- Page 26 of 57

DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

ผลงานศิลปะ DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์จัดแสดงในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ณ BACCข้อมูลเพิ่มเติม : bkkartbiennale.com หากจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าสนใจในงาน BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ก็คงจะต้องบอกว่ามีมากมายดารดาษ แต่ถ้าจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าจะเปรียบเปรยและเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ของไทยได้อย่างดี (แบบที่ไม่ได้ตั้งใจให้จังหวะการแสดงงานมาประจวบเหมาะกันเช่นนี้) ก็คงต้องยกให้ผลงานที่มีชื่อเรียกว่า DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ รถถังเซรามิกที่กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ศิลปะเคยมีค่ามากกว่ากองทหารม้ากว่า 600 นาย! ผลงานประติมากรรมเซรามิก DRAGONERPANZER (โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์) ชุดนี้ เกิดจากความรู้สึกประทับใจการใช้เครื่องลายครามของจีนจากราชวงศ์หมิงและชิงแลกกองทหารม้า วศินบุรีจึงสร้างรถถังจากเซรามิกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยนมูลค่าและเงินตรา ในขณะที่แจกันมังกรสีน้ำเงินขาวถูกเรียกว่ามูลค่าทางการเงิน รถถังเซรามิกจะเป็นของสะสมล้ำค่า ในขณะที่รถถังทหารจะกลายเป็นขยะโลหะที่จะถูกขายเป็นเศษเหล็ก “ครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากหนังสือ กระเบื้องถ้วย กะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ที่กล่าวถึงกษัตริย์ Friedrich August Iเจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนี […]

HOUSE VISION บ้านทดลองที่ให้ “หน้าต่าง” ทำหน้าที่แทน “ประตู”

HOUSE VISION TOKYO คือนิทรรศการงานออกแบบของญี่ปุ่นเพื่อนำเสนอไอเดียและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม สำหรับครั้งนี้มาภายใต้โจทย์ “ Co-Dividual: Split and Connect / Separate and Come Together” โดยมีความมุ่งหวังที่จะเห็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรม และจุบรรจบของอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดผลงานออกแบบ HOUSE VISION ที่ถูกสร้างจริงคือผลงานการออกแบบนาม “Between Inside and Outside / Between Furniture and a Room” โดย TOTO · YKK AP × Atsushi Igarashi Taiji Fujimori กับรูปแบบบ้านแปลกตาที่แตกแขนงพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากจุดศูนย์กลาง เวลานึกถึง “หน้าต่าง” เราจะพยายามหาดีไซน์และองค์ประกอบใหม่ ๆ ให้กับความเป็นหน้าต่างอย่างไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับ “ภาพตัดขวาง” ของหน้าต่าง […]

SPIRULINA SOCIETY ระบบเพาะปลูกอาหารแห่งโลกอนาคต

ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ ระบบนิเวศของเราก็กำลังตกอยู่ในอันตราย และหนึ่งในสาเหตุสำคัญก็มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกว่า 1 ใน 4 ของก๊าซเรือนกระจกเกิดจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสำหรับประชากรทั่วโลก ดังนั้น ในฐานะพลเมืองโลกคนหนึ่ง Spirulina Society เชื่อว่าเราสามารถมีส่วนช่วยดูแลโลกได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต และการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ตามคำแนะนำของสหประชาชาติ (UN) และองค์การอนามัยโลก (WHO) สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สไปรูลิน่า (Spirulina) ถือเป็นอาหารชั้นยอด เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ นับเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่สมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้น Spirulina Society สไปรูลิน่า ยังสามารถเพาะเลี้ยงในบ้านได้ในต้นทุนต่ำ ใช้น้ำและพื้นที่น้อย เพียงแค่มีการสังเคราะห์แสงในสภาวะที่เหมาะสม เราก็สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกวัน ถือเป็นอาหารทางเลือกที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ ชุดอุปกรณ์เพาะเลี้ยงสไปรูลิน่าของ Spirulina Society ออกแบบโดย อัญญา เมืองโคตร มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบการเพาะปลูกที่ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพสำหรับวิถีชีวิตคนเมือง ให้ทุกคนสามารถผลิตอาหารได้ด้วยตัวเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการผลิตของเสีย และผลกระทบต่อระบบนิเวศ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์โมเดล 3 มิติ และติดต่อกับผู้ผลิตในท้องถิ่น […]

FAN WORKING BEIJING ร้านขายและพื้นที่เวิร์คชอป “พัด”

ร้านขายพัดพร้อมพื้นที่เวิร์กชอปแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเฉียนเหมิน ถนนที่ถูกขนานนามว่าถนนสายวัฒนธรรมในกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นี่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมพัดจีนที่มีมาอย่างยาวนานให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จึงวางใจให้สถาปนิกจาก Golucci Interior Architects เข้ามา รีโนเวตตึกแถว ขนาด 2 ชั้นให้ดูเรียบง่าย สวยงาม และใช้งานได้จริงเหมือนกับ “พัด” ถนนเฉียนเหมินเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นย่านที่มีบ้านแบบหูตง หรือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้แวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยปัจจุบันพื้นที่ย่านนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความเก่ากับความใหม่ รวมไปถึงการ รีโนเวตตึกแถว เป็นร้านพัดแห่งนี้เช่นกัน พัดพกพานี้นับเป็นสิงประดิษฐ์เก่าแก่ที่มีถิ่นกำเนิดจากทั้งจีนและญี่ปุ่น อาจพูดได้ว่าต่างคนต่างเป็นแรงบันดาลซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิดนัก ผู้ออกแบบจึงนำประวัติศาสตร์นี้มาประยุกต์ลงไปในการออกแบบสเปซ โดยแทรกกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นลงไปในอาคารเก่าแบบสถาปัตยกรรมจีน ผ่านการตกแต่งภายใน จากลักษณะของพื้นที่อาคารขนาดสองชั้นที่ไม่ได้มีพื้นที่เต็มตลอดทั้งตึก จึงแบ่งโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ชั้นล่างที่มีขนาดเพียงหนึ่งคูหาเป็นส่วนของหน้าร้าน แล้วชั้นบนเป็นพื้นที่เวิร์กชอปให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้การทำพัดแบบดั้งเดิมด้วยมือของคุณเอง สำหรับการตกแต่งภายในนอกจากความสวยงามแล้ว ยังออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย พื้นหินขัดเข้าคู่กับผนังสีขาวโพลน เสริมด้วยตู้เครื่องมือไม้สีอ่อนที่ใช้งานได้จริงพร้อมเป็นตัวแบ่งสเปซภายในไปในตัว ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์ของพัดที่ว่าเรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง  ออกแบบ: Golucci International Design 古魯奇建築諮詢公司 ภาพ: : Lulu Xi เรียบเรียง: Woofverine QISHER COURTYARD รีโนเวตบ้านจีนโบราณ […]

THE COMMONS SALADAENG สถาปัตยกรรมสีแดงที่ดึงผู้คนให้ออกมาใช้ชีวิตแบบคอมมูนิตีใจกลางกรุง

THE COMMONS SALADAENG สถาปัตยกรรมที่ดึงผู้คนให้ออกมาใช้ชีวิตแบบคอมมูนิตีใจกลางกรุง

สถาปัตยกรรมคอมมูนิตีมอลล์สีแดง ที่ยืดหยุ่นและถ่อมตัวเข้าหากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจากผู้คน สอดคล้องกับคำว่า Space for Community อย่างแท้จริง

CENTRAL: THE ORIGINAL STORE ย้อนตำนานร้านค้าปลีกแห่งแรกของเซ็นทรัล

CENTRAL : THE ORIGINAL STORE  กับการชุบชีวิตอาคารหลังเก่าริมถนนเจริญกรุง ให้กลับมาบอกเล่าเรื่องราวของเซ็นทรัล เมื่อครั้งเริ่มต้นทำธุรกิจร้านค้าปลีกเล็ก ๆ  เพื่อให้ที่นี่เป็นดังไทม์แมชชีนพาย้อนเวลาไปยังตำนานก้าวแรกของเซ็นทรัล เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่21 นับเป็นเวลากว่า 73 ปี ที่เซ็นทรัลกรุ๊ปดำเนินกิจการในฐานะห้างสรรพสินค้าชั้นนำของเมืองไทย โดยในระหว่างทางหากย้อนไปในช่วงปีพ.ศ.2493 ความรุ่งเรืองของเซ็นทรัลเริ่มก่อรูปร่างขึ้นภายในอาคาร 2 ชั้น 1 คูหา ริมถนนเจริญกรุง กับกิจการร้านขายหนังสือและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งใช้ชื่อว่า “ห้างเซ็นทรัล เทรดดิ้ง” ก่อนปีพ.ศ.2499 จะขยายธุรกิจก่อตั้งห้างสรรพสินค้าในชื่อ “เซ็นทรัล” ขึ้นในย่านวังบูรพา ซึ่งนับเป็นห้างสรรพสินค้าที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในไทยเวลานั้น พร้อมยกระดับการบริการลูกค้าแบบเป็นสากล ซึ่งมีทั้งการติดป้ายราคา การทำบาร์โค้ด รวมถึงการทำโฆษณา พร้อมปรัชญาการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร จนครอบครัวจิราธิวัฒน์สามารถขยายสาขาครอบคลุมทั่วทั้งประเทศในทุกวันนี้ CENTRAL : THE ORIGINAL STORE  และสำหรับปี พ.ศ.2563 สินทรัพย์ชิ้นแรกของกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลอย่างบ้านเลขที่ 1266 หลังเก่าริมถนนเจริญกรุง ได้ถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในรูปแบบดีไซน์ที่ร่วมสมัย บนโครงสร้างของตัวอาคารเก่าดั้งเดิม ในนาม CENTRAL: THE ORIGINAL STORE […]

ชมศิลป์ในถิ่นกลางเมืองก่อนงาน BAB 2020

เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ นี้มีกำหนดจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี และสำหรับครั้งนี้ BAB 2020 : Bangkok Art Biennale 2020 ได้กลับมาปลุกความอาร์ตให้กรุงเทพฯ ที่กำลังเผชิญหลายวิกฤตให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง พร้อมสร้างความอลังการและความยิ่งใหญ่ให้กับวงการศิลปะไทยกับแนวคิดหลักสุดท้าทาย “Escape Routes” หรือ “ศิลป์สร้าง ทางสุข” อ่าน : 3 ภัณฑารักษ์ไทย เปิดตัวรายชื่อ 16 ศิลปินกลุ่มแรกที่พร้อมมาจัดแสดงผลงานในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ BANGKOK ART BIENNALE 2020 โดยมีหัวเรือใหญ่อย่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ผสานความร่วมมือครั้งกับภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย บอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลก ถือเป็นโครงการสำคัญที่จัดขึ้นมาเพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านศิลปะร่วมสมัยในอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะจากทั่วโลก กำหนดเวลาการจัดงาน ผู้สนใจสามารถมาเยี่ยมชมได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มกราคม […]

ร้านเฟอร์นิเจอร์

MARSOTTO MILAN SHOWROOM โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์หินอ่อนที่เหมือนหลุดเข้าไปในอีกมิติ

ร้านเฟอร์นิเจอร์ ที่เหมือนหลุดเข้าไปในอีกมิติ ที่นี่คือ Marsotto Milan Showroom โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์หินอ่อนจากอิตาลี Marsotto Edizioni ที่ออกแบบโดย Nendo

เสพศิลป์กินอร่อยที่ Thai Taste Hub – Mahanakhon Cube

พื้นที่ทางอาหารตาและอาหารใจแห่งใหม่ในย่านสีลมและสาทร ไทย เทสต์ ฮับ มหานคร คิวบ์ (Thai Taste Hub Mahanakhon CUBE) เปิดประสบการณ์ใหม่ความอร่อยของสุดยอดร้านอาหารที่คัดสรรแล้ว กับสุดยอดร้านดังระดับตำนานที่พร้อมเสิร์ฟความอร่อยสูตรต้นตำรับ พร้อมเมนูเด็ดจากร้านที่ได้รับการการันตีความอร่อยจาก Michelin Guide ที่รวบรวมไว้ในที่เดียว โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 อ่าน : มหานคร แบงค็อก สกายบาร์ และมากกว่านั้น ไทย เทสต์ ฮับ มหานคร คิวบ์ ยังนำเสนองานศิลปะที่น่าสนใจจาก 5 ศิลปินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ โลเล พิม ก้องกาน เบนซิลล่า และเบียร์พิช ที่มาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานทั้งบนกำแพง พื้นทางเดิน หรือบนโต๊ะอาหาร ของการออกแบบสไตล์ ชิโนโปรตุกีสขนาด 640 ตารางเมตรที่ดูคล้ายย่านเมืองเก่า เพื่อให้ผู้มาเยือนได้อิ่มเอมไปกับทั้งศาสตร์ของอาหารควบคู่งานศิลปะร่วมสมัย ตอกย้ำการเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ที่เหล่านักชิมและคนเมืองไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง BENZILLA ประเภท Street Art […]

สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไรในวันนี้ คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ คุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์

สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]

THE LANTERN – NANOCO SHOWROOM โชว์รูมอิฐช่องลมที่เปล่งแสงยามค่ำคืนราวกับโคมไฟกลางเมือง

ที่นี่เป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่ของบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น ตั้งอยู่ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดูโดดเด่นด้วยอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่สร้างจาก อิฐช่องลม ลายดอกไม้ทั้งหลัง ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก VTN Architects (Vo Trong Nghia Architects)ที่ต้องการบอกเล่าความเป็นเวียดนามใส่ลงไปในสถาปัตยกรรมทรงเรขาคณิตดีไซน์เรียบง่าย เพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เพราะอาคารหลังนี้จะกลายเป็นกล่องไฟขนาดใหญ่ ดูสว่างไสวกว่าใคร ๆ ในย่าน สมกับเป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่จำหน่ายหลอดไฟฟ้านั่นเอง สำหรับไซต์ที่ตั้งของอาคารถือว่าสร้างความท้าทายให้ไม่น้อย เพราะมีขนาดพื้นที่จำกัดเพียง 72 ตารางเมตร และอยู่ติดกับถนนที่พลุกพล่าน การนำเสนอตัวเองให้เป็นที่น่าจดจำจึงสำคัญ ภายใต้ความเรียบง่ายของวัสดุอย่าง “อิฐช่องลม” ด้วยการนำมาทำเป็นเปลือกอาคารโดยรอบ โดยกรุกระจกใสเป็นผนังซ้อนอยู่ภายในอีกที ด้วยเหตุผลที่ว่าวัสดุชนิดนี้ เป็นวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ในเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศใช้ เพราะเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อน สามารถระบายอากาศได้ดี ช่วยกรองแสงไม่ให้ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในโดยตรง แถมมีราคาไม่แพง หรือชิ้นละประมาณ 0.42 ปอนด์ สำหรับที่นี่สถาปนิกบอกว่าเขาใช้จำนวนบล็อกช่องลมราว ๆ 5,625 ชิ้น เป็นเงิน จำนวน 2,350 ปอนด์ นอกจากนี้ขั้นตอนการก่อสร้างสามารถสร้างเสร็จได้ง่ายและรวดเร็วด้วย ไม่เพียงเป็นการใช้วัสดุที่เรียบง่าย แต่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สถาปนิกยังให้ความสนใจกับภูมิทัศน์รอบ ๆ […]

Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”

Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]