บทความโดย room - Page 11 of 12

กาแฟไทย AKHA AMA COFFEE สาขาใหม่ที่โตเกียว

กาแฟไทย Akha Ama Coffee สาขาใหม่ ที่โตเกียว กาแฟอาข่าอาม่ากับการเดินทางครั้งใหม่ของการเปิดร้านที่โตเกียวร่วมกับหุ้นส่วนชาวญี่ปุ่น

Mystery Mind Maps สารคดีถอดรหัสจักรวาล ภาพยนตร์โดย Raphael Treza

Mind Maps ประหลาดที่เชื่อว่าหลายคนคงเคยพบ คือลวดลายคล้ายแผนผังบางอย่างตามถนนหนทาง กำแพง ตอม่อ หรือแม้แต่ตู้ชุมสายโทรศัพท์ที่คล้ายจะมีความหมาย แต่ก็ไม่สามารถถอดความใด ๆ ออกมาได้ และผู้ที่พบเห็นก็คงจะสงสัยว่า ใครกันคือผู้อยู่เบื้องหลังลวดลายเหล่านี้? เขาทำไปเพื่ออะไรกัน? และความหมายของมันคืออะไร? ซึ่งไม่ใช่แค่พวกเราเท่านั้นที่สงสัย แต่ Raphael Treza นักสารคดีที่เคยได้มาเยือนไทยก็สงสัยเช่นกัน เขาจึงตามหาคำตอบ จนสำเร็จออกมาเป็นสารคดีชุด Mystery Mind Maps a movie by Raphael Treza อ่านบทความศิลปะอื่นๆ : งานศิลปะที่บอกเล่าเรื่องราวความคิดในมุมมองของตัวเองของ Untitled_29 กว่าครึ่งของสารคดี คือการเสาะหาที่มาของลายแทง ผ่านการบอกเล่าของผู้พบเห็นอย่าง แม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์ คนไร้บ้าน ฯลฯ และระหว่างที่สารคดีค่อย ๆ ดำเนินไป Raphael ก็ได้พบกับ “พิชัย” ในที่สุด! พิชัย รัตรพรชัย คือชายที่ผิดหวังในชีวิต หลังออกจากทัณฑสถานด้วยคดีบางอย่าง เขาพบว่าตัวเองถูกให้ออกจากราชการ ประกอบกับการจากไปของคนในครอบครัว Raphael จึงเริ่มอยากได้คำตอบต่อทุกสิ่งที่ค้างคาในใจว่า […]

เรียนรู้จาก Covid19 กับแนวทางวางผังพื้นที่อาหารของเมือง โดย UDDC

Covid19 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของคนทั้งโลกไปในเวลาเพียงแค่ไม่กี่เดือน และไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกนั้นต้องบอกเลยว่าทุกๆคนต่างก็รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก อ่าน :  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มดีขึ้น  เราก็ได้เห็นว่ามีหน่วยงานหนึ่งได้นำเสนอ “มาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง” ให้ร้านอาหารและแหล่งอาหารได้นำไปใช้ ด้วยรูปแบบและวิธีคิดที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงได้ขอพูดคุยถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ Covid19 โดย คุณปูน ปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย urban design and development ของ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center) หรือที่เรามักจะได้ยินในชื่อ UDDC นั่นเอง room : จากตัวอย่างแนวทางมาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง 4 รูปแบบนั้น อยากทราบถึงแนวคิดเบื้องหลัง หลักคิด ก่อนที่จะกลายมาเป็นแนวทางทั้ง 4 ของ UDDC UDDC : ต้องเกริ่นก่อนว่า UDDC นั้นมีความสนใจในการออกแบบเมืองอยู่แล้ว  มันคือการออกแบบเพื่อคนที่อยู่อาศัยในนั้นจริงๆ […]

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย ในจังหวัดขอนแก่น

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย น่าสนใจในการเลือกใช้วัสดุและการตีความวิถีคนในถิ่นอีสานปรับพื้นที่ใต้ถุนแปรเปลี่ยนเป็นการจัดวางพื้นที่ต่อเนื่องกัน

demolition cost

งานรื้อถอน และราคาประเมินกลางที่ควรรู้สำหรับเจ้าของบ้าน

งานรื้อถอน เป็นอีกงานที่มองข้ามไม่ได้ในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะสร้างบ้าน หรือก่อสร้างอาคารใด ๆ โดยเฉพาะงานรีโนเวตที่จะต้องเข้าไปจัดการกับสภาพเดิมของพื้นที่ งานรื้อถอน จึงเป็นขั้นตอนเริ่มเเรก ก่อนจะลงมือทำการก่อสร้างตามแบบต่อไป แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่า งานรื้อถอน มีราคาค่าจ้างอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ บ้านและสวนจึงไม่รอช้ามาเฉลยคำตอบให้คุณแล้ว เช่นเดียวกับงานก่อสร้าง งานรื้อถอน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามแต่ละส่วนประกอบของบ้าน โดยราคานี้เราหามาจาก หนังสือบัญชีราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานปี 2567 (อ้างอิงตามบัญชีค่าแรงงาน กรมบัญชีกลาง) โดยกลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนักอำนวยการ สำนักงานคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ในความเป็นจริงอาจจะแพงกว่าราคานี้อยู่ที่ 10-40% ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ทำเลที่ตั้ง และการตกลงเรื่องการขนทิ้งกองเศษวัสดุอย่างไร ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้รื้อถอนจะรวมกองเศษวัสดุไปขายต่อเอง หากเจ้าของต้องการจัดการกับเศษวัสดุเอง ก็ต้องตกลงกันเป็นกรณีพิเศษไป *อย่างไรก็ตาม ขอให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อเป็นตัวตั้งต้นในการประเมินงบประมาณ ทางที่ดีคือต้องสอบถามราคาและเปรียบเทียบจากช่างรับเหมารื้อถอนโดยตรง งานรื้อถอนโครงสร้าง งานรื้อถอนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก : 200-250 บาท/ลูกบาศก์เมตร งานรื้อถอนโครงสร้างไม้ : 150-250 บาท/ตารางเมตร งานรื้อถอนหลังคา งานรื้อถอนโครงหลังคา : 25-30 บาท/ตารางเมตร งานรื้อถอนวัสดุมุงหลังคา : 5-8 บาท/ตารางเมตร […]

บ้านขนาดเล็ก ที่สวนกับบ้านเป็นพื้นที่เดียวกัน

บ้านขนาดเล็ก ของคนรักต้นไม้ กับการออกแบบพื้นที่พักอาศัยโดยผนวกสวนเเละฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ภายในบ้านบรรยากาศโปร่งสบายเเบบดับเบิ้ลสเปซ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: STUDIO LOCOMOTIVE บ้านขนาดเล็ก หลังนี้ เริ่มต้นจากความชื่นชอบต้นไม้ และรักสัตว์ ของ คุณปริม-ปาริชาติ พัดบุรี อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่อยากสร้างบ้านแบบไม่เป็นหนี้ในจังหวัดภูเก็ตบ้านเกิด แต่ด้วยข้อจำกัดทั้งงบประมาณและขนาดที่ดิน คุณโปร-คุณธนาฒย์ จันทร์อยู่ สถาปนิกแห่ง Studio Locomotive จึงออกแบบโดยมุ่งความสำคัญไปที่การตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตพื้นฐานเป็นเรื่องแรก เช่น เรื่องความปลอดภัย พื้นที่เพื่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการวางแผนเกี่ยวกับขั้นตอนและความซับซ้อนด้านการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับงบประมาณ ไปพร้อม ๆ กับการช่วยประหยัดพลังงานระหว่างวัน ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นเป้าหมายของการออกแบบบ้าน ให้เป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างที่คู่สามีภรรยาต้องการ บ้านหลังนี้มีลักษณะด้านหน้าเเคบเเละยาวลึกเข้าไปด้านใน ดูคล้ายกับรูปแบบของอาคารพาณิชย์ แต่ด้วยการตั้งอยู่ในที่ดินของตัวเอง เจ้าของจึงสามารถเปิดช่องด้านข้างอาคารได้ เพื่อให้เเสงเเละอากาศถ่ายเทได้ดี  สว่างปลอดโปร่ง ไม่ร้อน โดยได้เลือกทำช่องเปิดด้านหน้า ด้านหลัง และกลางบ้าน โดยเฉพาะช่องเปิดที่กลางบ้าน ซึ่งมีเเสงธรรมชาติส่องเข้ามาจากบนหลังคาที่ยกสูงขึ้น ช่วยให้ความร้อนลอยตัวออกสู่ภายนอกได้ และช่องเปิดนี้ยังใช้หลังคาเเบบใส แสงจึงส่องเข้ามาถึงพื้นที่ใช้สอยทุกส่วนในบ้านได้ ขณะที่บันไดและทางเชื่อมห้องนอนยังทำมาจากเหล็กตะแกรง แสงสามารถลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่างอย่างทั่วถึง เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ซึ่งเป็นคอร์ตสวนอยู่ในบ้าน บ้านหลังนี้ยังเลือกใช้วัสดุและเทคนิคในการก่อสร้างโดยอิงจากความเข้าใจและความสามารถพื้นฐานของช่างในพื้นที่ […]

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัย แห่งพัทลุง

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้  คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า  “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน    แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]

วัสดุทำ ระแนงกันแดด เลือกไม่ยากอย่างที่คิด

ระแนงกันแดด เป็นวิธีหนึ่งในการช่วยป้องกันเเสงเเละความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน แถมยังพรางสายตาได้เป็นอย่างดี โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบติดตั้ง นอกจากนี้วัสดุที่เลือกมาใช้ก็สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นไม้ โลหะ ไวนิล ฯลฯ ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นเเละด้อยเเตกต่างกันไป ลองมาทำความรู้จักกับวัสดุเหล่านั้นกันก่อน เพื่อให้คุณเลือกได้อย่างเหมาะสมทั้งการใช้งานเเละงบประมาณในกระเป๋า เลือกวัสดุผนังโปร่งและแผงระแนง ตัวช่วยให้บ้านอากาศถ่ายเท ระแนงกันแดด ระแนงกันแดด ไม้จริง เมื่อคิดจะทำระแนงตกแต่งหรือบังแดด แน่นอนว่าไม้เป็นวัสดุอันดับแรก ๆ ที่เรานึกถึง ทั้งนี้เป็นเพราะความอบอุ่นจากสีของเนื้อไม้ และลายไม้ที่สวยงาม ไม้ที่นำมาทำระแนงกันแดดจึงควรเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง เเละไม้เต็ง เพราะมีความแข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดี ไม้ที่นิยมนำมาทำระแนงมีหลายขนาด อาทิ 1X2 นิ้ว , 2×2 นิ้ว ฯลฯ โดยก่อนนำมาใช้ควรทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ รวมถึงน้ำยาป้องกันแมลงกินไม้ต่าง ๆ เสียก่อน เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของระแนงไม้ให้ยาวนานยิ่งขึ้น (ราคาเฉลี่ยระแนงไม้จริงตารางเมตรละ 2,500 – 3,000 บาท ขึ้นไป) ไม้เทียม วัสดุที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนไม้จริง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ที่ชื่นชอบการตกแต่งบ้านด้วยไม้ และช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า มาพร้อมคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน ที่สำคัญปลวกมอดไม่กิน ปัจจุบันไม้เทียมที่นิยมใช้งานกันอยู่มี […]

แผงโซลาร์เซลล์

แผงโซลาร์เซลล์ มีกี่แบบ ควรเลือกอย่างไร?

แผงโซลาร์เซลล์ ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีคำถามอีกมากมาย อาทิ  แผง อะไรดีกว่ากัน อายุการใช้งานกี่ปี บ้านและสวนเตรียมคำตอบไว้ให้แล้ว

ดูแลรักษาก๊อก ฝักบัว สายชำระด้วยตัวเองจากการ รั่วซึม และอุดตัน

สำหรับการดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องน้ำนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การทำความสะอาด แต่บางครั้งยังต้องจัดการกับปัญหาการ รั่วซึม เมื่อพบว่ามีน้ำหยดหรือรั่วซึมออกจากก๊อกน้ำ ฝักบัว และสายฉีดชำระ เราควรรีบหาสาเหตุแล้วจัดการแก้ไขโดยด่วน เพราะการปล่อยให้น้ำรั่วซึมตลอดเวลา ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเงินในกระเป๋าที่เราต้องจ่ายเงินค่าน้ำประปาแพง ๆ เเน่นอน ก๊อกน้ำรั่วซึม ซ่อมเองได้ง่ายๆ    เมื่อก๊อกอ่างล้างหน้ารั่วซึม เมื่อพบว่าก๊อกน้ำบริเวณอ่างล้างหน้ารั่วซึม มีน้ำไหล หรือหยดออกจากหัวก๊อกตลอดเวลา จนแอบหวั่นใจกลัวจะเปลืองน้ำไปโดยใช่เหตุ ความผิดปกติดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุนอต หรือสกรูยึดหัวก๊อกหลวม แหวนยางกันซึม (O ring ) ขาด หรือเปื่อย การแก้ไข กรณีที่มีน้ำไหลบริเวณมือหมุน หรือหัวก๊อก เบื้องต้นให้ใช้ไขควงขันนอตที่ยึดหัวก๊อก (ภาพประกอบ1) ให้แน่น ถ้ายังรั่วซึมอยู่อีก ให้ถอดตัวก๊อกออกมา เพื่อตรวจดูสภาพภายในของระบบวาล์วว่ามีการสึกหรอหรือไม่ ทั้งนี้การรั่วซึมอาจเป็นเพราะแหวนยางกันซึม หรือ O ring ซึ่งอยู่ตรงกลางของตัววาล์วฉีกขาด หรือแผ่นยางควบคุมการเปิด-ปิดน้ำที่อยู่ส่วนปลายของวาล์วเสื่อมสภาพ หากพบว่ามีการชำรุดบริเวณจุดใดก็ให้เปลี่ยนใหม่ โดยหาซื้ออะไหล่ได้ตามร้านขายสุขภัณฑ์ทั่วไป เทคนิคการเปลี่ยนแหวนยาง อันดับแรกให้ปิดวาล์วส่งน้ำ หรือ Stop Valve ก่อน (น้ำจะได้ไม่ไหลเลอะเทอะ) จากนั้นจึงใช้คีม หรือประแจไขตัวก๊อกออกมา เพื่อเปลี่ยนแหวนยาง O […]

บ้านมินิมัล ที่รีโนเวตจากบ้านเก่า เพิ่มด้วยพื้นที่คอร์ตอเนกประสงค์

แบบบ้านมินิมัล ที่รีโนเวตจากบ้านสองหลังในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งเดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านหนึ่งหลังที่มีบ้านอีกหลังหนึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า และถูกเรียกว่า "บ้านรอง" ซึ่งบ้านรองนี้ได้ถูกปล่อยเช่าให้ทำธุรกิจต่าง ๆ มาตลอด จนกระทั่งถึงเวลาหนึ่งที่คุณสุกี้-ชมไพศาล และคุณปอย-วิศทา ด้วงวงศ์ศรี เจ้าของบ้านตัดสินใจกลับเข้าอยู่ที่บ้านหลังนี้ ด้วยเหตุผลของทำเลซึ่งอยู่ใกล้กับที่ทำงาน และที่สำคัญคือการที่กำลังจะมีลูกน้อย การีโนเวตบ้านหลังนี้จึงเริ่มต้นขึ้น

รวมวัสดุฟีลไม้ สำหรับคนที่กลัวปลวกขึ้นบ้าน

ไม้ เป็นวัสดุตกแต่งบ้านที่หลายคนชื่นชอบ แต่อาจเจอกับปัญหาปลวก วัสดุทดแทนไม้ จึงเป็นอีกตัวเลือกที่สวยเหมือนจริง แต่ปลวกไม่กินแน่นอน ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างและตกแต่งมีให้เลือกมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้น “ไม้” นั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะความอบอุ่นจากสีของเนื้อไม้ ลวดลายที่สวยงาม และสัมผัสที่รู้สึกดี แต่ต้องยอมรับว่ามีสิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนยังกังวลเกี่ยวกับไม้ก็คือปัญหาเรื่องปลวก วันนี้บ้านและสวนจึงอยากนำเสนอทั้งไม้ที่ผ่านกรรมวิธี กันปลวก วัสดุทดแทนไม้ และวัสดุเลียนแบบลายไม้ รับรองว่าสวยงาม ใช้งานได้อย่างดี เเละไม่มีปลวกมากล้ำกรายแน่นอน Engineered Wood – วัสดุกลุ่มไม้เอนจิเนียร์ 1. ไม้เรดิไพน์ ไม้สนพันธุ์เรดิเอต้าจากป่าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นไม้จริงที่ได้นำมาผ่านกระบวนการอบแห้ง และอัดน้ำยารักษาเนื้อไม้ตามหลักวิศวกรรม จึงมีความแข็งแรง ทนทาน เเละปลวกไม่กิน แถมยังมีการเซาะร่องไม้อย่างสวยงาม เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคาร 2. Tekwood ไม้จริงที่ผ่านกระบวนการ Heated Treatment Technology โดยการเปลี่ยนโครงสร้างภายในของเนื้อไม้ให้มีความแข็งแกร่งขึ้น ลดการผุพังตามธรรมชาติ และลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไม้ เช่น การยืดหดตัว เเละการบิดโก่ง ที่สำคัญยังปราศจากสารเคมีจึงปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง 3. ไม้ OSB ยางพารา […]