พาส่องไฮไลต์ก่อนงานเปิด 25 ตุลาคม 2567 นี้ One Bangkok แลนด์มาร์คใหม่ภายใต้แนวคิด “The Heart of Bangkok”

อีกเพียง 14 วันเท่านั้น ที่ทุกคนจะได้พบกับ แลนด์มาร์คแห่งใหม่ใจกลางกรุง กับประสบการณ์ที่จะยกระดับกรุงเทพฯ สู่มหานครระดับโลก ปักหมุดไว้เลย 25 ตุลาคม นี้ ที่ One Bangkok ภายใต้แนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองกลางใจ ที่ใช้ใจสร้าง นั่นคือ One Bangkok โครงการแลนด์มาร์คระดับโลก พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด สร้างสรรค์ขึ้นพร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ของการใช้ชีวิตทุกรูปแบบของเมืองต้นแบบแห่งอนาคต ที่จะยกระดับกรุงเทพฯ ให้ก้าวสู่ความเป็นมหานครระดับโลกและเป็นจุดหมายปลายทางที่ผู้คนทั่วโลกต้องการมาเยือนอย่างแท้จริง “เราเชื่อมั่นว่าภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนให้มองเห็นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจไทย โครงการ วัน แบงค็อก จะเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับสถานะของกรุงเทพฯ สู่การเป็น “ศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ครบวงจรระดับโลก” (Global Integrated Lifestyle Hub) โดยเราให้ความสำคัญกับผู้คน ชุมชน สังคม […]

Win-Win Situation ปรับดีไซน์ให้วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แบบสร้างจริงใช้จริง!

วินมอเตอร์ไซค์ พื้นที่กึ่งสาธารณะที่พบได้มากมายในกรุงเทพมหานครแห่งนี้ บ้างก็มีการจัดการที่ดี แต่ส่วนใหญ่แล้วมักถูกก่อร่างขึ้นแบบตามมีตามเกิด วันนี้ ในวิชา Design Build ของหลักสูตร INDA Summer Programs คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ thingsmatter ได้ลงพื้นที่ ออกแบบวินมอเตอร์ไซค์ หน้าปากซอยเอกมัย 4 เพื่อเป็นตัวอย่าง และทดลองดีไซน์แบบใช้งานจริงไปพร้อมกัน! เชื่อหรือไม่ว่า มีมอเตอร์ไซค์วินในกรุงเทพฯกว่า 5,000 คัน และพวกเขาเหล่านั้นล้วนใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนสถาปัตยกรรมที่ไร้การออกแบบควบคุม นิสิตจาก INDA จึงได้เริ่มสำรวจ และเลือกพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่แรกในการ “ทดลอง” สิ่งที่พวกเขาทำนั้นไม่ใช่การ “แก้ไข” หรือชี้ผิดถูกว่าอะไรคืองานออกแบบ หรือดีไซน์ที่ดี แต่แท้จริงแล้วคือการแยกส่วน และประกอบสิ่งสำคัญของการเป็น “วินมอเตอร์ไซค์ที่ดี” ลงไปในพื้นที่ใหม่เท่านั้น พื้นที่ที่แตกต่าง กฏระเบียบ และลักษณะเฉพาะของกรุงเทพฯ ได้พาให้นิสิตจาก INDA ได้เผชิญความจริงอันยุ่งเหยิงของเมืองแห่งนี้ การต้องลงพื้นที่ ทำความเข้าใจกับกายภาพของเมือง ของสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้เป็นเหลี่ยมมุมตรงไปตรงมา แต่กลับเป็นสิ่งที่เกาะเกยกันเกิดเป็นพื้นที่เฉพาะหนึ่งๆ การต้องสื่อสารกับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เจ้าของพื้นที่ เจ้าหน้าที่เขต และแน่นอนที่สุด เหล่าเพื่อนบ้านในละแวก […]

Navan Navan ประสบการณ์แปลกใหม่ ในร้านฟีลถ้ำ ของเชฟแวน ในวันที่พาใจกลับบ้านที่แม่ริม

“เชฟแวน” เจ้าของร้าน Escapade Burgers & Shakes, ราบ และ DAG ผู้มีคาแร็กเตอร์ชัดเจน ดูแข็งแกร่ง กำยำ ดุดัน รวมทั้งเมนูอาหารที่จัดจ้านในความ Creative นั่นจึงทำให้ร้านเห็นนี้ มีภาพลักษณ์ที่ดูลึกลับ คล้ายถ้ำ เผื่อชวนให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ว่าภายในนั้นจะรังสรรค์อาหารแบบไหนให้กับลูกค้า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Godmother Studio ร้านแห่งนี้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาของการเลือกที่จะกลับสู่บ้านที่แม่ริมของเชฟแวน ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ก็เป็นบริเวณบ้านชองครอบครัวอยู่แล้ว ที่มีทั้ง Homestay ร้านกาแฟ สวนดอกไม้ ในทุ่งที่ชื่อ “Amaze l at Themyth ” ซึ่งตั้งในอยู่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ล้อมรอบด้วยทุ่งนา และทิวเขา มีวิวอาทิตย์ตกอันงดงาม เพราะแก่การยกถ้ำส่วนตัวมาตั้งไว้อย่างเหมาะเจาะ การเลือกใช้วัสดุที่แสดงออกถึงสัจวัสดุไร้การเติมแต่งคือหัวใจของการออกแบบในครั้งนี้ ภายนอกนั้นเป็นการก่ออิฐฉาบปูนโดยทำผิวด้วยเทคนิคโบราณอย่างการ “สลัดดอกปาดเรียบ” ซึ่งก่อให้เกิดเท็กซ์เจอร์ที่ดูเหมือนธรรมชาติมากกว่าเทคนิคสมัยใหม่ ส่วนภายในนั้นใช้การฉาบเรียบ เคลือบใส โดยไม่ใช้การทาสี และใช้ไม้เป็น Subroog ให้กับฝ้า เพื่อลดความดิบของปูน แต่ยังโชว์ถึงโครงสร้างไว้อย่างชัดเจน จากภายนอกนั้นออกแบบให้เดินเข้าสู่ภายในด้วยความสูงที่ค่อยๆลดหลั่นลงไปยังบาร์ และส่วนประกอบอาหาร เพื่อเน้นถึงจุดสนใจบริเวณบาร์อาหาร […]

มัดรวมผลิตภัณฑ์น่าสนใจที่ room เลือกมาให้แล้วในงาน

เพราะนี่คือ บ้านและสวนแฟร์ SHOPPING WEEK ที่ชวนคนรักบ้านมาหาของชอปปิ้งแต่งบ้านในธีม “คน-จัด-สิ่งของ” และนี่คือผลิตภัณฑ์ ที่ room คัดสรร มาให้ผู้อ่านทุกคนว่า “น่าสนใจ” รวมตัวช่วยทำงานที่บ้าน สำหรับ “นักทำงานที่บ้าน” สัปดาห์นี้ room อยากชวน มาช็อปมาชิล กันที่เมืองทองได้จนถึงวันอาทิตย์นี้เลย เพราะนี่คือ บ้านและสวน Shopping Week งานแฟร์ใหม่ เทไอเดียมาไว้ในคุณเลือกซื้่อกันอย่างจุใจ!.ทุกวันนี้ หลาย ๆ คน เริ่ม Work From Home กันในหลายวาระโอกาสมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชาวฟรีแลนซ์ ชาวออฟฟิสที่เริ่มมีวันนอกสำนักงาน หรือแม้แต่บริษัทที่เริ่มจากการเปลี่ยนบ้านตัวเองให้กลายเป็น “โฮมออฟฟิส”.แน่นอนว่าบ้าน กับ สำนักงาน นั้นต้องการความสบาย และการใช้งานพื้นที่แตกต่างกัน การมองหาเฟอร์นิเจอร์ และตัวช่วยจึงเป็นเรื่องจำเป็น room จึงขออาสาพาทัวร์งาน บ้านและสวน 𝙎𝙝𝙤𝙥𝙥𝙞𝙣𝙜 𝙬𝙚𝙚𝙠 หยิบจับ เลือกของที่ใช่! ให้กับ Home Office ของคุณ พัดลม […]

Yellow House บทกวีที่เรียกว่า “บ้าน”

บ้านที่ออกแบบสร้างเพื่อเชื่อมโยงบริบทโดยรอบสู่การใช้ชีวิต โดยคงไว้ซึ่งลักษณะดั้งเดิมของพื้นที่ รวมถึงต้นไม้ที่ยังอยู่แต่เดิมด้วย เปิดรับธรรมชาติผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรมในหลากรูปแบบซึ่งล้วนแต่งดงาม ดั่งบทกวีที่เรียงร้อยขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: JOYS Architects Yellow House คือ บ้านที่เหมือนเป็นภาคต่อของ Yellow Submarine และ Yellow Mini คาเฟ่เรียบเท่ในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ต้องมีการออกแบบที่ทั้งเปิดรับบริบทธรรมชาติโดยรอบเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี แต่ก็ยังต้องสร้างความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่คาเฟ่ไปพร้อมกัน #จัดวางธรรมชาติร่วมกับการอยู่อาศัย การออกแบบบ้านในระบบกริดตาราง ทำให้บ้านหลังนี้มีการจัดวางพื้นที่อยู่อาศัย สลับกับคอร์ตที่แตกต่างไปในแต่ละส่วน บ้างก็เป็นสวน บ้างก็เป็นต้นไม้ เนินดิน หรือสระน้ำ คอร์ตเหล่านี้ถูกจัดวางเอาไว้ในสี่ทิศของผังอาคาร ทำให้ในทุกห้องที่เหลือ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ และรับบรรยากาศในแต่ละคอร์ตได้อย่างทั่วถึง โดยมีห้องนอนที่ส่วนกลางบ้านเป็นห้องที่รับวิวทุกคอร์ตได้ในห้องเดียว #บ้านเล่นระดับร่วมกับธรรมชาติ ตัวบ้านเลือกที่จะอยู่ร่วมกับระดับที่ต่างกันของผืนที่ดินแต่เดิม โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนระดับของพื้นที่มากนัก ขั้นตอนการออกแบบจึงต้องทำการบ้านกับระดับที่ต่างกันไปในแต่ละส่วน เป็นผลให้ทั้งช่องเปิด หรือการใช้งานมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ แทบไม่ซ้ำกันในแต่ละส่วนเลย #ร่องรอยที่เชื่อมโยงภายนอกและภายใน เมื่อพิจารณาถึงวัสดุของบ้านหลังนี้ คอนกรีตเปลือย และไม้ ทำหน้าที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนบริบท หิน และต้นไม้โดยรอบ หากแต่คือการแปรความผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม โดยถูกกำหนดหน้าที่ใช้งานทั้งโครงสร้าง หรือองค์ประกอบที่กลายเป็นผนัง และเฟอร์นิเจอร์ที่จัดแบ่งรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี และนี่คืออีกหนึ่งบ้านที่น่าสนใจในรูปแบบที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เป็นตัวอย่างของบ้านต่างจังหวัดที่น่าสนใจอีกหลังหนึ่งเลยทีเดียว […]

BANGKOK-VENICE เมื่อศิลปะพาเชื่อมจิตสองฝั่งน้ำ

“เมืองที่เต็มไปด้วยคูคลอง สัญจรทางน้ำเป็นนิจ อุดมด้วยวัฒนธรรม คึกคักคลาคล่ำไปด้วยผู้คน และอบอวลบรรยากาศของเมืองเก่า” หากกล่าวประโยคนี้ เราอาจนึกถึง บางกอก หรือกรุงเทพฯ และหากคิดดูอีกที เราก็อาจจะคิดถึงเวนิสได้เช่นกัน เมืองทั้งสองที่เหมือนกับเป็นพี่น้องฝาแฝดซึ่งต่างเกิดมาในต่างมุมโลก แต่มีความผูกพันอันน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเมืองที่ใช้คูคลองเป็นทางสัญจรหลัก การเป็นเมืองท่าที่คึกคัก จนทำให้รูปแบบอาคารโดยทั่วไปของเมืองนั้นเป็นอาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว ดังเช่นเดียวกับบางกอกในครั้งอดีต ที่เรายังคงเห็นได้ในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ และพื้นที่เยาวราช-ตลาดน้อย แต่เชื่อหรือไม่ว่า เมื่อกว่าร้อยกว่าปีก่อน กษัตริย์ของเราก็เคยเสด็จประพาสมายังนครแห่งสายน้ำแห่งนี้ด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ.1897 และ ค.ศ.1907 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเสด็จฯ ร่วมชมงานเทศกาลศิลปะเวนิสเบียนนาเล่ถึงสองครั้ง และในครั้งที่ 2 นั้น รัชกาลที่ 5 ก็ได้ทรงทอดพระเนตรงานของ กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) หนึ่งในศิลปินดาวรุ่งในยุคนั้น ซึ่งต่อมา นาย กาลิเลโอ คินี คนนี้เอง ก็ได้เดินทางมายังสยามในตอนต้นของรัชกาลที่ 6 เพื่อเริ่มสัญญางานออกแบบ และวาดภาพให้กับท้องพระโรงแห่งใหม่ของสยาม อันมีนามว่า พระที่นั่งอนันตสมาคม จะเห็นได้ว่าอิทธิพลศิลปะ ความงาม และจิตวิญญาณของเวนิส และบางกอกนั้น […]

MADGREY TATTOO STUDIO สตูดิโอสักลาย คาเฟ่ ที่เนี้ยบเรียบอย่างมินิมัล

Madgrey สตูดิโอสักลาย และคาเฟ่ ที่รีโนเวตจากอาคารพาณิชย์เก่า ลบภาพจำเดิมๆของวัฒนธรรมการสักที่น่ากลัว สู่บรรยากาศเรียบนิ่งแบบ Futuristic Minimal DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: TasteSpace ไม่มีอีกแล้วกับบรรยากาศอึมครึมของร้านสัก แผ่นภาพร่างแปะเต็มผนัง เพราะนั่นอาจเป็นภาพจำของร้านสักในความคุ้นชิน แต่ด้วยฝีมือของ Tastespace.co การออกแบบประสบการณ์ของการสักจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป #ดิบแต่เนี้ยบ ที่ Madgrey เราจะไม่ได้เห็นความรก เพราะทุกสัดส่วนพื้นที่ถูกคิดมาอย่างเหมาะเจาะลงตัวแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าไปใช้พื้นที่ซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์เก่าย่านซอยอารีย์ทำให้การจัดการกับงานระบบ และโครงสร้างเดิม ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของพื้นที่ให้เพียงพอต่อความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไป สังเกตได้ว่าในส่วนที่ไม่ได้สัมผัส หรือเข้าถึงการใช้งาน เช่น ฝ้าเพดาน หรือเสาโครงสร้าง องค์ประกอบเหล่านี้จะถูกรื้อออกและปล่อยเปลือยไว้อย่างจงใจ เพื่อให้ได้พื้นที่มากขึ้นสำหรับการใช้งาน ก่อนงานระบบใหม่จะเดินลอยผ่านไปยังการใช้งานที่ได้ถูกจัดวางและออกแบบใหม่ให้ลงตัว เกือบทุกส่วนของร้าน ได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนพื้นที่เก็บของ และโชว์สินค้าในตัวเอง ทั้งชั้นวาง ลิ้นชัก และชั้นโชว์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พื้นที่ทั้งหมดเพียงพอต่อการใช้งาน เป็นระเบียบ ดูสะอาด สมกับที่ร้านสักควรจะเป็น และปลอดโปร่งน่าไว้ใจ ด้วยเหตุนี้พื้นผิวของวัสดุเกือบทั้งหมดจึงเป็นวัสดุประเภทสเตนเลสทำความสะอาดง่ายนั่นเอง การปล่อยเปลือยในส่วนโครงสร้างเดิม และเลือกใช้วัสดุมันวาวขัดด้านในส่วนใช้งาน ยังช่วยขับเน้นให้พื้นที่ที่ถูกใช้ดูเนี้ยบยิ่งขึ้นไปอีก สะท้อนถึงภาพลักษณ์ และบุคลิกของร้านที่แตกต่างจากร้านสักอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังคุมโทนความอบอุ่นไว้ด้วยพื้นไม้เทียมสีอ่อน รับกันดีกับไฟสีวอร์มไวท์ในทุกบริเวณ #เปิดช่องรับแสงธรรมชาติ ส่วนสำคัญของการรีโนเวตในครั้งนี้ที่พลิกบรรยากาศจากความทึบตันเดิมของอาคาร […]

House C กึ่งกลางระหว่างธรรมชาติ และพื้นที่ส่วนตัว

จะเป็นอย่างไรเมื่อ “บ้าน” อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และผืนดินอย่างแท้จริง นี่คือบ้านในเชียงใหม่ ที่ตั้งใจสัมผัสธรรมชาติอย่างไร้รอยต่อ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Bangkok Tokyo Architecture House C บ้านหลังนี้ ในเชียงใหม่ โดยเป็นความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากให้การอยู่อาศัยนั้นมีอิสระ และผสานเข้ากับความเป็นธรรมชาติโดยรอบผ่านองค์ประกอบเรียบง่ายของตัวอาคาร บ้านหลังนี้มีห้องรับแขกที่พื้นเป็นดินอัด มีห้องทุกห้องที่เห็นกันได้หมด มีโครงสร้างที่แทบไร้การปรุงแต่ง และนั่นคือหน้าที่ของสถาปัตยกรรมที่เลือกจะทำหน้าที่ในการเป็นที่อยู่อาศัยที่ปรุงแต่งน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างถึงที่สุด #ออกแบบโดยผสานธรรมชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งอย่างไร้รอยต่อ บ้านหลังนี้มีโจทย์ตั้งแต่แรกเริ่มคือการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยผสานไปกับธรรมชาติโดยรอบ การออกแบบโครงสร้างทั้งหมดจึงถูกคิดขึ้นโดยไม่ยัดเยียดองค์ประกอบที่มาจนไปกลบความสัมพันธ์โดยรอบเกินไป ทั้ง ผืนดิน ร่มไม้ สัตว์น้อยใหญ่ และธรรมชาติโดยรอบล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมหลังนี้ด้วยเช่นกัน เป็นที่อยู่อาศัยที่สามารถปรับตัวไปตามสภาวะอากาศได้ ด้วยความเรียบง่ายของโครงสร้าง และความยืดหยุ่นของผังการใช้งานอาคาร บ้านหลังนี้จึงช่วยสร้างความเป็นไปได้ที่น่าสนใจให้การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย เรียงร้อยไปกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบตามที่ตั้งใจไว้ เพราะเมื่อมองจากภายนอก บ้านหลังนี้จะดูแอบซ่อนเรียบเกลี้ยงเหมือนกล่องที่ถูกปิดไว้ แต่เมื่อเปิดผนังที่ทำหน้าที่เป็นประตูใหญ่ออก พื้นดินลานกลางบ้าน แม่น้ำ ธรรมชาติ และถนนจะต่อเชื่อมหลอมรวมเป็นพื้นที่เดียวกันอย่างไร้รอยต่อเลยทีเดียว #สัมผัสผืนดิน ห้องรับแขก หรือพื้นที่อเนกประสงค์ ณ ลานกลางบ้าน อาจเรียกได้ว่าเป็น Gathering Space ตามศัพท์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และในบ้านหลังนี้นั้น พื้นที่ระหว่าง สองปีกของตัวบ้าน คือพื้นดินที่ใช้เทคนิคการอัดดินให้กลายเป็นชานบ้านแบบญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า โดมะ […]

THE NEWHEADQUARTER OF COUNCIL OF ENGINEERS THAILAND อาคารที่ทำการสภาวิศวกร

สภาวิศวกรแห่งใหม่ ที่วางตัวเป็นพื้นที่สาธารณะของเมือง เชิดชูงานออกแบบวิศวกรรม ผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรมอันแยบยล โดย AATTN8A สภาวิศวกร หรือ Council of Engineers Thailand คือองค์กรที่อาจเรียกได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของอุตสาหกรรมมากมายในประเทศไทย โดยเฉพาะเครื่องกล และโยธา หรืองานก่อสร้างที่เราคุ้นปากกันนี่เอง เมื่อถึงเวลาที่ต้องขยับขยาย และปรับเปลี่ยนอาคารหลังเก่าสู่ถนนลาดพร้าว พื้นที่ใหม่ ติดรถไฟฟ้าหลังนี้ การประกวดแบบจึงเกิดขึ้น และ ativich โดยคุณ วิชญ์-อติวิชญ์ กุลงามเนตร ก็คือผู้ที่ชนะการประกวดแบบในครั้งนี้ไปด้วยคอนเซ็ปต์ “อาคารรัฐที่ถูกปรับเป็นพื้นที่สาธารณะของเมือง” อย่างไม่ทิ้งความภาคภูมิของงานวิศวกรรมไทย งานออกแบบอาคารหลังนี้ได้นำเอาความเป็นเลิศทางการออกแบบวิศวกรรมทุกแขนงเข้าไว้ในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างที่มาการยื่น การถ่ายเทน้ำหนักอย่างตื่นตาท้าทาย ผ่านโครงสร้างเหล็กของ SYS Steel งานระบบต่าง ๆ วัสดุที่ล้ำสมัย และการเดินระบบโชว์เปลือยแต่สุดแสนจะลงตัว เรียกว่ามาที่นี่ ได้เห็นโชว์เคสล้ำ ๆ เป็นตัวอย่าง และแรงบันดาลใจได้อย่างดีแน่นอน แต่มากกว่านั้น อาคารหลังนี้ เกิดจากความพยายามเปลี่ยนภาพจำของ “สถาบันที่เปิดรับแต่คนใน” ให้กลายเป็น “พื้นที่สาธารณะของเมืองสำหรับเชื่อมโยงวิชาชีพสู่บุคคลทั่วไป” หรือเรียกง่าย ๆ ว่าอาคาร และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจ “งานวิศวกรรม” […]

S Wall House รีโนเวตบ้างครึ่งตึกครึ่งไม้ย่านลาดพร้าวให้กลายเป็นบ้าน Modern Loft

บ้านหลังนี้ได้เก็บโครงสร้างเดิมไว้ ทั้งคอนกรีต และไม้บางส่วน เพื่อนำมาใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ยังคงดำเนินต่อไป เพราะเดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่คุณพ่อของเจ้าของบ้านได้ออกแบบสร้างเอาไว้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : Collage Design Studio การยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างตามที่คุณพ่อได้คิดก่อสร้างไว้ก็เปรียบได้กับการคงจิตวิญญาณดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ แต่นำพาสู่บทใหม่ด้วยการออกแบบตกแต่ง และปรับเปลี่ยนการใช้งานในหลาย ๆ ส่วน และ แนวทางการปรับปรุง คือการผสานกลิ่นอายร่วมสมัยเข้ากับโครงสร้าง สร้างที่พักอันทันสมัยสำหรับเจ้าของบ้าน พร้อมด้วยสระว่ายน้ำ และบาร์กลางแจ้งสำหรับการสังสรรค์ จึงทำให้ปรับบ้านหลังนี้เป็นบ้านล้อมคอร์ตซึ่งเป็นสระว่ายน้ำ มีใต้ถุนเป็นพื้นที่ที่สามารถเปิดหากันได้ตลอด และชั้นบนที่มีความเป็นส่วนตัว ในด้านองค์ประกอบโครงสร้างนั้น ผู้ออกแบบได้เลือกใช้โครงไม้ดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่ยังคงสภาพสมบูรณ์อย่างน่าทึ่ง โดยมีแผ่นพื้นกว้างและทนทานซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ด้วยการใช้โอกาสในการอนุรักษ์องค์ประกอบอันเป็นที่รักเหล่านี้ จึงตัดสินใจย้ายบันไดออกไปด้านนอก และเปลี่ยนสำนักงานเก่าที่ทรุดโทรมของคุณพ่อให้กลายเป็นบริเวณสระว่ายน้ำ เมื่อการรื้อถอนเริ่มต้นขึ้นก็มีสิ่งปรากฏออกมา นั่นคือเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กคงสภาพแข็งแรง ซึ่งออกแบบโดยผู้เป็นพ่อเอง โดยมีทั้งความทนทาน และเต็มไปด้วยร่องรอยของเรื่องราวในอดีต ด้วยแรงบันดาลใจจากการค้นพบที่ไม่คาดคิด การออกแบบจึงพัฒนาเพื่อรวมองค์ประกอบของโครงสร้างดั้งเดิม โดยมีสระว่ายน้ำอยู่ใต้ส่วนโค้งอันสง่างาม ในส่วนของความเป็นส่วนตัว อันเป็นที่มาของชื่อบ้านนั้น เกิดจากข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างแนวกั้นป้องกัน ซึ่งเป็นแนวกำแพงที่เพิ่มขึ้นจากส่วนที่เหลือของสำนักงานเดิม ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์พับเก็บอย่างสวยงามเป็นรูปตัวเอส (s) พร้อมปกปิดและเปิดเผยให้เห็นในคราวเดียวกัน ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าบ้านสำหรับบ้านที่มีชีวิตชีวา พาร์ทิชั่นคดเคี้ยวนี้แบ่งพื้นที่ในขณะที่ช่วยเสริมการเชื่อมต่อ โดยผสมผสานระหว่างความเก่ากับใหม่ ผนังชั้นล่างเป็นอิฐและปูนฉาบแข็งในสมัยก่อน ช่วยให้พื้นที่อยู่อาศัยเปิดโล่งและสว่าง ชวนให้นึกถึง “ใต้ถุน” พื้นที่เปิดโล่งใต้บ้านทรงไทย ที่ผสมผสานพื้นที่ในร่มและกลางแจ้งได้อย่างลงตัว ส่วนห้องนอนใหญ่ชั้นบนสะท้อนถึงการนำวัสดุผนังใหม่มาวางทับโครงสร้างเก่า […]

PG HOUSE ผืนฟ้า ขุนเขา และประติมากรรมที่เรียกว่า บ้าน

ทุกวันอันแสนรื่นรมย์ เมื่อได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติของเขาใหญ่ ที่ บ้าน ทั้งหลังยังออกแบบมาอย่างหมดจด ไม่ต่างอะไรกับงานศิลป์ประติมากรรมที่อยู่อาศัยได้กับ PG HOUSE หลังนี้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: AAd – Ayutt and Associates Design  บ้านหลังนี้มีโจทย์เริ่มต้นจากความต้องการในการสร้างเรือนสำหรับงานอดิเรกเพิ่มขึ้นอีกหลังในที่ดินเดิมของเจ้าของบ้าน การสะสมรถซุปเปอร์คาร์ งานศิลปะ Studio สำหรับซ้อมเต้น และมิกซ์เพลง รวมทั้งยังเป็นเหมือนห้องรับแขกไปในตัวอีกด้วย และนั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ มีความพิเศษที่แตกต่างอย่างลงตัว ซุปเปอร์คาร์และงานศิลป์ท่ามกลางทิวเขา “เราตั้งใจให้การขับรถเข้ามานั้น จะรู้สึกว่าได้เข้ามาจอดท่ามกลาง Scene ของทิวเขาเหล่านี้ ในบรรยากาศที่พิเศษ ในพื้นที่พิเศษ” นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ดูแตกต่างจากความเป็นอู่รถ หรือ โชว์รูม แต่คือเวทีที่รถทุกคันจะได้มีพื้นที่พิเศษของตัวเอง การเปิดพื้นที่วิวรับกับจุดจอดรถแต่ละคันล้วนถูกคิดคำนึงมาเป็นอย่างดี ทั้งการให้แสง และจังหวะของการจอดก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองบ้านหลังนี้จึงต้องใส่ใจกับความเป็นศิลป์ในพื้นที่เป็นพิเศษ เพื่อให้ในทุกจังหวะของมุมมอง สามารถเชื่อมโยงความชอบ บ้านสีดำที่รับเอาวิวทิวทัศน์เข้าไว้กับตัวสังเกตได้ว่า การออกแบบบ้านหลังนี้มีการใช้สีในโทนมืดมากกว่าสว่าง ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้โทนดำเป็นหลักก็เพื่อให้บรรยากาศภายในบ้านนั้น ไม่รบกวนทิวทัศน์โดยรอบของบ้านหลังนี้ เมื่อมองจากภายในสู่ภายนอก ทัศนียภาพโดยรอบจึงมีความสว่างมากกว่าพื้นที่ภายใน อีกทั้งการที่บ้านมีการเปิดรับมุมมองในรอบทิศทางด้วยกระจกใส หากตกแต่งด้วยโทนสว่างอาจทำให้แสงสว่างที่เข้าสู่ภายในเจิดจ้าจนเกินสภาวะน่าสบายได้ โทนสีดำนี้จึงเป็นเหมือนการคุมความสบายให้อยู่ในระดับที่พอดีไปพร้อมกัน นอกจากนี้ การที่พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโทนดำ ยังทำให้เมื่อมองจากภายนอกแล้ว วิวเขาจะเกิดการสะท้อนกับอาคาร […]

TAO JIN คาเฟ่ที่ รีโนเวต ตึกเก่าย่านท่าวังเป็นคาเฟ่มู้ดดี

Tao Jin (เต๋า จิน) ร้านฟีลสบาย ที่ รีโนเวต ตึกแถวเก่าย่านท่าวัง ให้เป็นคาเฟ่ และโรงคั่วกาแฟ ออกแบบให้ความขลังยังอยู่แต่ดูสะอาดตาเพราะเป็นโรงคั่วกาแฟด้วย จึงอยากให้ลุคของร้านดูสะอาดตา เป็นความรู้สึกที่ Hygiene ทางร้านจึงเลือกใช้สีขาว จับคู่กับไม้เก่า และเฟอร์นิเจอร์วินเทจ โดยยังคงเก็บองค์ประกอบของบ้านเดิมเอาไว้ให้ร่วมกับการออกแบบกระจกหน้าร้านใหม่เป็นสไตล์กึ่งวินเทจ ที่ดูยังไงก็เข้ากันกับองค์ประกอบเดิม #เมนูร่วมสมัยแต่ใช้ของพื้นถิ่นร่วมอีกส่วนที่น่าสนใจคือการนำเสนอเมนูที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นร่วมด้วย เช่น Classic Cafe Meiel ที่มีส่วนผสมของนม ช็อตกาแฟ และน้ำผึ้งป่า จาก อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมชาติ ร่วมด้วย ให้ความรู้สึกที่แตกต่าง น่าสนใจ ชูเอกลักษณ์รสชาติในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ที่ตั้งTao Jinซอยวัดคิด ถนนท่าวัง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเวลา 8.00-17.00 น. (ปิดวันพุธ)โทร. ‭09-2538-8147‬ ภาพ: Sumethat Siwasutham เรื่อง: Wuthikorn Sut ชมคาเฟ่อื่น ๆ ของ room

BLOCK WALL HOUSE บ้านบล็อกช่องลมกลางป่า ที่สร้างด้วยคอนกรีตรักษ์โลก

บ้านช่วยโลก เมื่อบ้านของเราสร้างจากวัสดุที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้! นี่คือบ้านท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งอนาคตอันใกล้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: nendo บล็อกช่องลมที่สร้างจากวัสดุ CO2-SUICOM จำนวน 2,050 ก้อน ได้รับการนำมาใช้ในการสร้างแนวผนังของบ้านหลังนี้ โดยวัสดุนี้เป็นส่วนผสมครึ่งต่อครึ่งระหว่างปูนซีเมนต์กับวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างให้เกิดกระบวนการดักจับ CO2 ในขั้นตอนของการแข็งตัวของซีเมนต์ เป็นผลให้วัสดุ CO2-SUICOM สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยวัสดุนี้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท Kajima, The Chugoku Electric Power Co., Denka, และ Landes Co. จนเกิดเป็นคอนกรีตที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นครั้งแรกของโลก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางธรรมชาติอันไร้ซึ่งสิ่งรบกวน ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ คือแนวผนังที่ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบล็อกช่องลมที่มีการหันแนวช่องเปิดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของอาคาร สัมพันธ์ไปกับรูปแบบการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยพรางอาคารทั้งหลังให้กลมกลืนไปกับผืนป่ารอบด้านได้อย่างดี ช่องเปิดเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดมุมมอง และแนวลมที่ไหลผ่านตัวบ้านไปพร้อมกัน ในส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจะมีแนวกำแพงซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้มุมมองที่ดูเหลื่อมซ้อนกัน สร้างให้เกิดความจำเพาะของตำแหน่งที่มองทะลุผ่านได้ แม้จะช่วยปิดกั้นสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด แม้วัสดุ CO2-SUICOM ที่นำมาใช้ก่อสร้างบ้านหลังนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่คาดว่าจะสามารถออกสู่ท่องตลาดได้จริงก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง […]

บ้านล้อมคอร์ต ที่สร้างพื้นที่รื่นรมย์ด้วยไม้ใหญ่ และกำแพงช่องลม

บ้านล้อมคอร์ต ชานเมืองที่เลือกสร้างพื้นที่ส่วนตัวล้อมสวนทรงชะลูดที่ทำงานกับการอยู่อาศัยในแนวสูงได้เป็นอย่างดี บ้านหลังนี้ ออกแบบโดย INchan Atelier เป็นบ้านขนาด 4 ชั้น ที่สร้างบนที่ดินติดกับบ้านของพ่อแม่เจ้าของบ้าน ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นที่ดินจัดสรรย่านชานเมืองทำให้ต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของการอยู่อาศัยเป็นพิเศษ แต่ก็ยังต้องสร้างความรู้สึกปลอดโปร่ง สบายตา ไม่อึดอัดทึบตันให้แก่ผู้อยู่อาศัยไปพร้อมกันด้วย โดยผู้ออกแบบได้เลือกใช้บล็อกช่องลมในการสร้างพื้นที่กึ่งปิดเพื่อให้เกิดเป็นคอร์ตสวนทรงชะลูดที่กลางบ้าน และแจกพื้นที่สีเขียวไปยังทุกส่วนของบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ #กำแพงโปร่งสร้างความเป็นส่วนตัวแต่ไม่ปิดกั้นแดดลม โครงสร้างที่ก่อตัวขึ้นสูงจากพื้น จนถึงชั้นที่สาม เป็นกรอบคอนกรีตที่ช่วยพยุงรับบล็อกช่องลมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ บล็อกเหล่านี้มีสองรูปแบบความทึบด้วยกัน ปรับใช้ตามแต่การเปิดรับแสง และความต้องการความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกัน ในด้านหน้าของบ้านนั้น จะเป็นบล็อกที่มีขีดกลางคั่น ส่วนด้านติดกับบ้านของพ่อแม่จะเป็นบล็อกจัตุรัสที่โปร่งกว่า ขอบกำแพงที่เกิดจากบล็อกช่องลมนี้ ช่วยสร้างให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้อย่างดีสำหรับผู้อยู่อาศัย ไม่รู้สึกประจันกับเพื่อนบ้านมากจนเกินไป ทั้งยังเป็นมิตรกับบริบทโดยรอบมากกว่ากำแพงทึบตันในขณะเดียวกัน นอกจากนี้ การออกแบบที่เลือกใช้กำแพงโปร่งอย่างบล็อกช่องลม ยังมีประโยชน์ในการเปิดให้แสงแดดเข้าถึงสวนที่ภายในได้มากอีกด้วย ทำให้พื้นที่สีเขียวมีระบบนิเวศที่สามารถเติบโตได้ และยังเปิดรับลมในทิศทางที่เหมาะสมตามความโปร่งทึบของบล็อกแต่ละด้าน เป็นการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยแบบ Passive Climate ที่ดีไปพร้อมกัน #สวนแนวสูงสู่ทุกพื้นที่ของบ้าน จุดเด่น และความสะดุดตาของบ้านหลังนี้ อยู่ที่ภายใน เพียงเดินผ่านแนวกำแพงบล็อกช่องลมเข้ามา เราจะได้พบกับสวนเล่นระดับที่มีไม้ใหญ่คือต้นขานาง ที่สูงชะลูดตั้งแต่ชั้น 1 จนถึงดาดฟ้าที่ชั้น 4 เลยทีเดียว นอกจากการวางผังของสวนที่เอื้อต่อความเชื่อมโยงของบ้านหลังนี้ และบ้านของพ่อแม่แล้ว พื้นที่สีเขียวเหล่านี้ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และความรู้สึกของพื้นที่เฉพาะสำหรับสมาชิกแต่ละคนในบ้านได้เป็นอย่างดี โดยทำหน้าที่เป็นตัวกรองให้แต่ละห้องมีวิวสวนเป็นของตัวเอง […]

รีโนเวตตึกแถวเก่าย่านสาทร สู่คาเฟ่ และห้องแสดงเสื้อผ้าของแบรนด์ Gongdid design

พื้นที่ Showroom แห่งนี้ ประกอบด้วยคาเฟ่ และห้องแสดงเสื้อผ้า รีโนเวตจากห้องแถวเก่าขนาด 4 ชั้น 4 คูหา ที่ปรับให้กลายเป็นโชว์รูมด้วยฝีมือของทีมออกแบบ creative studio unravel เช่นเดียวกับงานออกแบบเสื้อผ้าของ Gongdid design ความเรียบง่ายสบายตา แต่แฝงไว้ด้วยรายละเอียดอันละเมียดละไม ในพื้นที่ของโชว์รูมแห่งนี้ ผู้ออกแบบเลือกใช้เส้นสายที่น้อยอย่างที่เรียกว่ามินิมัล แต่ในแต่ละพื้นที่ของอาคารได้เลือกสรรจัดวางองค์ประกอบ เช่น แสงธรรมชาติ หรือช่องเปิดที่เห็นชัดถึงบริบทภายนอกไว้อย่างพอดิบพอดี ทำให้ผืนผนัง พื้น และเพดานเป็นเสมือนผืนผ้าใบขนาดยักษ์ที่ช่วยขับเน้นเสื้อผ้า และงานออกแบบของแบรนด์ไปด้วยในตัว #ร่วมสมัยบรรยากาศสาทร แม้จะเป็นแบรนด์แฟชั่น แต่การออกแบบในครั้งนี้ก็ยังมีการเชื่อมโยงบริบทภายนอกของพื้นที่ย่านสาทรเอาไว้ในอาคารได้อย่างลงตัว ทั้งในเปิดหน้าอาคารให้เป็นบันไดที่เชื้อเชิญทั้งลูกค้าประจำ หรือแม้แต่ผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมาให้แวะชมสินค้า รวมทั้งจิบกาแฟใช้เวลาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี การเก็บเอาองค์ประกอบดั้งเดิมอย่างพื้นไม้ปาร์เก้เอาไว้ หรือกรอบบานบ้างชิ้นของอาคาร เช่น ในพื้นที่สวนด้านหลัง ก็ทำให้สามารถสัมผัสถึงกาลเวลาที่อาคารนี้เคยเกิดขึ้น ก่อนจะได้รับการรีโนเวตได้อย่างดี ทำให้พื้นที่มีรายละเอียดเชิงนามธรรมที่น่าสนใจมากขึ้น #คาเฟ่ที่เปรียบได้กับพื้นที่รับแขก อะไรจะดีไปกว่ากาแฟดี ๆ กับบทสนทนาในสิ่งที่สนใจร่วมกัน เพราะโชว์รูมแฟชั่นก็แทบไม่ต่างอะไรกับแกลเลอรี่ดี ๆ สักแห่ง การได้แวะเวียนมาชมคอลเล็กชั่นใหม่ ๆ ของแบรนด์ ได้แลกเปลี่ยนแนวคิด หรือแม้แต่จะแวะพัก ใช้เวลาเลือกสรรชุดสวยให้ตัวเอง […]

เผยโฉมศาลาไทยในงาน World Expo 2025 Osaka, Japan Thailand Pavilion ภูมิพิมาน ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน by A49

ศาลาไทย Thailand Pavilion ในงาน world expo 2025 ปีหน้า ณ นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น “ภูมิพิมาน – ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน” อาคารทรงร่วมสมัย เลือกใช้องค์ประกอบไทยประยุกต์ นำคตินิยม และอัตลักษณ์ออกแบบร่วมกับแนวคิดสมัยใหม่ผสมผสานลงตัว โดดเด่นด้วยเงาสะท้อนอาคารที่ผสานให้เกิดเป็นทรงจั่ว เพื่อบอกเล่าถึงความเป็นไทยที่แท้ แม้จับต้องไม่ได้ แต่งดงาม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: A49 นี่คืออาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion World Expo 2025) ที่ออกแบบโดย บริษัท สถาปนิก 49 หรือ A49 (ARCHITECTS 49 LIMITED) ที่เราคุ้นเคย ในงาน world expo 2025 ณ นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิดหลัก “ภูมิพิมาน ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน” เชื่อมต่อชาวโลกให้เข้าถึงภูมิปัญญา และอัตลักษณ์แบบไทยผ่านบรรยากาศของดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร และวิถีของผู้คนที่ช่วยสร้างภูมิให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่จะทำให้ประเทศไทยเชื่อมโยงกับทั่วโลกได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืนในอนาคต […]

เริ่มแล้ว นิทรรศการศิลปะ THE SPIRITS OF MARITIME CROSSING : วิญญาณข้ามมหาสมุทร 15 ศิลปินไทย และอาเซียน เผยศักยภาพบนเวทีโลก ในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่

เมื่อสายน้ำเจ้าพระยาได้บรรจบกับ Grand Canal แห่งเวนิส เปิดให้เข้าชมแล้วอย่างเป็นทางการ นิทรรศการ ” The Spirits Of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร” หนึ่งในกิจกรรมหลักของมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ นำเสนอนิทรรศการศิลปะ The Spirits Of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร หนึ่งในกิจกรรมหลักของมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 บอกเล่าเรื่องราวของความสัมพันธ์ 10,000 กิโลเมตร ของเมืองบางกอกและเวนิส ผ่าน 40 ผลงานศิลปะอันโดดเด่นของ 15 ศิลปินจากภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ภาพวาด ประติมากรรม สื่อผสม และวิดีโอจัดวาง ซึ่งเจาะลึกประเด็นเรื่องการพลัดถิ่น ลัทธิล่าอาณานิคม และการผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นไปที่สัญลักษณ์ของการข้ามน้ำ และการเดินทางทางทะเลเป็นพิเศษ The […]

Ruen Lek เรือนเล็ก บ้าน และคาเฟ่แบบเรือนไทยโครงสร้างเหล็ก บรรยากาศโฮมมี่ในเมืองจันท์

Ruen Lek เรือนเล็ก  คือบ้าน คือออฟฟิศ คือคาเฟ่ของ Baan Lek Villa โฮมสเตย์ขนาดเล็กในเมืองจันท์ โดยคนจันท์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวจันท์ GLA Design Studio DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: GLA DESIGN STUDIO ‘Ruen Lek เรือนเล็ก‘ เป็นอาคารที่ออกแบบอย่างเรือนพื้นถิ่น มีการเปิดรับภูมิอากาศทรอปิคัลใต้ถุนสูง ถูกแทนที่ด้วยฟังก์ชันของคาเฟ่ ทำเพื่อรับแขกที่ไม่ได้มาค้างคืน ณ บ้านเล็กวิลล่า แต่อยากมาเสพบรรยากาศสบาย ๆ ของเมืองจันทบุรีในแบบชั่วครั้งชั่วคราว “อยากกลับไปบ้าน หอบงานไปทำแบบสบาย ๆ ในพื้นที่ที่เราออกแบบเอง ตอนแรกก็ทำบ้านเล็กวิลล่า แต่พอถึงเวลาก็เต็มตลอด รับแขกตลอด ก็เลยทำเรือนเล็กขึ้นมา ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา ส่วนชั้นล่างก็ให้น้องชายทำคาเฟ่ที่ตอบโจทย์กับแขกของบ้านเล็กวิลล่าไปพร้อมกัน” – รินระดา นิโรจน์ (สถาปนิก) บ้านบ้านที่ชอบในความทรงจำ ‘เรือนเล็ก’ ออกแบบชั้นล่างให้เป็นระดับเดียวกับพื้นดินของบริเวณโดยรอบ เช่นเดียวกับ บ้านเล็กวิลล่า ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องการคงความเป็นใต้ถุนบ้านเอาไว้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมนั้นทำงานร่วมกัน เรือนทั้งสองหลังก่อให้เกิดพื้นที่ตรงกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แขกที่มาคาเฟ่ชอบไปนั่งเล่น […]