- Page 3 of 57

ATELIER KAMPOT รีโนเวทตึกแถว กัมพูชา สไตล์โคโลเนียลทรุดโทรม สู่ช็อปเฮ้าส์ร่วมสมัย

โปรเจ็กต์ รีโนเวทตึกแถว กับการคงเอกลักษณ์อาคารโคโลเนียลในประเทศกัมพูชา สู่พื้นที่ร้านอาหารและบ้านพักอาศัย รีโนเวทตึกแถว สไตล์โคโลเนียล ซึ่งตั้งอยู่ในย่านการค้าเก่าแก่ริมแม่น้ำในเมืองกำปอต ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา จากที่เคยปิดร้างและมีสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็นช็อปเฮ้าส์ เปิดทำธุรกิจร้านอาหารที่ชั้นล่าง และทำพื้นที่พักอาศัยที่ชั้นบน ออกแบบและรีโนเวตโดย Bloom Architecture สะท้อนถึงแนวคิดการให้คุณค่าต่อสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และอีกด้านหนึ่งยังถือเป็นเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เล่าย้อนไปที่นี่เคยเป็นร้านค้าดำเนินกิจการของครอบครัวของเจ้าของมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อความเจริญของเมืองท่าเริ่มลดความสำคัญลง อาคารแห่งนี้ได้ทิ้งร้างมานานหลายปี ก่อนได้รับการฟื้นคืนชีวิตชีวาอีกครั้งในฐานะที่กลายเป็นร้านอาหารและบ้านพักอาศัย เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าแก่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก และรักษาความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่กัมพูชาเคยเป็นเมืองอาณานิคมฝรั่งเศส จากการรู้คุณค่าดังกล่าวสถาปนิกจึงมุ่งเน้นที่การรักษาลักษณะดั้งเดิมของอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขั้นตอนของการนำพาอาคารเก่าข้ามเวลาสู่ยุคสมัยใหม่ สถาปนิกเน้นแผนการปรับปรุงอาคารโดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของอาคารไว้ เริ่มจากภายนอกที่คงเก็บช่องเปิดโค้งขนาดใหญ่ที่ระเบียงชั้นสอง ลายปูนปั้นวิจิตรบรรจง ร่องรอยและคราบสีเก่าบนผิวอาคาร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของวันเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน ผสมกับไม้รีไซเคิลที่รื้อถอนจากตัวบ้านบางส่วน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ส่วนหน้าต่างของบ้านเป็นการสั่งทำขึ้นมาใหม่ แสดงถึงการเข้ากันได้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ได้อย่างลงตัว พื้นที่ภายในมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 319 ตารางเมตร แม้รูปลักษณ์ของอาคารจะเป็นอาคารพาณิชย์สไตล์โคโลเนียล แต่ฟังก์ชันภายในกลับบรรจุด้วยความสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบัน ชั้นล่างเปิดโล่งมีที่นั่งให้เลือกหลากหลาย จัดวางโต๊ะและเก้าอี้ไม้หลายรูปทรงสำหรับเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร ฝ้าเพดานดูสูงโปร่งเผยให้เห็นคานไม้ ผนังอิฐโชว์ลายเผยให้เห็นเท็กซ์เจอร์วัสดุดั้งเดิม ประดับตกแต่งบรรยากาศด้วยภาพศิลปะแอ๊บสแตร็กต์สีสันสดใส ส่วนพื้นเป็นกระเบื้องลายโบราณที่โดดเด่นเป็นเอกลัษณ์และนิยมใช้กันในสมัยก่อน รับแสงและอากาศให้ไหลเวียนถ่ายเทได้ดี ผ่านการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดซึ่งมีบันไดวนโลหะขนาดใหญ่สีขาวทอดผ่านลานตรงกลางนี้ สูงขึ้นไปจนถึงห้องนั่งเล่นส่วนตัวที่อยู่ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นพื้นที่พักอาศัยของเจ้าของบ้าน โดยบันไดวนนี้มีความสำคัญต่อการออกแบบอย่างมาก ใช้ในการนำพาแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงระดับพื้นที่ใช้งานชั้นล่าง และช่วยระบายอากาศตามธรรมชาติ ทำให้ภายในอาคารเย็นสบายแม้ในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนระอุ […]

PAL Bangkok รีโนเวทตึกแถว สู่พื้นที่ที่เป็นมากกว่าคาเฟ่ สดใสไปกับธีมพิกเซลอาร์ต

PAL Bangkok เปลี่ยนอาคารพาณิชย์ให้เช่าสู่การรีโนเวทใหม่ให้กลายเป็นสถานที่ที่เป็นมากกว่าคาเฟ่ สดใสไปกับพิกเซลอาร์ต ผสมบรรยากาศโมเดิร์นเรโทร DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studiolism Architects เมื่อผู้เช่ารายเก่าหมดสัญญาจึงถึงเวลาที่เจ้าของจะรีโนเวทอาคารพาณิชย์เก่าอายุ 60 ปี ให้กลายเป็นร้านกาแฟในตอนกลางวัน แล้วสลับฟังก์ชันเป็นบาร์เบียร์คราฟต์ในยามค่ำคืน สอดคล้องกับแนวทางการออกแบบที่อยากให้พื้นที่มีความยืดหยุ่น เผื่อสำหรับการเช่าสถานที่เพื่อจัดงานอีเว้นต์เล็ก ๆ จัดแกลเลอรี่ หรือใช้เป็นพื้นที่เวิร์กชอบ DIY ต่าง ๆ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของเจ้าของที่อยากให้ PAL Bangkok เป็นเสมือนอาณาจักรเล็ก ๆ ของคนคอเดียวกันได้มีพื้นที่สำหรับนั่งพูดคุย แชร์ความสนุกสนาน ความสุข และความเป็นกันเอง สื่อภาษางานออกแบบผ่านคอนเซ็ปต์พิกเซลอาร์ต แม้ที่นี่จะอยู่ในย่านบรรทัดทอง ย่านที่มีความคึกคักในปัจจุบัน แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่ค่อนข้างหลบมุม ดังนั้นเพื่อให้สะดุดตาผู้คนที่ผ่านไปมาทั้งกลางวันและกลางคืน การออกแบบเพื่อดึงดูดสายตาให้มองเห็นร้านชัดเจนไปพร้อมกับโจทย์ที่ไม่ซ้ำใครจึงสำคัญ สตูดิโอออกแบบ Studiolism Architects จึงวิเคราะห์และตีความร่วมกับเจ้าของจนออกมาในบรรยากาศสนุก กึ่ง ๆ เกมสเปซ แบบ “8 Bit Pixel Art” ที่กำลังกลับมาฮิตอีกครั้ง โดยภาษานี้ได้รับการสื่อสารออกมาผ่านส่วนต่าง ๆ นับตั้งแต่ฟาซาด ไปจนถึงงานอินทีเรียร์ดีไซน์ด้านใน มีสีเอกลักษณ์ หรือ […]

LV THE PLACE BANGKOK คอนเซ็ปต์สโตร์ของ LOUIS VUITTON ในสถาปัตยกรรมไอคอนนิคร่วมสมัย

หลุยส์ วิตตอง เปิดตัว ‘ LV THE PLACE BANGKOK ’ สโตร์แห่งใหม่ล่าสุดที่ได้ศิลปินไทยมาสร้างสรรค์งานออกแบบในคอนเซ็ปต์ 360 ที่รวมรีเทล คาเฟ่ ร้านอาหาร และนิทรรศการ ณ ศูนย์การค้าเกษรอัมรินทร์

สร้างแบรนด์ต้องเริ่มจากอะไร ? เปิดเคล็ดลับไอเดียจากแบรนด์ Apostofi House แบรนด์ไทยต่อยอดสู่ต่างประเทศ

Apostofi House เป็นโปรเจ็กต์ที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่ที่คุณพีทเริ่มก่อตั้งแบรนด์ 4 แบรนด์ อาทิ vela, mediums, gardensbkk และ norm เร็ว ๆ นี้ ที่อยู่ในบ้านหลังเดียวกันนี้ จึงอยากให้เป็นพื้นที่สำหรับแฮ้งเอาต์ของลูกค้าและพนักงาน ที่นี่จึงมีโปรมแกรมกิจกรรมที่สามารถอยู่ได้ตั้งแต่เช้าจนถึงกลางคืน ตอบโจทย์ลูกค้าได้หลากหลายกลุ่ม จะมาคนเดียวก็ชิลได้ หรือจะพาครอบครัวมารับประทานอาหาร ที่นี่ก็มีพื้นที่รองรับและอำนวยความสะดวก เติมเต็มย่านนราธิวาสให้คึกคักยิ่งขึ้น

Live Again by The Design & Objects Association นิทรรศการคืนชีวิตให้วัสดุเหลือทิ้ง ในอาคารเก่าสุดคลาสสิก E.M Kratip – Fazal Building

กว่า 27 Brand จัดแสดงผลิตภัณฑ์ ด้วยแนวคิดที่จะนำของที่ไม่ใช้แล้วจากที่ต่าง ๆ หรือของที่เหลือจากขบวนการผลิตในโรงงาน นำกลับมาทำเป็นชิ้นงานที่สามารถใช้ได้อีก โดยใช้การออกแบบและให้สีสันที่สวยงามทำให้ของน่าใช้ดูเหมือนเป็นของใหม่ โดยชิ้นงานที่จะทำได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ ของแต่งบ้าน กระเป๋า และ ฯลฯ (รายละเอียดชิ้นงานตามภาพ) Creating extraordinary one off design pieces using discarded or repurposed materials. In the exhibition, the D + O members show how a new life circle for a discarded or upcycled material can be used to create furniture, lighting, […]

อาคารชีวานามัย ออกแบบอาคารจัดการขยะอย่างไร? ให้เป็นมิตรต่อบริบทเมือง

อาคารจัดการขยะ? เป็นมิตรต่อพื้นที่โดยรอบได้จริงหรือ? นี่คือตัวอย่างการออกแบบอาคารจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อหน่วยงานโดยรอบ ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ของรูปลักษณ์ที่สดใส และมีต้นไม้ช่วยปรับทัศนียภาพ รวมทั้ง การออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดกลิ่นรบกวนออกไป และทำให้ขยะแห้งไวขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการขยะที่ง่ายขึ้น กับ “อาคารชีวานามัย” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Waste Management Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok โดย ARCHITECTS 49 LIMITED โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีขยะที่เกิดขึ้นและต้องจัดการในปริมาณที่มากถึง 16 ตันต่อวัน และมีปริมาณถังขยะหมุนเวียนมาทำความสะอาด ตากถังขยะ และส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมากถึง 600 ถังต่อวัน รวมทั้งมีการปฏิบัติงานภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากพื้นที่อาคารจัดการขยะเดิม มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการ จึงมีความต้องการจัดสรรพื้นที่ และอาคารหลังใหม่ที่มีการออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดการขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะพิษ ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่พักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล […]

Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง เป็นสถานแห่งงานศิลป์แบบเต็มพิกัด!

หอศิลป์เปิดใหม่! รีโนเวทจากอาคาร โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันดีในย่านเยาวราช ซอยนานา (ถ้าไม่คุ้นก็ดรุณศึกษาที่เราเคยอ่านกันนั่นไง) วันนี้ ตึกเก่าอายุกว่า 60 ปี ทั้ง 3 หลังจะได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นพื้นที่สุดพิเศษสำหรับการจัดแสดงงานศิลปะ และอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายในอนาคต ในนาม Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) โดยผู้ขับเคลื่อนโปรเจ็กต์นี้ก็คือคุณ มาริษา เจียรวนนท์ ผู้อยู่เบื้องหลังโปรเจ็กต์ศิลปะมากมาย เช่น การพา “เจ๊ไฝ” ไปแสดงศิลปะการทำอาหารในต่างประเทศ แผนขั้นสมบูรณ์ของ Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) นั้นจะกลายเป็นพื้นที่ศิลปะขนาดหลายพันตารางเมตร โดยมีงานศิลปะใหญ่ 4 ครั้งต่อปี มีสเตฟาโน ราโบลลี แพนเซรา อดีตผู้อำนวยการแกลเลอรี Hauser & Wirth จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาเป็นภัณฑารักษ์ แม้ว่าโครงการทั้งหมดยังไม่แล้วเสร็จ แต่วันนี้ทุก ๆ คนก็สามารถแวะไปชมนิทรรศการพิเศษที่ชั้นล่างของอาคารได้แล้วกับงานแรกนี้ Nine Plus Five โดยศิลปินมิเชล โอแดร์ […]

ถอดบทเรียน 10 ข้อจากเสวนา BACC circle หัวข้อ “20 ปีแห่งการเดินทาง การสร้างเขตวัฒนธรรมเกาลูนตะวันตก  WEST KOWLOON ให้อะไร?” ต่อคุณและวงการศิลปะไทย

West Kowloon Cultural District Authority พื้นที่สำหรับประชาชน และความเป็นไปได้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ ในการที่ศิลปินท้องถิ่นจะไม่ถูกทอดทิ้ง และการขยับเข้าสู่ระดับโลกคือสิ่งเป็นไปได้ นี่คือ 10 บทเรียนที่ คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ มาร่วมถ่ายทอดให้เราฟัง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 นอกจากการพูดคุยที่สนุกสนาน คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร […]

นวัตกรรม เซลลูโลส จากเศษเหลือทางอุตสาหกรรมเกษตร

เซลลูโลส มีประโยชน์มีส่วนช่วยในการลดปัญหามลภาวะ อีกทางหนึ่งสร้างธุรกิจสร้างสรรค์จากการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างหลากหลาย

สิ่งทอ จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิล

สิ่งทอ ที่ผลิตจากเส้นใยและไหม แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและใช้ทุกวันอีกอย่างที่อาจจะมองข้ามไปนั่นคือ “เฟอร์นิเจอร์” จนสิ่งทอกลายมาเป็นอุตสาหกรรม

ไอเดียออกแบบ – ตกแต่งด้วย วัสดุแก้ว

วัสดุแก้ว สามารถนำมาตกแต่งบ้านได้ในสไตล์ที่หลากหลาย ที่พัฒนาจากนวัตกรรมวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุธรรมชาติที่ผ่านกรรมวิธีที่นำเป็นเทรนด์แต่งบ้าน

วัสดุขยะ จากงานอีเว้นต์ ทางเลือกใหม่โปรดักต์ยั่งยืน

room ขอแนะนำเหล่า วัสดุขยะ น่าสนใจที่ล้วนแล้วแต่เป็นทางออกของการใช้เศษเหลือจากจัดงานอีเว้นต์แทบทั้งสิ้นไม่ว่า กากกาแฟ เศษอาหาร ขวดพลาสติก