บทความโดย บ้านและสวน - Page 15 of 17

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นที่ออกแบบด้วยแนวคิด “เรือนหมู่”

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นสำหรับครอบครัวขยายที่รีโนเวตและสร้างบ้านใหม่ต่อจากบ้านเดิม โดยออกแบบเผื่อลูกหลานมีครอบครัวของตัวเอง และอยู่ร่วมบ้านเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับ “เรือนหมู่” ของคนไทยโบราณ แต่ซ่อนรูปอยู่ในบ้านร่วมสมัยที่ออกแบบด้วยดีเทลและวัสดุสมัยใหม่ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Space Story Studio ครอบครัวขยายเป็นวิถีของคนไทยในทุกยุคสมัย แต่กาลก่อนเมื่อลูกสาวมีครอบครัว ฝ่ายชายจะย้ายมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง โดยปลูกเรือนเชื่อมต่อกับชานเรือนพ่อแม่ หรือปลูกเรือนอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีลักษณะแบบ “เรือนหมู่” ที่เดินไปมาหาสู่และพึ่งพากันได้สะดวก เช่นเดียวกับ บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น หลังนี้ ที่ดูภายนอกไม่ต่างจากบ้านทั่วไป แต่ภายในกลับซ่อนสเปซแบบเรือนหมู่ ซึ่งออกแบบเผื่อการมีครอบครัวของลูกหลานและรองรับการรวมญาติในแต่ละสัปดาห์ได้อย่างสะดวกสบาย จากครอบครัวเดี่ยวสู่ครอบครัวขยาย ภายในพื้นที่ 200 ตารางวานี้ เดิมมีบ้านสองชั้นอายุประมาณ 20 ปีซึ่งโครงสร้างหลักยังแข็งแรงดี แต่เมื่อครอบครัวที่มีคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย และลูก 3 คน ที่เติบโตจนสำเร็จการศึกษาและพร้อมสร้างครอบครัวของตนเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำบ้านแบบครอบครัวขยาย โดยมีโจทย์สำหรับสถาปนิกคือ เป็นบ้านที่ทุกคนยังสามารถอยู่รวมกันได้ในบริเวณเดียวกัน โดยยังพื้นที่ส่วนตัวและดูแลบุคคลที่อยู่ร่วมกันภายในบ้านได้ทั่วถึง รวมทั้งรองรับญาติมิตรที่มาเยี่ยมเยียนได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงเวลา การแยกเพื่อรวมกัน บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น รูปตัวแอล (L) เปิดคอร์ตด้านหน้าเป็นสระว่ายน้ำ และเปิดโล่งถึงภายในบ้านที่มีทางเดินและชานเชื่อมอาคารสองหลังเข้าด้วยกัน คุณท็อป-พิพล ลิขนะไพศาล […]

7 เรื่องต้องรู้ การ รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ และตึกแถว

รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ ต่อเติมได้แค่ไหน? ทุบอะไรได้บ้าง? จะโดนเพื่อนบ้านฟ้องไหม? มีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรรู้ก่อน รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ หรือตึกแถวเก่าของเรา

รีโนเวตตึกแถวให้มีสเปซแบบบ้านเดี่ยว

การรีโนเวตตึกแถว 3 คูหากลางเมือง ให้มีสเปซแบบบ้านเดี่ยว โดยเปิดคอร์ตกลางบ้านซึ่งแม้จะเสียพื้นที่ใช้สอย แต่สิ่งที่ได้กลับมานั้นแสนคุ้มค่า พร้อมแก้ปัญหาพื้นบ้านต่ำกว่าถนน และออกแบบฟาซาดเท่ๆ ที่ใครผ่านไปมาก็ต้องสะดุดตา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: ID Architect ใครจะนึกว่าตึกแถวสองชั้นครึ่งอายุ 35 ปี ในย่านอารีย์สัมพันธ์ ที่ทั้งเคยอยู่ต่ำกว่าระดับถนนมีน้ำท่วมและอยู่ในบริบท “เมือง” จะกลายร่างเป็นบ้านที่มีสเปซแบบบ้านเดี่ยวแต่อยู่ในโครงสร้างตึกแถวเดิม บ้านเท่ๆ หลังนี้เป็นของ คุณอิษ – อิษฎาและคุณอ้อน – อรณา แก้วประเสริฐ ซึ่งตั้งใจ รีโนเวทตึกแถว ให้เป็นเรือนหอ ด้วยฝีมือการออกแบบของคุณอิษที่เป็นทั้งสถาปนิกเจ้าของ ID Architect และคุณพ่อป้ายแดง ซึ่งไม่เพียงดูแลการก่อสร้างเองเพื่อควบคุมให้อยู่ในงบประมาณ แต่ยังใช้วัสดุเดิมมาออกแบบผสมผสานความเก่าและใหม่ให้อยู่ด้วยกันแบบไร้กรอบของคำจำกัดความใดๆ รีโนเวตตึก แต่ไม่ทิ้งวิถีชีวิตเดิม ตึกแถวเป็นอาคารที่ออกแบบมาให้ตอบรับระบบอุตสาหกรรมและสังคมในยุคก่อน จึงมีระบบโครงสร้างซ้ำๆ กัน มีช่วงเสาไม่กว้าง เน้นการใช้สอยเต็มพื้นที่ และมีทำเลติดถนนเพื่อให้ค้าขาย เป็นทั้งกรอบจำกัดและเสน่ห์แบบวิถีคนเมือง และเป็นความท้าทายสำหรับสถาปนิกในการ รีโนเวตตึกแถว และทลายกรอบเหล่านั้น “ตึกแถวนี้เดิมเป็นบ้านของครอบครัวภรรยาซึ่งใช้อยู่อาศัยสองคูหาและให้เช่าหนึ่งคูหา เมื่อจะแต่งงานจึงมองหาเรือนหอ แต่ด้วยภรรยาอยู่กับคุณพ่อคุณแม่มาตลอดและเป็นลูกคนเดียว จึงคิดว่าเราไม่ควรละทิ้งวิถีชีวิตเดิม และคิดถึงอนาคตถ้าเรามีลูก […]

การทำผนังปูนเปลือย ปูนลอฟต์ ซีเมนต์ขัดมัน

วิธีทำผนัง “ปูนเปลือย” แบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยใช้ปูนซีเมนต์ขัดมัน ไปดูกันว่ามีรูปแบบ ขั้นตอน และการดูแลรักษาพื้นผิวอย่างไรบ้าง “ปูนเปลือย” เป็นชื่อที่นิยมเรียกการทำพื้นผิวปูนหรือคอนกรีตแบบเปลือยผิวเพื่อโชว์เท็กซ์เจอร์ ซึ่งความเท่แบบนี้มีที่มาจากการก่อสร้าง “คอนกรีตหล่อในที่” ซึ่งเมื่อถอดไม้แบบแล้ว จะเกิดพื้นผิวเป็นรอยตามไม้แบบและเกิดลวดลายของเนื้อคอนกรีต แต่การทำด้วยวิธีนี้มีความยุ่งยากและราคาสูง จึงมีการใช้ปูนซีเมนต์มาฉาบแต่งพื้นผิว รวมถึงมีการผลิตสีที่ทำให้เกิดลวดลายคล้ายปูนเปลือย หรือมีการเรียกว่า “ปูนลอฟต์” ตามความนิยมที่นำไปใช้ตกแต่งสไตล์ลอฟต์ ซึ่งทำได้ง่ายในราคาไม่แพง มาดูกันว่าการทำพื้นผิวปูนเปลือยหรือปูนลอฟต์ สามารถทำแบบใดได้บ้าง ปูนซีเมนต์ขัดมัน เป็นการแต่งพื้นผิวโดยใช้ปูนซีเมนต์ฉาบผิวให้ลักษณะคล้าย ปูนเปลือย  แล้วขัดผิวด้วยเกรียงให้เรียบมัน ทำให้เกิดรอยปาดที่เป็นเอกลักษณ์ จึงต้องอาศัยความชำนาญของช่างในการขัดผิว แล้วทาน้ำยาเคลือบผิวประเภทซิลิโคนหรือน้ำยาเคลือบเงา ก็ช่วยป้องกันความชื้นและทำความสะอาดง่ายขึ้น หากต้องการพื้นผิวเรียบเนียน แนะนำให้ผสมวัสดุแต่งผิวสำหรับงานฉาบบาง เช่น TOA 101 Decorplast, Lanko 101 Parenduit ลงในเนื้อปูน จะช่วยป้องกันเนื้อปูนแตกร้าวด้วย ราคา ตารางเมตรละ 400-600 บาท (ค่าแรงและค่าวัสดุ) ซีเมนต์ฉาบบาง การตกแต่งพื้นผิวด้วยซีเมนต์แต่งผิวบาง เพื่อฉาบให้ผิวเรียบเนียนหรือเพื่อปกปิดรอยแตก ซึ่งสามารถโชว์เป็นพื้นผิวให้เหมือนปูนเปลือยได้เช่นกัน โดยใช้เกรียงเหล็กฉาบลงบนพื้นผิวให้บางและสม่ำเสมอได้ตามต้องการ สามารถฉาบต่อครั้งในความหนาได้ตั้งแต่ 0.3 – […]

“บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน

บ้านไม้เก่าย่อมทรุดโทรมไปตามกาลเวลา น่าเสียดายหากจะปล่อยให้เสื่อมสลายไป ด้วยความผูกพันและความชอบงานช่างไม้ไทยในสายเลือดของ คุณบาส – โสภณ ปลูกสร้าง ซึ่งย้ายจากการเป็นคนเมืองกรุงกลับมายังบ้านเกิดที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จึงริเริ่มนำบ้านไม้โบราณหลายหลังมาปรังปรุงให้คืนชีวิตอีกครั้ง หนึ่งในนั้นคือ บ้านชุมดวง หลังนี้ที่เคยเป็นเรือนแพอยู่ในแม่น้ำยม ซึ่งได้รับบูรณะให้เป็นอย่างที่เห็นด้วยเวลาเพียง 97 วันเท่านั้น เจ้าของ คุณโสภณ  ปลูกสร้าง FB : สิบสองหน่วยตัด งานช่างอยู่ในสายเลือด “ก่อนนั้นทำงานด้านธุรกิจโรงแรมและเครื่องสำอางที่กรุงเทพฯ แล้วจึงย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิดเมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานด้านนี้ เนื่องจากคุณปู่เป็นช่างไม้และสืบทอดมาถึงคุณพ่อ จึงเติบโตและซึมซับงานช่างไม้ไทยมาตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มจากความชอบที่ผูกพันคือ บ้านไม้เก่า และทุกอย่างที่เกี่ยวกับบ้านไม้ และส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจนี้ก็มาจาก นิตยสาร บ้านและสวน ซึ่งที่บ้านสะสมหนังสือและติดตามมาตั้งแต่สมัยยังเด็ก” บ้านไม้เก่าสืบทอดสู่เจ้าของใหม่ การหา บ้านไม้เก่า สำหรับคุณโสภณมี 2 แหล่ง คือ ดูในเพจที่รักและชื่นชอบงานไม้ก็จะได้ข้อมูลแลกเปลี่ยนกัน และการเข้าไปพูดคุยกับเจ้าของบ้านโดยตรง “บ้านไม้โบราณแต่ละหลังเป็นมรดกตกทอดของแต่ละครอบครัว เราจึงต้องแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่า เราตั้งใจนำมาอนุรักษ์ไว้ อย่างบ้านชุมดวงหลังนี้ซึ่งเป็นบ้านของตระกูลใหญ่ในจังหวัดสุโขทัย การเข้าไปเจรจาจึงต้องมีความชัดเจนว่าเราอยากนำบ้านบูรณะให้อยู่คู่กับเมืองสวรรคโลกต่อไป เจ้าของบ้านจึงยินดีส่งต่อบ้านมาให้เราดูแล และใช้ชื่อว่า “บ้านชุมดวง” ตามชื่อสกุลเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าของเดิม” อดีตคือเรือนแพในแม่น้ำยม […]

10 จุดหมาย BAB2020 City Route & River Route

มาเที่ยวชมงานศิลป์กลางกรุงฯ ตามเส้นทางเมือง (City Route) และ เส้นทางแม่น้ำ (River Route) กับเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ หรือ BAB 2020 ที่กลับมาสร้างสีสันให้กับชาวกรุงเทพฯ กันอีกครั้ง ในคอนเซ็ปต์ “Escape routes” หรือ “ศิลป์สร้าง ทางสุข” นำเสนอความคิดผ่านผลงานศิลปะ โดยอ้างอิงมาจากสถานการณ์ความวุ่นวายในปัจจุบันที่กำลังรอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจและค้นหาทางออกจากวังวนดังกล่าว ด้วยศิลปะที่เชื่อมโยงความเข้าใจของทุกคนเข้าหากัน โซนการเที่ยวชมงาน BAB2020 มี 2 เส้นทาง คือ เส้นทางเมือง (City Route) และ เส้นทางแม่น้ำ (River Route) City Routeมี 4 จุดหมาย คือ -Bangkok Art and Culture Centre -BAB Box @ONE BANGKOK -The Prelude One Bangkok […]

เปลี่ยนบ้านพักคนงานพังๆ เป็นบ้านชั้นเดียวสีขาวสุดชิค

ชายหนุ่มคนรุ่นใหม่ที่ละทิ้งการใช้ชีวิตแบบคนเมือง กลับไปปรับปรุงบ้านพักคนงานขนาด 9 x 9 เมตร ในสวนลำไยของพ่อ จนกลายเป็นบ้านสุดชิคในงบประมาณเพียง 350,000 โดยกว่า 80% เป็นการก่อสร้างและปรับปรุงด้วยสองมือของเขา ซึ่งเกิดจากความรักที่มีต่อถิ่นเกิดและบริบทแวดล้อมที่หล่อหลอมให้เป็นเขาในวันนี้ เจ้าของ : คุณพิทักษ์ บุญปั๋น และ คุณณิชาพัฒน์ โกสลากร ออกแบบ-จัดสวน : คุณพิทักษ์ บุญปั๋น วิถีชีวิตแบบคนในเมืองที่อยู่บ้านจัดสรร รั้วบ้านติดกัน จอดรถขวางประตู เสียงสุนัขเห่าก็เกิดเรื่องผิดใจกัน และการตื่นมาทำกิจวัตรแบบซ้ำๆ วนไปมา ทำให้ คุณแม๊ก-พิทักษ์ บุญปั๋น เกิดความเบื่อหน่าย จึงชักชวนภรรยา คุณณิชาพัฒน์ โกสลากร กลับไปปรับปรุงบ้านพักคนงานในสวนลำไยของพ่อ เมื่อเห็นพ้องต้องกัน คุณแม๊กก็เริ่มร่างแบบฝันและลงมือปรับปรุงบ้านพักคนงานที่เก่าผุพังให้กลายเป็น บ้านชั้นเดียวสีขาว สุดชิค ด้วยงบประมาณเพียง 350,000 บาทเท่านั้น ลงมือทำเองจากวัสดุที่มี เมื่อเห็นตัวเลขของงบประมาณเชื่อว่าหลายคนคงประหลาดใจ คุณแม๊กเล่าว่า “ผมชอบงานออกแบบแต่จบเกษตร (หัวเราะ) ชอบดูงานออกแบบในอินเทอร์เน็ตจาก Pinterest เลยเก็บตัวอย่างที่ชอบคุยกับช่างและให้เพื่อนช่วยเขียนแบบให้ งบประมาณนี้ส่วนใหญ่จึงเป็นค่าแรงและค่าวัสดุต่างๆ ผมเลือกใช้พร๊อบจากงานแต่งงานของตัวเองซึ่งเป็นไม้เก่าที่เป็นไม้เนื้อแข็งทั้งหมด […]

ซ่อมรีโมท (แอร์) จอดำ ด้วยเทปอะลูมิเนียม ทำเองได้ ไม่ต้องซื้อใหม่

ซ่อมรีโมท แอร์ที่หน้าจอสีดำๆ ทำให้มองไม่เห็นตัวเลขหรือไม่ค่อยชัด มีวิธีการแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ด้วยตัวเองมาบอกกัน เครื่องมือและอุปกรณ์ ซ่อมรีโมท ไขควงขนาดเล็กหรือไขควงเช็กไฟ คัตเตอร์หรือกรรไกร ซ่อมรีโมท สเปรย์หล่อลื่นอเนกประสงค์หรือน้ำยาล้างคราบกาว เทปอะลูมิเนียมหรือเทปปะหม้อ.ผ้าเช็ดทำความสะอาด ขั้นตอนการทำงาน 1.ใช้ไขควงคลายสกรูทุกตัวที่ยึดฝาหลังของรีโมทแอร์ออกมา แล้วใช้ไขควงปากแบนค่อยๆงัดฝาหน้าและฝาหลังให้แยกออกจากกัน สำหรับรีโมทแอร์รุ่นที่ไม่ใช้สกรูยึด ให้ใช้ไขควงงัดฝาหลังออกมาได้เลย ซ่อมรีโมท 2.เมื่อเปิดฝาหลังออกมา จะพบกับแผงวงจร ซึ่งอาจมีสกรูขนาดจิ๋วยึดติดอยู่กับฝาครอบก็ให้คลายสกรูทุกตัวออกมาเช่นกัน 3.เมื่อแผงวงจรพอขยับได้แล้ว ให้นำหน้าจอที่มีรอยด่างดำหรือเป็นรอยไหม้ ออกมาทำความสะอาด ด้วยการใช้ไขควงค่อยๆงัดหน้าจออย่างเบามือ 4.เมื่อนำหน้าจอที่มีรอยด่างดำออกมาได้แล้ว ให้ลอกแผ่นรับแสงที่เสื่อมสภาพออกมา หรือใช้ปลายใบมีดคัตเตอร์ช่วยสะกิดเบาๆก็ได้ 5.จากนั้นใช้สเปรย์หล่อลื่นอเนกประสงค์ ฉีดทำความสะอาดคราบกาว หรือจะใช้สำลีชุบน้ำยาล้างคราบกาวมาเช็ดทำความสะอาดก็ได้ 6.นำหน้าจอมาทาบกับเทปอะลูมิเนียมเพื่อวัดขนาดให้พอดี แล้วใช้คัตเตอร์หรือกรรไกรตัดแผ่นเทปออกมา จากนั้นลอกกระดาษที่อยู่ด้านหลังแผ่นเทปอะลูมิเนียมทิ้งไป แล้วนำแผ่นเทปมาติดด้านหลังจอแทนของเดิม 7.การติดแผ่นเทปอะลูมิเนียมต้องทำด้วยความประณีต เพื่อไม่ให้เกิดรอยยับหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด โดยใช้นิ้วมือค่อยๆกดให้เรียบทั่วทั้งแผ่น หรือใช้พลาสติกแข็งช่วยไล่ฟองอากาศเพื่อให้ผิวหน้าเรียบเนียนยิ่งขึ้นก็ได้ 8.ใส่หน้าจอที่สดใสกลับเข้าที่เดิม ประกอบแผงวงจร ปิดฝาหลังรีโมท ยึดสกรูทุกตำแหน่งให้เรียบร้อย จากนั้นใส่แบตเตอรี่แล้วลองทดสอบการใช้งานได้เลย นอกจากนี้เรายังสามารถนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่มีหน้าจอแบบเดียวกันนี้ได้อีกด้วย เช่น เครื่องคิดเลข เครื่องวัดความดัน เป็นต้น TIPS :  หน้าจอรีโมทคอนโทรลแอร์บางรุ่นจะมีสายแพหรือขั้วต่อสายไฟติดอยู่ เวลาถอดหน้าจอออกมาทำความสะอาด ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าออกแรงมากเกินไป […]

renovation

10 จุดการรีโนเวตบ้านที่ไม่ควรพลาด

การรีโนเวตบ้านเก่ามักไม่มีวิธีการตายตัว เพราะต้องปรับไปตามสภาพและปัญหาของบ้านแต่ละหลัง จึงต้องใช้ประสบการณ์กันพอตัว แล้วถ้าหากเราเป็นเจ้าของบ้านมือใหม่ล่ะ จะเริ่มจากตรงไหนดี? สำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่ที่จะเริ่มรีโนเวตบ้าน ควรเริ่มจากการสำรวจบ้านเดิมว่าส่วนใดควรเก็บรักษาไว้ และ ส่วนใดควรรื้อทิ้ง จากนั้นมากำหนดขอบเขตว่าจะรีโนเวตทั้งหลัง, รีโนเวตบางส่วนแล้วจัดฟังก์ชันใหม่ หรือเพียงซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้ดีขึ้น  แม้แต่ละบ้านจะมีวิธีแก้ปัญหาต่างกัน แต่ก็มี 10 จุดการรีโนเวตที่มักเจอแทบทุกบ้านที่มือใหม่ควรรู้ รีโนเวทบ้าน 1. การยกพื้นภายใน รีโนเวทบ้าน ด้วยการยกพื้นภายในบ้านบางส่วนให้สูงขึ้นมีหลายกรณี อาจทำเพื่อต้องการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ เช่น ยกพื้นเพื่อแทนเตียงนอน  หรือแก้ปัญหาการเดินท่อน้ำไว้ใต้พื้นของห้องครัว ซึ่งควรระวังเรื่องระดับฝ้าเพดานที่จะเตี้ยลง รวมถึงกระทบต่อระดับประตูหน้าต่าง บันได ปลั๊กไฟ และเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน ถ้ายกพื้นเป็นบริเวณกว้าง ไม่ควรเทพื้นคอนกรีตให้สูงขึ้นเพราะแม้สูงขึ้นเพียง 10-15 เซนติเมตร น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจนอาจทำให้โครงสร้างเดิมเสียหายได้ เพราะคอนกรีต 1 ลูกบาศก์หนักประมาณ 2,400 กิโลกรัม วิธีที่ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมรับน้ำหนักมากเกินไปคือ การทำพื้นโครงสร้างเหล็กยึดกับเสาและคานของบ้าน ปูด้วยวัสดุแผ่นพื้นอย่างแผ่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ แล้วติตตั้งวัสดุปูพื้นระบบแห้งซึ่งมีน้ำหนักไม่มากและทำงานได้เร็ว 2. การเปลี่ยนวัสดุปูพื้น การเปลี่ยนวัสดุปูพื้นไม่ใช่เรื่องยาก และมีวัสดุหลายชนิดที่สามารถปูทับพื้นเดิมได้โดยไม่ต้องรื้อ เช่น ไม้ลามิเนต กระเบื้องไวนิล รวมถึงกาวซีเมนต์ที่ปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเดิมได้เลย แต่มีสิ่งที่ควรพิจารณาคือ ถ้าต้องการทำพื้นให้ระดับเท่าเดิม […]

10 เรื่องต้องรู้การออกแบบและปรับปรุงห้องครัว

ครัวเก่าใช้มานาน ย่อมเสียหายหรือไม่สอดคล้องกับการใช้งานปัจจุบัน  เรามาดู 10 เรื่องต้องรู้ในการออกแบบ ปรับปรุง และ ต่อเติมครัว กัน 1. หลักการวางแปลน ก่อน ต่อเติมครัว หรือ รีโนเวตครัว พิจารณาว่าแปลนเดิมใช้งานได้ดีหรือไม่ โดยฟังก์ชันหลักคือ ตู้เย็น อ่างล้างจาน และเตาไฟ ซึ่งเป็นส่วนเก็บ ส่วนล้าง และส่วนปรุงอาหารตามลำดับ ควรจัดวางเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือเป็นเส้นตรงสั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานในห้องครัวมีความคล่องตัว และเพื่อความสะดวกควรมีระยะช่องทางเดินอย่างน้อย 1.10 เมตร 2. ถ้าจะเปลี่ยนอ่างล้างจาน ย้ายเตาไฟ รู้ไหมควรห่างกันเท่าไร พื้นที่ข้างเตาไฟทั้งสองข้างควรเว้นที่ว่างไว้ข้างละอย่างน้อย 45 เซนติเมตร เพื่อเป็นที่วางหม้อ กระทะและอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว อีกทั้งระหว่างตู้เย็นและอ่างล้างจานก็ควรมีพื้นที่ว่างสำหรับ วางของที่หยิบออกจากตู้เย็นและวางจานชามที่เตรียมล้างหรือล้างเสร็จแล้ว โดยมีระยะอย่างน้อย 30 – 45 เซนติเมตร 3. พื้นที่ห้องและรูปแบบเคาน์เตอร์ พื้นที่ 3-5 ตร.ม. ควรทำเคาน์เตอร์รูปตัว i โดยชิดผนังด้านใดด้านหนึ่ง จัดพื้นที่ทั้ง 3 โซน อยู่ในแถวเดียวกัน ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะเป็นครัวในคอนโดมิเนียมหรือทาวน์เฮ้าส์ […]

วิธีตรวจระบบไฟฟ้าบ้าน

5 ขั้นตอนตรวจระบบไฟฟ้าด้วยตัวเอง

ระบบไฟฟ้าในบ้าน ควรหมั่นตรวจสอบให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเรา มาดูวิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเองกัน 1. เริ่มด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าในบ้าน เริ่มตรวจโดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ออกให้หมด จากนั้นไปดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบหรือ Test (ควรกดปุ่มทดสอบนี้เป็นประจำทุก 1 – 3 เดือน) ถ้ายังใช้ได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันทีเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า และรวมถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ 2. ตรวจสอบเมนสวิตช์ ดูว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังในตู้หรือไม่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยยังสามารถใช้ปลดวงจร ระบบไฟฟ้าในบ้าน ได้หรือไม่ ป้องกันไฟรั่วและไฟดูดได้ดีอยู่หรือไม่ หากมีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายควรหามาเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย 3. ตรวจสอบสายไฟฟ้าว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานอาจเปื่อยกรอบเนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน หรือถูกหนูกัดแทะฉนวนจนสายขาดได้ (ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ) ถ้าพบก็ต้องเปลี่ยนใหม่โดยด่วน 4. ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า ดูว่าหลวม มีรอยแตกร้าว หรือรอยไหม้บ้างหรือไม่ ถ้าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้าแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ก็ควรเปลี่ยนใหม่ และควรทดสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟทดสอบ 5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักมีการจับต้องขณะใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้า โดยตรวจว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟแตะที่ตัวเครื่องส่วนที่เป็นโลหะ […]

6 วิธีเปลี่ยนห้องเล็ก เป็นมุมทำงานสุดเวิร์ค

ห้องใครเล็ก ห้องใครรก ก็สามารถจัดมุมทำงานและบริหารการใช้พื้นที่ให้กลายเป็นมุมทำงานสุดเวิร์ค รองรับการ Work from Home (WFH) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ และวิถี New normal ที่เปลี่ยนบ้านให้เป็นออฟฟิศ ลดการเดินทาง ลดค่าใช้จ่าย รวมถึงฟรีแลนด์ด้วย เมื่อจัดพื้นที่และตารางชีวิตให้ทำงานได้ดีแล้ว ก็สามารถทำงานได้คล่องไม่มีเบื่ออีกต่อไป 1.เริ่มต้นที่การบริหารพื้นที่ใช้งาน หากบ้านมีพื้นที่เพียงพอก็สามารถจัดสรรมุมทำงานได้ไม่ยาก แต่สำหรับห้องขนาดเล็กอย่าพึ่งคิดว่าจะจัดมุมทำงานได้อย่างไรในเมื่อมีอยู่ห้องเดียว หันซ้ายก็เป็นเตียง หันขวาก็เป็นห้องน้ำ ถ้าเราคิดว่าโดยปกติทุกพื้นที่มีการใช้งานเป็นช่วงเวลา อย่างช่วงที่เราไม่ได้ใช้เตียง พื้นที่ตรงนั้นก็ถือเป็นที่ว่าง ซึ่งหากรู้จักจัดสรรและมีวินัยเพียงพอก็จะสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้ดีขึ้น ตัวอย่างที่เห็นภาพชัดคือ ห้องของคนญี่ปุ่นที่มีขนาดเล็ก แต่ก็สร้างวัฒนธรรมการพับเก็บที่นอนทุกครั้งในตอนเช้า จึงเกิดพื้นที่ว่างใช้ทำกิจกรรมอื่นต่อได้ เป็นการบริหารพื้นที่ใช้งานแบบทับซ้อนให้เหมาะกับกิจกรรมและเวลา มาดูตัวอย่างการบริหารพื้นที่ใช้งานตามช่วงเวลาสำหรับการ Work from Home กัน 2.วางโต๊ะดี ทำงานคล่อง แต่ละคนชอบมุมนั่งทำงานต่างกัน บางคนชอบหันหน้าเข้าผนัง บางคนชอบมองวิว มาดูการจัดวางโต๊ะทำงานแบบไหนดี แบบไหนไม่ดี แล้วเลือกจัดได้ตามชอบใจ หรือปรับให้มีมุมทำงานหลายมุมก็แก้เบื่อได้ดี การวางโต๊ะทำงาน -หันข้างให้หน้าต่าง ถือเป็นตำแหน่งที่ดี ได้รับทั้งแสงธรรมชาติและการพักสายตา แต่ก็หันกลับมามีสมาธิกับการทำงานได้ -หันหน้าเข้าผนัง สร้างสมาธิได้ดี […]