© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
คุณอินทนนท์ จันทร์ทิพย์ ผู้เป็นทั้งเจ้าของและสถาปนิกแห่ง INchan Atelier ได้ซื้อบ้านเก่าย่านหัวหมาก
สตูดิโอสถาปนิก ออกแบบกลางธรรมชาติร่มรื่น กับแนวคิดเป็นมิตรทั้งคนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ADAM ร้านอาหารญี่ปุ่น สไตล์ฟิวชั่นที่เชียงใหม่ กับไอเดียไอส์แลนด์คิตเช่นรูปเกลียวคลื่น บอกความร่วมสมัยผ่านชื่อ และการออกแบบสไตล์โมเดิร์น
ออกแบบออฟฟิศ จากวัสดุที่ผลิตเองทั้งหมด โปรเจ็กต์การออกแบบครั้งนี้ เป็นพื้นที่ของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่มีมายาวนาน หลังจากนั้นบริษัทได้มีความคิดอยากเพิ่มบริษัทในเครือชื่อ Bara & Siam Metal เพื่อมุ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาโลหะโดยเฉพาะ จึงเป็นที่มาของการ ออกแบบออฟฟิศ ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ว่างภายในของสำนักงานเดิมให้กลายเป็นส่วนสำนักงานของบริษัทใหม่ และเป็นส่วนต้อนรับของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด ในเวลาเดียวกัน การปรับปรุงพื้นที่ในครั้งนี้ได้ออกแบบให้เป็นโถงโล่งเพดานสูงทะลุเชื่อมต่อกัน 2 ชั้น มีโจทย์สำคัญก็คือต้องออกแบบการกั้นพื้นที่ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของบริษัท ได้แก่ ห้องทำงานสำหรับพนักงาน 12 – 20 คน ห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน ห้องผู้จัดการ และพื้นที่หน้าห้องประชุมบนชั้น 2 แนวคิดการออกแบบหลักอยู่ที่การออกแบบและวางตำแหน่งห้องต่าง ๆ อาทิ ห้องทำงานเพดานสูงสำหรับพนักงานซึ่งมีพื้นที่มากที่สุดไว้ด้านใน วางตำแหน่งห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน และห้องผู้จัดการที่มีเพดานต่ำกว่าไว้ในปีกขวาและซ้ายตามลำดับ โถงโล่งตรงกลางเป็นส่วนต้อนรับที่โอ่โถง โดยมีผนังของห้องทำงานพนักงานเป็นฉากหลัง พร้อมผนังสูงของห้องพนักงานที่ทำจากพอลิคาร์บอเนตยังเป็นส่วนปิดกั้นที่สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับโถงหน้าห้องประชุมชั้นบนด้วย นอกจากนี้ ความสำคัญของที่นี่ยังอยู่ที่การเลือกใช้วัสดุ เน้นการแสดงพื้นผิวที่แท้จริงของวัสดุ นอกจากแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลือกมาใช้คู่กับงานโลหะแล้วแทบทั้งหมดเป็นวัสดุที่บริษัทผลิตเอง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเมทัลชีท อะลูมิเนียม รวมถึงเหล็กฉีก เสมือนเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสถานที่ และนำเสนอศักยภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้แบ่งกั้นพื้นที่ตามการใช้งาน […]
ความทรงจำ : The Memory Cafe คาเฟ่อุบล ที่ตั้งใจให้งานสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ พร้อมกับวิวพานอรามาของโขงเจียม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SA-ARD architecture & construction คาเเฟ่อุบล แห่งนี้ มีจุดตั้งต้นมาจากแนวคิดการรีแบรนด์ดิ้ง Memory Café จากร้านกาแฟที่ผู้คนมาเพียงซื้อกาแฟ แล้วออกไปเสพวิวแลนด์สเคปที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ให้ร้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริบทริมแม่น้ำโขงอย่างกลมกลืน และเป็นจุดหมายใหม่ของการมาเยือนอุบลฯ ออกแบบโดยสถาปนิกจาก SA-ARD architecture & construction ด้วยทำเลและบริบทที่มีศักยภาพสูง อย่างพื้นที่หน้ากว้างของร้านที่เปิดรับวิวพานอรามาริมโขงสวยตราตรึงใจ ประกอบกับทางเจ้าของคาเฟ่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ทุกองค์ประกอบจึงถูกจัดวางอย่างมีที่มา นำมาต่อยอดเป็นแนวความคิดในการออกแบบตัวอาคารใหค่อย ๆ สร้างประสบการณ์การเข้าถึงให้กับลูกค้า หากมองจากหน้าร้านภายนอกจะเห็นฟาซาดแนวเฉียง ระหว่างช่องว่างกรุด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตสีขาวขุ่น จงใจไม่เปิดวิวในคราวเดียว เพราะตั้งใจจะเก็บวิวไว้เป็นเซอร์ไพรส์ในสเปซซีนสุดท้าย มีประตูทางเข้าถูกวางตำแหน่งอยู่ตรงกลางของผนัง ทำหน้าที่เสมือนเป็นวิวไฟน์เดอร์ของกล้อง และหากมองตรงไปจะพบกับเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่ และวิวของโขงเจียมที่อยู่ด้านหลัง ประหนึ่งเหมือนเรากำลังกดชัตเตอร์ แล้วจะได้ภาพวิวพานอรามา โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นกรอบของภาพ เส้นสายจากฟาดซาดเส้นเฉียงได้ถูกดึงต่อมาเป็นฝ้าภายในคาเฟ่ โดยความเฉียงที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นองศาที่เกิดจาก Mirror เช่นเดียวกับหลักการการสะท้อน เวลาถ่ายรูปจากกล้อง เพื่อให้เส้นสายทั้งภายในและภายนอกเกิดความเชื่อมต่อ อีกทั้งยังออกแบบให้ระดับของฝ้ามีความสูงลดหลั่นกัน จากระดับพื้นถึงฝ้าราว […]
ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ริมถนนพังงาที่มุ่งหน้าสู่สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ด ปรากฏคาเฟ่ชื่อ GRAPH Phuket สาขาน้องใหม่ล่าสุดของ GRAPH แบรนด์คาเฟ่ชื่อดังจากเชียงใหม่ ที่เจ้าของแบรนด์อย่าง คุณฆฤพร สาตราภัย ขอขยายสาขามุ่งหน้าลงใต้ สู่ร้าน GRAPH Phuket เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักดื่มกาแฟ พร้อมการนำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ภายในตึกแถวสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนอายุกว่าร้อยปี จากแนวทางของ GRAPH หลาย ๆ สาขา จะพบว่ามักตั้งอยู่ในเมืองเก่าที่มีคาแร็คเตอร์ชัดเจน ทั้งวัฒนธรรมและการเป็นเมืองท่องเที่ยว สำหรับที่ภูเก็ตก็เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภูเก็ตถูกเลือกให้เป็นทำเลใหม่ของการขยายสาขาเป็น GRAPH Phuket ครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวให้พูดถึงไม่แพ้สาขาอื่น เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ยังเก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม ร่วมกับแนวทางการรีโนเวตที่กลมกลืนกับอาคารหลังอื่น ๆ ในย่านโอล์ดทาวน์ของภูเก็ต คุณฆฤพร สาตราภัย เจ้าของแบรนด์ GRAPH เล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก สิ่งต่อเติมใดที่ไม่ตรงกับยุคของอาคาร และวัสดุที่ชำรุดจะถูกรื้อออกเกือบหมด เช่น หลังคาสังกะสี ฝ้า โครงสร้างไม้ และบันไดผุพัง ก่อนเสริมด้วยโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรง อย่างพื้นชั้น 2 ที่นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน […]
คาเฟ่เอกมัย VE/LA AT MEDIUMS ซ่อนตัวอยู่ที่ Mediums ร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนและทำงานศิลปะย่านเอกมัย กับคอนเซ็ปต์ออกแบบธรรมชาติ
ANONYMOUS COFFEE คาเฟ่พระราม 9 เด่นด่วยตัวอาคารสไตล์โมเดิร์น กลาสเฮ้าส์ โชว์ความโปร่ง (ใส) สะท้อนแสงเงา ราวกับหลบหายไปในบริบท
คาเฟ่เชียงใหม่ PLAYWORKS SHOP&CAFE ช็อปขายของที่ระลึกและคาเฟ่ในโครงการ Think Park ได้แรงบันดาลใจการตกแต่งมาจากร้านชำสไตล์ญี่ปุ่น
Safebox Office Bangkok โครงการ สำนักงานให้เช่า ที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่ โกดังรีโนเวต กลุ่ม โกดังเก่า อายุกว่าครึ่งศตวรรษของโรงงานอะลูมิเนียมเส้น “ไทยเม็ททอล อะลูมิเนียม” ย่านบรรทัดทอง
Blue Coffee At Agriculture CMU คาเฟ่เชียงใหม่ ควบรวมโคเวิร์กกิ้งสเปซมาไว้ในคาเฟ่ ให้นั่งทำงานชิล ๆ พร้อมชมวิวแปลงเกษตรทดลอง
“School Coffee” แบรนด์กาแฟซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความรักและหลงใหลในกาแฟของหุ้นส่วนเพื่อนรัก 4 คน ที่สนิทและรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมที่ขอนแก่น จากเดิมที่ School Coffee เคยตั้งร้านอยู่ตรงข้ามม.เกษตรฯ บางเขน วันนี้ได้ย้ายมายังโครงการ Heng Station ริมถนนรถไฟ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เกิดจากการเปลี่ยนโกดังเก่าของธุรกิจค้าส่งกระเทียม “เสี่ยมเฮงพืชผล” สู่คอมมูนิตี้เล็ก ๆ ที่รวมร้านค้าซึ่งเป็นเสมือนสถานที่รวมตัวของกลุ่มเพื่อน ผู้มีแนวทางการทำร้านไม่ธรรมดา โดยการออกแบบร้านในทำเลใหม่ครั้งนี้ ค่อนข้างมีความเป็นอิสระ เนื่องจากอยู่ภายในโกดังเปล่า ผู้ออกแบบซึ่งเป็นลูกค้าประจำของคาเฟ่ที่มีความเข้าใจในคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ ร่วมกับผู้ร่วมก่อตั้งร้าน School Coffee อย่างคุณบิ๊ก-บริรักษ์ อภิขันติกุล ช่วยกันใส่องค์ประกอบและงานดีไซน์เพื่อสื่อถึง “โรงเรียนต่างจังหวัด” และ “บ้านบนดอย” ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคอนเซ็ปต์ที่ว่านั้นเป็นทั้งการเชื่อมโยงร้านใหม่เข้ากับบรรยากาศของร้านเก่า และยังสะท้อนภาพการทำงานกับเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ในขั้นตอนการโปรเสสกาแฟ เมื่อทีมงานจะต้องขึ้นดอยไปพักค้างแรมกับชาวบ้าน จากความตั้งใจดังกล่าว วัสดุที่ใช้ออกแบบตกแต่งร้าน จึงมีความเรียบง่าย และธรรมดาสามัญที่สุด อาทิ การทำพื้นปูนที่ไม่ต้องขัด หรือฉาบให้ยุ่งยาก ร่วมกับวัสดุไม้จริง มีไม้แป้น และไม้ซี่ปิดร่อง ที่เลียนแบบมาจากบ้านของชนเผ่าปากาเกอะญอ ส่วนกรอบหน้าต่าง หรือแม้แต่ป้ายชื่อไม้ที่บอกตำแหน่ง “ห้องกาแฟ”และ “ห้องคั่วกาแฟ” มองครั้งแรกก็ให้ความรู้สึกเหมือนป้ายหน้าห้องพักครูตามโรงเรียนต่างจังหวัด […]