- Home
- บ้านและสวน
บ้านและสวน
เบงกอล (Bengal) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ ชื่อของ แมวเบงกอล มาจาก Felis Bengalensis ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวดาว ในภาษาลาติน ถือเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของแมวดาวเอเชียกับแมวพื้นเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาความคล้ายคลึงทางกายภาพที่แข็งแกร่งของแมวบรรพบุรุษที่เป็นแมวป่า และเพื่อให้ได้สายพันธุ์แมวที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัว ปัจจุบันแมวเบงกอลเป็นแมวที่ติดอันดับ 5 ของแมวยอดนิยมในราชอาณาจักร ลักษณะทางกายภาพ แมวเบงกอล มีลักษณะภายนอกคล้ายแมวป่า แข็งแรง สามารถมองเห็นกล้ามเนื้อได้ชัดเจน มีความสมดุลของกล้ามเนื้อและขนาดตัว แมวเบงกอลมีขากรรไกรที่แข็งแรง มีจุดสังเกตเป็นสีเข้มบริเวณรอบดวงตา มีหูขนาดเล็ก แต่มีความกลมมนที่ส่วนปลายหู ขนสั้นถึงปานกลาง ผิวสัมผัสมีความแน่นและเรียบ นอกจากนี้ยังมีสีของขนที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ไม่เหมือนกับแมวชนิดอื่น คือ มีลายจุด, ลายคล้ายดอกกุหลาบ, ลายลูกศร หรือ ลายหินอ่อน ซึ่งจุดส่วนใหญ่จะปรากฎในรูปแบบสุ่ม หรือวางตัวในแนวนอนตามลำตัว อายุขัย แมวเบงกอลมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 14-16 ปี ซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ยใกล้เคียงกับแมวสายพันธุ์ทั่วไป ลักษณะนิสัย แมวเบงกอลเป็นแมวที่มีนิสัยรักใคร่ ชอบแสดงความรัก และเป็นแมวที่มีพลังเยอะ ว่องไว ชอบเล่น ชอบปีนป่าย นอกจากนี้แมวเบงกอลยังเป็นแมวที่ฉลาดและชอบที่จะสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสามารถส่งเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ การเข้ากับเด็ก แมวเบงกอลเป็นแมวที่กระตือรืนร้นและเข้าสังคมได้ดี เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัวที่มีเด็กและสุนัขที่เป็นมิตร แมวเบงกอลสามารถเล่นและเรียนรู้เทคนิคง่ายๆ […]
ขาวมณี หรือขาวปลอด (Khao Manee) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ แมวขาวมณี แมวขาวมณี เป็นแมวที่มีต้นกำเนิดจากประเทศไทย ถูกบันทึกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 14 ในเล่มที่เรียกว่า ตำราแมว เดิมมีชื่อว่า ขาวปลอด ซึ่งมีความหมายว่าสีขาวสนิททั้งตัว จากนั้นถูกเปลี่ยนมาเป็น ขาวมณี เนื่องจากมีสีตาที่แตกต่างกันออกไป แมวขาวมณี เป็นที่ชื่นชอบของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ 5) ซึ่งเป็นกษัตริย์ของไทยในช่วงปี 1868 – 1910 โดยแมวพันธุ์ขาวมณีถูกเลี้ยงเป็นอย่างดีภายในวังไม่ให้คนภายนอกเห็น และได้รับการปกป้อง เพื่อให้เป็นแมวที่มีต้นกำเนิดจากรางวงศ์ไทย แมวขาวมณีเป็นแมวที่พบได้ยาก และไม่เคยถูกส่งออกนอกประเทศ และจนกระทั่งปี 1999 คอลลีน เฟรมัท นักอนุรักษ์สัตว์ชาวอเมริกัน ได้เริ่มนำแมวพันธุ์ขาวมณีจำนวน 12 ตัว ไปทำการเพาะขยายพันธุ์ และหลังจากนั้นไม่นาน นักเพาะพันธุ์จากประเทศฝรั่งเศส ก็ได้สานต่อการขยายพันธุ์แมวขาวมณี ทำให้กลายเป็นเจ้าเดียวในประเทศแถบตะวันตก ลักษณะทางกายภาพ ขาวมณี แมวขาวมณีมีลักษณะเหมือนแมวฝั่งตะวันตก รูปร่างเพรียว สวยงาม มีโครงสร้างกระดูกที่ค่อนข้างบางและมีขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง บริเวณส่วนหลังและข้างลำตัวโค้งเล็กน้อย หัวของแมวขาวมณีมีขนาดเล็กและมีรูปทรงสามเหลี่ยม จมูกมีรอยหักเล็กน้อย หูมีขนาดปานกลางและตั้ง โดยเฉพาะในเพศผู้ แมวขาวมณีมีจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีชมพู นอกจากนี้แมวขาวมณีมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่น คือ รูปทรงของตาและสีของตา […]
สฟิงซ์ (Sphynx) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สฟิงซ์ มีต้นกำเนิดในช่วงประมาณต้นปี 1960 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการพัฒนาพันธุ์แมวขึ้นในประเทศแถบยุโรป แต่ แมวสฟิงซ์ ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักว่า มีการพัฒนามาจากโตรอนโต้ ประเทศแคนนาดา ตั้งแต่ปี 1970 และในปัจจุบันนักเพาะพันธุ์แบ่งต้นกำเนิดการพัฒนาของแมวสฟิงซ์ออกเป็น 2 สาย คือ มาจากฝั่งมิเนสโซต้า และจากประเทศแคนนาดา ลักษณะทางกายภาพ นอกจากลักษณะพิเศษที่ แมวสฟิงซ์ ไม่มีขนแล้วยังมีลักษณะอื่น ๆ ที่แตกต่างจากแมวทั่วไป เช่น สฟิงซ์มีหุ่นที่ผอมเพรียว และมีความแข็งแรงร่วมด้วย เนื่องจากสฟิงซ์ชอบวิ่งเล่นและทุ่มสุดตัวกับเจ้าของหากมีโอกาศได้เล่น นอกจากนี้แมวสฟิงซ์ยังมีขนาดตัวที่ใหญ่ หูยาวแหลม ซึ่งหูของสฟิงซ์ในขณะที่ยังเป็นลูกแมว ทำให้แมวหน้าตาคล้ายกับเอลฟ์ (Elf) และนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้แมวสฟิงซ์เป็นที่รักและชื่นชอบของผู้คนทั่วมุมโลก ถึงแม้ว่าสหฟิงซ์จะดูเหมือนไม่มีขน แต่ที่จริงแล้วสฟิงซ์มีขนขนาดที่เล็กมากอยู่บนผิวหนังคล้ายกับขนของมนุษย์ และสามารถมีหนวดได้เหมือนกับแมวชนิดอื่น จึงทำให้สฟิงซ์สามารถมีผิวหนังได้หลากหลายสี โดยสฟิงซ์จะมีรุปแบบของสีผิวที่แตกต่างกัน เช่น มีสีเดียวทั้งตัว มี 2 สี, 3 สี หรือมากกว่านั้น อายุขัย สฟิงซ์มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปี ลักษณะนิสัย ลูกแมวสฟิงซ์มีลักษณะนิสัยต่างจากที่เห็น คือ มีลักษณะเฉพาะตัวที่เด่น […]
7 ขั้นตอน ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ในช่วง COVID-19
สวัสดีท่านผู้อ่าน ทุกท่านครับ ณ วันที่ผมเขียนบทความนี้ คนไทยเราก็ยังคงอยู่ในช่วง Social Distancing คือยังไม่ควรอยู่ใกล้กันจนเกินไป เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามสโลแกนที่ว่า “โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าเรา ไม่ติดต่อกัน” ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง แต่สำหรับท่านที่กำลังเลี้ยงลูกสุนัข บางท่านที่พอจะศึกษามาบ้าง ก็อาจจะลำบากใจ เพราะในช่วงอายุของสุนัขนั้น วัยที่ควรจะปูพื้นพฤติกรรมให้ลูกสุนัขรู้สึกดีหรือคุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวเขา เพื่อให้เขาโตขึ้นมาเป็นสุนัขที่มีจิตประสาทและอารมณ์เหมาะสม มันจำกัดอยู่แค่ประมาณช่วงอายุระหว่าง 3-20 สัปดาห์เท่านั้น หลักจากที่เลยวัยนี้ไปแล้ว ประตูแห่งการเปิดรับมันจะค่อย ๆ ปิดลง และหลายกรณีถ้าลูกสุนัขมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับอะไรไปแล้ว มักจะติดไปจนโต สิ่งที่ทำได้คือการมาปรับแก้ไขซึ่งจะใช้เวลาในการแก้ไขจากให้รู้สึกไม่ดีกลับมาเป็นรู้สึกดีนานกว่า และหลายเคสอาจไม่สามารถแก้ไขให้สุนัขกลับมามีจิตประสาทหรืออารมณ์ที่ดีอย่างที่เขาควรจะเป็นได้ 100% ถ้าเทียบกับการได้ปูพื้นพฤติกรรมให้แต่เนิ่น ๆ ในช่วงอายุ 3-20 สัปดาห์ ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ซึ่งการปูพื้นฐานนี้ จะไม่เหมือนกับการฝึกเชื่อฟังคำสั่ง ที่เราสามารถฝึกให้สุนัขเรียนรู้ไปได้ตลอดชีวิตครับ ถ้าเรามีสิ่งจูงใจสุนัขที่แรงพอ (ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่สุนัขชอบ หรือการทำโทษที่สุนัขไม่ชอบ) ถ้าสิ่งจูงใจแรงพอ สุนัขจะทำตามเสมอ ไม่ว่าจะอายุในช่วงใด ดังนั้น การปูพื้นพฤติกรรมตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขช่วงอายุตั้งแต่ 3-20 สัปดาห์ จึงมีความสำคัญมากครับ การเข้าสังคม […]
9 สัญญาณอันตราย เจ้านายตัวร้ายกำลังคิดจะฆ่าคุณ
ปริศนาคาใจเหล่ามนุษย์ ว่าแท้จริงแล้วแมวกำลังคิดอะไรอยู่กันแน่ แมวกำลังวางแผนจะครองโลก หรือกำลังวางแผนจะเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนน่ารัก เพราะ แมวเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างจะฉลาด สามารถเรียนรู้ได้ว่าถ้าหากทำเสียง หรือพฤติกรรมสุดบ๊องแบ๊วและออดอ้อน จะทำให้ผู้เลี้ยงยอมใจอ่อนและตกเป็นทาสอย่างแน่นอน แต่เบื้องหลังของพฤติกรรมเหล่านี้ จะมีอะไรซ่อนอยู่ แมวกำลังวางแผนจะครองโลก หรือจะเป็นสัญญาณการหลอกล่อให้ทาสอย่างเราตกหลุมพราง วันนี้ บ้านและสวน Pets มีข้อสันนิษฐานมาฝากกันค่ะ 1.Kneading on you นวดให้คุณ ทาสหลายคนอาจจะกำลังดีใจ เมื่อแมวเหมียวมานวด ๆ หรือเดินย่ำ ๆ บนตัว เพราะ คิดว่าแมวกำลังแสดงความรัก หรืออยากเล่นด้วย แต่แท้ที่จริงแล้วการนวดเป็นการทำให้กลิ่นพิเศษบางอย่างของแมวที่มนุษย์อย่างเราไม่ได้กลิ่น ติดกับสิ่งของ หรือตัวเรา เพื่อบอกให้แมวตัวอื่นได้รับรู้ว่าว่า ถิ่นนี้มีเจ้าถิ่นจองแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นการตีตราจองให้แมวตัวอื่นได้รู้ว่า นังทาสผู้นี้มีเจ้านายแล้วนะ นอกจากนี้การนวดยังเป็นการตรวจสอบตำแหน่งอวัยวะภายในที่อ่อนแอของคุณอยู่อีกด้วย 2.Shoveling of Litter คุ้ยกระบะทรายมากเกินไป พฤติกรรมการขุดคุ้ย หรือฝังกลบเป็นเรื่องปกติที่แมวจะทำเพื่อกำจัดกลิ่นหรือของเสียต่าง ๆ ที่ได้ปล่อยออกมา แต่การขุดคุ้ยกระบะจนทรายกระจัดกระจายไปทั่ว หรือการขุดคุ้ยที่นอนที่มากจนเกินไป นอกจากจะเป็นกระบวนการเพื่อสร้างอาณาเขตแล้ว ยังอาจหมายถึงแมวกำลังซ้อมฝังศพคุณอยู่ก็ได้ ps.การขับถ่ายนอกกระบะทราย ก็เป็นการสั่งสอนให้เหล่ามนุษย์ได้หลาบจำว่า […]
ระดับความดุของสุนัข !! ที่คุณต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต
การเจอสุนัข “ดุ” นั้น เรามักเจอหรือประสบกันมาทุกท่าน แต่ ระดับความดุของสุนัข นั้น อยู่ในระดับไหน เรามาเรียนรู้กันครับ เผื่อในอนาคต ท่านผู้อ่านมีโอกาสได้เจอสุนัข “ดุ” จะได้ประเมินได้ว่า สุนัขตัวนั้น “ดุ” ในระดับไหน และควรทำอย่างไรกับสุนัขตัวดังกล่าวดี สำหรับ ระดับความดุของสุนัข บ้านและสวน Pets สามารถแบ่งออกได้ 6 ระดับ ตามระดับความรุนแรงของการกัดโดย ดร. เอียน ดันบาร์ สัตวแพทย์นักพฤติกรรมสัตว์และครูฝึกสุนัขที่ได้รับปริญญาเอกด้านพฤติกรรมสุนัขโดยตรง ซึ่งมีประสบการณ์ในการสอนและปรับพฤติกรรมสุนัขมาเกือบ 40 ปี มาเผยแพร่ให้ทราบกัน ระดับ 1 : ระดับนี้เกิดจากความกลัว ความก้าวร้าว หรือความไม่พอใจของสุนัขต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง จนหันมากัดเรา ซึ่งในระดับนี้เป็นแค่การ “แง่ง” ใส่มากกว่า การงับลงไปบนผิว หรือฟันยังไม่ได้สัมผัสผิว ระดับ 2 : ระดับนี้มีการสัมผัสของฟันต่อผิวหนัง แต่มักจะเกิดเป็นเพียงรอยขีดข่วน หรืออาจเกิดเลือดซิบ ๆ เท่านั้น โดยมักเกิดจากการขยับของฟันมาบาด หรือการขยับผิวหนังหนี […]
โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)
โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]
โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)
โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]
โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)
โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]
7 เช็คลิสต์ที่ควรทำเพื่อตามหาสัตว์เลี้ยงเมื่อพลัดหลง
เป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสระบ้างในบางครั้ง สัตว์เลี้ยงเองก็เช่นกัน มักจะออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน เดินเล่น หรือสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว อย่างเพลิดเพลิน จนอาจจะเกิดการพลัดหลงกันได้ แต่ทั้งนี้ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของตัวเอง เพราะเขาคือหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวที่ต้องดูแลกันและกัน ซึ่งเมื่อเขาหายไปเจ้าของก็คงกระวนกระวายใจไม่น้อย แต่จะทำอย่างไรหากสัตว์เลี้ยงเกิดพลัดหลง หรือไม่กลับมาถึงบ้านสักที บ้านและสวน Pets มีขั้นตอนมาแนะนำ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ตามหาสัตว์เลี้ยง กันค่ะ 1.ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เมื่อกลับมาบ้านแล้วพบว่าสัตว์เลี้ยงของเรา ไม่ว่าจะเป็นหมา แมว นก ไม่อยู่ที่บ้าน หรือหายไปจากบ้าน อาการแรกที่มักเกิดขึ้นกับเจ้าของก็คือ อาการตกใจ ตามมาด้วยความกลัว รู้สึกหมดหวัง โกรธ สับสน และมีความกังวลต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น สิ่งแรกที่เจ้าของควรทำคือ การหายใจเข้าลึก ๆ ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก และไม่ควรตำหนิตนเอง หรือคนในบ้าน 2.คิดทบทวน เมื่อตั้งสติได้แล้ว ให้ลองคิดทบทวนดูว่าโดยปกติสัตว์เลี้ยงของคุณเคยหายออกจากบ้านบ้างรึเปล่า ? เคยหายออกจากบ้านนานสุดกี่วัน ? สามารถกลับมาเองได้หรือไม่ ? รวมถึงให้ลองคิดในมุมมองของสัตว์เลี้ยงว่า ปกติชอบไปเดินเที่ยว หรือหลบอยู่ตรงไหนบ้าง […]
เรื่องต้องรู้ก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด
ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทุกภาคส่วนพยายามหาทางแก้ไขอย่างยั่งยืนร่วมกัน แน่นอนว่าทางแก้ปัญหาที่ง่ายทางหนึ่งคือการลดจำนวนสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ การลดจำนวนประชากรทำได้หลายวิธีและหนึ่งในวิธีที่ดีก็คือการเปลี่ยนจากสุนัขและแมวที่ไม่มีเจ้าของให้มีเจ้าของ หรือพูดให้ง่ายก็คือการหาบ้านให้สัตว์เหล่านี้นั่นเองค่ะ หลายท่านที่อยากจะเลี้ยงสุนัขหรือแมวสักตัวคงมีตัวเลือกของการรับอุปการะสัตว์เหล่านี้อยู่ในใจ เพราะนอกจากเราจะได้เพื่อนซี้สี่ขาเพิ่ม หมาแมวเหล่านี้ได้บ้านใหม่แล้ว ยังมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในสังคมอีกด้วย แต่การจะรับสุนัขหรือแมวสักตัวมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์จรจัดมาก่อนหรือไม่สิ่งที่เราควรจะคิดก่อนเป็นอันดับแรกคือ ตัวเรามีความพร้อมจะเลี้ยงพวกเขาเหล่านี้แล้วหรือยัง เพราะถ้าตัวเราไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้านสถานที่ เหตุผลของเวลา หรือเหตุผลจากปัจจัยที่สำคัญอย่างเงินก็ดีแล้วล่ะก็ เราอาจจะกำลังเป็นสาเหตุของปัญหาสุนัขและแมวจรจัดแทนที่จะเป็นคนช่วยแก้ปัญหานี้ก็ได้ ซึ่งการเตรียมความพร้อมก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด ซึ่งจริงๆ ก็มีพื้นฐานเหมือนการเตรียมตัว เพื่อจะเลี้ยงสุนัขและแมวทั่วไป แต่อาจจะมีรายละเอียด ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขบ้างอย่างที่เราควรต้องรู้ก่อนรับสัตว์เหล่านี้มาเลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นบ้านของสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ได้อย่างถาวร การเตรียมตัวรับสมาชิกใหม่ 1.เตรียมความรู้และความเข้าใจ ความรู้และความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากสำหรับการรับสัตว์สักตัวเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน ความเข้าใจนี้ครอบคลุมทั้งความเข้าใจ ”เขา” และความเข้าใจ ”เรา” ซึ่ง “เขา” ที่ว่าคือน้องหมาหรือน้องแมวที่เรากำลังจะรับมาเลี้ยง หากเป็นไปได้เราควรจะเล็งไว้บ้างว่าน้องหมาหรือน้องแมวตัวไหนที่เราจะรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ เพื่อจะได้รู้ข้อมูลพื้นฐานของเขา เช่น เป็นสุนัขหรือเป็นแมว สายพันธุ์อะไร ตัวใหญ่แค่ไหน ขนสั้นหรือขนยาว ตัวเมียหรือตัวผู้ อายุเท่าไหร่ มีประวัติมาอย่างไรบ้าง เพราะประวัติสามารถบอกนิสัยคร่าวๆ และเงื่อนไขของสัตว์แต่ละตัวได้ เช่น สุนัขหรือแมวบางตัวมีประวัติเรื่องการทำร้ายร่างกาย อาจทำให้สัตว์เหล่านั้นมีนิสัยหวาดระแวงคนแปลกหน้าหรือสัตว์ตัวอื่นมากกว่าปกติ บางตัวเป็นสัตว์เลี้ยงพิการที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เป็นต้น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสัตว์เหล่านี้จะทำให้เราสามารถนำมาเตรียมอุปกรณ์สถานที่ต่างๆ […]