- Home
- room
room
รวมฮิต 8 แบบบันไดงานช่างที่ควรมีติดบ้าน
บันไดงานช่าง เป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่ควรมีติดบ้านไว้ เพราะสามารถช่วยให้เราทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการทำงานในที่สูงๆ ใครกำลังคิดจะซื้อบันได ไปดูบันไดงานช่างยอดฮิต 8 แบบที่เราแนะนำกัน บันไดเก้าอี้ คุณสมบัติ : บันไดงานช่าง แบบง่ายๆ ที่ทำจากพลาสติกใช้หยิบ หรือเก็บสิ่งของในที่ที่สูงไม่มากนัก เพราะมีความสูงเพียง 40.5 เซนติเมตร อาจใช้หยิบเครื่องปรุงจากตู้ครัว เครื่องมือช่างจากห้องเก็บของ หรือเป็นเก้าอี้นั่งพักเหนื่อยก็ยังได้รับน้ำหนักได้ : 120 กิโลกรัมราคา : 259 บาท บันไดอเนกประสงค์ คุณสมบัติ : ทำจากอะลูมิเนียม สามารถปรับระดับความสูงได้ตั้งแต่ 2.40 – 4.80 เมตร โดยเปลี่ยนฟังก์ชันได้หลายรูปแบบ อาทิ ทำเป็นบันไดพาด-ข้ามสิ่งกีดขวางเพื่อตัดแต่งกิ่งไม้ ใช้แทนนั่งร้านยาวสำหรับงานทาสี หรือจะนำแผ่นไม้มาวางพาดเพื่อทำเป็นโต๊ะทำงานก็ยังได้ แต่เนื่องจากมีน้ำหนักมาก จึงเหมาะกับมืออาชีพมากกว่านำมาใช้ในบ้าน หรือที่พักอาศัยทั่วไป นอกจากนี้เวลากางบันไดออก ยังใช้พื้นที่มาก จึงไม่เหมาะกับพื้นที่เเคบ ๆรับน้ำหนักได้ : 120 กิโลกรัมราคา : 3,800 บาท บันไดอะลูมิเนียม […]
เปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์ เป็นจริงได้ที่ Normal Shop
เปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์ ไปกับร้านสะดวกซื้อรักษาสิ่งแวดล้อมที่คิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่คือสิ่งที่ควรจัดการให้เป็นปกติให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพราะเพียงแค่ทุกคนรู้จักการเลือกใช้และจัดการขยะของตัวเองตั้งแต่ต้นทางแล้ว ปัญหาทุกอย่างที่เหลือก็จะง่ายดายขึ้นในทันที บ้านและสวนได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณนัท-ภัทริน จิตรกร หนึ่งในหุ้นส่วนของ Normal Shop คอมมูนิตีสไตล์แบบไร้ขยะที่อยากให้ทุกคนทำสิ่งเหล่านี้ได้จนกลายเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับชื่อร้านที่บอกทุกคนว่า สิ่งนี้คือความ “Normal” ที่ทุกคนก็ทำได้ ภายใต้แนวคิดการเลือกใช้สินค้าต่าง ๆ อย่างเข้าใจ เเละรู้จักจัดการกับขยะรวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เริ่มต้นที่ตัวเรา… ทีละนิดแบบไม่เครียดจนเกินไป บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินปัญหาสิ่งแวดล้อมในสเกลที่ใหญ่ เช่น ปัญหาโลกร้อน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ภาวะเรือนกระจก หรือปัญหาการจัดการขยะแบบมหภาค แต่ในแนวคิดของ Normal Shop นั้น กลับมองว่าการที่เราจะก้าวไปสู่การจัดการปัญหาเหล่านั้นได้ในระยะยาว ควรเริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมของตัวเอง “เราไม่ได้มาบอกว่า ถ้าทำไม่ได้แล้วจะเป็นเรื่องผิด มันไม่ได้จำเป็นต้องเป๊ะร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราอยากสร้างทางเลือก หรือสร้างความเป็นไปได้ให้แก่ผู้ที่สนใจสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้จริง ๆ เขาอาจจะทำได้แค่เรื่องสองเรื่อง อย่าง การนำขวดมาเติมน้ำยา แต่ถึงเขาจะไม่ได้พกหลอด พกแก้ว แค่นั้นมันก็ช่วยได้เยอะแล้ว ซึ่งพอเขาเริ่มชิน ต่อไปก็จะง่ายขึ้น นั่นคือสิ่งที่ Normal Shop นำเสนอ เพราะถึงเราจะใช้ชื่อว่าช็อป แต่เราตั้งใจเป็นเหมือนชุมชนมากกว่า […]
วิถีเกษตร คนเมือง ที่ดีต่อใจและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันกับ Uncleree Farm
“วิถีเกษตร ปลูกผักไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้มีใครปลูกแล้วงามมาตั้งแต่แรก บางคนอาจจะท้อโดนแมลงกวนบ้าง เป็นโรคบ้าง ยิ่งคนเมืองมีวิถีชีวิตที่ไม่ได้มีเวลามาก เราเป็นเหมือนกับ Solutionที่จะช่วยให้พวกเขาเริ่มต้นกับสิ่งนี้ได้ ให้เขาผ่านด่านแรกไปให้ได้ พอเขาทำได้แล้วที่เหลือก็จะง่ายขึ้น” บ้านและสวน ได้มีโอกาสพูดคุยถึงแนวคิด Eco กับ ลุงรีย์ หรือ ชารีย์ บุญญวินิจ แห่ง Uncleree Farm ถึงแนวคิดของความ Eco ในแง่มุมต่าง ๆ และบทบาทที่ Uncleree Farm ตั้งใจจะทำให้ วิถีเกษตร นั้น เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสำหรับคนเมือง จักรวาลที่เริ่มจากปุ๋ยไส้เดือน สู่การพี่งพาตัวเองและการเปลี่ยนขยะมูลฝอยให้เป็นประโยชน์ “หลายคนจะรู้จัก Uncleree Farm จากการทำปุ๋ยไส้เดือน แต่เบื้องลึกกว่านั้นคือ เราพูดถึงการพึ่งพาตัวเอง อย่างวัน ๆ หนึ่งเราทานอาหารสามมื้อ ก็จะก่อให้เกิดขยะสามมื้อเช่นกัน ถ้าเรารู้จักการนำเศษอาหารเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นปุ๋ยได้ เราก็สามารถพึ่งพาตัวเองและจัดการกับขยะที่เราก่อได้ไปพร้อม ๆ กัน หลาย ๆ คนเริ่มความคิดในการทำเกษตรจากการไปซื้อดินซื้อปุ๋ยมาปรุง ซื้อมาก็ต้องหาแร่ธาตุมาเพิ่ม ไหนจะจุลินทรีย์ ไหนจะฮอร์โมนพืชเยอะแยะมากมาย […]
เคล็ดลับการ ลด ปัญหาบ้านร้าว พัง รั่ว เปื้อน
ลด ปัญหาบ้านร้าว พัง รั่ว เปื้อน ด้วย Basic Details ง่ายๆแต่ได้ผล ซึ่งสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของปัญหาได้ด้วยดีเทลเล็กๆ ในระหว่างก่อสร้าง พื้นส่วนต่อเติม หากมีการทำพื้นแยกโครงสร้างกัน เช่น พื้นส่วนต่อเติม ไม่ควรปูวัสดุทับรอยต่อ แนะนำให้ทำร่องของรอยต่อให้เป็นแนว เมื่อเกิดการแตกร้าว รอยร้าวจะอยู่ในแนวที่ทำไว้ ไม่ลามไปส่วนอื่น มีตัวอย่างดีเทลรอยต่อพื้นดังนี้ ปัญหาบ้านร้าว รอยต่อพื้นส่วนต่อเติมระดับเดียวกัน ควรเว้นช่องประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วยาแนวด้วยวัสดุยืดหยุ่น เมื่อพื้นส่วนต่อเติมทรุดก็จะไม่ทำให้พื้นบ้านเสียหายลุกลาม รอยต่อพื้นส่วนต่อเติมต่างระดับ ให้เว้นระยะพื้นภายนอกกับพื้นบ้าน 15-20 เซนติเมตร แล้วโรยกรวดตกแต่ง หากพื้นทรุดตัวไม่เท่ากันก็จะไม่เห็นรอยแตก มุมผนัง ป้องกันมุมผนังหรือมุมเสาเสียหายจากการกระแทกด้วยการลบมุมให้มนหรือเอียง 45 องศา หรือจะที่อาจมีการกระแทกให้ครอบมุมด้วยวัสดุทนทาน เช่น เหล็กฉาก รอยต่อผนัง รอยต่อของวัสดุเป็นจุดที่เสียหายได้ง่าย แต่ละวัสดุสามารถดีไซน์ลดความเสียหายได้ เช่น ปูน ทรายล้าง หินล้าง เซาะร่องทุกระยะ 3-4 เมตร ลดปัญหาพื้นผิวแตกร้าวจากการขยายตัวของวัสดุ ไม้ การต่อไม้แบบ “เข้าลิ้น” […]
How to ติดวอลล์เปเปอร์ และซ่อมแซมด้วยตนเอง
ปัญหาที่เกิดกับการ ติดวอลล์เปเปอร์ นั้นมีมากมาย อาทิ กระดาษหลุดลอก พองเป็นตุ่ม มีรอยฉีกขาด หรือหลุดหายไปบางส่วน ซึ่งการแก้ปัญหานั้นก็มีวิธีการที่แตกต่างกันไป แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ด้วยตนเอง เราจึงอยากมาบอกเคล็ดลับในการจัดการกับวอลล์เปเปอร์ ทั้งวิธีการติด และซ่อมแซมที่คุณก็ทำเองได้ อ่าน : วิธีคำนวณพื้นที่สำหรับติดวอลล์เปเปอร์ วิธี ติดวอลล์เปเปอร์ ด้วยตนเอง 1. ก่อนอื่นต้องปรับพื้นผิวผนังให้เรียบเสมอกันแล้วกำหนดระยะการติดวอลล์เปเปอร์ โดยวัดระยะห่างจากขอบวงกบประตู หรือมุมห้องประมาณหนึ่งความกว้างของวอลล์เปเปอร์แล้วใช้ลูกดิ่งปล่อยจากเพดานถึงพื้น จากนั้นใช้ชอล์ก หรือดินสอขีดตามแนวเชือก เพื่อยึดเป็นแนวติดกระดาษ 2. ตัดวอลล์เปเปอร์ให้สูงกว่าผนังจริง 10 เซนติเมตร แล้วทากาวลาเท็กซ์ หรือกาวสำหรับติดวอลล์เปเปอร์ที่ด้านหลังให้ทั่ว เว้นริมไว้ข้างละประมาณ 5 เซนติเมตร ไม่ต้องทากาว 3.เริ่มติดวอลล์เปเปอร์แผ่นแรกจากขอบวงกบประตู ให้ริมอีกด้านอยู่ในแนวเส้นที่ทำเครื่องหมายไว้ โดยดึงแผ่นวอลล์เปเปอร์เบา ๆ แล้วลูบกระดาษให้ติดกับผนังอย่างเบามือและรวดเร็ว 4.ใช้แปรงที่มีสันเรียบไล่ฟองอากาศจากกึ่งกลางไปหาขอบแต่ละด้าน และจากบนลงล่างจนทั่วแผ่น แล้วตัดขอบด้านบนและด้านล่างของวอลล์เปเปอร์ที่เกินออก ส่วนการติดตั้งแผ่นต่อมาให้จัดลายให้ตรงกับแผ่นแรกโดยใช้วิธีทาบแผ่น ใช้คัตเตอร์ตัดแล้วดึงเศษวอลล์เปเปอร์ด้านในออก 5.จากนั้นทากาวลาเท็กซ์ริมขอบที่เว้นไว้ แล้วใช้ลูกกลิ้งกลิ้งทับรอยต่อให้สนิท ถ้ามีกาวไหลออกมาจากรอยต่อ ใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดกาวออกให้หมด หากปล่อยไว้จะเกิดคราบเหลือง ๆ ได้ […]
พุก อุปกรณ์ยึดติดนอตหรือสกรูกับพื้น-ผนัง
“พุก” คืออุปกรณ์สำหรับช่วยยึดนอตหรือสกรูเข้ากับพื้นและผนัง ซึ่งมีหลายชนิดมาก มารู้จักพุกแต่ละชนิด เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งาน พุกพลาสติก หรือพุกตัวหนอน เป็น พุก ที่เหมาะกับงานง่าย ๆ ที่มีน้ำหนักไม่มาก เช่น การแขวนรูปภาพประดับผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป เมื่อขันสกรูเข้าไป ตัวหนอนจะพองขึ้นและยึดแน่นติดกับปูน พุกเหล็ก เหมาะกับการใช้งานในที่ร่ม และงานที่ต้องการรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เช่น งานติดตั้งเสารับน้ำหนักบนพื้นคอนกรีตของโรงรถ งานยึดฝ้าเพดานเพื่อแขวนแชนเดอเลียร์ พุกสำหรับคอนกรีตบล็อก มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพุกตัวหนอน แต่บริเวณลำตัวของพุกจะมีสันหรือลอนถี่มากกว่า ทำจากในลอนซึ่งมีความเหนียวและแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้สูงกว่าพุกพลาสติกทั่วไป พุกเคมี พุกแบบนี้เราไม่ได้ใช้เองในบ้าน เพราะเป็นอุปกรณ์ของช่างก่อสร้างอาชีพ แต่ก็น่าจะรู้จักไว้ ช่างจะเจาะรูที่เสา หรือพื้นคอนกรีตแล้วสอดพุกเข้าไป จากนั้นจะใช้สว่านเจาะพุกให้แตก แล้วสอดเหล็กเส้น หรือตะปูเกลียวเข้าไป กาวเคมีที่อยู่ในหลอดแก้วจะช่วยยึดให้ติดแน่น พุกสำหรับงานยิปซัม เนื่องจากเนื้อในของยิปซัมจะมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักน้อยกว่าผนังแบบอื่น ๆ ลำตัวของพุกชนิดนี้จึงออกแบบให้มีลักษณะเป็นแฉก เมื่อเราขันสกรูเข้าไป พุกจะกางออกที่ด้านในของแผ่นยิปซัม พุกสำหรับคอนกรีตมวลเบา ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นเกลียวคมที่สามารถยึดติดกับเนื้อของอิฐมวลเบาได้ดี และมีประสิทธภาพดีกว่าพุกพลาสติก พุกตะกั่ว เหมาะกับงานกลางแจ้ง เนื่องจากรับน้ำหนัก และทนต่ออุณหภูมิความร้อนภายนอกบ้านได้ดีกว่าพุกพลาสติกหรือพุกเหล็กซึ่งเกิดสนิมได้ง่าย เช่นการติดตั้งแท็งก์บรรจุ น้ำดื่มน้ำใชที่ตั้งอยู่บนระเบียงหรือดาดฟ้า เรื่อง : คันยิก้า […]
มีดทำสวน มีดการเกษตร และการเลือกใช้งานที่เหมาะสม
มีดทำสวน มีดการเกษตร สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือคนที่กำลังเริ่มทำแปลงเกษตร อาจมีคำถามขึ้นมาบ้างว่า เราควรจะเลือกซื้อมีดใช้งานในไร่ในสวนแบบไหน ชนิดไหนดี ให้เหมาะกับงานของเรา บ้านและสวนขอรวบรวมมีดการเกษตรพื้นบ้านมาตอบข้อสงสัย เพื่อการใช้งานที่ช่วยประหยัดแรงในการลงแปลงกัน มีดเหน็บ อีเหน็บ – มีดติดตัวประจำเรือกสวนไร่นา อันดับแรกของ มีดทำสวน ขอเริ่มต้นด้วยมีดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมีดอเนกประสงค์ประจำสวน ประจำไร่ หรือเข้าป่าแบบไม่นาน มีดชนิดนี้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ตัดไม้ รานกิ่ง ตัดแต่งกิ่ง ผ่าฟืน มีปลายแหลมใช้ป้องกันตัวจากสัตว์ร้าย ขุดเห็ด ขุดสมุนไพร และยังใช้ปลายแทงตัดหน่อไม้ในกอไผ่ได้ดี เรียกว่าสารพัดประโยชน์ โดยมีการแบ่งประเภทย่อยออกไปอีก 2 แบบ คือ มีดเหน็บภาคเหนือ หรือมีดเหน็บพม่า ซึ่งจะมีปลายเรียวแหลมและโค้งลงมากกว่าอีกประเภทคือ มีดเหน็บภาคกลาง หรือมีดเหน็บไทย ความยาวใบมีดมาตราฐานของเหน็บภาคเหนือจะยาวประมาณ 9 นิ้ว แต่เหน็บภาคกลางจะประมาณ 11 นิ้ว แต่ทั้งสองชนิดก็ใช้งานได้ไม่ต่างกันแล้วแต่คนถนัด เรียกมีดเหน็บเพราะพกพาสะดวก เหน็บได้ไม่หนักเกินไป มีดหวด มีดขอ มีดพร้า(ชื่อเรียกทางภาคใต้) – เกิดมาเพื่อเคลียร์ความรก ใครที่มีที่รกร้าง […]
5 ปรากฏการณ์ ECO ที่กลายเป็น New Normal ไปแล้วในปัจจุบัน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในกระแสที่มาแรงมาก ๆ ก็คือกระแสของความ ECO จากการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพปากท้องของผู้คนที่ต้องป่วยไข้กันมากขึ้นทุกวัน รวมทั้งปัญหาแหล่งอาหารของโลกที่นับวันจะมีตัวเลือกน้อยลงเรื่อย ๆ นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าวิถีทางของความ ECO นั้น คือคำตอบของอนาคตอย่างชัดเจน และวันนี้บ้านและสวนจะมาเล่าให้ฟังถึงปรากฏการณ์ ECO ที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเรากว่าที่เคย อ่าน : ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิถีพอเพียง 1.Sharing Economy เป็นลักษณะที่เข้ากันได้ดีกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในปัจจุบัน กล่าวคือเป็นแนวคิดสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เน้นการเช่าแทนการซื้อ ซึ่งเกิดประสิทธิผลขึ้นได้จากความสามารถทางด้านเทคโนโลยี และข้อมูลดิจิทัลในโลกออนไลน์ปัจจุบัน ที่ทำให้การจับคู่ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สามารถเลือกและเข้าถึงสินค้าเเละบริการต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อมาเป็นเจ้าของ เช่น รถยนต์ ที่อยู่อาศัย จักรยาน หรือเครื่องใช้ภายในบ้านขนาดใหญ่ต่าง ๆ ส่งผลให้โมเดลธุรกิจประเภทนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์กลายเป็นหนึ่งธุรกิจดาวรุ่ง มีผู้ประกอบการหลายรายหันมาเปิดบริการจำนวนมาก จนนับได้ว่ามีผู้ประกอบอยู่ในธุรกิจรูปแบบนี้เป็นหลักร้อยทีเดียว กลายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจว่า เหตุใดธุรกิจเหล่านี้จึงยังคงมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่เราจะเห็นได้จาก Co-Working Space ที่กระจายตัวอยู่ในหลากหลายทำเล หรือแม้แต่ Co-Living Space ที่ผู้คนเลือกจะแบ่งปันพื้นที่อยู่อาศัยร่วมกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น พื้นที่ครัว หรือพื้นที่ซักผ้า คงเหลือไว้แต่พื้นที่ส่วนตัวอย่าง […]
มุ้งลวดขาด เสียหาย เปลี่ยนหรือซ่อมได้อย่างไร
มุ้งลวด เป็นสิ่งที่บ้านเขตร้อนและมียุงชุกชุมอย่างในไทยเราแทบจะขาดไม่ได้ ไปดู วิธีซ่อมมุ้งลวด หรือเปลี่ยนมุ้งลวดใหม่ด้วยตัวเองกัน มุ้งลวด เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญประจำบ้านที่ติดตั้ง เข้ากับกรอบของบานประตู-หน้าต่างเพื่อป้องกันยุงและแมลง ในยามที่เปิดออกให้อากาศได้ถ่ายเท แต่บ่อยครั้งมักเกิดการ ชำรุดเสียหายด้วยฝีมือลูกน้อยวัยกำลังซน เขี้ยวเล็บของ น้องหมาน้องแมว หรือการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ทำให้ จากอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันกลายเป็นช่องโหว่ที่ปล่อยให้ยุงและ แมลงสามารถบินเข้ามาภายในบ้านได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น เมื่อมุ้งลวดอยู่ในสภาพชำรุดเสียหาย ก็ควรรีบซ่อมแซมหรือ เปลี่ยนให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ วิธีซ่อมมุ้งลวด แบบที่ 1 วิธีซ่อมมุ้งลวด ที่มีรอยรั่วขนาดเล็กหรือรอยขาดเป็นแนวยาว ขั้นตอนที่ 1 ตัดแต่งรอยขาดและเก็บขอบลวดที่ชำรุดเสียหายให้เรียบร้อย ขั้นตอนที่ 2 ตัดเทปกาวซ่อมมุ้งลวดให้มีขนาดใหญ่กว่ารูที่ขาดเล็กน้อย ขั้นตอนที่ 3 ลอกฟิล์มกาวออก แล้วแปะเทปกาวซ่อมมุ้งลวดทับ รอยชำรุด ใช้มือกดเทปกาวติดกับมุ้งลวดให้แนบสนิท เรียบร้อย เท่านี้มุ้งลวดก็กลับมาใช้ได้ดีดังเดิม แบบที่ 2 วิธีเปลี่ยนมุ้งลวดทั้งบาน ขั้นตอนที่ 1 ใช้คีม ไขควง หรือที่หนีบดึงขอบเส้นยางหรือขอบอะลูมิเนียมของกรอบหน้าต่างออกทั้ง 4 ด้าน ขั้นตอนที่ 2 ลอกแผ่นมุ้งลวดเก่าออก แล้วปัดฝุ่นทำความสะอาดตามขอบร่องต่างๆ ขั้นตอนที่ 3 ตัดแผ่นมุ้งลวดใหม่ให้มีขนาดใหญ่กว่ากรอบด้านละประมาณ 1 […]
7 วิธีป้องกันบ้านพังจาก ความร้อนและความชื้น
ความร้อนและความชื้น ทำให้บ้านพังได้! เช่น ผนังแตก ขึ้นรา อยู่อาศัยไม่สบายและสิ้นเปลืองพลังงาน มาดูวิธี กันร้อน กันชื้น ให้บ้านกัน 1. ใส่ฉนวนกันความร้อนที่หลังคา สามารถติดตั้งได้ 3 ตำแหน่ง คือ บนพื้นผิวหลังคา ใต้วัสดุมุงหลังคา และบนฝ้าเพดาน โดยแนะนำให้ป้องกันความร้อนตั้งแต่ชั้นหลังคา ก็จะลดความร้อนได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน เพราะความร้อนที่ผ่านหลังคาลงมาจะน้อยลงและมีโอกาสระบายออกทางช่องระบายอากาศก่อนลงมาถึงฝ้าเพดาน หรืออาจติดตั้งหลายตำแหน่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น กันร้อน กันชื้น 2. ป้องกันแดดและฝน หลังคาบ้านควรทำชายคายื่น 1-1.5 เมตร เพื่อป้องกัน ความร้อนและความชื้น จากแดดและฝน หากหลังคาไม่มีชายคา จะทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย เช่น ผนังแตก สีลอก ขึ้นรา น้ำซึม 3. ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนและคราบน้ำ ลดความเสียหายจากน้ำฝนได้ด้วยการทำขอบคานเอียงเข้าจะช่วยลดการเกิดคราบน้ำที่ผนังได้ ยกระดับฝ้าชายคาให้สูงกว่าขอบคานป้องกันฝ้าเสียหายจากน้ำฝน และทำ “บัวหยดน้ำ” ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนเข้าบ้าน 4. ป้องกันความชื้นจากดิน ถ้าจำเป็นต้องทำพื้นบ้านเตี้ยหรือติดดิน ควรปูแผ่นพลาสติกหรือวัสดุกันซึม หรือเทคอนกรีตรองพื้นก่อนทำพื้นบ้าน พร้อมทำระดับท้องรางระบายน้ำให้ต่ำเพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้เร็ว (แต่ต้องไม่ต่ำกว่าทางระบายน้ำสาธารณะ) […]
คอร์ตกลางบ้านกับต้นไม้ใหญ่ของบ้านเรียบง่ายสไตล์เซน
บ้านดีไซน์อบอุ่นเรียบง่าย เชื่อมโยงทุกคนด้วย คอร์ตกลางบ้าน บรรยากาศเเบบสวนญี่ปุ่น พร้อมมุมมองที่เปิดโล่งเย็นสบาย สัมผัสใกล้ชิดกับธรรมชาติตามวิถีเเห่งเซน
กำแพงแยก ปัญหาใหญ่ที่แก้ไขให้ดูดีได้ด้วยฉากอะลูมิเนียม
กำแพงแยก เพราะบ้านทรุด เป็นปัญหาที่หลายบ้านต้องเผชิญ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ แม้จะใช้ซิลิโคนปิดรอยแล้วก็ตาม เเต่กำเเพงยังเเยกตัวขยายลุกลามออกไปได้อยู่ดี วันนี้เราจึงมีวิธีแก้ปัญหาด้วยการใช้ “ฉากอะลูมิเนียม” มาฝาก รับรองได้ถึงความทนทาน แม้จะใช้งานผ่านไปนานเเค่ไหน กำเเพงก็ยังคงดูดีเเละเเข็งเเรงเหมือนเดิม แก้ปัญหา ส่วนต่อเติมบ้านทรุด กำแพงแยก กำแพงแยก Q. ทำไมกำแพงจึงแยกออกจากกัน? A. ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับส่วนต่อเติมของบ้าน นั่นเป็นเพราะว่าส่วนตัวบ้านหลักกับส่วนที่ต่อเติมนั้นไม่ได้มีฐานรากร่วมกัน โดยมากส่วนครัวหลังบ้านมักจะใช้เสาเข็มขนาดสั้นตอกลงไปก่อนก่อสร้าง ความแตกต่างของเสาเข็มนี้ทำให้ทั้งสองส่วนของบ้านทรุดตัวไม่เท่ากัน และทำให้เกิดปัญหา “กำแพงแยก” ออกจากกันในที่สุด Q. ซิลิโคนช่วยได้ไหม? A. บางท่าน (ซึ่งเคยได้ยินมาจริง ๆ) เข้าใจว่า การฉีดซิลิโคนปิดรอย จะสามารถหยุดการแยกตัวออกของกำแพงบ้านได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ซิลิโคนเป็นเพียงวัสดุที่เข้าไปเติมเต็ม “ช่องว่าง” ของกำแพง ไม่ได้มีแรงเพียงพอที่จะยึดเหนี่ยวกำแพงไว้ด้วยกัน ฉะนั้นแม้จะฉีดซิลิโคนจนเต็มรอยแยกไปแล้ว แต่ก็ไม่อาจหยุดการทรุดตัวของอาคารที่ไม่เท่ากันได้ Q. จะแยกไปถึงเมื่อไหร่? A. การทรุดตัวนั้นจะเกิดขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะดินในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นดินเหนียว แต่เมื่อผ่านปีที่ 3-4 ไปแล้ว จะเกิดการทรุดตัวที่ช้าลง จนแทบไม่ทันสังเกต(แต่ยังทรุดตัวอยู่) ซึ่งเรียกได้ว่าช้าพอที่จะจัดการรอยแยกได้ง่ายขึ้น […]