room
GATHER GROUND CAFE คาเฟ่พัทยา ชูรสชาติกาแฟไทย ในบรรยากาศคลาสสิก
Gather Ground Cafe คาเฟ่พัทยา คาเฟ่เล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ภายในชั้นล่างของโรงแรม Payaa hotel เปิดต้อนรับลูกค้าทั้งภายในโรงแรมและภายนอกให้ได้มาสัมผัสชาติกาแฟไทย ท่ามกลางบรรยากาศหรูหราเหมือนคาเฟ่ต่างประเทศ อีกหนึ่ง คาเฟ่พัทยา Gather Ground Cafe บอกเลยว่า บรรยากาศไม่ธรรมดา และคอกาแฟทั้งหลายห้ามพลาด! ต้องมาลองสักครั้งให้ได้ เพราะที่นี่พร้อมเสิร์ฟเมนูกาแฟไทยคุณภาพที่นำมาเบลน คั่ว และบดที่นี่เองเพื่อให้ได้รสชาติมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมกับบรรยากาศดีแบบมีรสนิยม การตกแต่งให้ความรู้สึกหรูหราและเข้มขรึม ด้วยดีเทลของงานทองเหลือง ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ต่อเนื่องมาจากห้องอาหารชาญ ผสมผสานกับงานไม้สีเข้มและงานหวาย เน้นกาแฟไทยคุณภาพดีเป็นหลัก ซึ่งคัดสรรมาจากไร่ทางภาคเหนือ ทั้งจากปางขอน จังหวัดน่าน ดอยช้าง ดอยแม่เจดีย์ จังหวัดเชียงราย แล้วนำมาคั่วโดยใช้เครื่อง The San Franciscan Roaster เครื่องคั่วกาแฟแฮนด์เมดจากอเมริกา ใช้ระบบแบบแมนนวลที่ต้องอาศัยความสามารถของผู้คั่วเป็นพิเศษ โดยลูกค้าสามารถมองเห็นเครื่องคั่วรูปทรงคลาสสิกนี้ ได้จากห้องกรุกระจกที่อยู่ใกล้ ๆ หากวันไหนมาแล้วโชคดีก็จะได้เห็นการคั่วกาแฟแบบสด ๆ ให้ชมด้วย มีเมนูเด่นอยากนำเสนอคือ Modern Espresso ซึ่งทางคาเฟ่ใช้วิธีการชงที่แตกต่าง เพื่อให้ได้รสชาตินุ่มนวล ดื่มง่าย ด้วยการบดกาแฟให้หยาบกว่าปกติเล็กน้อย […]
ADIUVAT COFFEE ROASTER QUINHON ยกบรรยากาศบ้านเวียดนามดั้งเดิม มาไว้ใน คาเฟ่ตึกแถว
คาเฟ่ตึกแถว อบอุ่นเหมือนนั่งจิบกาแฟสบาย ๆ ในบ้านไม้ ชวนให้นึกย้อนรำลึกถึงวันวานที่มีทั้งความเรียบง่ายและเงียบสงบ คาเฟ่ตึกแถว แห่งนี้ ตั้งอยู่ในตึกแถวริมถนนสายเก่าแก่ของเมืองกวีเญิน (Quy Nhơn) ประเทศเวียดนาม มาพร้อมแนวคิดที่เอาชนะปัญหาพื้นที่แคบและปิดทึบให้มีความรู้สึกปลอดโปร่งผ่านช่องแสงที่ปรับใหม่ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุซึ่งนิยมใช้ในการสร้างบ้านเวียดนามแบบดั้งเดิมมาผสมผสาน ด้านหน้าสะดุดตาด้วยป้ายชื่อร้านทำจากแผ่นเหล็กฉลุลายตัวอักษรขนาดใหญ่ ผนังและประตูเปลี่ยนมากรุกระจกใสขนาดใหญ่สูงจรดเพดาน เพื่อให้แสงส่องเข้ามาด้านในได้เต็มที่ ภายในจัดเรียงลำดับการใช้งานตามฟังก์ชั่นที่ต่อเนื่อง มีเคาน์เตอร์บาร์ขนาดใหญ่ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญโดยก่อขึ้นจากซีเมนต์ และพื้นเป็นกรวดล้างดูแลรักษาง่าย ผนังร้านกรุแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ลวดลายขรุขระสีเทา ตัดกับผนังไม้เก่าในโซนที่นั่งด้านใน เป็นการใช้วัสดุเพื่อแบ่งโซนให้แตกต่างได้อย่างเป็นสัดส่วน ห้องในสุดใช้เป็นห้องคั่วเมล็ดกาแฟที่กั้นด้วยกระจก ทำให้มองเห็นขั้นตอนการคั่วเมล็ดกาแฟสดๆ ได้ชัดเจน รับกับผนังที่ทำผิวขรุขระเหมือนผนังถ้ำ ตกแต่งต้นไม้และออกแบบแสงสว่าง ช่วยขับเน้นบรรยากาศให้สวยสะดุดตา เป็นอีกมุมไฮไลต์ของคาเฟ่นี้ก็ว่าได้ ขึ้นชั้นบนด้วยบันไดไม้ จำลองบรรยากาศเหมือนบ้านไม้สองชั้น พื้นปูด้วยไม้ หรือแม้แต่ฝ้าเพดานก็ยังออกแบบให้เหมือนบ้านไม้มุงหลังคาสังกะสี เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นหลัก มีการเจาะพื้นเดิมออกเพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ ให้แสงที่ผ่านเข้ามาจากผนังกระจกหน้าร้านชั้นสองนี้ สามารถส่องเข้ามายังพื้นที่ด้านในร้านได้ทั่วถึง ลดปัญหาอับทึบของตึกแถวได้อย่างดี ที่นี่จึงเป็นโปรเจ็กต์ที่รวบรวมเทคนิคการก่อสร้างบ้านดั้งเดิมในท้องถิ่นมาหลอมรวมไว้ ให้กลับมาสู่การออกแบบยุคปัจจุบัน เพื่อพาทุกคนคืนสู่ความเรียบง่าย แต่สวยงามถูกใจคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันเริ่มหาชมบรรยากาศบ้านไม้ท้องถิ่นแบบนี้ได้ยากแล้ว ออกแบบ-ตกแต่ง : A+H architectออกแบบเเสงสว่าง : Ori Lightingก่อสร้าง : Ori Contructionภาพ : Quang […]
KATINAT-BINH PHU เปลี่ยนโรงเรียนอนุบาลเป็นคาเฟ่อบอุ่นสีโกโก้
รีโนเวตตึกเก่า ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนอนุบาลอยู่บริเวณหัวมุมสี่แยกของถนนสายเก่าแก่ Rue Catinat กลางนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นคาเฟ่คอนเซ็ปต์เหนือกาลเวลา มีเส้นโค้งและสีโกโก้เพิ่มความอบอุ่นให้ทุกอณู ก่อนจะได้รับการปลุกชีพผ่านการ รีโนเวตตึกเก่า ให้เป็นคาเฟ่อีกสาขาหนึ่งของแบรนด์กาแฟ Katinat ซึ่งมีสาขากว่า 50 แห่ง ทั่วประเทศเวียดนาม เจ้าของและทีมสถาปนิกมีความตั้งใจอยากจะอนุรักษ์อาคารดั้งเดิม พร้อมกับมอบประสบการณ์การดื่มกาแฟ ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นดูทันสมัย หลอมรวมความงามของยุคใหม่กับยุคเก่าให้เป็นหนึ่งเดียว สำหรับ DNA ของคาเฟ่เกือบทุกสาขาของ Katinat นั้น เรียกว่าทุก ๆ แห่ง ล้วนตั้งใจสื่อสารความเป็นจิตวิญญาณ หรือบริบทแวดล้อมที่มีความโดดเด่นของแต่ละท้องถิ่น เพื่อชูเรื่องราวและเอกลักษณ์ซึ่งหาซ้ำไม่ได้จากที่ไหน เช่นเดียวกับที่นี่ที่สร้างความเซอร์ไพรส์ให้แก่ผู้คนในย่าน กับการเปลี่ยนโรงเรียนอนุบาลที่มีสระว่ายน้ำอยู่ข้างใน โดยผู้ออกแบบยังคงรูปลักษณ์ของตัวอาคารเดิมที่ยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงไว้เพื่อเชื่อมโยงกับอดีต ภายใต้การมอบประสบการณ์ใหม่ เลือกดีไซน์เคาน์เตอร์โค้ง บันไดโค้ง และหุ้มผิวด้วยสังกะสี เพื่อสะท้อนภาพความแข็งแรงของโครงสร้าง พื้นเป็นหินขัด เสาคอนกรีตเผยให้เห็นร่องรอยของพื้นผิวแบบหยาบ นำแสงเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคารด้วยผนังบล็อกแก้วที่สูงขึ้นไปถึงชั้นสอง ตรงกลางมีมุมไฮไลต์คือ บันไดคอนกรีตทรงกลมโค้งมน มีชั้นลอยแบบโค้งมองลงมาเห็นวิวความคึกคักของบรรยากาศชั้นล่าง เคาน์เตอร์บาร์มีรูปทรงแบบฟรีฟอร์มหุ้มหน้าเคาน์เตอร์ด้วยแผ่นสเตนเลส ล้อมกรอบถ้วยแถบอะลูมิเนียมสีบรอนซ์ เช่นเดียวกับแถบตกแต่งผนัง สเตชั่นที่นั่งทำจากคอนกรีตทรงโค้งออร์แกนิกช่วยลดความแข็งกระด้างของโครงสร้างอาคารทั้งหมด โต๊ะเป็นทรงกลมทำจากหินขัด เบาะที่นั่งและพนักพิงบุหนังเทียมสีน้ำตาลโกโก้ เพื่อสื่อถึงสีของกาแฟลาเต้และมอคค่าที่ดูอบอุ่น ตัดกับสีเทาของวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล่าคอนกรีต กระจก และบล็อกแก้ว […]
KOSHISH HOUSE สถาปัตยกรรมยั่งยืน เล่าการใช้งานใหม่ให้วัสดุมีหน้าที่ไม่จำกัด
สร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กระเบื้องดินเผากว่า 14,858 ชิ้น ให้กลายเป็นส่วนประกอบหนึ่งของบ้านกึ่งสตูดิโอออกแบบดีไซน์โมเดิร์น
WH CAFE รุ่งอรุณแห่งวังหิ่งห้อย ในบรรยากาศของร้านอาหารกลางสวนทรอปิคัล
WH cafe วังหิ่งห้อย ในพาร์ทบรรยากาศยามเช้า ต้อนรับวันใหม่ด้วยอาหารแบบ All Day Breakfast ทั้งอิ่มท้องและสดชื่นกลางสวนสไตล์ทรอปิคัล หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ วังหิ่งห้อย (Wanghinghoi) บาร์และร้านอาหารสไตล์ไฟน์ไดนิ่งที่สร้างสรรค์ประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ครบถ้วนทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และแสง ผ่านแนวคิดธาตุทั้ง 4 ท่ามกลางบรรยากาศสลัวรางดูลึกลับในยามค่ำคืน โดยครั้งนี้วังหิ่งห้อยขอเพิ่มทางเลือกใหม่เพื่อจัดเสิร์ฟอาหารสไตล์ All Day Breakfast เปิดบริการในช่วงเวลากลางวัน ท่ามกลางบรรยากาศป่าเขตร้อน โดยใช้ชื่อว่า WH Cafe ย่อมาจาก Wang Hinghoi นั่นเอง WH cafe วังหิ่งห้ จากความพลุกพล่านของย่านอาร์ซีเอ พระราม 9 ที่นี่จะพาทุกคนหลบเข้ามาสู่บรรยากาศของสวนป่ากลางเมือง เริ่มต้นตั้งแต่สองข้างทางเดินด้านนอกที่ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยสวนสีเขียว ก่อนบังคับให้เดินผ่านกำแพงดินสูงตระหง่านราว 5 เมตร ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของโครงการ เดินตามป้ายบอกทางไปเรื่อย ๆ แล้วจะพบกับประตูเหล็กสีขาวขนาดใหญ่เพื่อผลักเข้าสู่พื้นที่ของ WH Cafe ซึ่งเคยเป็นอีกส่วนหนึ่งของวังหิ่งห้อย โดยได้รับการออกแบบต่อเติมใหม่ให้กลายเป็นคาเฟ่บรรยากาศสว่างปลอดโปร่ง สเปซกับบรรยากาศได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนสวนหลังบ้าน ภายใต้แนวคิด Into […]
HACHI HOMESTAY & SPA โฮมสเตย์บ้านไม้ใต้ถุนสูงในสวนส้มโอเมืองเว้
โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง ในสวนส้มโอเก่า เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางมาพักผ่อน และซึมซับวิถีชนบทที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติของเมืองเว้ เมืองท่องเที่ยวสำคัญของเวียดนาม HACHI HOMESTAY & SPA โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง Hachi homestay & spa โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง แห่งนี้ สร้างขึ้นเพราะเจ้าของอยากจะเชื่อมโยงคนจากภายนอกเข้าสู่ความเป็นท้องถิ่น โดยใช้พื้นที่ของสวนส้มโอเก่าที่ยังคงมีต้นส้มโอขนาดใหญ่ให้เห็น เป็นที่ตั้งของอาคารที่พักรูปตัวยู (U) ซึ่งมีสระว่ายน้ำอยู่ตรงกลาง เปิดมุมมองให้เห็นสวนรอบ ๆ ผ่านพื้นที่พักผ่อนใต้ถุนสูง สะท้อนภูมิปัญญาการสร้างบ้านของชาวอุษาคเนย์ แผนผังรูปตัวยู (U) ช่วยให้กิจกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นรอบพื้นที่สระว่ายน้ำตรงกลางของบ้านพัก พื้นที่ใต้ถุนชั้นล่างเป็นเสมือนพื้นที่ส่วนกลางจัดให้แขกสามารถพักผ่อนและสัมผัสได้ถึงสภาพแวดล้อมและความร่มรื่นของสวนส้มโอ ขณะที่ห้องพักแต่ละไทป์จะอยู่บนชั้นสองของบ้านทั้งหมด ซึ่งมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเปลือยโชว์พื้นผิวและใช้ไม้ในส่วนอื่น ๆ อาทิ ประตู หน้าต่าง ราวระเบียงกันตก บันได และเฟอร์นิเจอร์ แต่ละห้องได้รับการออกแบบให้แยกออกจากกันเพื่อความเป็นส่วนตัว อีกทั้งยังทำให้เกิดช่องว่างที่ช่วยเชื่อมโยงวิวสวนและเกิดการระบายอากาศได้รอบอาคาร มีการตกแต่งห้องพักตามธีม ผ่านการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยสร้างบรรยากาศแบบไม่ซ้ำ โดยเน้นโชว์พื้นผิวที่เป็นธรรมชาติให้เห็น อาทิ คอนกรีตเปลือย อิฐ หิน และไม้ หลังคาลาดเอียงขนาด 500 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมตัวอาคารรูปตัวยู […]
IN MY ELEMENT CAFE รวมองค์ประกอบความสุขในคาเฟ่ปูนดิบเท่
In My Element Cafe คาเฟ่คอนกรีตเปลือยรูปทรงเรขาคณิตสไตล์ Brutalist ดิบเท่ไร้การปรุงแต่ง กลางย่านราชพฤกษ์ แปลกตาด้วยรูปทรงคล้ายโดม หรือปล่องควันอย่างโรงงานอุตสาหกรรม เล่นสนุกกับประสบการณ์และจินตนาการของผู้พบเห็นแบบไม่ตีกรอบ คล้ายกับกำลังมาชมงานศิลปะ ความดิบปนเท่ของคอนกรีตเปลือยและรูปทรงเรขาคณิต ภายใต้การตกแต่งที่เน้นสีโมโนโทนเรียบนิ่ง เป็นเสน่ห์ที่คุณดารัตน์ โรจนภักดี เจ้าของคาเฟ่ In my Element Cafe ชื่นชอบและยังช่วยสะท้อนตัวตนของเธอได้อย่างดี โดยในความหมายของชื่อ In My Element ที่เธอคิดขึ้นนั้นคือการนำพาองค์ประกอบที่ใช่และถูกใจมาใส่ไว้ที่เดียว หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า Element ยังหมายถึงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้นสถาปัตยกรรมที่ไร้การปรุงแต่ง หรือสัจวัสดุจึงเป็นอีกนิยามของธรรมชาติ เพื่อให้คอนเซ็ปต์มีความชัด เราจึงได้เห็นไอเดียการดึงแสงธรรมชาติจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ออกแบบให้ความสำคัญ ผ่านการออกแบบผนังเป็นช่องแสงทั้งสี่เหลี่ยมและครึ่งวงกลม มีมุมไฮไลต์คือสวนหย่อมขนาดเล็ก โดดเด่นด้วยต้นแก้วเจ้าจอม ที่ตัดแต่งทรงพุ่มกลมสวยงาม มีใบสีเขียวอ่อนช่วยลดความดิบกระด้างของอาคารคอนกรีต หลังคาด้านบนซึ่งเป็นส่วนของปล่องอาคารที่สูงขึ้นไปนั้น ออกแบบให้มีช่องแสงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่สามารถมองเห็นท้องฟ้าและนำแสงแดดลอดผ่านลงมาถึงเรือนยอดของต้นไม้ได้อย่างพอดี โดยแสงแดดนี้จะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลาและฤดูกาล เรียกว่าในแต่ละวันความงามของมุมนี้แทบจะไม่ซ้ำกันเลย จึงเป็นมุมที่ทุกคนมักมาถ่ายรูป โคนต้นปลูกประดับไม้พุ่มขนาดเล็ก และจัดวางประติมากรรมก้อนหิน พื้นโรยหินกรวดและปูแผ่นคอนกรีต เช่นเดียวกับพื้นสวนเอ๊าต์ดอร์ด้านนอก นอกจากนี้ สถาปนิกยังสร้างสรรค์ลวดลายธรรมชาติให้ปรากฏลงบนพื้นผิวต่าง […]
room Guide Ep.25 สำรวจพิพิธภัณฑ์ที่สุดของคลังดีไซน์ The Vitra Design Museum
room Guide Ep.25 สำรวจพิพิธภัณฑ์ที่สุดของคลังดีไซน์ The Vitra Design Museum
Module collection จาก DEESAWAT โต๊ะก็ดี เก้าอี้ก็ได้ กระถางต้นไม้ก็ยังได้อีก!
Module collection โปรเจ็คต์ที่เกิดจากความร่วมมือของ DEESAWAT x SCG x Jacob Jensen Design|KMUTT ที่พยายามพลิกมุมมองเพื่อสร้าง “ความยั่งยืน” ในงานออกแบบ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แม้ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการหลายรายนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งหรือลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ทำอยู่นั้น อาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และหากไม่มีการออกแบบที่ครบวงจรเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราก็คงต้องปัญหานั้นอย่างไม่มีวันจบสิ้น MODULE collection ออกแบบภายใต้การคำนึงถึงการออกแบบที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ Lifecycle แรกของตัวสินค้า และยังมีการออกแบบฟังก์ชั่นให้ Lifecycle ที่ 2 อีกด้วย ในส่วนของที่นั่งไม้สัก เป็นไม้ที่มีการใช้งานได้คงทนทั้งภายนอกภายใน จึงมีการออกแบบให้เรียบง่าย และมีกระบวนการไสไม้ให้น้อยที่สุด เผื่อว่าอนาคตสามารถนำไม้ดังกล่าวไปใช้เป็นวัสดุใหม่ในการทำผลิตภัณท์ต่างๆ และส่วนของซีเมนต์จาก SCG นั้น ผลิตด้วยกระบวนการ 3D printing เพื่อลดการทำแม่พิมพ์ในการขึ้นชิ้นงาน และยังมีการออกแบบเซาะร่องในตัวชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นสนาม หรือรั้วต้นไม้ได้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานแล้วหรือมีการแตกหักเสียหาย DEESAWAT เลือกร่วมงานกับ SCG โดยมีเป้าหมายในการทดลองนำปูนซีเมนต์กลับมารีไซเคิล ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะมีต้นทุนในการขนย้ายสูง และต้องใช้เครื่องจักรที่ใหญ่มากในการบดย่อยสลาย ดังนั้นถ้าเจ้าของสินค้าสามารถนำชิ้นงานซีเมนต์ไปใช้ใหม่ได้ด้วยตัวเอง […]
LEILO COFFEE SPACE ความสุขในคาเฟ่มินิมัลแสนสงบ
Leilo coffee space (เลโล คอฟฟี่ สเปซ) คาเฟ่เมืองระยอง ที่เกิดจากการปรับร้านใหม่ให้เรียบนิ่งในสไตล์มินิมัล ซ่อนตัวอยู่หลังกำแพงสีเบจสูงทึบ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว ตัดขาดจากบริบทความวุ่นวายของถนนด้านนอก ชวนทุกคนให้เข้ามาดื่มด่ำกับกาแฟและบรรยากาศเงียบสงบโอบล้อมด้วยสีเขียวจากธรรมชาติ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SA-ARD architecture & construction Leilo coffee space เดิมที่นี่มีชื่อว่า Happy Cup หลังจากสั่งสมประสบการณ์การเปิดคาเฟ่มาระยะหนึ่ง เจ้าของมีความต้องการอยากปรับรูปแบบใหม่ทั้งตัวร้านและแนวทางการทำกาแฟ จนเกิดเป็นการรีแบรนด์ดิ้งขึ้นมา โดยได้มีการ Collaboration กับแบรนด์ Cozy Factory ที่เชี่ยวชาญด้านกาแฟและการคั่วกาแฟ เพื่อช่วยชูรสชาติกาแฟของร้านให้เด่นชัดและจัดเต็มยิ่งกว่าเดิม ขณะที่การรีโนเวตร้านเป็นหน้าที่ของ SA-ARD architecture & construction โดยผู้ออกแบบได้นำความต้องการของเจ้าของที่อยากให้ร้านเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นมาคลี่คลายสู่บรรยากาศร้านใหม่ ภายใต้แนวคิด Minimalism เพิ่มความอบอุ่นให้ร้านด้วยสีเอิร์ธโทนและวัสดุธรรมชาติ โดยผู้ออกแบบยังคงเก็บอาคารเดิมไว้ทั้งหมด แต่ปรับให้พิเศษยิ่งขึ้น อาทิ พื้นที่ผนังกระจกหน้าร้าน จากเดิมที่อยู่จนสุดผนังทำให้มิติของร้านดูแบน ได้รับการปรับใหม่ให้ร่นระยะเข้ามาเพื่อให้ด้านหน้ามีสเปซมากขึ้น แล้วทำฐานซีเมนต์ให้ยื่นออกไป สร้างมุมมองให้เหมือนตัวอาคารลอยสูงขึ้นจากพื้น ขณะที่สีของอาคารก็เปลี่ยนเป็นสีคาราเมล หรือสีเบจตามที่เจ้าของชื่นชอบ แล้วแต่งผนังเป็นลายลูกฟูกช่วยสร้างเท็กซ์เจอร์ไม่ให้ผนังดูเรียบจนเกินไป เมื่อมีแสงแดดตกกระทบจะทำให้เห็นมิติของลวดลายที่ชัดเจน […]
QUB ROOMS รีโนเวตตึกแถวเป็นโรงแรมลอฟต์สีดำ
รีโนเวตตึกแถว เป็นโรงแรมลอฟต์ มอบความสงบแม้พักผ่อนอยู่ใจกลางเมืองดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด Qub Rooms รีโนเวตตึกแถว 3 ชั้น ให้กลายเป็นโรงแรมสไตล์ลอฟต์ที่มีเสน่ห์และโดดเด่นที่สุดในย่านการค้าใจกลางเมืองเซมารัง ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดเด่นดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด ตรงกลางกรุกระจกเพื่อเป็นช่องนำแสงเข้าสู่ภายในห้องพัก จัดวางสลับกันเพื่อเป็นการหลอกสายตา แทนการแบ่งเปลือกอาคารเป็นชั้น ๆ ทำให้เป็นเสมือนอาคารขนาดใหญ่ เป็นลูกเล่นที่น่าสนใจและช่วยสร้างอัตลักษณ์ที่มีเสน่ห์น่าค้นหาให้แก่โรงแรม จนเกือบลืมไปเลยว่าเดิมที่นี่เคยเป็นแค่ตึกแถวธรรมดา การเปลี่ยนแปลงบทบาทใหม่ครั้งนี้ โครงสร้างเดิมอาทิ ฝ้าเพดาน ผนัง และบันไดได้ถูกรื้อถอนออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับโรงแรมมากขึ้น บริเวณล็อบบี้และโถงทางเดินใช้เหล็กสีดำในการตกแต่ง บันไดทำจากแผ่นเหล็กเจาะรูเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แถมสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวผ่านความโปร่งของบันได สร้างความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าให้กับพื้นที่ส่วนกลาง และหน้าต่างบานเกล็ดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวอาคารยังทำให้ภายในโรงแรมมีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา การตกแต่งภายเน้นใช้ธีมสีโมโนโทนเพื่อช่วยให้ที่นี่ดูเรียบหรูมีสไตล์ ผนังห้องพักแต่ละห้องใช้อิฐทาสีดำกรุเป็นฉากหลัง ผนังโค้งมนด้านนอกห้องพักใช้สีขาวเรียบจับคู่กับความดิบของเพดานปูนเปลือย ประดับท่อสายไฟที่หุ้มด้วยเหล็กสีดำ สร้างบรรยากาศสไตล์ลอฟต์กลิ่นอายโมเดิร์น เป็นความเรียบง่ายที่ซ่อนความเท่ไว้ด้วยโทนสีและเหล่าเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นทำจากงานเหล็กเช่นเดียวกัน และเนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ในเขตเมือง เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษและช่วยให้ผู้เข้าพักได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สถาปนิกจึงใช้ต้นไม้เข้ามาช่วยกรองมลพิษอีกชั้นที่บริเวณผนังบานเกล็ดข้างทางเดินบันไดเหล็กเจาะรูสีดำ เป็นมุมมองที่ช่วยความรู้สึกสบายตาและสดชื่นขึ้นมาทันที นอกจากนี้ยังประดับกระถางต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ ด้วย เป็นอีกโปรเจ็กต์การรีโนเวตอาคารขนาดเล็กให้กลายเป็นโรงแรมที่ท้าทายสถาปนิกอย่างมาก ทั้งการเอาชนะข้อจำกัดของอาคารที่ทั้งแคบ แถมยังตั้งอยู่ในย่านที่มีตึกแถวแออัดและพลุกพล่านให้เป็นที่พักผ่อนกลางใจเมือง มอบประสบการณ์การพักผ่อนให้ยิ่งพิเศษมากขึ้นกว่าเคย ออกแบบ : Tamara Wibowo Architects […]
UNDER THE SUN คาเฟ่พัทยา กับอาคารสีแดงเล่นได้ รับวิวพระอาทิตย์ตกกลางทะเล
Under the Sun คาเฟ่พัทยา เปิดใหม่ โดดเด่นภายใต้สถาปัตยกรรมครึ่งวงกลมสีแดง ที่มาพร้อมแนวคิดสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนผ่านการเล่น ช่วยให้อาคารมีชีวิตชีวา เหมาะพาครอบครัวมาพักผ่อนรับวิวพระอาทิตย์ตกวงกลม ๆ กลางทะเล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: POAR ภาพเด็กเล่นชิงช้า บ้างก็ทิ้งตัวสไลด์ไปตามความโค้งของขอบครึ่งวงกลม เป็นบรรยากาศสนุก ๆ ที่เราได้พบเห็นจากสถาปัตยกรรมซึ่งใช้เป็นอาคารของ Under the Sun คาเฟ่สีแดงดีไซน์โดดเด่นที่ตั้งตระหง่านและมีสีสันสดใสตัดกับสนามหญ้าสีเขียวริมชายหาด พื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงแรม ANA ANAN Resort & Villas Pattaya โจทย์การสร้างสรรค์อาคาร เริ่มมาจากทางโรงแรมต้องการให้พื้นที่สนามหญ้าติดชายหาดนี้ ทำหน้าที่เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ สำหรับจัดอีเว้นต์ต่าง ๆ รวมถึงโปรเจ็กต์ร้านอาหารและคาเฟ่ในลักษณะอาคารแบบชั่วคราว ที่เปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตตามการใช้งานที่ดิน โดยมีสถาปนิกจาก POAR ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ ภายใต้ความท้าทายว่า จะทำอย่างไรให้การมาคาเฟ่ หรือร้านอาหาร ทุก ๆ คนสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้แบบไม่แบ่งโซนเด็กและผู้ใหญ่ ขณะที่มุมมองของเด็ก อาจไม่ได้รู้สึกอิ่มเอมกับการตกแต่งหรือวิวอย่างผู้ใหญ่ สิ่งสำคัญของเขาคือการเล่นและอยากให้พ่อแม่มาเล่นด้วย ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกใจคนทั้งสองวัย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มาใช้งานและสนุกด้วยกันได้แบบไม่เขิน “รูปทรงอาคารเป็นได้ทั้งเครื่องเล่น ประติมากรรม และงานศิลปะ ซิกเนเจอร์ของ […]
บ้านร่วมสมัย จากวัสดุพื้นถิ่น สไตล์อ่างทอง
ถ้าจะนิยามคำว่า “วัสดุพื้นถิ่น” แก่การออกแบบสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน คำ ๆ นี้อาจหมายถึงวัสดุที่หาได้ง่าย มีช่างในพื้นที่ที่เข้าใจวิธีการก่อสร้างได้ดี และเหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่นั้น ๆ หากเป็นเช่นนั้น บ้านหลังนี้ที่ออกแบบโดย PHTAA ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้ “วัสดุพื้นถิ่น” ได้
BLACKBIRD HOTEL โรงแรมขนาดเล็ก ดีไซน์ไม่เหมือนใคร สร้างจากไม้ทรงกลม
Blackbird Hotel โรงแรมขนาดเล็ก ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเสิร์ฟประสบการณ์การพักผ่อนในอาคารไม้ทรงกลม ดีไซน์ให้ขึ้นไปนอนแช่อ่างชมวิวได้แบบสบายใจ โรงแรมขนาดเล็ก สไตล์กระท่อมไม้ ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย มีดีไซน์ไม่เหมือนใครด้วยอาคารรูปทรงกระบอก ดูแล้วคล้ายกลองไม้ 3 ใบ ผุดขึ้นกลางผืนดิน เป็นการออกแบบโดย Rdma กับแนวคิดที่ต้องการให้ที่พักเฟสใหม่นี้ ช่วยสร้างประสบการณ์การพักผ่อนที่แตกต่าง บอกเล่าผ่านงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ เพื่อสร้างอารมณ์แนบชิดกับธรรมชาติ เติมเต็มการพักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่ม Rdma เลือกใช้ไม้สำหรับออกแบบห้องพักในรูปแบบของกระท่อมไม้ 3 หลัง เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการก่อสร้างระบบเปียกที่ต้องใช้วัสดุจำพวกปูน หรือซีเมนต์ในระหว่างการก่อสร้าง ด้วยกลัวจะเป็นภาพที่ไม่น่ามอง สำหรับแขกของโรงแรมที่พักอยู่ในอาคารหลังเดิม โดยการออกแบบครั้งนี้สถาปนิกได้รวบรวมไม้หลายชนิด มีผิวสีน้ำตาลหลากหลายเฉดมาผสมผสานกัน จนเกิดเป็นผลลัพธ์ให้ผิวของอาคารมีสีสันที่สวยงามและอบอุ่นจากงานไม้ ความน่าสนใจของงานออกแบบครั้งนี้ คือการใช้ไม้หุ้มอาคารรูปทรงโค้ง หากสังเกตดี ๆ จะเห็นเทคนิคการตีไม้ทำผนังที่มีทั้งแบบยกขึ้นและจมลง การใช้เทคนิคนี้ไม่เพียงเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นช่องทางช่วยระบายอากาศ และเพิ่มแสงสว่างภายใน สำหรับการจัดผังพื้นที่ภายใน กำหนดให้มีห้องนอนและห้องน้ำในตัว โดยทั้งสองพื้นที่ถูกแยกจากกันด้วยบันไดแทนประตูธรรมดา มีมุมไฮไลท์อยู่ที่ชั้นบน ซึ่งออกแบบให้ห้องอาบน้ำที่สามารถมองวิวยอดไม้และท้องฟ้า ผ่านช่องหลังคาสกายไลท์ที่ออกแบบมาพอดีกับเส้นรอบวง นอกจากที่พักซึ่งเป็นอาคารทรงกลมทั้ง 3 หลังแล้ว ใกล้กันบนชั้นดาดฟ้าของอาคารคอนกรีตสีขาวหลังเดิม ยังได้รับการต่อเติมให้เป็นห้องพักขนาดใหญ่ 2 ห้องนอน มีมุมครัว […]
CASCADING HOUSE บ้านคอนกรีต หล่อพร้อมสวน 3 ระดับ
บ้านคอนกรีต ดีไซน์โมเดิร์นในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย กับการออกแบบบ้านเพื่อเอาชนะความลาดชันของที่ดิน พร้อมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการอยู่อาศัย ด้วยแทรกพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อนและนำพาแสง-ลมเข้าสู่บ้าน บ้านคอนกรีต กับการออกแบบบ้านตามระดับความลาดชันของที่ดิน ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับถนนหน้าบ้านลงไปถึง 5 เมตร ขณะที่ที่ดินของบ้านก็มีความแตกต่างกันถึง 3 เมตร แทนที่จะทำให้ตัวเองโดดเด่นจากไซต์ บ้านหลังนี้กลับเน้นการออกแบบให้กลมกลืนไปกับภูมิประเทศของไซต์ ด้วยการจัดเรียงพื้นที่ใช้งานของบ้านให้มีลักษณะแบบลดหลั่นกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบมาให้สำหรับคู่รักหนุ่มสาวที่มีลูกเล็ก ๆ 2 คน พร้อมโจทย์ที่อยากให้บ้านมีความเรียบง่าย มีพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะกับการใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย หลังจากศึกษาไซต์เรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจาก Tamara Wibowo Architects ได้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วยพื้นที่ต้อนรับ และโรงรถซึ่งถูกวางไว้ที่ระดับสูงสุดของไซต์ แล้วจึงค่อยเป็นพื้นที่นั่งเล่น และรับประทานอาหารที่วางอยู่ตรงกลาง และระดับต่ำสุดคือ ตำแหน่งห้องนอน 4 ห้อง ที่จัดเป็น 2 ระดับ มวลอาคารทั้ง 3 ระดับจึงดูลดหลั่นกันลงมาตามไซต์ เรียกง่าย ๆ คือความสูงของมวลห้องนอนจึงเท่ากับมวลพื้นที่พักผ่อนของบ้านนั่นเอง แม้จะเป็นโครงสร้างคอนกรีตหนาหนัก แต่ก็ไม่ลืมออกแบบพื้นที่สีเขียวไว้ด้วย เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้หย่อนใจ และพักสายตาไปกับสวนที่แทรกอยู่ระหว่างมวลอาคารทั้ง 3 ระดับ เช่น […]
INKA ชิลไปกับร้านอาหารสไตล์บีชคลับกลางกรุงเทพฯ
INKA – อิงคฺ ร้านอาหารซึ่งมีชื่อแปลว่า แสงสว่าง กับมุมมองที่เห็นวิวตึกสูงของกรุงเทพฯ ได้จากชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้า Central Embassy เสิร์ฟอาหารไทยที่รังสรรค์ขึ้นใหม่ให้มีความทันสมัย ภายใต้บรรยากาศสุดชิลเหมือนอยู่ในรีสอร์ตริมทะเล Inka มาพร้อมความพิเศษกับรูปแบบร้านอาหารที่เรียกว่า Progressive Thai Restaurant เชิญชวนทุกคนให้มาลิ้มรสอาหารไทยอร่อย ๆ ที่รังสรรค์โดยเชฟมืออาชีพมากประสบการณ์ กับแนวคิดเพื่อยกระดับคุณค่าอาหารไทย ด้วยการนำอาหารพื้นถิ่นมาทำให้มีมูลค่ามากขึ้น โดยใช้เทคนิคการปรุงอาหารแบบฝรั่งมาผสมผสาน จัดเสิร์ฟให้คนเมืองได้สัมผัสประสบการณ์รสชาติอาหารไทยในรูปลักษณ์และดีไซน์ทันสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งรสชาติกลมกล่อมและจัดจ้านอยู่เช่นเดิม จากคอนเซ็ปต์หลักของเมนูอาหาร ได้ส่งต่อมาถึงธีมการออกแบบตกแต่งร้าน ที่เน้นให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นพื้นถิ่น รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์แห่งวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า Ethnic Vibe ในบรรยากาศสบาย ๆ ผสมสไตล์รัสติก เสมือนกำลังพักผ่อนอยู่ภายในรีสอร์ต หรือ Beach Club ริมทะเล อบอุ่นอ่อนโยนด้วยของตกแต่งแฮนด์เมดหลากหลายรูปแบบ เช่น งานไม้ งานปั้น และงานจักสาน ซึ่งมีรูปทรงสวยงาม ไม่ต่างจากงานศิลปะจัดวางก็ว่าได้ ภายในแบ่งที่นั่งหลากหลายโซนให้เลือก เช่น มุมที่นั่งแบบซุ้มโค้ง ที่ให้ความรู้สึกกึ่งเป็นส่วนตัว กับบรรยากาศน่ารัก ๆ สไตล์กรีซ […]
BLUE BOTTLE COFFEE ป๊อปอัพคาเฟ่แนวคิดใหม่เสิร์ฟกาแฟผ่านตู้ล็อกเกอร์
Blue Bottle Coffee สาขาชิบุยะ มีแนวคิดน่าสนใจตอบโจทย์ยุคโควิด กับการเสิร์ฟกาแฟผ่านช่องรับแก้วที่ดีไซน์คล้ายตู้ล็อกเกอร์ เพื่อลดการสัมผัส โปรเจ็กนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก James Freeman ผู้ก่อตั้ง Blue Bottle Coffee ซึ่งต้องการเปลี่ยนการให้บริการลูกค้าแบบตัวต่อตัว ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคระบาด มาเป็นการสร้างป๊อปอัพคาเฟ่ที่ลดการสัมผัสและเผชิญหน้ากับพนักงานโดยตรง โดยส่งต่อแนวคิดนี้ให้กับ Schemata Architects ช่วยพัฒนางานดีไซน์ แล้วเลือกทำเลที่ถือเป็นแลนด์มาร์คของย่านชิบุยะอย่าง Shibuya Scramble Square 3F Event Space เป็นที่ตั้งของคาเฟ่ การออกแบบคาเฟ่ครั้งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพรังผึ้ง โดยเปลี่ยนจากการวางเคาน์เตอร์ไว้ด้านหน้าเพื่อต้อนรับผู้คน มาใช้วิธีการบริการในรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและมีกิมมิกน่าสนใจ ผ่านช่องรับแก้วกาแฟที่ดีไซน์คล้ายตู้ล็อกเกอร์ ออกแบบโดยใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก และสร้างกลไกที่เรืองแสงได้ ตอบสนองต่อการเปิดและปิดประตู ผิวบานเปิดทำจากแผ่นอะคริลิกแบบขุ่นช่วยให้แสงดูนุ่มนวล นอกจากการสั่งเครื่องดื่มผ่านเครื่องรับออร์เดอร์แบบหน้าจอสัมผัสด้านหน้า ที่อาจต้องรอสักครู่ ก่อนออร์เดอร์จะถูกจัดเสิร์ฟผ่านช่องล็อกเกอร์แต่ละบานแล้ว ลูกค้ายังสามารถสั่งเครื่องดื่มได้ผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือ ช่วยให้สามารถซื้อกาแฟอร่อย ๆ ได้แบบไม่ต้องรอ มาถึงก็หยิบเครื่องดื่มได้เลย โดยดูหมายเลขบนล็อกเกอร์ ซึ่ง James Freeman เชื่อว่าการทำคาเฟ่ด้วยรูปแบบแนวคิดนี้ จะได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการบริหารจัดการที่ง่ายขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง […]
HARVKIND คาเฟ่ในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แนวคิดยั่งยืน
Harvkind คาเฟ่ย่านพระราม 2 ที่ควบรวมโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ไว้ในหนึ่งเดียว ซึ่งมาพร้อมแนวคิดรักษ์โลกและสุขภาพ คอมมูนิตี้สเปซเล็ก ๆ สำหรับสายรักษ์โลก รักสัตว์ รักสุขภาพ และคนรักการแต่งบ้าน Harvkind เป็นทั้งคาเฟ่ และ Flagship Store ของ Harvbrand แบรนด์เฟอร์นิเจอร์น้องใหม่ที่แตกไลน์ธุรกิจมาจากแบรนด์หลักอย่าง Inhome Furniture ซึ่งเกิดจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเกิลบอร์ด (particleboard) มานานกว่า 39 ปี (since 1983) จนถึงปัจจุบัน ด้วยรูปแบบทางการตลาดและพฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนไป ผู้บริหารรุ่นใหม่อย่างคุณเชียร์-ชนน วระพงษ์สิทธิกุล ที่เข้ามาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัว จึงเกิดแนวคิดตั้งแบรนด์ลูกอย่าง HARV ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าคนรุ่นใหม่ ด้วยการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เรียบง่ายทันสมัย ผลิตในรูปแบบที่เรียกว่า Micro Lot เพราะสามารถควบคุมคุณภาพเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังช่วยลดปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตและจัดเก็บ ผสมผสานเข้ากับแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่คุณเชียร์สนใจ ด้วยการพยายามให้เหลือเศษวัสดุน้อยที่สุด รวมถึงการนำเศษวัสดุมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แบบ Upcycle ซึ่งเป็นอีกแนวทางการทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน “ส่วนตัวผมสนใจเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงพยายามทำให้ […]