- Page 16 of 57

SOAPBOTTLE ขวดสบู่ที่ทำมาจากสบู่

ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]

103PAPER ของตกแต่งที่สร้างความหมายใหม่ให้เศษกระดาษไร้ค่า

คอลเล็กชั่นประติมากรรมจาก 103PAPER โดยคุณวิทยา ชัยมงคล และคุณอัจฉรา ตันนี นำเสนอแนวทางใหม่ของผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่างดินกระดาษ ที่ทำมาจากเศษกระดาษใช้แล้ว ผสานกับความงามเชิงศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณวิทยาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาตลอด เขาคือผู้กำกับศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังหนังดังหลายเรื่องไปจนถึงภาพยนตร์โฆษณามากมาย และเมื่ออาร์ตไดเร็กเตอร์หันมาสร้างแบรนด์ของตกแต่งบ้านจากงานอดิเรกที่เขาหลงใหล 103PAPER จึงเป็นเหมือนคอลเล็กชั่นงานศิลปะ ที่ถ่ายทอดแนวคิด และตัวตนของคุณวิทยาได้อย่างชัดเจน ก่อนเกิด 103PAPER “สิบกว่าปีก่อน ตอนที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ พอมีเวลาว่าง ผมมักหาพื้นที่แสดงออกด้านศิลปะของตัวเอง ลองหางานอดิเรกที่เราสนใจ ซึ่งช่วงนั้นผมสนใจงานปั้นเป็นพิเศษ แต่อย่างเซรามิกเราก็พอเข้าใจกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีทักษะ ก็เลยลองหาวัสดุที่ทำงานง่ายกว่านั้น” เมื่อโจทย์เริ่มต้นคืองานอดิเรก คุณวิทยาจึงเลือกทำงานปั้นด้วยวัสดุที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างกระดาษใช้แล้วหลากหลายชนิด โดยนำมาทดลองหาส่วนผสม เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ หลังจากลองผิดลองถูก และสนุกกับงานอดิเรกนี้อยู่หลายปี จนเกิดผลงานจำนวนหนึ่ง พาให้เขาลองหาแนวทางใหม่ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก “ย้อนกลับไปตอนนั้นเราไม่ได้คิดหรอกว่าทำแล้วจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจสร้างสรรค์เพื่อการตลาด ไม่ได้โฟกัสเลยว่าคนซื้อจะชอบอะไร เราแค่ทำในแบบที่เราชอบไปเรื่อย ๆ พองานเริ่มเยอะเลยลองเอาไปวางขายดู ที่แรกเป็นตลาดกลางคืน […]

ร้านขายผัก ที่ออกแบบโดย Nendo มาเพื่อช่วยกระจายผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร

ร้านขายผัก หน้าตาเหมือนร้านค้าริมทางที่ขายผักคุณภาพดี แต่หน้าตาไม่ดี ช่วยเติมเต็มเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โปรเจ็กต์ ร้านขายผัก ริมทางเล็ก ๆ นี้ มีที่มาจากการมองเห็นปัญหาผักไม่สวย หรือแค่รูปร่างไม่ได้มาตรฐาน มักต้องกลายเป็นเศษเหลือทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ ด้วยมาตรฐานการขนส่งของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศญี่ปุ่น แต่ผักไม่สวย ไม่ได้แปลว่าจะด้อยคุณภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ให้ได้รับค่าตอบแทนจากผลผลิตอย่างเต็มที่ nendo บริษัทออกแบบชื่อดังจึงได้เข้ามามองหากลไกใหม่ ๆ เพื่อนำพาผักเหล่านี้ให้ได้มีทางออกไปสู่มือผู้บริโภคได้ดีขึ้นในราคาย่อมเยา nendo ได้นำเสนองานออกแบบแผงขายผักที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ ซึ่งเป็นระบบการประกอบที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่าง และการใช้งานได้ตามผลผลิตที่ต้องการนำมาวางขาย ก่อนนำไปให้เกษตรกรจัดวางไว้ตามริมถนนใกล้กับพื้นที่ทางการเกษตร ที่มาของผลผลิตเหล่านั้น ทุก ๆ คนเมื่อเดินทางผ่านพื้นที่เกษตรเหล่านั้น ก็จะสามารถซื้อและจ่ายเงินได้ผ่านกล่องรับเงินที่ติดตั้งไว้ตามราคาบนแผ่นป้าย หรือจะยิง QR CODE จ่ายก็ทำได้เช่นกัน วิธีการนี้จะทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยผู้บริโภคจะได้ผักสดใหม่(ใหม่จริงเพราะปลูกแล้วก็ถอนมาวางเลย) ในราคาย่อมเยา ที่สำคัญผู้ผลิตก็จะได้ระบายผลผลิตที่ส่งเข้าระบบ Modern Trade ไม่ได้ ให้มีทางออก ไม่ต้องนำไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จากตัวอย่างดี ๆ นี้ ลองหันกลับมามองที่เมืองไทย เราอาจคุ้นเคยกับแผงขายผักเช่นนี้ตามริมทางขณะขับรถไปต่างจังหวัด แต่ถ้าลองพัฒนาให้เข้าระบบ E-Commerce ปรับปรุงระบบ QR […]

SORVETE DA RESERVA ICE CREAM SHOP ออกแบบร้านไอศกรีมยุค NEW NORMAL

ร้านไอศกรีมอารมณ์ไม้ ที่ขอเน้นแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ตอบรับยุค New Normal ตอบโจทย์ความปลอดภัยด้านสุขภาพและงานบริการ อย่าง ร้านค้า และร้านอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งต่อตัวลูกค้าและผู้ให้บริการเอง ดังตัวอย่างการออกแบบร้านขายไอศกรีม ในประเทศบราซิลแห่งนี้ ดีไซเนอร์จากสตูดิโอ PORO Arquitetura ได้ออกแบบร้านไอศกรีมให้บรรจุอยู่ในอาคารขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียง 40 ตารางเมตร โดยได้กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วน ด้านหน้าเป็นพื้นที่นั่งพักคอยเล็ก ๆ ระหว่างกำลังรอสั่งซื้อไอศกรีม ซึ่งที่นี่เน้นการซื้อกลับไปรับประทานมากกว่าการนั่งรับประทานในร้าน ขณะที่เคาน์เตอร์ของพนักงานจะถูกกั้นด้วยแผ่นโปร่งใส ที่เจาะช่องว่างเล็ก ๆ ไว้สำหรับจ่ายเงินและรับไอศกรีม ลึกเข้าไปด้านในอีกชั้นคือส่วนของพื้นที่ครัว ฐานการผลิตไอศกรีมสูตรโฮมเมดรสชาติแสนอร่อย ขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของงานดีไซน์ โดยมีไม้ และธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มยุค New Normal นอกจากการวางผังพื้นที่ใช้งานเเล้ว ความโดดเด่นของที่นี่ คือการทำโครงสร้างไม้ตกแต่งไล่ลงมาจากฝ้าเพดาน ทำเป็นชั้นวางของ เรื่อยลงมาจนถึงการเป็นเคาน์เตอร์ไม้ริมผนังกระจกหน้าร้าน ไม่ลืมตกแต่งด้วยกระถางต้นไม้ที่ปลูกพรรณไม้ในร่มเขตร้อนหลายชนิด ช่วยเติมบรรยากาศความสดชื่นได้เป็นอย่างดี ก่อนเพิ่มสีสันให้ร้านด้วยกระเบื้องไฮดรอลิกสีน้ำเงิน ที่ดีไซเนอร์เลือกมาปูพื้น โดยอ้างอิงจากสีของทะเลสาบ Almécegas Lake ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของเมือง Pedrinhas ซึ่งเป็นที่ตั้ง เช่นเดียวกับกระเบื้องสีขาวด้านหน้าเคาน์เตอร์ ที่ออกแบบให้มีเส้นสีน้ำเงินตัดผ่านแบบทแยงมุม ก่อนนำมากรุลงไปแบบแรนดอมดูสนุกและสดใสมากขึ้น ออกแบบ : PORO […]

Domestic Loom รีดีไซน์กี่ทอผ้าสู่การพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอ

ในขณะเราพยายามนำพางานหัตถกรรมดั้งเดิมให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว แต่นอกเหนือไปจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ยุคสมัย ทั้งแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และกระบวนการเบื้องหลังงานฝีมือก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม และยังคงต้องการการพัฒนาไม่แพ้กัน Domestic Loom คือกี่ทอผ้าดีไซน์ใหม่ ที่ชวนให้เราหันกลับมามองต้นทางของงานหัตถกรรมสิ่งทออีกครั้ง Domestic Loom กี่ทอผ้าฝีมือการออกแบบของ คุณพิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบจาก Plural Designs ถือเป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ในการ “รีดีไซน์” เครื่องไม้เครื่องมือเบื้องหลังงานหัตถกรรมสิ่งทอ ให้ตอบโจทย์ยุคสมัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของช่างผีมือยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของโปรเจ็คต์นี้มาจากประสบการณ์ของคุณพิบูลย์ ที่ได้มีโอกาสเดินทางพบปะ ทำงานร่วมกับช่างทอ และนักออกแบบสิ่งทอในหลากหลายชุมชนหัตถกรรม ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมจะพบว่าเครื่องมือหลักของช่างทอทั่วประเทศ ล้วนเป็นกี่ไม้เรียบง่าย ที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น และแน่นอนว่าคนทอไม่ได้เป็นผู้สร้าง และคนสร้างไม่เคยได้ลองใช้ทอ คุณพิบูลย์: “ในชุมชนช่างทอ เราจะเห็นกี่ทำจากโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ คล้ายกันแทบทุกหมู่บ้าน อาจเป็นเพราะทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่นได้เลย แต่ก็ยังไม่เห็นกี่ที่มีการพัฒนาให้ดูสวยขึ้น ช่วยให้นั่งใช้งานได้สบายขึ้น กี่แบบดั้งเดิมมีเสา 4 ด้าน ดูเกะกะ มักใช้งานไม่สะดวกสำหรับช่างทอผู้เฒ่าผู้แก่ จริง ๆ ผมเคยคิดไว้นานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้ลองทำ คราวนี้ได้คุยกับอาจารย์นุสรา เตียงเกตุ ที่ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า บ้านไร่ใจสุข จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ก็บอกให้ลองทำดู เพราะส่วนใหญ่ช่างทอกับช่างทำกี่ […]

82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82

เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]

MARE ร้านศัลยกรรมความงาม ที่ดึงเอาบรรยากาศของสวนสาธารณะมาไว้ในร้าน

ร้านเสริมสวยขนาดเล็ก ที่จัดการพื้นที่ด้วยการใช้ "ม่าน" เป็นตัวแบ่งสเปซ ทำให้พื้นที่ขนาดกะทัดรัดนี้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับได้ตามการใช้งาน ดูโปร่งโล่ง ที่สำคัญคือสามารถมองเห็นวิวสวนได้อย่างเต็มตา

ผนังดินอัด La Terre (ลาแตร์) วัสดุธรรมชาติจากเทคโนโลยีโบราณสู่วัสดุสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

ผนังดินอัด หนึ่งในวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ด้วยความสนใจในความเป็นธรรมชาติทั้งความงามและในแง่ของวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่คุณปัจจ์ บุญกาญจน์วนิชา แห่ง บริษัท ลาแตร์ จำกัด ได้เลือกศึกษาในระดับปริญญาโท ณ สถาบันวิจัยดินเพื่อการก่อสร้างนานาชาติ CRA-Terre ซึ่งเป็นที่ปรึกษาขององค์การ Unesco และดูแลหลักสูตร Post Master in Earth Architecture ณ โรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นสูง เมืองGrenoble ประเทศฝรั่งเศส (Ecole Nationale Superieure D’architecture De Grenoble, France) และในวันนี้ room Magazine ก็ได้ขอมาเยี่ยมเยือนออฟฟิศของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในทาง “ดิน” ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในไทยคนนี้กันเลยทีเดียว เริ่มต้นกับดิน “ผมเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตช่วงปี 2542 เป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ซึ่งงานหายากมาก พอจบออกมาก็ไปทำงานอยู่บริษัทรับเหมา ทำได้อยู่ช่วงหนึ่งก็ย้ายไปทำงานสถาปนิกที่ภูเก็ต ช่วงนั้นก็ทำหลายอย่าง เป็นดีเจบ้าง รับวาดภาพบ้าง สุดท้ายก็ตัดสินใจย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เรียนอยู่ 4 ใบ เรียนจบก็ลงเรียนใหม่ต่อวีซ่าไปเรื่อย ๆ […]

งานทดลองวัสดุ ใหม่จากดอกไม้ใบหญ้าเหลือทิ้ง LUKYANG MATERIAL TESTING NO.1

งานทดลองวัสดุ ที่ทีมนักออกแบบลุกขึ้นมาทำการทดลอง ด้วยการเลือกวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวมาหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเลือกวัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งในกลุ่มพืชล้มลุกและเปลือกผลไม้ มาแปรรูปแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรณรงค์ในการช่วยกันลดของเสียในครัวเรือน โดยการนำกลับมาแปรรูปใหม่อีกครั้ง สำหรับชุดการทดลองครั้งแรก ได้หยิบวัสดุธรรมชาติมาทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง ต้นปอเทือง ดอกอัญชัน ดอกกล้วยไม้แห้ง และเปลือกมังคุด ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป 1.ดอกอัญชัน ดอกไม้ที่คุ้นเคยในการนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เมื่อตัวดอกดูดซับน้ำแล้วจะเกิดการพองตัว ด้านคุณสมบัติมีความโปร่ง แต่เปราะบางและไม่ยืดหยุ่น เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 2.ต้นปอเทือง พืชที่มักเห็นได้ตามท้องนาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการบำรุงและรักษาหน้าดินในช่วงฤดูพักปลูกข้าว เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่งคล้ายนกระดาษสาและแข็งแรง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง 3.ดอกกล้วยไม้แห้ง ดอกไม้ที่พบในตลาดอุตสาหกรรม สีสันสวยงาม อยู่ได้นาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติโปร่งแสง แต่เปราะบางและไม่คงรูป เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 4.เปลือกมังคุด วัสดุที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติความแข็งแรงในระดับหนึ่ง แต่ยืดหยุ่นน้อย มีความทึบแสง เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ 5.ดอกดาวเรือง หากคุณเป็นสายไหว้พระ คงพบว่ามีดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเต็มไปหมด ตัวดอกมีเส้นใยสูง เมื่อแห้งแล้วสีของดอกยังคงติดทนนาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง หลังจากทดลองและทราบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เชิงดีไซน์ […]

SEASHORE LIBRARY ห้องสมุดคอนกรีตที่ตั้งโดดเดี่ยวอยู่ริมทะเล แต่ไม่เดียวดายด้วยสเปซและผู้คน

Seashore Library คือห้องสมุดที่ตั้งอยู่ริมหาด Bohai ที่ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างขอบแขตพื้นที่ การเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของแสงโดยรอบ

The Playscape สนามเด็กเล่นที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างพัฒนาของเด็กโดยเฉพาะ

THE PLAYSCAPE คือโปรเจ็กต์รีโนเวตโกดังเก็บของที่ถูกทิ้งร้าง ให้กลายมาเป็น สนามเด็กเล่น แบบจัดเต็มที่ช่วยเสริมสร้างจินตนาการแบบไร้ขีดจำกัด

FABCAFE NAGOYA โชว์ศิลปะงานไม้ดั้งเดิมหาชมยาก ให้คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ได้สัมผัส

หยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของ FabCafe Nagoya สะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัส ไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์คาเฟ่ฮอปปิ้งที่คนยุคนี้นิยม FabCafe Nagoya โปรเจ็กต์งานออกแบบคาเฟ่ของสถาปนิกสัญชาติญี่ปุ่น Suppose Design Office ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการหยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของคาเฟ่ทรงกล่องคอนกรีตขนาด 280 ตารางเมตร ที่ “Hisaya-odori Park”แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองนาโกย่า ภายในได้รับการออกแบบให้บรรจุด้วยงานไม้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้มาออกแบบที่พักอาศัยของชาวญี่ปุ่น เด่นสะดุดตากับโครงหลังคาไม้ ที่อยู่ใต้ฝ้าเปล่าเปลือยโชว์ให้เห็นท่องานระบบ สร้างความรู้สึกราวกับยกบ้านไม้โบราณมาคลุมพื้นที่เอาไว้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สัมผัสได้ยาก ท่ามกลางความเจริญของเมืองคอนกรีตยุคใหม่ นอกจากนี้ยังมีการนำไม้มาตกแต่งบริเวณหน้าเคาน์เตอร์ รวมถึงเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้หลายชิ้น โดยเฉพาะโครงขาที่โชว์ภูมิปัญญาการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอต หรือสกรูใด ๆ ทำให้ผู้มาเยือนคาเฟ่ได้สัมผัสทั้งบรรยากาศความอบอุ่นที่มีไม้เข้ามาเป็นส่วนประกอบ เหนือกว่านั้นคือการได้มองเห็นเสน่ห์อันน่าทึ่งของศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม นำมาสู่การมองเห็นคุณค่าและการอนุรักษ์ตามมา Did You Know FabCafe ในไทยนั้น ดำเนินงานโดย FabCafe Bangkok ตั้งอยู่ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center(TCDC) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือชมผลงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามลิงก์ข้างต้น […]