- Home
- บ้านและสวน
บ้านและสวน
มันช์กิ้น (Munchkin) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ มันช์กิ้น (Munchkin) หลายท่านคงคิดว่า พวกมันเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ด้วยรูปร่างที่แปลกตา แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกมันมีประวัติที่ยาวนานกว่านั้นมาก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1944 ในประเทศอังกฤษ ปรากฏหลักฐานว่า สัตวแพทย์ชาวอังกฤษคนหนึ่งมีความสนใจพันธุกรรมของพวกมัน จึงหาว่าเหตุใดพวกมันถึงมีขาสั้น แต่การศึกษาก็ต้องยุติลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวจากรัฐหลุยซ์เซียน่า (Louisiana) ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Sandra Hockenedel ได้ตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า มันช์กิ้น โดยตั้งตามชื่อของตัวละครในเรื่องวรรณกรรมคลาสสิค อย่าง เรื่อง The Wizard of Oz แมวมันช์กิ้น ได้รับการยอมรับเป็นแมวพันธุ์แท้ โดยสมาคม The International Cat Association หรือ TICA แต่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับทางสมาคม Cat Fancier Association หรือ CFA เนื่องจากทางสมาคม CFA ถือว่าแมวขาสั้น หรือ แมวมันช์กิ้นมีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือพิการอย่างหนึ่ง […]
โรคเปลือกตาม้วนเข้า และม้วนออก (Entropion & Ectropion eyelids)
โรคเปลือกตาม้วนเข้าข้างใน (Entropion Eyelids) โรคเปลือกตาม้วนเข้า หรืออาการหนังตาม้วนเข้าในนั้น เกิดจากพันธุกรรม อาจเกิดกับตาข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง พบได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข หรือมาพบเมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น และพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มสุนัขพันธุ์หน้าสั้นจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดหนังตาม้วนเข้าหนังตาม้วนเข้า เพราะ สุนัขประเภทนี้จะมีผิวหนังขอบตาหนากว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ ส่วนของเปลือกตาหดกลับ หรือพับเข้าด้านในของตา (โดนส่วนใหญ่จะเกิดที่เปลือกตาล่าง) ทําให้ขนตาแยงเข้าในลูกตา เกิดการระคายเคืองลูกตา และกระจกตาอักเสบ ประการหลังนี่มักเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แล้วมีการหนาตัวของผิวหนังบริเวณขอบตาเกิดขึ้นด้วย จึงมีโอกาสเกิดหนังตาม้วนเข้าได้ วิธีสังเกตอาการ กระจกตาอักเสบ ระคายเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหลมากกว่าปกติ มีเมือก หรือหนองออกมาจากตา เนื่องจากหนังตาม้วนเข้าในสุนัขและแมว จะทําให้เกิดการระคายเคืองตา ทําให้แสดงอาการน้ำตาไหลมากกว่าปกติ ตาแดง หากเกิดหนังตาม้วนเข้าเป็นเวลานาน อาจทําให้เกิดตาเปลี่ยนสี กระจกตาอักเสบ รวมถึงเมื่อเกิดหนังตาม้วนเข้าอาจพบขี้ตาสีเขียว เมือก หรือหนองออกจากดวงตา การรักษาและวิธีการป้องกัน โรคเปลือกตาม้วนเข้า สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาหยอดตา หรือครีม เพื่อลดอาการระคายเคือง การผ่าตัดขลิบเอาหนังตาออกบางส่วน โรคหนังตาม้วนเข้าในเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจึงไม่สามารถป้องกันได้ สุนัขพันธุ์เสี่ยง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม Bulldog, Pug, Pekinese, American […]
สกอตติช โฟลด์ (Scottish Fold) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ สกอตติช โฟลด์ ถือกำเนิดขึ้นในประเทศสก็อตแลนด์ จากคนเลี้ยงแกะที่ชื่อนาย “วิลเลี่ยม รอส” ในปีค.ศ. 1961 โดยนายวิลเลี่ยมพบแมวตัวหนึ่งในโรงนาของเพื่อนบ้านที่มีลักษณะหูพับและมีสีขาวทั้งตัวโดยบังเอิญ ซึ่งแมวตัวนี้เป็นของเพื่อนบ้านของเขาที่ชื่อว่า “ซูซี่” นายวิลเลี่ยมสนใจซูซี่เป็นอย่างมาก เมื่อซูซี่ได้ให้กำเนิดลูกแมวน้อยที่มีลักษณะหูพับเหมือนกัน นายวิลเลี่ยมจึงขอซื้อจากเจ้าของ แล้วนำมาเลี้ยงที่บ้าน โดยตั้งชื่อแมวที่เป็นลูกของซูซี่นี้ว่า “สนู๊กส์” เมื่อโตขึ้นนายวิลเลี่ยมจึงนำมาผสมพันธุ์กับสายพันธุ์ บริติช ชอร์ตแฮร์ จนกลายเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ จากนั้นก็เริ่มมีคนสนใจนำแมวที่มีลักษณะหูพับนี้ไปปรับปรุงพันธุ์ จนกระทั่งในปี 1966 ก็ได้มีการตั้งชื่อแมวหูพับนี้ว่า สกอตติช โฟลด์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับสถานที่ที่กำเนิดแมวสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในแมวที่มีคนนิยมเลี้ยงมากที่สุดในโลกอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ สกอตติช โฟลด์ เป็นแมวขนาดกลาง รูปร่างกะทัดรัด รูปร่างกลม เพศเมียมีน้ำหนักอยู่ราว 2.5-4 กิโลกรัม ในขณะที่เพศผู้มีน้ำหนักได้ถึง 5.8 กิโลกรัม มีจุดเด่นที่ใบหูพับลงไปข้างหน้า และพับลงต่ำ อีกทั้งขนาดของใบหูมีขนาดค่อนข้างเล็ก มีดวงตาที่กลมโตคล้ายนกฮูก หัวค่อนข้างกลม ช่วงคอสั้น และมีจมูกสันโค้งกว้างรับกับดวงตา ซึ่งบางตัวมีปากโค้งได้รูปรับกับคางพอดี จึงเป็นที่มาของ Smiling […]
วิธีป้องกันสุนัขให้ห่างไกลจากเห็บ หมัด และยุงร้าย
ในช่วงหน้าฝน หรือช่วงที่มีฝนตกบ่อย ๆ เป็นช่วงที่ทำให้สุนัขเสี่ยงต่อการมีปัญหาด้านสุขภาพได้ง่าย เนื่องจากความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะจะทำให้เกิดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงทำให้เกิดการแพร่ขยายพันธุ์ของเห็บ หมัด และยุงได้ดีกว่าฤดูอื่นมากถึง 70% ซึ่งเจ้าสัตว์ตัวเล็กแสนร้ายเหล่านี้ มักจะกลายมาเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ในสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะ ‘โรคพยาธิเม็ดเลือด หรือโรคไข้เห็บ (Canine Blood Parasites)’ โรคยอดฮิตของสุนัขในไทย ที่เมื่อสุนัขโดนเห็บที่มีเชื้อกัดเพียงแค่ครั้งเดียว หรือสุนัขเผลอกัดหรือกินเห็บที่มีเชื้อเข้าไปก็สามารถติดเชื้อได้ สุนัขจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้ สีเหงือกซีดกว่าปกติ มีภาวะโลหิตจาง มีจ้ำเลือดออกตามร่างกาย และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีโรคอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากเห็บ หมัด และยุงอีกมากมาย อย่างเช่น โรคผิวหนังที่เกิดจากแพ้ยุง โรคพยาธิตัวตืดที่มีหมัดเป็นพาหะ และโรคผิวหนังที่เกิดจากแพ้น้ำลายหมัด รวมถึงโรคพยาธิหนอนหัวใจที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งโรคที่กล่าวมาข้างต้นเหล่านี้ เป็นโรคที่มีความสำคัญส่งผลเสียต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงโดยตรง และบางโรคยังสามารทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา ดังนั้น เจ้าของจึงควรปกป้องสัตว์เลี้ยงที่รักให้ปลอดภัย ห่างไกลจากเห็บ หมัด และยุงร้ายอยู่เสมอ บ้านและสวน Pets ขอแนะนำ FRONTLINE TRI-ACT ผลิตภัณฑ์สำหรับหยดหลังที่ผลิตและคิดค้นโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ […]
รวมรายชื่อ วัดที่รับเผาศพสัตว์เลี้ยง การส่งลาครั้งสุดท้าย
“การจากลา” เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ยากที่จะทำใจ ไม่ว่าจะกับคนหรือสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถเอาชนะวงล้อแห่งกาลเวลาได้ สิ่งที่ผู้เป็นที่รักจะมอบให้ได้ ก็คงเป็นการส่งครั้งสุดท้ายด้วยความรัก และเจตนาที่ให้เพื่อนรักได้เดินทางไปในโลกใบใหม่อย่างมีความสุข บ้านและสวน Pets จึงได้รวมรายชื่อ วัดที่รับเผาศพสัตว์เลี้ยง ทั้งในกรุงเทพมหานครฯ และ ต่างจังหวัด มอบร่างสัตว์เลี้ยงเป็น อาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์ วัดกระทุ่มเสือปลา วัดนี้สร้างศาลาติดแอร์อยู่ริมน้ำสำหรับสวดส่งศพให้น้องสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ ที่นี่มีเตาเผาปลอดมลพิษ สำหรับฌาปนกิจศพน้องสัตว์เลี้ยงถึง 3 เตาเผา ตั้งอยู่กลางสวนหย่อม ริมบ่อน้ำ บรรยากาศ ร่มรื่นเย็นสบายแถมด้านหลังยังมีร้านกาแฟเก๋ๆ ไว้ให้บริการหลังจากฌาปนกิจเสร็จที่นี่มีบริการลอยอังคารด้วย ซอยอ่อนนุช 67 ถนนอ่อนนุช แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 086 – 575 5739 วัดน้อยนอก วัดนี้มีศาลาสวดสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ เป็นอาคารชั้นเดียวติดแอร์ ด้านในมีห้องทำพิธีและห้องฌาปนกิจเเยกเป็นสัดส่วน สามารถรอรับกระดูกเพื่อไปลอยอังคารได้เลย วัดนี้มีบริการลอยอังคารให้อีกด้วย ถนน รัตนาธิเบศร์ บางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 098 449 […]
คลินิกและโรงพยาบาลสัตว์ที่รับรักษา Exotic Pet
ปัจจุบันนี้ การเลี้ยงสัตว์ Exotic Pet ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โรงพยาบาลสัตว์หลายแหล่งจึงได้มีบริการตรวจรักษาสำหรับสัตว์ Exotic Pet สายพันธุ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สัตว์ฟันแทะ สัตว์น้ำ สัตว์ปีก และสัตว์เลี้อยคลาน บทความนี้ บ้านและสวน Pets x Exofood Thailand จะมาแจกลิสต์รายชื่อ โรงพยาบาลและคลินิกที่รับตรวจรักษา Exotic Pet ทั่วกรุงเทพมหานคร ให้คนเลี้ยง Exotic Pet ปักหมุดเอาไว้ สำหรับการพาไปตรวจสุขภาพประจำปี หรือเผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้พาไปพบสัตวแพทย์เฉพาะทางได้ทันเวลา โรงพยาบาลสัตว์ซื่อตรง โทร : 02-9881228 Facebook : https://www.facebook.com/SuetrongAnimalHospital โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ โทร : 02 948 7727 Facebook : https://www.facebook.com/โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ-177593625616833 โรงพยาบาลสัตว์มัยลาภ โทร : 02 943 5560 […]
ไรขน (Cheyletiella) และ ไรในหู (Otodectes cynotis)
โรคไรขน ไรขน (Cheyletiella) อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมวและสุนัข โดยจะเข้าทำลายด้วยการกัดกินผิวหนังชั้นเคราตินและกินของเหลวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดลักษณะของรังแค ขนร่วง และมีอาการคัน ไรชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทั่วไปในกระต่ายและสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสามารถอยู่บนผิวของคนและทำให้เกิดผื่นคันได้อีกด้วย Cheyletiella มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะชอบ Host ที่แตกต่างชนิดกันออกไป ไรขนจะตัวเต็มวัยมีขนาด 0.385 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ มีกรงเล็บที่บริเวณขา มีรยางค์ส่วนปากคล้ายคลึงกับคีมหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบได้ในปรสิตชนิดนี้ ไรขนมักอาศัยอยู่ภายในผิวหนังชั้นเคราตินและพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 10 วันเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำลายของ ไรขน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รังแคเดินได้” เนื่องจากไรชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปมาใต้ชั้นเคราติน และผลักเศษผิวหนังขึ้นมา จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนไหวของรังแค การวินิจฉัย สามารถสังเกตเห็นไรขนได้บ้างบนผิวหนัง มีลักษณะเหมือนรังแคที่กำลังเคลื่อนที่บนผิวหนัง สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน โดยใช้สก็อตเทปแปะไปที่บนผิวหนังที่สงสัยหรือใช้หวีสาง และนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาไรขน หรือไข่ของไรขน การรักษา มีทางเลือกหลายอย่างสำหรับการรักษา Cheyletiella โดยจะต้องรักษาทั้งตัวสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น พื้นปูเตียง ของเล่น เป็นต้น […]
โรคขี้เรื้อนแห้ง และขี้เรื้อนเปียกในสุนัข
โรคผิวหนังในสุนัขที่ทุกคนมักจะรู้จักกัน คงหนีไม่พ้นโรคขี้เรื้อน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจรจัดตามถนน เพราะ โรคขี้เรื้อนนี้เกิดจากปรสิตภายนอกที่สามารถติดต่อกันได้ในสุนัข โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกันดังนี้ โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies) โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนังสุนัขเป็นชุมชนกันเลยทีเดียวค่ะ บริเวณที่พบได้บ่อยคือขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก สุนัขจะคันมากและเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญอาจจะมีอาการคันเกิดขึ้นได้กับเจ้าของเช่นกันนะคะ การวินิจฉัย สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน […]
รายชื่อและช่องทางการติดต่อ โรงพยาบาลสัตว์ 24 ชั่วโมง
เคยไหม? บางครั้งสัตว์เลี้ยงของเรามีอาการป่วยกลางดึก หรือมีอุบัติเหตุฉุกเฉิน ซึ่งทำให้หาโรงพยาบาลได้ยาก เพราะว่า ดึกเกินไป หรือในบางครั้งกว่าโรงพยาบาลใกล้บ้านจะเปิดก็ต้องรอจนเช้า ตัวเลือกที่ดีจึงเป็น โรงพยาบาลสัตว์ 24 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้พาสัตว์เลี้ยงไปให้คุณหมอดูอาการได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าอาการจะกำเริบ ยิ่งรักษาได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น ครั้งนี้ บ้านและสวน Pets Directory เลยรวบรวมรายชื่อและช่องทางการติดต่อ โรงพยาบาลสัตว์ 24 ชั่วโมง ไว้ให้ทุกท่าน เผื่อไว้ในยามฉุกเฉิน หรือยามจำเป็นที่จะต้องใช้ จะได้ไม่ต้อง search หาให้ฉุกละหุกวุ่นวาย สามารถเก็บสัมภาระ และเตรียมพาน้อง ๆ ไปรักษาได้อย่างทันท่วงที Tips การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง (First aid) โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครโทร : 02 797 1900Facebook : @KUVetTeachingHospital โรงพยาบาลสัตว์เล็กจุฬาฯคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวันโทร : 02 218 9715Facebook […]
ดัลเมเชียน (Dalmatian) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ดัลเมเชียน (Dalmatian) เป็นสายพันธุ์เก่าแก่ที่มีเชื้อสายที่สืบทอดมายาวนาน มีความเชื่อว่ามีต้นกำเนิดจากชายฝั่ง Dalmatia ซึ่งตั้งอยู่คาบสมุทรบอลข่าน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จากสุนัขสายพันธุ์ Talbot Hound ซึ่งเป็นสุนัขที่มีขนสีขาวทั้งตัว และนิยมนำมาเป็นสุนัขอารักขาในกองคาราวาน รวมถึงคอยช่วยและทำหน้าที่ในการล่าสัตว์ ส่วนลายจุดที่เป็นจุดเด่นของพวกมันนั้น คาดว่าอาจเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง Talbot Hound และสุนัขพันธุ์ Pointer แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังคงมีอีกหนึ่งตำนานกล่าวถึงที่มาของ “ดัลเมเชียน” ซึ่งตำนานนี้ถูกเล่าขานว่า ต้นกำเนิดของพวกมันอาจจะมาจากทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย แล้วถูกนำเข้ามายังยุโรปโดยชาวยิปซี ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในศตวรรษที่ 14 เนื่องจากพบบันทึกเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ในเมืองที่ชื่อว่า ดัลเมเชียน ในยุคแรก ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อสุนัขพันธุ์นี้ว่า “ดัลเมเชียน” ในภายหลังด้วยรูปร่างที่ปราดเปรียว และสง่างามนี้เอง จึงเป็นที่นิยมของชนชั้นสูงในยุโรป ซึ่งชื่นชอบกีฬาการล่าสัตว์ ความนิยมนี้มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้สุนัขพันธุ์ดัลเมเชียนเป็นสัญลักษณ์ความอดทนและความกล้าหาญ เห็นได้จากในยุควิกตอเรีย พวกมันมีอีกชื่อว่าสุนัขดับเพลิง เพราะ จะเห็นจากการค้นพบภาพสุนัขพันธุ์นี้ วิ่งไปตามถนนเพื่อกันผู้คนไม่ให้ไปรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ดัลเมเชียนเป็นสุนัขขนาดกลางที่ผสมผสานกันระหว่างความสง่างามและความแข็งแรง จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์สุนัขใช้งานที่ได้รับความนิยม มีจุดเด่นที่สรีระของร่างกายที่มีความได้เปรียบกว่าสุนัขพันธุ์อื่น พวกมันขึ้นชื่อว่ามีความปราดเปรียวอย่างมาก เคลื่อนไหวได้อย่างว่องไว ดัลเมเชียนมีหูพับลงตามธรรมชาติ และมีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม ส่วนหางนั้นจะยาวเรียว ปลายหางงอขึ้นเล็กน้อย […]
ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)
ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]
โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia : BPH)
หากพบสุนัขเพศผู้มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย หรือเบ่งอุจจาระนานกว่าปกติ โรคสำคัญที่หมอมักจะต้องนึกถึงเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือ “โรคต่อมลูกหมากโต” หรือ Benign Prostatic Hyperplasia (BPH) ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญทางระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและสัตว์เพศผู้เมื่ออายุมาก พบได้ในคน สุนัข และมีรายงานการเกิดโรคในลิงชิมแปนซี แต่ไม่พบโรคในแมว ต่อมลูกหมากของสุนัขจะทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้อในการผสมพันธุ์ ต่อมจะมีรูปร่างกลมรีแบ่งเป็น 2 ก้อน ซ้ายและขวาอยู่ล้อมรอบบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้น และอยู่ใต้ลำไส้ตรง ดังนั้น หากต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น โรคต่อมลูกหมากโต ถุงน้ำ หรือฝีหนองในต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายเป็นหลัก โรคต่อมลูกหมากโต พบได้ในสุนัขทุกพันธุ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และอาจเรียกได้ว่าเป็นโรคของสุนัขแก่ เนื่องจากพบได้บ่อยในสุนัขเพศผู้อายุมากที่ยังไม่ได้ทำหมัน อุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับคน โดยผู้ชายอายุระหว่าง 60-70 ปี จะมีภาวะต่อมลูกหมากโตได้ร้อยละ 55 ส่วนในสุนัขอายุมากกว่า 5 ปี จะพบโรคได้มากกว่าร้อยละ 80 และมากกว่าร้อยละ 95 เมื่อสุนัขอายุ 9 ปี แต่สุนัขที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต อาจจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด […]