© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
Jingdezhen Imperial Kiln Museum พิพิธภัณฑ์ในคราบถ้ำอิฐโค้งรูปทรงเตาเผาโบราณ ที่สะท้อนตัวตนและวัฒนธรรมของชาวจิ่งเต๋อเจิ้นได้อย่างเด่นชัด
Petch Thailand ร้านเครื่องประดับบนชั้นล่างของบ้านตึกแถวของ คุณสุรีย์ ศิริวัจนางกูร ที่ได้ คุณกิฟ-วรากร เติมวัฒนาภักดี มัณฑนากรจาก Gratitude Design มาคลี่คลายเหลี่ยมเพชรสู่สเปซจับต้องได้ในสไตล์โมเดิร์นลักซ์ชัวรี
ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เกิดขึ้นได้อย่างไร เรามีส่วนก่อปัญหานี้แค่ไหน ร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อเราหรือไม่ และมีแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างไร ท่านผู้อ่านเคยสงสัยกันบ้างไหม? วันนี้ room หาคำตอบมาให้แล้ว ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เป็นอีกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เริ่มมีการตื่นตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเพราะภาพข่าวของสัตว์ทะเลที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกซึ่งย่อยสลายยากเหล่านี้ ภาพของเกาะขยะกลางทะเลขนาดใหญ่เท่าประเทศย่อม ๆ หรือแม้แต่ไมโครพลาสติกที่กลับมาสู่คนเมืองในรูปการปนเปื้อนทางอาหาร แต่ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากที่ใด เรามีส่วนกับการก่อปัญหานี้มากแค่ไหน และเราจะมีแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขได้ปัญหานี้ได้อย่างไร วันนี้ room จึงได้มาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงอย่าง ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ หัวหน้า หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการขยะพลาสติกในทะเล (Marine Plastics Abatement หรือ MPA) คณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา (SERD) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาอธิบายและไขข้อสงสัยให้กับเราอย่างหมดเปลือก ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล ปัญหาที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด room : ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล บางครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แท้จริงแล้วเกี่ยวข้องกับใครบ้าง? ศ.ดร.ธรรมรัตน์ : “จริง ๆ ปัญหาขยะทางทะเล ไม่ได้เกิดขึ้นจากกิจกรรมในทะเลอย่างเดียว มีการศึกษาว่า 80% นั้นมาจากขยะบนบกแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัญหาขยะทางบกก่อนแล้วไหลลงสู่ทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศในทวีปเอเชียนั้นเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก” room […]
บนพื้นที่เดิมของโรงงานอลูมิเนียมในเขตหูหลี่ เมืองเซียะเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ตัวอาคารเดิมซึ่งเคยเป็นห้องอาบน้ำส่วนกลางของโรงงาน ที่เมื่อปี 2019 อาคารนี้ได้รับการปรับปรุงพื้นที่บางส่วนให้เป็นอาคารสำนักงานสร้างสรรค์ บาร์ สนามบาสเก็ตบอล และพื้นที่ไลฟ์สตรีมมิง กระทั่งล่าสุด TEAM_BLDG ได้รับโจทย์จากศิลปิน Jiang Sheng ในการปรับปรุงพื้นที่อาคารส่วนที่เหลือเป็นสตูดิโอแห่งใหม่ และพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการในชื่อโครงการ The Field
The Motifs Eco Hotel ตั้งอยู่ที่จันทบุรี บนถนนท่าแฉลบ ตัวโรงแรมห่างออกมาจากตัวเมืองไม่ไกล ภายในชุมชนเล็ก ๆ ที่เป็นบ้าน 2-3 ชั้น กับความตั้งใจของเจ้าของที่อยากสร้างโรงแรมในที่ดินตกทอดของครอบครัว ให้เป็นส่วนเดียวกันกับชุมชน เพื่อถ่ายทอดเสน่ห์และอัตลักษณ์ของเมืองจันท์ ทั้งยังส่งเสริมวิถีการใช้ชีวิตแบบ Eco จึงกลายมาเป็น The Motifs Eco Hotel โดยมีสถาปนิกที่โดดเด่นด้านการสร้างอาคารที่สอดรับกับธรรมชาติอย่างคุณแก้ว-คำรน สุทธิ จาก Eco Architect มาเป็นผู้รับหน้าที่ออกแบบให้ โรงแรมในแบบ Chantaburi-Modern-Craft สถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจันทบุรีคือ หมู่ตึกแถวเก่าที่ชุมชนริมน้ำจันทบูร ซึ่งสิ่งที่ The Motifs Eco Hotel ได้เลือกนำมาใช้ คือเอกลักษณ์ของบานหน้าต่าง ลวดลาย และซุ้มโค้ง ที่ทำให้เมื่อมองผ่านจากห้องสู่ภายนอก หรือจากพื้นที่หนึ่งสู่อีกพื้นที่หนึ่งจะได้บรรยากาศที่โรแมนติกในแบบเมืองจันท์ มีความคล้ายบ้านเก่า แต่ในการปรับใช้นั้นก็ได้มีการคลี่คลายรายละเอียดเพื่อให้องค์ประกอบดั้งเดิมนั้น สามารถเข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมโมเดิร์นได้ดียิ่งขึ้น ลดหลั่นความใหญ่โต เลือกใช้วัสดุ ให้ดูเป็นมิตรมากขึ้น เพราะอยู่ในชุมชนเล็ก ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นบ้าน 2-3 ชั้น จึงทำให้โรงแรมนั้นต้องไม่ดูเป็น […]
Formica® ผู้นำแห่งการรังสรรค์นวัตกรรมงานออกแบบวัสดุปิดพื้นผิว ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ เปิดตัวคอลเล็กชั่นใหม่ล่าสุดของปี 2021 สำหรับภูมิภาคเอเชีย ในรูปแบบของแคตตาล็อก “Formica For Me, Formica For More” ซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ล่าสุด ที่มาพร้อมนวัตกรรมอันเป็นหัวใจหลักของฟอร์ไมก้า ตอบรับกับแนวโน้มการสร้างสรรค์พื้นที่ใช้ชีวิตในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ยากจะคาดการณ์
Greenhouse Orchid Punta del Este เรือนกล้วยไม้ ดีไซน์น่ารักในประเทศอุรุกวัย เอาใจนักปลูกโดยเฉพาะผู้คลั่งไคล้กล้วยไม้ นอกจากจะเป็นงานอดิเรกแล้ว กล้วยไม้สวย ๆ ที่ปลูกยังสามารถสร้างรายได้กลับคืนให้แก่เจ้าของได้ด้วย เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายคนเลือกที่จะใช้เวลาอยู่กับบ้าน งดออกไปเดินทางท่องเที่ยวเหมือนเช่นเคย แต่ด้วยความหลงใหลในพฤกษศาสตร์โดยเฉพาะกล้วยไม้ ทำให้ Ana เลือกที่จะใช้ความชอบและงานอดิเรกของเธอมาต่อยอดเป็นธุรกิจร้านกล้วยไม้ตรงสนามหญ้าหน้าบ้าน โดยยกหน้าที่ให้ Mateo Nunes Da Rosa ช่วยออกแบบ Greenhouse Orchid Punta del Este ขนาด 20 ตารางเมตร หลังนี้ ให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ในสภาพอากาศของประเทศอุรุกวัย พร้อมโจทย์ที่ว่า ตัวอาคารจะต้องดูโปร่ง ปรับเปลี่ยนได้ และสามารถสร้างสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการอยู่รอดของกล้วยไม้สุดที่รักของเธอ เพราะกล้วยไม้ต้องการสภาพอากาศที่เฉพาะเจาะจง การออกแบบกรีนเฮ้าส์ให้มีพร้อมทั้งฟังก์ชันและความสวยงามควบคู่กัน จึงเป็นเรื่องที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงมากเป็นพิเศษ โดยเรือนกล้วยไม้จะต้องควบคุมได้ทั้งอุณหภูมิแสง ความชื้น และการระบายอากาศ รูปร่างของอาคารถูกออกแบบมาในลักษณะหลังคาทรงจั่วอย่างเรือนปลูกอื่น ๆ ขณะที่ผนังโดยรอบเน้นความปลอดโปร่งเพื่อให้ชื่นชมกับสีสันของเหล่ากล้วยไม้ และรับแสงได้อย่างทั่วถึง ภายใต้ระบบที่ช่วยป้องกันลม ความเย็น และแสงแดดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ระหว่างอาคารทั้งสองหลังจะมีบานประตูเปิด-ปิดช่วยระบายอากาศ […]
โรงเรียนทางเลือก แนวมอนเตสซอรี่ (Montessori) ในประเทศเวียดนาม ที่ปลูกฝังให้เด็ก ๆ เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติอย่างอิสระ โรงเรียนทางเลือก แห่งนี้มีชื่อว่า My Montessori Garden ตั้งอยู่ในเมืองฮาลอง จังหวัดกวางนินห์ ประเทศเวียดนาม สร้างขึ้นโดยเน้นการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาที่มีต้นกำเนิดในยุโรปช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และได้รับการพัฒนาในเวียดนามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเน้นการเรียนการสอนที่เคารพความเป็นอิสระของเด็ก พร้อม ๆ กับสร้างสภาพแวดล้อมให้พวกเขาได้สำรวจและสัมผัสโลกผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เหมาะเป็นหลักสูตรสำหรับเด็กวัยอนุบาล ที่ควรได้รับการปลูกฝังให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่การยัดเยียดสิ่งที่ผู้ใหญ่อยากให้เป็นลงไปในตัวเด็ก ๆ ฉะนั้นการออกแบบที่นี่ของทีมสถาปนิกจาก HGAA จึงมีแนวทางที่สอดคล้องกับปรัชญาการเรียนการสอนดังกล่าว ด้วยการนำพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ๆ มาตั้งเป็นโจทย์ แล้วจึงออกแบบโรงเรียนให้ตอบสนองกับความต้องการของเด็ก ๆ โดยเน้นสร้างอาคารที่มีความเรียบง่ายจากโครงสร้างเหล็ก ซึ่งใช้เวลาการติดตั้งแล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อที่ดินที่เป็นแบบเช่าระยะยาวนี้ให้น้อยที่สุด และหากครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ก็สามารถรื้อถอนเคลื่อนย้ายไปติดตั้งที่อื่นได้ทั้งหลัง ห้องเรียนจากโครงสร้างเหล็กมีจำนวน 2 ยูนิต ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายและขวาโดยเว้นพื้นที่ตรงกลางไว้เป็นทางสัญจร ด้านบนมีทางเดินเหนือศีรษะเชื่อมต่อถึงกัน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีพื้นที่เดินเล่นมากขึ้น ภายในอาณาเขตของโรงเรียนที่มีเพียง 600 ตารางเมตร เพื่อความปลอดภัยได้ทำราวกันตกจากตะแกรงลวดตาข่าย สร้างความร่มรื่นด้วยพื้นที่สวน 2 […]
อาคารสีขาวที่ถูกคว้านเป็นทรงกรวยแปลกตาทั้งยังห่อหุ้มไว้ด้วยเหล็กตะแกรงนี้ตั้งอยู่ในย่านสะพานควาย ย่านที่พลุกพล่านที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ เพื่อสร้างให้เกิดภาพจำเชิงสัญญะแก่ผู้สัญจร และเพื่อให้อาคารแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่จะสร้างพลังงานที่ดีคืนแก่บริบทของย่านและเหล่าผู้คนที่ผ่านไปมาริมถนน การออกแบบความเชื่อมโยงระหว่างภายนอกและภายในจึงเป็นส่วนสำคัญ และผู้ที่เข้ามารับหน้าที่นี้ก็คือ PHTAA สตูดิโอออกแบบที่โดดเด่นในการตีความสร้างนิยามใหม่ๆให้กับงานทุกชิ้นที่ได้ผ่านมือพวกเขา BLU395 เป็นอาคารแบบ Mixed Used ที่มีห้องพัก 84 ห้อง และร้านค้า 3 ร้านผสมเข้าด้วยกัน อาจกล่าวได้ว่าอาคารหลังนี้มีจริตแบบ Modernism อยู่ในตัว ด้วยการแสดงออกอย่างชัดเจนจากภายนอกถึงลักษณะของโครงสร้างและพื้นที่การใช้งาน จากภายนอก ผู้สัญจรจะสามารถมองเห็นตะแกรงเหล็กที่นำมาใช้เป็น Facade ได้อย่างเด่นชัด ทั้งเป็นองค์ประกอบที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขต แต่ก็โปร่งพอที่จะเห็นลักษณะของอาคารได้อย่างชัดเจน พื้นที่พิเศษเพื่อพักสายตาแล้วเดินต่อ ส่วนที่โดดเด่นที่สุดของอาคาร BLU395หลังนี้คงหนีไม่พ้น ต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของโถงบันไดซึ่งวางตัวเป็นทรงกรวยตั้ง ค่อยๆบานออกที่ชั้นบน โถงบันไดนี้มีการขึงผ้าใบสีขาวเรียบเกลี้ยงเอาไว้กั้นระหว่างความเป็นภายนอกและภายใน ทั้งทำหน้ากรองแสง กั้นความเป็นส่วนตัว และทำหน้าที่รับเงาของแสงที่ส่องผ่านโครงสร้างเปลือกอาคารลงมาเกิดเป็นเส้นโค้งที่ล้อไปกับรูปฟอร์มและตำแหน่งของไม้ใหญ่ ขับเน้นให้มุมมองสายตาที่ไล่เรียงจากชั้นพื้นที่ไม้ใหญ่นั้นเหมือนเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับบาทวิถี ค่อยๆไล่เรียงขึ้นไปยังอาคาร และแหงนมองสู่ฟ้าในที่สุด พื้นที่นี้เป็นทั้งพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกพิเศษ ทั้งสำหรับตัวผู้ใช้อาคารเอง และผู้ที่สัญจรผ่านไปมา ได้พักสายตาจากหมู่ตึกและการจราจรที่คับคั่งอีกด้วย แฝงกลิ่นอาย “ตึกแถวไทย” ด้วยรูปแบบการใช้อาคารหลังนี้อาจพาให้นึกไปถึง “ตึกแถวไทย” ได้แต่ทั้งหมดนั้นก็ได้ถูกตีความและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในแบบ PHTAA โดยที่จากชั้นล่างซึ่งเปรียบได้กับพื้นที่หน้าตึกแถวที่มักมีสวนเล็กๆและพื้นที่หย่อนใจ ซึ่งมักเป็นพื้นที่แบบ Semi-Public ก่อนที่จะขึ้นสู่ชั้นบนด้วยโถงบันไดนำพาไปยังพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเป็นห้องพักในที่สุด ประกอบกับพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ชั้นล่าง […]
50 เมตร คือความกว้างของหลังคาโค้งที่พาดช่วงยาวโดยไม่มีเสากลางของสถานีกรุงเทพ คงไม่น่าตื่นเต้นเมื่อเทียบกับสมัยนี้ แต่เมื่อกว่า 105 ปีก่อนนั้น เป็นที่น่าตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในพระนครเลย และเชื่อไหมว่าโครงสร้างหลังคานี้ยังไม่เคยต้องซ่อมครั้งใหญ่เลยจนปัจจุบัน สถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในยุคสร้างเมืองที่เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและศิลปสถาปัตยกรรมจากต่างชาติ จึงมีความผสมผสานและเป็นสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้น่าสนใจพอๆกับสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานีต้นทาง เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเส้นทางไปยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เพื่อรักษาเอกราชในยุคล่าอาณานิคม และเป็นอีกจุดเปลี่ยนของเมือง เมื่อเกิดชุมทางการขนส่งขนาดใหญ่ ณ ทุ่งวัวลำพอง แห่งนี้ มารู้จัก สถานีกรุงเทพ ซึ่งมีรหัสสถานี 1001 ในอีกมุมมองกัน ลำดับการก่อสร้างและอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของสถานีกรุงเทพ สถานีกรุงเทพ มีรูปแบบเป็นทรงประทุนเรือ หรือ อาร์คโค้ง หรือ ทรงกระบอกฝ่าซีกสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง วางผังอาคารเป็นรูปตัวอี (E) มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี มีจุดเด่น คือ กระจกสีช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี มีนาฬิกาเรือนใหญ่ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านในเป็นเอกลักษณ์ เป็นเครื่องบอกเวลาที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น นาฬิกาทั้งสองเรือนถูกสั่งทำพิเศษให้มีไฟส่องสว่างในตัว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าปัด 120 เซนติเมตร และเข็มนาฬิกามีขนาดยาวประมาณ 60 เซนติเมตร อาคารที่มีอายุมากกว่าชั่วอายุคน และมีผู้คนเข้าใช้งานแบบที่เรียกได้ว่า “สมบุกสมบัน” […]
ห้องน้ำสาธารณะ ที่ปลดทุกข์ของเมืองที่ดูอย่างไรก็เจริญตา ละม้ายว่ามันกำลังล่องลอยอยู่กลางอากาศ
party / space / design หรือ PSD ชื่อที่หลาย ๆ ท่านน่าจะเริ่มคุ้นหูกันมากขึ้น ในฐานะผู้รับหน้าที่เนรมิตพื้นที่คาเฟ่และร้านอาหารมากมาย โดยเฉพาะยุคนี้ที่เราสามารถมองหา Specialty Coffee Cafe และ Fine Dinning Restaurant ได้เกือบทุกหัวมุมถนน แต่อะไรที่ทำให้สำนักงานออกแบบแห่งนี้ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน “มือหนึ่ง” ของการออกแบบคาเฟ่และร้านอาหาร วันนี้ room ได้มีโอกาสสนทนากับคุณโต-ศุภรัตน์ ชินะถาวร Design Director & Founder ของ PSD ถึงที่มาที่ไป และแนวคิดที่สร้างให้ PSD โดดเด่นและแตกต่างจากนักออกแบบท่านอื่น ๆ เคยมีคนกล่าวว่า ‘สถาปัตยกรรมคือเครื่องจักรในการอยู่อาศัย’ ผมชอบประโยคนี้นะ เพราะเครื่องจักรนั้นจะทำงานไม่ได้เลยถ้าปราศจากมนุษย์ ร้านจะทำงานได้เมื่อมีคนอยู่ มีคนเข้าไปสร้างให้เครื่องจักรมันทำงานร้านถึงจะมีชีวิต อะไรคือสิ่งที่ทำให้ PSD แตกต่างจากคนอื่น “เรียนรู้ด้วยการ ‘ลงไปลองทำ’ คือสิ่งที่เราเริ่มจริงจังมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เราเริ่มขยับมาเป็นนักปฏิบัติ ในการลงมือทำ […]