บทความโดย บ้านและสวน - Page 22 of 30

ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (เรียกสั้น ๆ ว่า แลป) มีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ (Newfoundland) ของประเทศแคนนาดา และมีชื่อดั้งเดิมว่า เซนต์ จอห์น (St. John’s) พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกันในภายในครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวชาวประมง เพราะลาบราดอร์สามารถช่วยชาวประมงในการจับปลา ฉลาดมากพอที่จะปลดตะขออกจากปลาและแข็งแกร่งมากพอในการว่ายน้ำได้ระยะทางไกล และยังทำหน้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงที่รักโดยจะเดินกลับบ้านกับเจ้าของหลังจากเลิกงานได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์นั้น เกิดจากการผสมระหว่างสุนัขสายพันธุ์ใด นักประวัติศาสตร์คาดว่า พวกมันเกิดจากการผสมพันธุ์ของสุนัขนิวฟันด์แลนด์และสุนัขในท้องถิ่นอีกหนึ่งสายพันธุ์ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ พวกมันเริ่มได้รับความนิยมเมื่อมีการนำลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์เข้ามาสู่เกาะอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยขุนนางในสมัยนั้นที่เห็นถึงลักษณะพิเศษของพวกมัน เริ่มแรกเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ปีก ซึ่งบางครั้งการล่าสัตว์จำเป็นต้องเข้าไปในป่า มีความลำบากมาก ดังนั้นจึงต้องเลือดสุนัขสายพันธุ์เฉพาะ เพื่อช่วยในการค้นหาเหยื่อที่ถูกยิง แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้นลาบราดอร์ยังต้องนำเข้าจากประเทศแคนาดา ด้วยกฎหมายการเก็บภาษีที่แพงมาก ทำให้จำนวนของพวกมันจึงลดน้อยลงจนเกือบจะเลิกเพาะพันธุ์ แต่ในเวลาต่อมายังมีกลุ่มคนที่ยังคงสนใจสายพันธุ์นี้อยู่ จึงได้ริเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ โดยผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างพันธ์ลาบราดอร์ ซึ่งเดิมนั้นมีเพียงสีดำเท่านั้น กับสุนัขในกลุ่มรีทรีฟเวอร์ หลังจากที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ในภายหลัง ทำให้เกิดสีเหลืองหรือสีครีมตามมา ซึ่งได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ที่มีความสามารถ สามารถเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่าสัตว์ อีกทั้งยังสามารถใช้พวกมันปฏิบัติการพิเศษ ในการตรวจค้นหายาเสพติด หรือทำการค้นหาระเบิด ตลอดจนกระทั่งสามารถช่วยนำทางให้กับผู้พิการทางสายตาได้อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ […]

7 สัญญาณ ความกลัวของกระต่าย พร้อมวิธีการรับมือ

ในธรรมชาติกระต่ายเป็นสัตว์ที่ถูกล่าโดยสัตว์ที่แข็งแแกร่งกว่า จึงมักมีอาการตื่นตัวกับสิ่งเร้าภายนอก อย่าง กลิ่น หรือเสียงได้ง่าย เพื่อให้สามารถป้องกันตัวเองได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มโอกาศการรอดชีวิตที่สูงขึ้น ซึ่งกระต่ายแต่ละตัวมักจะมีวิธีการแสดงท่าทาง ความกลัวของกระต่าย ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ สภาพแวดล้อม และประสบการณ์ในอดีต เพื่อเป็นการเรียนรู้และเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น บ้านและสวน Pets จึงมี 7 สัญญาณ ความกลัวของกระต่าย พร้อมวิธีการรับมือมาฝากกันค่ะ เมื่อสัตว์เลี้ยงมี อาการกลัว มากกว่าปกติ ต้องทำอย่างไรบ้าง?   1.ท่าทางตื่นตัว (Alert Posture) กระต่ายเป็นสัตว์ที่ใช้ร่างกายในการสื่อสารแทนการส่งเสียงที่อาจเป็นการเปิดเผยตัวตน เมื่อกระต่ายสามารถสัมผัสได้ถึงสิ่งผิดปกติบางอย่างใกล้ตัว กระต่ายจึงมักจะยืดตัวขึ้นสูง ยืนบนขาหลังหรือทั้งสี่ข้าง ตาเบิกกว้าง จมูกมีการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะส่วนหูจะหมุนไปรอบ ๆ เพื่อพยายามค้นหาว่าอันตรายมาจากทิศทางไหน ซึ่งกระต่ายจะทำท่าทางนี้ เพื่อประมวลผลสักครู่หนึ่งก่อนที่จะวิ่งหนีไปหากจำเป็น หรือผ่อนคลายลงเมื่อไม่พบสิ่งผิดปกติ Tips กระต่ายมีหูที่ยาว ประกอบด้วยกระดูกอ่อนเป็นแกน มีหนังบาง ๆ หุ้มเส้นเลือด และเส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยง ทำให้กระต่ายสามารถฟังเสียงได้ชัดจากระยะไกล นอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้อที่โคนหู เพื่อคอยควบคุมการเคลื่อนไหวและทิศทางของการฟัง […]

การวัดขนาดสุนัขเพื่อหากรง หรือกล่องใส่สุนัขที่เหมาะสมสำหรับการเดินทาง

คำว่า “กรง” หรือ “กล่อง” ในกรณีนี้คงไม่ได้หมายถึงกรงแบบติดตั้งถาวรนะครับ แต่จะเป็นกรงหรือกล่องที่เอาไว้ใช้เคลื่อนย้ายสุนัข เช่นกรงที่เอาไว้พาสุนัขไปเที่ยวหรือกรงที่เอาไว้ใช้เป็นกรงนอนของสุนัขที่ไม่ต้องการขนาดใหญ่มากมาย หลายท่านพอพูดถึง “กรง” จะคิดถึงในแง่ค่อนข้างลบ เช่น เป็นที่กักขังสุนัขบ้าง อะไรบ้าง แต่แท้จริงแล้วการนำสุนัขใส่กรง เพื่อเดินทางนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิดครับ เช่น 1.เวลาเดินทางคนเดียว สุนัขจะอยู่ในกรง ไม่มารบกวนหรือกระโดดไปมาในรถ ทำให้เจ้าของเสียสมาธิ 2.หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น การอยู่ในกล่องใส่สุนัขจะช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแก่สุนัขได้ 3.สามารถนำสุนัขไปในบางพื้นที่ที่ปกติแล้วไม่อนุญาตให้สุนัขเข้าได้ เพราะมีกรงจำกัดบริเวณสุนัขเอาไว้ 4.ฯลฯ   วิธีที่แน่นอนที่สุดที่จะหาขนาดเหมาะสมกับสุนัขของเราที่สุด คือ การวัดขนาดตัวสุนัขครับ การวัดขนาดตัวสุนัขให้ทำดังนี้ 1. วัดขนาดความสูง ให้เราวัดโดยการนำสุนัขมายืนตรงคอตั้งตรง แล้วจับให้คางเขาขนานพื้น แล้ววัดจากพื้นขึ้นมาถึงศีรษะเขาว่าสูงเท่าไร ถ้าสุนัขหูตกก็วัดถึงส่วนที่สูงสุดของศีรษะ แต่ถ้าสุนัขหูตั้งก็วัดถึงปลายหูเลยครับ แล้วบวกเพิ่มไปอีก 3 นิ้ว 2. วัดขนาดความกว้าง ให้เราวัดจากด้านหน้าสุนัขครับ ยืนหันหน้าเข้าหาสุนัขแล้วจากจุดที่กว้างที่สุดของตัวของเขาข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง วัดได้เท่าไหร่ให้บวกเพิ่มไปอีก 1 นิ้ว แล้วเอาผลลัพธ์ไปคูณ 2 3. วัดขนาดความยาว ให้เราวัดจากปลายจมูกของสุนัข ไปถึงส่วนท้ายสุดของช่วงบั้นท้ายครับ (อาจจะวัดเผื่อจากโคนหางออกไปอีกสัก 2-3 […]

ทำไมสุนัขบางพันธุ์ถึงอินดี้มากกว่าพันธุ์อื่น

เคยสงสัยบ้างไหมครับว่าทำไมสุนัขบางตัว ถึงทำบางพฤติกรรมแตกต่างไปจากตัวอื่น หรือทำไมสุนัขบางพันธุ์ถึงมีพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ทำไม Golden Retriever ส่วนใหญ่ถึงเป็นมิตร และชอบให้มนุษย์สัมผัสตัว ทำไม Shetland Sheepdog ส่วนใหญ่ถึงมีความสุขในการทำตามคำสั่งของเจ้าของ ในขณะพวกไทยหลังอาน Siberian Husky หรือพวก Shiba Inu ส่วนใหญ่ถึงเป็น สุนัขอินดี้ สามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองโดยไม่มีมนุษย์ก็ดูมีความสุขดี ** คำว่า “อินดี้” (อังกฤษ: Indy หรือ Indies) เป็นรูปย่อของคำว่า Independence ซึ่งแปลว่า “ความเป็นอิสระจากอิทธิพลของผู้อื่น” ผมเองก็เคยสงสัยครับ เมื่อสงสัย ทางออกก็คือการหาข้อมูลมา เพื่อทั้งเป็นความรู้ให้แก่ตัวเอง เพื่อนำมาเผยแพร่ให้คนอื่นได้ทราบกันด้วย ปรากฏว่า เคยมีการทำวิจัยเพื่อศึกษาเรื่องเหล่านี้ครับ โดยภาควิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เขาทำการทดลองโดยการวิเคราะห์แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของสุนัขร่วมกับแบบสอบถาม เพื่อการวิจัยและการประเมินพฤติกรรมสุนัข โดยใช้ตัวอย่างจากการสอบถามเจ้าของสุนัข 2,951 ท่านในประเทศญี่ปุ่น และอีก 10,389 ท่านในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลลัพธ์แบบสอบถามให้ข้อมูลว่า ในสุนัขกลุ่มสายพันธุ์ดั้งเดิม และกลุ่มสปิทซ์ (เช่น พวกพันธุ์ไทยหลังอาน ชาร์เป่ย […]

ข้อควรปฏิบัติกับสัตว์เลี้ยง เมื่อท่านป่วยด้วยโรค COVID-19

มีคำถามมากมายว่าเมื่อเจ้าของติดเชื้อ COVID-19 สัตว์เลี้ยงจะอยู่อย่างไร ที่ไหน ใครจะดูแล จะปล่อยทิ้งไว้ที่บ้าน หรือสถานพยาบาลจะรับดูแลให้หรือไม่ และอีกสารพัดคำถามมากมายที่ข้องใจ บ้านและสวน Pets หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย The Veterinary Practitioner Association of Thailand (VPAT) ให้ข้อมูลที่ควรปฏิบัติกับสัตว์เลี้ยง เมื่อท่านป่วยด้วยโรค COVID-19 รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์และที่รับฝากสัตว์เลี้ยง มาดังนี้ กรณีที่ 1 ที่ท่านเป็นเจ้าของคนเดียว และจำเป็นต้องนำสัตว์เลี้ยงไปฝากที่สถานพยาบาลสัตว์ 1.ให้ผู้ป่วย COVID-19 หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่นลูบหัว กอดหรือจูบตัวสัตว์ เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อไปยังสัตว์เลี้ยง 2.ให้โทรติดต่อสถานพยาบาลสัตว์ที่สามารถรับฝากดูแลสัตว์เลี้ยงได้ในกรณีที่ท่านต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล สถานพยาบาลสัตว์ที่พร้อมรับฝากสัตว์เลี้ยงในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จะส่งเจ้าหน้าที่พร้อมชุดอุปกรณ์ป้องกันมารับตัวสัตว์เลี้ยงไปที่สถานพยาบาลสัตว์ โดยผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปที่สถานพยาบาสสัตว์ด้วยตนเอง 3.ผู้ป่วยสามารถให้เพื่อน หรือญาติที่มิได้ป่วยด้วยโรค COVID-19 นำสัตว์เลี้ยงไปสถานพยาบาลสัตว์แทนได้ โดยให้ผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงไปสถานพยาบาลสัตว์สวมเครื่องป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ ถุงมือและหน้ากากอนามัย และแจ้งให้สถานพยาบาลสัตว์รับทราบก่อนล่วงหน้า   กรณีที่ 2 ท่านมีสมาชิกในบ้านท่านอื่น ๆ ที่มิได้ป่วยด้วยโรค COVID-19 1.ให้ผู้ป่วย COVID-19 หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง […]

ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร (Persistent right aortic arch : PRAA)

ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร Persistent right aortic arch (PRAA) หรือ Vascular ring anomaly เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่เส้นหนึ่งบริเวณหัวใจ โดยตามปกติแล้ว เส้นเลือดเส้นนี้ควรจะหายไปเมื่อสัตว์โตขึ้น หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือด Right subclavian artery ซึ่งความผิดปกติทั้ง 2 แบบ จะทำให้เส้นเลือดแดงอ้อมไปรัดบริเวณหลอดอาหาร (Esophagus) เป็นลักษณะวงแหวน (Complete ring around) และมีโอกาสพบมากในลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนมากถึง 90% โดยเฉพาะสายพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terriers), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherds), ไอริช เซตเทอร์ (Irish Setter) และ เกรทเดน (Great Dane) การพัฒนาในระยะตัวอ่อน ส่วนโค้งเส้นเลือดแดงเอออร์ต้าด้านขวา (Right aortic arch) มีการเจริญผิดปกติ โดยมีการพัฒนาไปเป็นเส้นเลือดแดงหลัก แล้วทำให้เส้นเลือดแดงด้านซ้าย […]

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง หรือ Pyoderma เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและรูขุมขน โดยการอักเสบหรือเกิดบาดแผล จะทำให้สภาพแวดล้อมบนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความชื้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่น หรือจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอลง แบคทีเรียกลุ่มที่ก่อโรคจึงเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเป็น โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรคนี้ คือกลุ่ม Staphylococcus intermedius และยังพบแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมวทั่วไปที่มีสุขภาพผิวหนังดี แต่จะพบในปริมาณที่ต่ำมาก และอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าถาวร นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์อีกด้วย เมื่อสัตว์เลียขน หรือกัดแทะผิวหนัง ก็สามารถพบเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้บนผิวหนังและขุมขนได้เช่นกัน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบ และติดเชื้อเป็นหนองในเวลาต่อมา สาเหตุ (Cause) ช่วงอายุของสุนัขที่มักเกิดโรคและระยะเวลาการเกิดโรคนั้นขึ้นอยู่กับ สาเหตุแท้จริง (underlying cause) หรือสาเหตุเริ่มต้น (Primary cause) ที่ทำให้เกิดโรค ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดบาดแผลจนทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง มีหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ […]

โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)

ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]

บ็อกเซอร์ (Boxer) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ มีการขนานนามว่าเป็นสุนัขปีเตอร์แพน (Perter Pan) เพราะเป็นสุนัขที่ไม่รู้จักเหนื่อย และเป็นมิตรกับทุกคน ซึ่งมาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ 3 พันธุ์ คือ 1.สุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ (Bullenbeisser) เป็นสุนัขนักล่าที่สูญพันธุ์ไปแล้ว 2.สุนัขไม่ทราบสายพันธุ์ 3.อิงลิช บูลด็อก (English bulldog) ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 มีชาวเยอรมัน Georg Alt ได้นำสุนัขเพศเมียพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ผสมพันธุ์กับสุนัขที่ไม่ทราบสายพันธุ์ และได้ออกลูกสุนัขเพศผู้ออกมาเป็นสุนัขแคระ สีครีมปนขาว (Cream with White) ชื่อ Lechner’s Box ซึ่งสุนัขชื่อ Lechner’s Box ตัวนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์บ็อกเซอร์ที่ได้รู้จักกันทุกวันนี้ โดยสุนัขชื่อ Lechner’s Box ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขเลือดชิด (Inbreed) คือสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันผสมพันธุ์กัน และได้ออกลูกสุนัขเพศเมียออกมา ชื่อ Atl Shecken ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ หรือสุนัขพันธุ์ Bier boxer และสุนัขชื่อ Atl Shecken […]

ไทยหลังอาน

ไทยหลังอาน (Thai Ridgeback) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

หมาไทยหลังอาน สุนัขที่เป็นสัญลักษร์และความภาคภูมิใจของไทย ประวัติสายพันธุ์ หมาไทยหลังอาน หมาไทยหลังอาน มีบันทึกครั้งแรกที่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 350 ปีทีแล้ว  หรืออาจมากกว่านั้น โดยมีทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่าสุนัขพันธุ์นี้สืบเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์พันธุ์ Hottentot ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และมีความเกี่ยวข้องในการพัฒนาของสายพันธุ์ Rhodesiam ridgeback ในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน ถูกนำมาเลี้ยงโดยมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสุนัขเฝ้าระวังและสุนัขแจ้งเตือนภัย สุนัขคุ้มกัน สุนัขสำหรับเกมส์ล่าสัตว์ หรือคอยกำจัดงูเห่าตามชายหาด ซึ่งโดยส่วนใหญ่สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกของไทย โดยเฉพาะบนเกาะ เช่น เกาะดาวฟูก๊วก ซึ่งติดกับชายแดน ประเทศกัมพูชา และเวียดนาม สายพันธุ์นี้พบครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1994 โดยมีบันทึกในสมาคมสุนัขในสหราชอาณาจักรในปี 1996 และมีบันทึกในสมาคม American Kennel Club’s Foundation Stock Service ในปี 1997 ลักษณะทางกายภาพ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขขนาดกลาง ขนาดลำตัวยาวกว่าความสูงของลำตัวเล็กน้อย ช่องอกมีความลึกถึงบริเวณข้อศอก มีโครงสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระดูกซี่โครงมีความโค้งงอ ผิวหนังมีความนุ่ม ละเอียด ขนสั้น เรียบ สีขนค่อนข้างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสีแดง ดำ เทาและน้ำตาลแกมเหลือง […]

เกรฮาวด์ (Greyhounds) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เกรฮาวด์ (Greyhounds) ถือเป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ ที่มีต้นกำเนิดมาจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จากนั้นเกรฮาวด์ได้ถูกนำเข้ามายังทวีปยุโรปในช่วงยุคมืด เพื่อชื่นชมความสามารถในการล่าสัตว์ของสายพันธุ์นี้ และจากการที่เกรย์ฮาวด์เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่สามารถวิ่งได้เร็วมากกว่าสุนัขล่าสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้สุนัขพันธุ์เกรฮาวน์ได้รับความนิยมมากขึ้น และเกิดเป็นกีฬาแข่งขันความเร็วของสุนัขเกรฮาวด์ในประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นนักสำรวจเรือชาวสเปน และอังกฤษได้นำสุนัขพันธุ์เกรฮาวน์เข้ามายังประเทศอเมริกา และได้กลายเป็นสุนัขพันธุ์แรก ๆ ที่ได้เข้าแข่งขันประกวดสุนัข และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในสมาคม American Kennel Club ในปี 1885 ลักษณะทางกายภาพ โดยปกติสุนัขเพศผู้ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 71-76 เซนติเมตร และหนักประมาณ 27-40 กิโลกรัม ส่วนในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามีส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 68-71 เซนติเมตร และมีน้ำหนักในช่วง 27-34 กิโลกรัม เกรฮาวด์ เป็นสุนัขที่มีขนค่อนข้างสั้น ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา โดยสุนัขเกรฮาวน์มีสีทั้งหมดประมาณ 30 แบบ ซึ่งเกิดจากความหลากหลายของสีขาว, สีดำด่าง, สีเหลืองทอง, สีน้ำตาลแดงและเทา โดยแต่ละสีสามารถปรากฏแบบเดี่ยว ๆ หรือผสมรวมกัน อายุขัย เนื่องจากสุนัขเกรฮาวน์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ทำให้มีอายุขัยสั้นกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ซึ่งโดยปกติมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 10-12 ปี […]

เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ (Exotic Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ จัดอยู่ในประเภทแมวขนสั้น ที่มีต้นกำเนิดตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1950 โดยนักผสมพันธุ์สัตว์ (Fancier) ได้ทำการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวพันธุ์แท้ของอเมริกัน ช็อตแฮร์ (American Shorthair) กับแมวพันธุ์เปอร์เซีย (Persians) เพื่อปรับปรุงลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย และเพื่อให้สีขนมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยนักผสมพันธุ์สัตว์ได้นำสีขนสีเงินของแมวพันธุ์เปอร์เซียเข้าไปผสมกับสีขนของแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์  และในช่วงแรกของการผสมนี้ แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ และยังไม่เป็นนิยมจากผู้คนส่วนมาก ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึง และเริ่มจางหายออกไปจากประวัติสายพันธุ์แมว ในปี ค.ศ. 1967 แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ ได้กลับมาเป็นที่ยอมรับและนิยมอีกครั้ง เนื่องจากสมาคม The Cat Fanciers Association (CFA) ในสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับให้แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ชนะเลิศในการประกวดสายพันธุ์แมวจากแมวทุกสายพันธุ์ นอกจากนี้สมาคมยังได้ทำการเพิ่มแมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ว่า เป็นแมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์และแมวพันธุ์เปอร์เซีย ในปี ค.ศ. 1979 สมาคม The International Cat Association (TICA) […]