- Home
- Design Update
Design Update
ศูนย์บริการฉีดวัคซีน ในไอเดียแบบ “ด่านเก็บค่าผ่านทาง” เพื่อการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
ศูนย์บริการฉีดวัคซีน เริ่มเป็นพื้นที่จำเป็นในช่วงนี้ของไทยเราอย่างมาก เพราะจากกรณีที่รัฐบาลไทย นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงกลาโหมตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครบ 100 ล้านโดส ครอบคลุมคนไทยจำนวน 50 ล้านคน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ให้สำเร็จภายในปี 2564 นั้น ทำให้เมื่อคำนวญถึงสถานการณ์ปัจจุบันแล้วจะพบว่า จากวันนี้ไปจนถึงสิ้นปีซึ่งก็คือ 200 กว่าวัน การฉีดวัคซีนจะต้องมีผู้รับวัคซีนถึงวันละ 450,000 โดสขึ้นไป จึงจะสำเร็จได้ ซึ่งปัจจุบันก็เรียกได้ว่ายังถือว่าห่างไกลอยู่หลายเท่านัก แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันไปเพราะยังมีอีกหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้ในที่สุด NBBJ บริษัทออกแบบชั้นนำที่มีออฟฟิสกระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ได้นำเสนอวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้สามารถกระจายการให้วัคซีนได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ด้วยการปรับช่องการจราจรหรือพื้นที่จอดรถ ให้กลายเป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนแบบ “Drive-through” หรือก็คือการขับรถเข้าไปรับวัคซีนแบบไม่ต้องลงมาติดต่อเลย ด้วยโครงสร้างผนังที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ออกแบบมาให้ปรับใช้กับลักษณะการจราจรโดยทั่วไปได้ทันที ขนส่งด้วยรถเทรลเลอร์และประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว ผนังโค้งเหล่านี้จะมีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับแพทย์และพยาบาลในการแจกจ่ายวัคซีนโดยง่าย สามารถนำไปติดตั้งตามพื้นที่สัญจรหรือลานจอดรถในทุกพื้นที่ของเมืองเมื่อผู้ต้องการรับวัคซีนขับรถมาถึงจุดจอด ด้วยระบบการลงทะเบียนออนไลน์ที่กำหนดให้ผู้ที่อยู่ในรถสามารถเข้ารับวัคซีนได้แล้วนั้น ผู้รับวัคซีนก็เพียงแค่แสดง QR ยืนยันการอนุมัติการรับวัคซีนจากระบบ และเข้ารับวัคซีนในพื้นที่ใดก็ได้ที่มีศูนย์ “Vaccine Drive-through” เมื่อพยาบาลได้ฉีดวัคซีนให้แล้ว ก็นั่งดูวิดีทัศน์เพื่อสอบอาการ ก่อนจะขับออกไปสู่จุดหมายปลายทางในที่สุด และเมื่อพื้นที่ดังกล่าวได้รับการปูพรมวัคซีนจนครบแล้วก็สามารถรื้อถอนโครงสร้างไปยังพื้นที่ต่อไปได้โดยง่าย การรับวัคซีนในรถเช่นนี้ ช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อจากการชุมนุมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน เอาเข้าจริง ถ้าคำนวญจากปริมาณรถที่วิ่งเข้า “ด่านเก็บค่าผ่านทางด่วน” […]
EASTERNGLASS CAFE คาเฟ่ในโรงงานทำแก้วแฮนด์เมด ได้อารมณ์อินดัสเทรียลสุดเท่แบบแท้ ๆ
ปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในยุคโควิด-19 ให้คนไทยรู้จักแบรนด์แก้วทำมือสุดประณีตรายใหญ่แห่งเดียวในกรุงเทพฯ กับการเปลี่ยนพื้นที่ในโรงงานให้เป็นคาเฟ่ เต็มอิ่มกับบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่ ๆ พร้อมเล่าเรื่องราวความเป็นมาของโรงงานแก้วบูรพา หรือ EasternGlass Manufacturer Co., Ltd ที่ดำเนินงานมากว่า 70 ปี EasternGlass Cafe จากพื้นที่ที่เคยเป็นส่วนของสำนักงานด้านหน้า มาวันนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็น EasternGlass Cafe สไตล์อินดัสเทรียลสุดเท่ ให้บรรยากาศของการมาเยือนโรงงานแท้ ๆ เชื่อมต่อกับโกดังขนาดใหญ่ เปิดต้อนรับลูกค้าให้เข้ามาพักผ่อนจิบกาแฟอร่อย ๆ พร้อมกับช้อปปิ้งแก้วแฮนด์เมดสวย ๆ เกรดส่งออกสุดประณีต โดยฝีมือจากช่างเป่าแก้วชาวไทย ซึ่งยังคงดำรงวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมมาตลอด ที่นี่จึงถือเป็นโรงงานผลิตแก้วทำมือเพียงแห่งเดียวและเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตลอดการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การทำโป๊ะแก้วครอบโคมไฟสมัยคุณปู่ เรื่อยมาถึงรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ และคุณอา ที่เน้นส่งออกผลิตภัณฑ์แก้วหลากหลายรูปแบบ จนถึงทายาทรุ่นที่สามในยุคปัจจุบัน สินค้าของโรงงานเน้นส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศกว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์ กระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงแรม ร้านอาหาร และแบรนด์ของตกแต่งบ้าน ในแถบประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวียน โรงงานจึงถึงคราวต้องปรับตัวเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ ด้วยการบริหารของคุณปีเตอร์-พีรัท จงอัศญากุล โดยเขาได้เล่าถึงการกลับมาตีตลาดในไทย และเปิดพื้นที่ให้ลูกค้าได้เข้ามาสัมผัสคาเฟ่ในโรงงานว่า “ช่วงหลังเราเพิ่งเห็นเทรนด์เมืองไทยว่า ลูกค้าให้ความสนใจกับการตกแต่งบ้านมากขึ้น รวมทั้งเหล่าดีไซเนอร์ที่ต้องการพร็อปส์ที่เป็นงานคราฟต์ […]
IN HARMONY WITH NATURE CAFE ผสานสีเขียวตัวแทนธรรมชาติ ลงในคาเฟ่สไตล์ลอฟต์กลางกรุงนิวยอร์ก
คอนกรีตดิบกระด้างที่ถูกแต่งแต้ม และแทรกด้วยองค์ประกอบสีเขียวดูตัดกันภายใน คาเฟ่นิวยอร์ก แห่งนี้ หากมองให้ลึกลงไปถึงแนวคิด ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงการใช้สีเขียวเพื่อสร้างความสะดุดตาเท่านั้น แต่มีความหมายเชิงสัญญะซ่อนอยู่ เพื่อสื่อถึงเป็นธรรมชาติที่คนในเมืองส่วนใหญ่ต่างโหยหา ท่ามกลางการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบวุ่นวาย จนแทบหามุมสงบ ๆ และผ่อนคลายอย่างแท้จริงไม่ค่อยจะเจอ สตูดิโอ Reutov Design จึงขอจัดเสิร์ฟความต้องการนั้น ให้บรรจุลงใน คาเฟ่นิวยอร์ก แห่งใหม่ อีกหนึ่งโปรเจ็กต์อันโดดเด่นของทีม ด้วยการบูรณะพื้นที่ขนาด 46 ตารางเมตร ที่อยู่บริเวณบนชั้นล่างของอาคารเก่าให้กลายเป็นคาเฟ่สีเขียวโปร่งโล่ง ผสมผสานการตีความสร้างสรรค์ของการออกแบบและองค์ประกอบที่หยิบยกไอเดียมาจากธรรมชาติ ผ่านการใช้งานที่สดใสและมีสีสัน ภายในห้องคอนกรีตเผยผิวเปลือยเปล่า สีเขียวถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ กระตุ้นให้ทุกคนเกิดความกระปรี้กระเปร่า สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือเหล่าท่อตกแต่งที่ชวนให้จินตนาการถึงลำต้นของไผ่ขนาดใหญ่ผาดผ่านอยู่บนฝ้าเพดาน และโชว์ตัวสวยเท่ในแบบสไตล์ลอฟต์ ซึ่งให้ทั้งมุมมองที่แปลกตาและทันสมัย นอกจากนั้นยังมีไอเดียการนำแผ่นกระจกโทนสีเขียวมาติดตั้งให้ตัดกันกับพื้นหลังคอนกรีตผิวขรุขระ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนผนังด้านหลังที่นั่ง และด้านหน้าเคาน์เตอร์ พร้อมกับจัดวางเก้าอี้ PAPYRUS RONAN & ERWAN BOUROULLEC by Kartell ด้วยการผสมผสานกันทั้งวัสดุแก้วและท่อโลหะสีเขียว จึงนับเป็นการถ่ายทอดให้เห็นว่า รูปแบบธรรมชาติและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นั้น สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไร อีกทั้งสีเขียวยังช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ผ่อนคลายและมีสมาธิขึ้น ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการออกแบบคาเฟ่กลางเมือง เพื่อให้ที่นี่เป็นดังโอเอซิสใช้หลบพักจากความวุ่นวาย แล้วมาเพลิดเพลินไปกับกาแฟรสเลิศ และฟังดนตรีไพเราะ ก่อนก้าวออกไปนอกร้านพร้อมลุยชีวิตกลางมหานครนิวยอร์กอย่างกระปรี้กระเปร่า ออกแบบ […]
THE RAJASTHAN SCHOOL พื้นที่เรียนรู้และเล่นสนุกที่มีหลังคาเป็นก้อนเมฆ
นี่คือพลังการสร้างสรรค์ ที่ได้ผลลัพธ์เป็นพื้นที่เรียนรู้และเล่นสนุกที่มีหลังคาเป็นก้อนเมฆ เย็นด้วยลมธรรมชาติ และสว่างด้วยแสงจากดวงอาทิตย์
FLAT+WHITE CAFE คาเฟ่ขาวนวลมินิมัลในย่านทองหล่อ
ถ้าถามว่าเมนูกาแฟอะไรคือเอกลักษณ์ของออสเตรเลีย ประเทศต้นกำเนิดกระแสกาแฟ Thrid Wave ก็คงบอกได้ทันทีว่าคือ Flat White ประกอบกับที่เจ้าของร้าน(และบ้านที่ชั้นบน) เคยไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เมื่อกลับมาไทยเขาจึงเปิดร้านกาแฟของตัวเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า Flat+White Cafe เพื่อบ่งบอกตัวตนและความผูกพันกับกาแฟที่นั่น “ความนุ่มละมุนจากครีมนม” คือคอนเซ็ปต์ที่ถูกนำมาใช้ สองส่วนหลักที่เห็นได้ชัดคือ “สีสันบรรยากาศ” และ “เส้นสายโค้งรับต่อเนื่อง” ตลอดทั้งโครงการ การเลือกใช้ “สีขาว” เป็นหลักนี้ เพื่อสื่อถึงความนวลเนียนของนมบนกาแฟที่ถูกเจือด้วยสีน้ำตาลอ่อน ๆ ผนวกกับพื้นผิวที่ใช้เทคนิคปูนปั้นสร้างความนูนต่ำเกิดเป็นแสงเงาคล้ายคลื่นบาง ๆ ทำให้รู้สึกถึงความนุ่มละมุนมากยิ่งขึ้น เปรียบได้กับการที่เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านแห่งนี้ ก็เหมือนได้เข้าไปอยู่ในครีมนมอันนวลเนียน อีกส่วนคือ “เส้นสายต่อเนื่อง” ที่ถูกใช้ตั้งแต่ฟาซาดภายนอก จนไหลเข้าสู่ภายในนั้นเปรียบเหมือนเทคนิค Latte Art ของการเทแบบ Free Pouring การสร้างลวดลายที่เกิดจากการซ้อนทับของชั้นเลเยอร์จากนม เมื่อถูกเทลงไปแล้วส่ายสะบัดจนเกิดเป็นลวดลาย ภายนอกนั้นใช้สเตนเลสแผ่นทำสีขาวด้านซ้อนเรียงกันและโค้งรับขับเน้นบริเวณทางเข้าไหลเข้าสู่ภายใน ทุกพื้นที่มีการเน้นด้วยเส้นและการซ้อนกันของฝ้าเพดาน สร้างความต่อเนืองโค้งมนช่วยลบความรู้สึกเป็นเหลี่ยมของอาคาร “เมื่อจะออกแบบร้านการแฟร้านนี้ ผมอยากให้มันร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันไปตลอดทั้งอาคาร ตั้งแต่แรกเห็นที่จากภายนอกจนเข้าสู่ภายใน ไปจนถึงทุก ๆ องค์ประกอบ เช่น ลวดลาย สีสัน […]
LITTLE ISLAND สวนสาธารณะลอยน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน
LITTLE ISLAND สวนสาธารณะลอยน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน ที่ตั้งอยู่บนกระถางคอนกรีตยักษ์จำนวนกว่า 132 กระถางที่เชื่อมกันจนเกิดเป็นสวน พร้อมพันธุ์ไม้นานาพรรณ
บันทึกเพื่อพิทักษ์ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ในมุมมองของ วีระพล สิงห์น้อย และฤกษ์ดีโพธิวนากุล
จากมุมมองของผู้คนทั่วไปรูปลักษณ์อันคุ้นชิน ของสถาปัตยกรรม “สมัยใหม่” คงดูไม่เก่าแก่ พอจะให้นึกไปถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันอาคารที่เก่าคร่ำคร่าผ่านการ ใช้งานมาอย่างยาวนานและต้องอาศัย งบประมาณก้อนโตในการบำรุงรักษา หลาย คนอาจมองว่าไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์สักเท่าไร ซึ่งในสภาพ “กลางเก่ากลางใหม่” เช่นนี้ คุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จึงดู คลุมเครือยิ่งนักในบริบทปัจจุบัน แต่สำหรับ วีระพล สิงห์น้อย หรือ ช่างภาพสถาปัตยกรรมอิสระที่หลายคนรู้จัก ในนาม Beersingnoi ความงามของอาคาร เหล่านี้กลับสะดุดตาเขาจนกลายเป็นความ สนใจที่มาของโปรเจ็กต์งานอดิเรกในการ ติดตามเก็บบันทึกภาพงานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ในประเทศไทย ด้วยความตั้งใจ ที่จะเก็บบันทึกมุมมองความงามทางสถาปัตยกรรมในแบบของเขา บนความไม่แน่นอนว่า อาคารเหล่านั้นจะ”อยู่รอด”ถึงเมื่อไร และเมื่อชุดภาพเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ ผ่านเพจ Foto_momo มุมมองผ่านเลนส์ ที่เฉียบขาดของวีระพลก็ดูเหมือนจะช่วย จุดประกายคุณค่าและความสนใจของคน รุ่นใหม่ในสถาปัตยกรรมจากยุคโมเดิร์น ได้ไม่น้อย ซึ่งเบื้องหลังการออกเดินทาง ตามหาตึกเก่า เขาได้พบกับอาจารย์ฤกษ์ดี โพธิวนากุล อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยก ร รมศาสต ร์ มหาวิทยาลัยศิลปาก ร ผู้มีความสนใจในสถาปัตยกรรม Modern Architecture เช่นเดียวกัน มิตรภาพที่ เบ่งบานท่ามกลางบรรยากาศโมเดิร์นนิสม์ […]
INFINITY WELLBEING สปาสีมินต์โอเอซิสสีเขียวในย่านสุขุมวิท
สปา ในย่านสุขุมวิทแห่งนี้ มาพร้อมกับแนวคิดที่อยากชวนทุกคนไปผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศที่สดชื่น กับการออกแบบพื้นที่สำหรับพักผ่อนและปรนนิบัติร่างกายให้พร้อมกลับมากระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง เรื่องของบรรยากาศถือเป็นสิ่งสำคัญของการออกแบบ สปา ดังที่ Space Popular สตูดิโอออกแบบชื่อดังได้ออกแบบ Infinity Wellbeing สปาแห่งใหม่ให้มีบรรยากาศราวโอเอซิสกลางซอยสุขุมวิท 20 ภายนอกรายล้อมด้วยต้นไม้และสวนสีเขียว อีกทั้งโปรแกรมการปรนนิบัติร่างกายและผิวพรรณจากผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกคุณภาพดี ท่ามกลางทำเลที่รายล้อมด้วยตึกสูงระฟ้า การจราจรพลุกพล่าน และร้านรวงข้างทาง ทันทีเมื่อเข้ามาที่นี่จะรู้สึกราวกับหลุดเข้ามายังโลกใหม่ บรรยากาศเรียบง่าย ให้ทั้งความรู้สึกสบายและอบอุ่น เด่นด้วยการเน้นใช้ธีมสีหลักอย่าง “สีเขียวมินต์” เพื่อสื่อสารถึงความเป็นธรรมชาติและความร่วมสมัย โดยสะท้อนผ่านเหล่าเฟอร์นิเจอร์คอลเล็กชันล่าสุดของ Space Popular ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้นั่งเล่น เก้าอี้บาร์ เก้าอี้ปรับเอนได้ พร้อมที่วางขาโต๊ะข้าง และโต๊ะกาแฟ โดดเด่นด้วยโครงที่ทำจากท่อโลหะสีเขียวมินต์ร่วมกับเบาะสีฟ้าอ่อน ดีไซน์น่ารัก นุ่มสบาย นอกจากเฟอร์นิเจอร์แล้ว ดีไซเนอร์ยังเลือกใช้โลหะทองแดงมาตีเป็นกริดตกแต่งเพดาน ต่อเนื่องลงมาเป็นโคมไฟสำหรับตกแต่งเหนือที่นั่งแต่ละตัวที่วางอยู่ในบริเวณโถงต้อนรับและพักคอย วัสดุและสิ่งของตกแต่งผลิตโดยช่างตัดเย็บฝีมือดีชาวไทย ผสมผสานกันอย่างละเอียดอ่อนกับวัสดุราคาไม่แพงหาได้ทั่วไปอย่าง แผ่นโฟมหุ้มบรรจุภัณฑ์สีขาว ด้วยการนำมาตกแต่งเป็นแพตเทิร์ตประดับบนเพดานของห้องทรีตเมนต์แต่ละห้อง แล้วซ่อนไฟไว้ด้านในให้แสงไฟลอดผ่านลงมาเป็นลำเเสงสีนวลตา เป็นไอเดียง่าย ๆ แต่สวยงามดูหรูหราขึ้นมาทันที พื้นที่ต้อนรับส่วนกลางและพื้นที่นั่งเล่น ออกแบบให้เชื่อมต่อกับห้องทรีตเมนต์ ซึ่งต้องเดินผ่านผนังที่ตกแต่งด้วยครีบไม้ทาสีเขียว 2 เฉดสี เพื่อสร้างมิติคล้ายเงายามถูกแสงตกกระทบ ห้องทรีตเมนต์มีทั้งแบบห้องสวีท ออกแบบให้หันหน้าไปสู่สวนที่ตกแต่งต้นไม้สวย […]
ZORBA SPACE สตูดิโอในตึกแถวเก่าสไตล์โคโลเนียล
รีโนเวตตึกแถวเก่า สไตล์โคโลเนียลสองชั้นบนถนน Nguyen Cong Tru ที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้เป็นสตูดิโอทำงานด้านภาพยนตร์และโฆษณาของคนรุ่นใหม่ โดยที่นี่ไม่ได้มีเพียงพื้นที่ของสำนักงานธรรมดา ๆ แต่ยังมีฟังก์ชันการใช้งานที่ยืดหยุ่น เช่น มุมฉายภาพยนตร์ ร้านกาแฟ และแกลเลอรี่ โดยทีมสถาปนิก sgnhA เป็นผู้รับหน้าที่ รีโนเวตตึกแถวเก่า แห่งนี้ โดยยังคงเก็บรายละเอียดที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของสถานที่ตั้งเอาไว้อย่างดี ผสมผสานไปกับวัสดุสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น เรียกได้ว่ารื้อถอนวัสดุหรือโครงสร้างดั้งเดิมน้อยมากที่สุด โดยเลือกที่จะเผยเสน่ห์ของพื้นผิวและองค์ประกอบบางอย่างไว้ อันเป็นของขวัญแห่งกาลเวลา เช่น ร่องรอยของสีลอกล่อนบนผนัง กระเบื้องปูพื้นลายตารางขาว-ดำ ตะแกรงลวดตาข่ายทำมือบริเวณเหนือวงกบไม้ ประตู และหน้าต่างไม้ รวมถึงคอร์ตยาร์ดในอาคาร ขณะที่การรีโนเวตพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานใหม่ สถาปนิกได้ใช้โครงสร้างเหล็กเข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มและเป็นเสมือนการค้ำยันโครงสร้าง ร่วมด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตวัสดุสมัยใหม่ทั้งในส่วนผนังและหลังคาสกายไลท์ เพื่อเรียกแสงธรรมชาติและความปลอดโปร่งเข้ามาสู่พื้นที่ ลดปัญหาความทึบตันของตึกแถวได้อย่างดี พื้นที่เด่น ๆ ที่อยากพูดถึง นั่นคือโถงอเนกประสงค์ซึ่งมีลูกเล่นด้วยการติดตั้งรางโค้งจากโครงเหล็ก ติดแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลื่อนเปิด-ปิดได้ เมื่อต้องการแบ่งสัดส่วนการใช้งานหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์สีสันจี๊ดจ๊าดแนวสตรีทที่คุ้นตาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นม้านั่งพลาสติกสีแดงและสีน้ำเงิน เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่นำกลับมาใช้ใหม่ เคล้าด้วยกลิ่นอายวินเทจจากของตกแต่งแนวอวกาศ อีกโซนที่เป็นไฮไลต์คือบันไดวนสีเหลืองสดตรงพื้นที่คอร์ตกลาง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชั้นล่างกับชั้นบนนำขึ้นสู่มุมทำงาน ที่มองเห็นบรรยากาศของท้องฟ้าและชมวิวเรือนยอดของต้นไม้อายุกว่าศตวรรษได้ ช่วยให้ไอเดียการสร้างสรรค์งานเป็นไปอย่างบรรเจิดและลื่นไหล ออกแบบ : sgnhA […]
GUDRUN ไมโครอพาร์ตเมนต์ในเวียนนา กับฟาซาดหน้าต่างมุขทรงบ้านชนบทของออสเตรีย
สตูดิโอออกแบบ BFA x KLK Architekten บรรจุพื้นที่พักอาศัยจำนวน 50 ยูนิต พร้อมกับพื้นที่สำนักงานอีก 6 ยูนิต ลงในอพาร์ตเมนต์แห่งใหม่ กับโปรเจ็กต์ที่เพิ่งเสร็จไปล่าสุดซึ่งมีชื่อว่า Gudrun Business Apartments หรือ Gudrunstraße สร้างขึ้นบนที่ดินเปล่าในกรุงเวียนนา เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย
10 ปี ที่ผ่านมาของ BACC สนทนากับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ถึง 10 ปี หลังจากนี้ไป
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่เราคุ้นกันในชื่อหอศิลป์ BACC นั้น เป็นหอศิลปวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านสื่อศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนนิทรรศการที่น่าสนใจอยู่เสมอ และหอศิลป์แห่งนี้ก็ได้ดำเนินการมาจนครบ 10 ปี แล้ว ด้วยพันธกิจในการขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าใจคุณค่าและความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นไปจนถึงบริบทของโลก และอย่างที่เป็นข่าวในการต่อสัญญาโดยกรุงเทพมหานครไปอีก 10 ปี วันนี้ room จึงพามาพูดคุยกับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่-ผู้อำนวยการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถึง 10 ปี ที่ผ่านมา และอีก 10 ปี ที่หอศิลป์ฯแห่งนี้ กำลังก้าวเดินไป ทั้งบทบาทหน้าที่ที่อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และแนวโน้มของนิยามความเป็นเมืองแห่งศิลปะของกรุงเทพฯ กทม. เคาะต่อสัญญา อีก 10 ปี ให้กับหอศิลป์เกิดอะไร? ทำไมถึงเป็นประเด็น? room : จากข่าวของการต่อสัญญา อีก 10 ปี โดยกรุงเทพมหานครให้กับทางหอศิลป์ฯ จริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น หอศิลป์ฯ ยังดำเนินการเหมือนเดิม หรือมีอะไรเปลี่่ยนแปลงไปหรือไม่? BACC : […]
TEWA CAFE คาเฟ่เปิดใหม่ริมแม่น้ำป่าสัก เล่าวิถีผูกพันกับสายน้ำที่อยุธยา
Tewa Cafe คาเฟ่ริมน้ำบรรยากาศดี โดดเด่นด้วยสไตล์ Thai Contemporary ที่แตกแขนงจากร้านอาหารแพเทวราชที่มีชื่อเสียงเก่าแก่คู่อยุธยามานานกว่า 40 ปี DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: BodinChapa Architects เมื่อรุ่นหลานเข้ามาสานต่อกิจการ จุดเริ่มต้นของการเพิ่มมิติในด้านของอาหารครั้งนี้ของ Tewa Cafe จึงเกิดขึ้น เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันที่มีหลากหลายกลุ่ม โดยได้เพิ่มเมนูอาหาร และเครื่องดื่มให้ตอบโจทย์กับยุคสมัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมนูเครื่องดื่ม กาแฟ และอาหารสไตล์อิตาเลี่ยน และเนื่องจากทำเลของร้านอาหารแพเทวราช และ Tewa Cafe ตั้งอยู่ตรงหัวมุมซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างแม่น้ำป่าสักกับคลองข้าวเม่า ทำให้สามารถมองเห็นวิวแม่น้ำและวิถีชีวิตริมน้ำได้อย่างดี จึงเป็นที่มาของการนำปลาตะเพียนสัญลักษณ์ความผูกพันกับสายน้ำมาเป็นไอเดียการออกแบบ โดยสถาปนิกจาก BodinChapa Architects ได้ดึงรูปฟอร์มยามเมื่อนำปลาตะเพียนใบลานมาคลี่ออก แล้วจะเห็นเส้นสายของใบลาน 2 เส้นที่เกาะเกี่ยวกันไปมา ก่อนดึงฟอร์มของเส้นสายนั้น มาใช้เป็นเส้นที่เชื่อมเรื่องราว และทำให้เกิดโครงอาคารที่พิเศษแปลกตาเมื่อมาถึงด้านหน้าของอาคาร ทุกคนจะสะดุดตากับการเลือกใช้อิฐสีเทามาเรียงต่อกันเป็นแนวต้อนรับ โดยมีแพตเทิร์นคล้ายงานจักสานเรียงสลับกันไปมาจนเกิดลวดลาย ก่อนนำเข้าสู่พื้นที่ด้านในร้าน บริเวณชั้น 1 ประกอบด้วยพื้นที่ผลิตอาหารเครื่องดื่ม ส่วนต้อนรับลูกค้า พร้อมที่นั่งรองรับลูกค้า ซึ่งเน้นเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ เพื่อสร้างบรรยากาศอบอุ่นเรียบง่าย มีมุมโดดเด่นอย่างเคาน์เตอร์ที่นั่งที่ก่อฐานจากอิฐสีเทาเช่นเดียวกับด้านหน้า ล้อมต้นองุ่นทะเลไว้ตรงกลาง กลายเป็นจุดเด่นช่วยเติมชีวิตชีวาให้กับร้าน ขณะที่บริเวณผนังด้านหน้าอาคารบางส่วนออกแบบให้เป็นผนังทึบ […]