- Home
- room
room
GRILLICIOUS ร้านยากินิคุสไตล์ญี่ปุ่นกลางเมืองพัทยา ภายใต้สถาปัตยกรรมเฉียบเรียบ
Grillicious ร้านยากินิคุกลางเมืองพัทยา โดดเด่นด้วยเส้นสายสถาปัตยกรรมเฉียบเรียบ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการก่อกองไฟ สำหรับประกอบอาหารประเภทบาร์บีคิวที่มักต้องมีผนังกันลมสองด้านล้อมกองไฟไว้ ผู้ออกแบบจาก ForX Design Studio ได้นำรูปแบบของผนังดังกล่าวมาตีความใหม่ ให้ร้าน Grillicious กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดจากชุดผนังที่วางตัวขนานกันในแนวยาว โดยพื้นที่ระหว่างผนังแบ่งออกเป็นโซนการใช้งานที่ชัดเจน ได้แก่ โซนต้อนรับ โซนรับประทานอาหาร โซนครัว และคอร์ตกลาง ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพื้นที่ร้าน แนวผนังจากวัสดุเลียนแบบปูนขัดที่ทอดยาวนั้นยังทำให้เกิดเส้นทางลมธรรมชาติที่เข้าถึงในทุกพื้นที่ของอาคาร เมื่อผนวกกับร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่และสวนสีเขียวในคอร์ตที่แทรกอยู่ระหว่างโซนต่าง ๆ จึงช่วยลดทอนความแข็งกระด้างของตัวอาคาร และสร้างภาวะน่าสบาย ตอบโจทย์สภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเมืองพัทยาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผนังกระจกขนาดใหญ่ในส่วนต่าง ๆ ยังเชื่อมต่อมุมมองของแต่ละโซนเข้าด้วยกัน พื้นที่นี้จึงสามารถประยุกต์ใช้จัดงานอีเว้นต์ได้อีกด้วย หลังคาโครงสร้างเหล็กแบบลาดเอียงส่งผลให้รูปลักษณ์ภายนอกของอาคารดูโฉบเฉี่ยว และระดับความสูงเป็นพิเศษของหลังคาก็ช่วยสร้างสเปซแนวตั้งภายในที่โปร่งโล่ง นอกจากนี้ช่องเปิดระหว่างแนวหลังคากับผนังอาคารยังเปิดรับแสงธรรมชาติเข้ามาสู่ภายในทำให้ร้านสว่างไสวตลอดวัน ที่ตั้ง Grillicious ซอยบงกช 3 พัทยาใต้ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พิกัด https://goo.gl/maps/AaCEXJQWzpNDWC5Q7 เปิดทุกวัน 12.00 – 21.00 น. โทร.08-3224-4665 ออกแบบ : ForX Design Studio ภาพ : […]
BURNT CORK เฟอร์นิเจอร์ไม้คอร์ก ที่ฟื้นคืนชีพจากเถ้าถ่าน
จากครั้งหนึ่งที่เคยเป็นฉนวนกันไฟให้ต้นไม้รอดจากไฟป่า เศษไหม้ดำของเปลือกต้นคอร์กโอ๊กกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ด้วยฝีมือของ MADE IN SITU ดีไซน์สตูดิโอจากโปรตุเกส “ไม้คอร์ก” ที่เรารู้จักกันนั้นคือเปลือกไม้ชั้นนอกของต้นโอ๊ก ซึ่งเมื่อลอกออกจากต้นโอ๊กแล้ว เปลือกชั้นนอกก็จะเติบโตขึ้นใหม่ในรอบระยะเวลา 9-10 ปี และโปรตุเกสก็คือประเทศที่ส่งออกไม้คอร์กเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ต้นคอร์กโอ๊ก (Quercus suber) หรือที่เรียกกันว่า “sobreiro” ในภาษาโปรตุกีส นั้นมักตกอยู่ในอันตรายจากไฟป่า และในช่วงหน้าร้อนปี 2017 Noé Duchaufour-Lawrance นักออกแบบชาวฝรั่งเศสกำลังเดินทางมาโปรตุเกส เขาขับผ่าน Pedrógão Grande เส้นทางใกล้เคียงกับพื้นที่ไฟป่าครั้งใหญ่ที่รุนแรงอย่างมาก ซึ่งกลายเป็นประสบการณ์ฝังใจ และนำไปสู่จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่น Burnt Cork แรงบันดาลใจ ตั้งแต่ปี 2018 เขาและทีมงานเริ่มทำการการสำรวจ พบปะกับช่างฝีมือในชุมชนที่ยังทำอุตสาหกรรมไม้คอร์กของโปรตุเกส พวกเขาได้พบกับ Tania และ Nuno ผู้สืบทอดกิจการ NF Cork หัตถอุตสาหกรรมผลิตบล็อกไม้คอร์กสำหรับเป็นฉนวนในงานสถาปัตยกรรม ในระหว่างการเยี่ยมชมโรงงาน และกระบวนการแปรรูปไม้คอร์ก Noé สังเกตเห็นเปลือกไม้คอร์กโอ๊กไหม้ดำมากมายที่ถูกกองทิ้งไว้ เศษซากไม้คอร์กเหล่านี้ ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มกันไฟให้กับต้นคอร์กโอ๊กในช่วงไฟป่า และเมื่อถึงช่วงเวลาลอกเปลือกมาทำไม้คอร์ก ส่วนเปลือกที่ไหม้ดำก็จะถูกลอกแยกทิ้ง […]
ทำไมซื้อบ้านมือสองของธนาคาร ถึงมีแต่คุ้มกับคุ้ม!
ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวแบบนี้ อาจทำให้หลายคนที่วางแผนจะมีบ้านสักหลังอาจกำลังคิดหนัก แต่สำหรับ “บ้านมือสอง” แล้ว ช่วงนี้ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับคนวางแผนซื้อบ้าน เพราะนอกจากจะมีตัวเลือกมากมาย ยังได้เปรียบเรื่องทำเล ในราคาที่คุ้มค่าอีกด้วย การซื้อบ้านมือสองนั้น นอกจากจะซื้อจากเจ้าของบ้านที่ประกาศขายโดยตรง หรือจากกรมบังคับคดีแล้ว การซื้อบ้านมือสองจากธนาคารก็น่าสนใจจนไม่อาจมองข้าม บ้านและสวนจึงอยากชวนคุณมารู้จักข้อดีของบ้านมือสองที่เป็น “ทรัพย์สินรอการขาย” ของธนาคาร หรือ NPA (Non-Performing Asset) เรียกง่าย ๆ ว่าบ้านที่เจ้าของบ้านเดิมนำมาเป็นหลักประกันเงินกู้แล้วผ่อนต่อไม่ไหว ธนาคารจึงนำมาขายเพื่อชำระหนี้ ตามเราไปดูกันว่าทำไมการซื้อบ้านมือสองจากธนาคารจึงเป็นอีกทางเลือกที่คุ้มค่าในช่วงนี้ ถ้าเปรียบเทียบระหว่างบ้านมือหนึ่ง และบ้านมือสองในขนาดและทำเลใกล้ที่เคียงกัน การซื้อบ้านมือสองของธนาคารนั้น ส่วนใหญ่มักจะประหยัดเงินกว่าซื้อบ้านมือหนึ่งได้ประมาณ 20%-30% เนื่องจากมีการหักค่าเสื่อมของตัวบ้านที่ผ่านการอยู่อาศัยมาแล้ว ประกอบกับธนาคารมักตั้งราคาให้ดึงดูดใจเพื่อให้ขายได้รวดเร็ว เมื่อราคาของบ้านมือสองของธนาคารไม่สูงเท่าบ้านมือหนึ่ง คุณจึงมีเงินส่วนต่างเหลือสำหรับการรีโนเวทหรือตกแต่งเพิ่มเติมให้ตอบโจทย์การอยู่อาศัย หรือใช้เป็นพื้นที่ธุรกิจอย่างคาเฟ่ โฮสเทล แบบชิค ๆ ก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจไม่น้อย นอกจากนี้ หากมองในแง่ของการลงทุนเพื่อขายต่อเก็งกำไรหรือปล่อยเช่าก็ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเลยทีเดียว บ้านมือสองจากธนาคารมีตัวเลือกมากมายจึงเปิดโอกาสให้คุณสามารถเลือกบ้านหลังใหม่ในทำเลทองด้วยราคาที่สมเหตุสมผล เนื่องจากปัจจุบัน ที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ ที่ดินผืนงามมักกลายเป็นคอนโดมิเนียม บ้านแนวราบก็อยู่ย่านชานเมืองไกลออกไป บางทีการพิจารณาเลือกซื้อบ้านมือสองจากธนาคาร อาจช่วยให้คุณเจอเพชรเม็ดงามในทำเลใจกลางเมืองก็เป็นได้ อีกทั้งการเลือกซื้อบ้านมือสองของธนาคาร ยังช่วยสร้างความมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าบ้านจะไม่เสร็จ หรือ ซื้อบ้านแล้วไม่ได้บ้าน เพราะคุณสามารถตรวจสอบสภาพบ้านจริงก่อนซื้อได้และเข้าอยู่ได้ทันที […]
REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง
โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]
BURGER BROS DA NANG รีโนเวตบ้านเก่าให้เป็นร้านเบอร์เกอร์ บรรยากาศเหมือนรีสอร์ตริมชายหาด
รีโนเวตบ้านเก่า ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นร้านเบอร์เกอร์สไตล์บีชเฮ้าส์ โดยตั้งใจให้ลูกค้าได้สัมผัสและอิ่มเอมไปกับบรรยากาศสบาย ๆ พร้อมกับเบอร์เกอร์แสนอร่อยในมือ ขั้นตอนการ รีโนเวตบ้านเก่า สองคูหาขนาดสองชั้นนี้ เรียกว่าสถาปนิกจาก Studio anettai ได้ลอกคราบหน้าตาของอาคารเดิมออกจนเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็นผนังด้านนอกอาคาร และห้องต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน ได้ถูกทุบและปรับผังการใช้งานใหม่ เหลือไว้แต่โครงสร้างหลัก ซึ่งต้องการโชว์เนื้อแท้ของพื้นผิวอันเปลือยเปล่า เช่น เสา คาน และโดยเฉพาะผนังอิฐที่ทาทับด้วยสีขาวบาง ๆ โดยมีมุมไฮไลท์อยู่ที่ผนังอิฐด้วยการนำหลอดไฟนีออนสีชมพูมาขดเป็นรูปเบอร์เกอร์ขนาดยักษ์ ประดับด้วยรูปกิจกรรมริมชายหาด ช่วยสร้างกิมมิกน่ารัก ๆ เข้ากับคอนเซ็ปต์ของร้าน ที่ต้องการให้ทุกคนนึกถึงบรรยากาศสบาย ๆ ยามไปเที่ยวทะเล ร่วมด้วยของตกแต่งอย่าง ไม้เนื้อแข็ง เฟอร์นิเจอร์และโคมไฟหวายสไตล์ทรอปิคัล พรรณไม้เขตร้อน ตลอดจนถึงฝ้าไม้ไผ่สำหรับตกแต่งใต้ท้องพื้นและฝ้าเพดาน โซนที่นั่งชั้นล่างนี้ สถาปนิกได้เจาะพื้นที่ทำเป็นโถงดับเบิ้ลสเปซทะลุขึ้นไปถึงชั้นสอง เพื่อสร้างบรรยากาศให้ที่นั่งรับประทานเบอร์เกอร์ชั้นล่าง และชั้นลอยดูโปร่งสบาย ขณะที่ชั้นสองสถาปนิกได้เปลี่ยนช่องแสงด้านหน้าให้เป็นกระจกใสสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ช่วยเปิดรับแสงให้สามารถส่องลงมาถึงด้านล่างได้ในช่วงกลางวัน ลูกค้าสามารถนั่งชมวิวถนนด้านนอกได้เต็มสายตา เป็นการเชื่อมต่อมุมมองและความรู้สึกถึงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน โดยลูกค้าที่อยู่ชั้นบนสุดนี้ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสีสันและความคึกคักของร้านไม่ถูกตัดขาด เชื้อเชิญให้อยากแวะเวียนมานั่งพูดคุย และกินเบอร์เกอร์อร่อย ๆ ดื่มด่ำกับช่วงเวลาแห่งความสุขได้แบบยาว ๆ ตั้งแต่ช่วงเวลากลางวัน […]
Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน
ในเมื่อผืนน้ำกินพื้นที่กว่า 70% ของโลก ถ้าเรามองหาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อในเขตเมืองนับวันยิ่งมีอัตราการอยู่อาศัยที่หนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ Schoonschip จึงเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ออกแบบทางเลือกใหม่ของการใช้ชีวิตบนน้ำของผู้คนสำหรับโลกยุคอนาคต Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ตั้งอยู่ในคลอง Johan van Hasselt ทางเหนือของกรุงอัมสเตอร์ดัม ออกแบบโดย Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ด้วยความตั้งใจที่จะออกแบบผังเมืองที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยยุคใหม่ พวกเขาร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา และผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วย 30 ยูนิตลอยน้ำ โดยแต่ละยูนิตอยู่ร่วมกัน 2 ครอบครัว รวมบ้าน 46 หลังสำหรับสมาชิกชุมชนกว่าร่วม 100 คน โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2011 และบ้านหลังสุดท้ายจะแล้วเสร็จในปีนี้ เจ้าของบ้านสามารถร่วมออกแบบกับสถาปนิกที่ตนเลือก ส่งผลให้บ้านแต่ละหลังแตกต่างกัน ทั้งด้วยวัสดุ และรูปแบบเฉพาะตัว นอกจากนี้ แต่ละยูนิตของบ้านลอยน้ำ Schoonschip สามารถใช้เรือเคลื่อนย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่อื่น โดยไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง รบกวนเพื่อนบ้านรอบข้าง Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ที่ทำงานออกแบบมากกว่าแค่งานสถาปัตยกรรม แต่ยังรวมไปถึงงานผังเมือง และการวางแผนพัฒนา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น […]
MASA ร้านอาหารคอนกรีตลายลูกฟูก แทรกรูปเรขาคณิตเป็นลูกเล่นให้งานตกแต่ง
MASA ร้านอาหารในเมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย สร้างสรรค์ขึ้นเป็นสถาปัตยกรรม คอนกรีตลายลูกฟูก และการเชื่อมโยงรูปทรงสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมขนาดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อบ่งบอกถึงอักษรรูปตัวเอ็ม (M) ซึ่งเป็นชื่อของร้าน ภายใต้บรรยากาศของร้านที่ดูสอดคล้องไปกับบริบทแวดล้อมเดิม บวกกับความสมดุลระหว่างแสงกับเงาอันมีเอกลักษณ์ ปรากฏเป็นผลลัพธ์ของอาคารที่ดูคล้ายงานประติมากรรม ทว่ากลมกลืนท่ามกลางบ้านเรือนแบบ Low-rise ในย่านที่อยู่อาศัยของเมือง ตัวร้านตั้งอยู่โดดเด่นบริเวณหัวมุมถนนอย่างพอดิบพอดี โดดเด่นด้วยช่องเปิดรูปสามเหลี่ยมตรงฟาซาดหน้าร้านที่ช่วยนำแสงธรรมชาติเข้ามาสู่ภายในตลอดวัน ทั้งยังเป็นกิมมิกที่สื่อถึงเอกลักษณ์เเละชื่อของร้านอย่างอักษรตัวเอ็ม (M)ภายในวางผังแบบเปิดโล่งทำให้เกิดอิสระทางสายตาเเละการใช้พื้นที่ ภายในพื้นที่ใช้สอย 700 ตารางเมตร โดยประกอบด้วยฟังก์ชันหลัก 3 ส่วน คือ คาเฟ่อยู่บริเวณหัวมุมถนน ส่วนต้อนรับเเละร้านเบเกอรี่อยู่ตรงกลาง เเละร้านอาหารซึ่งอยู่ด้านข้าง แต่นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ร้านค้าปลีกเล็ก ๆ อยู่ด้วย โดยช่องแสงรูปทรงสามเหลี่ยมขนาดต่าง ๆ ทำให้มองเห็นกิจกรรมภายในร้านได้อย่างชัดเจน แรงบันดาลใจจากรูปทรงและเส้นสายทางเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม เส้นตรง เเละเส้นโค้ง ได้รับการนำมาใช้ออกแบบได้อย่างน่าสนใจ ภายใต้ภาษาของงานกราฟิกดูสนุกสนานผ่านพื้นผิววัสดุที่แตกต่าง เช่น ผนังคอนกรีตลายลูกฟูก พื้นหินขัดลาย ตกแต่งด้วยกระเบื้องหินขัดที่มีแพตเทิร์นน่ารัก ๆ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเทคนิคทำพื้นที่ใช้กันทั่วไปในโบโกตา ใต้หลังคาสกายไลท์ตกแต่งด้วยแผ่นตะแกรงเหล็กฉีกดัดโค้งช่วยกรองแสงด้านล่างให้นุ่มนวล ท่ามกลางความสดชื่นของพืชพรรณที่ปลูกอยู่รายล้อม แลดูกลมกลืนกับเฟอร์นิเจอร์ไม้และของตกแต่งต่าง ๆ […]
baan puripuri: Courtyard Pattanakarn ทาวน์โฮมตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง
baan puripuri : Courtyard Pattanakarn โครงการทาวน์โฮมที่มาพร้อมแนวคิดการออกแบบที่คงให้ความสำคัญกับการสร้างภาวะน่าสบายให้กับพื้นที่อยู่อาศัยในบริบทเมือง โดดเด่นด้วยคอร์ตกลาง ที่ทำให้ภายในบ้านโปร่งโล่ง ทลายข้อจำกัดของบ้านทาวน์โฮมได้อย่างน่าสนใจ บ้านทาวน์โฮม 3 ชั้น ขนาด 3 ห้องนอน โครงการใหม่ล่าสุดจากบ้านภูริปุรี – baan puripuri โดดเด่นด้วยสวนคอร์ตกลางบ้าน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างบรรยากาศโปร่งโล่ง ลดความทึบตัน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งมักเป็นปัญหาหลักของบ้านแบบทาวน์โฮม ด้วยเหตุนี้ คอร์ตกลางจึงได้รับการออกแบบให้มีขนาดเกือบหนึ่งในสามของบ้าน โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ห้องนั่งเล่นด้านหน้า และพื้นที่ใช้สอยอื่นทางด้านหลัง คอร์ตยาร์ดเปิดโล่งไม่มีหลังคา ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน พร้อมเปิดรับแสงธรรมชาติได้ตลอดวัน บริเวณพื้นที่ใช้งานออกแบบให้เป็นโครงสร้างทางภูมิสถาปัตยกรรมในรูปแบบขั้นบันไดที่มีความลาดชันต่ำ มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้หรือทำเป็นบ่อปลา สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งยังช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรที่ลื่นไหลต่อเนื่องจากห้องครัวชั้นล่างไปสู่ห้องนั่งเล่นบนชั้นลอย และเมื่อเปิดบานเลื่อนกระจก จะทำให้เกิดสเปซขนาดใหญ่ที่หลอมรวมพื้นที่ภายในและภายนอกเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ทุกพื้นที่ของบ้านยังเปิดมุมมองสู่พื้นที่สีเขียวบริเวณคอร์ตกลาง จึงช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานที่อยู่คนละบริเวณของบ้าน โดยยังคงมีความเป็นส่วนตัวเอาไว้ แนวคิดในการสร้างพื้นที่สีเขียวยังสะท้อนผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมภายนอก ต้นไม้ใหญ่ในกระถางลูกบาศก์บนระเบียงดูโดดเด่นจนเหมือนเป็นเอกลักษณ์ของโครงการ ส่วนเปลือกอาคารด้านหน้าติดตั้งตะแกรงเหล็กสำหรับเป็นที่เกาะเกี่ยวของไม้เลื้อย ตอบโจทย์การสร้างพื้นที่สีเขียวแนวตั้งในอนาคต และในวันที่ไม้เลื้อยเติบโตเต็มพื้นที่ แนวกำแพงครีบที่ยื่นออกมาเหนือแนวระนาบเปลือกอาคาร จะช่วยสร้างการรับรู้และการมีตัวตนของงานสถาปัตยกรรม สันของกำแพงนั้นถูกออกแบบให้เอียงทำมุมที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดมิติตามแสงตกกระทบ เสริมกลิ่นอายวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วยการประดับโมเสกกระจกสี ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากงานประดับกระจกในสถาปัตยกรรมไทย โครงการนี้ประกอบด้วยทาวน์โฮมทั้งหมด 37 […]
EUPHORIA BRIDAL GALLERY โชว์รูมชุดเจ้าสาวที่ซ่อนอยู่ใน ตึกแถวหน้าแคบ คล้ายกล่องดีไซน์เรียบง่าย
รีโนเวต ตึกแถวหน้าแคบ ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวสีขาวละมุนตา ที่มองเผิน ๆ แล้วคล้ายกับกล่องกระดาษสีขาวเจาะรูดีไซน์เรียบง่าย ด้านหน้าร้านโดดเด่นด้วยดิสเพลย์ชุดแต่งงานในกล่องกระจก ซ้อนอยู่ภายในอาคารกล่องคอนกรีต เป็นโปรเจ็กต์การเปลี่ยนบ้านตึกแถวเก่าขนาด 3 ชั้น ซึ่งมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะปัญหาหน้าแคบ แสงส่องเข้ามาไม่ถึง และข้อบกพร่องทางโครงสร้าง เช่น เสาหลายต้น เดิมพื้นที่เคยเต็มไปด้วยฉากกั้น และตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก จนทำให้ได้รับผลกระทบจากความร้อนตลอดเวลา จากปัจจัยดังกล่าวได้กลายมาเป็นภารกิจสำคัญของทีมออกแบบจาก ngoac.space ในการปรับปรุงอาคาร เพื่อเปิดเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวแห่งใหม่บรรยากาศดี ช่วยส่งเสริมชุดเจ้าสาวให้ยิ่งทวีความสวยงาม ดึงดูดลูกค้าให้อยากเข้ามาเยี่ยมชม ทีมออกแบบมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์พื้นที่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์กับชุดแต่งงาน ผ่านบรรยากาศและงานดีไซน์ที่ขับเสน่ห์ของชุดแต่งงานให้โดดเด่นขึ้น แถมด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปพร้อมกัน ไม่ได้เน้นการขายชุดเพียงอย่างเดียว โดยชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าที่มาที่ไปกว่าจะได้ชุดแต่งงานสวย ๆ ก่อนพาขึ้นสู่ชั้นสองเพื่อสัมผัสกับโซนดิสเพลย์จัดแสดงชุดแต่งงานให้ได้เลือกสรร ซึ่งแขวนประดับอยู่บนราวเสมือนเป็นฉากหลังขนานไปกับแนวผนัง ขณะที่ชั้นสามเป็นส่วนออฟฟิศสำหรับพนักงาน ภายใต้โครงสร้างเก่าผู้ออกแบบเลือกปิดผิวบางส่วนที่ไม่ประณีตไว้ แล้วเผยบางส่วนเพื่อสร้างความคอนทราสต์อย่างมีชั้นเชิง เห็นจากเสาคอนกรีตที่เผยให้เห็นร่องรอยความดิบกระด้าง และผิวสัมผัสเปลือยเปล่าขรุขระ ตัดกันกับภาพชุดแต่งงานสีขาวที่แสนนุ่มนวล และด้วยลักษณะอาคารที่เป็นตึกแถว เรื่องแสงสว่างถือเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ออกแบบจึงกำหนดแหล่งกำเนิดแสงไว้ 2 แห่งบนหลังคา เพื่อดึงแสงลงมายังพื้นที่ชั้นล่าง แล้วกระจายต่อไปยังพื้นที่ส่วนต่าง ๆ […]
NGOI SPACE นำ กระเบื้องหลังคาดินเผา มาออกแบบคอมมูนิตีสเปซ โดดเด่นกลางแยกชานเมืองฮานอย
“กระเบื้องหลังคาดินเผา” กับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการออกแบบคอมมูนิตี้สเปซขนาดยักษ์ที่มีชื่อว่า Ngói Space อาคารอเนกประสงค์ขนาด 5 ชั้น บนพื้นที่หัวมุมถนนนอกกรุงฮานอย ที่นี่มีความพิเศษโดดเด่นอยูที่การออกแบบฟาซาด หรือเปลือกอาคารจาก กระเบื้องหลังคาดินเผา กว่า 20,000 แผ่น เพื่อบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมจากวัสดุธรรมดาที่คุ้นเคยกันดีในเวียดนาม จุดประสงค์ของการก่อสร้างอาคารหลังนี้ ก็เพื่อให้เป็นเสมือนห้องรับแขกของชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้คนได้เข้ามาพักผ่อน หรือทำกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ มีพื้นที่ใช้สอยหลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยร้านกาแฟ พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับการสัมมนา และโซนจัดนิทรรศการ และสวนดาดฟ้า มีแรงบันดาลใจของแนวคิดมาจากการแตกกิ่งก้านของต้นไม้ และห้องต่าง ๆ ในถ้ำ สถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อกำหนดลักษณะการใช้งานภายในอาคารแล้ว ภายนอกอาคาร สถาปนิกจาก H&P Architects ได้เลือกกระเบื้องหลังคาดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุที่คุ้นเคยกันดีของชาวเวียดนามมาใช้ออกแบบฟาซาด โดยหวังสร้างแรงบันดาลใจในการนำ ‘กระเบื้องที่เต็มไปด้วยหน่วยความทรงจำ’ กลับมาใช้ใหม่ แทนที่จะถูกมองข้ามและทิ้งขว้างไปอย่างเปล่าประโยชน์ เมื่อบ้านเก่าหรืออาคารดั้งเดิมต่างค่อย ๆ ต้องถูกรื้อถอน ตามการเปลียนแปลงของยุคสมัย โดยการนำกระเบื้องมาเรียงซ้อนกันเป็นรูปสามเหลี่ยม สำหรับเป็นชั้นผนังอาคารชั้นนอก ซึ่งถูกซ้อนด้วยผนังและบานหน้าต่างกระจกด้านในอาคารอีกที พื้นที่ว่างระหว่างผนังชั้นนอกกับชั้นใน ที่ได้ร่มเงาจากแผงกระเบื้องฟาซาดได้จัดวางที่นั่งสำหรับพักผ่อนดื่มกาแฟ และทำเปลตาข่ายให้ได้เพลิดเพลินไปกับกลุ่มเพื่อน […]
U-bolt Furniture เฟอร์นิเจอร์สุดอาร์ตจากฮาร์ดแวร์งานประปา
เปลี่ยน U-bolt สลักเกลียวรัดท่อให้เป็นข้อต่อเฟอร์นิเจอร์ระบบโมดูลาร์ดีไซน์สนุก ฝีมือการออกแบบของ 1/plinth studio สตูดิโอออกแบบจากกรุงโซล เกาหลีใต้ ที่ตั้งใจนำเสนอชิ้นส่วนอุตสาหกรรมเรียบง่ายให้กลายเป็นงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ คอลเล็กชั่น U-bolt Furniture น่าสนใจด้วยการหยิบยกฮาร์ดแวร์งานประปา ซึ่งเป็นชิ้นส่วนในงานอุตสาหกรรมที่เห็นได้ทั่วไป มาเป็นหัวใจหลักในการสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์คอลเล็กชั่นใหม่ได้อย่างน่าสนใจ เฟอร์ิเจอร์แต่ละชิ้นมีที่มาจากท่อ และฉากอะลูมิเนียม ประกอบกันเป็นโครงสร้างโดยใช้ ยูโบลต์ หรือที่ไทยเราเรียก สลักเกลียวรูปตัว U (ยู) ซึ่งมักใช้กับการติดตั้งท่อประปา มาใช้แทนข้อต่อ โดยไม่มีการเชื่อมหรือใช้วัสดุกาวยึดติดอื่นใด เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกผสมผสานวัสดุ และจับคู่สีสันของแต่ละชิ้นส่วน ทั้ง ยูโบลต์ ท่อหรือฉากอะลูมิเนียม รวมถึงท้อปกระจก ได้ตามใจชอบ คอลเล็กชั่นนี้มีทั้งรุ่นโต๊ะตัวเล็ก UM (u-bolt module) ที่สามารถนำแต่ละยูนิตมาวางซ้อนกันให้เป็นชั้นวางสูงได้ หรือจะขยับขยายทางกว้าง เพื่อให้เกิดฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมี UT (u-bolt trolley) ชั้นวางแบบรถเข็นติดล้อด้านล่าง งานศิลปะที่เกิดจากอุตสาหกรรม คือความตั้งใจของนักออกแบบในการสร้างความขัดแย้งที่น่าสนใจ จากสินค้าอุตสาหกรรมที่ทำซ้ำจำนวนมาก ที่นำไปสู่อิสระในการสร้างสรรค์ของผู้ใช้งาน 1/plinth studio สตูดิโอออกแบบจากกรุงโซล […]
RESTAURANT Y SEA โออ่าและดิบเท่ริมชายหาด ภายใต้สถาปัตยกรรม คอนกรีตหล่อในที่
ร้านอาหารริมทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของ Seashore Series มาพร้อมงานดีไซน์สุดสร้างสรรค์จาก คอนกรีตหล่อในที่ ถูกใจสำหรับคนรุ่นใหม่ในย่าน Beidaihe New District ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่นี่โดดเด่นด้วยงานดีไซน์จาก คอนกรีตหล่อในที่ ที่ไม่ได้เน้นการดึงทัศนียภาพทางทะเลมาใช้เป็นจุดสนใจของลูกค้า แต่โฟกัสสเปซภายในและให้ทะเลเป็นฉากหลัง มีพื้นที่กึ่งกลางแจ้งเพื่อช่วยระบายอากาศ นำแสงสว่างและธรรมชาติเข้ามาสู่ภายในร้าน สร้างสเปซด้านล่างโดยใช้กระจกและให้โครงสร้างคอนกรีตอยู่ด้านบน สื่อถึงสถาปัตยกรรมที่ดูคล้ายงานประติมากรรมที่ลอยอยู่เหนือภูมิทัศน์โดยรอบ ผนังคอนกรีตหล่อในที่ทำหน้าที่เป็นผนังรับน้ำหนักของอาคารทั้งหมด แล้วใช้เสาเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 120 มิลลิเมตร รองรับน้ำหนักของชายคารอบอาคาร ด้วยไอเดียนี้เองเสาของอาคารจึงดูกลมกลืนไปกับลำต้นของต้นไม้รอบ ๆ เมื่อมาถึงร้านนี้จะไม่มีทางเข้าหลักที่ชัดเจน มีเพียงประตูบานเลื่อนกระจกตามแนวเส้นรอบอาคาร ลูกค้าจึงสามารถเข้าถึงพื้นที่รับประทานอาหารได้จากทุกทิศทุกทาง บริเวณกลางอาคารดีไซน์หลังคาให้ยกสูงเพื่อสร้างมุมมองสวยงามผ่านแสงเงาที่จะหักเหไปตามช่วงเวลา ซึ่งมาจากการใช้คานวอฟเฟิล(Waffle Slab)หรือแผ่นพื้นกระทงสองทาง มีข้อดีคือช่วยให้สเปซภายในดูโอ่โถง และลดจำนวนของผนังโครงสร้างลง ช่วยให้ผังของร้านอาหารที่ขนาดพื้นที่ใช้สอย 713 ตารางเมตร มีความลื่นไหล เป็นอาคารสไตล์โมเดิร์นที่นิ่งขรึม รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์ของความเรียบง่าย เผยความงดงามของสัจวัสดุได้อย่างแท้จริง IDEA TO STEAL คอร์ตกลางที่เปิดโล่งทำให้แสงและลมถ่ายเทเข้าสู่อาคารได้สะดวก สร้างบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ ดูรื่นรมย์สวยงาม ข้อมูล เจ้าของ : Beijing Rocfly Investment (Group)Co.,Ltd. ออกแบบ : […]