บทความโดย room - Page 33 of 38

BRITANNICA BRASSERIE รวมสารานุกรมความอร่อยจากเมนูอาหารตะวันตกหลากหลายเชื้อชาติ

BRITANNICA Brasserie ร้านอาหารสไตล์ยุโรปแนว Casual Fine-Dining และ Cafe เกิดจากแนวคิดของเจ้าของที่ได้มาจากการเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลก ผนวกเข้ากับการตกแต่งที่ตั้งใจให้ที่นี่เป็นเหมือนห้องสมุด รวบรวมสารานุกรมความอร่อยไว้มากมายจากเมนูอาหารตะวันตกจากหลายประเทศ แม้ว่าที่นี่จะอยู่ในโซนลับตาของ Gaysorn Village ชั้น 1 แต่ BRITANNICA Brasserie กลับสะดุดตากว่าใคร ด้วยเส้นสายโค้งเว้าของเสา ประตู และสีขาวสว่างสะอาดตา  BRITANNICA Brasserie ร้านอาหารสไตล์ยุโรป ร้านอาหาร gaysorn เห็นได้จากการใช้โครงสร้างเสาแบบซุ้มโค้งที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมยุโรปสื่อถึงความเป็นสากล โดยผนวกกับการใช้เส้นสีดำตัดขอบกับพื้นสีขาวซึ่งเป็นสีหลัก เส้นเหล่านี้มาจากเส้นโค้งของตัวอักษร BB อันเป็นตัวย่อของชื่อร้าน อันแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อ ปฏิสัมพันธ์ ความทรงจำ และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สัมผัสได้ภายในร้าน นอกจากการใช้เฟอร์นิเจอร์หรูหราสไตล์ผู้ดีอังกฤษ  ที่นี่ยังใส่ใจรายละเอียดการตกแต่งอื่น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่มีลายกราฟิก BB ทั่วร้าน รวมถึงโลหะที่ใช้ประกอบในเฟอร์นิเจอร์และพื้น ซึ่งไม่ลืมการใช้เส้นโค้งเพื่อเล่าถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันไปเเบบไม่มีสิ้นสุด นอกจากนี้ยังพบการหยอดสีแดงเบอร์กันดีไปตามจุดต่าง ๆ เช่น ของตกแต่งรูปหนังสือ สารานุกรมตรงส่วนโค้งของบาร์ ขอบผ้ากำมะหยี่ที่บุส่วนบนของบาร์ และส่วนพักแขนตรงโซฟา เสริมให้ภาพรวมของร้านดูหรูหรา สง่างาม […]

MONTE HOUSE บ้านเม็กซิโกดื่มด่ำธรรมชาติกลางผืนป่าอย่างเต็มอิ่ม

บ้านเม็กซิโก สีแดงดูร้อนแรงหลังนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ตากอากาศ ท่ามกลางราวป่าในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก โดยเกิดขึ้นจากความต้องการของคู่สามีภรรยาที่อยากอยู่อาศัยในธรรมชาติ พร้อม ๆ การได้ใช้ชีวิตในวันหยุดอย่างเรียบง่ายและเป็นส่วนตัว ทีมสถาปนิกจาก TACO taller de arquitectura contextual จึงเน้นการออกแบบที่ช่วยสร้างประสบการณ์การพักผ่อนอย่างเต็มที่ แม้ตัวบ้านจะมีขนาดเล็กกะทัดรัดเพียง 42 ตารางเมตร (452 ตารางฟุต) แต่กลับจุฟังก์ชันเพื่อความรีแลกซ์ไว้ภายในได้อย่างตอบโจทย์ ที่สำคัญยังดึงประโยชน์ของแสงและลมเข้ามาช่วยเติมเต็มการพักผ่อนให้น่าอภิรมย์ยิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่กลางป่า สถาปนิกจึงออกแบบอาคารให้ยกสูงจากพื้นดินราว 2 เมตร เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมจากฝนตกหนัก และสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนผนังสีแดงที่เห็นนั้นเกิดจากการฉาบปูนที่ผสมกับแร่ธรรมชาติในท้องถิ่น ขณะที่ประตูเเละหน้าต่างบานเฟี้ยมแบบบานเกล็ด ก็ทำมาจากไม้ซีดาร์ซึ่งหาได้ในท้องถิ่นเช่นกัน ทั้งยังลดความน่าเบื่อของอาคารทรงกล่องด้วยเส้นสายซิกแซกของลูกตั้งและลูกนอนบันได เมื่อเข้ามาด้านในตัวบ้านจะพบกับบรรยากาศที่ดูอบอุ่นและชวนผ่อนคลาย ด้วยการเลือกฉาบผนังปูนดิบที่มีส่วนผสมของปูนขาว ผสานไปกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ และของตกแต่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานทำมือจากวัสดุธรรมชาติ ดูเป็นเรื่องราวเดียวกันกับตัวอาคารและบริบทรอบ ๆ ผังพื้นที่ใช้งานชั้นล่างประกอบด้วยมุมที่เก็บของเล็ก ๆ ตรงข้ามกันคือห้องน้ำที่มีฝักบัวกลางแจ้ง มีห้องครัว และมุมรับประทานอาหารที่เปิดโล่งออกสู่ระเบียงพร้อมสระว่ายน้ำ ให้สามารถชื่นชมวิวและดื่มด่ำกับธรรมชาติรอบ ๆ ได้เต็มที่ นอกจากความชิลแบบสุด ๆ แล้วยังมีข้อดีอีกอย่างคือเมื่อลมพัดผ่านจะหอบนำความเย็นสบายเข้ามาสู่พื้นที่ภายในบ้านด้านในด้วย ส่วนพื้นที่ของห้องนอนได้รับการออกแบบให้อยู่บนชั้นลอยที่ต้องก้าวบันไดขั้นเล็ก ๆ ขึ้นไป หัวเตียงคือช่องหน้าต่างบานเฟี้ยมที่เปิดออกรับลมได้จนสุดในวันอากาศดี หรือจะปิดเข้ามาทั้งหมดเพื่อความเป็นส่วนตัว โดยที่ยังยอมให้ลมและแสงสว่างลอดผ่านเข้ามาด้านในได้ […]

SON LA RESTAURANT ร้านอาหารสถาปัตยกรรมไม้ไผ่สุดอลังการ

Son La Restaurant  ตัวอย่างการออกแบบ สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ ให้เป็นหนึ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยังจังหวัดห่างไกล กับการเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นอย่าง ไม้ไผ่ และหิน สอดคล้องกลมกลืนไปกับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอันเป็นธรรมชาติ จังหวัดซอนลา (Son La) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมีภูมิทัศน์ภูเขาที่สวยงาม แม้จะมีความงดงามทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ แต่ที่นี่กลับไม่ได้รับการพัฒนาสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่ยากลำบากต่อการเดินทาง โดยต้องใช้เวลานั่งรถจากฮานอยนานถึง 7 ชั่วโมง ไปตามถนนที่มีหน้าผาสูงชัน แต่ด้วยศักยภาพอันงดงามของภูมิประเทศ ทำให้ที่นี่กำลังจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อรองรับกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติดังกล่าว โปรเจ็กต์ร้านอาหาร Son La Restaurant ที่เด่นด้วย สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ จึงเริ่มต้นขึ้น ด้วยสภาพภูมิประเทศที่จำกัด ทำให้การขนส่งวัสดุที่ใช้ก่อสร้างร้านอาหารนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยากลำบาก สถาปนิกผู้ออกแบบ Vo Trong Nghia (VTN Architects) จึงเลือกที่จะใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นทีมช่าง คนงาน และวัสดุในท้องถิ่นที่มีราคาไม่แพงอย่าง “ไม้ไผ่” และ “หิน” มาเป็นวัสดุหลักของอาคาร นอกจากเหตุผลสำคัญดังกล่าวอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ออกแบบมองเห็นก็คือวัสดุจากธรรมชาติเหล่านั้น มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนอย่างเวียดนามได้อย่างดี ที่นี่ประกอบด้วยอาคารหิน 8 หลัง ที่แยกจากกัน […]

CENTRAL: THE ORIGINAL STORE ย้อนตำนานร้านค้าปลีกแห่งแรกของเซ็นทรัล

CENTRAL : THE ORIGINAL STORE  กับการชุบชีวิตอาคารหลังเก่าริมถนนเจริญกรุง ให้กลับมาบอกเล่าเรื่องราวของเซ็นทรัล เมื่อครั้งเริ่มต้นทำธุรกิจร้านค้าปลีกเล็ก ๆ  เพื่อให้ที่นี่เป็นดังไทม์แมชชีนพาย้อนเวลาไปยังตำนานก้าวแรกของเซ็นทรัล เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่21 นับเป็นเวลากว่า 73 ปี ที่เซ็นทรัลกรุ๊ปดำเนินกิจการในฐานะห้างสรรพสินค้าชั้นนำของเมืองไทย โดยในระหว่างทางหากย้อนไปในช่วงปีพ.ศ.2493 ความรุ่งเรืองของเซ็นทรัลเริ่มก่อรูปร่างขึ้นภายในอาคาร 2 ชั้น 1 คูหา ริมถนนเจริญกรุง กับกิจการร้านขายหนังสือและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งใช้ชื่อว่า “ห้างเซ็นทรัล เทรดดิ้ง” ก่อนปีพ.ศ.2499 จะขยายธุรกิจก่อตั้งห้างสรรพสินค้าในชื่อ “เซ็นทรัล” ขึ้นในย่านวังบูรพา ซึ่งนับเป็นห้างสรรพสินค้าที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในไทยเวลานั้น พร้อมยกระดับการบริการลูกค้าแบบเป็นสากล ซึ่งมีทั้งการติดป้ายราคา การทำบาร์โค้ด รวมถึงการทำโฆษณา พร้อมปรัชญาการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร จนครอบครัวจิราธิวัฒน์สามารถขยายสาขาครอบคลุมทั่วทั้งประเทศในทุกวันนี้ CENTRAL : THE ORIGINAL STORE  และสำหรับปี พ.ศ.2563 สินทรัพย์ชิ้นแรกของกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลอย่างบ้านเลขที่ 1266 หลังเก่าริมถนนเจริญกรุง ได้ถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในรูปแบบดีไซน์ที่ร่วมสมัย บนโครงสร้างของตัวอาคารเก่าดั้งเดิม ในนาม CENTRAL: THE ORIGINAL STORE […]

THE LANTERN – NANOCO SHOWROOM โชว์รูมอิฐช่องลมที่เปล่งแสงยามค่ำคืนราวกับโคมไฟกลางเมือง

ที่นี่เป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่ของบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น ตั้งอยู่ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดูโดดเด่นด้วยอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่สร้างจาก อิฐช่องลม ลายดอกไม้ทั้งหลัง ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก VTN Architects (Vo Trong Nghia Architects)ที่ต้องการบอกเล่าความเป็นเวียดนามใส่ลงไปในสถาปัตยกรรมทรงเรขาคณิตดีไซน์เรียบง่าย เพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เพราะอาคารหลังนี้จะกลายเป็นกล่องไฟขนาดใหญ่ ดูสว่างไสวกว่าใคร ๆ ในย่าน สมกับเป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่จำหน่ายหลอดไฟฟ้านั่นเอง สำหรับไซต์ที่ตั้งของอาคารถือว่าสร้างความท้าทายให้ไม่น้อย เพราะมีขนาดพื้นที่จำกัดเพียง 72 ตารางเมตร และอยู่ติดกับถนนที่พลุกพล่าน การนำเสนอตัวเองให้เป็นที่น่าจดจำจึงสำคัญ ภายใต้ความเรียบง่ายของวัสดุอย่าง “อิฐช่องลม” ด้วยการนำมาทำเป็นเปลือกอาคารโดยรอบ โดยกรุกระจกใสเป็นผนังซ้อนอยู่ภายในอีกที ด้วยเหตุผลที่ว่าวัสดุชนิดนี้ เป็นวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ในเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศใช้ เพราะเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อน สามารถระบายอากาศได้ดี ช่วยกรองแสงไม่ให้ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในโดยตรง แถมมีราคาไม่แพง หรือชิ้นละประมาณ 0.42 ปอนด์ สำหรับที่นี่สถาปนิกบอกว่าเขาใช้จำนวนบล็อกช่องลมราว ๆ 5,625 ชิ้น เป็นเงิน จำนวน 2,350 ปอนด์ นอกจากนี้ขั้นตอนการก่อสร้างสามารถสร้างเสร็จได้ง่ายและรวดเร็วด้วย ไม่เพียงเป็นการใช้วัสดุที่เรียบง่าย แต่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สถาปนิกยังให้ความสนใจกับภูมิทัศน์รอบ ๆ […]

บ้าน “อิฐบล็อก” สวยโดยไม่ต้องโดนฉาบ

บ้านสีเทาที่ดูเหมือนสร้างไม่เสร็จ (ในสายตาคนอื่น) แท้จริงแล้วมีเสน่ห์อย่างไร room มีตัวอย่างบ้านต่างประเทศสวย ๆ ที่ก่อสร้างขึ้นจาก อิฐบล็อก วัสดุสุดเรียบง่ายที่เราคุ้นเคยกันอย่างดีมาฝาก โดยเฉพาะใครที่กำลังอยากสร้างบ้านสไตล์ลอฟต์โชว์ผิววัสดุดิบ ๆ การฉาบปิดผิวสุดเนี้ยบในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนงานทาสีเก็บรายละเอียดจึงแทบไม่จำเป็น เพราะแค่เผยผิวแบบไร้สิ่งปรุงแต่ง แค่นั้นก็สวยได้โดยไม่ต้องโดนฉาบเลย เพราะเสน่ห์ของบ้านที่สร้างจาก อิฐบล็อก คือการโชว์ผิวให้แพตเทิร์นที่เกิดจากการเรียงต่อกันนั้น กลายเป็นลวดลายตกแต่งอาคารไปในตัว นอกจากนั้นใน อิฐบล็อก แต่ละก้อนจะมีรูตรงกลาง จึงเป็นเหมือนฉนวนกันความร้อนได้ดี และด้วยขนาดของก้อนที่ใหญ่ในขั้นตอนการก่อสร้างจึงสามารถแล้วเสร็จได้อย่างรวดเร็ว แถมเป็นวัสดุที่คุ้นมือช่าง ที่สำคัญมีราคาถูก ” อิฐบล็อก ”  จึงถือเป็นวัสดุที่น่าสนใจ หากนำมาก่อสร้างด้วยไอเดียสร้างสรรค์ รับรองว่าบ้านอิฐบล็อกก็สามารถสวยได้ ไม่แพ้บ้านที่สร้างด้วยวัสดุอื่นเลย k59 Home and Atelier   บ้านอิฐบล็อกที่อยู่สบายในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนของเวียดนาม ด้วยสภาพบ้านที่เป็นตึกแถว สถาปนิกจึงเลือกปรับตัวเองเข้าหาสภาพแวดล้อม โดยใช้โครงสร้างคอนกรีตและผนังคอนกรีตบล็อก รวมกับองค์ประกอบของงานไม้ เสริมบรรยากาศภาพรวมของบ้านให้ดูสบาย พร้อม ๆ กับการออกแบบที่เน้นให้แสงและลมพัดผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้ อย่างการออกแบบช่องว่างของอาคารและเพดานสูงโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซ ช่วยให้มีพื้นที่ลื่นไหลเชื่อมโยงกันอย่างอิสระ พร้อมพื้นที่สีเขียวริมระเบียงช่วยกรองฝุ่นและเสียงรบกวนได้อย่างดี Mipibu House บ้านอิฐบล็อกที่ชื่อว่า Mipibu House […]

HOUSE BETWEEN BLOCKS หยิบคอนกรีตบล็อกสุดธรรมดา มาประกอบเป็นบ้านแบบโปร่งโล่ง

บ้านคอนกรีตบล็อก หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองบาบาโอโย ประเทศเอกวาดอร์ เมืองที่บ้านเรือนส่วนใหญ่อาศัยในรูปแบบของตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ มีลักษณะหน้าแคบตอนลึกยาว อันเป็นสาเหตุให้แสงธรรมชาติส่องไปถึงและไม่สามารถระบายอากาศได้ จึงกลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ที่ตั้งของ House Between Blocks บ้านคอนกรีตบล็อก อยู่ในที่ดินขนาด 7×10 เมตร ซึ่งเป็นของนักออกแบบสื่อสารเกี่ยวกับเสียงและวิชวล ที่เน้นทำงานอีเว้นต์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ที่ได้รับการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบายเหมาะแก่การทำงานและอยู่อาศัย สถาปนิกเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง “คอนกรีตบล็อก” มาเรียงสับหว่างในส่วนของกำแพงด้านหน้า ส่วนประตูและหน้าต่างเลือกใช้วัสดุทั่วไปอย่าง ไม้ กระจก และเหล็ก ทั้งยังเลือกใช้ชายคาแบบโปร่งแสงเพื่อยอมให้แสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ หน้าต่างมีหน้าบานกว้างช่วยเสริมการระบายอากาศ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของพื้นที่ รวมไปถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดกะทัดรัดเพื่อประหยัดพื้นที่ เกิดการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด            บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างของการการอยู่อาศัยแบบพอดีและการออกแบบที่ยั่งยืน ด้วยการใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้น้อย และสามารถก่อสร้างได้ด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เรียกว่าเป็นการดึงศักยภาพของสิ่งที่มีในชุมชนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ออกแบบ : Natura Futura Arquitectura ภาพ : JAG Studio เรียบเรียง : BRL

SANTULAN BED & BREAKFAST ที่พักกลางภูมิทัศน์แห้งแล้งแต่งดงามในเม็กซิโก

อาคารอิฐบล็อก ที่เสมือนว่าลอยเหนือผืนดินอันแห้งแล้งใน Valle de Guadalupe สถานที่พักผ่อนยอดนิยมในจังหวัด Baja California ของเม็กซิโก คือโรงแรมขนาดเล็กในชื่อ Santulan Bed & Breakfast ที่ออกแบบขึ้นโดย Santos Bolivar Architects สถาปนิกวางแนว อาคารอิฐบล็อก ต่อกันเป็นรูปตัววี (V) ล้อมลานกลางแจ้งเอาไว้ อาคารที่พักประกอบด้วยล็อบบี้ เลานจ์เปิดโล่งสำหรับผู้เข้าพักได้นั่งชมทิวทัศน์อันกว้างไกล มีพื้นที่นั่งเล่นส่วนกลางถัดจากห้องครัวและห้องรับประทานอาหารส่วนกลางที่สร้างขึ้นเพื่อการสร้างปฏิสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันในหมู่แขกผู้มาเข้าพัก     สำหรับก้อนอิฐ ecoblock ที่เห็นนั้นคือส่วนผสมของดินเหนียว และดินบางส่วนจากสถานที่ตั้งซึ่งถูกขุดขึ้นมาสำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะในสัดส่วนของดินในพื้นที่ร้อยละ 70, ดินเหนียวร้อยละ 25, ซีเมนต์ร้อยละ 5 และน้ำสำหรับการผสมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน มันถูกบีบอัดเป็นก้อนโดยใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกแบบแมนนวลเพื่อผลิต ecoblock ให้ได้ในจำนวนที่ต้องการสำหรับก่อสร้าง ส่วนห้องพักแต่ละห้องนั้นมีระเบียงไว้นั่งมองทิวทัศน์หรือใครจะนั่งมองผ่านประตูกระจกบานเลื่อนด้านในก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ช่องเปิดที่ตัดผ่านอาคารยังมีลานขนาดเล็กและบันไดที่สามารถเดินขึ้นไปสู่ดาดฟ้าที่ตกแต่งด้วยต้นไม้พื้นเมืองได้อีกด้วย นอกจากนี้ตัวอาคารยังได้รับการยกสูงกว่าระดับพื้นดิน นั่นเป็นความตั้งใจของทีมออกแบบที่ต้องการจะสร้างภาพลวงตาให้อาคารเสมือนว่าลอยอยู่กลางอากาศ ด้วยการหุ้มอลูมิเนียมสะท้อนแสงตรงส่วนล่างของอาคารเอาไว้ เพื่อให้มันสะท้อนภูมิทัศน์โดยรอบให้เกิดความต่อเนื่องของภูเขาและผืนดินนั่นเอง         ออกแบบสถาปัตยกรรม : Santos […]

MIPIBU HOUSE บ้านอิฐบล็อก ทึบนอก โปร่งใน

บ้านอิฐบล็อก หลังนี้  คือบ้านบนที่ดินที่มีพื้นที่ในลักษณะยาวและแคบ ทำให้ผู้ออกแบบต้องแก้ปัญหาพื้นที่แคบและลึกของที่ดินแปลงดังกล่าว ด้วยการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเบิ้ลเป็นสองเท่า บดบังสายตาจากภายนอกด้วยการออกแบบตัวอาคารด้านนอกให้ทึบแต่โปร่งใน ช่วยแก้ปัญหาเขตรั้วชิดบ้านเรือนเคียงให้เกิดความเป็นส่วนตัวอย่างชาญฉลาด ด้วยที่ตั้งของ บ้านอิฐบล็อก Mipibu House ซึ่งอยู่ในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล มีมูลค่าของที่ดินที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทีมออกแบบจาก Terra e Tuma | arquitetos associados จึงต้องเน้นการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีสำหรับเจ้าของบ้าน เพื่อให้พื้นที่ใช้สอยทุกตารางนิ้วเป็นไปอย่างคุ้มค่าสูงสุด  เห็นได้จากการจัดสรรพื้นที่ใช้งานขนาดแคบแค่เพียง 5.6 x 30 เมตร ให้ยกระดับพื้นที่ด้านหน้าขึ้นเล็กน้อย เพื่อตัดการรบกวนจากอาคารรอบ ๆ ในระยะประชิด ประกอบกับความท้าทายของทีมออกแบบที่ต้องพบกับโปรแกรมมากมายสำหรับพื้นที่แห่งนี้ แต่ท้ายที่สุดพวกเขาก็กำหนดพื้นที่ใช้งานออกมาได้มากถึง 170 ตารางเมตรเลยทีเดียว เมื่อพิจารณาถึงบริบทในแนวดิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากที่ตั้งของที่ดินนั้นรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนของเพื่อนบ้าน บ้านหลังนี้จึงออกแบบโดยตั้งต้นจากภายใน เปิดพื้นที่ให้โปร่งโล่ง แล้วปิดล้อมด้วยกำแพงอิฐบล็อกให้ทึบสนิทที่สุด สร้างคอร์ตยาร์ดสองจุดกลางบ้านเพื่อให้แสงสว่างที่จำเป็นส่องผ่านมายังพื้นที่ภายในอาคารอย่างทั่วถึง เพื่อการระบายอากาศที่ดี รวมถึงเพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วนและมีคุณภาพที่เหมาะกับการใช้งานจริง แต่การตัดสินใจของผู้อาศัยที่สถาปนิกไม่คาดคิดอีกหนึ่งสิ่ง ก็คือการเลือกวางตำแหน่งของห้องนอนไว้ที่ชั้นล่าง แทนที่จะยกขึ้นไปไว้บนชั้นสองตามปกติทั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นส่วนตัวและเงียบสงบ โดยตำแหน่งของห้องนอนได้ถูกวางให้เชื่อมกับคอร์ตยาร์ดที่ออกแบบให้เกิดเป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ เพิ่มความเย็นให้กับบ้าน ส่วนคอร์ตยาร์ดอีกจุดหนึ่งได้วางตำแหน่งให้เชื่อมต่อกับครัว เป็นมุมพักผ่อนกลางแจ้งที่สามารถยกเก้าอี้ไปนั่งพักผ่อนได้จริง   […]

CASA NAKASONE บ้านอิฐเปลือยผิวในบริบทเเบบเม็กซิโก

บ้านอิฐ เปลือยผิว ขนาด 100 ตารางเมตร แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชานเมืองเม็กซิโกซิตี เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่เเล้วในพื้นที่อย่าง “อิฐมอญ” มาใช้ในการสร้างบ้าน เพื่อประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง และง่ายต่อการทำงานกับช่างในท้องถิ่น เเม้อิฐมอญจะเป็นวัสดุธรรมดา ๆ แต่ผลที่ได้กลับเป็นบ้านที่สื่อถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างน่าสนใจ เอื้อต่อการอยู่อาศัยอย่างเเท้จริง ในขั้นตอนการทำงานออกเเบบ บ้านอิฐ หลังนี้สถาปนิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับช่างในท้องที่ถึงวิธีการก่อสร้าง จนได้บ้านอิฐที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบคอร์ตกลางบ้านเอาไว้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในแง่ของความเป็นส่วนตัว เผื่อว่าในอนาคตที่ดินรอบ ๆ บ้านอาจเกิดงานก่อสร้างอื่น ๆ หรือมีความพลุกพล่านวุ่นวายตามมาในอนาคต อย่างน้อยบ้านหลังนี้ก็ยังมีพื้นที่คอร์ตยาร์ดอยู่ภายในสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นของบ้านนี้นอกจากการเลือกใช้วัสดุธรรมดาที่หาได้ง่ายเเล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของเเสงเงา เห็นได้จากบันไดหลักของบ้านที่มีสกายไลต์อยู่ด้านบน ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติค่อย ๆ ฉาบไล้ลงมายังพื้นที่ภายในบ้าน ผ่านผนังหินภูเขาไฟที่สถาปนิกเลือกนำมาใช้ เกิดเป็นเฉดสีของเเสงเงาที่แบ่งจังหวะของพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากกัน ส่วนบานกระจกที่ใช้เป็นประตูบ้าน นอกจากจะเปิดให้แต่ละสวนสามารถมองเห็นกันได้สะดวกแล้ว ยังปล่อยให้แสงเข้าสู่ตัวบ้านได้ในบางจุด ช่วยให้ภาพของอิฐที่ดูหนักเกิดจังหวะที่ดูโปร่งขึ้น ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างออกแบบเป็นส่วนรับแขก ครัว คอร์ตยาร์ด และส่วนรับประทานอาหาร ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวอาทิ ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องน้ำ โดยแบ่งห้องนอนออกเป็นสองปีกล้อมคอร์ตกลางไว้ ซึ่งคอร์ตนี้ออกแบบไว้เผื่อกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการต่อเติมพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เเละนี่ก็คือบ้านอิฐเปลือยที่มีการเล่นกับพื้นที่ รวมถึงการให้แสงธรรมชาติเข้ามามีบทบาทในแต่ละจุดได้อย่างน่าสนใจ […]

La casa que crece บ้านชั้นเดียวจากอิฐบล็อกและเมทัลชีท

บ้านอิฐบล็อก ชั้นเดียว ในพื้นที่แถบชนบทของประเทศเม็กซิโก ออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เมทัลชีท และอิฐบล็อก ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ใช้งานได้ดี และประหยัดงบประมาณ เพื่อให้ที่กลายเป็น บ้านอิฐบล็อก ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างได้ ทั้งยังสอดคล้องกับภูมิอากาศ และวิถีชีวิตการอยู่อาศัยของชาวเม็กซิโกได้อย่างดี โครงสร้างหลักของ บ้านอิฐบล็อก เป็นคอนกรีตสำเร็จที่ออกแบบมาจากโรงงาน หลังจากประกอบเข้าด้วยกันเเล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการแบ่งพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ของบ้านอิฐบล็อก โดยสามารถปรับเปลี่ยนต่อขยายได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครัวเรือน พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนกลางและลานปูนหน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวตามวัฒนธรรมพื้นถิ่นของเม็กซิโก ซึ่งคล้ายคลึงกับบ้านตามต่างจังหวัดในไทยเราไม่น้อย นอกจากนี้ชานปูนยังสามารถต่อขยายพื้นที่ สำหรับรองรับสมาชิกเเบบครอบครัวขยาย ที่ยังต้องการอยู่อาศัยบนที่ดินผืนเดียวกันกับญาติพี่น้องได้ในอนาคต เกิดเป็นหมู่อาคารขนาดย่อมที่สะท้อนถึงความกลมเกลียวกันของครอบครัว ที่นี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในเเง่ของการสร้างความผูกพัน รวมถึงเป็นการเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างบ้านเเบบง่าย ๆ ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็น “วัสดุราคาถูก” หรือ “วัสดุบ้าน ๆ” เเต่เมื่ออิฐบล็อก เเละเมทัลชีทถูกผนวกเข้ากับงานออกแบบที่ดี ก็สามารถกลายเป็นบ้านที่ใช้งานได้ดี อบอุ่น และลงตัวอย่างที่เห็น         ออกแบบ : JC Arquitectura, Kiltro Polaris Arquitectura ภาพ : […]

CHING CHAIR สตูลไม้ไผ่ ชูเนื้อแท้ความงามของธรรมชาติ

ในไต้หวันผู้คนมองว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่ยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิต ไม่ว่าจะใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง นั่นจึงทำให้สองดีไซเนอร์ Ta-Chih Lin และ Yi-Fan Hsieh เลือกนำไม้ไผ่มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ไม้ไผ่ ของพวกเขาในชื่อ “Ching Chair” โดยให้ความสำคัญกับความเป็นวัสดุดั้งเดิม ผ่านทางความรู้สึกทั้งการสัมผัสและการมองเห็น โดยกระบวนการออกแบบ เก้าอี้ไม้ไผ่ ครั้งนี้ ล้วนตั้งต้นมาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ และมีความยืดหยุ่นสูง   เริ่มจากการเลือกลำไม้ไผ่ที่มีความสมบูรณ์เพียงต้นเดียวมาตัดและแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามแบบที่ได้ดีไซน์ไว้ โดยดีไซเนอร์ได้สร้างแม่พิมพ์หลายชิ้นสำหรับแต่ละส่วน เพื่อให้ไม้ไผ่สามารถทำเก้าอี้ได้ง่ายและแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังได้รักษาผิวไม้ไผ่ด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อช่วยกักเก็บคลอโรฟิลล์ไว้ที่ผิวไม้ไผ่ให้ยังคงสีสันเขียวสดดูสวยงามแบบไม่มีวันซีดจาง ขณะที่ส่วนที่ยากที่สุดของการผลิตเก้าอี้ก็คือการดัดชิ้นไม้ไผ่ด้วยความร้อน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเวลาหลายปี จนได้เคล็บลับที่ไม่ทำให้ผิวไม้ไหม้ ก่อนจะเชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วย Joint ไม้ไผ่ ตรงส่วนขาของเก้าอี้แต่ละข้างซึ่งถูกคิดมาอย่างดี โดยไม่มีวัสดุใดเข้ามาช่วยผสานเลย อีกทั้งยังได้ประกอบชิ้นส่วนไปตามทิศทางของเส้นใยไม้ไผ่ในแนวตั้ง เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้เก้าอี้ไม้ไผ่มีความแข็งแรงมากเพียงพอ สำหรับรองรับน้ำหนักของคนนั่งได้ นอกจากข้อดีในแง่ของการหยิบวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นซึ่งเราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี มาใช้เป็นวัตถุดิบในงานออกแบบแล้ว ในอีกแง่หนึ่งไม้ไผ่ยังถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการผลิต และกระบวนการย่อยสลาย เก้าอี้ดีไซน์เรียบง่ายชิ้นนี้จึงสามารถบอกเล่าคุณสมบัติของไม้ไผ่ออกมาได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวของมันเอง ออกแบบ : Ta-Chih Lin & Yi-Fan Hsieh  ภาพ : […]