- Home
- room
room
CITY LIVING ROOM คอมมูนิตี้มอลล์ สุดคูลริมแม่น้ำ ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ประจำเมือง
โปรเจ็กต์งานออกแบบ คอมมูนิตี้มอลล์ สีขาว ให้เป็นพื้นที่พบปะและทำกิจกรรมใหม่ของเมืองจินหัว บนพื้นที่ทำเลดีริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab หลังจากชิงช้าสวรรค์ของเล่นชิ้นสุดท้ายถูกรื้อถอนออกไปจากสวนสนุกในเมืองจินหัว ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ห่างจากทะเลสาบ Mingyue ไปทางใต้ 300 เมตร ที่ดินผืนนี้ก็กลายเป็นพื้นที่รกร้าง และอยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน จนกระทั่งปี 2021 ที่นี่ได้รับการพลิกฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้ง ภายใต้บทบาทใหม่ด้วยการออกแบบให้เป็น คอมมูนิตี้มอลล์ ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยราว 1,050 ตารางเมตร ประกอบด้วยกลุ่มอาคารสีขาวขนาดใหญ่ เปลือกอาคารดีไซน์คล้ายชายกระโปรงโบกพลิ้ว โดยตั้งใจให้ที่นี่เป็นเสมือนห้องนั่งเล่นใหม่ของชาวเมือง “สัญลักษณ์ใหม่ของเมือง” ที่ว่านี้ คือผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab โดยต้องการให้ที่นี่มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมดูแตกต่างจากอาคารทั่วไป ขับเคลื่อนแนวคิดที่เป็นนามธรรมภายใต้โจทย์ว่า ที่นี่คล้ายโรงละคร หรือเปรียบการใช้ชีวิตของผู้คนเหมือนละครที่ดำเนินชีวิตไปตามบทบาทของตนเอง จากแนวคิดดังกล่าวถูกคลี่คลายออกมาเป็นรูปธรรม ผ่านตัวอาคาร และพื้นที่ใช้สอยที่ตอบสนองต่อการใช้ชีวิต เน้นให้เกิดความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย ไม่ต่างจากชื่อ “City Living Room” แต่ละกลุ่มอาคารประกอบด้วยร้านกาแฟ ร้านค้า พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่าง […]
KHI HOUSE & ART SPACE บ้านสีขาวรูปเครื่องบินกลางสวนมะกอก เสพวิวทะเลแบบไม่มีอะไรกั้น
บ้านสีขาว ของคู่รักศิลปิน กับบ้านหน้าตาสุดล้ำดูคล้ายเครื่องบิน ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนมะกอกตอนใต้ของคาบสมุทรเพโลพอนนีส ประเทศกรีซ นอกจากวิวสวนมะกอกที่กว้างไกลแล้ว บ้านสีขาว รูปทรงแปลกตานี้ ยังเปิดรับวิวทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้อย่างเต็มอิ่ม จากข้อดีด้านทำเลดังกล่าว Theo Sarantoglou Lalis และ Dora Sweijd สถาปนิกจาก LASSA architects จึงเลือกหยิบทัศนียภาพที่ได้เปรียบนี้ มาเป็นแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม ให้สามารถเปิดรับวิวแบบอะเมซิ่งได้รอบทิศทาง แปลนของบ้านที่มีรูปทรงคล้ายเครื่องบิน หรืออักษรรูปตัวเอ็กซ์ (X) นั้น ถูกแบ่งพื้นที่การใช้งานหลัก ๆ ออกเป็นอาคารฝั่งตะวันออกที่ออกแบบให้มีระดับความสูงเท่ากับเรือนพุ่มของต้นมะกอก จึงมองเห็นวิวต้นมะกอกที่ปลูกเรียงเป็นแถวสีเขียวอยู่รายรอบบ้าน ทั้งยังเปิดรับแสงยามเช้าได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีดีเทลการออกแบบ อันเป็นเสมือนเครื่องมือช่วยกำหนดขอบเขตให้แก่ตัวบ้านอย่าง ผนังคอนกรีตหล่อ ที่ได้รับการดีไซน์ให้ดูคล้ายระลอกคลื่นสีขาวยาวต่อเนื่องกัน โดยความสูงของผนังจะไล่ระดับสูงต่ำตามพื้นที่ และเป็นเส้นโค้งไปตามรูปทรงของแบบบ้าน เป็นผลพลอยได้ให้เกิดเป็นฉากหลังรับเงาตกกระทบของต้นไม้ดูสวยงาม ภายในบ้านแต่ละห้องสามารถขยายมุมมองต่อเนื่องออกไปยังโถงกว้างด้านใน และระเบียงด้านนอกได้แบบไม่มีผนังกั้น ทำให้เกิดมุมมองเปิดกว้างเชิงขยาย ช่วยลดความเบื่อหน่ายที่จะต้องอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ โดยเฉพาะมุมปีกสวนกรวดเล็ก ๆ ที่ออกแบบให้มีขอบผนังทรงโค้งขนาดสูง ทำหน้าเป็นเสมือนเฟรมให้แก่วิวท้องฟ้าเบื้องบน ดูสวยงามเป็นพิเศษยามที่พระอาทิตย์ตกดิน เพราะแสงสีส้มอมชมพูจะดูตัดกันกับผนังสีขาวสร้างบรรยากาศที่ชวนสดใส อีกทั้งยังมีชั้นดาดฟ้าให้ขึ้นไปทอดสายตาชมวิวได้ด้วย นอกจากดีไซน์เรื่องรูปทรงที่แปลกตาไม่เหมือนใครแล้ว การใช้วัสดุก็เป็นอีกสิ่งที่สถาปนิกให้ความสำคัญ โดยให้ความเชื่อมั่นกับฝีมือของผู้รับเหมาในท้องถิ่น ภายใต้การควบคุมคุณภาพงานโดยสถาปนิกเองอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็ได้ร่วมมือกับบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์โพลีสไตรีน […]
ISAN CUBISM หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสาน สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยบอกเล่าอัตลักษณ์ไทย
“ISAN Cubism” หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสานพัฒนาสู่โปรดักต์ดีไซน์ ที่มีต้นทุนมาจากวัฒนธรรมการทอผ้าลายขิด งานไม้ และฮูปแต้มในสิม เพื่อบอกเล่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง ในการสร้างสรรค์ลวดลายอย่างง่าย ผ่านรูปทรงเรขาคณิตอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ จากคุณค่าดังกล่าวได้รับการบอกเล่าผ่าน ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ภายใต้แบรนด์ ISAN Cubism หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จุดเริ่มต้น ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ทั้งคู่คืออาจารย์ผู้สอนด้าน Industrial design สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากอุดมการณ์ร่วมกันที่อยากให้งานดีไซน์รับใช้ท้องถิ่น โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ได้มีความเข้าใจและภูมิใจ ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน นำมาสู่แนวทางการสอนและการลงมือทำจริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “ISAN Cubism” “เรามีความคิดกันว่าจะสอนอะไรพวกเขาดี เพราะในกรุงเทพฯ เราจะเห็นงานดีไซน์ที่มีความเป็นสากล แต่พอมาอยู่ที่อีสาน ผมมองว่านักศึกษาที่เรียนออกแบบในพื้นที่ พวกเขามีวัตถุดิบ ไม่ค่อยมีคนดีไซด์งานใหม่ ๆ […]
YUZU OMAKASE ร้านโอมากาเสะใจกลางสยามสแควร์ ดีทั้งเมนูและบริการระดับพรีเมียม
Yuzu Omakase ร้านอาหารญี่ปุ่นแบบ ‘โอมากาเสะ’ หรือ Chef’s Table ใจกลางกรุง ตั้งอยู่บนชั้นสองของอาคารพาณิชย์ในสยามสแควร์ซอย 3 ที่ได้รับการแปลงโฉมจากร้านหนังสือเก่า ให้กลายเป็นร้านอาหารบรรยากาศเรียบง่าย ช่วยขับเน้นทุกเมนูสุดพิเศษให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ประตูทางเข้ารูปวงกลมสะท้อนกลิ่นอายวัฒนธรรมตะวันออก เมื่อเข้าไปภายในจะพบกับต้นส้มยูซุตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่รูปตัวยู (U) เนื่องจากเป็นทั้งพื้นที่ครัวเปิดของเชฟและเป็นพื้นที่นั่งรับประทานอาหาร ดังนั้นพื้นที่เคาน์เตอร์จึงได้รับการออกแบบให้เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชฟกับลูกค้าเป็นพิเศษ เมนูอาหารญี่ปุ่นของที่นี่ได้รับการสร้างสรรค์ให้เกิดการผสมผสานระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงมีการใช้วัตถุดิบจากทั่วทุกมุมโลกตามฤดูกาล ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ภายในร้านจึงมีการลดทอนให้ดูมีความร่วมสมัย กลมกลืน เรียบง่ายมากกว่าจะมีลักษณะของความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิม ขณะเดียวกันก็ไม่โดดเด่นเสียจนข่มความงามละเมียดละไมของอาหารแต่ละจาน วัสดุเน้นใช้ไม้สีอ่อน ตกแต่งด้วยสีทองเพิ่มมิติให้กับสเปซ รวมถึงมีการจัดแสงสว่างช่วยขับเน้นอาหารบนโต๊ะให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น IDEA TO STEAL ออกแบบเคาน์เตอร์ให้ตอบโจทย์การใช้งาน โดยความกว้างของเคาน์เตอร์ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือพื้นที่ทำอาหารประเภทซูชิ ส่วนที่สองคือพื้นที่ยกระดับสำหรับการเสิร์ฟ และส่วนสุดท้ายคือโต๊ะสำหรับรับประทานอาหารของลูกค้า โดยความสูงอาจเป็นแบบเคาน์เตอร์บาร์ หรือความสูงแบบโต๊ะอาหารปกติทั่วไป ข้อมูล เจ้าของ : คุณปรมินทร์ เปรื่องเมธางกูร ที่ตั้ง258/9-10 สยามสแควร์ซอย 3 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เวลาทำการทุกวัน […]
บ้านในสถาปัตยกรรม โมเดิร์นทรอปิคัล ริมน้ำแม่กลอง
ครอบครัวอารยอสนี เติบโตและประกอบธุรกิจที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มายาวนาน จึงตั้งใจจะสร้างบ้านหลังใหม่ในพื้นที่ที่ตนเองและครอบครัวมีความผูกพันมาตลอด กระทั่งได้ที่ดินผืนงามติดกับคุ้งน้ำ ซึ่งเป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญ 2 สาย อันเป็นเส้นทางหลักที่นักท่องเที่ยวมักนั่งเรือโดยสารไปทำบุญ 9 วัด และชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน ด้วยศักยภาพของทำเลที่ตั้งดังกล่าว จึงเป็นโจทย์ท้าทายให้สถาปนิกจาก D minus plus B ต้องออกแบบบ้านหลังใหม่สไตล์ โมเดิร์นทรอปิคัล ที่โดดเด่น หรือเป็นภาพจำให้แก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ราวกับเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กที่จะถูกกล่าวถึงในอัมพวา พร้อมๆ กับตอบโจทย์การอยู่อาศัยในทุกแง่มุม เนื่องจากบ้านหลังนี้ทางครอบครัวอารยอสนีตั้งใจจะให้เป็นบ้านที่อยู่ประจำ พื้นที่ใช้สอยจึงมีขนาดใหญ่ถึง 1,500 ตารางเมตร โดยใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างนานถึง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ ทั้งนี้ทางเจ้าของบ้านได้เปิดโอกาสให้สถาปนิกเสนอไอเดียได้อย่างเต็มที่ เพียงแค่ขอให้บ้านอยู่แล้วรู้สึกโปร่งโล่งในสไตล์ โมเดิร์นทรอปิคัล สามารถรับวิวและธรรมชาติอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ของอัมพวาได้อย่างเต็มที่ เมื่อได้โจทย์เบื้องต้นมาแล้ว สถาปนิกจึงเริ่มกำหนดตำแหน่งพื้นที่ใช้สอย และขนาดห้องต่าง ๆ ไปพร้อมกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายนอกไปพร้อมกัน ส่วนพื้นที่ใช้สอยถูกแบ่งอย่างชัดเจนด้วยกำแพงขนาดใหญ่บริเวณทางเข้าหลักของบ้าน นอกจากจะสร้างเพื่อความเป็นส่วนตัวจากสายตาคนภายนอก ไม่ให้มองเข้ามาเห็นพื้นที่ส่วนตัวในบ้านแล้ว ยังใช้กำแพงหินนี้ช่วยสร้างมุมมองที่เรียกว่า Surprise Space ก่อนเปิดเข้าไปพบกับโถงทางเดินที่สามารถมองทะลุไปยังแม่น้ำแม่กลองได้ โดยสถาปนิกได้วางตำแหน่งของพื้นที่ใช้สอยไว้ทั้งสองฝั่งโถงทางเดินที่มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งภายนอกอาคาร ฝั่งซ้ายเป็นห้องนอนแขก ห้องเกม และสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสร้างความรู้สึกว่าแม่น้ำและบ้านได้ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน […]
NT’s Habitat บ้านอิฐ กับลูกเล่นช่วยเพิ่มแสงและลมให้บ้านเย็น
บ้านอิฐ สีแดง NT’s Habitat เกิดจากการเปลี่ยนโกดังขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเมืองฟานเทียต ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งตลอดทั้งปี ให้กลายเป็นบ้านที่น่ารักสำหรับครอบครัว 4 คน ให้การอยู่อาศัยรู้สึกถึงความสบายทั้งอากาศและบรรยากาศ ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกจาก Flex.atelier ได้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจและสังเกตสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นก่อนออกแบบ บ้านอิฐ หลังนี้ ที่ไม่เพียงแต่ปรับปรุงการดำรงชีวิตให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกด้วย การออกแบบบ้านประกอบด้วยพื้นที่เปิดสำหรับเชื่อมต่อและพื้นที่ปิดเพื่อความเป็นส่วนตัว พื้นที่ปิดประกอบด้วยห้องนอน และห้องน้ำ ขณะที่พื้นที่เปิดโล่งประกอบด้วยพื้นที่ทำงาน ห้องครัว และสนามเด็กเล่น ทั้งหมดเชื่อมต่อกับสกายไลท์กลางบ้าน ซึ่งมีจุดประสงค์หลายประการ ประการแรกคือ ช่วยเพิ่มการระบายอากาศลดความร้อน และประการที่สองคือ ให้แสงธรรมชาติส่องสว่างได้อย่างทั่วถึงในเวลากลางวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ด้านโครงสร้างสถาปนิกใช้เทคนิคคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่มีความสูงกว่าปกติเพื่อกักเก็บอากาศเย็นให้ได้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจคือส่วนหน้าของอาคารที่ประกอบขึ้นจากอิฐดินเผาสีแดง วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ก่อนนำมาเรียงต่อกันเป็นแพตเทิร์นอย่างระมัดระวัง นอกจากเพิ่มความสวยงามให้แก่เปลือกอาคารด้านหน้าแล้ว ช่องว่างของอิฐยังทำหน้าที่ระบายอากาศ และยอมให้แสงลอดผ่านเข้ามาได้เพิ่มเติมจากสกายไลท์ชั้นหนึ่งของบ้านถือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวจะได้มาใช้เวลาร่วมกันมากที่สุด โดยออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ที่มีมุมมองเปิดโล่งและดูแลบุตรหลานได้ง่าย มีห้องสมุดเล็ก ๆ อยู่ใต้บันได ให้เด็ก ๆ ได้นั่งอ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังมีมุมรับประทานอาหารแบบสบาย ๆ ส่วนชั้นสองโดยเฉพาะห้องนอนใหญ่ด้านหน้า ออกแบบให้รู้สึกถึงความอบอุ่นด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้ากันดีกับฟาซาดอิฐผืนใหญ่ มีความพิเศษอันเกิดจากแสงที่ลอดผ่านช่องอิฐเข้ามา เป็นแพตเทิร์นของเงาที่ทาบลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ของห้อง โดยจะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลา […]
JOUER ชุมชนสร้างสรรค์ในกลุ่มบ้านเก่าย่านสุขุมวิท
ท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านใจกลางกรุง ซอยสุขุมวิท 32 คือซอยเล็ก ๆ ที่แทรกตัวอยู่ข้างอาคารคอนโดมิเนียมสูงตระหง่าน โดยมี Jouer (ฌูเอ้) ชุมชนสร้างสรรค์ขนาดย่อมตั้งอยู่บนที่ดินด้านในสุด ประกอบไปด้วยร้านตัดผม คาเฟ่ขนมหวาน ร้านทำเล็บ ร้านเฟอร์นิเจอร์ สำนักงานสถาปนิก สตูดิโอสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ Risograph ไปจนถึงแกลเลอรี่ศิลปะ ทั้งหมดนี้หลอมรวมอยู่ใน “กลุ่มบ้าน” ย้อนยุค 4 หลังท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่ม ที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งรวมคนทำงานสร้างสรรค์ เปิดให้ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะเข้ามาเยี่ยมชมได้อย่างอิสระ แถมในบางช่วงยังมีตลาดนัดศิลปะตามวาระอีกด้วย Jouer มีจุดเริ่มต้นจาก Dai Mogi เจ้าของร้านตัดผม Rikyu ในเครือของ Boy Tokyo ที่มีชื่อเสียงมานานแล้วกว่า 20 ปี ในประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้านการผสมผสานการตัดผมเข้ากับศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ และได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นสาขาแรกในต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2553 จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Rikyu ได้ย้ายถิ่นฐานจากซอยสุขุมวิท 24 มายังซอยสุขุมวิท 32 แห่งนี้ แต่แทนที่จะทำร้านตัดผมเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้ชักชวนเพื่อน ๆ ในวงการสร้างสรรค์หลายสาขาวิชาชีพให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวใหญ่ด้วยกัน […]
KAITHONG ORIGINAL สาขาใหม่สีขาวบริสุทธิ์ ตัวแทนความจริงใจที่บอกเล่ารสชาติอาหารคุณภาพ
ไก่ทอง ออริจินัล สาขาเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ถ่ายทอดบรรยากาศธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เหมือนอาหารที่ปรุงจากใจทุกเมนู ไก่ทอง ออริจันัล ร้านอาหารไทยสไตล์ออเรียลทัลที่ส่งต่อความอร่อยมายาวนานกว่า 24 ปี ล่าสุดกับการเปิดสาขาที่ 4 ที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี โดยคุณหนู-แสงอรุณ มนตรีวัต ผู้บริหารและสานแบรนด์ต่อจากคุณแม่อรุณี มนตรีวัต ยังคงเน้นย้ำคุณภาพอาหารที่ปรุงจากใจ เพื่อมอบให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารอร่อย ๆ ไม่ว่าจะสาขาไหนรับรองไม่ผิดหวัง และสำหรับสาขานี้ ขอเน้นการบริการที่โฟกัสและดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ กับจำนวนที่นั่งที่รองรับลูกค้าเพียง 12 โต๊ะเท่านั้น ท่ามกลางบรรยากาศปลอดโปร่งสบาย ๆ สัมผัสได้ถึงความฮาโมนี มีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มเรื่องราว สื่อถึงความความรักอันบริสุทธิ์และจริงใจ เหมือนแม่ที่คัดสรรแต่อาหารคุณภาพดีให้คนในครอบครัวได้รับประทาน โดยครั้งนี้ดีไซเนอร์จาก Trimode Studio ขอเลือกหยิบแนวคิดความเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ เพราะธรรมชาติถือเป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง และเป็นผู้ให้อย่างไม่มีเงื่อนไข ดุจเดียวกับความรักของแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้านไก่ทองตั้งใจมอบให้แก่ลูกค้ามาโดยตลอด จากความหมายอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ได้รับการคลี่คลายผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความเป็นงานคราฟต์ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างงานอันเป็นเอกลักษณ์ของ Trimode Studio รวมเข้ากับโจทย์ของคุณหนูที่ต้องการให้ร้านมีบรรยากาศลักชัวรี่เหนือกาลเวลาและเรียบง่ายไปพร้อมกัน ภายใต้ข้อดีของทำเลที่มีช่องแสงขนาดใหญ่ถึงสามด้าน ดีไซเนอร์จึงนำแสงมาเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพื่อเชื่อมโยงแสงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน กลายมาเป็นงานดีไซน์ที่ชวนให้จินตนาการถึงถ้ำในธรรมชาติ ที่พาทุกคนลัดเลาะผ่านสเปซทางเข้าด้านหน้า ก่อนเผยให้เห็นสเปซโล่งกว้างด้านใน […]
EASTERNGLASS CAFE คาเฟ่ในโรงงานทำแก้วแฮนด์เมด ได้อารมณ์อินดัสเทรียลสุดเท่แบบแท้ ๆ
ปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในยุคโควิด-19 ให้คนไทยรู้จักแบรนด์แก้วทำมือสุดประณีตรายใหญ่แห่งเดียวในกรุงเทพฯ กับการเปลี่ยนพื้นที่ในโรงงานให้เป็นคาเฟ่ เต็มอิ่มกับบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่ ๆ พร้อมเล่าเรื่องราวความเป็นมาของโรงงานแก้วบูรพา หรือ EasternGlass Manufacturer Co., Ltd ที่ดำเนินงานมากว่า 70 ปี EasternGlass Cafe จากพื้นที่ที่เคยเป็นส่วนของสำนักงานด้านหน้า มาวันนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็น EasternGlass Cafe สไตล์อินดัสเทรียลสุดเท่ ให้บรรยากาศของการมาเยือนโรงงานแท้ ๆ เชื่อมต่อกับโกดังขนาดใหญ่ เปิดต้อนรับลูกค้าให้เข้ามาพักผ่อนจิบกาแฟอร่อย ๆ พร้อมกับช้อปปิ้งแก้วแฮนด์เมดสวย ๆ เกรดส่งออกสุดประณีต โดยฝีมือจากช่างเป่าแก้วชาวไทย ซึ่งยังคงดำรงวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมมาตลอด ที่นี่จึงถือเป็นโรงงานผลิตแก้วทำมือเพียงแห่งเดียวและเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตลอดการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การทำโป๊ะแก้วครอบโคมไฟสมัยคุณปู่ เรื่อยมาถึงรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ และคุณอา ที่เน้นส่งออกผลิตภัณฑ์แก้วหลากหลายรูปแบบ จนถึงทายาทรุ่นที่สามในยุคปัจจุบัน สินค้าของโรงงานเน้นส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศกว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์ กระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงแรม ร้านอาหาร และแบรนด์ของตกแต่งบ้าน ในแถบประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวียน โรงงานจึงถึงคราวต้องปรับตัวเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ ด้วยการบริหารของคุณปีเตอร์-พีรัท จงอัศญากุล โดยเขาได้เล่าถึงการกลับมาตีตลาดในไทย และเปิดพื้นที่ให้ลูกค้าได้เข้ามาสัมผัสคาเฟ่ในโรงงานว่า “ช่วงหลังเราเพิ่งเห็นเทรนด์เมืองไทยว่า ลูกค้าให้ความสนใจกับการตกแต่งบ้านมากขึ้น รวมทั้งเหล่าดีไซเนอร์ที่ต้องการพร็อปส์ที่เป็นงานคราฟต์ […]
บ้านหน้าแคบ โชว์คานคอนกรีตดิบ ๆ กับฟาซาดมีชีวิตจากเหล่าต้นไม้สีเขียว
บ้านหน้าแคบ ขนาดจำกัด ที่เจ้าของอยากมีพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อน ดื่มด่ำกับธรรมชาติได้ทุกอณูหลังนี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัด Bac Ninh ประเทศเวียดนาม เด่นด้วยหน้าตาของ บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องคอนกรีตสูงชะลูด ด้านหน้าเต็มไปด้วยแมกไม้สีเขียว ทำหน้าที่ราวกับเป็นฟาซาดธรรมชาติ ช่วยให้บ้านร่มรื่นเย็นสบาย และซ่อนพื้นที่พักอาศัยไว้ด้านใน เพื่อปกป้องสายตาจากภายนอกและมลภาวะของเมือง จุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านรูปทรงสะดุดตา อัดแน่นด้วยต้นไม้เกือบทุกพื้นที่หลังนี้ มีต้นทางมาจากการเอาชนะปัญหาหลาย ๆ ข้อที่บ้านนี้ต้องพบเจอ เช่น 1.ลักษณะของที่ดินที่ทั้งแคบและลึกเพียง 80 ตารางเมตร (4 x 20 เมตร) 2.มีเพียงหน้าบ้านที่ติดถนนด้านเดียว ที่เปิดรับแสงสว่างและอากาศได้ 3.เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น และอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้มักมีปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางเสียง ทีมผู้ออกแบบจาก Kien Truc NDT จึงต้องการหาวิธีแก้ปัญหาและข้อบกพร่องเหล่านี้ให้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยตั้งใจให้บ้านที่หันหน้าออกไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่ไม่ได้รับแสงแดดตรง ๆ ให้มีพื้นที่ไว้นั่งเล่นยื่นยาวออกมา เจ้าของบ้านสามารถพักผ่อนนั่งเล่น หรือปลูกต้นไม้ได้ตามชอบใจ เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่กันชนกลางแจ้งที่เหมาะกับทั้งการเจริญเติบโตของต้นไม้ รวมถึงช่วยนำแสงสว่างและระบายอากาศให้บ้านปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน แล้วร่นระยะพื้นที่พักอาศัยให้ขยับไปไว้ด้านหลังแทนเพื่อความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้การทำพื้นที่หน้าบ้านให้มีแต่ต้นไม้ราวกับเป็นกำแพงนี้ ยังเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงเสียงและฝุ่นละอองในเมืองได้ด้วย พื้นที่ภายในบ้านขนาด 4 ชั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนแยกกัน […]
IN HARMONY WITH NATURE CAFE ผสานสีเขียวตัวแทนธรรมชาติ ลงในคาเฟ่สไตล์ลอฟต์กลางกรุงนิวยอร์ก
คอนกรีตดิบกระด้างที่ถูกแต่งแต้ม และแทรกด้วยองค์ประกอบสีเขียวดูตัดกันภายใน คาเฟ่นิวยอร์ก แห่งนี้ หากมองให้ลึกลงไปถึงแนวคิด ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงการใช้สีเขียวเพื่อสร้างความสะดุดตาเท่านั้น แต่มีความหมายเชิงสัญญะซ่อนอยู่ เพื่อสื่อถึงเป็นธรรมชาติที่คนในเมืองส่วนใหญ่ต่างโหยหา ท่ามกลางการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบวุ่นวาย จนแทบหามุมสงบ ๆ และผ่อนคลายอย่างแท้จริงไม่ค่อยจะเจอ สตูดิโอ Reutov Design จึงขอจัดเสิร์ฟความต้องการนั้น ให้บรรจุลงใน คาเฟ่นิวยอร์ก แห่งใหม่ อีกหนึ่งโปรเจ็กต์อันโดดเด่นของทีม ด้วยการบูรณะพื้นที่ขนาด 46 ตารางเมตร ที่อยู่บริเวณบนชั้นล่างของอาคารเก่าให้กลายเป็นคาเฟ่สีเขียวโปร่งโล่ง ผสมผสานการตีความสร้างสรรค์ของการออกแบบและองค์ประกอบที่หยิบยกไอเดียมาจากธรรมชาติ ผ่านการใช้งานที่สดใสและมีสีสัน ภายในห้องคอนกรีตเผยผิวเปลือยเปล่า สีเขียวถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ กระตุ้นให้ทุกคนเกิดความกระปรี้กระเปร่า สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือเหล่าท่อตกแต่งที่ชวนให้จินตนาการถึงลำต้นของไผ่ขนาดใหญ่ผาดผ่านอยู่บนฝ้าเพดาน และโชว์ตัวสวยเท่ในแบบสไตล์ลอฟต์ ซึ่งให้ทั้งมุมมองที่แปลกตาและทันสมัย นอกจากนั้นยังมีไอเดียการนำแผ่นกระจกโทนสีเขียวมาติดตั้งให้ตัดกันกับพื้นหลังคอนกรีตผิวขรุขระ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนผนังด้านหลังที่นั่ง และด้านหน้าเคาน์เตอร์ พร้อมกับจัดวางเก้าอี้ PAPYRUS RONAN & ERWAN BOUROULLEC by Kartell ด้วยการผสมผสานกันทั้งวัสดุแก้วและท่อโลหะสีเขียว จึงนับเป็นการถ่ายทอดให้เห็นว่า รูปแบบธรรมชาติและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นั้น สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไร อีกทั้งสีเขียวยังช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ผ่อนคลายและมีสมาธิขึ้น ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการออกแบบคาเฟ่กลางเมือง เพื่อให้ที่นี่เป็นดังโอเอซิสใช้หลบพักจากความวุ่นวาย แล้วมาเพลิดเพลินไปกับกาแฟรสเลิศ และฟังดนตรีไพเราะ ก่อนก้าวออกไปนอกร้านพร้อมลุยชีวิตกลางมหานครนิวยอร์กอย่างกระปรี้กระเปร่า ออกแบบ […]
HOUSE BECOMES CAFE สรุป กฎหมายอาคาร น่ารู้ในการรีโนเวตบ้านเป็นคาเฟ่
เปิดคาเฟ่เล็ก ๆ ต้องรู้เรื่อง กฎหมายอาคาร ด้วยหรือ? ในปัจจุบัน ธุรกิจคาเฟ่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในการสร้างสรรค์พื้นที่คาเฟ่ใหม่สักแห่ง นอกจากต้องคำนึงถึงความสวยงามโดดเด่นแล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้พื้นที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ทั้งยังอาจรวมไปถึงความคล่องตัวทางธุรกิจในเชิงภาษีและบัญชีอีกด้วย แม้ว่าในบางครั้ง ร้านกาแฟขนาดเล็ก อาจไม่ถูกบังคับภายใต้ข้อกฎหมายบางข้อ แต่การศึกษาทำความเข้าใจ ก็ช่วยให้มองเห็นประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึง และหากปฏิบัติตามได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการในระยะยาวอย่างแน่นอน 01 เปลี่ยนอาคารเดิมเป็นคาเฟ่ จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตไหม? ก่อนอื่นต้องทราบว่าอาคารเดิมได้ขออนุญาตไว้เป็นอาคารประเภทใด เช่น หากตามใบอนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารพักอาศัย การปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นร้านกาแฟ ซึ่งถือเป็นการใช้สอยเพื่อการพาณิชย์ จำเป็นต้องทำหนังสือขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ ข.๓) ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (เช่น สำนักเขตหรือองค์การบริหารส่วนตำบล) ให้ถูกต้อง เนื่องจากตามกฎหมาย อาคารพาณิชย์จะกำหนดความสามารถของโครงสร้างในการรับน้ำหนักจร (Live load) ที่มากกว่าอาคารพักอาศัย จึงจำเป็นต้องทำการตรวจสอบว่าอาคารดังกล่าวมีความสามารถที่จะรับน้ำหนักจรในระดับเดียวกับอาคารพาณิชย์ได้จริงหรือไม่ โดยแนบเอกสารรับรองที่ออกให้โดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังมีกำหนดลักษณะของอาคารพาณิชย์อีกหลายประการที่มีผลกับความปลอดภัยและการใช้งาน ดัดแปลงอาคารแบบไหนไม่ต้องยื่นขออนุญาต หากว่าอาคารเดิมได้รับอนุญาตให้ใช้งานเป็นอาคารพาณิชย์อยู่แล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการดัดแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งกฎหมายมีระบุขอบเขตไว้ว่าลักษณะใดที่ ไม่ต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ได้แก่ 01 เพิ่มหรือลดพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งของอาคารไม่เกิน 5 ตารางเมตร […]