- Home
- room
room
ATHITA THE HIDDEN COURT CHIANG SAEN ซ่อน “ความสุข” และ “ความสงบ” หลังกำแพงอิฐกลางเมืองโบราณเชียงแสน
Athita The Hidden Court Chiang Saen โรงแรมดีไซน์ร่วมสมัยผสานกลิ่นอายล้านนาในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เกิดขึ้นจากแนวคิดที่เน้นความกลมกลืนไปกับชุมชน และวัดวาอารามเก่าแก่ที่ตั้งอยู่โดยรอบ คล้ายกับกำลังซ่อนตัวอยู่ในย่านเมืองเก่าอย่างเงียบเชียบ เพื่อรอให้คุณเดินทางมาพักผ่อนและเยี่ยมเยือน ด้านหลังแนวกำแพงอิฐมอญที่ดูคล้ายกำแพงเมืองโบราณนี้ ซ่อนไว้ด้วยตัวอาคารไม้สักสูงขนาดสองชั้นที่ดูไม่ต่างจากบ้านไม้ในชนบท และคอร์ตสนามหญ้าผืนใหญ่สำหรับเป็นลานกิจกรรม เปิดมุมมองให้เห็นยอดเจดีย์และพระพุทธรูปโบราณอายุกว่า 500 ปี ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดอาทิต้นแก้ว ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หนึ่งที่บอกเล่าความเป็นเมืองเก่าของเชียงแสน ก่อนถูกนำมาตีความหมายใหม่ผ่านสายตาของคุณเติ้ล – เผดิมเกียรติ สุขกันต์ แห่ง Studiomiti จน Athita The Hidden Court Chiang Saen ออกมาเป็นโรงแรมสไตล์โมเดิร์นล้านนา เจือกลิ่นอายท้องถิ่นเมืองเหนือ น่าเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน “ภาพของเมืองเชียงแสนที่ได้สัมผัสในตอนแรก ที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเชียงใหม่ คือมีกำแพงเมืองเก่า วัดส่วนใหญ่ก็อยู่ติด ๆ กันคล้ายกับเชียงใหม่ เลยคิดว่าที่นี่เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ สภาพบ้านเรือนก็เป็นบ้านไม้ธรรมดาสองชั้นยกใต้ถุนสูง “เลยคิดว่าน่าจะทำสถาปัตยกรรมให้ซ่อนหรือหายไปกับเมือง ผสมผสานและมีน้ำหนักของความแตกต่างที่ไม่มากเกินไป ในความแตกต่างเราคุมไม่ให้กระโดดไปไกลเสียจนจับต้องไม่ได้ เพราะฉะนั้นน้ำหนักของการใช้แมททีเรียลก็เลยให้ความรู้สึกทั้งกลมกลืนและมีเอกลักษณ์ในเวลาเดียวกัน” คุณเติ้ลเล่าที่มาของแนวคิดการนำความเป็นพื้นถิ่นที่ได้พบเห็นมาคลี่คลายสู่งานออกแบบ ด้วยพื้นที่ตั้งของโรงแรมซึ่งอยู่ในทำเลที่หันเข้าหาด้านหน้าของวัดอาทิต้นแก้ว วัดโบราณที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ มังราย จากบริบทและประวัติศาสตร์ของพื้นที่ […]
TIAM COFFEE SHOP & HOME รีโนเวตตึกแถวเก่าให้เป็นบ้านที่มีคาเฟ่อยู่ชั้นล่าง
รีโนเวตตึกแถว เก่าสภาพทรุดโทรมที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกใจกลางเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับครอบครัว 3 รุ่น ที่มีสมาชิก 7 คน! ความพิเศษของที่นี่ นอกจากการ รีโนเวตตึกแถว เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ชั้นแรกของที่นี่ยังเปิดเป็นคาเฟ่ดำเนินการโดยเจ้าของเอง และส่วนที่เหลือของอาคารมีไว้สำหรับนั่งเล่น บานเกล็ดแนวตั้งและผนังกระจกทำหน้าที่เป็นเสมือนเปลือกอาคาร ปกคลุมบ้านเป็นเหมือนฉากกั้นที่สร้างความรู้สึกเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอก ช่วยให้คนในบ้านใกล้ชิดกับธรรมชาติและบริบทภายนอกได้มากขึ้น บานเกล็ดนี้ไม่เพียงช่วยลดการแผ่รังสีความร้อน แต่ยังสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงเงา และจังหวะของเส้นสายแบบเรขาคณิต เพิ่มความรู้สึกสะดุดตาทุกครั้งของผู้คนที่ได้มองเห็น “เราใช้เวลาในการพูดคุยและทำความเข้าใจกับความต้องการของเจ้าของบ้าน เพื่อมอบประสบการณ์อันมีค่าสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยได้ออกแบบที่นี่ให้มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 3 ชั้น ห้องใต้หลังคา 1 ห้อง และเฉลียงสำหรับออกมาชมวิวรอบ ๆ” ทีมออกแบบจาก Nguyen Khai Architects & Associates เล่ารายละเอียดการทำงานให้ฟัง แนวคิดหลักอีกอย่างของการออกแบบก็คือการสร้างสรรค์พื้นที่ให้น่าอยู่ และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ แม้จะอยู่ในพื้นที่ขนาดแคบก็ตาม เห็นได้จากการออกแบบพื้นที่ที่ต่อเนื่องและเปิดโล่ง เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดกัน แต่ยังคงสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวได้หากจำเป็น ขณะที่บันไดวนเก่าและใช้งานไม่ได้แล้วถูกแทนที่ด้วยบันไดแบบตรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่และทำให้การไหลเวียนดีขึ้น ส่วนเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเน้นทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมมีลักษณะเด่นบางประการที่เหมาะสำหรับใช้ในสภาพอากาศที่รุนแรงในเว้ ขณะคาเฟ่ที่ชั้นหนึ่งได้รับการออกแบบโดยใช้องค์ประกอบและวัสดุเดียวกันกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน เช่น โต๊ะโค้งยาว […]
บ้านไม้มินิมัลออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ
บ้านไม้ ภายใต้ในแนวคิด Passive Design ที่สถาปนิกออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ ตั้งอยู่บนที่ดินติดถนนสายหลัก กลางย่านที่มีบ้านพักอาศัยสร้างขึ้นเพื่อปล่อยขายตลอดแนวถนนในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น Mushono House คือผลงานการออกแบบของสถาปนิก Yoshitaka Kuga ด้วยการนำแนวคิด Passive Design มาใช้ออกแบบ บ้านไม้ หลังนี้ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยรวม 119.529 ตารางเมตร ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อม โดยวางผังอาคารให้ด้านหน้าของบ้านหันออกสู่ทางทิศใต้ ส่วนด้านหลังออกแบบให้ตั้งอยู่ติดกับถนนสายหลัก เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้หน้าบ้านดูกว้างเเละโปร่งโล่งยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กับสร้างแนวป้องกันความร้อนด้วยการปลูกต้นไม้เป็นสวนขนาดเล็กหน้าบ้าน ด้วยความตั้งใจที่อยากให้เจ้าของบ้านอยู่สบายด้วยการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก สถาปนิกจึงสร้างห้องนั่งเล่นให้เกิดบรรยากาศโล่งกว้างขนาดใหญ่ เด่นด้วยพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซ และออกแบบช่องเปิดให้เกิดแสงและเงา ช่วยสร้างความละมุนให้กับพื้นที่ทั้งสองชั้น เเถมยังมีมุมมองเปิดออกไปสัมผัสกับพื้นที่สีเขียวนอกบ้านผ่านหน้าต่างบานใหญ่ทางทิศใต้ เเละสร้างพื้นที่นั่งเล่นเป็นชานเล็ก ๆ โดยออกแบบให้ชายคามีระยะยื่นคลุมพื้นที่ชานทั้งหมดไว้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันแสงแดดยามออกมานั่งเล่น สถาปนิกยังระบุอีกว่าด้วยวิธีการออกแบบนี้จะช่วยให้ภายในบ้านเย็นในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว ซึ่งผู้อาศัยจะสามารถเพลิดเพลินไปกับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายจากฟังก์ชันต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ได้พักผ่อนสายตาไปกับวิวสวน พร้อมร่มเงาและความสดชื่นจากเหล่าไม้ใบสีเขียว เปิดรับอากาศดี ๆ ได้ในทุกวัน ออกแบบ: Yoshitaka Kuga HEARTH ARCHITECTS http://hearth-a.com ภาพ: Yuta […]
HOUSE IN KYOTO บ้านไม้สไตล์มินิมัล แก้ปัญหาพื้นที่สีเขียวมีจำกัด ด้วยการปลูกต้นไม้ไว้ในห้องนั่งเล่น
บ้านไม้ สไตล์มินิมัลสำหรับสองสามีภรรยาและลูก ๆ ที่น่ารักทั้งสามคนของพวกเขา ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบทางตอนเหนือของเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
CASA DE MADERA บ้านหลังคาซิกแซกสำหรับแปลงผักสวนครัว
บ้านไม้ สำหรับพักตากอากาศในช่วงสุดสัปดาห์ ที่ Estudio Borrachia ออกแบบมาสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน ประกอบด้วยคู่สามีภรรยา พร้อมลูกเล็กสองคน ตั้งอยู่ใน Exaltación de la Cruz ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
KOKA HOUSE บ้านไม้กึ่งคาเฟ่สีดำทะมึนที่ซ่อนความละมุนไว้ภายใน
บ้านไม้ กึ่งคาเฟ่ ในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น หลังนี้เกิดจากความตั้งใจของเจ้าของบ้านที่วางแผนจะเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ ไปพร้อมกับการสร้างบ้านพักอาศัยส่วนตัว หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว Yoshitaka Kuga สถาปนิกซึ่งมีสตูดิโอออกแบบตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ จึงได้ลงมือออกแบบ บ้านไม้ สีดำทะมึนหลังนี้ให้มีพื้นที่รองรับกับความต้องการ ก่อนจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น กลายเป็นอาคารรูปทรงสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดทางแยกบนที่ดินที่ล้อมรอบด้วยถนนทั้งสามด้าน เด่นด้วยผนังโทนขรึมดำจากไม้ซีดาร์เผาผิว มีมุมมองคล้ายกับอาคารสองหลังวางซ้อนกันอยู่ ซึ่งรูปทรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความตั้งใจของสถาปนิกที่อยากให้บ้านดูเหมือนกับร้านกาแฟในกระท่อมบนภูเขา เป็นเหตุผลทำให้บ้านหลังนี้มีหลังคาที่ดูโดดเด่นจนกลายเป็นไอค่อนของย่านไปโดยปริยาย เเละอีกหนึ่งโจทย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้ คือการจัดสรรพื้นที่ส่วนตัวให้แยกส่วนกับพื้นที่สาธารณะ โดยไม่รู้สึกถึงการตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง ภายใต้พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 104.95 ตารางเมตร สามเหลี่ยมก้อนแรกที่อยู่ด้านหน้าจึงถูกแบ่งเป็นส่วนการใช้งานหลักบนชั้น 1 ของบ้าน ประกอบด้วยมุมรับประทานอาหาร ซึ่งออกแบบพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซเชื่อมต่อกับครัวเปิด เจ้าของสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ตรงนี้ เพื่อรองรับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ในอนาคตได้อย่างสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็แยกส่วนพื้นที่พักอาศัยจริงที่มอบความเป็นส่วนตัว ไว้ภายในก้อนสามเหลี่ยมก้อนที่สองซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง โดยพื้นที่ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ห้องนอนใหญ่ของเจ้าของบ้าน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ (ใช้ครัวกับมุมรับประทานอาหารร่วมกับส่วนคาเฟ่) ส่วนบนชั้นสอง เป็นห้องของเด็ก ๆ จำนวน 2 ห้อง พร้อมระเบียงเล็ก ๆ ไว้ออกไปยืนสูดอากาศในวันฟ้าแจ่มใส โดยมีสวนเล็ก ๆ […]
MEDITERRA รีโนเวตบ้านเก่าเป็นร้านอาหารที่มอบเสน่ห์แบบอิตาลีตอนใต้
รีโนเวตบ้านเก่า อายุร่วมร้อยปี ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางย่านอโศก ให้กลายเป็นร้านอาหารสไตล์โฮมคุกกิ้ง เพื่อมอบประสบการณ์การรับประทานอาหารแบบฉบับอิตาลีตอนใต้ โดยใช้ชื่อว่า ” MEDITERRA ” เชื่อมโยงความรู้สึกอบอุ่นคุ้นเคยอย่างบ้านไทยให้เข้ากับซุ้มโค้งอันเป็นสถาปัตยกรรมอิตาลี สำหรับขั้นตอนการ รีโนเวตบ้านเก่า ครั้งนี้ ดีไซเนอร์รักษาโครงสร้างไม้สักของบ้านเดิมไว้ แล้วทำการเติม “ซุ้มโค้ง” สัญลักษณ์ของความเป็นอิตาลีลงไป เพื่อช่วยเติมความงามให้เเก่สถาปัตยกรรม ในทันทีที่เข้าสู่ส่วนรับประทานอาหารจะพบกับพระเอกของร้านอย่างผืนผนังกรุกระเบื้องโมเสกพิมพ์ลายทิวทัศน์แลนด์สเคปของเมือง Puglia ที่อยู่ทางตอนใต้ของอิตาลี พร้อมกับครัวเปิดให้เห็นเตาอบพิซซา ไฮไลต์ของร้านอยู่ที่เคาน์เตอร์บาร์กรุเมทัลลิกสีน้ำเงินสด มีแรงบันดาลใจมาจากสีของท้องเรือนักตกปลา ร่วมกับเฟอร์นิเจอร์ที่มีกลิ่นอายงานคราฟต์ เพื่อสร้างบรรยากาศเเบบหมู่บ้านชาวประมงอย่าง เก้าอี้หวาย ทำแพตเทิร์นเป็นเส้นสายดูต่อเนื่องกับโคมไฟด้านบน ขับให้ร้านสีขาวโพลนดูไม่จืดชืดเกินไป ขณะที่ชั้น 2 จะพบกับส่วนไพรเวต โดดเด่นด้วยเคาน์เตอร์บาร์กรุพรมพิมพ์ลวดลายสดใสสไตล์อิตาลี และเคาน์เตอร์ Wine Tasting มีส่วนรับประทานอาหารแบบโต๊ะยาว และห้องส่วนตัวอีกหนึ่งห้อง โดยรวมชั้นนี้เน้นการเปิดมุมมองทุกส่วนให้มองเห็นบรรยากาศการตกแต่งภายใน และพื้นที่เอ๊าต์ดอร์สีเขียวได้กว้างสุดสายตา มอบประสบการณ์การใช้งานและความเชื่อมโยงกันของพื้นที่ ผ่านมุมมองที่เปลี่ยนไปในทุกจุดของการใช้งาน Idea To Steal เปลี่ยนจากช่องเสาแบบเดิม ๆ เติมมุมโค้งเพียงเล็กน้อย ผลลัพธ์ที่ได้คือ มุมมองแปลกใหม่ในพื้นที่ใช้งานที่คุ้นเคย เจ้าของ : คุณอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ และ […]
984WOLF เยี่ยมรังหมาป่า ดื่มด่ำกับมื้อดินเนอร์สุดโรแมนติกใต้พระจันทร์ดวงโต
รีโนเวตบ้านไม้เก่าแบบครึ่งปูนครึ่งไม้อายุ 60 ปี ย่านสาทร ให้เป็นร้านอาหารสไตล์โมเดิร์นยูโรเปียน จัดเสิร์ฟอาหารยุโรปรสชาติที่คนเอเชียชอบรับประทาน ในชื่อ 984wolf ที่ร้าน 984wolf แห่งนี้เน้นกรรมวิธีการปรุงอาหารโดยใช้ไฟ ฟืน และเปลวไฟเป็นหลัก ส่งอิทธิพลไปถึงการตกแต่งซึ่งมีความโดดเด่นเพื่อสื่อถึงกรรมวิธีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการปิดผิวด้วย YAKISUGI หรือไม้เผาผิวจนไหม้เกรียมภูมิปัญญาโบราณของชาวญี่ปุ่นที่ใช้ในการถนอมเนื้อไม้ หรือจะเป็นส่วนของเคาน์เตอร์ต้อนรับกรุทองเหลืองสื่อถึงโลหะที่ผ่านการเผาไหม้ รวมถึงผนังในครัวที่ใช้อิฐแดงซึ่งมีคุณสมบัติทนไฟ พื้นที่ชั้นล่างเปิดเป็นบาร์สำหรับนั่งดื่มระหว่างรออาหาร หรือจะมานั่งชิล ๆ ดื่มไวน์หลังกินอาหารเสร็จก็ได้ เพิ่มความมีชีวิตชีวาดูทันสมัยขึ้นด้วยสีแดงอิฐ ตัดกับชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้สีอ่อนดูสบายตา ส่วนพื้นที่ชั้นสองทำการรื้อผนังและฝ้าเดิมออก แต่ยังเก็บโครงสร้างไม้และช่องเปิดเดิมไว้ แบ่งสัดส่วนพื้นที่ด้วยการจัดโต๊ะแบบโซฟาโค้งดูลื่นไหล แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวอยู่ เเถมมีบานเฟี้ยมสำหรับลูกค้าที่มาเป็นกลุ่มและต้องการความเป็นส่วนตัวพิเศษ สิ่งที่ดึงดูดผู้คนคงหนีไม้พ้น “พระจันทร์” ดวงโตกลางห้องครัวที่สะกดสายตาให้ต้องเหลียวมอง เเม้พื้นที่ส่วนอื่นจะมองไม่เห็นดวงโคมนี้ทั้งหมด ผู้ออกเเบบก็ได้ใช้วิธีติดตั้งโคมไฟวงกลมเป็นจุด ๆ เน้นส่องลงบนโต๊ะเเทน เพื่อให้แขกโฟกัสอยู่กับอาหารและคู่สนทนา พร้อมกับมีแสงสว่างจากพระจันทร์ที่ปรับแสงสีได้ตามเทศกาล ส่องผ่านผิวไฟเบอร์กลาส ให้ความรู้สึกเสมือนเปล่งออกมาจากพระจันทร์ดวงจริง ดังแนวคิดของเจ้าของร้านที่ว่า“แสงไม่มีตัวตน แต่มีความรู้สึก” เจ้าของ : คุณญาดา เรืองสุขอุดม ออกแบบ : SALT&PEPPER STUDIO, FOS Lighting Design Studio ที่ตั้ง […]
ZAAB ELI E-SARN BISTRO เสิร์ฟอาหารอีสานแซ่บ ๆ ในร้านบรรยากาศสุดชิค
ยกระดับร้านอาหาร Zaab Eli สู่กลุ่มลูกค้าตลาดต่างชาติให้มากขึ้น ด้วยการตีโจทย์งานดีไซน์จากความเป็นคนไทยแบบโลคัลที่มีสีสันผสานเข้ากับความเป็นสากล จนออกมาเป็น ZaabEli E-Sarn Bistro DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Tastespace.co ดีไซเนอร์ตีความงานดีไซน์จากเอกลักษณ์ของอาหารอีสานที่มีเบสของเครื่องปรุงอย่างกะปิและปลาร้าออกมาเป็นสีหลักของร้าน Zaab Eli สาขานี้ นั่นคือ “สีกะปิ” สื่อถึงวัตถุดิบหลักของอาหาร ในขณะเดียวกันก็เป็นสีที่ดูผู้ใหญ่และเป็นทางการ เพื่อให้สีสันของอาหารในจานและสีของฝ้าเพดานที่เพ้นต์โดยนักวาดภาพประกอบ Freya.art กลายเป็นจุดโฟกัสภายในร้าน ส่วนประกอบของความเป็นอีสานหลายรูปแบบ ทั้งภาพลายเส้นตัวอาคาร แพตเทิร์นจากผ้าถุง ลายดอกไม้สีสดใส ถูกนำมาวางเรียงกันแบบสุ่มสลับกันไป จนสร้างมิติของการมองเห็นเป็นแพตเทิร์นร่วมสมัย การเลือกสรรวัสดุที่ดูเป็นท้องถิ่นอย่างไม้ไผ่และหินที่ดูเป็นคราฟต์ ร่วมกับเส้นโค้งจากช่องเปิดและฝ้าเพดานทรงโค้ง สร้างความรู้สึกอบอุ่นและดูร่วมสมัย เมื่อรวมกับสีสันของอาหารที่ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบการตกแต่ง ทำให้รู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้กลับมากินอาหารอีสานบ้านเรา Idea to Steal การเลือกใช้ทรงโค้งสไตล์ยุโรปผสมผสานเข้ากับวัสดุแบบไทย ช่วยสร้างบรรยากาศไทยแบบเป็นสากลได้อย่างกลมกลืน เจ้าของ : Zaab อีลี่ ออกแบบ : Tastespace.co ที่ตั้ง The Market Bangkok ชั้น G โซน M1 ถนนราชดำริ […]
HANJI ฮ็อตพ็อตสไตล์ไต้หวันซุกตัวอยู่ในงานรีโนเวตบ้านเก่าย่านทองหล่อ
แรงบันดาลใจจากการท่องเที่ยวและการได้รับประทานฮ็อตพ็อตสูตรดั้งเดิมจากไต้หวัน นำมาสู่ความต้องการดึงรสชาติถูกปากที่ยังไม่มีในกรุงเทพฯมาเปิดเป็นร้าน “ Hanji ” ร้านฮ็อตพ็อตสไตล์ไต้หวันที่แฝงตัวอยู่ในงานรีโนเวตบ้านเก่ากลางซอยทองหล่อ23 จุดเด่นของร้าน Hanji นอกจากเรื่องรสชาติคือพื้นที่ร้านที่โปร่งโล่งและเป็นกันเอง ยังมีคอนเซ็ปต์คือการสร้างร้านอาหารที่เหมือนได้มารับประทานอาหารในบ้านของคนไต้หวัน โดยผู้ออกแบบได้แรงบันดาลใจมาจากหมู่บ้านประวัติศาสตร์ Erkan บนเกาะเผิงหู ทางทิศตะวันตกของไต้หวัน ซึ่งยังคงมีธรรมชาติและเก็บรักษาสถาปัตรยกรรมท้องถิ่นดั้งเดิมไว้ จากความประทับใจนั้น ได้ถูกถ่ายทอดความต้องการสู่ผู้ออกแบบ ก่อนนำองค์ประกอบทางสถาปัตรยกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องประตูโค้ง (Arch) การปูกระเบื้องพื้นช่องลมเซรามิก รวมถึงการใช้สีที่พบได้แก่ สีเทา สีแดง และสีเขียวน้ำทะเลมาใช้ นอกจากนั้นยังเป็นความต้องการของเจ้าของร้านให้แขกที่มาเยือนไม่ต้องรีบรับประทาน แต่ให้สามารถใช้เวลาอยู่ในร้านได้เรื่อย ๆ พื้นที่ภายในจึงถูกจัดอย่างสบาย ๆ ไม่แออัด ประกอบกับการเปิดพื้นที่ชั้น 2 ของบ้านเดิมออกให้กลายเป็นดับเบิ้ลสเปซ ช่วยให้ร้านมีบรรยากาศสบายยิ่งขึ้น โดยในส่วนนี้ก็ได้งานประติมากรรมไม้ไผ่จากคุณกรกต อารมย์ดี มาช่วยเสริมบรรยากาศ รวมไปถึงภาพจิตรกรรมรอบ ๆ ร้านโดย Cabret Moon ที่เป็นการสะท้อนภาพของควันและกลิ่นที่โชยจากหม้ออาหาร คล้ายจะช่วยเรียกน้ำย่อยระหว่างรอเซตอาหารจนแทบจะอดใจรอไม่ไหว เจ้าของ : คุณอิทธินันท์ – คุณวริทธิ์นันท์ ไตรรัตโนภาส ออกแบบ : DIN […]
BLACKSMITH เปลี่ยนร้านส้มตำในบ้านไม้อายุกว่า 20 ปี มาเป็นคาเฟ่กึ่งบาร์ลุคดิบเท่
Blacksmith บาร์และคาเฟ่สไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ผสมโคโลเนียล โดยเจ้าของร้านและหุ้นส่วนได้แรงบันดาลใจมาจากเมืองตีเหล็กในเกม Ragnarok เกมออนไลน์ในตำนานที่ทั้งสองเคยเล่นด้วยกัน ประกอบกับคุณปู่เป็นช่างตีเหล็ก จึงยกบรรยากาศดิบ ๆ ของโรงตีเหล็กมาซ่อนตัวอยู่หลังรั้วเหล็กแบบโค้งกลางอารีย์เสียเลย เดิมทีตัวร้าน Blacksmith มีเพียงอาคารไม้หนึ่งหลัง เมื่อเข้ามาทำการปรับปรุงจึงต่อเติมอาคารเพิ่มด้วยโครงสร้างเหล็กและคอนกรีต แล้วเปลี่ยนลานจอดรถเป็นพื้นที่นั่งกึ่งเอ๊าต์ดอร์สำหรับรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นโดยตอนกลางวันพื้นที่ชั้นบนเปิดเป็นคาเฟ่ เติมเต็มบรรยากาศด้วยการนำผืนหนังมาแขวนกับฝ้าเพดาน ส่วนด้านล่างพร้อมแปลงร่างเป็นร้านอาหารและบาร์ในยามเย็น หัวใจของที่นี่คือการผสานพื้นที่เอ๊าต์ดอร์และอินดอร์เข้าไว้ด้วยกันผ่านสเปซและการใช้วัสดุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนลานจอดรถเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์แบบเปิดโล่งที่คงต้นไม้เดิมไว้ทั้งหมด เสริมด้วยการโรยพื้นด้วยกรวดสีน้ำตาลได้บรรยากาศของโอเอซิสกลางทะเลทราย ทว่ามีหลังคาปกคุลมอยู่ เพิ่มความลื่นไหลของมุมมองไปยังพื้นที่คาเฟ่ชั้นสองด้วยบานหน้าต่างไม้กรุกระจกใสเต็มบาน ในส่วนของการเลือกใช้วัสดุสร้างความกลมกลืนบนความคอนทราสต์ด้วยการนำวัสดุที่นิยมใช้ภายนอกอย่างศิลาแลง เเละอิฐมอญ มาใช้ตกแต่งภายในให้อารมณ์ความลึกลับของห้องเก็บสมบัติในเกม แล้วนำวัสดุตกแต่งภายในอย่าง หนังวัว ที่มีความอ่อนนุ่มมาตกแต่งทั่วทุกบริเวณของร้าน เกิดเป็นส่วนผสมที่มีกลิ่นอายของความดิบเท่ปนหรูอยู่ในตัว เจ้าของ – ออกแบบ คุณก้องภพ กันตถาวร ที่ตั้ง 9/1 อารีย์ซอย3 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ เวลาทำการ วันอังคาร – อาทิตย์ คาเฟ่ 11.00 น. – 18.00 น. ร้านอาหารและบาร์ 17.00 น. – 24.00 น. […]
MISU ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศอินเดียที่ได้แรงบันดาลใจจากโบสถ์โรมัน
MISU ร้านอาหารญี่ปุ่น สุดคูล ในเมืองบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย เกิดขึ้นจากการแปลงโฉมอาคารเก่าโดยได้แรงบันดาลใจจากโบสถ์โรมันที่ยังสร้างไม่เสร็จ ผสานการตีความทั้งความคลาสสิก ความเป็นตะวันตกแบบโคโลเนียล เเละความมินิมัลแบบญี่ปุ่น เมื่อทีมออกแบบได้เห็นไซต์อาคารเก่าที่มีซุ้มโค้งเป็นครั้งแรก ก็รู้ทันทีว่าต้องเก็บกลิ่นอายเดิมไว้ การออกแบบอยู่ภายใต้ซิกเนเจอร์ของร้านโดยใช้พาเล็ตต์สี เช่น สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลืองมัสตาร์ด สีแดงเข้ม เเละสีทองแดง ร่วมกับองค์ประกอบของโบสถ์โรมันโบราณอย่าง กระจกสี ภาพวาดฝาผนัง และทางเดินกึ่งกลาง MISU ร้านอาหารญี่ปุ่น สำหรับผลลัพธ์อันเกิดจากการพบกันของความงามผสมเสน่ห์สไตล์กรันจ์แบบดิบ ๆ ชวนประทับใจตั้งเเต่แวบแรกที่ได้เห็น โดยทันทีที่เข้ามาสู่ภายในร้าน ทางเดินขนาบข้างด้วยเสาตาข่ายทองแดงรูปทรงเรียวยาวและเพดานโค้งมน ดำเนินต่อไปจนจบที่ภาพบนฝาผนังเป็นจุดดึงดูดสายตา ด้วยภาพแอ๊บสแตร็กต์ที่ดูคล้ายใบหน้าของผู้หญิง โดยด้านในเฟรมคือแพตเทิร์นสไตล์ญี่ปุ่น สื่อถึงความเป็นตะวันออกที่ดูทันสมัย ภายในร้านแบ่งพื้นที่ออกเป็นชั้นล่างประกอบด้วยที่นั่งแบบกลุ่มกระจายตามทางเดินและบาร์ ส่วนชั้นบนคือที่นั่งที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น จัดไลท์ติ้งแบบ Indirect Lighting ตามทิศทางส่วนโค้งของเหล็กตาข่ายและผนังสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ในขณะเดียวกันก็ดูขลังราวกับต้องมนต์สะกดในช่วงเวลากลางคืน IDEA ลดทอนความแข็งกระด้างภายในอาคารด้วยซุ้มหน้าต่างโค้ง ก่อผนังเบิ้ลสำหรับทำที่วางจุกจิกของริมหน้าต่าง เจ้าของ : AA Hospitality ออกแบบ : FADD Studio ภาพ […]