© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
พลิกโฉม เก้าอี้ลูกระนาด ใหม่ให้กลายเป็นเก้าอี้บาร์สตูล เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยที่เข้ากับไลฟ์สไตล์วิถีชีวิตยุคใหม่ได้อย่างไม่เคอะเขิน
งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในบ้านที่มีความผ่อนคลายและสนุกสนานเป็นที่ตั้ง จะเป็นอย่างไรถ้าโซฟาในบ้านสามารถให้ประสบการณ์ดีๆได้มากกว่าความนั่งสบาย ความพริ้วไหวของการโยกตัวบนโซฟานุ่มๆ และเส้นสายรูปลักษณ์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับตัวโซฟาได้มากกว่าท่านั่งมาตรฐาน จึงเกิดเป็นชุดโซฟาโยกเรียบเท่ดูดี แต่แฝงความสนุกสนานขี้เล่นไว้ภายใน หากพูดถึงโซฟา หลายคนคงนึกถึงเฟอร์นิเจอร์หุ้มบุชิ้นใหญ่ทรงเหลี่ยมที่เอาไว้วางกลางห้องนั่งเล่นด้วยจุดประสงค์คือการนั่ง แต่คุณธาม แววเกกี (THAM VEOKEKI)ได้คิดไปมากกว่านั้น จะเป็นอย่างไรถ้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้จะมีลูกเล่นที่ให้ได้มากกว่าความสบาย เส้นสายพริ้วไหวที่สื่อถึงความกระฉับกระเฉง ทำให้ SIGH Collection เป็นมากกว่าแค่โซฟาที่ดี THAM VEOKEKI โดยคุณ ธาม แววเกกี นักออกแบบอุตสาหกรรมจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม สาขาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับคัดเลือกจากรุ่นพี่นักออกแบบกลุ่ม Design PLANT ให้เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มนักออกแบบหน้าใหม่ หรือ Emerging PLANT ประจำปี 2021 เพื่อทำงานออกแบบภายใต้โจทย์ DOMESTIC และนำผลงานชิ้นนั้นมาจัดแสดงร่วมกับนักออกแบบรุ่นพี่อีกหลายสิบชีวิตภายในงาน Bangkok Design Week 2021 ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ SIGH Collection ผลิตโดย Mobella Galleria แบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นในผลิตภัณฑ์หุ้มบุอย่างโซฟาหนัง โดยมี คุณ ต๊ะ อนุพล อยู่ยืน เป็นผู้อำนวนการ การออกแบบ […]
Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน ผ่าน Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป ร้านขายยาจีนเก่า ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ร่วมสมัย กลิ่นเครื่องยาจีนที่อบอวล และตู้ลิ้นชักไม้เก็บสมุนไพรที่รายล้อมดูเหมือนจะเป็นหัวใจหลักซึ่งเชื่อมโยงบรรยากาศวันวานของ Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน แม้ที่นี่จะไม่ใช่โรงพยาบาล แต่ก็เป็นหนึ่งในแหล่งบ่มเพาะศาสตร์และองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งฝังรากลึกในวัฒนธรรมของชาวไต้หวันมาอย่างยาวนาน มาวันนี้ เมื่อผู้ก่อตั้ง Tai Chang Tang ตั้งใจจะวางมือ และส่งต่อกิจการให้กับศิษฎ์ก้นกุฏิ ซึ่งเป็นทีมแพทย์แผนจีนรุ่นใหม่สามคน Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันจึงได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน งานออกแบบปรับปรุงอาคารนี้เกิดขึ้นจากการตีความแนวคิดข้างต้น เพื่อปรับประยุกต์ใช้กับรูปแบบแบบสมัยนิยม พร้อมกับการสอดแทรกสัญลักษณ์ที่มีความหมาย องค์ประกอบต่าง […]
ตั้งแต่ช่วงมีนาคมที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นชีวิตชีวาของมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กลับมาอีกครั้ง และอีกสถานที่หนึ่งที่หลายคนตั้งตารอคอยการกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง นั่นคือหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การออกแบบและบริหารโดย อาจารย์โอ๊ต – ผศ.นันทพล จั่นเงิน อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ Design Director ของ JUNNARCHITECT เจ้าของ somewhere สเปซน่ารักของชุมชนคนประดิพัทธ์ การศึกษาศิลปะ อย่างไร้ขีดจำกัด ในทรรศนะของ ผศ.นันทพล จั่นเงิน จะเป็นอย่างไร วันนี้เราจึงชวนคุณมาคุยกับอาจารย์โอ๊ตถึงบทบาทหลากหลายที่ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” เปิดพื้นที่เพื่อเรียนรู้ “บทบาทหลักที่คิดว่าทิ้งไม่ได้ก็เป็นอาจารย์” อาจารย์โอ๊ตรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรีและโท ส่วนหลักในรายวิชาอาคารสาธารณะ “เพราะว่าเด็กปีหนึ่งสองจะเริ่มก้าวจากงานออกแบบบ้าน ที่พักอาศัย มาสู่ความเป็นสาธารณะ ส่วนปริญญาโท ก็เน้นเรื่องแนวความคิด แต่ไม่ว่าทั้งปริญญาตรีหรือโทก็ต้องมีเรื่องแนวความคิดนั่นแหละ แค่ว่ากลุ่มคนต่างกัน” และจากบทบาทด้านการศึกษานี่เอง ทำให้อาจารย์โอ๊ตได้รับโอกาสจากทางมหาวิทยาลัย เริ่มจากการเป็นผู้อำนวยการหอศิลป์เป็นเวลา 8 ปี ก่อนจะเดินทางมาสู่ตำแหน่งล่าสุดคือผู้อำนวยการหอสมุดวังท่าพระ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้นำเอาความเป็นศิลปะและการออกแบบเข้าไปจับกับห้องสมุดในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ ที่นี่จึงนับเป็นห้องสมุดศิลปะเต็มรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย “จริงๆ ถ้าพูดถึงห้องสมุดศิลปะ ทุกคนอาจจะมองว่าแค่มีหนังสืออาร์ตหรือดีไซน์ ซึ่งพวกเจ้าหน้าที่ก็เข้าใจว่า ศิลปากร วังท่าพระ […]
ส่วนหนึ่งในนิทรรศการของกลุ่มนักออกแบบ Design PLANT และ Emerging PLANT ที่รวมตัวกันนำเสนอผลงานภายใต้แนวคิด DOMESTIC ในงาน Bangkok Design Week 2021
ยูโนะโมริ ออนเซ็น แอนด์ สปา (Yunomori Onsen & Spa) สาขาสาทร ในลำดับที่ 3 ต่อจากสาขาสุขุมวิท ซอย 26 และสาขาพัทยา ของ ยูโนะโมริ ที่ขึ้นชื่อด้านบริการสปาและทรีตเม้นต์ที่ผสานศาสตร์แห่งการบำบัดจากสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน
ฉากหวายกั้นพื้นที่ BILID ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการจับคู่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่กับโรงงานผู้ผลิต ภายใต้โปรเจ็กต์ Emerging PLANT พื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบจากประสบการณ์จริง สนามธุรกิจของจริง สำหรับนักออกแบบรุ่นเล็ก ภายใต้การดูแลของรุ่นพี่มืออาชีพ BILID คือฝีมือการออกแบบของคุณศรัณย์พร บุญโต นักออกแบบรุ่นเล็กที่ร่วมมือกับแบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์หวายชั้นนำของไทยอย่าง Corner 43 Decor ภายใต้คำแนะนำด้านการออกแบบจาก คุณธีรพจน์ ธีโรภาส ผู้ก่อตั้ง Kitt-Ta-Khon แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นด้วยงานหัตถกรรมร่วมสมัย หลังจากจบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คุณศรัณย์พรได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Emerging PLANT ที่จัดขึ้นโดย Design PLANT และเริ่มทำงานออกแบบภายใต้โจทย์ DOMESTIC โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดแสดงผลงานร่วมกับนักออกแบบรุ่นพี่อีกหลายสิบสตูดิโอในงาน Bangkok Design Week 2021 ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ —- Did you know? – Design PLANT การรวมตัวกันของนักออกแบบจากหลากหลายความเชี่ยวชาญ ตั้งแต่รุ่นเก๋าไปจนถึงรุ่นใหม่ไฟแรง โดยในแต่ละปีจะร่วมกันจัดนิทรรศการงานออกแบบเพื่อนำเสนอผลงานภายใต้แนวคิดที่น่าสนใจ และตอบโจทย์บริบททางสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ จนกลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีพลังการขับเคลื่อนวงการออกแบบไทย – Emerging PLANT คือเวทีรุ่นเล็กที่จัดขึ้นโดย Design […]
บ้านและสวน ขายหัวเราะ จับมือกันสร้างสรรค์ฉบับพิเศษของตัวเอง ทั้งผสมผสาน แลกเปลี่ยน เพื่อทดลองความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์รายวาระที่แตกต่าง
เมื่อปีกลาย Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน) ดีไซเนอร์ระดับโลกสัญชาติสเปน แปลงโฉมบ้านเก่าอายุกว่า 70 ปี ในซอยสมคิด ย่านชิดลม ให้กลายเป็น House of Fritz Hansen Bangkok โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังจากเดนมาร์ก และในโอกาสที่เขาเยี่ยมเยือนไทยเพื่อเปิดนิทรรศการ Jaime Hayon Design Showcase เราจึงขอชวนคุณไปพูดคุย พร้อมทำความรู้จักกับดีไซเนอร์คนดังแบบเจาะลึก ทั้งแนวคิดงานดีไซน์ การใช้ชีวิตและการทำงานกับ Fritz Hansen (ฟริตซ์ ฮานเซ่น) หากใครได้พูดคุยกับ Jaime Hayon สักครั้ง เชื่อว่าต้องสัมผัสได้ถึงพลังงานแห่งการสร้างสรรค์อันเต็มเปี่ยม สำหรับ room เขาคือนักออกแบบผู้ไม่เคยกลัวที่จะทำทุกอย่างตามความคิด ไม่เคยยินยอมทำอะไรซ้ำสอง ไม่เชื่อเรื่องการหยุดพักเพื่อเฉลิมฉลองกับความสำเร็จ และปัญหาใหญ่สำหรับเขาคือ การมีเวลาที่ไม่เคยเพียงพอสำหรับการออกเดินทางเพื่อเรียนรู้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และใช้ชีวิต “ผมพยายามเป็นผู้กำหนดเทรนด์อยู่เสมอ ผมชอบออกนอกกรอบ เล่นนอกกฎ อย่างงานออกแบบเก้าอี้ดีไซน์แรก ๆ ของผม ผมเลือกใช้พลาสติก ใช้แม่สีอย่างไม่ลังเล เป็นเก้าอี้สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง เพราะตอนผมได้เข้ามาสัมผัสโลกดีไซน์ใหม่ […]
อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]
โรงเรียนอนุบาลในเมืองนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น ที่ HIBINOSEKKEI + Youji no Shiro ตั้งใจเปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ สัมผัสวิวธรรมชาติภายนอกจากภายในอาคารได้ตลอดวัน
บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน […]