- Page 17 of 57

THE BARISTRO ASIAN STYLE รีโนเวตบ้านเก่าเชิงดอยสุเทพ เป็นคาเฟ่ไม้กลิ่นอายโมเดิร์นเอเชียน

The Baristro Asian Style คาเฟ่สาขาใหม่ภายใต้แบรนด์ The Baristro ที่เกิดจากการรีโนเวตบ้านเก่าชั้นเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กลายเป็นคาเฟ่ไม้ โดดเด่นอยู่บนเนินหญ้าสีเขียว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ผลงานการออกแบบโดย pommballstudio ภายใต้คอนเซ็ปต์การนำภาพจำของบรรยากาศแบบเอเชียหลากหลายประเทศมาผสมผสานกันแบบหยิบเล็กผสมน้อย โชว์วัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อบอกเล่าภาพความเป็น Asian Style ให้ยิ่งชัดเจนขึ้น The Barissian ต้อนรับทุกคนด้วยอาคารหลักด้านหน้า โดยออกแบบให้เป็น Speed Bar สถาปนิกเล่าว่า เดิมพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียวมีสภาพทรุดโทรมมาก่อน หลังจากสำรวจพื้นที่แล้ว จึงนำมาสู่แนวคิดการออกแบบอาคาร ด้วยการยังคงเก็บรายละเอียดโครงสร้างที่แข็งแรงไว้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเสาเดิม และหลังคาแบบ Flat Slab เสมือนเป็นเครื่องช่วยย้ำเตือนถึงที่มาก่อนเปลี่ยนโฉมใหม่ ให้บ้านเก่ากลายเป็นคาเฟ่ไม้บนเนินหญ้า ที่มองทะลุเห็นบรรยากาศด้านในผ่านผนังกระจกใสรอบทิศ “ตอนวางมาสเตอร์แปลนเราพยายามวางอาคารให้แยกกัน รวมถึงอาคารหลังอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในเฟสต่อไป โดยมีแรงบันดาลใจมาจากหมู่บ้านของชาวเอเชีย ซึ่งมีอาคารอยู่คนละหลัง แล้วถูกเชื่อมด้วยคอร์ตยาร์ด ลานวัด หรือลานกลางหมู่บ้าน ดังนั้นเมื่อเข้าด้านในแล้ว เหมือนเรากำลังเดินอยู่ในหมู่บ้าน ผ่านเส้นทางสัญจรที่ลื่นไหล และค่อนข้างกว้าง สำหรับให้ลูกค้าได้ใช้เวลาพักผ่อนเดินเล่น ออกไปสัมผัสกับมุมมองภายนอกต่าง ๆ […]

วัสดุบ้านๆ ปรับใช้ในแนวใหม่ “DOMESTIC ALTERNATIVE MATERIALS” by THINKK Studio

วัสดุบ้านๆ เปลือกหอย กระดองปู ขวดแก้ว ผักตบชวา กากกาแฟ ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว กาบหมาก และเศษผ้า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัสดุที่ถูกนำมาพัฒนาขึ้นรูปเป็นแท่งสี่เหลี่ยม คล้ายกับท่อนโลหะรูปพรรณ หรือไม้แปรรูปในท้องตลาด เพื่อหาแนวทางการนำไปใช้ทดแทน หรือใช้ร่วมกับวัสดุต่างชนิดกัน อย่างการนำเสนอเป็นเฟอร์นิเจอร์ และโคมไฟ เพื่อทดสอบและท้าทายศักยภาพของวัสดุให้ได้มากที่สุด โดยโปรเจ็กต์นี้เป็นภาพใหญ่และทิศทางที่สำคัญหนึ่งของ THINKK Studio ในปัจจุบันและอนาคต โดยการเริ่มต้นครั้งนี้ ได้มีน้อง ๆ Graduate Internship คือ แนน-ชนิกานต์ จรัล ,โฟน-กิตติภณ โสดาตา และ เจด-เจษฎา สุพรรณโอชากุล มาช่วยในการทดลอง และจัดทำต้นแบบวัสดุร่วมกับทางสตูดิโอด้วย Domestic Alternative Materials เป็นการเสาะหา ค้นคว้าทดลอง เพื่อหาวัสดุทางเลือกในประเทศ จากเศษวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาสร้างเอกลักษณ์และตัวตนใหม่อีกครั้ง ก่อนพัฒนาศักยภาพสู่การแข่งขันในเวทีโลก รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรใหม่ที่เริ่มขาดแคลนลงทุกที “DOMESTIC” ในมุมมองที่สนใจ หรือนึกถึงเป็นอันดับแรกคือศักยภาพของประเทศในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสตูดิโอ ซึ่ง “วัสดุ” น่าจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องเลือกใช้ในการผลิต และสร้างสิ่งต่าง […]

CITY LIVING ROOM คอมมูนิตี้มอลล์ สุดคูลริมแม่น้ำ ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ประจำเมือง

โปรเจ็กต์งานออกแบบ คอมมูนิตี้มอลล์ สีขาว ให้เป็นพื้นที่พบปะและทำกิจกรรมใหม่ของเมืองจินหัว บนพื้นที่ทำเลดีริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab หลังจากชิงช้าสวรรค์ของเล่นชิ้นสุดท้ายถูกรื้อถอนออกไปจากสวนสนุกในเมืองจินหัว ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ห่างจากทะเลสาบ Mingyue ไปทางใต้ 300 เมตร ที่ดินผืนนี้ก็กลายเป็นพื้นที่รกร้าง และอยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน จนกระทั่งปี 2021 ที่นี่ได้รับการพลิกฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้ง ภายใต้บทบาทใหม่ด้วยการออกแบบให้เป็น คอมมูนิตี้มอลล์ ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยราว 1,050 ตารางเมตร ประกอบด้วยกลุ่มอาคารสีขาวขนาดใหญ่ เปลือกอาคารดีไซน์คล้ายชายกระโปรงโบกพลิ้ว โดยตั้งใจให้ที่นี่เป็นเสมือนห้องนั่งเล่นใหม่ของชาวเมือง “สัญลักษณ์ใหม่ของเมือง” ที่ว่านี้ คือผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab โดยต้องการให้ที่นี่มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมดูแตกต่างจากอาคารทั่วไป ขับเคลื่อนแนวคิดที่เป็นนามธรรมภายใต้โจทย์ว่า ที่นี่คล้ายโรงละคร หรือเปรียบการใช้ชีวิตของผู้คนเหมือนละครที่ดำเนินชีวิตไปตามบทบาทของตนเอง จากแนวคิดดังกล่าวถูกคลี่คลายออกมาเป็นรูปธรรม ผ่านตัวอาคาร และพื้นที่ใช้สอยที่ตอบสนองต่อการใช้ชีวิต เน้นให้เกิดความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย ไม่ต่างจากชื่อ “City Living Room” แต่ละกลุ่มอาคารประกอบด้วยร้านกาแฟ ร้านค้า พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่าง […]

ISAN CUBISM หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสาน สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยบอกเล่าอัตลักษณ์ไทย

“ISAN Cubism” หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสานพัฒนาสู่โปรดักต์ดีไซน์ ที่มีต้นทุนมาจากวัฒนธรรมการทอผ้าลายขิด งานไม้ และฮูปแต้มในสิม เพื่อบอกเล่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง ในการสร้างสรรค์ลวดลายอย่างง่าย ผ่านรูปทรงเรขาคณิตอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ จากคุณค่าดังกล่าวได้รับการบอกเล่าผ่าน ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ภายใต้แบรนด์ ISAN Cubism หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จุดเริ่มต้น ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ทั้งคู่คืออาจารย์ผู้สอนด้าน Industrial design สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากอุดมการณ์ร่วมกันที่อยากให้งานดีไซน์รับใช้ท้องถิ่น โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ได้มีความเข้าใจและภูมิใจ ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน นำมาสู่แนวทางการสอนและการลงมือทำจริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “ISAN Cubism” “เรามีความคิดกันว่าจะสอนอะไรพวกเขาดี เพราะในกรุงเทพฯ เราจะเห็นงานดีไซน์ที่มีความเป็นสากล แต่พอมาอยู่ที่อีสาน ผมมองว่านักศึกษาที่เรียนออกแบบในพื้นที่ พวกเขามีวัตถุดิบ ไม่ค่อยมีคนดีไซด์งานใหม่ ๆ […]

Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง ให้เป็นแผ่นวัสดุอเนกประสงค์สไตล์สัจวัสดุ

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะ SEMBA บริษัทก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้เริ่มโครงการ Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง SEMBA ethical design thinking โดยมี we+ ทีมดีไซเนอร์หัวก้าวหน้า เข้ามาช่วยจุดประกายในโครงการนี้ จนออกมาเป็นวัสดุที่น่าสนใจในวิธีการใช้งานที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญ “มันเคยเป็นขยะ” เนื่องจากอาคารในประเทศญี่ปุ่น มักมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี ตั้งแต่ก่อสร้างจนถูกทุบทำลาย we+ จึงมองเห็นว่ามันช่างเป็นอายุการใช้งานที่สั้น ซึ่งส่งผลไปถึงปัญหา “ขยะ” ที่เกิดจากการทุบทำลาย โดยเศษวัสดุเหล่านั้นแทบไม่มีค่าไปกว่าการนำถมที่ดินเลย ดังนั้นการหาทางออกให้กับการจัดการขยะจากอาคารเก่าจึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ ทั้งตัวของวัสดุ และวิธีการความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของกระบวนการออกแบบก่อสร้าง “Link” คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ด้วยการออกแบบวัสดุอเนกประสงค์ชนิดแผ่น ที่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันนี้ ซึ่งเกิดจากการศึกษาความเป็นไปได้อันหลากหลายผ่านวัสดุที่มาจากซากตึก ตั้งแต่เศษไม้ อิฐ หิน และเหล็ก ตลอดจนวัสดุอย่าง เศษพรม ผ่านม่าน หรือแม้แต่แผ่นปูพื้น โดย we+ ได้นำซากวัสดุมาผสมรวมกันด้วยการบดให้กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะหลอมและเทวัสดุประสาน รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ลงไปในแม่พิมพ์ […]

VANZTER เปลี่ยนเศษไทเทเนียมเป็นของตกแต่งเปี่ยมจิตวิญญาณเด็กแว้น

VANZTER เปลี่ยนเศษไทเทเนียมให้กลายเป็นของตกแต่ง โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเด็กแว้น กับพฤติกรรมแต่งรถที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและวัฒนธรมมแบบไทย ๆ

RIPPLE  ฉากกั้นพลิ้วไหวจากไม้ผสานวัสดุรีไซเคิล

RIPPLE ฉากกั้น พลิ้วไหวที่เกิดจากไม้โอ๊คผสานเข้ากับวัสดุรีไซเคิล Coffee Ground เพื่อช่วยลดต้นทุน ลดปริมาณไม้ และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ

หอพักพยาบาลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

หอพักพยาบาล ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานของพยาบาลเป็นหลัก ประกอบกับสร้างสภาวะความน่าสบายไว้อย่างเต็มที่

THAIS ECOLEATHERS ความงามจากเศษหนังสู่วัสดุใหม่

THAIS ECOLEATHERS (อ่านว่า ธา-อิส) หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่เราอยากแนะนำ เพราะไม่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายและพื้นผิวที่น่าสนใจ หรือการนำไปใช้ที่หลากหลายเพียงเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งวัสดุอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์นั่นก็คือ “หนังรีไซเคิล” ซึ่งเรียกได้ว่ามีความโดดเด่นและมีเพียงเจ้าเดียวในโลกที่สามารถผลิตสิ่งนี้ได้ จึงทำให้เราสนใจแบรนด์เครื่องหนังที่ชูวัสดุรักษ์โลกแบรนด์นี้เป็นพิเศษของคุณธันย์-ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล และคุณเม-พัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล จุดเริ่มต้น ถ้าพูดถึงจุดเริ่มของTHAIS ECOLEATHERS“เราเริ่มจากเป็นคนชอบเครื่องหนัง ชอบจนถึงขนาดที่อยากจะหัดทำเครื่องหนังด้วยตัวเอง” คุณธันย์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “พอเราเริ่มทำหนังไปเรื่อย ๆ เราก็ค้นพบว่าสิ่งที่กวนใจเราคือ เศษหนัง ที่เหลือจากการผลิต จะเอาไปทิ้งก็เสียดาย พอจะนำเศษเหล่านั้นมาลองเย็บเป็นกระเป๋าแล้วเอาไปวางขายในอินเทอร์เน็ตก็ค้นพบว่า มันแทบจะไม่ได้ราคา เหมือนเป็นความคาใจจนเราเริ่มศึกษาลงไปว่า คนอื่นเขาจัดการกับเศษหนังกันอย่างไร และก็ค้นพบว่าเศษเหลือเหล่านี้มีอยู่มากมายในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง และไทยเราเองก็เป็นประเทศส่งออกหนังอันดับที่ 4 ของโลก ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า ปัญหาเศษเหลือเหล่านี้ ต้องมีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน“ “พอเราเริ่มสนใจในปัญหาเศษเหลือเราก็ค้นพบว่า โรงงานส่วนใหญ่ต้องจ้างให้นำไปทิ้ง เป็นมูลค่าที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว สิ่งที่ทำได้คือนำฝังกลบ หรือนำไปเผาทำลาย” คุณเมเล่าต่อ “ซึ่งเราอาจเคยได้ยินว่า มีการนำเศษหนังมาทำเป็นวัสดุใหม่ แต่นั่นไม่ใช่เศษหนังในขั้นตอนสุดท้ายแบบที่เป็นเศษเหลือแบบนี้ สิ่งเหล่านั้นคือเศษหนังที่มาจากขั้นตอนการผลิต คือหลังจากการฟอกเสียมากกว่า เราก็เลยคิดกันว่า […]

JOUER ชุมชนสร้างสรรค์ในกลุ่มบ้านเก่าย่านสุขุมวิท

ท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านใจกลางกรุง ซอยสุขุมวิท 32 คือซอยเล็ก ๆ ที่แทรกตัวอยู่ข้างอาคารคอนโดมิเนียมสูงตระหง่าน โดยมี Jouer (ฌูเอ้) ชุมชนสร้างสรรค์ขนาดย่อมตั้งอยู่บนที่ดินด้านในสุด ประกอบไปด้วยร้านตัดผม คาเฟ่ขนมหวาน ร้านทำเล็บ ร้านเฟอร์นิเจอร์ สำนักงานสถาปนิก สตูดิโอสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ Risograph ไปจนถึงแกลเลอรี่ศิลปะ ทั้งหมดนี้หลอมรวมอยู่ใน “กลุ่มบ้าน” ย้อนยุค 4 หลังท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่ม ที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งรวมคนทำงานสร้างสรรค์ เปิดให้ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะเข้ามาเยี่ยมชมได้อย่างอิสระ แถมในบางช่วงยังมีตลาดนัดศิลปะตามวาระอีกด้วย Jouer มีจุดเริ่มต้นจาก Dai Mogi เจ้าของร้านตัดผม Rikyu ในเครือของ Boy Tokyo ที่มีชื่อเสียงมานานแล้วกว่า 20 ปี ในประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้านการผสมผสานการตัดผมเข้ากับศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ และได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นสาขาแรกในต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2553 จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Rikyu ได้ย้ายถิ่นฐานจากซอยสุขุมวิท 24 มายังซอยสุขุมวิท 32 แห่งนี้ แต่แทนที่จะทำร้านตัดผมเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้ชักชวนเพื่อน ๆ ในวงการสร้างสรรค์หลายสาขาวิชาชีพให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวใหญ่ด้วยกัน […]

KAITHONG ORIGINAL สาขาใหม่สีขาวบริสุทธิ์ ตัวแทนความจริงใจที่บอกเล่ารสชาติอาหารคุณภาพ

ไก่ทอง ออริจินัล  สาขาเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ถ่ายทอดบรรยากาศธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เหมือนอาหารที่ปรุงจากใจทุกเมนู ไก่ทอง ออริจันัล ร้านอาหารไทยสไตล์ออเรียลทัลที่ส่งต่อความอร่อยมายาวนานกว่า 24 ปี ล่าสุดกับการเปิดสาขาที่ 4 ที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี โดยคุณหนู-แสงอรุณ มนตรีวัต ผู้บริหารและสานแบรนด์ต่อจากคุณแม่อรุณี มนตรีวัต ยังคงเน้นย้ำคุณภาพอาหารที่ปรุงจากใจ เพื่อมอบให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารอร่อย ๆ ไม่ว่าจะสาขาไหนรับรองไม่ผิดหวัง และสำหรับสาขานี้ ขอเน้นการบริการที่โฟกัสและดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ กับจำนวนที่นั่งที่รองรับลูกค้าเพียง 12 โต๊ะเท่านั้น ท่ามกลางบรรยากาศปลอดโปร่งสบาย ๆ สัมผัสได้ถึงความฮาโมนี มีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มเรื่องราว สื่อถึงความความรักอันบริสุทธิ์และจริงใจ เหมือนแม่ที่คัดสรรแต่อาหารคุณภาพดีให้คนในครอบครัวได้รับประทาน โดยครั้งนี้ดีไซเนอร์จาก Trimode Studio ขอเลือกหยิบแนวคิดความเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ เพราะธรรมชาติถือเป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง และเป็นผู้ให้อย่างไม่มีเงื่อนไข ดุจเดียวกับความรักของแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้านไก่ทองตั้งใจมอบให้แก่ลูกค้ามาโดยตลอด  จากความหมายอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ได้รับการคลี่คลายผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความเป็นงานคราฟต์ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างงานอันเป็นเอกลักษณ์ของ Trimode Studio รวมเข้ากับโจทย์ของคุณหนูที่ต้องการให้ร้านมีบรรยากาศลักชัวรี่เหนือกาลเวลาและเรียบง่ายไปพร้อมกัน ภายใต้ข้อดีของทำเลที่มีช่องแสงขนาดใหญ่ถึงสามด้าน ดีไซเนอร์จึงนำแสงมาเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพื่อเชื่อมโยงแสงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน กลายมาเป็นงานดีไซน์ที่ชวนให้จินตนาการถึงถ้ำในธรรมชาติ ที่พาทุกคนลัดเลาะผ่านสเปซทางเข้าด้านหน้า ก่อนเผยให้เห็นสเปซโล่งกว้างด้านใน […]

TONY FRUIT OFFICE ออฟฟิศที่ปกคลุมไปด้วยความเขียวชอุ่ม

Tony Fruit Office ออฟฟิศกลางเมืองโฮจิมินห์ สดชื่นด้วยฟาซาดเขียวชอุ่มแบบโมดูล่าร์ที่ทำหน้าที่กรองแสงแดด ความร้อน และเสียงรบกวนรอบ ๆ ของเมืองหลวง