- Home
- Design Update
Design Update
สีสัน เส้นสาย และความหมายที่ซ่อนอยู่ ของ Naisu.chirat
Naisu.chirat นักวาดภาพประกอบและศิลปินที่มีลายเส้นเฉพาะตัว ลายเส้นที่เป็นอิสระจากรูปแบบ และกรอบความคิดใดๆ เพราะเธอเชื่อว่า ศิลปะที่แท้คืออิสระภาพที่บุคคลหนึ่งๆนั้นจะได้แสดงออก ศิลปะคือเรื่องของภายในที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ และประสบการณ์ทั้งจากตัวเองและการที่ได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งนั่นเป็นที่มาของเส้นสายและสีสันแบบ Impressionism ที่น่าสนใจอย่างที่เห็น ซึ่งวันนี้ room ได้รับเกียรติจาก Naisu.Chirat หรือ คุณไนซ์ ปริยนาถ จิรัฐฐิติกาล มาพูดคุยถึงแนวคิด และที่มาของสไตล์งาน รวมถึงเกร็ดการทำงานอันน่าสนใจ ที่จะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องขอให้ทุกคนลองไปอ่านดูพร้อมๆกัน กว่าจะมาเป็น Naisu.chirat “เราวาดรูปมาตลอดเลย” คุณไนซ์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “ตั้งแต่จับดินสอได้ก็วาดรูปมาตลอด เราชอบการ์ตูนญี่ปุ่นและโชคดีที่ทางบ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร เค้าไม่ได้มีกรอบมาว่าต้องทำอย่างนั้น หรืออย่างนี้ และเพราะอย่างนี้ ทุกๆเวลาว่างตลอดมาของเราก็จะกลายเป็นเวลาของการวาดรูปไปซะหมดเลย” “แต่ในทางตรงกันข้าม เราก็มีคำถามเหมือนกันเมื่อเป็นผลงานที่มีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องนึงในความทรงจำก็คือการที่ไนซ์วาดชุดนักเรียนสีดำไปส่งงานคุณครูตอนเด็กๆ คุณครูก็บอกว่าจะให้ดาวเพิ่มนะ ถ้าลบสีดำออกจากชุดนักเรียน เราก็ไม่เข้าใจ เกิดเป็นคำถามว่า ทำไมชุดนักเรียนมันจะเป็นสีดำไม่ได้ล่ะ? มันอาจเปื้อนดิน? อาจเป็นโรงเรียนที่ไม่เหมือนที่อื่น? หรือจริงๆแล้วมันจะเป็นอะไรก็ได้หรือเปล่า?” บางครั้งเวลาเราเศร้า เส้นมันก็จะออกมาเศร้า เวลาเรามีความสุข เส้นมันก็จะดูสดใสขึ้น ปล่อยให้งานเผยสิ่งที่อยู่ข้างใน “จากจุดนี้เองที่ทำให้ไนซ์เริ่มต้นค้นหาคำตอบ เรียนรู้ และทดลองเกี่ยวกับการวาดภาพ […]
เปลี่ยนรังผึ้ง เป็นโหลน้ำผึ้ง ที่ทำมาจากขึ้ผึ้ง Bee Loop
ใช้เพียงขึ้ผึ้งร้อยเปอร์เซ็นต์ และเชือกลินินเท่านั้น เพื่อสร้างโหลใส่น้ำผึ้งนี้ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เองภาชนะใส่น้ำผึ้งจาก Bee Loop จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นกัน และมากกว่านั้นคือโหลน้ำผึ้งนี้ไม่เป็นพิษ สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย มีความเป็นออร์แกนิกถึงขนาดที่ถ้าจะกินก็กินเข้าไปได้โดยปลอดภัย(แต่ไม่น่าอร่อย และเชือกที่มาด้วยกันน่าจะทานยาก) Bee Loop ได้สร้างเทคนิคการบรรจุและขึ้นรูปขึ้ผึ้งให้กลายเป็นภาชนะขึ้นมา โดยใช้สีและพื้นผิวของโหลในการแยกประเภทของน้ำผึ้งออกจากกันคือ สีเหลืองหม่นจะเป็นน้ำผึ้งป่า สีเหลืองเข้มสำหรับน้ำผึ้งบัควีท และสีเหลืองอ่อนสำหรับนึกปกติ บนภาชนะมีเพียงการปั้๊มโลโก้ของ Bee Loop ด้วยความร้อนเพียงเท่านั้น และฝั่งเชือกลินินไว้สำหรับรูดเปิดฝาที่ซีลไว้กับตัวภาชนะ(ฝาก็คือขี้ผึ้งที่หลอมเป็นชิ้นเดียวกันจากโรงงาน) ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใช้อาจนำภาชนะที่เหลือไปใช้ทากระดาษเพื่อกันน้ำ ใช้จุดเป็นเชิงเทียน นำไปใส่ของ และอีกมากมาย หรือทิ้งไปตามธรรมชาติก็ย่อมได้ การออกแบบนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าหลักการ Zero Waste เกิดขึ้นได้จริง และ Circular Economy นั้น สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้หากเราค่อยปรับวิถีชีวิตของเราให้ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะงานออกแบบที่ดีจะช่วยให้คุณค่อย ๆ ปรับตัวไปกับวิถีที่ดีต่อโลกได้ในทุกวันแน่นอน ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.beeloop.lt ออกแบบโดย: Pencil and Lion (fb.com/pencilandlion) ภาพ: Bee Loop เรียบเรียง: Wuthikorn […]
SH Kindergarten and Nursery จำลองเทือกเขามาไว้ในโรงเรียนอนุบาล
โรงเรียนอนุบาล ที่มีแนวคิดคือพื้นที่ที่เปี่ยมไปด้วยการผจญภัย จิตวิญญาณ และความสงสัยใคร่รู้ ภายใต้การโอบล้อมไว้ด้วยเทือกเขาทาเทยาม่า
บอกเล่าประวัติศาสตร์กว่า 150 ปีของคลองเปรมประชากรผ่านงานวาดบนผนัง
บอกเล่าประวัติศาสตร์กว่า 150 ปีของ คลองเปรมประชากร ผ่านงานวาดบนผนังด้วยศิลปินจากทั่วประเทศผู้ผ่านเข้ารอบด้วยเทคนิคที่หลากหลาย
KIDS SMILE LABO NURSERY แปลงพื้นที่ในป่ามาไว้ในเนิร์สเซอรี่
KIDS SMILE LABO NURSERY เนิร์สเซอรี่ ที่ถอดลักษณะของป่าในเมืองอัตสึงิทั้ง 8 รูปแบบ มาไว้บนชั้นสองของอาคารให้เด็ก ๆ ได้ผจญภัยและเรียนรู้
พระพิฆเนศ ปางประทานพร รุ่นต้านโควิด
ผลงานศิลปะสะท้อนความเชื่อในยุคโควิด-19 จะเป็นอย่างไรหากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพและยึดเหนี่ยวจิตใจอย่าง “พระพิฆเนศ” จะเปลี่ยนไป ด้วยชุด PPE แบบเต็มยศ แถมยังถือวัคซีนไว้ในมือ สะท้อนให้เห็นว่าในสถานการณ์โรคระบาดที่ย่ำแย่ ความหวังของผู้คนอาจไม่ได้พึ่งเพียงการกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือไหว้พระให้พ้นภัยเพียงอย่างเดียว เพราะคงไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นองค์ พระพิฆเนศ ทรงเครื่องชุด PPE เต็มยศเช่นนี้ แถมยังถือวัคซีนเอาไว้ในมือ ประหนึ่งทรงเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้นำความหวังมาสู้มวลมนุษย์ อย่างไม่รอช้า room จึงยกหูหาดีไซเนอร์ผู้ออกแบบในทันที “เราต้องการแสดงความเคารพและยกย่องแก่พระสงฆ์ บุคลากรการแพทย์ จิตอาสา ผู้สวมชุดPPE ทุกท่านเพื่อยอมอุทิศชีวิตเพื่อผู้อื่น ซึ่งเวลาที่เราได้เห็นข่าวเหล่านั้นมันทำให้เรามองว่าเขาเป็นเหมือนเทพที่มาช่วยคนที่กำลังลำบากเลยนะ” คุณซัน – รตนพรรณ์ เสน่ห์งามเจริญ ศิลปินผู้ออกแบบได้เล่าให้เราฟัง “เราเองก็บูชาพระพิฆเนศอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นเทพแห่งปราชญ์ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศมีความรอบรู้ในศิลปวิทยาทุกแขนง และในหลากหลายตำราก็กล่าวถึงท่านในแง่ของความมีคุณธรรม คอยช่วยเหลือปกป้องสิ่งชั่วร้าย และเป็นยอดกตัญญู เราจึงแทบให้ท่านเป็นเหมือนตัวแทนของฮีโร่ทุกคนในสถานการณ์การระบาดนี้นั่นเอง” “ในอีกทางหนึ่งเราก็หวังว่าประติมากรรมชิ้นนี้จะเป็นเหมือนสิ่งเตือนใจให้ทุกคนลุกขึ้นมาช่วยกัน ช่วยในส่วนของตัวเองก็ได้ เพราะสถานการณ์ตอนนี้มันก็ต้องร่วมมือร่วมแรงกันไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งประติมากรรมนี้ก็เหมือนเป็นสิ่งเตือนใจ อีกส่วนหนึ่งก็จะนำรายได้ไปช่วยสมทบให้กับหน่วยกู้ภัยที่ทำงานช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเช่นกัน” องค์พระพิฆเนศปางประทานพรนี้ สูง 16 กว้าง 15 ลึก 10 เซนติเมตร(หน้าตัก 5 นิ้ว) วัสดุเนื้อหินอ่อนเทียม […]
PAPA BEACH PATTAYA พักผ่อนสไตล์บีชเฮ้าส์ ในอาคารไม้ไผ่เลียนแบบเสากระโดงเรือ
Papa Beach Pattaya ร้านอาหารที่แฝงตัวอยู่อย่างลับ ๆ เชิงผาริมหาดบ้านอำเภอ โดดเด่นด้วยทำเลเยี่ยมที่มาพร้อมวิวทะเลแบบพานอรามาสุดสายตา นอกจากบรรยากาศน่าสบายที่เกิดจากธรรมชาติ การออกแบบให้มีมุมนั่งรับประทานอาหารหลากหลายรูปแบบ ยังช่วยสร้างบรรยากาศพักผ่อนให้ Papa Beach Pattaya มีสีสันได้อย่างน่าประทับใจ จากแรงบันดาลใจเหนือจินตนาการที่บอกเล่าเรื่องราวของ “เรือสำราญที่ลอยมาเทียบท่าบนเกาะ” ได้รับการตีความให้เกิดเป็นรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมตัวอาคารไม้ไผ่ ที่เปรียบเสมือนเรือลำใหญ่ที่จอดเทียบริมหาดทรายท่ามกลางต้นไม้น้อยใหญ่ที่สร้างความร่มรื่น รายล้อมด้วยประติมากรรมไม้ไผ่ดูแปลกตา ทางเข้าอาคารโดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้ไผ่เรียงรายเหมือนเสากระโดงเรือ นำสายตาตลอดแนวทางเดินสู่ด้านใน ผนังเพ้นต์ภาพลวดลายไลฟ์สไตล์ชาวเกาะ ต้อนรับทุกคนเข้าสู่ด้านในร้านอาหาร ซึ่งตกแต่งในรูปแบบรีสอร์ตริมทะเล(Coastal Design) มุมเคาน์เตอร์บาร์ทรงโค้งออกแบบให้คล้ายกับห้องควบคุมเรือ กรุกระเบื้องสีขาวเรียบง่าย ขับเน้นให้โครงสร้างไม้ไผ่บนฝ้าเพดานโดดเด่นยิ่งขึ้น เสมือนพื้นที่พักผ่อนใต้ร่มมะพร้าวที่เรียงรายบนชายหาด เก้าอี้สานแพตเทิร์นขาว-ดำ และโต๊ะลายหินขัดสดใส เพิ่มรายละเอียดน่าสนุกให้ทุกมุม อาคารหลักเชื่อมต่อกับส่วนอัฒจันทร์สำหรับนั่งรับลมทะเล หรือชมพระอาทิตย์ตกดิน ส่วนด้านล่างมีมุมสระว่ายน้ำเล็ก ๆ สร้างบรรยากาศพักผ่อนแบบบีชคลับ รองรับการจัดงานสังสรรค์ริมสระได้ด้วย ทำให้ที่นี่เป็นทั้งร้านอาหาร และพื้นที่พักผ่อนสไตล์ชายหาดที่ไม่ซ้ำใคร IDEA TO STEAL ผนังด้านหน้าบริเวณทางเข้ามีแนวกำแพงไผ่สับฟาก เปรียบเสมือนกราบเรือ เว้นช่องให้แสงธรรมชาติสร้างแสงเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ส่วนกำแพงอาคารอีกด้านใช้การมุงจาก สร้างพื้นผิวธรรมชาติต่างสัมผัส เข้ากับโครงสร้างไม้ไผ่ได้อย่างดี ที่ตั้ง 137 ถนนสุขุมวิท ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี […]
COFFEE J & HOSTEL คาเฟ่เชียงใหม่ ของคนรักรถคลาสสิก เท่กลมกล่อมด้วยสไตล์อินดัสเทรียล
คาเฟ่สีดำบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่นี้ ตั้งอยู่ในย่านถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าของตั้งใจเปิดควบคู่ไปกับธุรกิจโฮสเทลที่อยู่ด้านบน เพื่อให้คนทั่วไปแม้ไม่ใช่ลูกค้าโฮสเทลสามารถเข้ามานั่งเล่นได้ ภายใต้ความเข้มเท่คมคายตามแบบฉบับชายหนุ่มผู้หลงใหลรถคลาสสิก คาเฟ่เชียงใหม่ ที่นี่มีไอเดียการตกแต่งมาจากงานอดิเรกและความชื่นชอบในการสะสมรถคลาสสิกของคุณจักรพล นิยมสิริ ผู้เป็นเจ้าของ โดยทีมสถาปนิกจาก ALSO design studio ได้หยิบคาแรกเตอร์ดังกล่าว มาใช้ถ่ายทอดโดยล้อไปกับดีไซน์ของโฮสเทล ด้วยการนำกลิ่นอายที่จะพาทุกคนเชื่อมโยงเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือยุคแห่งการทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการผลิตรถยนต์ การออกแบบคาเฟ่จึงอิงหลักการออกแบบในสไตล์อินดัสเทรียล โดดเด่นด้วยความสวยงามที่มาจากการแสดงเนื้อแท้ของวัสดุแต่ถูกลดทอนความเป็นดิบบางส่วนลงเพื่อให้เข้ากับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ ภายใต้โทนสีเทา-ดำ อันเป็นสีที่มาจากเนื้อแท้ของวัสดุปูน/คอนกรีต และสีดำด้านของเหล็กโลหะ การตกแต่งเน้นวัสดุที่มีลักษณะเหมือนกับตัวอาคารของโฮสเทลอย่าง การนำคอนกรีตบล็อกมาทำเป็นฐานเคาน์เตอร์บาร์ ท็อปทำจากแผ่นคอนกรีตเปลือย ตลอดจนการปล่อยผิวผนังให้เป็นปูนเปลือยฉาบเรียบไม่ทาสี และโชว์ท่องานระบบที่เลียนแบบท่อรถยนต์แบบไร้ฝ้าปกปิด ส่วนเฟอร์นิเจอร์จัดวางแต่เพียงน้อยชิ้น เน้นเท่าที่จำเป็นในการใช้งานจริง เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของโฮสเทล โคมไฟและของตกแต่งรอบ ๆ ถอดรูปแบบมาจากลักษณะของรถ ความเงาของสเตนเลส และเหล็กสีดำที่ถูกสอดแทรกในองค์ประกอบต่าง ๆ โดดเด่นด้วยรูปภาพรถคลาสสิกสีขาว-ดำ บอกเล่าความชอบและรสนิยมของเจ้าของ ช่วยให้ร้านมีเสน่ห์ และแตกต่างจากคาเฟ่ในแนวอินดัสเทรียลทั่วไป แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างดิบกระด้างและหนาหนัก แต่ก็ยังมีการเลือกใช้กระจกมาเป็นช่องแสงขนาดใหญ่ให้ร้านมีมิติจากแสงเงา อีกทั้งเส้นสายของเฟรมกระจกสีดำยังช่วยเพิ่มลูกเล่นให้การมองเห็น กำหนดแสงและบรรยากาศของร้าน ให้สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เผื่อการใช้งานคาเฟ่ที่อาจจะปรับเปลี่ยนเป็นบาร์ได้ในอนาคต พักสายตากับวิวสวนสีเขียวด้านนอกที่เน้นงานฮาร์สเคปเป็นหลัก โดยทำล้อไปกับรูปแบบของการออกแบบเปลือกอาคารโฮสเทลด้านนอก ด้วยการนำคอนกรีตบล็อกมาจัดเรียงซ้อนกันเพื่อเป็นขอบที่นั่งแบบเรียบง่าย พื้นโรยด้วยหินกรวด และไม้ใบเขียวที่ช่วยเพิ่มความร่มรื่น ลดความดิบกระด้างของวัสดุและสเปซ ให้ผู้ใช้งานสามารถออกมานั่งพักผ่อนได้อย่างโปร่งสบาย […]
ZAIWAN VILLAGE เปลี่ยนหมู่บ้านเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต
ZAIWAN VILLAGE หมู่บ้านเก่าแก่ที่ถูกปรับปรุงให้มีชีวิตชีวาด้วยงานออกแบบที่กระตุ้นให้คนในชุมชนออกมาใช้พื้นที่ และมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและผู้คน
พาส่องงานออกแบบพื้นที่ภายใน “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ใหม่ “จากผ้าไทย สู่ดีไซน์ร่วมสมัยที่แตกต่าง”
“ศูนย์ฯสิริกิติ์” หรือในชื่อเต็ม ๆ ว่า ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center – QSNCC) เป็นศูนย์การประชุมตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก ติดกับสวนเบญจกิติ และโรงงานยาสูบเดิม “ศูนย์ฯสิริกิติ์” นับได้ว่าเป็นศูนย์การประชุมระดับนานาชาติตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร และมีการใช้งานอย่างเนืองแน่นตลอดมากว่า 30 ปี จนกระทั่งได้ปิดปรับปรุงไปในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา เพื่อยกระดับงานออกแบบศูนย์ฯสิริกิติ์ใหม่ทั้งหมด ให้รองรับกับความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไป รวมทั้งขยายพื้นที่เพื่อรองรับและเชื่อมโยงกับการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจากบริบทเมืองที่เปลี่ยนไป โดยมีพระราชดำรัส “สืบสาน รักษา ต่อยอด” เป็นคอนเซ็ปต์ในการออกแบบ “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ในครั้งนี้นั่นเอง วันนี้เราได้รับโอกาสจาก คุณออ-อริศรา จักรธรานนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ONION สำนักงานสถาปนิกที่โดดเด่นเป็นอย่างมากในด้านการออกแบบ “ความเป็นไทย” ให้ “ร่วมสมัย” ดังเช่นผลงานที่ผ่านมาอย่าง SALA Ayutthaya หรือร้านอาหารบ้านป้อมเพชร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงผลงานล่าสุด […]
เฟอร์นิเจอร์จากใย กัญชง อัด ทำเองได้ง่ายนิดเดียว สู่การใช้งานใหม่ที่หลากหลายยิ่งขึ้น
Hannah Segerkrantz นักศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อยอดวัสดุ Hempcrete หรือก้อนอิฐจากใยกัญชงอัด ให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ในหลากหลายการใช้งาน โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย เข้ากับทุกการตกแต่ง ทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วย ด้วยวิธีที่การเหมือนจะง่าย(แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่) Hannah เลือกที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จากรูปทรงพื้นฐานคล้ายรูปถ้วย 6 ขนาด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะจำกัดขนาดของแม่พิมพ์ให้ไม่มากจนเกินไป รูปถ้วยเหล่านี้นอกจากจะเป็นรูปทรงที่มั่นคงแล้ว ยังสะดวกต่อการเข้าพิมพ์และแกะออกจากพิมพ์อีกด้วย พิมพ์ที่ใช้นั่นเป็นแม่พิมพ์ผ้าซึ่งใช้วิธีรัดเข้าให้พอดี จากนั้นจึงกรอกใยกัญชงที่ผสมน้ำแล้วลงไป และนำแม่พิมพ์สองชิ้นที่เลือกมาประกบกัน ด้วยวิธีการนี้เมื่อใยกัญชงจากทั้งสองพิมพ์เชื่อมติดกัน เราจะได้ผลลัพธ์คือเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันถึง 15 แบบ ตั้งแต่เก้าอี้ทรงเตี้ย ไปจนถึงโต๊ะข้างทรงเตี้ย หรือแท่นวางของ Hannah ตั้งใจให้ HEMP-IT-YOURSELF เป็นวิธีการที่เปิดกว้างที่จะช่วยผลักดันให้ใครก็ตามที่ได้ทดลองได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้จากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งคุณค่าของรูปทรงเรียบง่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ร่วมออกแบบบรรยากาศโดยรอบของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เอง สำหรับใครที่สนใจและอยากลองทำเฟอร์นิเจอร์จากใยกัญชงแบบ Hannah ดูบ้าง ลองเข้าไปศึกษาได้ที่ https://hannahsegerkrantz.com/hemp-it-yourself-process ข้อมูลเพิ่มเติม https://hannahsegerkrantz.com ภาพ: Luca Tichelman, Hannah Segerkrantzเรื่อง: Wuthikorn Sut […]
The Growing Pavilion สถาปัตยกรรมจากเห็ดรา
ช่วงนี้ฝนตกบ่อยอากาศอับชื้น มองไปที่โต๊ะก็พบว่า ขนมปังที่ซื้อมาวันก่อนราขึ้นไปเสียแล้ว หลังจากนำไปทิ้งก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า ในโลกของงานออกแบบเราสามารถนำเห็ดรามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง? แล้วก็ไปเจอผลงานหนึ่งที่เคยจัดแสดงเมื่อปี 2019 ในงาน Dutch Design Week 2019 ซึ่งมีชื่อว่า The Growing Pavilion ความพิเศษของอาคารนี้ไม่ธรรมดาเพราะใช้ “เห็ดรา” เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างกันเลยทีเดียว เจ้าเห็ดราที่ว่านี้เรียกว่า Mycelium ซึ่งแปลตรงตัวว่า “เส้นใยเห็ด” เจ้าเส้นใยนี่แหละที่ค่อยช่วยให้เห็ดหรือราสามารถยึดเกาะอยู่บนพื้นผิวเช่นผนังหรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ คล้ายรากของพืชไม้เลื้อย และด้วยการวิจัยกว่า 2 ปีของทีมงาน Company New Heroes ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นพันธุ์ที่มี Mycelium หนาแน่นแข็งแรงคล้ายแผ่นโฟมอย่างที่เห็น เป็นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมวงการวัสดุเพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย และในอนาคตอาจจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ย่อมเยาว์อีกด้วย อาคารแห่งนี้มีโครงสร้างหลักเป็นไม้รีไซเคิลที่นำมาทำเป็นโครงรูปทรงกระบอก จากนั้นจึงติดตั้งแผ่น Mycelium ลงไปตามช่องว่างของโครงสร้าง โดยที่แผ่นเห็ดราเหล่านี้ก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายสามารถเลี้ยงต่อให้ซ่อมแซมตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในอนาคตไม่แน่เราอาจได้เห็นอาคารที่ใช้เห็ดราเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและพื้นผิวอาคารไปพร้อมกันเลยก็เป็นได้ และสำหรับใครที่อยากสัมผัสของจริง เรามีข่าวดีเพราะ The Growing Pavilion จะไปจัดแสดงอีกครั้งที่ Floriade Expo […]