© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
จากนักฟุตบอลยุวชนชุดแชมป์โลก เด็กหลังห้องที่เกือบรีไทร์ กลายมาเป็นหนึ่งสถาปนิกที่โดดเด่นในวงการออกแบบไทย จูน เซกิโน่ แห่ง Junsekino Architect and Design ที่ขอแข่งกันช้าในโลกยุคดิจิตอล
“ผมอยากให้คนที่เข้ามาในพื้นที่นี้ได้ลดอัตตาของตัวเอง ได้อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับปัจจุบันผ่านงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตะผืนดินอย่างแผ่วเบา” บทสนทนาช่วงจังหวะหนึ่งของเรากับ คุณบั๊ม-ประกิจ กัณหา สถาปนิกผู้ออกแบบ “บ้านมะขาม” ที่บางน้ำผึ้ง ย่านบางกระเจ้า เกิดขึ้นเมื่อประมาณสองเดือนที่แล้ว แต่ความรู้สึกราวกับว่าเหมือนเราเพิ่งนั่งคุยกันไปเมื่อวาน ด้วยท่วงท่าที่สบาย ๆ กับการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ทำให้เราสามารถนั่งสัมภาษณ์และพูดคุยกับคุณบั๊มถึงแนวคิดในการทำงานของเขาจนกินเวลาเป็นชั่วโมง ๆ ท่ามกลางสายลมพัดเอื่อย แสงแดดที่ค่อย ๆ อาบไล้ไล่เข้ามา พร้อมกับท่าทีกระตือรือร้นของเขาที่จะพาเราเดินไปดูดีเทลต่าง ๆ ที่เขาออกแบบด้วยความภูมิใจ หนึ่งในคีย์เวิร์ดที่เรารู้สึกว่าคุณบั๊มต่างจากสถาปนิกคนอื่น คือการออกแบบที่เริ่มจากสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เป็นหลัก การอ่อนน้อมถ่อมตนและให้เกียรติธรรมชาติ ก่อนที่จะคำนึงว่างานที่จะออกแบบนั้นจะสวยแค่ไหน จะหน้าตาเป็นอย่างไร เขามักจะเลือกวางแผนก่อนเสมอว่าจะทำอย่างไรถึงจะเบียดเบียนต้นไม้ ใบหญ้า ทางน้ำเดิม วิถีชีวิตเดิมๆ เรื่อยไปจนถึงวัสดุที่เลือกมาใช้ก็ต้องทำลายธรรมชาติให้น้อยที่สุด ถึงแม้ว่าครั้งนั้นมันจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พูดคุยกับคุณบั๊ม แต่เราก็เชื่อว่าแนวคิดและความตั้งใจที่เขาพยายามสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติจะยังคงอยู่ และไม่ว่าเมื่อใดที่เรานึกถึง แค่ก้าวไปในสเปซนั้น ๆ ที่คุณบั๊มทิ้งไว้ เราก็จะสามารถรับรู้ได้ถึงสารเหล่านั้นอย่างแน่นอน คุณบั๊มเป็นสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอมิติ ขึ้นในปี 2553 ด้วยความเชื่อที่ว่า สถาปัตยกรรมสามารถเข้าไปแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้ งานออกแบบของพวกเขาจึงสะท้อนไปถึงการพยายามศึกษาและออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำถึงถึงมิติต่างๆ ในการรับรู้ของมนุษย์ รวมถึงบริบททางสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม […]
Clarion Hotel & Congress Trondheim สถาปัตยกรรมสีทองอร่าม จุดเชื่อมของเมืองกับอ่าวในเมือง Trondheim ประเทศนอร์เวย์
คุยเรื่องนิทรรศการที่มีแต่ตึก “The Cement City : Moçambique Modern - Through the lens of : BEER SINGNOI” กับ เบียร์ - วีระพล สิงห์น้อย
คุยกับคุณวิเชียร อัศววรฤทธิ์ และคุณเจรัลดีน ตัน 2 ผู้บริหารผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในวงการวัสดุปิดผิวภายในแห่ง W+G ซึ่งมุ่งหวังให้ SPAC3 ที่พวกเขาร่วมกันก่อตั้งขึ้นเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการมาเลือกวัสดุตกแต่งโดยทั่วไป
ดีไซเนอร์ไฟแรงเจ้าของผลงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์น่าจับตา และงาน Maison & Objet กันยายนปีนี้ RAMY FISCHLER คือ Designer of the Year คนล่าสุด!
"SPACES" Coworking space ใจกลางเมือง พื้นที่ทำงานสุดโมเดิร์นรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนรุ่นใหม่ ที่ทุกสถานที่สามารถเป็นออฟฟิศได้
พัดลมกรองอากาศเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด Dyson Pure Cool ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากความเชี่ยวชาญในการหมุนเวียนของอากาศ การกรอง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อจัดการกับปัญหามลภาวะภายในบ้านและกรองอากาศทั่วทุกมุมห้อง
เป็นประจำทุก ๆ ปี ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT จะมีการจัดงานเสวนา Craft Innovation GURU Panel ขึ้นเพื่อหาแนวทางการทำงานและวางนโยบายส่งเสริมงานหัตถกรรมระหว่างประเทศ งานเสวนา Craft Innovation GURU Panel “Today Life’s Craft” ประจำปี 2561 ครั้งนี้จัดขึ้นที่ช่างชุ่ย โดยมีคุณอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) คุณแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) และคุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นโมเดอร์เรเตอร์ ซึ่งยังคงอัดแน่นไปด้วยสาระ วาทะ และทรรศนะที่เข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา สำหรับกูรูทั้ง 8 ท่าน ที่มารวมตัวกันที่ช่างชุ่ย ประกอบด้วย คุณดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ PDM, คุณวุฒิชัย หาญพานิช ผู้ก่อตั้งแบรนด์ HARNN, คุณธนพัฒน์ บุญสนาน สถาปนิกเจ้าของบริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด, คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ผู้ก่อตั้ง 56th Studio, คุณวิสุทธิ์ […]
เสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองเก่าสงขลาคือบรรดา ตึกแถวเก่า หลากหลายยุคที่เรียงรายอยู่ตลอดสองฟากฝั่งของถนนสายเก่าแก่เริ่มตั้งแต่ยุคจีนโบราณ จีนผสมไทย ชิโน -ยูโรเปียน อาร์ตเดโค และโมเดิร์นยุคแรกจึงเป็นเมืองที่น่าศึกษาวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Pakorn Architect เมื่อเจ้าของร้านอาหารชื่อดัง “ร้านข้าวสตูเกียดฟั่ง” ต้องการหาที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับครอบครัว บรรดา ตึกแถวเก่า เหล่านี้จึงเป็นที่หมายตา ก่อนจะตัดสินใจซื้อตึกแถวไม้เก่าแก่อายุกว่า 100 ปีบนหัวมุมหนึ่งของถนนนางงาม ไม่ใกล้ไม่ไกลจากที่อยู่เดิม เพื่อปรับปรุงเป็นบ้านพักอาศัยใหม่และเผื่อเป็นร้านขายข้าวสตูในอนาคต “ด้วยสภาพที่ทรุดโทรมมาก บ้านหลังนี้ได้ถูกรื้อทิ้งไป ซึ่งขณะนั้นสถาปนิกคนแรกพยายามจะสร้างกลับมาใหม่แต่ไม่สำเร็จ ความยากอยู่ที่ถ้าสร้างใหม่ เทศบาลมีข้อกำหนดให้เว้นระยะจากถนน 2 เมตร ทำให้พื้นที่ก่อสร้างไม่เพียงพอกับพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการ” คุณเป้ – ปกรณ์ เนมิตร-มานสุข สถาปนิกแห่ง PakornArchitect สถาปนิกรายที่ 3 ที่เข้ามารับผิดชอบออกแบบบ้านโบราณอันทรงคุณค่า กับความท้าทายของระยะร่น 2 เมตรตลอดความยาว 2 ด้านที่ติดถนนที่ทำให้พื้นที่ก่อสร้างหายไป จนดูเหมือนว่าบ้านหลังนี้จะไม่สามารถรื้อฟื้น หรือที่เรียกว่า “Reconstruction” กลับมาได้ “ไอเดียที่ปิ๊งขึ้นมาก็คือทำตึกปูนครึ่งหนึ่งและตึกไม้ครึ่งหนึ่ง โดยส่วนที่เป็นตึกปูนจะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมเต็ม และมีพื้นที่มากกว่าส่วนที่เป็นชั้น 2 ของบ้านไม้สามารถใส่ฟังก์ชันห้องนอนและห้องน้ำที่ต้องปิดทึบให้อยู่ในตึกปูนทั้งหมด […]
ทีมออกแบบแห่งบริษัท เคนคูนเอกซ์ จำกัด จึงคิดค้นและออกแบบชุดครัวไซส์ประหยัด เพื่อตระเตรียมไว้รองรับกับปัญหาหรือข้อจำกัดของพื้นที่ที่มีไม่มาก เมื่อเทียบกับความต้องการที่อาจไม่มีวันจบสิ้นของผู้อาศัยที่มองหาฟังก์ชันตอบโจทย์การใช้ชีวิต นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นและที่มาของ Q-mini compact เฟอร์นิเจอร์ครัวเคลื่อนที่ง่าย ติดตั้งสะดวก ใช้พื้นที่น้อย และมีราคาที่จับต้องได้
ดีไซน์สตูดิโอ JUMBO สุดเปรี้ยวของสองสถาปนิกเพื่อนซี้ Justin Donnelly และ Monling Lee จากมหานครนิวยอร์ค ที่สะท้อนความสนุกสดใส และคาแรกเตอร์เฉพาะตัว อีกหนึ่งดีไซน์สตูดิโอหน้าใหม่ที่ห้ามพลาดจับตา Justin Donnelly ดีไซเนอร์หนุ่มจากย่านบรู๊กลินในนิวยอร์ค เขาจบการศึกษาด้านศิลปะจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ คอลเล็คชั่นผลงานของเขาเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในนิวยอร์คอย่าง High End Luxury Furniture Fair (ICFF) รวมถึงงานอีเว้นท์ด้านดีไซน์อย่าง Sight Unseen ใน New York Design Week และ Wanted Design นอกจากนี้ยังได้รับเลือกเป็นดีไซเนอร์ไฟแรงจาก NYCxDesign Awards ในปี 2016 อีกด้วย แม้จะคว้าปริญญาด้านสถาปัตยกรรมมาหลายใบ แต่ความสนใจของเขากลับมุ่งไปที่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์และไลท์ติ้งอย่างไม่รู้ตัว เมื่อเขาพบว่าตัวเองถนัดการวาดภาพแบบ แอกโซโนเมตริก (Axonometric) หรือการวาดภาพโดยมีแกนหลักตั้งฉากกับเส้นแนวนอน และมีอีกสองแกนจะมีมุมเอียงลึกลงไปทั้งสองข้าง เช่น ภาพไอโซเมตริก ซึ่งมักใช้ในการแสดงภาพสิ่งของ มากกว่าที่จะวาดภาพทัศนียภาพ (Perspective) เพื่อแสดงแนวคิดตามแบบฉบับสถาปนิกทั่วไป และกระบวนการคิดที่แตกต่างนี้เองที่พาให้เขาเริ่มออกแบบชุดเฟอร์นิเจอร์ […]