- Home
- room
room
SCOTTS TAIKOO LI ไอเดียออกแบบ ร้านฟาสต์ฟู้ด ขนาดเล็ก กับการเปลี่ยนประตูเป็นที่นั่ง
Scotts Taikoo Li ร้านฟาสต์ฟู้ด เสิร์ฟอาหารฟิชแอนด์ชิปส์สไตล์อังกฤษ ที่เดินทางข้ามทวีปมายังเมืองเฉิงตู ประเทศจีน โดดเด่นและเห็นชัดเจนจากบริเวณหัวมุมถนนด้วยประตูที่เป็นทั้งฟาซาดและที่นั่ง ใช้งานได้แบบมัลติฟังก์ชัน ก่อนนำมาสู่การออกแบบ ร้านฟาสต์ฟู้ด โดย Unknown Works สตูดิโอออกแบบจากอังกฤษ ที่เน้นจัดเสิร์ฟอาหารจานด่วนที่มีคอนเซ็ปต์ตั้งต้นมาจากร้าน Scotts สาขาแรกที่ Yorkshire ประเทศอังกฤษ ก่อนขยายมาสู่สาขาใหม่ในจีน ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนในย่าน Taikoo Li ที่มีขนาดเพียง 33 ตารางเมตร พร้อมแนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้งานอย่างคุ้มค่าและสวยงาม ฟาซาดของร้านทำหน้าที่เป็นทั้งประตูที่โอบล้อมร้านในช่วงปิดบริการ และสร้างฟังก์ชันสำหรับขยายการใช้งานพื้นที่ในช่วงเปิดบริการ หัวใจสำคัญคือวัสดุที่ใช้ทำฟาซาดอย่าง พลาสติกใยแก้วเสริมแรง (GRP) สีขาวอะลาบาสเตอร์ทำเป็นบานประตูขนาด 1.1 x 3 เมตร โดยด้านนอกสลักเป็นแพตเทิร์นลวดลายกราฟิกที่เกี่ยวกับร้านฟิชแอนด์ชิปส์ บางพื้นที่สามารถพลิกกลายเป็นโต๊ะ หรือเปิดออกเป็นกันสาด พร้อมให้บริการที่นั่งเเบบเอ๊าต์ดอร์ เเถมยังเป็นกรอบหน้าบานสุดเท่สำหรับที่นั่งภายในร้านได้อีกด้วย เส้นสายของงานกราฟิกเชื่อมต่อจากบานประตูภายนอกเข้าสู่ภายในทุกส่วนเป็นกริดเส้นตรงเรขาคณิต ตั้งแต่พื้นที่ขนาดใหญ่อย่าง ครัว และเคาน์เตอร์บาร์ ไปจนถึงกริดขนาดเล็กที่สุดของร้านอย่าง พื้นผิวกระเบื้อง ทั้งนี้ยังไม่ลืมการเล่นกับไฟนีออน โดยนำมาใช้ทำเป็นชื่อร้านสีเเดงสด ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราคุ้นชินตา นับเป็นการจับมือกันระหว่างรูปลักษณ์โมเดิร์นแบบอังกฤษกับไลฟ์สไตล์สตรีทสบาย ๆ แบบจีนได้อย่างลงตัว […]
82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82
เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]
POWELL STREET HOUSE รีโนเวตบ้านเก่ายุค 1930 ให้ร่วมสมัย
POWELL STREET HOUSE ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองยาร์รา (Yarra) ในกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ตัวบ้านดั้งเดิมจากยุค 1930 แบ่งออกเป็นสองส่วนโดยมีทางเข้าแยกกัน สำนักงานสถาปนิก Robert Simeoni Architects จึงรีโนเวตบ้านเก่าเชื่อมต่อเป็นหลังเดียวอย่างสมบูรณ์ งานรีโนเวต ปรับปรุงเป็นไปภายใต้แนวคิดการเก็บรักษา และเคารพสภาพเดิมของอาคารให้มากที่สุด โดยคงผนังอาคารส่วนใหญ่ไว้ และมีการดัดแปลงเล็กน้อย เน้นการสร้างบรรยากาศที่เข้มขรึม นิ่งสงบ เช่นเดียวกับบ้านดั้งเดิม พร้อมทั้งสร้างมุมมองที่เชื่อมต่อกันตลอดผังพื้นเดิมที่ค่อนข้างเล็กและแคบ ส่วนต่อเติมใหม่ประกอบด้วยส่วนครัว พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องซักรีด โดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ที่ดูแตกต่างขัดแย้งอย่างชัดเจนกับบรรยากาศดั้งเดิม อาทิ เหล็กสีดำ กระจกลอนขุ่น และคอนกรีตขัดมัน บานหน้าต่างซิกแซกที่เปิดออกสู่คอร์ตยาร์ดคือจุดเด่นของบ้านและช่วยกรองแสงให้นุ่มนวล แตกต่างจากบ้านโดยทั่วไปมักนิยมเปิดรับรับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด พื้นที่นี้ได้รับการออกแบบให้มีดับเบิ้ลสเปซสูงโปร่ง ซึ่งมาพร้อมกับการวางตำแหน่งหน้าต่างในระดับสูง การเลือกใช้โทนสีเข้ม และการควบคุมปริมาณแสงสร้างความรู้สึกเงียบสงบราวกับวิหาร ทำให้เกิดเส้นแบ่งที่กำกวมระหว่างความเก่า และความใหม่ พื้นที่ภายใน และภายนอก นอกจากนี้ การเลือกใช้ชุดสียังสอดคล้องกับพื้นที่ใช้สอย ตอบรับกับสเปซ และแสงสว่างที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังช่วยเชื่อมโยงทุกพื้นที่เข้าด้วยกัน ส่วนชั้นบนใช้เป็นห้องนอนหลัก และห้องน้ำ รวมถึงห้องแต่งตัว ภายในห้องน้ำได้รับการออกแบบโดยใช้วัสดุที่สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมในยุค 1930 ของบ้านดั้งเดิม Robert Simeoni […]
ต่อเติมบ้าน เก่าให้โมเดิร์น พร้อมเชื่อมโยงสเปซเดิมผ่านเทอร์ราซโซ
บ้านรูปทรงกล่องภาพลักษณ์โมเดิร์นที่เกิดจากการปรับปรุง และ ต่อเติมบ้าน เก่าอายุสองทศวรรษ ให้ตอบโจทย์ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ร่วมกับบ้านหลังอื่นในที่ดินผืนเดียวกัน ดังนั้นนอกจากการ ต่อเติมบ้าน เพิ่มพื้นที่ใช้สอยแล้ว การออกแบบยังต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยด้วย เมื่อได้รับโจทย์เบื้องต้นจากทางเจ้าของบ้านให้รีโนเวตบ้านขนาดพื้นที่ 358 ตารางเมตร คุณเอกภาพ ดวงแก้ว ผู้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิก EKAR จึงเริ่มจากการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ ในการออกแบบ ทั้งด้านโครงสร้างเดิม พื้นที่ใช้สอย และรูปแบบของอาคาร โดยตัดสินใจปรับเปลี่ยนที่จอดรถใหม่ จากเดิมที่มีขนาดเล็ก คับแคบตามสไตล์บ้านยุคเก่า ให้กว้างขวางและเชื่อมต่อการใช้งานกับพื้นที่บ้านได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งต่อเติมอาคารบริเวณด้านหน้าบ้าน สำหรับพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้นล่าง และห้องนอนที่มีห้องแต่งตัว และห้องน้ำขนาดใหญ่ตามโจทย์ที่ได้รับจากเจ้าของบ้านบนชั้นสอง โดยออกแบบให้มีการเชื่อมพื้นที่ใช้สอยกับบ้านเดิมอย่างต่อเนื่องกลมกลืน คอร์ตขนาดเล็กที่เกิดขึ้นระหว่างบ้านเดิมและพื้นที่ต่อเติมช่วยดึงแสงสว่างเข้ามาในพื้นที่ใช้งานได้ตลอดวัน นอกจากนี้ ในส่วนของบ้านเดิม เมื่อทุบพื้นชั้น 2 เหนือห้องรับประทานอาหารออก ทำให้เกิดพื้นที่เปิดโล่งจากชั้นหนึ่งขึ้นไปจรดหลังคาของชั้นสอง (Double space) สร้างบรรยากาศโปร่งสบาย และดูโอ่โถง โดยเลือกกรุฝ้าเพดานให้ขนานไปกับแนวหลังคาทรงจั่ว และสร้างความน่าสนใจให้ฝ้าเพดานด้วยโครงสร้างไม้สีอ่อน กล่องไฟส่องสว่างพาดยาวต่อเนื่องจากผนังด้านหนึ่งถึงอีกด้าน สร้างเส้นนำสายตาให้เกิดความรู้สึกเชื่อมต่อของพื้นที่ระหว่างส่วนบ้านเก่ากับส่วนที่ต่อเติมใหม่ สำหรับการตกแต่งภายในเน้นความโปร่งโล่ง เลือกใช้สีโทนสว่างและเฟอร์นิเจอร์หลักเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งาน ส่วนต่อเติมใหม่กรุพื้นไม้ลามิเนตสีอุ่น ช่วยดึงความขรึมของพื้นหินขัดในบ้านเดิมให้ภาพรวมดูโมเดิร์น และมีชีวิตชีวามากขึ้น หากมองจากภายนอก ส่วนของบ้านที่ต่อเติมใหม่ด้านหน้าจะไม่มีช่องเปิดบนชั้นสอง เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว […]
HOEGAARDEN GREENHOUSE โอเอซิสแห่งการกินดื่มกลางสวนในร่มสีเขียว
อาคารเก่าพร้อมที่จอดรถ ถูกปรับโฉมให้เป็น Hoegaarden Greenhouse อาคารเรือนกระจกที่ตั้งอยู่ในย่าน Pinheiros เมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิล ที่เป็นมากกว่าบาร์และร้านอาหารทั่วไป โดดเด่นด้วยการออกแบบที่ได้แรงบันดาลใจมาจากจากหมู่บ้านของชาวเบลเยียม ซึ่งเป็นบ้านเกิดของยี่ห้อเบียร์ Hoegaarden บวกกับงานดีไซน์บนพื้นฐานของการใช้โครงสร้างอาคารแบบเรือนกระจก เรือนกระจกที่ชวนสะกดทุกสายตา กับฟาซาดระแนงไม้ด้านหน้าสามารถมองเห็นได้จากภายนอก ขณะเดียวกันช่องระแนงเหล่านี้ ก็ช่วยให้แสงสาดส่องเข้ามาภายใน โดยโถงด้านหน้าทำหน้าที่เป็นพื้นที่เปลี่ยนผ่านระหว่างโถงทางเดินเข้าร้านและบาร์ด้านในช่วยสร้างบรรยากาศที่ต่างกันของสเปซ ฝ้าเพดานสูงโปร่งโล่ง แซมด้วยโคมไฟห้อยเพดานสลับกับลูกเฟินและพลูด่างที่ห้อยจากฝ้าเพดาน สเปซโดยรวมจึงดูสว่างและโอบล้อมด้วยธรรมชาติรวมถึงเข้ากันได้ดีกับความเป็นสัจวัสดุอย่างการใช้คอนกรีต เหล็ก เเละไม้ โดยใช้เป็นโครงสร้างและการตกแต่งอาคาร บนพื้นที่ราว 360 ตารางเมตร ที่นี่รายล้อมด้วยพืชพรรณกว่า 264 ชนิด รวม 38 สายพันธุ์ ที่จัดวางไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้ผสานกับภูมิทัศน์ทางเสียงรอบๆ ตัว คล้ายเชื่อมโยงความหมายของสังคม โลก ผู้คนทุกชีวิต และธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งตั้งใจให้สะท้อนแนวคิดการเป็นพื้นที่ลมหายใจแห่งใหม่ของเมืองด้วยในเวลาเดียวกัน ข้อมูล เจ้าของ : Hoegaarden Brewery ออกแบบ : Metamoorfose Studio เวลาทำการ : อังคาร – […]
ออก แบบคอนโด พื้นที่จำกัดให้ตอบโจทย์แบบมัลติฟังก์ชั่น
เมื่อพื้นที่จำกัดกลายเป็นความท้าทายรูปแบบใหม่ที่ผลักดันให้ทีมสถาปนิกจาก Please Feel Invited ออก แบบคอนโด ขนาด 37 ตารางเมตร แห่งนี้ให้กลายเป็นพื้นที่ใช้ชีวิตแบบ ‘Super Functional’ แนวคิดการออกแบบที่ทำให้ขนาดพื้นที่ไม่ใช่ข้อจำกัดของการใช้งานอีกต่อไป จุดเริ่มต้นของการออก แบบคอนโด เริ่มจากที่ คุณสุทิวัส ยานะวิบุตร และน้องสาวได้ตัดสินใจซื้อห้องรูปแบบดูเพล็กซ์ (duplex) ในโครงการ Knightsbridge Prime Sathorn เพื่อใช้เป็นที่พักหลักใจกลางเมืองหลังจากการทำงาน ดังนั้น ที่นี่จึงต้องตอบโจทย์ความต้องการต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน รวมถึงต้องมีบรรยากาศที่ดูอบอุ่น ผ่อนคลาย เน้นความเรียบง่าย และดูแลรักษาได้สะดวก เจ้าของห้องเปิดโอกาสให้ทางสถาปนิกออกแบบได้อย่างเต็มที่โดยไม่ปิดกั้นไอเดีย เพื่อต้องการให้เกิดการตกแต่งรูปแบบใหม่สำหรับคอนโด อีกทั้งยังตั้งใจให้ผู้ที่สนใจสามารถนำแบบไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม จากโจทย์สำคัญที่ต้องการให้พื้นที่ทุกตารางนิ้วสามารถใช้งานได้ สถาปนิกจึงออกแบบให้ตู้เก็บของแบบมัลติฟังก์ชั่น ทำหน้าที่คล้ายผนังซึ่งเคลื่อนย้ายได้ เป็นหัวใจสำคัญ ในการสร้างสเปซรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเปิดโล่ง ปิดทึบ นอกจากนี้ ตู้ยังรับหน้าที่เป็นชั้นเก็บของ โต๊ะรับประทานอาหาร ที่รีดผ้า ฯลฯ โดยมีตู้เก็บของทั้งหมด 5 ตำแหน่ง ซึ่งประกอบด้วยตู้ที่ออกแบบให้มีรางเลื่อนเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนสเปซชั้นล่างได้ และตู้บิลท์อินที่เน้นเพิ่มพื้นที่เก็บของ และสร้างขอบเขตการใช้งาน […]
CASA M รีโนเวตบ้านเก่า เป็นบ้านโมเดิร์นดีไซน์ขี้เล่น เด่นด้วยบันไดเส้นสายโฉบเฉี่ยว
CASA M บ้านในประเทศบราซิล ที่เกิดจากการ รีโนเวตบ้านเก่า ให้ดูโฉบเฉี่ยวขึ้นทันตา ด้วยเส้นโครงสร้างบันไดเหล็กที่ตกแต่งอาคารไปในตัว ย้อนกลับไปที่นี่ได้รับการปรับปรุงและบูรณะมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง จนทำให้สูญเสียคุณค่าทางสถาปัตยกรรมไป จนกระทั่งได้รับการ รีโนเวตบ้านเก่า ใหม่ อีกครั้งหนึ่ง บอกเลยว่าคราวนี้มาในรูปลักษณ์ที่โมเดิร์นทันสมัย แถมยังดูเรียบง่าย ด้วยการเลือกใช้สีขาวที่ไม่มีวันเชย เพราะทีมสถาปนิกจาก Felipe Hess Arquitetos ได้ลงมือปรับปรุงบ้านนี้ขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการรื้อหลังคาหน้าจั่วออกเพื่อปรับพื้นที่เป็นชั้นดาดฟ้าสำหรับพักผ่อน รวมถึงประตู บันได และผนังรอบบ้านที่เปลี่ยนไปทั้งหมด ก่อนจะเพิ่มเติมพื้นที่การใช้งานใหม่ลงไปให้ตอบโจทย์สไตล์ของเจ้าของบ้าน เช่น โรงรถ สระว่ายน้ำ ห้องซาวน่า และมุมพักผ่อนที่มีให้เลือกใช้หลากหลายมุมในวันหยุด เมื่อมองจากภายนอก บ้านที่ผ่านการรีโนเวตใหม่หลังนี้ ดูโดดเด่นขึ้นด้วยรูปลักษณ์ที่เกิดจากการใช้บันไดเหล็กทำสีขาวเป็นองค์ประกอบ เชื่อมต่อกับการก่อสร้างอาคารด้านนอก จนกลายเป็นเส้นสายโฉบเฉี่ยวใช้ตกแต่งอาคารไปในตัว โดยอยู่ในลักษณะที่ไต่ระดับความสูงจากชั้นดาดฟ้าลงมาถึงชั้นล่าง พาดผ่านเฉลียงของห้องส่วนต่าง ๆ ก่อนเชื่อมต่อไปยังพื้นที่สระว่ายน้ำ เป็นลูกเล่นสนุก ๆ ดูเผิน ๆ เหมือนสไลเดอร์ที่พาทุกคนเลื่อนไหลลงมาจนพบกับสระว่ายน้ำสีฟ้า รอบ ๆ แวดล้อมด้วยสวนไม้ใบสีเขียวสดชื่นสบายตา ตัดกันกับตัวบ้านสีขาวสะอาด ให้ความรู้สึกที่แสนสบายเหมาะกับการพักผ่อน สีขาวถูกเลือกให้เป็นโทนสีหลัก บ่งบอกถึงความเรียบง่าย และช่วยขับองค์ประกอบที่มีสีสันให้เด่นชัดยิ่งขึ้น สีขาวปรากฏให้เห็นทั้งบนพื้นกระเบื้องโมเสก พื้นที่ภายในและภายนอกบ้าน […]
CHIC 39 GARDEN CAFE MAERIM ร้านอาหารเปิดรับวิวธรรมชาติกลางสวนดอกไม้
Chic 39 Garden Cafe Maerim จากที่เคยเป็นแลนด์มาร์กให้กับการท่องเที่ยวเชียงใหม่มาสักพักใหญ่ ก็ถึงเวลาที่ Chic 39 จะต้องปรับเปลี่ยนงานดีไซน์ให้ตอบรับการไลฟ์สไตล์ และขยายการให้บริการมากขึ้น โดยครอบคลุมเนื้อที่อาคารทั้ง 3 ชั้น รวมทั้งสร้างบรรยากาศการนั่งรับประทานอาหารที่หลากหลาย จากบริบทที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนดอกไม้ ทอดสายตาออกไปมองเห็นทิวทัศน์สวยงามรอบทิศ สถาปนิกได้เลือกใช้แนวคิดของเรือนเพาะชำมาเป็นแกนหลักของการออกแบบ Chic 39 Garden Cafe Maerim เปรียบเทียบว่าชีวิตมนุษย์ก็เหมือนกับต้นไม้ที่มีความต้องการและความชื่นชอบแสงแดด นำมาสู่การจัดสรรพื้นที่สำหรับนั่งแฮ้งเอ๊าต์ที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบตามความต้องการ ทั้งมุมที่เปิดรับวิวธรรมชาติ มีความเป็นส่วนตัว เเบบเอ๊าต์ดอร์เเละกึ่งเอ๊าต์ดอร์ หรือจะเป็นพื้นที่นั่งแบบเป็นทางการ โดยพื้นที่ทุกส่วนจะมีต้นไม้เข้ามาเป็นองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับโครงสร้างในแต่ละจุด ช่วยสร้างความร่มรื่นเน้นคอนเซ็ปต์ของเรือนเพาะชำได้อย่างชัดเจน อีกจุดหนึ่งคือการเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายสั่งจากแหล่งผู้ผลิตในท้องถิ่นโดยตรง มีกิมมิกด้วยการนำชื่อเรียกดอกไม้มาใช้กับลวดลายกราฟิกของวัสดุเเต่ละชนิด เช่น กระลกลายดอกพิกุล อิฐลายดอกมะลิ เเละบล็อกช่องลมลายดอกไม้ ซึ่งส่วนประกอบของงานกราฟิกที่สัมผัสได้ด้วยตาเหล่านี้ ได้เข้ามาช่วยเติมคอนเซ็ปต์ความเป็นสวนดอกไม้ได้อย่างชัดเจนเเละเป็นรูปธรรม Idea to Steal ใช้ลวดลายกราฟิกจากวัสดุชนิดต่าง ๆ มาทำหน้าที่แบ่งกั้นสเปซ เป็นอีกไอเดียหนึ่งที่ทั้งสวยเเละน่าสนใจ หรือจะใช้สร้างเป็นกรอบช่วยเสริมงานดีไซน์ส่วนอื่นให้เด่นชัดขึ้นก็ได้ ที่ตั้ง 240 หมู่4 ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เวลาทำการ เปิดทุกวัน […]
FABCAFE NAGOYA โชว์ศิลปะงานไม้ดั้งเดิมหาชมยาก ให้คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ได้สัมผัส
หยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของ FabCafe Nagoya สะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัส ไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์คาเฟ่ฮอปปิ้งที่คนยุคนี้นิยม FabCafe Nagoya โปรเจ็กต์งานออกแบบคาเฟ่ของสถาปนิกสัญชาติญี่ปุ่น Suppose Design Office ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการหยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของคาเฟ่ทรงกล่องคอนกรีตขนาด 280 ตารางเมตร ที่ “Hisaya-odori Park”แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองนาโกย่า ภายในได้รับการออกแบบให้บรรจุด้วยงานไม้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้มาออกแบบที่พักอาศัยของชาวญี่ปุ่น เด่นสะดุดตากับโครงหลังคาไม้ ที่อยู่ใต้ฝ้าเปล่าเปลือยโชว์ให้เห็นท่องานระบบ สร้างความรู้สึกราวกับยกบ้านไม้โบราณมาคลุมพื้นที่เอาไว้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สัมผัสได้ยาก ท่ามกลางความเจริญของเมืองคอนกรีตยุคใหม่ นอกจากนี้ยังมีการนำไม้มาตกแต่งบริเวณหน้าเคาน์เตอร์ รวมถึงเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้หลายชิ้น โดยเฉพาะโครงขาที่โชว์ภูมิปัญญาการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอต หรือสกรูใด ๆ ทำให้ผู้มาเยือนคาเฟ่ได้สัมผัสทั้งบรรยากาศความอบอุ่นที่มีไม้เข้ามาเป็นส่วนประกอบ เหนือกว่านั้นคือการได้มองเห็นเสน่ห์อันน่าทึ่งของศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม นำมาสู่การมองเห็นคุณค่าและการอนุรักษ์ตามมา Did You Know FabCafe ในไทยนั้น ดำเนินงานโดย FabCafe Bangkok ตั้งอยู่ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center(TCDC) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือชมผลงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามลิงก์ข้างต้น […]
THE BARISTRO ASIAN STYLE รีโนเวตบ้านเก่าเชิงดอยสุเทพ เป็นคาเฟ่ไม้กลิ่นอายโมเดิร์นเอเชียน
The Baristro Asian Style คาเฟ่สาขาใหม่ภายใต้แบรนด์ The Baristro ที่เกิดจากการรีโนเวตบ้านเก่าชั้นเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กลายเป็นคาเฟ่ไม้ โดดเด่นอยู่บนเนินหญ้าสีเขียว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ผลงานการออกแบบโดย pommballstudio ภายใต้คอนเซ็ปต์การนำภาพจำของบรรยากาศแบบเอเชียหลากหลายประเทศมาผสมผสานกันแบบหยิบเล็กผสมน้อย โชว์วัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อบอกเล่าภาพความเป็น Asian Style ให้ยิ่งชัดเจนขึ้น The Barissian ต้อนรับทุกคนด้วยอาคารหลักด้านหน้า โดยออกแบบให้เป็น Speed Bar สถาปนิกเล่าว่า เดิมพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียวมีสภาพทรุดโทรมมาก่อน หลังจากสำรวจพื้นที่แล้ว จึงนำมาสู่แนวคิดการออกแบบอาคาร ด้วยการยังคงเก็บรายละเอียดโครงสร้างที่แข็งแรงไว้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเสาเดิม และหลังคาแบบ Flat Slab เสมือนเป็นเครื่องช่วยย้ำเตือนถึงที่มาก่อนเปลี่ยนโฉมใหม่ ให้บ้านเก่ากลายเป็นคาเฟ่ไม้บนเนินหญ้า ที่มองทะลุเห็นบรรยากาศด้านในผ่านผนังกระจกใสรอบทิศ “ตอนวางมาสเตอร์แปลนเราพยายามวางอาคารให้แยกกัน รวมถึงอาคารหลังอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในเฟสต่อไป โดยมีแรงบันดาลใจมาจากหมู่บ้านของชาวเอเชีย ซึ่งมีอาคารอยู่คนละหลัง แล้วถูกเชื่อมด้วยคอร์ตยาร์ด ลานวัด หรือลานกลางหมู่บ้าน ดังนั้นเมื่อเข้าด้านในแล้ว เหมือนเรากำลังเดินอยู่ในหมู่บ้าน ผ่านเส้นทางสัญจรที่ลื่นไหล และค่อนข้างกว้าง สำหรับให้ลูกค้าได้ใช้เวลาพักผ่อนเดินเล่น ออกไปสัมผัสกับมุมมองภายนอกต่าง ๆ […]
วัสดุบ้านๆ ปรับใช้ในแนวใหม่ “DOMESTIC ALTERNATIVE MATERIALS” by THINKK Studio
วัสดุบ้านๆ เปลือกหอย กระดองปู ขวดแก้ว ผักตบชวา กากกาแฟ ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว กาบหมาก และเศษผ้า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัสดุที่ถูกนำมาพัฒนาขึ้นรูปเป็นแท่งสี่เหลี่ยม คล้ายกับท่อนโลหะรูปพรรณ หรือไม้แปรรูปในท้องตลาด เพื่อหาแนวทางการนำไปใช้ทดแทน หรือใช้ร่วมกับวัสดุต่างชนิดกัน อย่างการนำเสนอเป็นเฟอร์นิเจอร์ และโคมไฟ เพื่อทดสอบและท้าทายศักยภาพของวัสดุให้ได้มากที่สุด โดยโปรเจ็กต์นี้เป็นภาพใหญ่และทิศทางที่สำคัญหนึ่งของ THINKK Studio ในปัจจุบันและอนาคต โดยการเริ่มต้นครั้งนี้ ได้มีน้อง ๆ Graduate Internship คือ แนน-ชนิกานต์ จรัล ,โฟน-กิตติภณ โสดาตา และ เจด-เจษฎา สุพรรณโอชากุล มาช่วยในการทดลอง และจัดทำต้นแบบวัสดุร่วมกับทางสตูดิโอด้วย Domestic Alternative Materials เป็นการเสาะหา ค้นคว้าทดลอง เพื่อหาวัสดุทางเลือกในประเทศ จากเศษวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาสร้างเอกลักษณ์และตัวตนใหม่อีกครั้ง ก่อนพัฒนาศักยภาพสู่การแข่งขันในเวทีโลก รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรใหม่ที่เริ่มขาดแคลนลงทุกที “DOMESTIC” ในมุมมองที่สนใจ หรือนึกถึงเป็นอันดับแรกคือศักยภาพของประเทศในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสตูดิโอ ซึ่ง “วัสดุ” น่าจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องเลือกใช้ในการผลิต และสร้างสิ่งต่าง […]
TROPICAL CHALET วิลล่าหลังใหญ่ริมทะเลสาบ ไอเดียออกแบบบ้านอิฐจากเมืองดานัง
วิลล่าริมทะเลสาบสำหรับครอบครัวใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่ายของบริบทอันงดงาม ผ่านการออกแบบที่มีการนำ “อิฐ” วัสดุท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม มาใช้เป็นวัสดุหลัก ออกแบบบ้านอิฐ ซึ่งอิฐในประเทศเวียดนามนั้น ถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 4 เพราะเหมาะกับการสร้างบ้านในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เนื่องจากเนื้อวัสดุมีรูพรุนจึงทำหน้าที่ระบายความร้อนช่วยให้บ้านเย็น และเป็นฉนวนได้อย่างดี อีกทั้งยังนำมาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมได้หลายรูปแบบ เช่นการเรียงต่อกันแบบเว้นช่องว่าง เพื่อสร้างลวดลายที่สวยงามอย่างบ้านหลังนี้ โดยจับคู่กับไม้ และพื้นผิวคอนกรีต ออกแบบบ้านอิฐ ตัวอาคารได้รับการออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) รอบบ้านเป็นสวนขนาดใหญ่ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ออกมาใช้เวลาในการพักผ่อนร่วมกัน องค์ประกอบหลัก ๆ ของอาคารมีอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือช่องว่างของฟาซาดอิฐ ช่วยทำหน้าที่สร้างความสวยงามให้แก่อาคาร ไปพร้อม ๆ กับการทำหน้าที่เป็นแผงบังแดด เมื่อเข้ามาที่ชั้นล่างจะพบกับพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น และห้องครัว จะสามารถชื่นชมวิวสวนที่แสนร่มรื่น และสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด ประการที่สอง คือรูปแบบอันโดดเด่นของหลังคาทรงเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม ที่วางตัวต่อเนื่องกันคล้ายลูกคลื่น ช่วยทำให้เกิดมุมมองที่ไม่ซ้ำใคร เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นส่วนผสมของวัสดุต่างชนิดกันอย่าง เสาและคานคอนกรีตแว็กซ์พื้นผิวเรียบ ทำหน้าที่เป็นกรอบโครงสร้างให้แก่หลังคากระเบื้องดินเผาที่ต่อเนื่องกัน และเป็นเส้นแนวยาวลงมาด้านล่าง หรือเป็นเสาให้แก่อาคาร เสริมความแข็งแรง และความทนทานให้แก่โครงสร้าง จากเหตุผลของการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ร่วมกับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยแบบโปร่งโล่ง […]