บทความโดย บ้านและสวน - Page 7 of 17

แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน

ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]

มุมมอง “ไทยนิยม” ของสถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น ผศ. พิรัส พัชรเศวต

“สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” คำจำกัดความที่บ่งบอกแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ EAST architects ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเด่นชัดในสถาปัตยกรรมสไตล์ทรอปิคัลโมเดิร์น ที่มีแก่นความคิดในการอยู่ร่วมกับดินฟ้าอากาศอย่างเข้าใจธรรมชาติ การออกแบบบ้านในอดีตและปัจจุบัน มีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ในเชิงความเป็นมนุษย์ คนที่อยากสร้างบ้านมีความต้องการคล้ายๆกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ เป็นบ้านที่อยู่สบาย ความสบายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนชอบ โดยภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้าน ซึ่งประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น บ้านจึงได้รับการออกแบบให้อยู่สบาย ไม่ร้อน และสั่งสมจนเป็นภูมิปัญญาไทย ส่วนรูปแบบอาคารที่มาห่อหุ้มนั้น เป็นไปตามคติความเชื่อ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ในส่วนรูปแบบบ้านที่นิยมในแต่ละสมัย เราต้องแยกกันเป็นสองส่วน คือ รสนิยม หรือ Taste เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเช่นนั้นในทุกยุคสมัย ส่วนความนิยมส่วนรวมน่าจะตรงกับความหมายของ -ism (อิส’ซึม) เช่น Modernism Minimalism คือ นิยมกันแพร่หลาย ซึ่งเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดียให้เข้าถึงความนิยมสากลอย่างรวดเร็ว ก็จะถูกคลี่คลายกลายเป็นรสนิยมส่วนบุคคล รูปแบบบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลง และมีหลายแนวคิดที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องพลังงาน […]

บ้านไทยพื้นถิ่น ภาพสะท้อนวิถีชีวิตผ่านลายเส้นของ ศ.เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์

ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]

ภูมิปัญญาไทย ในบ้านยุคใหม่

ดีไซน์ดีๆจาก ภูมิปัญญาไทย มาประยุกต์กับบ้านสมัยใหม่ มาดู ๙ ลักษณะของบ้านไทยที่ช่วยให้บ้านอยู่สบาย ๑.ชานเชื่อมพื้นที่ ภูมิปัญญาไทย ของเรือนไทยที่ยกพื้นสูง จึงมีการทำพื้นเป็นทางสัญจรภายในบ้าน และใช้เชื่อมระหว่างเรือนเพื่อขยายจากเรือนเดี่ยวเป็นเรือนหมู่ และการขยายเรือนแบบล้อมชาน ก็จะเกิดพื้นที่เปิดโล่งที่มีการโอบล้อมแบบคอร์ตยาร์ด ชานยังเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งพักผ่อน นั่งเล่น และจัดงานประเพณี เช่น ทำบุญ เลี้ยงพระ เรือนขนาดใหญ่อย่างเรือนคหบดีมักปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้กลางชานที่ช่วยให้บรรยากาศร่มรื่น แล้วยังนิยมปลูกไม้ประดับ เช่น บอน ว่าน ตะโกดัด กระถางบัว และเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกเขา นกดุเหว่า ปลากัด และปลาเข็ม การทำชานบ้านยังนำมาใช้ได้ดีกับบ้านยุคปัจจุบัน โดยออกแบบอาคารให้มีพื้นที่โล่งในลักษณะคอร์ตยาร์ด ที่อาจทำเป็นทางเดิน ชาน และจัดสวน ที่ทั้งสร้างความร่มรื่น และเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างกันได้ ๒.การยกพื้นบ้านสูง บ้านยกพื้นสูงไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย ยังพบเห็นได้ในบ้านเรือนแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมอยู่เสมอ “ใต้ถุนเรือน” ของบ้านไทย เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตที่มักทำเกษตรกรรม สภาพภูมิประเทศที่มีน้ำหลาก และภูมิอากาศร้อนชื้นที่มีฝนตกมาก ใต้ถุนจึงเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ไม่มีผนังกั้น มักใช้เป็นพื้นที่เก็บของ อุปกรณ์การเกษตรและประมง เลี้ยงสัตว์ ใช้เป็นพื้นที่ทำงานหัตถกรรม หรือใช้หลบร้อนในช่วงกลางวัน […]

SUSTAINABILITY EXPO 2022 “สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า”

งาน SUSTAINABILITY EXPO ประจำปี 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“Good Balance, Better World สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ใครอยากสร้างสมดุลที่ดีให้กับตัวเองและสังคม ไม่ควรพลาดมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน SUSTAINABILITY EXPO 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Good Balance, Better World สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” ทางออกเพื่อโลก และวิธีสร้างสมดุลใหม่ให้กับตัวเองและสังคม มาส่องไฮไลต์ในงานกันก่อน แล้วอย่าลืมตามมาร่วมกิจกรรมที่มีมากมายในงานกัน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนิกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิราเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ผนวกกับหลักเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ (UNSDGs) งานจัดขึ้นเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนถึง 2 ตุลาคม 2565 ครอบคลุมกว่า 40,000 ตารางเมตรของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่เพิ่งได้รับการปรับปรุงใหม่ (QSNCC) เป็นการรวมตัวของบริษัทจากทั้งต่างประเทศและในประเทศอย่างน้อย 50 […]

ค่า Ft คืออะไร

ค่า Ft คืออะไร ทำไมเราต้องจ่าย

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ค่า Ft คืออะไร เหตุใดจึงต้องมาบวกอยู่ในค่าไฟฟ้าของเรา วันนี้บ้านและสวนชวนคุณมาทำความรู้จักกับค่า Ft กัน            อัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ ค่า Ft คืออะไร – Ft ย่อมาจาก Fuel Adjustment Charge (at the given time) ซึ่งเปลี่ยนมาจากความหมายเดิม คือ Float time หมายถึง การลอยค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยในการคำนวณสูตร Ft ให้คงเหลือเพียง ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำหนดราคาค่า Ft โดยค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าจะประกอบไปด้วย ค่าไฟฟ้า = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม […]

บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก บ้านสวนในวิถีเกษตรพอเพียง

บ้านสวนสไตล์พื้นถิ่นร่วมสมัย ออกแบบเป็น บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก ที่เน้นการสร้างได้เร็ว ทันสมัย แต่ยังคงความอบอุ่น

ป้องกันอันตรายในบ้านผู้สูงอายุ

เพราะผู้สูงอายุคือผู้ใช้งานในบ้านที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การออกแบบบ้านจึงควรรองรับการใช้งานของผู้สูงอายุด้วย มาดู 7 จุดที่ควรระวังในการ ออกแบบบ้านผู้สูงอายุ มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ควรทำ และไม่ควรทำบ้าง ทางลาดไม่อันตราย ทางลาดเป็นองค์ประกอบแรกที่ควรรู้ในการ ออกแบบบ้านผู้สูงอายุ การทำทางลาดอาจทำให้เปลืองพื้นที่บ้านไม่น้อย แต่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อมีผู้สูงอายุที่เดินขึ้นลงบันไดลำบาก หรือมีการใช้รถเข็น โดยมีหลักการทำทางลาดที่ปลอดภัยดังนี้ แบบบ้านผู้สูงอายุ มีความลาดเอียงที่สามารถขึ้นลงได้ปลอดภัย โดยมีอัตราความลาดเอียงดังนี้ อัตราความลาดเอียงน้อยกว่า 1 : 10  ลาดชันเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายได้ อัตราความลาดเอียง 1 : 10  ต้องมีผู้ช่วยเข็นรถเข็น อัตราความลาดเอียง 1 : 12  – 1 : 20 ผู้นั่งรถเข็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทางลาดมีความยาวไม่เกิน 6 เมตร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หากทางลาดมีความยาวเกิน 6 เมตร ต้องมีชานพักยาว 1.50 เมตร และถ้าทางลาดทุกช่วงยาวรวมกันมากกว่า 6 เมตร ทางลาดต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 […]

บ้านโมเดิร์นที่หลอมรวมคน 2 รุ่น 2 สไตล์   

การอยู่ร่วมกันไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง รุ่นพ่อแม่ชอบคลาสสิก รุ่นลูกชอบมินิมัล ได้หลอมรวมกันเป็น บ้านโมเดิร์นสีขาวทรงกล่อง ที่มีเอกลักษณ์ ผลลัพธ์การออกแบบบ้านของ WARchitect โดย คุณวิน – ธาวิน หาญบุญเศรษฐ ที่ใช้ดีไซน์มาแก้ปัญหาของที่ดินและความแตกต่างได้อย่างน่าสนใจ จากความตั้งใจแรกเริ่มของครอบครัวที่อยากสร้างบ้านสองหลังสำหรับคุณพ่อคุณแม่ใกล้เกษียณที่ชื่นชอบสไตล์คลาสสิก และอีกหลังแนวมินิมัลสำหรับลูกที่เริ่มเขาวัยทำงาน ด้วยขนาดที่ดินกว่า 1 ไร่ ก็น่าจะเป็นไปได้ แต่บริเวณนั้นอยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งมีกฎหมายห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้าง และต้องมีเว้นระยะห่างจากแนวสายไฟ จึงทำให้เหลือที่ดินสำหรับสร้างบ้านไม่มากอย่างที่คิด อีกทั้งการสร้างบ้านต่างสไตล์แบบสุดขั้วใกล้กันไม่ใช่ทางเลือกที่ดี สถาปนิกจึงนำเสนอให้รวมบ้านสองหลังให้เป็นหลังเดียว และหลอมรวมสองสไตล์เข้าด้วยกันแบบมีชั้นเชิง เป็นที่มาของ บ้านโมเดิร์นสีขาวทรงกล่อง ที่ใช้รูปแบบการย่อมุมแบบคิ้วบัวของสถาปัตยกรรมคลาสสิกที่ลดทอนรายละเอียดเข้ามาผสมผสาน ผสานวัย ผสานสไตล์ บ้านโมเดิร์นสีขาว สองชั้นบนพื้นที่ 650 ตารางเมตรได้ออกแบบฟังก์ชันภายในบ้านแยกจากกันเสมือนเป็นบ้านสองหลัง แต่ยังเชื่อมโยงกันด้วยการออกแบบทางภาษาสถาปัตยกรรมให้ผสมผสานความชอบของทั้งสองรุ่น ระหว่างสไตล์คลาสสิกกับมินิมัล โดยสถาปนิกแปลความคลาสสิกของคุณพ่อคุณแม่ด้วยการมีแพตเทิร์นคิ้วบัว ความสมดุล และหรูหรา ส่วนความมินิมัลของลูกคือ บ้านสีขาว ทรงเหลี่ยมๆ ใช้ไม้สีอ่อน และตกแต่งด้วยผ้าที่มีเท็กซ์เจอร์อย่างผ้าลินินที่ได้ฟีลคาเฟ่หรือร้านอาหารญี่ปุ่น จึงนำคาแร็กเตอร์เหล่านี้มาออกแบบองค์ประกอบ เกิดเป็นการย่อมุมของเฟรมสีขาวทั้งฝ้าและผนังให้ความรู้สึกสง่างามและเรียบง่ายไปพร้อมๆกัน ในความเรียบนิ่งของสีขาวกลับแสดงมิติของแสงเงาที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างชัดเจน หลังบ้านคือหน้าบ้าน เนื่องจากด้านตามยาวของบ้านหลังนี้วางขนานกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งจะปะทะกับแสงแดดตลอดทั้งวัน โดยฝั่งทิศตะวันออกจะเป็นฝั่งที่ติดถนน สถาปนิกจึงออกแบบให้เป็นผนังทึบทั้งหมดเสมือนว่าเป็นหลังบ้าน ให้ความรู้สึกลึกลับคล้ายกับมิวเซียม ส่วนด้านหลังบ้านที่หันไปทางทิศตะวันตกจะเชื่อมต่อกับสนามหญ้าขนาดใหญ่ […]

Before / After เปลี่ยนดาดฟ้าเน่า รั่วซึม เป็นมุมพักผ่อน

ดาดฟ้ารั่ว มีรอยร้าว ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าไปในบ้าน มีวิธีทำกันซึม และปกป้องพื้นผิวแบบ Step by step แถมด้วยไอเดียการเปลี่ยนดาดฟ้าให้เป็นมุมพักผ่อน Before – ดาดฟ้าบ้านเก่า 40 ปี เจอปัญหา ดาดฟ้ารั่ว มีรอยร้าว น้ำซึม เหมือนบ้านเก่าอายุกว่า 40 ปีหลังนี้ ผู้เชี่ยวชาญจาก จระเข้ – JORAKAY ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์กันซึมและซ่อมแซม ได้มาให้คำแนะนำ พร้อมบอกวิธีซ่อมแซมอย่างละเอียด ให้เจ้าของบ้านและช่างทำตามได้ง่ายๆ ด้วย 4 ขั้นตอน คือ เตรียมพื้นผิว อุดรอยร้าว ทาซีเมนต์กันซึม ปกป้องพื้นผิว ก่อนการซ่อมแซม ควรวิเคราะห์หาสาเหตุการรั่วซึมเพื่อแก้ไขได้ตรงจุด โดยผู้เชี่ยวชาญจาก จระเข้ มาตรวจสอบพื้นที่พบว่า มีรอยร้าวขนาดเล็กที่พื้น มีจุดรั่วซึม คราบน้ำใต้พื้น และขอบมุมรอยต่อ ซึ่งปัญหารอยร้าวเกิดจากคอนกรีตเจอสภาพอากาศร้อนและเย็น แล้วมีการยืด-หดตัวจนเกิดการร้าว อีกทั้งคอนกรีตมีการสะสมความชื้นมาเป็นเวลานาน ทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ เมื่อไม่ใช่ปัญหาจากโครงสร้าง ก็สามารถซ่อมแซมด้วยการทำระบบกันซึมได้เลย มาเตรียมวัสดุและอุปกรณ์กัน ซีเมนต์ทากันซึม ชนิดยืดหยุ่น […]

Health & Well-being Materials วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย

การเลือกใช้วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราอยู่บ้านอย่างมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้แนะนำหลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดีใช้งานได้ยาวนาน ไม่เสียหรือต้องซ่อมบ่อย เป็นบ้านที่อยู่แล้วเย็นสบาย ไม่ลื่นล้ม ไม่รั่วซึม ไม่สะสมฝุ่น ปลอดภัยกับทุกคนในบ้าน ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านทุกคนมีความสุข มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจด้วยเช่นกัน มาดูหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี และตัวอย่างคุณสมบัติวัสดุกัน 4 หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี ( Well-Being Materials ) วัสดุที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco- Friendly Materials) ได้แก่ วัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรือ วัสดุทดแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้เทียม หินเทียม เพื่อลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ วัสดุที่สามารถลดการใช้พลังงาน (Energy Saving Materials) ได้แก่ หลอดไฟประหยัดพลังงาน  กระจกประหยัดพลังงาน เป็นต้น วัสดุรีไซเคิล และวัสดุ Upcycling (Recycle & Upcycling Materials) […]

มุมหมาแมวดีไซน์ดี ทำตามได้

8 ตัวอย่างการออกแบบสำหรับน้องแมวน้องหมา สามารถนำไปเป็นไอเดียปรับใช้กับพื้นที่บ้านและ บ้านหมาบ้านแมว ได้ มุมนั่งเล่นคนละชั้น ออกแบบมุมนั่งเล่นให้ทั้งคนและเหล่าน้องแมวอยู่ด้วยกันคนละชั้น ด้วยการทำชั้นล่างเป็นที่นั่งบิลท์อินสำหรับคน และทำตู้ติดผนังด้านบน ให้เป็นพื้นที่สำหรับน้องแมว แล้วทำตู้เก็บของเป็นบันไดให้เดินขึ้นไปได้ ทั้งยังทำเสาพันเชือกมนิลาทะลุจากชั้นล่างถึงชั้นบน พร้อมแท่นปีนสำหรับปีนป่ายและฝนเล็บที่ดีไซน์เป็นก้านเหล็กดัดโค้งดูน่ารัก เป็นไอเดียที่เห็นแล้วอยากทิ้งตัวไปนั่งเล่นนอนเล่น แถมยังเป็นการใช้พื้นที่แนวตั้งอย่างคุ้มค่า บ้านหมาบ้านแมว สถานที่ : บ้านคุณบดินทร์ หลักทอง / ฟาร์มแมวพันธุ์ Exotic Shorthair ออกแบบ : Ponna Studio โทรศัพท์ 06-4924-9154 ตู้ติดผนัง โครงคร่าวไม้ กรุไม้อัด ปิดผิวลามิเนต แท่นไม้ตัดเป็นวงกลม ปิดผิวลามิเนต ยึดกับโครงท่อเหล็กกลมดัดโค้ง พ่นสี เสาเหล็กกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 มิลลิเมตร พันเชือกมนิลา ที่นั่งชั้นบนทำโครงเหล็กรับน้ำหนัก และทำเป็นตู้ลิ้นชักโครงคร่าวไม้ กรุไม้อัด ปิดผิวลามิเนต เบาะใยสังเคราะห์หนา 10 เซนติเมตร หุ้มปลอกผ้าเคลือบกันน้ำ ถอดซักได้ ที่นั่งชั้นล่างทำเป็นลิ้นชัก โครงคร่าวไม้ กรุไม้อัด […]