© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
แผ่นให้ความร้อนเตารีดเป็นจุดที่ต้องสัมผัสกับเนื้อผ้าโดยตรงหากเกิดคราบสกปรกพาลทำผ้าพังแน่ มาดูวิธี ทำความสะอาดหน้าเตารีด ให้กลับมาสะอาดด้วยของใช้ในบ้านมาฝากกัน
Work from Home กลายเป็นรูปแบบการทำงานที่ใช้กันในช่วงโควิด -19 ที่ผ่านมา แต่ที่ออฟฟิศสถาปนิก EDI ในมาเลเซีย การ “ทำออฟฟิศให้เป็นบ้าน” ดูจะเป็นแนวทางที่น่าสนใจ แถมกลมกลืนกับพื้นที่ด้วยการให้พื้นที่ชั้นล่างเป็นร้านขายเต้าฮวยอร่อยๆ รีโนเวตแก้ปัญหาสำคัญ แสงและการไหลเวียนอากาศ อาคารพาณิชย์เดิมอายุกว่า 40 ปีในย่าน Petaling Jaya กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้รับการรีโนเวตใหม่ให้อยู่กับบริบทโดยรอบได้อย่างน่าสนใจแต่ก็กลมกลืนกันดีไปกับพื้นที่ซึ่งคึกคักและเต็มไปด้วยร้านค้า ด้วยข้อจำกัดของอาคารพาณิชย์ยาว 21 เมตร ที่มีช่องแสงน้อย สถาปนิกจึงออกแบบแปลนให้ทะลุถึงกันหมดเพื่อนำแสงธรรมชาติและมีการไหลเวียนอากาศที่ดีอันเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ตัวอาคารวางยาวอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีแสงเข้ามาต่างกันไปตามช่วงเวลา จึงพยายามให้มีผนังกั้นห้องให้น้อยที่สุด และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ฟาซาดโปร่ง เพิ่มเติมด้วยต้นไม้ Chan Mun Inn และ Wong Pei San ผู้ออกแบบ เล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้วทำออฟฟิศใหม่เสร็จก่อนช่วงโควิด-19 เพียง 2-3 เดือน ตอนแรกมีผนังสีเขียวเป็นสวนแนวตั้งอยู่ภายในด้วย แต่เมื่อมีวิกฤตโรคระบาด ต้นไม้ภายในก็ตายหมดเพราะยากต่อการเข้ามาดูแล จึงได้รีโนเวตอีกรอบ โดยยังเก็บไอเดียการมีพื้นที่สีเขียวเอาไว้ แต่ไปเพิ่มในส่วนของสวนระเบียงด้านหน้าและหลังแทน มีฟาซาดโปร่งเป็นกระจกเพื่อนำแสงและวิวจากภายนอกเข้ามา ต้นไม้ที่ใช้เมื่อมองจากภายในก็จะช่วยสร้างวิวและกรองแสงไปในตัว […]
บ้านหลังนี้ตั้งใจให้มีบรรยากาศแบบ บ้านกระต๊อบชนบท ที่เรียบง่าย แต่ตกแต่งให้สวยงาม ดูสบาย ที่สำคัญยังมีสวนซึ่งเก็บผลิตผลไปใช้จริงในร้านอาหารและโรงแรม พร้อมไก่อารมณ์ดีอีกกว่า 50 ตัว จากบ้านพัก มาเป็นบ้านที่อยู่ประจำ วิวดอยสุเทพ-ปุย แปลงผักใช้งาน โรงเรือนไม้ใบ โรงเลี้ยงไก่ที่มีไข่สดทุกวัน และบ้านสวยบรรยากาศน่าอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ทำให้บ้านหลังนี้มีเสน่ห์ เหมาะกับการตกหลุมรักเป็นที่สุด เช่นเดียวกับเจ้าของบ้านหลังนี้ คุณเกรียง-พันตำรวจเอก เกรียงศักดิ์ กัลยาวัฒนเจริญ ที่เมื่อครั้งแรกเมื่อคิดสร้าง จะใช้เป็นบ้านที่มาอยู่เป็นครั้งคราว แต่ทุกวันนี้ก็ย้ายเข้ามาอยู่บ้านหลังนี้เป็นประจำ พร้อมกับได้ดูแลกิจการโรงแรมและร้านอาหารของตนเองที่อยู่ใกล้ๆ กันได้อย่างสะดวก ปรับวิถีชนบท ให้เข้ากับตัวตน ที่ดินสวนลำใยเดิมแห่งนี้ อยู่ไม่ไกลในระยะเดินได้จากโรงแรมและร้านอาหาร ณ จันตรา ซึ่งคุณเกรียงเป็นเจ้าของ บนถนนเส้นหางดงมุ่งหน้าขึ้นไปยังสะเมิง อันเป็นย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องทิวทัศน์อันสวยงามมาช้านาน ปัจจุบันได้กลายเป็นบ้านและไร่ขนาดโดยประมาณ 2 ไร่ ที่คุณเกรียงตัดสินใจนำแนวทางของวิถีชนบทมาปรับให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของตน เริ่มตั้งแต่การปลูกผักและเลี้ยงไก่เพื่อนำไปใช้ในร้านอาหาร ให้ลูกค้าได้มีของสดใหม่กินทุกวัน การสร้างบ้านแบบง่ายๆ ราคาไม่แพงคล้ายกระต๊อบเล็กๆ จากเศษไม้เก่าที่ซื้อมาจากย่านบ้านธิ เชียงใหม่ แต่จัดรูปแบบให้แปลนภายในใช้งานได้ง่าย สะดวกสบาย และเหมาะกับการนั่งชมวิว พร้อมทั้งตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เกาสที่คุณเกรียงสะสมและชื่นชอบมาเป็นเวลานาน แบ่งอาคารเป็นกลุ่มขนาดเล็ก จากข้อจำกัดด้านพื้นที่ และการกำหนดให้เกิดมุมมองที่รับวิวได้ท่ามกลางธรรมชาติ บ้านหลังนี้จึงเป็นบ้านที่ประกอบด้วยกลุ่มอาคารขนาดเล็กที่แยกกันไปตามฟังกชั่นลดลั้นกันไปจากบนสู่ล่าง อาคารส่วนแรกเป็นส่วนของครัวขนาดใหญ่และส่วนนั่งรับประทานอาหารพร้อมชมวิวอันสวยงามของดิยสุเทพ-ปุย […]
แม้ในตอนแรกตั้งใจจะสร้าง บ้านฟาร์มหลังเกษียณ แต่ในที่สุดก็ได้สร้างบ้านหลังนี้ขึ้นก่อนเจ้าของบ้านจะมีอายุ 60 ปี โดยใช้งานเป็นทั้งมุมปาร์ตี้ พักผ่อน และเป็นฟาร์มปลูกผักกินเอง ไปจนถึงโฮมสเตย์สำหรับคนรู้จัก และได้กลายเป็นบ้านที่ทำให้เจ้าของบ้านได้ใช้ชีวิตในช่วงวันหยุดอย่างสุขกายสบายใจ สร้างบ้านไม่รอเกษียณ (แล้ว) แรกเริ่มเดิมที คุณแพะ – สมจิตร์ สิริแสงสว่าง ซื้อที่ดินในย่านวังไทรผืนนี้ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน เพราะชอบอากาศที่เขาใหญ่ อีกทั้งมีเพื่อนมาซื้อที่ดินตรงด้านหน้าไว้ก่อนแล้ว โดยตั้งใจว่าพอเกษียณก็จะสร้างบ้านและย้ายมาอยู่ ซึ่งลูกยังไปมาหาสู่ได้สะดวก เพราะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯนัก แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ขึ้น ได้คุยกับ คุณพี ลูกชาย ซึ่งถามว่าทำไมไม่ทำบ้านตอนนี้เลย แต่คุณแพะคิดว่าน่าจะแค่ออกแบบไว้ก่อน ยังไม่ต้องสร้างก็ได้ คุณพีจึงติดต่อ คุณแจม – ณชพล เฉลิมลักษณ์ เพื่อนที่เป็นสถาปนิกมาช่วยออกแบบให้ แต่เมื่อได้ทำงานกับคุณแจมสักพัก ได้เห็นความตั้งใจในการทำงาน ในที่สุดคุณแพะก็ตัดสินใจสร้างบ้านตามคอนเซ็ปต์ที่ได้วางเอาไว้ ตื่นมาอยากปลูกผัก อยากทำกับข้าว บ้านหลังนี้ตั้งชื่อว่า “Farm to Table House” เนื่องจากคุณแพะสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพ คิดว่าการปลูกผักกินเองย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่า สิ่งที่ต้องมีคือแปลงปลูกผักที่จะนำมาใช้ทำอาหารรับประทานเอง และต่อไปในอนาคตอาจปลูกส่งขายได้ […]
Naiin x Dek-D ผนึกกำลังสร้างคอมมูนิตี้ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ เจาะกลุ่ม New Generation ชูคอนเซ็ปต์ “อ่านดี เรียนดี ชีวิตดี” 17 มีนาคม 2566,กรุงเทพฯ – บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายหนังสือชั้นนำของเมืองไทยในนาม “ร้านนายอินทร์” ร่วมกับ บริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด หรือ “เด็กดี” จับมือ เปิดประสบการณ์ใหม่แห่งการเรียนรู้แบบไม่มีวันสิ้นสุดผ่านคอมมูนิตี้เพื่อนักอ่านและนักเขียน เชื่อมโยงการเรียนรู้แบบไร้รอยต่อจากหน้าจอสู่หน้าร้าน มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน พัฒนานิวเจเนอเรชัน ให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพด้วยตนเอง ภายใต้แนวคิด “อ่านดี เรียนดี ชีวิตดี” ณ ห้อง Auditorium ศูนย์การประชุม ซี อาเซียน (C […]
บ้านมินิมัล รับลม รับแสง ของ เสนาลิง - คุณสมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ หลังนี้ไม่ร้อน
ด้วยความหลงใหลในงานสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักออกแบบ บ้านปูนโมเดิร์นสีขาว
ระดับความสูงจากน้ำทะเลในกรุงเทพ อาจมีผลต่อบ้านของคุณในยามหน้าฝน หรือเวลาเกิดเหตุน้ำท่วมขัง ลองเช็คกันได้เผื่อเป็นแนวทางในการรับมือ ข้อมูล ระดับความสูงจากน้ำทะเลในกรุงเทพ จากกรมแผนที่ทหารที่นำเสนอประกอบไปด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลแต่ละพื้นที่อย่างละเอียด ในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑล ความสูงต่ำถูกแทนค่าด้วยสี สำหรับตำแหน่งบ้านของใครที่มีสีฟ้าเข้มก็อาจจะต้องเตรียมการรับมือมากเสียหน่อย อาทิ แถวถนนร่มเกล้า และบางนาตราดในบางช่วง ในยามที่ฝนตกพื้นที่จะเป็นแอ่งทำให้น้ำระบายได้ช้ากว่าพื้นที่อื่น นอกจากนี้แผนที่ในภาพที่สองยังเป็นแผนที่ที่แสดงทางน้ำไหลที่ทำให้เห็นทิศทางของน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำและอ่าวไทยด้วย แถมท้ายด้วยแผนที่จากดาวเทียมที่สามารถเข้าไปดูได้ละเอียดขึ้น สามารถเช็คตำแหน่งที่แน่นอนของบ้านคุณกับระดับความสูงจากน้ำทะเลได้เลย คลิก http://www.hep.caltech.edu/~piti/bkk_height/ อ่านเพิ่มเติม : แนวทางจัดการปัญหาในบ้าน หลังน้ำลด ป้องกันน้ำท่วม น้ำย้อน งู หนู แมลง เข้าท่อในบ้านด้วย วาล์วกันน้ำย้อน ฟื้นฟูสวนและดูแลต้นไม้หลังน้ำท่วม น้ำลด…ไอเดียผุด – วิธีจัดการบ้านหลังน้ำท่วม ซ่อมแซมผนัง และฝ้าเพดานหลังน้ำท่วม วิธีป้องกันน้ำท่วมจากถนนไม่ให้ไหลเข้าบ้าน
บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้าน เหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป จากบ้านเก่าสู่บ้านใหม่ อ.ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกแห่ง Research Studio Panin ผู้ออกแบบเล่าให้เราฟังว่า บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้เป็นบ้านสร้างใหม่บนพื้นที่บ้านเดิม โดยแต่เดิมนั้นบ้านเป็นบ้านปูนสองชั้นที่ชั้นล่างค่อนข้างเปิดโล่งอยู่แล้ว มีลักษณะคล้ายใต้ถุนที่สมาชิกในบ้านต่างก็ชอบมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณนี้ คล้ายกับพื้นที่อเนกประสงค์ซึ่งเปิดโล่ง แต่การใช้งานไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และยังมีบางส่วนที่ลมถูกบังไม่ปลอดโปร่งเท่าที่ควร บ้านที่ไม่ต้องเปิดแอร์ โจทย์ที่ได้รับจึงค่อนข้างชัดเจน เพราะสมาชิกในบ้านซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ลูกวัยประถมอีก 2 คน และคุณยาย คุ้นเคยดีกับการใช้ชีวิตกึ่งเอาท์ดอร์ จึงขอบ้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์ โปร่งได้ลมได้แสงสว่าง และต้องการขยายให้บ้านเป็นบ้าน 3 ชั้น แต่ไม่อยากให้บันไดอยู่ด้านนอกแบบบ้านไทย บ้านจึงต้องมีระยะร่นเข้ามาเพื่อลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังคงต้องให้อากาศไหลเวียนดี ตัวห้องที่เป็นพื้นที่ปิดทุกด้าน จึงมีทางเดินพร้อมพื้นที่ว่างคล้ายกับชานบ้านของไทยอยู่ล้อมรอบเหมือนเป็นบ้านที่มีผนังสองชั้น ตามแต่ฟังก์ชั่นและทิศทางแดด อาทิเช่น ในทิศเหนือและตะวันออกที่แดดไม่แรง ผนังด้านนอกก็จะโปร่งกว่าผนังด้านทิศใต้และตะวันตกซึ่งทึบกว่า พื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ เป็นทั้งเฉลียง ระบียง ชาน ถ้าหากจะใช้คำกำจัดความกันจริงๆ ระยะร่นตรงคือพื้นที่โล่งในบ้าน แต่หากคิดจากฟังก์ชั่นใช้งานแล้ว บางด้านทำหน้าที่คล้ายชานที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรืออย่างพื้นที่โล่งติดโถงบันไดก็ให้ความรู้สึกคล้ายเฉลียงหน้าบ้านก่อนเข้าตัวบ้านจริง […]
บ้านสวนที่สุพรรณบุรีหลังนี้เป็น บ้านไม้ หลังเล็กใต้ถุนสูง ที่ดูโปร่งตากว่าบ้านไม้ปกติ เกิดจากไอเดียที่ต้องการสร้างความสุขให้แก่ทุกคนที่มาเยือน ท่ามกลางธรรมชาติริมคลองอันเงียบสงบ
ชีวิตมีอะไรให้เซอร์ไพรซ์เสมอ …จากแปลงที่ดินข้างบ้าน ซึ่งออกแบบไว้เป็นบ้านผู้สูงอายุให้คุณพ่อ กลายมาเป็น บ้านมินิมัลชั้นเดียว ของตัวเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Alkhemist Architects เปลี่ยนแผน จากบ้านพ่อสู่บ้านของตัวเอง เดิมทีบ้านของคุณดอน-ไกรพล ชัยเนตร และภรรยาคุณอุรัสสา ชัยเนตรนั้น มีจุดเริ่มต้นจากต้องการสร้างบ้านสำหรับคุณพ่อของคุณดอนซึ่งไม่ค่อยสบาย โดยใช่ที่แปลงสนามหญ้าด้านข้างของบ้านหลังเดิมเป็นทำเลที่ตั้ง บ้านจึงออกแบบให้เป็นบ้านชั้นเดียว มีทางลาด และพื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ตรงกลางเพื่อพักผ่อน แต่เมื่อสร้างเทปูนไปได้สักพัก แผนการทั้งหมดก็เปลี่ยนไป เนื่องจากคุณพ่อคุ้นชินกับห้องเดิมในบ้านเก่าซึ่งใช้เป็นห้องพักแล้ว จึงไม่มีการย้ายมาแต่อย่างใด คุณดอนซึ่งเป็นสถาปนิกโดยอาชีพอยู่แล้ว จึงต้องปรับรูปแบบบ้านเสียใหม่เพื่อให้สอดรับกับการใช้งานของตนตามโครงสร้างเดิม ง่ายเหมือนเด็กวาด แต่มีรายละเอียด แนวคิดที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้วคือ การออกแบบบ้านอย่างไรให้กลมกลืนไปกับบ้านหลังเก่า รูปแบบบ้านจั่ว สีขาว จึงเป็นความตั้งใจแรกในการออกแบบ และเพิ่มแนวคิดที่ต้องการให้อาคารดูง่ายๆ เหมือนภาพที่เด็กๆ วาด ก็เกิดขึ้นตามมา ส่วนหนึ่งเพื่อให้ดูไม่ขัดตากับบ้านหลังโดยรอบที่ยังบ้านของญาติๆ ในบริเวณใกล้ๆ กัน ซึ่งใช้สถาปนิกคนเดียวกันกับบ้านของคุณพ่อเมื่อ 40 ปีที่แล้วด้วย และส่วนหนึ่งเพรืคุณดอนเติบโตมาในบ้านหลังเดิมตั้งแต่เล็ก เป็นเสมือนตัวแทนบ้านในสมัยเด็กๆ ที่วาดเล่น ให้กลายมาเป็นบ้านจริงได้เมื่อโตขึ้น แต่การสร้างบ้านให้มีรูปทรงง่ายๆ เหมือนเด็กวาดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หากต้องรับมือกับแดดฝนที่แรงเพราะจำเป็นต้องมีการระบายน้ำที่ดี การป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน การได้รับแสงที่พอเหมาะ วิวสวนที่ได้รับ […]
บ้านฟาร์ม ชานเรือน หลังคา รางน้ำฝน และเฟอร์นิเจอร์แคมปิ้ง ทั้งหมดดีไซน์เพื่อให้สอดรับกับกิจกรรมทางการเกษตรสมัยใหม่ของ บ้านฟาร์มกลางนา 40 ไร่แห่งนี้