บทความโดย room - Page 6 of 12

คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน

บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา  ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป  “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน  […]

MAYDAY ผู้รังสรรค์ป้ายรถเมล์เปลี่ยนเมือง

ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหนึ่งของคนเมืองในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ก็มีมากมายหลากรูปแบบ บ่อยครั้งที่การเดินทางเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่างง! จะขึ้นรถไปต่อเรือ หรือหาสายรถเมล์ที่ถูกต้องช่างยากเหลือเกิน MAYDAY ทีมนักออกแบบที่เรียกได้ว่าเป็น “นักสื่อสาร” จึงลุกขึ้นมาทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ทั้งยังเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยผ่านงานออกแบบ และ room ก็ได้มีโอกาสในการพูดคุยกับพวกเขาถึงมุมมองและวิธีคิดเพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น MAYDAY นักสื่อสารระบบขนส่งสาธารณะ room : MAYDAY คืออะไร? MAYDAY : “จริง ๆ คนชอบมองว่า เราเป็นนักออกแบบ แต่มากกว่านั้น เราทำเรื่องการพัฒนาสิ่งที่เป็นสาธารณะของสังคมมากกว่า ผ่านการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจ เก็บข้อมูล และทำวิจัย จนปลายทางมันออกมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ “สาธารณะ” ดีขึ้นได้ ในที่นี้พอเป็นป้ายรถประจำทาง จึงเป็นการพัฒนาให้กับ “ระบบขนส่งสาธารณะ” นั่นเอง” ระบบขนส่งสาธารณะแบบเชียงใหม่ room : ล่าสุดที่เห็นป้ายรถประจำทางใหม่ของเชียงใหม่ที่ทาง MAYDAY ได้ไปออกแบบไว้ ส่วนตรงนี้คิดว่า ต่างกับกรุงเทพฯ มากน้อยแค่ไหน MAYDAY : “อย่างในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ […]

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ถูกตีความใหม่ในแบบ BEAUTBUREAU

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังนี้ แท้จริงเป็นบ้านโครงสร้างปูนซึ่งออกแบบโดยคุณบี วิทยถาวรวงศ์ โดดเด่นด้วยโครงไม้ที่ล้อมรัดพื้นผิวทั้งหมดที่ด้านบนของบ้านและดูคล้ายโครงฝาปะกนในบ้านไทยพื้นถิ่นดั้งเดิม ด้วยความที่เป็นสถาปนิกและมีความชื่นชอบสถาปัตยกรรมในแบบไทยประยุกต์อยู่เดิม เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำบ้านและออฟฟิศของตัวเอง การตีความบ้านไทยในบริบทปัจจุบันจึงเกิดขึ้น DESIGNER DIRECTORY :ออกแบบ : Beautbureau เจ้าของ : คุณบี วิทยถาวรวงศ์ ก่อนจะมาเป็นบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้หลังนี้ คุณบีเล่าให้ฟังว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นบ้านเดิมที่คุณบีอาศัยอยู่มาตั้งแต่เด็ก จึงมีความคุ้นชินและผูกพันกับบ้านเดิม ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อเรียนจบทางด้านสถาปัตยกรรมกลับมาจากต่างประเทศ จึงมีโครงการที่จะสร้างออฟฟิศของตัวเอง บนพื้นที่ของบ้านเดิมที่ทางครอบครัวได้รื้อทิ้งไปแล้ว และได้ขยายโครงการออกมาเป็นบ้านที่่แบ่งออกเป็น 3 ยูนิตอยู่อาศัย และพื้นที่ส่วนกลางที่มีทั้งห้องนั่งเล่น ชาน ระเบียง และสวน สลับจัดวางอยู่บนผังแบบ 9 Square Grid ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดที่นักเรียนสถาปัตยกรรมทั่วไปอาจเคยประสบพบเจอเมื่อแรกเรียน “พอเราวางออฟฟิศของเราเป็นก้อนอาคารทางด้านหน้าแล้ว และอีกสามส่วนที่จะกลายเป็นห้องนอนสามห้องแล้ว เราก็เลยเลือกที่จะใช้สวนเข้ามาคั่นกลางระหว่างแต่ละพื้นที่ ชั้นบนก็จะมีชาน คือถึงแม้ว่าจะเป็นครอบครัวเดียวกัน แต่ทุกคนก็น่าจะต้องการพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันก็มีชานและพื้นที่นั่งเล่นที่สามารถใช้เวลาร่วมกันได้ ซึ่งในการออกแบบตรงนี้ก็เหมือนเป็นความชอบของเราด้วย เพราะเราชอบที่จะทอนให้ Mass ของอาคารเป็นพื้นที่ย่อยๆไม่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จนเกินไป เมื่อทำแบบนี้แล้ว การสอดแทรกพื้นที่ว่างให้มีแสงธรรมชาติ ต้นไม้ใบหญ้า และลมพัดผ่านก็จะเกิดขึ้นได้ด้วย” “ถ้าพูดว่าเป็นบ้านของมนุษย์สักคนหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่ออกแบบเองได้แล้ว เราว่ามันก็เหมือนกับเป็นแพ็กเกจบางอย่างที่บรรจุความทรงจำหรือ […]

ถ่านไฟฉาย หน้าตาคล้ายๆ แต่ใช้ไม่เหมือนกัน

แบตเตอรี่พกพา ถ่านไฟฉาย ถ่าน Dry Cell ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร เจ้าอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้าเล็กๆเหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดในปัจจุบัน ซึ่งถ่านไฟฉายเองก็มีหลากหลายขนาดและชนิดของสารประกอบที่นำมาใช้ในการผลิต ซึ่งบ้านและสวนก็ขอนำมาเสนอในแบบที่มักจะพบกันได้ทั่วไปเป็นขนาดและชนิดที่นิยมใช้กัน ถ่านไฟฉายคืออะไร? ถ่านไฟฉาย เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ไม่ใช้สารละลายที่เป็นของเหลว จึงเรียกว่า เซลล์แห้ง (Dry cell) ผู้ที่สร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้คือ เลอ คังเช George Leclanché ผู้ที่สร้างถ่านไฟฉาย ดังนั้น จึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซลล์เลอคังเช โดยทั่วไปนั้นสำหรับถ่านไฟฉายทั่วไปที่เรียกว่า เซลล์แบบ Zinc Chloride ประกอบด้วยแท่งแกรไฟต์อยู่ตรงกลางเป็นขั้วแคโทดมีอิเล็กโทรไลต์เป็นส่วนผสมของแมงกานีส (IV) ออกไซด์ (MnO2) แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) แป้งเปียก ผงคาร์บอน และน้ำคลุกเคล้าอยู่ด้วยกันในลักษณะเป็นอิเล็กโทรไลต์ชื้น สารทั้งหมดบรรจุอยู่ในกล่องสังกะสีอาจหุ้มด้วยกระดาษ แผ่นพลาสติกหรือโลหะสแตนเลส เพื่อป้องกันไม่ให้สารภายในรั่วออกมา ด้านบนของแท่งแกรไฟต์ครอบด้วยโลหะสังกะสีอีกชิ้นหนึ่ง ส่วนด้านล่างมีแผ่นสังกะสีทำหน้าที่เป็นขั้วแอโนด และเมื่อครบขั้นจึงเกิดเป็นพลังงานวิ่งผ่านเซลล์และนำไปใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง ถ่านไฟฉายแบบใช้แล้วทิ้งมีสารประกอบที่เป็นพิษบรรจุอยู่จึงไม่ควรแกะออก ปัจจุบันได้มีความตระหนักถึงปัญหาขยะมีพิษที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เราจึงควรทิ้งถ่านไฟฉายให้ถูกที่เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมไปได้ในตัว แบ่งตามขนาด ขนาด LR44 เป็นถ่านกระดุม ให้กำลังไฟ 1.5 V มีส่วนประกอบเป็น Alkaline สามารถใช้ถ่าน SR44 ทดแทนได้ มักใช้ในกล้องถ่ายภาพและเครื่องคิดเลข ขนาด CR2032 […]

รู้จักหน้าตา สกรู โบลต์ นัท อะไรเรียกว่าอะไรกันบ้างนะ?

สกรู โบลต์ นัท เป็นอุปกรณ์สำหรับการยึดเกาะที่เห็นได้บ่อยมากในงานช่าง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร และอาจซื้อผิดได้ สกรู โบลต์ นัท ใช้สำหรับจับยึดแบบชั่วคราว คือสามารถขัน ไข ออกจากกันได้ มีลักษณะเป็นเกลียว เรียกแบบช่างทั่วไปได้ว่าเกลียดละเอียด และเกลียวปล่อย ซึ่งในที่นี้มีการใช้งานแตกต่างกัน บ่อยครั้งที่แม่บ้านถูกวานให้ไปซื้อสกรู โบลต์ หรือ นัท ให้กับพ่อบ้านที่กำลังง่วนซ่อมแซมอุปกรณ์ในบ้านอยู่ แต่ครั้นพอไปถึงร้านก็ไม่แน่ใจว่าที่ขอให้ไปหามานั้นเรียกว่าอะไร วันนี้บ้านและสวนจึงนำตัวอย่าง สกรู โบลต์ นัท แบบต่างๆมานำเสนอให้คุณผู้อ่านได้พอรู้จักกัน อ่าน : มีดทำสวน มีดการเกษตร และการเลือกใช้งานที่เหมาะสม โบลต์ (Bolt) หรือ สลักเกลียว ลักษณะเป็ฯแท่งโลหะมีหัวกลมหรือเหลี่ยมที่เปลาย มีเกลียวสำหรับยืดติดกับนัท(แป้นเกลียว) ส่วนประกอบหลักคือ แกนโบลต์ (Body) เกลียว (Thread) และ หัว (Head)   สกรู (Screw) เป็นโบลต์รูปแบบหนึ่งที่มีขนาดเล็กและหลากหลายตามการใช้งาน มีหัวแตกต่างกันไปทั้งให้เหมาะกับการใช้งาน และเพื่อจำเพาะไว้สำหรับอุปกรณ์ไขเฉพาะทางเท่านั้น เช่นสกรูหัวสามเหลี่ยมสำหรับเครื่องเกม Nintendo เป็นต้น […]

โรงเรียน ที่เน้นเล่นเพื่อเรียน(รู้) Kensington Learning Space

โรงเรียน แนวคิดใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท Plan Architect แห่งนี้ ไม่ใช่เพียงรูปทรงอาคารที่น่าสนใจและแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป แต่เบื้องหลังของรูปทรงที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากแนวคิดของการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ใช้พื้นที่ตามจินตนาการ ค้นหาการรับรู้ใหม่ผ่านพื้นที่ “เล่น” ที่ปลุกเร้าความสนใจ ด้วยรูปทรงอิสระและผนังโค้งที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ และนี่ก็คือ Kensington Learning Space โรงเรียนสอนพิเศษ ที่เชื่อว่าการเล่นคือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือที่เรียกว่าหลักสูตร Play-based Learning นั่นเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Plan Architect “เรียน ผ่าน การเล่น” กับโรงเรียนที่เป็นเหมือนกับโรงเรียนสอนพิเศษ มีกิจกรรมที่หลากหลาย การสร้างทักษะต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการเล่นเป็นหลัก เพื่อสร้างความรู้สึกให้ผู้เรียน “อยากไปโรงเรียน” เพราะในวัยแรกเรียนรู้เช่นนี้ การสร้างทัศคติที่ดีต่อการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศน่าสนใจและไม่จำเจ เหมือนห้องเรียนที่อยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมอย่างที่เราทุกคนคุ้นชินเมื่อพูดถึง “โรงเรียน” จาก ห้องสี่เหลี่ยม สู่ อาคารรูปวงกลม สำหรับรูปทรงของอาคารแห่งนี้ ทีมสถาปนิกได้เริ่มต้นจากการกำหนดพื้นที่ใช้งานขึ้นก่อน และแบ่งพื้นที่สีเขียวออกตามขนาดที่ดิน จากนั้นได้มีการเรียบเรียงการเข้าถึงแต่ละพื้นที่ด้วยรูปแบบ Linear ไล่เรียงกันไป ด้วยวิธีการนี้ การเข้าถึงแต่ละพื้นที่ทั้งการใช้งานและธรรมชาติโดยรอบ จึงสามารถทำได้ทั้งสองฝั่งของอาคาร การออกแบบอาคารในรูปแบบ Linear ข้างต้นนั้น […]

ทาวน์เฮาส์รีโนเวท หลังนี้มีการจัดการกับพื้นที่และการเข้าถึงคือหัวใจสำคัญของการรีโนเวท เพราะด้วยความที่เป็นร้านของชำติดริมถนน

ทาวน์เฮาส์รีโนเวท จากร้านของชำ 2 ชั้นบนถนนเจริญนคร ที่ดูร่วมสมัยและใช้งานได้ดี

ทาวน์เฮาส์รีโนเวท หลังนี้มีการจัดการกับพื้นที่และการเข้าถึงคือหัวใจสำคัญของการรีโนเวท เพราะด้วยความที่เป็นร้านของชำติดริมถนน จึงทำให้พื้นที่ส่วนตัวและความเป็นสาธารณะนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด สถาปนิกจึงเลือกที่จะกำหนดขอบเขตของพื้นที่ขึ้นจากองค์ประกอบภายในบ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของการใช้งานแต่ละพื้นที่ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: OPH Architects อ่าน : F HOUSE บ้านไม้ที่ใช้ม่านแบ่งห้อง และมีหน้าผาจำลองให้เด็กได้ปีนป่าย ประตูบานม้วนเหล็กถูกใช้กำหนดพื้นที่ระหว่างคนเดินถนนกับภายในบ้าน เคาน์เตอร์กระจกและชั้นวางถูกใช้ในการกำหนดขอบเขตของร้านของชำ จากนั้นด้วยภาษาทางสถาปัตยกรรม การคุมโทนสีขาวและพื้นผิวไม้ที่ดูสะอาดตา พื้นที่เหล่านั้นจะกลายเป็นพื้นที่ส่วนตัวไปโดยปริยาย สร้างให้การใช้งานบ้านมีระเบียบและรู้สึกเป็นส่วนตัวมากขึ้น ผนังกระจกและบานกระทุ้งนั้นถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความหลากหลายในการใช้งาน นั่นคือการเปิดและปิดที่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด แต่มากกว่านั้น จากปัญหาที่พบก่อนการรีโนเวทนั่นคือลักษณะที่ค่อนข้างมืดและการระบายอากาศที่ถ่ายเทได้ไม่ดี ด้วยเหตุนี้เองผนังกั้นที่ชั้น 2 ของบ้านจึงถูกรื้อออกและแทนที่ด้วยบานกระจกฝ้าที่สามารถกระจายแสงธรรมชาติสู่พื้นที่กลางบ้านได้ รวมทั้งการใส่บานกระทุ้งก็สร้างให้การถ่ายเทอากาศทั่วทั้งบ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิ เมื่อพูดถึงการรีโนเวท บ่อยครั้งที่เราจะนึกภาพไปถึงการเปลี่ยนโฉมจากรูปแบบเดิมๆของอาคาร แต่สำหรับบ้านหลังนี้ สถาปนิกเลือกที่จะใส่ใจกับความคุ้นชินเดิมๆและแก้ปัญหาในการใช้งานเสียมากกว่า เพื่อให้ภาพลักษณ์เมื่อเสร็จสิ้นแล้วยังคงความเป็นมิตรที่ดูอบอุ่นสำหรับชุมชน ลูกค้า และผู้ที่เดินผ่านไปมาเมื่อเช่นเดิม ไม่ทำให้เกิดความตะขิดตะขวงใจในการเดินเข้ามาซื้อสินค้าในร้านชำ ซึ่งนี่ก็คือความใส่ใจที่มากไปกว่าแค่งานออกแบบที่น่าสนใจในรูปแบบเพียงเท่านั้น ออกแบบ : OPH Architects โดย ไพลิน หงษ์วิทยากร และ กิตติศักดิ์ ศุภคติธรรภาพ : Napat Pattrayanondเรื่อง : Wuthikorn Sut อัพเดตโลกดีไซน์ได้ทุกวันที่ facebook.com/roomfan

landloard

ระวังเสียที่ดิน! จากการ ครอบครองปรปักษ์ เกิน 10 ปี

ครอบครองปรปักษ์ ใครที่สนใจในแวดวงอสังหาริมทรัพย์และมีที่ดินที่ต้องดูแลอยู่บ้างน่าจะต้องผ่านหูกันมาบ้าง อันที่จริงแล้วการครอบครองปรปักษ์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์

“จากภูเขาสู่ทะเล กับการตีความใหม่ของบริบทธรรมชาติในเพชรบุรี” VALA HUA HIN – NU CHAPTER HOTELS

ประสบการณ์ใหม่ในเวิ้งอ่าวหัวหิน-ชะอำที่บูทีคโฮเทล VALA Hua Hin – Nu Chapter Hotels ซึ่งตีความบริบท Geography Identical ของจังหวัดเพชรบุรีออกมาเป็นงานออกแบบ และพื้นที่ที่แตกต่างกันภายในโรงแรมได้อย่างน่าสนใจ Journey of Transition เริ่มต้นตั้งแต่บริเวณล็อบบี้ของโรงแรม พื้นที่ส่วนนี้ออกแบบให้เป็นป่าอยู่ภายในครอบแก้วขนาดยักษ์คล้ายเทอร์ราเรียม นำพาสู่บริเวณสระว่ายน้ำที่ใช้คอนเซ็ปต์ของ Lagoon หรือเวิ้งน้ำ ซึ่งมีภูเขาคืออาคารที่พักรายล้อม เมื่อผ่านเข้าสู่บริเวณ Beach Front จะสามารถเดินออกไปสู่พื้นที่ส่วนตัวในโซนวิลลาได้ ในส่วนนี้ได้ออกแบบให้เป็นเหมือนกับโอเอซิสที่มีพื้นที่ริมทะเลแบบส่วนตัว พร้อมสระว่ายแบบพูลวิลลา การเปลี่ยนผ่านพื้นที่เหล่านี้เป็นเหมือนการได้เดินทางไปในบริบทของเมืองเพชรบุรีที่รุ่มรวยไปด้วยธรรมชาติทั้งภูเขาและทะเลที่สวยงาม ความพิเศษของ VALA Hua Hin – Nu Chapter Hotels คือความตั้งใจที่จะพัฒนาความยั่งยืนทั้งในแง่ของวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ในส่วนของสิ่งแวดล้อมนั้น ทางโรงแรมมีการเลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่าย การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ และนำวัตถุดิบที่ได้มาใช้ในเมนูต่าง ๆ ของโรงแรม รวมทั้งยังมีความตั้งใจดึงเอาวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ผักผลไม้ตามฤดูกาล หรืออาหารพื้นถิ่นมาประยุกต์ในแบบ Modern Twist ซึ่งนั่นยังรวมไปถึงเครื่องดื่มซิกเนเจอร์สูตรพิเศษที่ทางโรงแรมได้ออกแบบร่วมกับ Vesper บาร์ชื่อดังที่ติดอันดับที่ […]

รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่?

รีโนเวตบ้านชั้นเดียว ให้กลายเป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่? ไม่อยากรื้อบ้านทั้งหลังแต่อยากขยายขึ้นไปชั้นสอง ถ้าตอบตรงๆ ก็คงจะต้องตอบว่า ทำได้จริง! และทำไม่ได้! เพราะมีเงื่อนไขขั้นตอนในแง่ของโครงสร้างและกฏหมายอยู่ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นบ้านและสวนจึงอยากขอแจกแจงให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้จริง ทำได้เพราะอะไร? และถ้าทำไม่ได้ มีหลักการและเรื่องที่ควรคำนึงอย่างไร? เพื่อจะได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจสร้างบ้านหรือต่อเติมต่อไปนะครับ กรณีตอบว่าทำไม่ได้ กรณีออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสอง ทำไม่ได้เพราะ เพราะว่าการออกแบบบ้านนั้นไม่นิยมเผื่อโครงสร้างมากกว่าที่จะสร้าง เหตุผลก็คือในการขออนุญาตนั้นจะต้องทำในครั้งเดียว หากการคำนวญโครงสร้างนั้นมีการเผื่อชั้นสองชั้นสาม การขออนุญาตก็จะต้องขอไปในทันที ซึ่งเขาไม่ทำกันเนื่องจากมีความยุ่งยากเกินไป กรณีตั้งใจออกแบบให้ชั้นสองมีโครงสร้างอยู่ในพิกัดเสาเดิม ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ใช้โครงสร้างเบาเช่น โครงสร้างไม้ หรือ โครงสร้างเหล็ก เพราะไม่ได้ออกแบบรอรับการต่อเติมไว้ อาจก่อความเสียหายกับโครงสร้างเดิมได้ อีกทั้งยังจำเป็นต้องขออนุญาตใหม่อีกด้วย กรณีตอบว่าทำได้ ในกรณีที่ทำได้นั้น สามารถเลือกออกแบบได้หลายวิธี วิธีที่ 1 ออกแบบโดยใช้ฐานรากใหม่ วิธีนี้จะใช้การลงเข็มและทำฐานรากเพื่อทำโครงสร้างของชั้นสองใหม่ ข้อเสียคือจะไม่ได้อยู่ในแนวพิกัดเสาเดิม แต่สามารถออกแบบให้แนวเสาใหม่เข้ามาอยู่ชิดกับแนวเสาเดิมได้ จากนั้นจึงออกแบบให้ชั้นหนึ่งกับชั้นสองต่อเชื่อมเป็นอาคารเดียวกัน*ต้องปรึกษาวิศวกรและสถาปนิกตั้งแต่เริ่มต้น วิธีที่ 2 ออกแบบโครงสร้างชั้นสองด้วยโครงสร้างเบา วิธีนี้คือการรื้อโครงสร้างหลังคาออกมาก่อนแล้วจึงต่อเติมชั้นสองโดยเลือกใช้โครงสร้างเบา ทั้งนี้โครงสร้างเดิมต้องได้รับการพิจารณาจากวิศวกรเสียก่อนว่า สามารถรับแรงได้จริง และปลอดภัย หากเป็นกรณีที่ออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสองอยู่แล้ว อาจพิจารณาเลือกใช้โครงสร้างแบบ “ผนังรับน้ำหนัก” จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด […]

5 ศิลปินต่างชาติ ที่ห้ามพลาดชมใน Bangkok Art Biennale 2020

ศิลปินต่างชาติ ในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ นั้นมีให้เลือกชมอยู่มากมาย แต่สำหรับ Bangkok Art Biennale 2020 หรือ BAB 2020 ในครั้งนี้ room เองยอมรับเลยว่าเลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียวว่าจะไปชมงานของใครกันบ้าง แต่เพื่อให้ง่ายต่อท่านผู้อ่าน เราจึงขอเลือกคัด ศิลปินต่างชาติ 5 ท่านที่เราคิดว่า “ห้ามพลาด!” ด้วยประการทั้งปวง จะมีใครและแสดงที่ไหนบ้างนั้น ไปดูกัน ! อ่าน : BAB 2020 : Bangkok Art Biennale 2020 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เริ่มแล้ว 1. Ai Weiwei ไม่กล่าวถึงไม่ได้จริงๆกับ Ai Weiwei ศิลปินจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ เคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ด้วยผลงานที่ไม่ธรรมดาและหลากหลายไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่รูปแบบหนึ่งๆของ Ai Weiwei อีกทั้งผลงานของเขาก็มักจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง กรณีข้อพิพาทชายแดน […]