- Page 24 of 57

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ      จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”  คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง      “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย      “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”      โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ      ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้      “ถ้าเปรียบเทียบกับ
ขั้นตอนการออกแบบปกติ 
เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา 
ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว
ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ
ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ
หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร 
ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา 
จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” 
คุณภคชาติ เตชะอำนวย-
วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว      “แต่การทำงานของเรา
จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ 
อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่
โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ
ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ
เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา 
เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง 
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง
กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ
เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย      “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่
เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ
เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี
เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร”      ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ      “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ
ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก
ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป
อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์
เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ 
เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ
ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า
นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ
ภคชาติกล่าว      “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”      จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง      “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”      เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง      ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย      “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย      “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ

ไอคอนคราฟต์ ICONCRAFT ICONSIAM World of Gifts ไอคอนสยาม

6 แบรนด์คราฟต์น่าจับจ่ายให้เป็นของขวัญปีใหม่ และมีวางจำหน่ายที่ไอคอนคราฟต์

รวมแบรนด์คราฟต์ไทยที่ ไอคอนคราฟต์ ที่น่าจับจ่ายให้เป็นของขวัญปีใหม่กับคนสนิท เพื่อนรู้ใจ และใครต่อใครที่เราตั้งใจมอบสิ่งดี ๆ ให้เนื่องในโอกาสสำคัญ

P7 ศิลปินที่ไม่พึ่งคอมพิวเตอร์ ทำแต่งานแฮนด์เมด ที่ไม่มีชิ้นไหนซ้ำกัน

P7 ศิลปินมากความสามารถ ซึ่งงานที่เขาถนัดที่สุดคืองานแนว Realistic ที่ใส่ความคลาสสิกเข้าไป จนออกมาเป็น Contemporary Painting ผ่านรูปแบบของงานศิลป์ที่หลากหลาย

YUECHENG COURTYARD KINDERGARTEN โรงเรียนอนุบาลกับลานวิ่งเล่นลอยฟ้า

โรงเรียนอนุบาล ที่ผสมผสานระหว่างโรงเรียนอนุบาลและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่าลูกค้าได้ให้ความสำคัญในประเด็นของ "การบูรณาการระหว่างวัย"

party / space / design ออกแบบร้านกาแฟ

party / space / design สตูดิโอออกแบบในบรรยากาศคาเฟ่

party / space / design สตูดิโอออกแบบที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพื้นที่ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ ที่สร้างประสบการณ์ใหม่เหนือความคาดหมายให้แก่ผู้ใช้งาน

HIRATA TOTSUKA CHURCH โบสถ์ไซซ์เล็กสุดคิวท์ มีไอเดียจากใต้ร่มเงาไม้ใหญ่

Hirata Totsuka Church โบสถ์กลางย่านชุมชนที่ดูน่ารักไม่ต่างจากภาพบ้านในหนังสือนิทานแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่มืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าถ้าใครไปเที่ยวเมืองนี้ ลองหาข้อมูลแล้วแวะเวียนไปเยี่ยมชมและถ่ายรูปกลับมาเป็นที่ระลึกกันได้

HOME DAY 1 พื้นที่ทำงานที่แสดงออกถึงแนวคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์

HD1 อาคารสำนักงานที่เปรียบเหมือนบ้านของเหล่าวิศวกรแห่ง Tri-En Solution โครงการนี้เริ่มต้นจากการขยายพื้นที่ของบริษัทวิศวกร Tri-En Solution จากเดิมที่ใช้อาคารแบบทาวน์เฮาส์ ได้มีการขยายเพิ่มขึ้นเป็น 3 คูหา และผู้ที่เข้ามาเป็นผู้ออกแบบก็คือ คุณตี๋ ณรงค์ โอถาวร จาก So Architect นี่เอง

รีโนเวท ตึกเก่า

MAISON826 จากพื้นที่ใต้ตึกที่เคยปล่อยร้าง ถูกปลุกให้ฟื้นเป็นคอนเซ็ปต์สโตร์สุดเท่

ภายใต้โครงสร้างที่เหมือนจะยังสร้างไม่เสร็จดีนัก แท้ที่จริงแล้วนั้นเกิดจากความตั้งใจของ Nuno Ferreira Capa ผู้ออกแบบที่เข้ามา รีโนเวท ฟื้นคืนชีพพื้นที่ใต้ตึกมีอายุ ที่ครั้งหนึ่งเคยปิดเอาไว้โดยไม่ถูกใช้งาน ให้กลับมามีชีวิตใหม่เป็นพื้นที่มัลติฟังก์ชันดีไซน์เรียบเท่ ที่นี่คือ Maison826 ร้านทำผม ส่วนจัดแสดงดนตรี และคอนเซ็ปต์สโตร์ แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับของแฮร์สไตลิสต์หนุ่ม Pedro Remy ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น G ของตึกคอนกรีตอายุหลายสิบปีที่สร้างขึ้นตั้งแต่ยุค 70’s ในย่านใจกลางเมืองบราก้า ประเทศโปรตุเกส ภายใต้พื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมด 250 ตารางเมตร ที่ได้รับการ รีโนเวท ขึ้นมาใหม่ จนเรียกได้ว่าเปลี่ยนบรรยากาศไปเลยไก้อย่างไม่น่าเชื่อ บ้างถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุปิดผิวให้ดูเรียบร้อย บ้างยังคงปล่อยเปลือยให้ปรากฏร่องรอยกระด้างดิบของเนื้อคอนกรีตบนผิวผนังและโครงสร้าง อีกทั้งด้วยลักษณะของพื้นที่ที่มีระดับต่างกันไป คล้ายกับชั้นหนึ่งชั้นถูกแบ่งย่อยออกเป็นชั้นเล็ก ๆ อีก 4 ระดับ จนดูซับซ้อน กลับดูน่าสนใจและมีเสน่ห์ในแบบฉบับของมันเองอย่างน่าประหลาด แม้ว่าในแต่ละสเปซจะมีฟังก์ชันที่ถูกกำหนดการใช้งานออกมาต่างกันก็ตาม เพราะด้วยช่องเปิดอาคารและหน้าต่างแต่ละบานที่มีจำนวนมากพอ ประกอบกับผู้ออกแบบจัดการรื้อผนังที่เป็นส่วนเกินรบกวนสเปซบางส่วนออกไป จึงทำให้สเปซต่างระดับเกิดความต่อเนื่องกันและมองเห็นกันได้ ผู้ออกแบบอธิบายว่า แนวคิดทางสถาปัตยกรรมของ Maison826 เกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดชะงักไปในระหว่างกระบวนการปรับปรุงรื้อถอน ประกอบกับการคำนึงถึงความเหมาะสมของสเปซกับโปแกรมใหม่ที่จะถูกกำหนดลงบนสเปซเดิมทั้ง 4 ระดับ ซึ่งส่วนแรกถัดจากประตูทางเข้าถูกกำหนดฟังก์ชันเป็นส่วนเซอร์วิส จากจุดนี้สามารถก้าวขึ้นไปสู่ส่วนร้านทำผม ที่มีมุมสระผมและทำสีที่ออกแบบให้เกิดความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า เชื่อมกับห้องทรีตเมนต์ที่มีจุดสังเกตเป็นโต๊ะทำงานไม้ยาว […]

เสื้อ “คนเลี้ยงช้าง” ที่บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมโดย RENIM PROJECT

แบรนด์แฟชั่นที่ยั่งยืนอย่าง RENIM PROJECT บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมไทยผ่านเสื้อผ้ามาแล้วหลากหลายคอลเล็กชั่น ไม่ว่าจะเป็นสายไฟในกรุงเทพฯ SS19 คนเก็บขยะรีไซเคิล FW 19 ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง SS20 และล่าสุดสำหรับคอลเล็กชั่น Fall/Winter2020 หรือในชื่อว่า “Dark Forest” ที่ได้ร่วมเดินแฟชั่นโชว์ที่เวียนนาแฟชั่นวีค ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา มีแรงบันดาลใจจากหนังเรื่อง “คนเลี้ยงช้าง” โดย ม.ล.ชาตรีเฉลิม ยุคล ปี 2533 นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี เป็นคนเลี้ยงช้างชื่อนายบุญส่ง และขี่ช้างป่าชื่อ แตงอ่อน ที่คอยลากไม้จากคนลักลอบตัดไม้ เรื่องราวในหนังเป็นการต่อสู้ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับคนที่ลักลอบตัดไม้ป่า โดยมีนายทุนเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ท้ายที่สุดแล้วแตงอ่อนได้คอยขับไล่พวกลักลอบตัดไม้ไปจนพ้น เพื่อปกป้องผืนป่าไว้ โดยเรื่องราวในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อุทิศให้แก่ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติไทย ด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับช้างและป่าไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อคอลเล็กชั่นว่า “Dark Forest” เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงช้างป่าไทยที่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังที่เห็นในข่าวว่า ช้างถูกรถชน ถูกล่างา และต้องตายจากการย้ายแหล่งหาอาหาร เพราะป่าไม้ถูกทำลาย […]

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]

COPENHAGEN ISLANDS สวนสาธารณะลอยน้ำ สวนลอยน้ำ สวนสาธารณะ

COPENHAGEN ISLANDS ต้นแบบสวนสาธารณะแห่งอนาคตในรูปแบบหมู่เกาะเคลื่อนที่

Copenhagen Islands หรือ หมู่เกาะเคลื่อนที่ได้ในชื่อ “Parkipelago” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ Marshall Blecher สถาปนิกและนักสร้างเกาะชาวออสเตรเลีย และ Magnus Maarbjerg สถาปนิกแห่ง FOKSTROT โดยโมเดลต้นแบบตัวแรกที่เรียกว่า CPH-Ø1 นั้นมีขนาดพื้นที่เพียง 20 ตารางเมตรเท่านั้น มันถูกสร้างขึ้นจริงจากแผ่นไม้คล้ายกับแพที่ลอยน้ำและสามารถลากเพื่อเคลื่อนย้ายตำแหน่งด้วยเรือหนึ่งลำอย่างสะดวก

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

คุยกับ ญารินดา บุนนาค แห่ง IMAGINARY OBJECTS ผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ