© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ใครที่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศฝั่งยุโรปหรือบ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวันเอง ก็มักเห็นบ้านเมืองเขาเต็มไปด้วยงานศิลปะจัดวางประดับตกแต่งอยู่ทั่วเมืองให้ได้เสพและเข้าถึงกันจนเป็นเรื่องปกติ จนบางทีก็นึกอิจฉา…แต่วันนี้กรุงเทพฯของเราได้มีโปรเจ็กต์ที่หอบเอา Installation Art เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายกลางเมืองกรุงที่โครงการ The PARQ The PARQ คือโครงการไลต์สไตล์มิกซ์ยูส ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความกลมกลืนระหว่างธรรมชาติและไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วย “งานศิลปะ” จึงชวนศิลปินชาวไทย 3 ท่าน ที่มีผลงานโดดเด่นมาสร้างงาน Installation Art ที่จะนำมาวางตามจุดต่าง ๆ ในโครงการ โดยทั้งหมดได้มีการเตรียมการและวางแผนไว้ตั้งแต่แรกพร้อม ๆ กับการก่อสร้าง ผลงานทั้งสามชิ้นจึงถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเจาะจงต่อสเปซนั้น ๆ โดยงานนี้ได้ศิลปินชั้นนำมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ” ประกอบไปด้วย 5 ผลงาน ได้แก่ศิลปินไทย 3 ผลงาน คือ “เกื้อกูล” โดยศิลปิน พงษธัช อ่วยกลาง, “The Cradle” โดยศิลปิน อ้อ สุทธิประภา, “The Cocoon” โดยศิลปิน สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ รวมไปถึงอีก 2 […]
รถขายของเคลื่อนที่ แบบกระบะสี่ล้อเล็กแขวนของพะรุงพะรังอาจเป็นภาพชินตาของชาวไทยเรา บ้างก็เรียกรถพุ่งพวง บ้างก็เรียกรถขายผักขายหอย ตามแต่ของที่หามาขาย เมื่อไม่นานมานี้ อ่าน : บ้านมินิมัลในแบบมูจิที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความร่วมมือกันระหว่างเมือง Sakata ในจังหวัด Yamagata และ Muji แบรนด์มินิมัลขวัญใจคนชอบความน้อยแต่มากสัญชาติญี่ปุ่นได้กำเนิด Sakata Project ขึ้น เพื่อลดภาระการต้องเดินทางไปซื้อหาของใช้จำเป็น ตั้งแต่เดือน กรกฏาคมที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวเมืองที่เป็นผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ประกอบกับพื้นที่ซึ่งเป็นเขตภูเขาของเมือง การนำรถสี่ล้อเล็กออกไปพบปะชาวเมืองจึงนับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่น่ารัก ซึ่งแนวคิดนี้ก็เกิดขึ้นมาจากการลงพื้นที่ศึกษากลุ่มผู้บริโภคในโครงการ “Lifestyle Organizing School” นั่นเอง มากกว่านั้น ด้วยภาวะการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ญี่ปุ่นก็ยังไม่ใคร่ปลอดภัยนัก การมีข้าวของเครื่องใช้และสินค้าต่างๆมาจำหน่ายถึงหน้าบ้านก็เป็นสิ่งดีๆที่ทำให้ผู้คนยิ้มแย้มได้มากกว่าเดิม และมากกว่านั้น จากปากคำของพนักงานที่ขับรถพุ่มพวงเหล่านี้ “มันทำให้เราได้เชื่อมโยงเข้าหาผู้คนมากขึ้น เราได้รู้จักพวกเขา ได้เห็นบ้านเรือนและชีวิตของพวกเขา เราไม่ใช่แค่พนักงานขายอีกต่อไป” ก็เป็นมุมน่ารักที่รถคันเล็กๆเหล่านี้ทำให้เกิดขึ้น แม้ว่าจะดูเชยๆไปบ้างกับการขับรถเร่ขายของ แต่จริงๆแล้วเราสามารถเช็คได้ตลอดว่ารถเหล่านี้กำลังมุ่งหน้าไปที่ใดบ้าง ตารางการเดินทางเป็นอย่างไร หรือแม้แต่รีเควสได้เสียด้วยซ้ำกับสินค้าที่ต้องการก็เป็นสิ่งที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยประสานความสะดวกให้กับวิธีการเดิมๆได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างน่าสนใจ อยากให้มีรถ Muji วิ่งขายของในไทยตามต่างจังหวัดบ้างเหมือนกันนะ อาจเป็นของ OTOP ปลาเค็ม หม่ำ แหนม อะไรก็ว่าไป […]
ในไต้หวันผู้คนมองว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่ยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิต ไม่ว่าจะใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง นั่นจึงทำให้สองดีไซเนอร์ Ta-Chih Lin และ Yi-Fan Hsieh เลือกนำไม้ไผ่มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ไม้ไผ่ ของพวกเขาในชื่อ “Ching Chair” โดยให้ความสำคัญกับความเป็นวัสดุดั้งเดิม ผ่านทางความรู้สึกทั้งการสัมผัสและการมองเห็น โดยกระบวนการออกแบบ เก้าอี้ไม้ไผ่ ครั้งนี้ ล้วนตั้งต้นมาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ และมีความยืดหยุ่นสูง เริ่มจากการเลือกลำไม้ไผ่ที่มีความสมบูรณ์เพียงต้นเดียวมาตัดและแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามแบบที่ได้ดีไซน์ไว้ โดยดีไซเนอร์ได้สร้างแม่พิมพ์หลายชิ้นสำหรับแต่ละส่วน เพื่อให้ไม้ไผ่สามารถทำเก้าอี้ได้ง่ายและแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังได้รักษาผิวไม้ไผ่ด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อช่วยกักเก็บคลอโรฟิลล์ไว้ที่ผิวไม้ไผ่ให้ยังคงสีสันเขียวสดดูสวยงามแบบไม่มีวันซีดจาง ขณะที่ส่วนที่ยากที่สุดของการผลิตเก้าอี้ก็คือการดัดชิ้นไม้ไผ่ด้วยความร้อน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเวลาหลายปี จนได้เคล็บลับที่ไม่ทำให้ผิวไม้ไหม้ ก่อนจะเชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วย Joint ไม้ไผ่ ตรงส่วนขาของเก้าอี้แต่ละข้างซึ่งถูกคิดมาอย่างดี โดยไม่มีวัสดุใดเข้ามาช่วยผสานเลย อีกทั้งยังได้ประกอบชิ้นส่วนไปตามทิศทางของเส้นใยไม้ไผ่ในแนวตั้ง เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้เก้าอี้ไม้ไผ่มีความแข็งแรงมากเพียงพอ สำหรับรองรับน้ำหนักของคนนั่งได้ นอกจากข้อดีในแง่ของการหยิบวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นซึ่งเราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี มาใช้เป็นวัตถุดิบในงานออกแบบแล้ว ในอีกแง่หนึ่งไม้ไผ่ยังถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการผลิต และกระบวนการย่อยสลาย เก้าอี้ดีไซน์เรียบง่ายชิ้นนี้จึงสามารถบอกเล่าคุณสมบัติของไม้ไผ่ออกมาได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวของมันเอง ออกแบบ : Ta-Chih Lin & Yi-Fan Hsieh ภาพ : […]
TIDA Awards กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของสมาคมฯในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ เพื่อรักษาอารยธรรมของชาติ ทั้งเสริมสร้าง และสนับสนุน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรสายวิชาชีพทั้งในและนอกสมาคมฯ อ่าน : 10 MUST VISIT PLACES IN TAIWAN และแน่นอนที่ room ไม่พลาดจะนำผลงานน่าสนใจทั้ง 11 ผลงาน จาก 13 รางวัล มาอวดโฉมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกัน มีทั้งร้านอาหารและโรงแรมที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้ง Office Space ดี ๆ หลากหลาย จะมีที่ใดบ้าง เลื่อนไปดูกันต่อได้เลย Best of Residential Design “Twisted House “ by Architect 49 House Design (A49HD) บ้านชานเมืองในรูปทรงเลขาคณิตที่แวดล้อมไปด้วยต้นฉำฉา […]
Tara Villa โรงแรมที่จะลบภาพจำเดิม ๆ เมื่อพูดถึงกาญจนบุรีออกไป “เที่ยวเมืองกาญฯ” คำ ๆ นี้ หลายท่านมักจะนึกถึงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ทางรถไฟสายมรณะ และช่องเขาขาด สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่โด่งดัง อีกทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งมีเสน่ห์ชวนหลงใหล โดย Tara Villa โรงแรมที่ออกแบบโดย เป้ จีรเวช หงสกุล แห่ง IDIN Architects เลือกที่จะเล่าเรื่องราวของห้วงเวลาแห่งการเดินทาง กลิ่นอายบรรยากาศธรรมชาติและแม่น้ำแคว ให้แปรเปลี่ยนไปในรูปของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมอันน่าสนใจ ผลงานอื่นๆ : CHUI FONG TEA-CAFÉ จิบชากลางไร่ที่ไร่ชาฉุยฟง จากด้านหน้าของโรงแรมจะเริ่มที่โถงทางเข้า และบริเวณต้อนรับในรูปแบบที่แปลกตา สถาปนิกออกแบบแนวกำแพงจากวัสดุผนังดินอัด ซึ่งก่อสร้างจากดินที่ขุดขึ้นมาระหว่างปรับพื้นที่ในบริเวณโรงแรมนี้เอง สีของผนังดินอัด และลักษณะลวดลายที่เกิดขึ้น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่จะเห็นได้เฉพาะที่ Tara Villa แห่งนี้ เท่านั้น “ดินที่นี่จะมีสีออกเหลืองนวลกว่าที่อื่น ไม่ใช่เพียงการใช้ประโยชน์จากดินที่ขุดขึ้นมา แต่กำแพงดินอัดนี้จะกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนที่ไหนเป็นสตอรี่เฉพาะของที่นี่ไปด้วยในตัว” คุณเป้ได้บอกกับเรา “ด้วยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของดินแต่ละที่ ชั้นดินอัดที่เหมาะสมของที่นี่จะบางกว่าที่อื่น คือชั้นละ 5-7 เซนติเมตร ซึ่งกว่าจะได้ผนังทั้งหมดมา ต้องผ่านการทดลองอยู่นานทำให้งานล่าช้าออกไปเป็นปี […]
โชว์รูมขายน้ำปลาที่ไม่ธรรมดาแห่งนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ Tropical Space ที่มีสไตล์การออกแบบที่ชัดเจนอย่างการเน้นใช้ “อิฐ” มาเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างอาคารหลาย ๆ แห่ง เพราะอิฐถือเป็นวัสดุดั้งเดิมที่มักนำมาสร้างที่พักอาศัยของเวียดนาม จนนำมาสู่การออกแบบ Organicare Showroom ซึ่งมีวัตถุประสงค์เปิดเป็นโชว์รูมขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ผลิตจากธรรมชาติ อิฐจึงกลายเป็นตัวแทนเพื่อบอกเล่าความหมายเชิงนัยเช่นเดียวกันนี้ไปพร้อมกัน จากอาคารเก่าที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2518 ในย่านถนนเลอวานซี สตรีท (Le Van Sy Street) กลางกรุงโฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่นี่เคยได้รับการเปลี่ยนมือและต่อเติมแก้ไขใหม่อยู่หลายครั้ง กระทั่งล่าสุดกับการรีโนเวตใหม่เป็นโชว์รูมแห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นอาคารที่โดดเด่นกว่าใครในย่าน ด้วยฟาซาดที่ทำจากก้อนอิฐเรียงซ้อนกันขึ้นไปอยู่บนโครงสร้างเหล็ก ก่อนจะพาทุกคนเข้าสู่พื้นที่ภายในซึ่งใช้วัสดุชนิดเดียวกันในการจัดวางสินค้า O rganicare Showroo ภายใต้โจทย์ที่ต้องการยกย่องคุณค่าผลิตภัณฑ์อย่าง น้ำปลา ซึ่งมีที่มาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของเวียดนาม นอกจากนั้นทีมสถาปนิกยังต้องการยกย่องคุณค่าของอิฐมอญวัสดุแบบดั้งเดิมไปพร้อมกันด้วย นั่นจึงนำมาสู่การออกแบบร้านค้าที่ผสมผสานระหว่างอิฐกับโครงสร้างเหล็กที่ดูแข็งเเรง สำหรับทำเป็นชั้นโชว์สินค้า ขณะที่ด้านหน้าก็กลายเป็นส่วนตกแต่งอาคาร หรือฟาซาดไปในตัว m โดยระบบเฟรมที่เห็นนี้ สามารถถอดออก หรือปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น ขึ้นอยู่กับขนาดของผลิตภัณฑ์ที่นำมาวางจำหน่ายนั้น ๆ และในช่องว่างบางส่วนยังใช้วางกระถางต้นไม้ ช่วยประดับตกแต่งร้านให้มีบรรยากาศสดชื่น เบรกความดิบกระด้างของโครงสร้างทั้งหมดได้เป็นอย่างดี ออกแบบสถาปัตยกรรม […]
Sustainable Design Exhibition เป็นสีสันส่วนหนึ่งในงาน Thailand Sustainability Expo 2020 รวบรวมงานออกแบบมากกว่า 40 ชิ้น มาจัดแสดง 4 วันเต็ม
10 ดีไซน์ยั่งยืนจาก Sustainable Design Exhibition สีสันส่วนหนึ่งในงาน Thailand Sustainability Expo 2020 (TSX)
ฮ่องเต้ กนต์ธร ทำความรู้จักชายมากความสามารถที่เป็นทั้งศิลปิน นักออกแบบนิทรรศการ พิธีกร ภัณฑารักษ์ และอีกหลายบทบาท ผ่านงานศิลปะที่บอกเล่าเรื่องความเท่าเทียม
การผนวกกันระหว่างเก้าอี้โคโลเนียลแขนโค้งที่มีการปรับเส้นสายดั้งเดิมให้ดูสบายขึ้น กับความงามที่ผ่านการวิเคราะห์ภาษาและวัตณธรรมพื้นถิ่นของชนเผ่า จนได้ผลลัพธ์เป็นเก้าอี้ที่มีลวดลายอาข่าที่พีทแปลความงามของเสื้อผ้าชาวกะเหรี่ยง
ชั้นวางหนังสือ "สยาม" ความร่วมมือของ “มูนเลอร์” และ “สยามศิลาดล” ที่นำวัสดุพื้นถิ่นในภาคเหนือของไทย 2 ชนิด อย่าง “ไม้จามจุรี” และ “ศิลาดล” มาสร้างคุณค่าใหม่ผ่านงานหัตถกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่สะท้อนความเป็นไทยในอีกแง่มุมหนึ่ง
แคปแพลล่าคือเครือโรงแรมที่ดีเป็นอันดับที่สองของโลก โดย CAPELLA UBUD HOTEL สาขานี้ตั้งอยู่ในเมืองอูบุด บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ถูกโหวตให้เป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในโลก หรือ ‘No. 1 Hotel in the World’ โดยนิตยสารท่องเที่ยว Travel + Leisure จากตำนานเรื่องเล่าของกลุ่มผู้บุกเบิกชาวดัทช์ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล และเกิดอุบัติภัยทางน้ำทำให้เรือแตก และทำการตั้งแคมป์บนดินแดนเกาะบาหลีแห่งนี้เมื่อสมัยคริสต์ศตวรรษ 1800 สู่โรงแรมสุดหรู CAPELLA UBUD HOTEL ที่ออกแบบเสมือนเต็นท์ 22 หลังที่ซ่อนตัวอยู่ในป่าฝนลึกลับผืนนี้ ที่สุดของความท้าทายในการออกแบบที่นี่ คือการวางตำแหน่งของเต็นท์แต่ละหลังอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการทำลายป่าให้น้อยและเเตะผืนดินอย่างแผ่วเบาที่สุด โดยผู้ออกแบบอย่าง Bill Bensley นักออกแบบที่ควบตำแหน่งสถาปนิก อินทีเรียร์ และภูมิสถาปนิก ซึ่งมีออฟฟิศอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยของเรานี้เอง โดยในงานนี้ Bill ได้โน้มน้าวให้เจ้าของเปลี่ยนจากสร้างอาคารมาเป็นเต็นท์ขนาดเล็กที่แทรกตัวอยู่ในป่าแทน ทำให้ท้ายที่สุดไม่มีต้นไม้ต้นใดถูกตัดโค่นแม้แต่ต้นเดียว ทุกหลังจึงยังคงมองเห็นทัศนีภาพของราวป่าที่สวยงาม ซึ่งผืนป่าแห่งนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิดที่จะมาส่งเสียงเจื้อยเเจ้วในตอนเช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสุนทรียภาพให้กับคุณ ขณะกำลังพักผ่อน หรือแหวกว่ายอยู่ในสระว่ายน้ำส่วนตัว เต็นท์ทั้ง 22 หลังได้รับการออกแบบให้ไม่เหมือนกันสักหลังตามคาแร็กเตอร์ของนักเดินทาง เช่น […]