเป็นคนที่ชื่นชอบงานศิลปะ เขาจึงต้องการที่พักที่มีบรรยากาศเหมือนสตูดิโอที่ประดับตกแต่งด้วยเหล่างานศิลป์ และสิ่งของที่บอกเล่าไลฟ์สไตล์ความชื่นชอบของตนเอง Lê house สตูดิโอผู้ออกแบบ จึงจับสไตล์อินดัสเทรียลที่เน้นพื้นผิวของวัสดุดิบเท่อย่าง ผนังคอนกรีต อิฐ และเหล็กที่เป็นสนิม มาผสานเข้ากับดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดูโมเดิร์นทันสมัยแนวมิลเลนเนียม หรืออวกาศล้ำ ๆ เช่น ของใช้ที่มีพื้นผิวมันวาวจากสเตนเลส ขาโต๊ะดีไซน์โฉบเฉี่ยวเหมือนขายานอวกาศ(ในจินตนาการ) ฯลฯ ภายใต้สเปซโปร่งโล่ง ไม่อึดอัด เนื่องจากห้องมีระดับฝ้าเพดานที่สูง สถาปนิกจึงสามารถออกแบบพื้นที่ใช้สอยได้เป็น 2 ส่วน คือ ชั้นล่าง […]
บ้านคอนกรีตเปลือย สลับผนังอิฐดินเผา โชว์เสน่ห์ลอฟต์บนเกาะบาหลี
Uma Bulug Guest House บ้านคอนกรีตเปลือย ขนาดสองชั้นที่ตั้งอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย สร้างขึ้นบนพื้นที่ 200 ตารางเมตร กับดีไซน์ที่เอื้อต่อการพักอาศัยในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ท่ามกลางวิวทุ่งนาแบบขั้นบันไดและสวนมะพร้าว โดดเด่นด้วยตัวอาคารคอนกรีตเปลือยแบบยกใต้ถุนสูง พร้อมสร้างสรรค์แพตเทิร์นการเรียงอิฐดินเผาจนกลายเป็นฟาซาดที่สวยงามมีมิติ ยอมให้แสงธรรมชาติลอดผ่านเข้ามาได้ในเวลากลางวัน และยอมให้แสงไฟจากตัวบ้านทะลุผ่านออกมาในยามค่ำคืน ดูสุกสว่างกลางฉากหลังท้องฟ้าสีดำ ขับเน้นให้มองเห็นลวดลายของผนังอิฐอย่างชัดเจน บ้านคอนกรีตเปลือย จากแนวรั้วบล็อกช่องลมหน้าบ้านที่มีระดับความสูงมากพอ สำหรับปิดกั้นสายตาจากผู้คนภายนอก ไม่ให้มองเห็นการใช้งานบริเวณพื้นที่ชั้นล่างชัดเจนเกินไป เมื่อเข้ามาด้านใน Biombo Architects ตั้งใจออกแบบพื้นที่ใช้งานชั้นล่างให้ดูปลอดโปร่งแบบไร้ผนังกั้น ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดรับลมและอากาศบริสุทธิ์ที่เหมาะกับการพักผ่อนได้รอบทิศทาง ซึ่งประกอบด้วยมุมพักผ่อนร่วมกันอย่าง โต๊ะรับประทานอาหารขนาดใหญ่ และมุมนั่งเล่นแบบบิลท์อินจากคอนกรีตเปลือย เปิดมุมมองออกสู่วิวสระว่ายน้ำเบื้องหน้าซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของที่นี่ โดยสถาปนิกเลือกออกแบบสระว่ายน้ำให้มีรูปทรงออร์แกนิก และสีของน้ำที่ดูราวกับน้ำทะเลริมชายหาดที่ใสสะอาด ตัดกับรูปทรงของอาคารเกสต์เฮาส์ที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบ ๆ สระปลูกพรรณไม้เขตร้อน เพื่อสร้างความร่มรื่นและร่มเงาให้แก่เตียงนอนอาบแดด ขณะที่ชั้นบนออกแบบให้มีพื้นที่ยื่นยาวออกมาคลุมครึ่งหนึ่งของสระว่ายน้ำ เพื่อให้เกิดมุมมองภายนอกที่ดูเหมือนอาคารลอยอยู่เหนือน้ำ อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นหลังคาให้แก่พื้นที่ใช้งานชั้นล่างไปในตัว ชั้นสองประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง ซึ่งตกแต่งอย่างเรียบง่ายด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ พื้นหินขัด Terrazzo เพดานกรุฝ้าไม้อัดสีเข้ม ผนังหัวเตียงเป็นคอนกรีตเปลือย ส่วนอีกฝั่งเป็นผนังอิฐดินเผาที่ให้แสงส่องเข้ามาได้ โดยมีกระจกใสและม่านซ้อนอยู่อีกชั้น จัดวางของตกแต่งและโคมไฟที่ส่วนใหญ่เป็นงานหัตถกรรมของบาหลี บอกเล่าวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านการพักผ่อน ภายในที่พักที่อบอวลไปด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง […]
STEPPING PARK HOUSE ไม่ต้องไปสวนสาธารณะก็พักผ่อนได้ ใต้ร่มไม้สีเขียวกลางบ้านส่วนตัว
บ้านโมเดิร์น ที่ยอมให้ต้นไม้บุก! ทะลักออกมาจากด้านใน กับงานออกแบบที่เอาใจคนอยู่ผู้รักต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ แบบไม่ต้องเดินทางไปไหนไกล ก็สามารถโอบกอดต้นไม้ได้จากในบ้าน ให้ธรรมชาติขยับเข้ามาใกล้ตัวในระยะประชิด บำบัดจิตใจให้สุขสงบ ต่างจากบรรยากาศเมืองที่แสนวุ่นวายภายนอก จากเหตุผลที่สวนสาธารณะในโฮจิมินห์มีน้อย และไม่เพียงพอต่อความต้องการสักเท่าไหร่ ดังนั้นเพื่อเอาใจเจ้าของบ้านผู้รักธรรมชาติเป็นชีวิตจิตใจ VTN Architects(Vo TrongNghia Architects) จึงออกแบบ บ้านโมเดิร์น ที่ตั้งอยู่กลางย่านที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ของเมืองโฮจิมินห์นี้ ให้เป็นอาคารที่ราวกับปลูกครอบอยู่กลางดงไม้สีเขียว แบบไม่ต้องออกไปไหนไกล ก็สามารถมีความสุขอยู่ท่ามกลางธรรมชาติในบ้านได้ทั้งวัน ความเขียวปะทะสายตาตั้งแต่แรกเห็น กับช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมที่ถูกปกคลุมด้วยม่านไม้เลื้อย ตัดกับตัวอาคารโมเดิร์นสีขาวทรงกล่องขนาด 3 ชั้น และเมื่อเข้ามาด้านในตัวบ้าน พื้นที่ชั้น 1 จะพบกับโถงพักผ่อนที่รวมมุมนั่งเล่นและส่วนรับประทานอาหารเข้าด้วยกันแบบโอเพ่นสเปซ ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับสวนภายนอกผ่านบานเลื่อนกระจกขนาดใหญ่ที่เปิดออกได้จนสุด มีไฮไลท์คือต้นไม้ที่แทรกตัวอยู่กลางบ้าน แผ่เรือนยอดสูงชะลูดขึ้นไปตามความสูงของบันไดที่ออกแบบเป็นโถงดับเบิ้ลสเปซต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด ชั้น 2 ประกอบด้วยห้องนอนส่วนตัวที่อยู่คนละฝั่งระหว่างช่องบันได ขณะที่ทางเดินหน้าห้องยังไม่ลืมปลูกต้นไม้ไว้ด้วย เรียกว่าต้นไม้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านในทุก ๆ ชั้น ภายในห้องนอนออกแบบช่องเปิดของแต่ละห้อง ให้ปกคลุมไปด้วยไม้เลื้อยที่พร้อมเกาะไปตามแนวลวด กลายเป็นม่านธรรมชาติสีเขียวสดที่ช่วยพรางสายตาไปในตัว ดังนั้นเมื่อมองจากภายนอกจึงทำให้เห็นช่องหน้าต่างเต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียวที่แข่งกันเติบโต โผล่พุ่งออกมาจากตัวบ้านดูแปลกตาต่างจากบ้านใกล้เคียง ส่วนสุดท้ายคือชั้น 3 พื้นที่ชั้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่คล้ายกับป่า แม้จะอยู่ในร่มก็ตาม การปลูกต้นไม้ในชั้นบนของบ้านให้ความรู้สึกแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์ รอบ ๆ ทั้งลมและอากาศสามารถพัดผ่านได้สะดวก ขณะที่ด้านบนมุงด้วยหลังคาทำจากวัสดุโปร่งแสง […]
NAN BEI ร้านอาหารจีนที่เจือกลิ่นอายโมเดิร์นวินเทจสุดฟู่ฟ่ากลางใจเมือง
ห้องอาหารจีนบนโรงแรมหรูใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนิทานพื้นบ้านของจีนเรื่อง “หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า” ตำนานความรักต้องห้ามระหว่างหนุ่มเลี้ยงวัวบนโลกมนุษย์กับสาวทอผ้าในดินแดนสวรรค์ ที่มีทางช้างเผือกเป็นสะพานเชื่อมทั้งสองให้ได้มาพบกัน Nan Bei “Nan Bei” ที่ได้ชื่อร้านมาจากภาษาจีน “Nan” ที่แปลว่าทิศเหนือ กับ “Bei” ที่แปลว่าทิศใต้ ได้นำเสนอเรื่องราวนิทานผ่านการจัดวางผังร้านที่เน้นความสมมาตร และการออกแบบห้องแต่ละห้องให้พ้องกับเรื่องเล่าในนิทาน เริ่มจากส่วนต้อนรับ ที่แขกจะพบกับโซน “Moon Gate” เป็นมุมถ่ายรูปหน้าโถงกระจกห้อยประดับด้วยงานออกแบบแสงระยิบระยับเป็นตัวแทนของจักรวาลพระจันทร์ที่กั้นช่องทางเดินแบ่งเป็น 2 ฝั่งที่จะนำพาไปสู่ส่วนหลักของร้านอาหารภายในอันจะพบกับครัวโชว์ ที่แบ่งตามคอนเซ็ปต์ร้านอย่างชัดเจน เช่น ทิศเหนือ เป็นที่ครัวที่เสิร์ฟเป็ดปักกิ่งและบรรดาอาหารย่าง ในขณะที่ทิศใต้จะเสิร์ฟอาหารทะเลในนี้ออกแบบให้มีที่นั่ง Long Table ตรงกลาง และบาร์ประกบส่วนประกอบอาหาร 2 ฝั่งเพื่อชมเชฟในขณะปรุงได้ ได้ขณะที่ทิศตะวันออก เป็นส่วนของห้องส่วนตัว 2 ห้องขนาดใหญ่และเล็กออกแบบด้วยคอนเซ็ปต์การเป็นห้องฝั่ง “คนเลี้ยงวัว” ที่ประกอบด้วยภาพบนผนังตามเรื่องเล่าในนิทาน และการออกแบบองค์ประกอบทั้งโคมไฟและเฟอร์นิเจอร์ที่สื่อถึงหนุ่มเลี้ยงวัวบนโลกมนุษย์ เช่นเดียวกับฝั่งตะวันตกที่เป็นส่วนของบาร์และเลานจ์แอลกอฮอล์ เป็นส่วนของ “หญิงทอผ้า” ที่มีการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ที่อิงจากสาวทอผ้าบนสรวงสวรรค์ ภาพรวมของร้านต้องการออกแบบเพื่อสื่อถึงความเป็นตะวันออกโดยเน้นไปที่ความโมเดิร์นของเมืองเซี่ยงไฮ้ในยุค Mid-Century ที่เต็มไปด้วยความหรูหรา ฟู่ฟ่าโดยเน้นสีเขียว เหลือง น้ำเงิน และการใช้โลหะที่ขับเน้นเอกลักษณ์ของร้านได้ชัดเจนและเป็นเอกลักษณ์น่าจดจำ เจ้าของ […]
BURAPA EASTERN THAI CUISINE & BAR ร้านอาหารไทยในโบกี้รถไฟย้อนยุค
“บูรพา” ที่แปลว่าทิศตะวันออก เป็นที่มาของชื่อร้าน Burapa Eastern Thai Cuisine & Bar ที่เน้นการรังสรรค์เมนูอาหารที่ผสมผสานระหว่างภาคตะวันออกกับภาคเหนือ ในรูปแบบอาหาร Thai regional fine dining จากแนวคิดของเจ้าของร้านที่ต้องการเชื่อมพรมแดนของทั้ง 2 ภูมิภาคของไทยเข้าหากัน ผ่านการออกแบบร้านในตึกแถว 3 ชั้น เป็นเสมือนโบกี้รถไฟ ซึ่งคนทั้ง 2 ภูมิภาค ใช้นำวิถีชีวิตรวมถึงอาหารของพวกเขา เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่อย่างเมืองกรุงเทพฯ เป็นตัวกำหนดทิศทางการออกแบบร้าน Burapa Eastern Thai Cuisine & Bar โดยมีคอนเซ็ปต์การทำโบกี้รถไฟแบบที่ย้อนไปสู่ยุคแรก ๆ ที่คนสยามพึ่งพารถไฟเพื่อเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง อย่างในยุครัชกาลที่ 5 แต่ในรูปแบบที่หรูหราขึ้น หรือเป็นโบกี้รถไฟสำหรับท่องเที่ยวของคนชั้นสูง แบบที่อาจไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้สัมผัส ภาพลักษณ์ของร้านจึงอ้างอิงไปสู่ศิลปะและองค์ประกอบการตกแต่งในแบบ Art Deco ตอนช่วงราวต้นศตวรรษที่ 20 ที่โดดเด่นที่การใช้โลหะ และเส้นสายที่ดูวิจิตรซึ่งการตกแต่งในร้านแบ่งออกเป็น 3 แบบแตกต่างกันไปตามการใช้งานในแต่ละชั้น เริ่มจากชั้น 1 เป็นบาร์และส่วนรับประทานอาหารกลางแจ้งใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก เมื่อขึ้นมาชั้น […]
LENNON’S บาร์ลับย่านเพลินจิตกลิ่นอายย้อนยุคบนชั้นสูงสุดของโรงแรม ROSEWOOD BANGKOK
LENNON’S ตั้งอยู่บนชั้นบนสุดของโรงแรมหรู Rosewood Bangkok ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากห้องบันทึกเสียงแบบโฮมสตูดิโอกับการตกแต่งที่พาย้อนไปสู่ยุค Vienna Secession หรือยุคของงานศิลปะที่แสดงความรุ่มรวยและฟู่ฟ่าของสังคมยุคปลายศตวรรษที่ 19 บาร์ลับย่านเพลินจิต แห่งนี้ โดดเด่นทั้งการตกแต่งและล้นไปด้วยแผ่นเสียงไวนิล ที่ใช้เปิดในร้าน “Lennon’s” และใช้โชว์ตกแต่งไปในตัว นับรวมกันแล้วมีมากกว่า 6,000 แผ่น นับตั้งแต่ทางเข้าจากโถงลิฟต์ ซึ่งจะพบกับโซนโชว์และจำหน่ายแผ่นเสียงจำนวนนับไม่ถ้วนสำหรับเป็นส่วนต้อนรับ ก่อนจะนำเข้าสู่ตัวบาร์ที่โดดเด่นด้วยผนังกระจกเผยทัศนียภาพของเมืองกรุงเทพฯ อย่างเต็มตา พื้นที่บาร์ตกแต่งอย่างหรูหรา ด้วยการเน้นองค์ประกอบของแสงไฟตามแบบอย่างการออกแบบตกแต่งในยุค Vienna Secession รวมถึงการใช้ทองเหลือง ไม้วอลนัท และหินอ่อนสีเทาที่กลมกลืนและสร้างบรรยากาศชวนสนุก พื้นที่นั่งแบบเลานจ์สำหรับกลุ่มเพื่อนถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่ง กรุพื้นด้วยไม้สีเข้ม กรุผนังด้วยผ้าบุสีชมพูอ่อน และองค์ประกอบการตกแต่งที่ได้แรงบันดาลใจจากบรรดาเครื่องดนตรีทองเหลือง ในที่นี้ จะพบบันไดเวียนโลหะสีดำที่ตกแต่งโดยรอบด้วยศิลปะแบบ Vienna Secessionที่นำไปสู่ห้องเลานจ์สำหรับสูบบุหรี่ โดยรวมแล้วที่นี่ถูกออกแบบด้วยแรงบันดาลใจจากความเฟื่องฟูของยุควินเทจ และแรงบันดาลใจจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง ที่ปรากฏทั้งเป็นองค์ประกอบตกแต่งทั่วร้าน และเป็นแรงบันดาลใจให้กับการออกแบบโคมไฟและแสง ที่เป็นส่วนประกอบหลักของที่แห่งนี้ก็ว่าได้ เจ้าของ: Rende Development Co., Ltd. ออกแบบ: AvroKO ภาพ : Owen Reggett […]