- Home
- บ้านและสวน
บ้านและสวน
โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease : DJD)
โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis; OA, degenerative joint disease : DJD) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดความผิดปกติกับข้อต่อที่มีเยื่อบุข้อ (synovial joint) เป็นภาวะการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมทั้งมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ เยื่อหุ้มข้อต่อ (synovium) กล้ามเนื้อ (muscle) ถุงหุ้มข้อต่อ (joint capsule) กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) เอ็นยึดกระดูก (ligament) และเอ็นยึดกล้ามเนื้อ (tendon) นอกจากนี้จะพบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (biochemistry) และเมแทบอลิซึม (metabolism) ของ กระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้น ในที่สุดจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อและไม่ใช้ขา สุนัขที่ข้ออักเสบมักมีสาเหตุมาจากโรคข้อเสื่อมแสดงให้เห็นว่าข้อเสื่อมเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับข้อที่พบมากที่สุด โรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) หรือ โรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมอย่างช้า ๆ ของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวกระดูกข้อต่อ (articular cartilage) และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้นจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบาก คลำได้ ความรู้สึกมีการเสียดสี (crepitus) […]
มดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย
สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]
“โชเลี้ยงน้อง” กับอาชีพเดินจูงสุนัข รายได้เสริมหลักหมื่น
โดนพิษเศรษฐกิจในยุคโควิดระบาด สาวสวยอย่างคุณโช โชติกา บุนนาค จึงต้องมาหาอาชีพเสริม รับบริการเลี้ยงน้อง พาน้องเดินเล่น เรื่องราวจะเป็นอย่างไร เธอมาพูดคุยพร้อมเปิดใจที่นี่ ที่แรกเลยค่ะ เข้าสู่วงการเพราะค้นเจอสิ่งที่รัก โชเริ่มอาชีพนี้เมื่อช่วงโควิด-19 ระบาดครั้งแรกตอนปี 2020 ค่ะ อย่างที่รู้ ๆ กันว่าผลกระทบจากโควิด บริษัทส่วนใหญ่ก็ลดวันทำงาน จ่ายเงินเดือนไม่เต็ม แต่ว่าค่าใช้จ่ายเรายังคงเท่าเดิม ดังนั้นโชจึงคิดว่าถ้าเราไม่เริ่มมองหางานทำเสริม เราอาจจะแย่ ไม่มีเงินเก็บ แต่ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราก็ทำงานประจำมาตลอด ค้าขายก็ไม่น่ารอดเพราะไม่ใช่แนวเรา ก็เลยนั่งลิสต์สิ่งที่ตัวเราชอบว่ามีอะไรบ้าง สุดท้ายก็คัดออกมาได้อยู่ 2-3 อย่างคือ ดูหนัง ฟังเพลง และ น้องหมา เรื่องน้องหมานี่คือ ตั้งแต่จำความได้ก็เลี้ยงมาโดยตลอด เป็นครอบครัวที่เลี้ยงหมา รู้สึกผูกพันและเข้าใจพฤติกรรมของเค้า ก็เลยคิดว่าถ้าอาชีพเสริมทำอะไรเกี่ยวกับน้องหมาน่าจะเหมาะที่สุด และต้องเจาะจงเป็นสุนัขด้วย สัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ก็รัก แต่เรารักหมามากเป็นพิเศษ คิดได้แบบนี้ก็เริ่มหาข้อมูล พอดีช่วงนั้นมีการเปิดสอน การอาบน้ำและตัดขนสุนัขเพื่อเป็นอาชีพ โชก็เลยคิดว่าจะไปเรียนไว้เพื่อเป็นวิชาชีพติดตัว จากนั้นหาอย่างอื่นอีกเผื่อไว้เป็นทางเลือก ก็นึกถึงอาชีพพาน้องหมาเดินเล่นอย่างที่เมืองนอกเค้าทำกันล่ะ บ้านเราจะมีไหมนะ? ก็เสิร์ชอินเตอร์เนตหาอยู่หลายวัน ก็เจอหลายเว็บไซต์มาก เข้าไปดูรายละเอียดและเงื่อนไขต่าง […]
โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข (Canine Malassezia dermatitis)
สาเหตุ ปัจจุบันเมื่อพบว่ามีเชื้อยีสต์ (Malassezia) มีมากถึง 18 สปีชีส์ด้วยกัน โดย โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข มักเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ที่ชื่อว่า Malassezia pachydermatis ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัข ส่วนสปีชีส์อื่น ๆ พบได้ในปริมาณน้อยกว่า เช่น Malassezia nana ในช่องหู หรือ Malassezia slooffiae บริเวณร่องเล็บ โดยโรคผิวหนังเป็นยีสต์มักพบในสัตว์ที่มีผิวหนังเปียกชื้น อับชื้น ยีสต์เป็นเชื้อที่ฉวยโอกาส มักเกิดแทรกซ้อนในสัตว์ที่เป็นโรคผิวหนังแบบอื่นๆได้ง่าย สามารถเกิดจากพันธุกรรม และพบร่วมกันน้องหมาที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยสายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) และสุนัขที่มีโรคภูมิแพ้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดยีสต์ได้ นอกจากนี้ยังมีเคสที่เกิดแบบไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) อีกด้วย ยีสต์ตัวนี้สามารถพบได้ในสุนัขปกติอยู่แล้วจำนวนน้อย จึงไม่สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังได้ หากมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สายพันธุ์ ภาวะภูมิแพ้ อายุ พันธุกรรม การได้รับยากดภูมิคุ้มกันนานๆ ความอับชื้น และอื่นๆ อีกมากมาย ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังสุนัขไม่สามารถควบคุมเชื้อตัวนี้ได้ ทำให้เชื้อเพิ่มปริมาณมากขึ้นและก่อให้เกิดโรคตามมาได้ สายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) – Basset […]
ไอโซพอด (Isopod) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
โลมาไม่ใช่ปลา “ไอโซพอด ไม่ใช่ แมลง” แต่เป็นสัตว์เลี้ยงดึกดำบรรพ์ จากยุค คาร์บอนิเฟรัส บ้านและสวน Pets x Exofood Thailand ขออาสาพาคุณนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไป 300 ปีก่อน ในยุคคาร์บอนิเฟรัส เพื่อทำความรู้จักเจ้า ไอโซพอด ให้มากขึ้นกันค่ะ ไอโซพอด หรือ Isopods มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกแปลว่า “Equal Foot” เนื่องจากพวกมันมีจำนวนเท้าแต่ละข้างเท่ากันนั่นเอง แต่สำหรับคนไทยเราคุ้ยเคยกับเจ้าตัวนี้ใน ชื่อ “ตัวกะปิ” (Pill Bugs) สัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ เกิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟรัส (Carboniferous) เมื่อราว 300 ล้านปีก่อน เป็นสัตว์จำพวกครัสเตเชียน (Crustaceans) จำพวกเดียวกับกุ้ง ปู มันจึงไม่เกี่ยวข้องกับแมลงเลยสักนิด ถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่ในธรรมชาติ ตามพื้นดิน โขดหินและต้นไม้เหมือนแมลงก็ตาม โดยพวกมันเป็นสิ่งมีชีวิต ที่คอยกินสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วและย่อยสลายสารอินทรีย์ ( Detritivores ) มันจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญต่อการย่อยสารอินทรีย์ในระบบนิเวศมาก ๆ ไอโซพอด กลายมาเป็น Exotic […]
เมนคูน (Maine Coon) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ เมนคูน (Maine Coon) ถือเป็นแมวสายพันธุ์ขนยาวที่มีต้นกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของแมวพื้นเมือง กับแมวป่าทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำว่า “เมน” มาจากถิ่นกำเนิดคืออยู่ที่รัฐ Maine ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า “คูน” เชื่อกันว่าอาจมาจากพวกมันที่มีลักษณะคล้ายกับตัวแรคคูน คือ มีหางเป็นพวง มีสีและลวดลายสีน้ำตาลที่มีลักษณะเหมือนแรคคูน แมวพันธุ์เมนคูนเริ่มมีความนิยมลดลงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1900 เนื่องจากได้มีการนำเข้าแมวจากยุโรป อย่างแมวเปอร์เซียที่มีขนาดเล็กกว่ามาก แต่ไม่นานกลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์แมวพื้นเมืองได้มีการจัดการแสดงนิทรรศการขึ้น ในปี ค.ศ. 1950 ทำให้ความนิยมของ “เมนคูน”กลับมาอีกครั้ง ทั้งในประเทศ ประเทศอังกฤษ และแพร่กระจายไปทั่วยุโรปในเวลาต่อมา ลักษณะทางกายภาพ เมนคูน เมนคูนเป็นแมวขนาดใหญ่ มีโครงสร้างและรูปร่างที่ใหญ่โต แต่สมส่วนสมดุล มีความแข็งแรงและสง่างาม หัวใหญ่ หน้าผากกว้าง โหนกแก้มสูง ทำให้มีใบหน้าคล้ายเสือ มีอกกว้าง ขนยาวหนา ลักษณะขนเป็นมันคล้ายเส้นไหม (silky) ในเพศผู้จะมีแผงคอที่หนากว่าเพศเมีย ใบหูชี้ตั้ง มีปลายแหลม และมีขนขึ้นที่ปลายหูคล้ายแมวป่า และมีอุ้งเท้าขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสีของขนที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ สีขนนั้นมีได้หลายสี และหลายแบบ ทั้งสีเดียวล้วน […]
เต่าบก (Tortoise) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมหันมาเลี้ยงสัตว์ Exotic Pets กันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) อาจด้วยเพราะ ความมีเสน่ห์ที่น่าหลงใหลในตัวเอง และที่สำคัญคือไม่ค่อยส่งเสียงร้อง อีกทั้งยังมีความสวยงาม แปลก มหัศจรรย์ไม่เหมือนใคร ซึ่งหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่นิยมเลี้ยงกันก็คือ “เต่าบก” นั่นเอง สำหรับมือใหม่หรือผู้ที่คิดจะเลี้ยง เต่าบก ควรจะต้องศึกษาก่อนที่จะเลี้ยงว่า เต่าบกที่เราอยากจะเลี้ยงนั้น มีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใด สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเป็นอย่างไร อาหารที่รับประทานมีอะไรบ้าง เมื่อรู้ถึงธรรมชาติที่มาของน้องแล้ว ก็ต้องมาดูว่าเราเองมีเวลาที่จะดูแลเค้าหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน มีพื้นที่ที่จะเลี้ยงเขาอย่างเหมาะสมหรือไม่ มีเงินทุนสำหรับค่าอาหาร หรือค่ารักษาพยาบาลเมื่อไม่สบายหรือเปล่า ถ้าศึกษาจนมั่นใจแล้วว่า พร้อมที่จะเริ่มเลี้ยงแล้ว ก็ตาม บ้านและสวน Pets ไปลุยเลยค่ะ 1. เริ่มเลี้ยงเต่าบกต้องเตรียมตัวอย่างไร จำแนกชนิดเต่าให้ถูก เต่าบก หรือ เต่าน้ำ จำแนกจากชนิดการกินอาหาร– กินพืชเป็นหลัก– กินทั้งพืชและเนื้อ– กินเนื้อ ศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อม– แสงแดด– จุดให้น้ำ– เลี้ยงแบบ Indoor หรือ Outdoor ศึกษาเรื่องอาหาร : เป็นวัชพืช ไม่ใช่ผักบุ้ง […]
โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Wobbler Syndrome)
โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Cervical Spondylomyeloathy หรือ Wobbler syndrome) เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ เกิดการเคลื่อนของกระดูกคอร่วมกับโครงสร้างรอบ ๆ กระดูกคอไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เป็นการเคลื่อนกดทับแบบไดนามิค (dynamic compression) เช่น เมื่อเงยคอจะทบการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง แต่พอก้มคอจะพบการกดทับนั้นลดลง เป็นต้น โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่มีโอกาสในการเกิดการกดทับของไขสันหลัง (spinal cord) และปมรากประสาท (spinal nerve root) ได้ง่าย ส่งผลให้ระบบการทำงานของกระแสประสาทที่บริเวณดังกล่าวถูกรบกวนหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดในตำแหน่งที่เกิดการกดทับได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 50% ของสุนัขที่ป่วยโรคนี้พบว่ามักเป็นสุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนพินเชอร์ (Doberman pinschers) นอกจากนี้ยังสามารถพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ไวมาราเนอร์ (Weimaraner) เกรทเดน (Great Dane) ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) และดัลเมเชี่ยน (Dalmation) แม้ความผิดปกติดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บ่อยในบางสายพันธุ์ที่กล่าวมา แต่สายพันธุ์อื่น ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงสุนัขพันธุ์เล็กเช่นกัน สาเหตุการเกิด สาเหตุของการเกิดสามารถแบ่งออกได้ 4 สาเหตุ […]
เทคนิคและข้อควรรู้สำหรับ การตัดขนสัตว์เลี้ยงด้วยตนเอง
สำหรับสุนัขสายพันธุ์ขนสั้น เรื่องของการดูแลรักษาความสะอาดเส้นขนอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่สำหรับสุนัขสายพันธุ์ขนยาวแล้ว การดูแลเส้นขนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น การแปรง การสระ และการตัดเล็มเส้นขนให้ยาวพอดีและสวยงามอยู่เสมอ วันนี้ บ้านและสวน Pets จึงมี เทคนิคและข้อควรรู้สำหรับ การตัดขนสัตว์เลี้ยงด้วยตนเอง สำหรับมือใหม่มาฝากกันค่ะ สายพันธุ์ที่ควรดูแลเป็นพิเศษ สายพันธุ์สุนัขหรือแมวที่ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษ คือ สายพันธุ์ที่มีลักษณะเส้นขนยาว โดยเฉพาะแบบ – Natural Long-Haired คือ ลักษณะขนชั้นเดียว ยาวขึ้นเรื่อย ๆ อย่าง สุนัขสายพันธุ์ Afghan Hound, Shih Tzu, Lhasa Apso , Maltese, Yorkshire Terrier และ แมวสายพันธุ์ Maine Coon, Persian, British Longhair, Ragdoll – Curly and Wavy-Coated คือ ลักษณะขนชั้นเดียว นุ่ม […]
3 เกร็ดข้อ กฎหมายที่เกี่ยวกับสุนัขเร่ร่อน
มีหลายท่านที่สนใจความรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับสุนัขมากพอสมควร โดยเฉพาะพวกที่มีลักษณะร่อนเร่ไปมาไม่มีเจ้าของที่แน่นอน (จรจัด) ว่าจะมี กฎหมายที่เกี่ยวกับสุนัขเร่ร่อน หรือสามารถดำเนินการอย่างไรกับสุนัขเหล่านี้ได้บ้าง วันนี้ บ้านและสวน Pets เลยขอเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางด้าน กฎหมายที่เกี่ยวกับสุนัขเร่ร่อน มาให้เป็นความรู้แก่ผู้อ่านเพิ่มเติมอีกนะครับ โดยจะพยายามใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้เข้าใจโดยทั่วกันครับ เกร็ดที่หนึ่ง – ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ใจบุญที่ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ ไม่ถือว่าผู้นั้นเป็น “เจ้าของสุนัข” ตัวนั้นครับ เดิมทีนั้นในข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 ได้ให้ความหมายว่า เจ้าของสุนัข หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสุนัข หรือผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย ทีนี้ ก็มีคนเอาไปฟ้องศาลปกครองครับ โดยมองว่าผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำด้วยความเมตตาไม่ควรถือว่าเป็นเจ้าของตัวนั้น ซึ่งศาลปกครองก็ได้พิพากษาว่า การที่กรุงเทพมหานครไปกำหนดความหมายผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำว่า ถือเป็นเจ้าของสุนัข อาจทำให้คนเหล่านั้นทำผิดข้อบัญญัติ กทม. ไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งเรื่องการควบคุมสุนัข และการที่ต้องพาสุนัขของตัวเองไปฝังไมโครชิพและจดทะเบียนตัวสุนัขด้วย (ซึ่งในความเป็นจริง คนที่ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ คงไม่ได้นำสุนัขจรจัดเหล่านั้นไปฝังไมโครชิพหรือจดทะเบียนตัวอย่างแน่นอน) ทั้งที่จริง ๆ แล้ว กรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในการจัดการ ควบคุม ดูแลสุนัขจรจัดในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย การเขียนนิยามศัพท์ในข้อบัญญัติดังกล่าวที่รวมคนให้อาหารสุนัขเป็นประจำว่าถือเป็นเจ้าของสุนัขด้วย จึงถือเป็นการผลักภาระมาให้แก่ประชาชนครับ ดังนั้นศาลจึงพิพากษาให้เอาคำนิยามในส่วนนี้ออกจาก ข้อบัญญัติ […]
แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) คาดว่ามีต้นกำเนิดมากจากประเทศอังกฤษ ในช่วงปี 1800 โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นที่ชื่อว่า Parson John Russell เพื่อใช้ในการล่าสุนัขจิ้งจอก โดยคำว่า รัสเซล หมายถึง นักล่าจิ้งจอกตัวยง ในเวลาต่อมาด้วยรูปร่างที่ปราดเปรียว ว่องไว และรูปร่างกะทัดรัด จึงทำให้พวกมันเป็นสุนัขเลี้ยงที่โปรดปรานมากในหมู่นักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาขี่ม้า และเป็นที่นิยมในอเมริกาในช่วงปี 1930 จากนั้นแจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรียจึงกลายมาเป็นสุนัขที่มีความนิยมอย่างต่อเนื่องอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากต้นกำเนิดแม้จะผ่านมาแล้วกว่า 170 ปี นอกจากนี้ยังเชื่อว่า แจ็ค รัสเซล เทอร์เรีย เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์อื่นอีก 3 สายพันธุ์ คือ พาร์สัน เทอร์เรีย (The Parson Terrier), รัสเซล เทอร์เรีย (Russell Terrier) และ แจ็ค รัสเซลเทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) […]
โดเบอร์แมน พินสเชอร์ (Doberman Pinscher) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ ต้นกำเนิดของสายพันธุ์ “โดเบอร์แมน พินสเชอร์” เริ่มต้นในศตวรรษที่ 19 ในประเทศเยอรมัน โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขในสมัยนั้นชื่อว่า นาย “หลุยซ์ โดเบอร์แมน” (Louis Dobermann) จากเมือง Apolda ในขณะนั้นนายหลุยซ์มีอาชีพเป็นพนักงานเก็บภาษีแล้วต้องเดินทางไปหลายสถานที่ เขาจึงมักเลี้ยงสุนัขไว้ทำหน้าที่อารักขาและเป็นเพื่อนร่วมเดินทางขณะเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่านายหลุยซ์นั้นทำการเพาะพันธุ์สายพันธุ์นี้อย่างไร นักประวัติศาสตร์บางคนได้เสนอว่าที่มาของ “โดเบอร์แมน” อาจมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แมนเชสเตอร์ เทอร์เรียร์ (Manchester Terrier) ร็อตไวเลอร์ (rottweiler) เยอรมัน ฟินสเชอร์ (German Pinscher) สุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนรุ่นแรกมีใบหน้ากว้าง และมีมวลกระดูกมากกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นหลัง ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปผู้เพาะพันธุ์ได้พัฒนาให้มีลักษณะโครงสร้างที่ทันสมัยเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์นี้เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปี 1899 และสุนัขโดเบอร์แมนตัวแรกถูกนำเข้าไปในอเมริกาในปี 1908 และเป็นปีเดียวกันที่พบว่ามีการจดบันทึกสายพันธุ์ในสมาคม AKC (America Kennel Club) ในช่วงศตวรรษที่ 20 พวกมันถูกใช้ในการรบควบคู่กับนาวิกโยธินในการรบในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะสหายคู่ใจที่แน่วแน่และกล้าหาญ เมื่อเวลาผ่านไปหลายครอบครัวในสหรัฐอเมริกาเริ่มเห็นว่าสุนัขพันธุ์นี้สามารถทำให้เกิดเป็นตระกูลใหญ่ได้ ต่อมาสายพันธุ์โดเบอร์แมนได้รับความนิยมอย่างมาก มักนิยมให้ทำหน้าที่เป็นสุนัขตำรวจ รวมถึงสุนัขกู้ภัย […]