บทความโดย room - Page 3 of 12

Cher Hostel Bangkok เปลี่ยนโฉมร้านเหล็กเก่า สู่โฮสเทลย่านสุทธิสาร

ย่านสุทธิสารเป็นย่านขยายตัวของเมืองของฝั่งรัชดา – พระราม 9 อีกทั้งยังใกล้แหล่งท่องเที่ยวย่านห้วยขวางที่เติบโตจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จึงทำให้ย่านมีธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มากขึ้นในยุคปัจจุบัน ตึกแถว 2 คูหานี้จึงเปลี่ยนโฉมจากร้านเหล็กธุรกิจในทาวน์โฮมเก่ากว่า 20 สู่โรงแรมขนาดเล็ก โดยขยายขนาดเป็น 4 ห้องคูหาโดยพื้นที่ทุกชั้นจัดสรรฟังก์ชันการใช้สอยอย่างคุ้มค่าใน Cher Hostel Bangkok ที่ตกแต่งด้วยสไตล์ Modern Luxury และเป็นที่โดดเด่นในย่านนี้เลยทีเดียว DESIGNER DIRECTORY: ตกแต่ง : Kirin Design & Living  “เฌอ” ชื่อโรงแรมซึ่งเป็นชื่อที่มาจากชื่อลูกสาว แปลว่าต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นแนวคิดหลักของโรงแรม ใช้สีหลัก คือ สีเขียว และสีทอง โดยสีทองนั้นยังเป็นสีพื้นผิวอเนกประสงค์ที่จับคู่สีใด ๆ ก็ยังให้ความรู้สึกที่หรูหรา สง่างาม เมื่อนำสีทองมาจับคู่กับสีเขียวที่สื่อถึงความสดชื่น ร่มรื่น ช่วยเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับพื้นที่มากขึ้น อีกทั้งขับสีทองให้ดูเด่นขึ้น นอกจากนี้ สีเขียว และทองก็เป็นสีที่ดูแลรักษาง่ายอีกด้วย โดยความต้องการของเจ้านั้น คือการรีโนเวตที่เป็น Luxury Hostel #แนวคิดการออกแบบ เมื่อเป็นการรีโนเวตในงบประมาณที่จำกัด […]

MITBURY THE PUBLIC HOUSE คาเฟ่ใต้ร่มไม้ใหญ่ ร่มรื่นส่วนตัวหลังกำแพงช่องลม

Mitbury The Public House คาเฟ่บรรยากาศร่วมสมัยท่ามกลางแมกไม้ในพื้นที่ระหว่างถนนสายแม่ริม-สะเมิงและลำน้ำแม่สา ที่ตั้งใจให้อาคารมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จำเป็น และเปิดรับพื้นที่ภายนอกอาคารใต้ร่มไม้ให้มากที่สุด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : WOS Architects และ Estudioออกแบบสวน: ชินมิษ บุนนาค, อภิสรา ฉวีวงษ์ และสวนนงนุช #สถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงสู่ธรรมชาติทั้งเชื่อมโยงสู่ธรรมชาติ แต่ก็เป็นขอบกั้นพื้นที่การใช้งานไปพร้อมกัน สถาปัตยกรรม และอาคารในโครงการนี้ ออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์ของพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นลำหุบและมีต้นไม้ใหญ่โอบล้อมเป็นสำคัญ “จากโจทย์และลักษณะเฉพาะของพื้นที่ แทนที่จะสร้างอาคารอยู่ริมน้ำ ผู้ออกแบบเลือกที่จะวางตัวอาคารทั้งหมดมาอยู่ชิดแนวเนินดินริมถนน เว้นที่ว่างหลบต้นไม้เดิม พรางตัวอาคารด้วยแนวผนังอิฐบล็อกช่องลม โดยตั้งใจให้ตัวสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เสมือนแนวขอบเขต และทางผ่าน (Threshold) ไปสู่ธรรมชาติ เมื่อมองมาจากบนถนนที่อยู่ระดับสูงกว่าอาคาร จะเห็นสะพานทางเข้าอยู่ใต้ต้นก้ามปูขนาดใหญ่ นำคนเดินข้ามตัวอาคารไปสู่วิวของป่าและลำน้ำ ที่ปลายสะพานเป็นบันไดทอดยาวลงไปสู่สวนที่ถูกซ่อนไว้ด้านล่าง ซึ่งเปรียบเสมือนห้องโถงใหญ่ของโครงการ ที่สวนด้านล่างนี้จะห้อมล้อมไปด้วย ลำธาร โขดหิน เนินดิน ต้นไม้ใหญ่ และผนังบล็อกช่องลมที่ช่วยอำพรางห้องน้ำ ห้องครัว และส่วนเซอร์วิสไว้ด้านหลัง โดยมีตัวร้านเล็ก ๆ ยื่นออกมาจากแนวผนังให้ผู้มาเยื่อนได้เข้าไปสังอาหารแล้วออกมานั่งทานในสวน” #กลมกลืนกับบริบทด้วยอาคารที่ถูกแบ่ง และวัสดุสีเอิร์ธโทนเพื่อให้สถาปัตยกรรมไม่ข่มบรรยากาศจนเกินไป การออกแบบให้เป็นอาคารขนาดเล็กหลายหลัง รวมทั้งการเลือกวัสดุอาคารที่มีโทนสีกลมกลืนไปกับพื้นที่โดยรอบ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกร่วมไปกับบรรยากาศธรรมชาติได้มากขึ้น “ตัวอาคารในโครงการแบ่งเป็นอาคารชั้นเดียวขนาดเล็ก […]

Live Again by The Design & Objects Association นิทรรศการคืนชีวิตให้วัสดุเหลือทิ้ง ในอาคารเก่าสุดคลาสสิก E.M Kratip – Fazal Building

กว่า 27 Brand จัดแสดงผลิตภัณฑ์ ด้วยแนวคิดที่จะนำของที่ไม่ใช้แล้วจากที่ต่าง ๆ หรือของที่เหลือจากขบวนการผลิตในโรงงาน นำกลับมาทำเป็นชิ้นงานที่สามารถใช้ได้อีก โดยใช้การออกแบบและให้สีสันที่สวยงามทำให้ของน่าใช้ดูเหมือนเป็นของใหม่ โดยชิ้นงานที่จะทำได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ ของแต่งบ้าน กระเป๋า และ ฯลฯ (รายละเอียดชิ้นงานตามภาพ) Creating extraordinary one off design pieces using discarded or repurposed materials. In the exhibition, the D + O members show how a new life circle for a discarded or upcycled material can be used to create furniture, lighting, […]

อาคารชีวานามัย ออกแบบอาคารจัดการขยะอย่างไร? ให้เป็นมิตรต่อบริบทเมือง

อาคารจัดการขยะ? เป็นมิตรต่อพื้นที่โดยรอบได้จริงหรือ? นี่คือตัวอย่างการออกแบบอาคารจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อหน่วยงานโดยรอบ ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ของรูปลักษณ์ที่สดใส และมีต้นไม้ช่วยปรับทัศนียภาพ รวมทั้ง การออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดกลิ่นรบกวนออกไป และทำให้ขยะแห้งไวขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการขยะที่ง่ายขึ้น กับ “อาคารชีวานามัย” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Waste Management Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok โดย ARCHITECTS 49 LIMITED โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีขยะที่เกิดขึ้นและต้องจัดการในปริมาณที่มากถึง 16 ตันต่อวัน และมีปริมาณถังขยะหมุนเวียนมาทำความสะอาด ตากถังขยะ และส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมากถึง 600 ถังต่อวัน รวมทั้งมีการปฏิบัติงานภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากพื้นที่อาคารจัดการขยะเดิม มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการ จึงมีความต้องการจัดสรรพื้นที่ และอาคารหลังใหม่ที่มีการออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดการขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะพิษ ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่พักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล […]

บ้านสไตล์โมเดิร์นนอร์ดิก เล่นระดับ พร้อมฟังก์ชันอยู่ร่วมกับน้องแมว

บ้านสไตล์โมเดิร์นนอร์ดิก ที่อยู่ได้จริงในภูมิอากาศไทย หลังนี้เป็นบ้านขนาดชั้นครึ่ง ที่ใช้การเล่นระดับเพื่อปรับการใช้งานพื้นที่ให้พอดีกับ 2 คน กับ 1 แมว อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ativich #พื้นที่ดินเดิม เพิ่มเติมคือออกแบบใหม่เดิมพื้นที่ส่วนนี้คือทาวน์เฮาส์ จำนวน 3 คูหา ที่ได้ถูกรื้อถอนออกไปเพื่อใช้ในการปรับให้กลายเป็นพื้นที่ใหม่ นั่นก็คือบ้านเดี่ยวขนาด 1 หลัง ซึ่งออกแบบให้มีการเล่นระดับซ่อนเหลื่อมความสูงกันใน 2 ส่วนของตัวบ้าน #จังหวะทีละครึ่ง ไม่ห่างเกินไป ใช้งานได้ดีจะเห็นได้ว่า จากที่จอดรถสู่ห้องนั่งเล่นมีการยกพื้นขึ้นครึ่งชั้น และจากห้องนั่งเล่นไปสู่ห้องนอนได้ยกพื้นขึ้นไปอีกครึ่งชั้น และทับอยู่เหนือที่จอดรถอย่างพอดิบพอดี การออกแบบนี้ไม่ใช่แค่เพียงเป็นการเชื่อมต่อพื้นที่ของบ้านแต่ละส่วนให้มีมุมมองสายตาต่อเนื่องกัน เพื่อเป็นผลในการสร้างความรู้สึกโปร่งโล่งมากขึ้น แต่ยังเป็นการเชื่อมต่อการรับรู้ต่อกันของสมาชิกในบ้าน ช่วยกระชับความสัมพันธ์ต่อกันได้อย่างดีอีกด้วย #บ้านน้องแมว บนพื้นที่แบบโมเดิร์นนอร์ดิกหลังคาจั่วของบ้านหลังนี้ ออกแบบตามความชื่นชอบของเจ้าของบ้านที่ต้องการบ้านคล้ายกระท่อมสองหลังปลูกติดกัน การออกแบบให้กลายเป็นหน้าจั่วเล็ก ๆ นี้ จึงเป็นทั้งภาพจำของบ้านที่แสดงถึงบรรยากาศอบอุ่นซุกซนส่วนภายในนอกจากพื้นที่หลักที่เล่นระดับกันแล้ว ก็ยังมีมุมปีนป่าย หรือหย่อนใจให้กับน้องแมวตัวโปรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหน้าต่างบานใหญ่ที่เติมแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในได้ตลอดวัน และหน้าต่างกลมที่หันออกไปยังสวนที่เป็นมุมโปรดของน้องแมวไปโดยปริยาย #Designtips ออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกในไทยหลังคาจั่วทรงสูง ไร้ชายคา อาจฟังดูย้อนแย้งกับภูมิอากาศไทย แต่สไตล์นอร์ดิกก็เกิดขึ้นได้หากอย่างจะทำ โดยที่เราควรจะมองหาทิศแดดที่ถูกต้องเสียก่อนว่าหน้าจั่วด้านที่เปิดรับแสงนั้นหันสู่ทิศเหนือหรือไม่ เพราะทิศเหนือเป็นทิศที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง จึงได้รับแสงสว่างกำลังดี และรับความร้อนน้อยกว่าทิศอื่น […]

มีอะไรใน Villa Savoye? พาตามรอยข้ามโลกไปชมบ้านหนึ่งหลังที่สถาปนิกทุกคนต่างรู้จักดี

9,444 กิโลเมตร คือระยะห่างของกรุงเทพฯ – ปารีส ทำไม? ใคร ๆ ต่างเดินทางค่อนโลก เพื่อไปพบ “บ้านหนึ่งหลัง” ที่ชื่อ Villa Savoye และเราจะพาทุกคนออกเดินทางไปเพื่อไปพบกับวิลล่าซาวอย บ้านที่ทรงอิทธิพลที่สุดหลังหนึ่งในวงการสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น นี่คือบ้านที่ในชีวิตสถาปนิก และเด็กถาปัตย์ฯ คนไหนก็ตาม ต้องเคยได้ยินชื่อ เพราะเป็นชื่อที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในชั้นเรียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตลอดเวลา แม้จะผ่านเวลามากว่า 95 ปีแล้ว “วิลล่าซาวอย” (Villa Savoye) ก็ยังเป็นบ้านที่เป็นหมุดหมายสำคัญให้ต้องไปเยือนสักครั้งในชีวิต บ้านหลังนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1931 หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของสถาปนิกชาวสวิส-ฝรั่งเศส เลอ กอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier 1887-1965) แม้จะเป็นเพียงบ้านหลักเล็กขนาด 480 ตารางเมตร แต่วิลล่าซาวอยกลับทำหน้าที่ต้อนรับแขกผู้มาเยือนประมาณปีละ 40,000 คน โดยอยู่ใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลฝรั่งเศสที่เปิดให้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ #อะไรที่ทำให้บ้านหลังนี้เป็นหมุดหมายของคนทั่วโลก ดูจากแค่รูปบ้าน บ้านหลังนี้มีรูปลักษณ์ภายนอกที่อาจดูไม่ได้พิเศษอะไรไปกว่าบ้านหลังอื่น ๆ ที่เราเห็นทั่วไปในยุคปัจจุบัน เรียกว่าธรรมดาเสียจนอาจรู้สึกว่าเหมือนบ้านหน้าปากซอยในยุคนี้ แต่สิ่งที่ทำให้เราต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาดูเป็นเพราะถ้าเราลองจินตนาการเพื่อพาตัวเองย้อนกลับไปเมื่อ 95 ปี ที่แล้ว […]

ปรับปรุงบ้านพักครูอายุ 50 ปี ด้วยดีไซน์ใหม่แบบจัดเต็ม แต่ลดทอนให้เรียบง่าย งบไม่บานปลาย ใช้งานได้ดีกว่าเดิม

บ้านพักครู อาคารไม้เก่า ๆ ไร้การดูแล ที่อยู่ของครูบรรจุใหม่ เหมือนเป็นเรื่องตลกร้ายที่มักเห็นได้ตามนิยาย หรือละครไทย แต่นี่คือเรื่องจริงที่ครูหลายคนต้องพบเจอ และอาคารหลังนี้ก็เช่นกัน อาคารบ้านพักครูอายุ 50 กว่าปี ของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคาร จากเดิมที่เป็นอาคารเก่าทรุดโทรม วันนี้ได้รับการบูรณะใหม่ โดยฝีมือการออกแบบของ Parin+Supawut ซึ่งเป็นการออกแบบปรับปรุงอาคารด้วยความคาดหวังว่า จะให้เป็นต้นแบบในการนำไปประยุกต์ออกแบบปรับปรุงอาคารบ้านพักครูในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยต่อไป #เน้นซ่อมไม่เน้นสร้างใหม่ให้งบประมาณทำงานได้จริง “บ้านพักครูของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคารหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2513 จากแบบสำเร็จโดยเป็นอาคารบ้านพักครูแบบกรมสามัญตามพิมพ์เขียนที่ถูกใช้ในโรงเรียนอีกหลายแห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บ้านพักครูมักจะเป็นส่วนที่งบประมาณการปรับปรุงนั้นไม่เคยตกลงมาถึง นั่นทำให้บ้านพักครูเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง และเป็นผลให้ภาระกลับไปตกอยู่กับครูทั้งหลายต้องออกไปเช่าบ้านพักด้วยเงินของตัวเองเดือนละหลายพันบาท “การออกแบบในครั้งนี้จึงเป็นการเน้นกระบวนการซ่อมแซม และรักษาโครงสร้างเก่าของบ้านไว้แทนที่การออกแบบอาคารใหม่ทั้งหมด เพื่อเป็นต้นแบบในการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารในรูปแบบเดียวกันนี้ในที่อื่น ๆ ของประเทศ ด้วยความคาดหวังที่จะทำให้ บ้านพักครู เป็นอาคารที่ใช้ได้จริง อยู่ในงบประมาณที่เป็นไปได้ และมีการปรับปรุงพื้นที่หลาย ๆ ส่วนให้ลงตัวต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การขยายพื้นที่ครัวให้เชื่อมต่อกับห้องนั่นเล่น การเปิดช่องแสงเพิ่ม เพื่อสร้างส่วนพักผ่อน และอ่านหนังสือที่รับแสงธรรมชาติไม่อุดอู้อย่างเดิม โดยในการใช้งานวัสดุนั้น ก็นำไม้อัดที่เลือกใช้ไปออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ เตียง ที่มีขนาดสัดส่วนเหมาะกับการใช้งาน ร่วมกับบ้านพักครูหลังนี้ไปพร้อมกัน” #ดีไซน์ให้มากเพื่อลดภาระงานก่อสร้างให้น้อย […]

ประกาศแล้ว! รางวัล SIDA 2023 Singapore Interior Design Awards

รางวัลที่สุดแห่งวงการออกแบบภายในของสิงคโปร์ Singapore Interior Design Awards (SIDA) 2023 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลทั้งหมด 260 โครงการ SIDA 2023 รางวัลด้านการออกแบบภายในที่มีชื่อเสียงที่สุดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกาศรางวัลของปีนี้ พร้อมด้วยรางวัลพิเศษอีก 3 สาขา ได้แก่ “Young Designer of the Year” “Design Educator of the Year” และ “Lifetime Achievement Award” โดยมีนักออกแบบจากหลากหลายประเทศที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง และไต้หวัน Ms Low Yen Ling รัฐมนตรีแห่งรัฐ กระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และเยาวชน และกระทรวงการค้า และอุตสาหกรรม ของสิงคโปร์ กล่าวว่า “งานมอบรางวัลนี้ […]

การรีโนเวตของจุดกำเนิด แห่งแบรนด์คาร์เทียร์ THE NEW 13 rue de la Paix ศิลปะแห่งการแปลงโฉมอาคาร

เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ คือสถานที่ซึ่งเป็นดั่งมหาวิหารแห่งคาร์เทียร์ แบรนด์แฟชั่นชั้นนำของโลก และนี่คือศิลปะแห่งการแปลงโฉม ที่สถาปนิกชั้นยอดกำลังจะปรับให้สถาปัตยกรรมแห่งนี้ก้าวสู่ยุคสมัยถัดไป เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ คือจุดกำเนิดและแหล่งความทรงจำร่วมของเมซง จึงมีฐานะเป็นหนึ่งในสามวิหารแห่งคาร์เทียร์ โดยอีกสองแห่งอยู่ที่ถนนบอนด์สตรีท กรุงลอนดอน และถนนหมายเลข 5 (5th Avenue) ในนิวยอร์ก นั่นเอง ที่แห่งนี้คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของฌานน์ ตูแซงต์และหลุยส์ คาร์เทียร์ คือแหล่งกำเนิดรูปแบบเชิงสุนทรียศาสตร์และสร้างสรรค์ของแบรนด์ที่มีความเป็นหนึ่งแต่มีมากกว่าหนึ่ง มีเอกลักษณ์และเป็นสากล จึงเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจไม่รู้จบ สำหรับการรังสรรค์สมบัติล้ำค่าแห่งอดีตและอนาคต อาคารใหม่ที่ได้ฤกษ์เผยโฉมในวันนี้เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ไม่ได้เป็นของสมัยใด แต่ให้ความเคารพทุกสมัย ไม่ติดกับสไตล์ใด แต่เชิดชูทุกสไตล์โดยไม่มีการยกเว้น และได้นำรหัสแห่งปารีสมาตีความใหม่อย่างเสรีและใส่ความเป็นละครลงไป นำเสนอความเป็นเมืองหลวงฝรั่งเศสในแบบฉบับที่อลังการ งดงามดังบทกวี และไร้กาลเวลา จากวิวหลังคาไปจนถึงทัศนมิติ และสมบัติลับล้ำค่าของเมือง วิสัยทัศน์เชิงสถาปัตยกรรมนี้เป็นสไตล์คาร์เทียร์ทั้งหมด และค้นพบพลังในทุกยุคสมัย ทุกวัฒนธรรม ในการที่จะตรึงความงามและความเป็นสากลของแต่ละยุคและแต่ละวัฒนธรรมออกมา ไม่ว่าจะเป็นความงาม ความพิสุทธิ์ ความโอ่อ่าในสไตล์อพอลโลเนียนและไดโอนิเซียน  ด้วยพื้นที่ที่โอ่โถงและเปิดรับแสงสว่าง จึงเป็นสถานที่สำหรับใช้ชีวิตและพบปะกันเพื่อการสร้างสรรค์และจินตนาการ เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ เชิญคุณมาร่วมการเดินทางอันล้ำค่า สู่ใจกลางจักรวาลคาร์เทียร์ ด้วยสถาปัตยกรรมที่มองลึกสู่ภายใน จึงทำให้อาคารนี้เป็นที่ตั้งอันอบอุ่นใกล้ชิดสำหรับอัญมณีที่เลิศล้ำและช่วงเวลาที่ไม่อาจลืม การมาบรรจบกันระหว่างอนาคตกับอดีต […]

นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul เสียงจากที่ไกล เสียงจากหัวใจที่ต้องการเพียง “สื่อสารกัน” ณ BACC

ฉับพลันที่เดินเข้ามาในห้องจัดแสดงของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(BACC) ความวุ่นวายของแยกปทุมวันก็มลายหายไปทันใดที่ปิดประตู คงเหลือแต่สรรพเสียงที่เราไม่คุ้นชิน เสียงของธรรมชาติที่คล้ายแว่วมาจากที่ไกล เสียงของ “ชีวิต” ที่กำลังถูกใช้ในบริบทที่ไม่ใช่เมือง อาจจะเป็นป่าในภูเขาสักที่ เสียงที่กำลัง “พูด” ด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นเคย “เสียง” ที่รับรู้ได้ แม้ไม่เข้าใจความหมาย แต่กลับสื่อสารกันเข้าใจ นี่คือ นิทรรศการที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในชื่อว่า “นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul” โดยความร่วมมือระหว่าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกลุ่มศิลปิน Hear&Found, ศุภชัย เกศการุณกุล และ DuckUnit ซึ่งในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณ ฟ้า กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม และ ภัณฑารักษ์ (Curator) ของนิทรรศการในครั้งนี้ รวมทั้งศิลปินที่มาร่วมจัดแสดงทั้งสามกลุ่ม ถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่แฝงอยู่ใน “เสียง” ที่พวกเขาเลือกนำมาจัดแสดง นำเสนอประเด็นปัญหาผ่านภาษาศิลปะ “ประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำ เป็นความสนใจของตัวฟ้าเองอยู่แล้ว นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งใจสร้างให้เกิดเป็นนิทรรศการนี้ขึ้น แต่ในนิทรรศการนี้จะเลือกใช้ “เสียง” เป็นสิ่งแทนของผู้คนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มันเป็นสิ่งที่เรานึกถึงเมื่อต้องนำมาผูกโยงกับคำว่า […]

บ้านเขาใหญ่ ที่ทุกมิติจะได้สัมผัสกับธรรมชาติ ทั้งภายนอกและภายใน The Hill Residence

The Hill Residence คือชื่อของบ้านหลังนี้ที่ตั้งอยู่บนแปลงนี้ตั้งอยู่กลางหุบเขา ใกล้แนวเขตอุทยานเขาใหญ่ มีภูเขารอบด้าน หลังบ้านเป็นมุม Lake View พื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ ผมต้องการให้บ้านหลังนี้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สัมผัสถึงธรรมชาติและใกล้ชิดธรรมชาติที่สุด เพื่อสัมผัสธรรมชาติในทุกมิติ และทุก ๆ มุมมอง โดยใช้ แสง แดด ลม การเปิดมุมมองทางสายตามาเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบ ตัวบ้านออกแบบให้มี Terrace ยาวตลอดแนว 2 ด้าน ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อและสัมผัสกับธรรมชาติบริบทรอบ ๆ บ้าน ออกแบบให้มีชายคาที่ยื่นยาวปกคลุมTerrace ผู้ออกแบบให้ยื่นยาวมากกว่าปกติ เนื่องจากหน้าบ้านหันไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้และหลังบ้านหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้แดดส่องทแยงลึกในช่วงเช้าและช่วงเย็น ๆ ซึ่งต้องใช้ Cantilever ชายคาช่วยบังแดดโดยทางอ้อมมีผลทำให้กระจกช่องเปิดปลอดภัยจากแสงแดด ภายในมีการออกแบบ Void ด้วยการเจาะช่องเปิด และช่องแสง โดยออกแบบให้ทุกมุมมอง ทุกฟังก์ชั่นของบ้านสามารถ Take วิวธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ความรู้สึกเหมือนได้อยู่กับธรรมชาติตลอดเวลา บ้านหลังนี้เน้นการออกแบบช่องแสง ประตูหน้าต่าง ขนาดใหญ่ ออกแบบประตูบานเลื่อน 2 – 3 รางเลื่อน เพื่อการถ่ายเทอากาศให้ลมผ่านให้มากที่สุด นอกจากนี้แล้ว […]

Milwaukee

เพราะความสร้างสรรค์นั้นเกิดจากการลงมือทำ Detail Space ดีไซเนอร์ที่เลือกใช้นวัตกรรมเครื่องมือไร้สายจาก Milwaukee

เพราะความคิดสร้างสรรค์บางครั้งต้องเริ่มจากการลงมือทำ ลองผิดลองถูกและออกแบบผ่านสองมือ โดยเฉพาะในงานออกแบบ การสร้างแบบจำลองหลายหมื่นหลายพันครั้ง มักจะพาไปยังคำตอบที่สมบูรณ์ได้ในที่สุด เครื่องมือที่ “ดีพอ” ถึงจะตอบโจทย์เหล่านี้ได้อย่างลงตัว วันนี้ เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณบี ไพโรจน์ ชมพักตร์ สถาปนิกและเจ้าของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ Detail Space ที่เลือกใช้ชุดอุปกรณ์จาก Milwaukee ทั้งในการสร้างสรรค์ผลงาน ออกแบบ และรวมไปถึงไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่น่าสนใจแทบทั้งสิ้น ลงมือ สร้างสรรค์ ให้เป็นรูปธรรม “ผมชอบทำงานช่างมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะรู้สึกว่าการที่เราได้สร้างสิ่งที่เราคิดออกมาให้เป็นรูปธรรม มันมีเสน่ห์กว่าไปซื้อของที่สำเร็จมาแล้ว และถ้ายิ่งได้ใช้อุปกรณ์ช่างที่ถูกใจและถนัดมือ  การทำงานช่างมันก็ยิ่งสนุกมากไปขึ้นอีก” “ตอนสมัยที่เป็นสถาปนิก ผมได้มีโอกาสคลุกคลีและลงดีเทลในขั้นตอนการทำเฟอร์นิเจอร์หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่นั้นมาทำให้ผมเริ่มหลงไหลในเครื่องมืออุปกรณ์ช่าง จนมาเปิดสตูดิโอที่พิษณุโลกชื่อ Detail Space  เพราะอยากทำสตูดิโอที่สามารถคิดงานและเสร็จเป็นกระบวนการสร้างเป็นชิ้นงานจริงได้เลย จึงได้เริ่มสะสมเครื่องมือช่างที่ตัวเองชอบตั้งแต่นั้นมา ซึ่งในสตูดิโอนี้จะมีช็อปส่วนตัวของผมที่ใช้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ Detail Space ซ่อม สร้าง หรือประดิษฐ์งานอดิเรกที่ผมรัก เช่น ใช้ซ่อมพารามอเตอร์ ซ่อมมอเตอร์ไซด์ หรือทำสเก็ตบอร์ดขึ้นมาใช้เอง ซึ่งอุปกรณ์ช่างที่ผมเลือกใช้คือผลิตภัณฑ์ของ Milwaukee ครับ ก็เริ่มสะสมจากสว่าน และเพิ่มทีละชิ้นๆ สะสมมาปีกว่าๆจนตอนนี้มีเยอะจนเต็มช็อปอย่างที่เห็น […]