© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
Bó Mon Preschool เป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ในแถบชนบทของเวียดนาม ที่สร้างขึ้นด้วยงบประมาณอันจำกัด โดยความร่วมมือและสนับสนุนขององค์กรไม่แสวงผลกำไร “MT Community” และโครงการระดมทุน “Pay It Forward Fund” โดยมีสำนักงานสถาปัตยกรรม “KIENTRUC O” เป็นทีมผู้ออกแบบ
"TORIGUCHI SANCI" คือบ้านและ seitai clinic ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารที่พัฒนาขึ้นใหม่ใน Tama New Town ล้อมรอบด้วยอาคารซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกันด้วยการกรุวัสดุภายนอกที่มีความมันวาว หน้าต่างรูปแบบคล้าย ๆ กันทั้งหมด เนื่องจากสร้างโดยซัพพลายเออร์ผู้ผลิตบ้านสำเร็จรูปตามข้อกำหนดและกลไกของราคาในตลาดในพื้นที่
ขอฉันนั่งทำงานเงียบ ๆ ได้ไหมเนี่ย? สิทธิ์นั้นจะเป็นของคุณทันที หากมาใช้บริการที่ “Think Lab Shiodome” เพราะที่นี่คือพื้นที่ทำงานแบบ Solo-Work Space แห่งแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ Caretta Shiodome อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัท Dentsu ในประเทศญี่ปุ่น
จากสาขาดั้งเดิมที่ฮิกาชิยามะในเกียวโต ก่อนมาถึงสาขาล่าสุดในไทยที่ไอคอนสยาม ขอพาย้อนไปดูอีกหนึ่งสาขาของ % ARABICA ที่สร้างภาพจำของความน้อยนิ่งและเรียบหรูให้เกิดขึ้นในคูเวตมาก่อนหน้านี้กันบ้าง
ออฟฟิศสถาปนิก ที่โดดเด่นด้วยความโปร่งโล่งทั่วถึงกันตลอดทั้งอาคาร ด้วยการออกแบบ “บันได” เป็นองค์ประกอบหลัก จากการใช้โครงสร้างคอนกรีตโชว์ผิวที่โชว์ความงามของระบบโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา เมื่อถึงโอกาสของการขยับขยายและย้ายที่ทำงานสู่สถานที่ใหม่ บริษัท Design In Motion จึงได้เปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าผืนหนึ่งในซอกซอยซับซ้อนของถนนสุขุมวิท 71 ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานมากเอกลักษณ์ ที่รวมทุกคุณสมบัติของสำนักงานคุณภาพ ทั้งเรื่องแสงสว่าง พื้นที่ส่วนกลาง และดีไซน์พิเศษมากฟังก์ชัน ซึ่งผ่านการคิดมาแล้วอย่างเป็นองค์รวม สมกับความเป็น ออฟฟิศสถาปนิก มากประสบการณ์ “เรามีความต้องการที่จำเป็นอยู่ไม่กี่ข้อ” คุณธฤต ทศไนยธาดา หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของบริษัท เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของสำนักงานแห่งใหม่ “แสงสว่างส่องถึง ให้ออฟฟิสสว่างๆ โล่งๆ ไม่ทึบ แล้วก็อยากมองเห็นกันในระหว่างทำงาน รวมถึงเรื่องงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย” คุณธฤตเล่าว่า สำนักงานของ Design In Motion ก่อนหน้านี้ เป็นเพียงห้องของตึกแถว 1 ห้องในย่านเอกมัย และพนักงานกว่า 10 คนทั้งทีมพาร์ทเนอร์และพนักงาน ก็นั่งทำงานรวมกันอยู่ในห้องเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะเพียงพอ และไม่ถึงขั้นแออัดยัดเยียด แต่การขาดพื้นที่ส่วนกลางและความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ทำงานของแต่ละคน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน ที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องการแก้ไข เมื่อย้ายมาที่ทำงานใหม่ การออกแบบให้สถานที่ทำงานโปร่งโล่ง และแบ่งเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยแรกๆ […]
แม่น้ำ Songyin ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเมือง Songyang เมืองที่มีประวัติศาสตร์การอนุรักษ์น้ำ มาเป็นเวลานาน โดยที่นี่เป็นแหล่งกระจายน้ำที่สำคัญของภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรม ทางทิศตะวันตกของเขื่อนและสถานีไฟฟ้าเป็นที่ตั้งของ ศูนย์อนุรักษ์น้ำ ซึ่งเดิมทีที่นี่ตั้งใจให้เป็นศูนย์การจัดการน้ำ ที่มีห้องควบคุม ออฟฟิศ และโรงอาหารรวมอยู่ด้วยกัน แต่ด้วยนโนบายการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นจุดชมวิวแม่น้ำ ที่นี่จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เพื่อการพักผ่อนเเละนันทนาการเเทน โดยพื้นที่ภายในอาคารได้ถูกเปลี่ยนการใช้งานทั้งหมด เช่น ห้องเก็บเอกสารเปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติการอนุรักษ์น้ำ ศูนย์ตรวจสอบเปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้คนทั่วไปและนักเรียนได้เข้ามาใช้ทำกิจกรรม และส่วนของโรงอาหารยังคงการใช้งานไว้ โดยเพิ่มหน้าที่เป็นพื้นที่มัลติมีเดียสำหรับวัยรุ่นในพื้นที่ ทีมผู้ออกแบบพยายามเก็บสเปซเดิมของอาคารไว้ให้มากที่สุด โดยรูปทรงโค้งของอาคารถูกปรับให้เป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรมเอ๊าต์ดอร์ และทางเดินที่จะนำไปยังสวนดาดฟ้า อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากรูปแบบของพื้นที่เดิมมาสร้างความพิเศษให้กับพื้นที่ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นลำดับการเข้าถึง เเละเปิดรับแสงธรรมชาติให้สาดเข้ามายังพื้นที่ภายใน การวางตัวอาคารในลักษณะของคลัสเตอร์ที่มีทางเชื่อมถึงกัน แล้วแทรกด้วยบ่อน้ำ ดูเสมือนคอร์ตน้ำกลางกลุ่มอาคาร อันสื่อถึงเอกลักษณ์ของสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ทางเดินเชื่อมไปยังแต่ละอาคาร ยังออกแบบให้สอดคล้องไปกับลักษณะของภูมิประเทศ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายของการมาเที่ยวชมศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านแถบชานเมืองกับภูเขาโดยรอบ เปิดโอกาสให้ผู้คนจากในเมืองได้มาเรียนรู้ ใกล้ชิด เเละสัมผัสธรรมชาติ ผ่านเรื่องราวการอนุรักษ์น้ำที่สอดเเทรกอยู่ทุกมุม รวมถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตั้งได้เป็นอย่างดี ออกแบบ : DnA_ Design and Architecture ภาพ : Wang Ziling, Han Dan […]
เมื่อ “น้ำดื่มสะอาด” กลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่มาของ หอเก็บน้ำ ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาก่อสร้าง หอเก็บน้ำ ในหมู่บ้านที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดของหมู่บ้านที่ปลอดภัย ให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส ทั้งยังกลายมาเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน ทั้งการเฉลิมฉลองและเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เเต่กว่าหอเก็บน้ำนี้จะกลายเป็นฮับของชุมชน ในระหว่างกระบวนออกแบบทีมสถาปนิก Orient Occident Atelier ได้ลงพื้นที่และเข้ามาเก็บข้อมูล จนค้นพบเทคนิคและเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทั่งนำมาสู่แรงบันดาลใจการสร้างหอเก็บน้ำภายใต้รูปเเบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างที่เห็นขึ้น โดยหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากทุ่นระเบิดในยุคสงครามเขมรแดง วิถีชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยน้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคหลัก เเต่ก็ไม่ปลอดภัยนัก เพราะแหล่งน้ำที่ว่านี้ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษจากโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เเถมยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยเเล้งเเละน้ำท่วมในบางปี เพื่อแก้ปัญาหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน ทีมงานจึงช่วยกันระดมทุนเพื่อสร้างหอเก็บน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนและจากทะเลสาบใกล้เคียง ซึ่งมีระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ จนได้น้ำที่ทั้งสะอาดเเละปลอดภัยสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน จะว่าไปหอเก็บน้ำนี้เป็นเหมือนฮีโร่พาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านผ่านพ้นวิกฤตปัญหาน้ำเเละภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปได้ นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผู้คนอย่างเเท้จริง ออกแบบ : Orient Occident Atelier (http://ooa.design ภาพ : Magic Kwan, Kenrick Wong เรียบเรียง : BRL Adventurous Global School อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ
ความท้าทายของที่นี่คือการนำแนวคิดการศึกษาของ โรงเรียน แปลงออกมาในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งความโดดเด่น เปิดโล่ง ผนังโค้งดูลื่นไหล สี และวัสดุทำมาจากธรรมชาติ จุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการให้ โรงเรียน แห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ ดูกลมกลืนไปกับพื้นที่ป่ารอบ ๆ ให้มากที่สุด สถาปนิกจึงเลือกออกแบบอาคารเรียนเป็นแนวยาว ขนานไปกับชายหาด และรูปแบบภูมิสัณฐานของที่ตั้ง ตัวอาคารแยกออกเป็นก้อน ๆ เพื่อแบ่งการใช้งานตามระดับของชั้นเรียน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน อาคารหลักใช้เป็นห้องเรียนหลัก ห้องน้ำ ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ขนาบไว้ด้วยห้องแสดงศิลปะ ที่จอดรถ และห้องของเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ซึ่งเเบ่งให้อยู่ด้านละฝั่ง ส่วนของชั้นเตรียมอนุบาลนั้น ตามหลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ดังนั้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจผ่านความรู้สึก แผนผังของอาคารประกอบด้วยส่วนที่มีรูปทรงแบบก้นหอย ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งในส่วนของทางเข้า แล้วค่อย ๆ ปิดทีละนิดตามเส้นทางที่คดเคี้ยว จนกระทั่งถึงห้องเรียนรวมที่เด็ก ๆ จะทำกิจกรรมร่วมกัน หลังคาของอาคารส่วนก้นหอยนี้ ทำขึ้นจากโครงสร้างไม้ไผ่ให้มีลักษณะคล้ายกระโจม แล้วมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นชั้น ๆ แทนการมุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทางภาคใต้ของคอสตาริกา โดยส่วนของโครงสร้างหลังคาได้เว้นช่องตรงกลาง แต่มีหลังคาเล็ก ๆ แบบโปร่งแสงคลุมอีกชั้น เพื่อให้แสงอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ ให้เด็ก […]
นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]
ทำความรู้จักการทำงานของ ศรัณย์ เย็นปัญญา และ 56thStudio ให้มากขึ้น รวมถึงแนวคิดต่อแนวทางการออกแบบที่ไม่เหมือนใครกับ 7 ปี ที่เขานำงานออกแบบสีสันจัดจ้าและรูปลักษณ์สุดแสบ และทำงานสร้างสรรค์อื่น ๆ อย่างการสร้างแบรนด์ สไตลิ่ง หรือออกแบบภาพลักษณ์ มาผลักดันวงการออกแบบให้สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น
จากภาพลักษณ์ สตูดิโอ ให้เช่าที่มักมีหน้าตาเป็นโกดัง หรือโครงเหล็กสไตล์อินดัสเทรียล ซึ่งเป็นการออกแบบไม่มากวิธี จนได้รับความนิยมกันอย่างดาษดื่น จะเป็นอย่างไรหากสตูดิโออยากเปลี่ยนโฉมมาเป็นอาคารกรุผนังอิฐสีส้มดูบ้าง ซึ่งให้ทั้งความโดดเด่นเเละงดงามอย่างเป็นธรรมชาติในเวลาเดียวกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : Atelier of Architects ในซอยลึกของถนนประเสริฐมนูกิจ 29 ย่านลาดพร้าว อาคารอิฐ ทรงกล่องขนาดใหญ่ตั้งอยู่อย่างเด่นหรา ดูแปลกแยกจากอาคารบ้านเรือนและสุมทุมพุ่มไม้โดยรอบ กล่องทรงคล้ายลูกบาศก์ที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ “Studiology” สตูดิโอ ให้เช่าสำหรับงานถ่ายทำทุกประเภท สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนภาพจำของสตูดิโอถ่ายทำทั่วไปสามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน ด้วยขนาดของสถานที่ Studiology นั้น นับเป็นสตูดิโอขนาดกลาง ที่มีข้อดีคือการตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองอันสะดวกกับหลายทีมงานกองถ่ายที่มักทำงานอยู่ในตัวเมืองเป็นหลัก ซึ่งนับว่าหาได้ยากสำหรับสตูดิโอในขนาดเดียวกัน นอกจากนั้นความที่ตั้งอยู่ในซอยลึกห่างจากความพลุกพล่านของถนนใหญ่ ยิ่งช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับศิลปินดาราทีมงานกองถ่ายทำ คุณทวีพล ธีระวิชิตชัยนันท์ หนึ่งในหุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งมีประสบการณ์อยู่ในอุตสาหกรรมโปรดักชั่นเฮ้าส์เป็นทุนเดิม เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของโครงการว่า “ไอเดียของเราคืออยากให้เป็นสตูดิโอที่มีความเป็นส่วนตัวสูงสำหรับลูกค้า เรามีแค่สตูดิโอเดียวเท่านั้น ดังนั้นเวลามาใช้งานทั้งพื้นที่ จะมีแต่ทีมของเรา เหมาะกับกองถ่ายที่มีดนดัง หรือศิลปินที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ตอนที่คุยกับสถาปนิก เราอยากให้มันเป็นแลนด์มาร์ก คือตัวสตูดิโอจริง ๆ จะเป็นแค่กล่องสี่เหลี่ยมที่ฟังก์ชันอยู่ข้างใน แต่ข้างนอกเราก็อยากให้มีความโดดเด่น คนจดจำได้ว่าที่นี่คือ Studology” […]
กาแฟไทย Akha Ama Coffee สาขาใหม่ ที่โตเกียว กาแฟอาข่าอาม่ากับการเดินทางครั้งใหม่ของการเปิดร้านที่โตเกียวร่วมกับหุ้นส่วนชาวญี่ปุ่น