HS HOUSE รีโนเวตบ้านทาวน์โฮม ด้วยไอเดียกลาสเฮ้าส์และคอร์ตยาร์ดแก้ปัญหาพื้นที่ไม่ให้มืดทึบ

รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง Ahmedabad ในประเทศอินเดีย ซึ่งมีปัญหาความอุดอู้ไม่น่าอยู่ และช่องแสงที่ไม่เพียงพอ ให้กลายเป็นบ้านที่โดดเด่นด้วยการออกแบบพื้นที่เพดานเหนือช่องบันไดให้มีลักษณะคล้ายกลาสเฮ้าส์ รวมถึงใช้แผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อลดต้นทุน ลดความเคร่งขรึมด้วยมุมคอร์ตยาร์ดสีเขียวกลางบ้าน ผสมกับดีเทลงานตกแต่งจากไม้ดูอบอุ่น จากข้อจำกัดของสถานที่ที่จะต้องใช้ผนังด้านข้างร่วมกับบ้านหลังอื่น มีเพียงผนังด้านหน้าและหลังเท่านั้นที่สามารถเจาะช่องแสงได้ ซึ่งนั่นอาจยังไม่เพียงพอ สถาปนิกจากบริษัท Studio Saransh จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเปิดพื้นที่ ในการ รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม หลังนี้ เพื่อนำแสงสว่างมาสู่บ้าน ด้วยการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางช่องบันได ส่วนด้านบนได้เจาะพื้นชั้นดาดฟ้าออก แล้วต่อเติมโครงสร้างเหล็กกรุกระจก ครอบเหนือช่องบันไดไว้ ให้เหมือนกับเป็นกลาสเฮ้าส์ แสงจากด้านบนจึงสามารถส่องลงมาถึงชั้นล่างได้อย่างทั่วถึง มู้ดแอนด์โทนของบรรยากาศภายในบ้าน เน้นความเรียบนิ่งด้วยวัสดุโชว์พื้นผิวอย่าง แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งมีโทนสีเทา-ดำ และใช้หิน Kota หรือหินชนวนในการปูพื้น ผสมผสานกับดีเทลงานตกแต่งไม้ในส่วนต่าง ๆ เช่น กรอบหน้าต่าง บานเปิด-ปิดตู้บิลท์อิน และชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งมีสีน้ำตาลดูตัดกันกับสีเข้มขรึมของคอนกรีต ขณะที่บันไดที่ทำหน้าที่เชื่อมกล่องอาคารด้านหน้าและหลังเข้าด้วยกัน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหลักของบ้าน ทำจากโครงเหล็กสีดำ ก่อนจะปูทับด้วยไม้บนลูกนอน ช่วยเพิ่มความนุ่มนวลเวลาเดินเท้าเปล่า เมื่อเดินเข้ามาในบ้านจะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศปลอดโปร่งและมุมพักผ่อนรับแขกที่เปิดประตูบานเลื่อนออกสู่สวนหลังบ้านได้ ชั้นต่อมาออกแบบเป็นส่วนครัว และมุมรับประทานอาหาร พร้อมระเบียงกลางแจ้งขนาดใหญ่ที่เปิดออกสู่ระเบียงหน้าบ้าน ถัดมาเป็นชั้นของห้องนอนส่วนตัว ซึ่งคุมโทนและบรรยากาศเช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน แต่มีลูกเล่นด้วยลวดลายเส้นทองเหลืองบนแผ่นคอนกรีต ให้กลิ่นอายหรูหรานิด ๆ […]

บ้านเหล็กลอนลูกฟูก ทุนสร้างต่ำ สำหรับคนที่อยากกลับไปอยู่ชนบท

บ้านชนบท ดีไซน์โมเดิร์นทรงกล่องลุคเรียบง่าย ที่มาพร้อมกับโจทย์ด้านงบประมาณที่ไม่สูง พร้อมความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตั้งและสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเวียดนาม นี่คือโปรเจ็กต์งานออกแบบโดย H&P Architects กับการสร้าง บ้านชนบท ของคนรุ่นใหม่ที่อยากหันกลับไปใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุธรรมดาสามัญที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง ซึ่งมาพร้อมกับดีไซน์โมเดิร์นดูทันสมัย แถมแอบสอดแทรกฟังก์ชันการใช้งานสนุก ๆ เพื่อให้การอยู่บ้านเป็นเรื่องไม่น่าเบื่อ ทั้งยังมาพร้อมคอนเซ็ปต์ด้านการใช้พลังงานที่ยั่งยืน บ้านขนาดสองชั้นหลังนี้ โครงสร้างเสาและคานทำจากเหล็กทั้งหลัง จึงใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จได้ไว ง่ายต่อการออกแบบพื้นที่เพิ่มเติมได้อีกในอนาคต ขณะที่ผนังอาคารชั้นนอกเด่นสะดุดตาด้วยแผ่นเหล็กลอนลูกฟูกทำสีขาวที่ผ่านการเคลือบผิวป้องกันสนิมมาอย่างดีแล้ว ช่วยให้บ้านมีลุคโมเดิร์นดูทันสมัย แต่กลับไม่ร้อนอย่างที่คิดไม่ว่าจะมาจากการออกแบบหลังคาให้เป็นทรงจั่ว เพื่อถ่ายเทความร้อนจากแสงอาทิตย์ ด้านใต้ซ้อนด้วยแผ่นฉนวนกันความร้อน และฝ้าธรรมชาติอย่างไม้ไผ่อีกชั้น จนกลายเป็นแพตเทิร์นตกแต่งเพดานบ้านไปในตัว ขณะที่ช่องเปิดอย่าง ประตู และหน้าต่าง ได้รับการออกแบบเป็นบานเหล็กแบบซี่เพื่อระบายอากาศ โดยมีชายคากันแดดเหนือช่องเปิดทุกบานไม่ให้ส่องเข้าสู่พื้นที่ภายในโดยตรง จึงช่วยให้บ้านเย็นสบายและปลอดโปร่งตลอดวันช่วยให้บ้านเย็นสบายและปลอดโปร่งตลอดวันส่วนงานออกแบบตกแต่งภายใน ผนังกรุด้วยอิฐดินเผาวัสดุหาง่ายในท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนให้แก่บ้าน ซึ่งเข้ากันดีกับเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบลอยตัว ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อต้องการใช้พื้นที่แบบโล่งกว้างสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆเมื่อขึ้นมาที่ชั้น 2 ของบ้าน จะพบกับไฮไลท์อย่างเปลตาข่ายที่ขึงไว้อย่างแน่นหนาสำหรับไว้ใช้นั่งหรือนอนเล่น นอกจากจะสร้างประสบการณ์การใช้งานที่สนุกไม่น่าเบื่อแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความอึดอัดของพื้นที่ใช้งานระหว่างชั้น 1 กับชั้น 2 ซึ่งชั้นบนนี้ได้รับการออกแบบสเปซแบบโอเพ่นแปลน มีเพียงตู้เสื้อผ้าทำหน้าที่เป็นตัวกั้นเตียงนอนให้ดูเป็นสัดส่วนเท่านั้นความน่าสนใจของบ้านไม่เพียงเป็นการออกแบบที่ดูเรียบง่ายเอาใจคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมแนวคิดในการใช้พลังงานแบบยั่งยืน เห็นได้จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ในครัวเรือน โดยปริมาณไฟฟ้าที่เหลือจะถูกจัดเก็บหรือขายต่อได้ นอกจากนั้นยังมีรางระบายน้ำฝนเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในแท็งก์ สำหรับไว้ใช้รดต้นไม้และแปลงผักรอบ ๆ บ้าน […]

CH HOUSE บ้านหน้าแคบ แคบแค่ไหนก็อยู่ได้

เชื่อไหมถ้าจะบอกว่านี่คือนี้ บ้านหน้าแคบ แค่ 4 เมตร! แต่จัดการพื้นที่ได้อย่างชาญฉลาด ด้วยการออกแบบให้อาคารสูงชะลูด! เพื่อเอาชนะปัญหาที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก แถมแอบซ่อนมุมสีเขียวไว้ข้างใน

HOTEL SOU โรงแรมญี่ปุ่นสไตล์ลอฟต์ เล่าความเท่ผ่านเปลือกอาคารที่(ดู)รกร้าง

รีโนเวตตึกแถวเก่า ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บนเกาะฟุกุเอะทางตะวันตกของจังหวัดนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น ให้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง พร้อมรูปลักษณ์ที่ชวนฉงนว่าที่นี่คือตึกร้างที่เพิ่งโดนทุบ! หรือโรงแรมดีไซน์เท่กันแน่? hotel sou จากบริบทของที่ตั้งของ hotel sou ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองจากการผสมผสานของวัฒนธรรมต่างชาติที่หลากหลายผ่านการค้าขายมาตั้งแต่สมัยโบราณ กระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังรายล้อมไปด้วยร้านกาแฟ ร้านอาหาร ถนนสายช้อปปิ้ง และอยู่ใกล้กับท่าเรือ ศักยภาพดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการรีโนเวตโรงแรมขนาด 3 ชั้น เพื่อเปิดบริการใหม่ โดยยกให้เป็นหน้าที่ของทีมสถาปนิกจาก SUPPOSE DESIGN OFFICE กับแนวคิดที่ไม่ได้ต้องการสร้างสิ่งใหม่ แต่ต้องการให้อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนกับสิ่งที่มีอยู่ตัวอาคารด้านนอกของ ทุกคนจะได้สะดุดตากับภาพตึกสีเทาที่ถูกทุบผนังด้านหน้าออกจนเกือบหมด เหลือเพียงขอบผนังปูนที่เป็นซุ้มโค้งเผยให้เห็นเลเยอร์แบบดิบ ๆ ก่อนจะใส่บานหน้าต่างกระจกใสขนาดใหญ่ซ้อนทับอีกชั้น ลดความดิบกระด้างของโครงสร้างคอนกรีต ด้วยสวนริมระเบียงที่บริเวณห้องพักชั้น 2 – 3 ที่เน้นปลูกพรรณไม้นานาชนิดแบบเหมือนไม่ตั้งใจ ดูผสมผสานกันราวกับขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อเข้ามาด้านใน แต่ละห้องพักของที่นี่ซึ่งมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ ห้องพักแบบสวีท ห้องพักแบบเตียงเดี่ยว และห้องพักแบบแฟมิลี่รูม โดยแขกจะสัมผัสได้กับบรรยากาศเรียบนิ่งจากคอนกรีตเปลือยไร้การปรุงแต่ง แต่อบอุ่นเป็นกันเองจากเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้โทนสีอ่อนจับคู่กับงานจักสานวัสดุธรรมชาติที่ดูสว่างละมุนตาลดความอับทึบของอาคารลักษณะตึกแถว ด้วยการออกแบบภายในให้โปร่งโล่งจากการทุบผนังออกทั้งด้านหน้าและหลัง อันเป็นการเบลอขอบเขตระหว่างภายในกับภายนอก ที่ยอมแสงและอากาศให้หมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวกอีกทั้งในแต่ละห้องพักยังจัดให้มีมุมสวนริมระเบียง ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่พบทั่วไปในพื้นที่ […]

CASA CANDELARIA บ้านอิฐบล็อกดินดำที่เอาชนะความร้อนแล้งกลางทะเลทรายเม็กซิโก

ภายใต้สภาพอากาศที่เลวร้ายและแห้งแล้งในเมือง San Miguel de Allende ที่อยู่ห่างไกลของประเทศเม็กซิโก บ้านอิฐบล็อก หลังนี้สามารถตั้งอยู่ได้อย่างท้าทาย นั่นก็เพราะมาจากแนวคิดการออกแบบที่พยายามเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติให้ได้มากที่สุด ผ่านการเลือกใช้วัสดุ และออกแบบฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถพักอาศัยได้อย่างสบาย

FOREST HOUSE I บ้านโมเดิร์นชั้นเดียวเหนือซอกหินกลางวิวธรรมชาติ

บ้านโมเดิร์นชั้นเดียว หลังล่าสุดจาก Natalie Dionne Architecture สตูดิโอชื่อดังจากเมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา แตกต่างจากบ้านทั่วไปเพราะถูกสร้างอยู่เหนือซอกหิน สะกดสายตาด้วยวิวธรรมชาติจากหน้าผาอย่างไม่น่าเชื่อ

HIRATA TOTSUKA CHURCH โบสถ์ไซซ์เล็กสุดคิวท์ มีไอเดียจากใต้ร่มเงาไม้ใหญ่

Hirata Totsuka Church โบสถ์กลางย่านชุมชนที่ดูน่ารักไม่ต่างจากภาพบ้านในหนังสือนิทานแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่มืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าถ้าใครไปเที่ยวเมืองนี้ ลองหาข้อมูลแล้วแวะเวียนไปเยี่ยมชมและถ่ายรูปกลับมาเป็นที่ระลึกกันได้

NANA COFFEE ROASTER ARI ดื่มด่ำกาแฟ อาบอุ่นด้วยแสง และธรรมชาติกลางใจเมือง

เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว กับคาเฟ่สาขาใหม่ล่าสุด NANA Coffee Roaster Ari ภายใต้แบรนด์กาแฟคุณภาพ อย่าง NANA Coffee Roaster โดยครั้งนี้ขอมาบุกดินแดนแห่งคาเฟ่อย่างย่านอารีย์ ด้วยคอนเซ็ปต์ที่อยากให้คุณแวะมานั่งชิล ๆ ดื่มด่ำกับกาแฟ ชมสวนสวย ๆ แบบไม่ต้องเร่งรีบ พร้อมมุมถ่ายรูปเพียบ บอกเลยมาครั้งเดียวไม่พอ! สิ่งที่อบอุ่นไม่แพ้ไปกว่าแก้วกาแฟในมือ เห็นจะเป็นบรรยากาศสไตล์โฮมมี่ของที่นี่นี่แหละ ซึ่งเกิดขึ้นจากการรีโนเวตบ้านเก่ายุค Mid-Century อายุกว่า 50 ปี ภายในซอยอารีย์ ให้ยังคงโครงสร้างและดีเทลของงานออกแบบยุคเก่าเอาไว้ เพื่อทำหน้าแบบเหนือกาลเวลา ผสานไปกับงานดีไซน์ยุคใหม่ กลายเป็นส่วนผสมของงานการออกแบบที่กลมกล่อม ออกแบบโดยคุณโต – ศุภรัตน์ ชินะถาวร จาก party/space/design จากความต้องการของคุณฝ้าย – นันท์นภัส มัลลิกะมาลย์ ผู้หลงใหลการดื่มกาแฟ และเป็นแฟนตัวจริงของ NANA Coffee Roaster เมื่อตัดสินใจจะเปิดคาเฟ่กับครอบครัว เธอจึงเลือกแบรนด์ NANA แล้วเปิดสาขาใหม่นี้ขึ้นที่อารีย์ ซอย 4  ซึ่งเป็นสาขาต่อเนื่องมาจาก NANA […]

ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน

Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]

MOUNTAIN HOUSE IN MIST บ้านจีนโบราณ ที่กลายมาเป็นห้องสมุดของชุมชน

บ้านจีนโบราณ ที่กลายมาเป็น ห้องสมุดชุมชน กับการเปลี่ยนพื้นที่ว่างใกล้จัตุรัสของหมู่บ้านในเมืองจินหัว ประเทศจีน ให้กลายเป็นอาคารสไตล์จีน

“ตำทองหล่อ” แซ่บนัวในบรรยากาศอีสานโมเดิร์น

หลังจากประสบความสำเร็จมาแล้วกับสาขาแรก “ตำทองหล่อ”  จึงตัดสินใจปักธงลงบนพื้นที่ผืนใหม่ เพื่อรองรับลูกค้าผู้ติดใจรสชาติแบบดั้งเดิม กันที่โครงการสินธรวิลเลจ ซอยหลังสวน โดยยังคงคอนเซ็ปต์เมนูอาหารอีสานรสเเซ่บเช่นเคย ภายใต้การออกแบบตกแต่งร้านสไตล์อีสานเเบบโมเดิร์น ตำทองหล่อ หยิบเมนูสุดฮิตอย่าง “ส้มตำ” ที่เต็มไปด้วยบรรดาสมุนไพรและผักพื้นบ้าน สีสันน่ารับประทาน มาเป็นธีมสีในการตกแต่งร้าน อาทิ การจับคู่สีอย่างสีเขียวเเละน้ำตาล เริ่มจากพื้นที่ฝ้าเพดานที่พลิกเเพลงเส้นสายมาจากหวดนึ่งข้าว โดยนำมาออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้านในเป็นโครงสร้างเหล็ก ก่อนจะนำหวายเทียมที่จักสานเป็นลวดลายตามที่ออกแบบไว้มาติดตั้งทับลงไป สำหรับบอกอาณาเขตตำเเหน่งโต๊ะรับประทานอาหารเเต่ละยูนิตให้เกิดจังหวะที่สม่ำเสมอ ขณะที่พื้นเลือกใช้อิฐดินเผาที่ผลิตมาจากดินชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำครกตำส้มตำ นำมาปูลวดลายเเบบก้างปลา เข้ากันดีกับเฟอร์นิเจอร์หวายที่จักสานอย่างประณีตเเละมีแพตเทิร์นเฉพาะตัว อีกทั้งยังเลือกกระเบื้องทำมือจากจังหวัดลำปางมากรุลงบนผนัง เเละโคมไฟสั่งทำพิเศษจากหวายฝีมือของชาวบ้านพนัสนิยม จังหวัดชลบุรี  เช่นเดียวกับความต้องการสร้างบรรยากาศภายในร้านให้เป็นหนึ่งเดียว ด้วยการเลือกใช้กระบอกไม้ไผ่ธรรมชาติมาปิดเสาอาคาร ทั้งยังนำไปหุ้มวงกบหน้าต่างทุกบาน เพื่อให้ทุกรายละเอียดแสดงถึงความเป็นอีสานอย่างแท้จริง   หากเปรียบ “ตำทองหล่อ” เป็นอาหาร ก็คงเป็นอาหารอีสานที่ยังคงความแซ่บและนัวได้อย่างไม่ขาดไม่เกิน ที่เพิ่มเติมคือการใช้งานออกแบบสื่อให้เห็นถึงเสน่ห์ของแก่นความเป็นอาหารอีสาน  ผ่านการเลือกใช้สีสันและวัสดุท้องถิ่นที่คุ้นเคย จนเกิดเป็นร้านอาหารที่พร้อมจะมอบประสบการณ์การรับประทานอาหารอีสาน ในบรรยากาศที่ทันสมัยเเละดูแปลกใหม่ขึ้นกว่าเดิม ข้อมูล เจ้าของ : คุณพิมพ์ชนก (พลางกูร) สุภัทรพันธุ์ ออกแบบ :  Context Design Studio ภาพ : Skyground Architectural […]

ARROM ORCHID ชมกล้วยไม้ใต้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่

จาก “สวนบัวแม่สา” แหล่งท่องเที่ยวสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ในสวนกล้วยไม้ในชื่อ ARROM ORCHID (อารมณ์ ออร์คิด) เชียงใหม่นอกจากมีมนต์เสน่ห์ด้านวัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณี และธรรมชาติสวย ๆ แล้ว อีกสิ่งที่น่าจดจำคืองานหัตถกรรม หรืองานคราฟต์ ที่ละเอียดลออ ผ่านสองมือของสล่า (ช่างพื้นบ้าน) โดยเฉพาะงานจักสานและไม้ไผ่ เมื่อถึงคราวปรับโฉมสวนบัวแม่สา มาเป็น “ARROM ORCHID” ไอเดียการรังสรรค์ความงามให้แก่ของพื้นที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอย่างกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ พร้อมการนำเสนอตนเองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกใช้ไม้ไผ่เพื่อทำเป็นโครงสร้าง รวมกับความชำนาญในงานไม้ไผ่ของช่างท้องถิ่น เกิดโปรเจ็กต์งานออกแบบที่สวยงามสื่อถึงธรรมชาติอย่างกลมกลืน การออกแบบโดยรวมเป็นวางผังโดยได้คงโครงสร้างหลักที่เป็นเหล็กกาวาไนซ์เดิมไว้ และใช้วัสดุ “ไม้ไผ่” ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ เเละมีน้ำหนักเบา เข้าไปติดตั้งร่วมกับโครงสร้างเดิมสำหรับตกแต่งในส่วนของฟาซาด ฝ้าเพดาน เเละผนัง โดยใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดนำมาประกอบกันหลายรูปแบบ จนเกิดเเพตเทิร์นเเละเส้นสายเเสงเงาที่สวยงาม ยามเมื่อเเสงลอดผ่านลงมายังพื้นที่ด้านใน  การใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดและรูปทรงมาประกอบการตกแต่งทั้งภายในร้านอาหารและภายนอกซึ่งเป็นสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่นั้น ทำให้ภาพของไม้ไผ่ดูทันสมัยขึ้น ทั้งจากเส้นสายลวดลายกราฟิกและแสงเงาที่ส่องผ่านเข้ามา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกรองเเสง ดีทั้งกับลูกค้าผู้มาใช้บริการ รวมถึงบรรดากล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในโรงเพาะชำ ซึ่งสถาปนิกได้จัดวางผังทางเดินใหม่ให้ลดเลี้ยวไปมา จึงสามารถเดินชมกล้วยไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งได้อย่างใกล้ชิด  เรียกว่ามาถึงที่นี่เเล้วได้ชมทั้งสวนกล้วยไม้ และรับประทานอาหารรสชาติอร่อยไปพร้อมกัน ครบจบในที่เดียว ที่ตั้ง 332 หมู่ที่ 1 […]

ATHITA THE HIDDEN COURT CHIANG SAEN ซ่อน “ความสุข” และ “ความสงบ” หลังกำแพงอิฐกลางเมืองโบราณเชียงแสน

Athita The Hidden Court Chiang Saen โรงแรมดีไซน์ร่วมสมัยผสานกลิ่นอายล้านนาในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เกิดขึ้นจากแนวคิดที่เน้นความกลมกลืนไปกับชุมชน และวัดวาอารามเก่าแก่ที่ตั้งอยู่โดยรอบ คล้ายกับกำลังซ่อนตัวอยู่ในย่านเมืองเก่าอย่างเงียบเชียบ เพื่อรอให้คุณเดินทางมาพักผ่อนและเยี่ยมเยือน ด้านหลังแนวกำแพงอิฐมอญที่ดูคล้ายกำแพงเมืองโบราณนี้ ซ่อนไว้ด้วยตัวอาคารไม้สักสูงขนาดสองชั้นที่ดูไม่ต่างจากบ้านไม้ในชนบท และคอร์ตสนามหญ้าผืนใหญ่สำหรับเป็นลานกิจกรรม เปิดมุมมองให้เห็นยอดเจดีย์และพระพุทธรูปโบราณอายุกว่า 500 ปี ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดอาทิต้นแก้ว ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หนึ่งที่บอกเล่าความเป็นเมืองเก่าของเชียงแสน ก่อนถูกนำมาตีความหมายใหม่ผ่านสายตาของคุณเติ้ล – เผดิมเกียรติ สุขกันต์ แห่ง Studiomiti จน Athita The Hidden Court Chiang Saen ออกมาเป็นโรงแรมสไตล์โมเดิร์นล้านนา เจือกลิ่นอายท้องถิ่นเมืองเหนือ น่าเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน “ภาพของเมืองเชียงแสนที่ได้สัมผัสในตอนแรก ที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเชียงใหม่ คือมีกำแพงเมืองเก่า วัดส่วนใหญ่ก็อยู่ติด ๆ กันคล้ายกับเชียงใหม่ เลยคิดว่าที่นี่เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ สภาพบ้านเรือนก็เป็นบ้านไม้ธรรมดาสองชั้นยกใต้ถุนสูง “เลยคิดว่าน่าจะทำสถาปัตยกรรมให้ซ่อนหรือหายไปกับเมือง ผสมผสานและมีน้ำหนักของความแตกต่างที่ไม่มากเกินไป ในความแตกต่างเราคุมไม่ให้กระโดดไปไกลเสียจนจับต้องไม่ได้  เพราะฉะนั้นน้ำหนักของการใช้แมททีเรียลก็เลยให้ความรู้สึกทั้งกลมกลืนและมีเอกลักษณ์ในเวลาเดียวกัน” คุณเติ้ลเล่าที่มาของแนวคิดการนำความเป็นพื้นถิ่นที่ได้พบเห็นมาคลี่คลายสู่งานออกแบบ ด้วยพื้นที่ตั้งของโรงแรมซึ่งอยู่ในทำเลที่หันเข้าหาด้านหน้าของวัดอาทิต้นแก้ว วัดโบราณที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ มังราย จากบริบทและประวัติศาสตร์ของพื้นที่ […]

TIAM COFFEE SHOP & HOME รีโนเวตตึกแถวเก่าให้เป็นบ้านที่มีคาเฟ่อยู่ชั้นล่าง

รีโนเวตตึกแถว เก่าสภาพทรุดโทรมที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกใจกลางเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับครอบครัว 3 รุ่น ที่มีสมาชิก 7 คน! ความพิเศษของที่นี่ นอกจากการ รีโนเวตตึกแถว เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ชั้นแรกของที่นี่ยังเปิดเป็นคาเฟ่ดำเนินการโดยเจ้าของเอง และส่วนที่เหลือของอาคารมีไว้สำหรับนั่งเล่น บานเกล็ดแนวตั้งและผนังกระจกทำหน้าที่เป็นเสมือนเปลือกอาคาร ปกคลุมบ้านเป็นเหมือนฉากกั้นที่สร้างความรู้สึกเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอก ช่วยให้คนในบ้านใกล้ชิดกับธรรมชาติและบริบทภายนอกได้มากขึ้น บานเกล็ดนี้ไม่เพียงช่วยลดการแผ่รังสีความร้อน แต่ยังสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงเงา และจังหวะของเส้นสายแบบเรขาคณิต เพิ่มความรู้สึกสะดุดตาทุกครั้งของผู้คนที่ได้มองเห็น “เราใช้เวลาในการพูดคุยและทำความเข้าใจกับความต้องการของเจ้าของบ้าน เพื่อมอบประสบการณ์อันมีค่าสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยได้ออกแบบที่นี่ให้มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 3 ชั้น ห้องใต้หลังคา 1 ห้อง และเฉลียงสำหรับออกมาชมวิวรอบ ๆ” ทีมออกแบบจาก Nguyen Khai Architects & Associates เล่ารายละเอียดการทำงานให้ฟัง แนวคิดหลักอีกอย่างของการออกแบบก็คือการสร้างสรรค์พื้นที่ให้น่าอยู่ และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ แม้จะอยู่ในพื้นที่ขนาดแคบก็ตาม เห็นได้จากการออกแบบพื้นที่ที่ต่อเนื่องและเปิดโล่ง เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดกัน แต่ยังคงสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวได้หากจำเป็น ขณะที่บันไดวนเก่าและใช้งานไม่ได้แล้วถูกแทนที่ด้วยบันไดแบบตรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่และทำให้การไหลเวียนดีขึ้น ส่วนเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเน้นทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมมีลักษณะเด่นบางประการที่เหมาะสำหรับใช้ในสภาพอากาศที่รุนแรงในเว้ ขณะคาเฟ่ที่ชั้นหนึ่งได้รับการออกแบบโดยใช้องค์ประกอบและวัสดุเดียวกันกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน เช่น โต๊ะโค้งยาว […]

บ้านไม้มินิมัลออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ

บ้านไม้ ภายใต้ในแนวคิด Passive Design ที่สถาปนิกออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ ตั้งอยู่บนที่ดินติดถนนสายหลัก กลางย่านที่มีบ้านพักอาศัยสร้างขึ้นเพื่อปล่อยขายตลอดแนวถนนในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น Mushono House คือผลงานการออกแบบของสถาปนิก Yoshitaka Kuga ด้วยการนำแนวคิด Passive Design มาใช้ออกแบบ บ้านไม้ หลังนี้ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยรวม 119.529 ตารางเมตร ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อม โดยวางผังอาคารให้ด้านหน้าของบ้านหันออกสู่ทางทิศใต้ ส่วนด้านหลังออกแบบให้ตั้งอยู่ติดกับถนนสายหลัก เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้หน้าบ้านดูกว้างเเละโปร่งโล่งยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กับสร้างแนวป้องกันความร้อนด้วยการปลูกต้นไม้เป็นสวนขนาดเล็กหน้าบ้าน ด้วยความตั้งใจที่อยากให้เจ้าของบ้านอยู่สบายด้วยการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก สถาปนิกจึงสร้างห้องนั่งเล่นให้เกิดบรรยากาศโล่งกว้างขนาดใหญ่ เด่นด้วยพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซ และออกแบบช่องเปิดให้เกิดแสงและเงา ช่วยสร้างความละมุนให้กับพื้นที่ทั้งสองชั้น เเถมยังมีมุมมองเปิดออกไปสัมผัสกับพื้นที่สีเขียวนอกบ้านผ่านหน้าต่างบานใหญ่ทางทิศใต้ เเละสร้างพื้นที่นั่งเล่นเป็นชานเล็ก ๆ โดยออกแบบให้ชายคามีระยะยื่นคลุมพื้นที่ชานทั้งหมดไว้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันแสงแดดยามออกมานั่งเล่น สถาปนิกยังระบุอีกว่าด้วยวิธีการออกแบบนี้จะช่วยให้ภายในบ้านเย็นในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว ซึ่งผู้อาศัยจะสามารถเพลิดเพลินไปกับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายจากฟังก์ชันต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ได้พักผ่อนสายตาไปกับวิวสวน พร้อมร่มเงาและความสดชื่นจากเหล่าไม้ใบสีเขียว เปิดรับอากาศดี ๆ ได้ในทุกวัน ออกแบบ: Yoshitaka Kuga HEARTH ARCHITECTS http://hearth-a.com ภาพ: Yuta […]

HOUSE IN KYOTO บ้านไม้สไตล์มินิมัล แก้ปัญหาพื้นที่สีเขียวมีจำกัด ด้วยการปลูกต้นไม้ไว้ในห้องนั่งเล่น

บ้านไม้ สไตล์มินิมัลสำหรับสองสามีภรรยาและลูก ๆ ที่น่ารักทั้งสามคนของพวกเขา ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบทางตอนเหนือของเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

CASA DE MADERA บ้านหลังคาซิกแซกสำหรับแปลงผักสวนครัว

บ้านไม้ สำหรับพักตากอากาศในช่วงสุดสัปดาห์ ที่ Estudio Borrachia ออกแบบมาสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน ประกอบด้วยคู่สามีภรรยา พร้อมลูกเล็กสองคน ตั้งอยู่ใน Exaltación de la Cruz ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา

KOKA HOUSE บ้านไม้กึ่งคาเฟ่สีดำทะมึนที่ซ่อนความละมุนไว้ภายใน

บ้านไม้ กึ่งคาเฟ่ ในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น หลังนี้เกิดจากความตั้งใจของเจ้าของบ้านที่วางแผนจะเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ ไปพร้อมกับการสร้างบ้านพักอาศัยส่วนตัว หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว Yoshitaka Kuga สถาปนิกซึ่งมีสตูดิโอออกแบบตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ จึงได้ลงมือออกแบบ บ้านไม้ สีดำทะมึนหลังนี้ให้มีพื้นที่รองรับกับความต้องการ ก่อนจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น กลายเป็นอาคารรูปทรงสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น  เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดทางแยกบนที่ดินที่ล้อมรอบด้วยถนนทั้งสามด้าน เด่นด้วยผนังโทนขรึมดำจากไม้ซีดาร์เผาผิว  มีมุมมองคล้ายกับอาคารสองหลังวางซ้อนกันอยู่ ซึ่งรูปทรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความตั้งใจของสถาปนิกที่อยากให้บ้านดูเหมือนกับร้านกาแฟในกระท่อมบนภูเขา เป็นเหตุผลทำให้บ้านหลังนี้มีหลังคาที่ดูโดดเด่นจนกลายเป็นไอค่อนของย่านไปโดยปริยาย   เเละอีกหนึ่งโจทย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้ คือการจัดสรรพื้นที่ส่วนตัวให้แยกส่วนกับพื้นที่สาธารณะ โดยไม่รู้สึกถึงการตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง ภายใต้พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 104.95 ตารางเมตร สามเหลี่ยมก้อนแรกที่อยู่ด้านหน้าจึงถูกแบ่งเป็นส่วนการใช้งานหลักบนชั้น 1 ของบ้าน ประกอบด้วยมุมรับประทานอาหาร ซึ่งออกแบบพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซเชื่อมต่อกับครัวเปิด เจ้าของสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ตรงนี้ เพื่อรองรับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ในอนาคตได้อย่างสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็แยกส่วนพื้นที่พักอาศัยจริงที่มอบความเป็นส่วนตัว ไว้ภายในก้อนสามเหลี่ยมก้อนที่สองซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง โดยพื้นที่ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ห้องนอนใหญ่ของเจ้าของบ้าน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ (ใช้ครัวกับมุมรับประทานอาหารร่วมกับส่วนคาเฟ่) ส่วนบนชั้นสอง เป็นห้องของเด็ก ๆ จำนวน 2 ห้อง พร้อมระเบียงเล็ก ๆ ไว้ออกไปยืนสูดอากาศในวันฟ้าแจ่มใส โดยมีสวนเล็ก ๆ […]