- Page 6 of 57

วัสดุธรรมชาติ ออกแบบ จากเศษเหลือ สู่ผลลัพธ์ในความเป็นไปได้ใหม่ของความยั่งยืน !

การสร้างสรรค์วัสดุผ่านเศษเหลือจากธรรมชาติก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยสร้างให้ "แนวคิดวัสดุหมุนเวียน" หรือ "Circular Economy

วัสดุ กระดาษ จากเศษเหลือ อุตสาหกรรมเกษตร

วัสดุ กระดาษ BCG ! เปลี่ยนวงจรมลพิษจากการ "เผา" สู่งานออกแบบใหม่จากเศษเหลือทิ้งทางอุตสาหกรรมเกษตร การเวียนใช้เศษเหลือทางอุตสาหกรรมเกษตร

พลาสติก ดีไซน์ ใหม่จากการ รีไซเคิล

พลาสติกนี้คือผู้ร้ายเสมอไป เพราะในปัจจุบันนั้นได้มีการคิดแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวในหลากหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการลดความต้องการ การใช้ซ้ำ รีไซเคิล จนนำไปสู่งานออกแบบที่สร้างสรรค์ต่างๆ เป็นการหาหนทางใหม่ๆในการใช้วัสดุสุดทนที่ยากจะย่อยสลายนี้ทั้งยังเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกไ้ด้อีกทางหนึ่งด้วย

ไม้แปรรูป ผสานหลากวัสดุ เพิ่มมิติความเป็นไปได้ใน งานออกแบบ

ไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย ใกล้ตัว สามารถใช้หมุนเวียน ยั่งยืนในระยะยาวเพราะปลูกทดแทนได้ room ได้รวบรวมสารพัด ไม้แปรรูป และวัสดุอื่น ๆ เมื่อนำมาผสานรวมกันแล้วได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เป็นวัสดุตกแต่งปิดผิว ใช้ในงานออกแบบ ช่วยสร้างมิติ และยังยกระดับงานฝีมือหัตถกรรม เช่นงานสานที่ตอบโจทย์งานได้หลากหลายรูปแบบ

เบื้องหลังดีไซน์เพื่อคุณภาพชีวิตกับ Antoine Besseyre des Horts แม่ทัพทีมออกแบบแห่ง LIXIL

อาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคสมัย ที่นักออกแบบต้องพบกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน Antoine Besseyre des Horts ในฐานะแม่ทัพทีมดีไซน์ของ LIXIL Group ภูมิภาคเอเชีย ชวน room พูดคุยถึงเบื้องหลังการทำงานของทีมนักออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับที่อยู่อาศัย ท่ามกลางบริบทสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการตื่นตัวด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และการขยายบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ ที่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อโลกดีไซน์นับจากนี้เป็นต้นไป อันทวน เบแซร์ เดส์ออรส์ ( Antoine Besseyre des Horts ) ลีดเดอร์ (VP) ประจำลิกซิล โกลบอล ดีไซน์ (LIXIL Global Design) ภูมิภาคเอเชีย หัวเรือใหญ่ของทีมดีไซน์ 3 แบรนด์หลักในเครือ LIXIL อย่าง American Standard, GROHE และ INAX แบรนด์ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ และสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ และห้องครัว หลังจากสั่งสมประสบการณ์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มายาวนานกว่าสองทศวรรษ เขาร่วมกับทีมนักออกแบบสร้าง ‘ไบเบิ้ล’ หรือคู่มือที่ช่วยวางรากฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ต่างๆ […]

The Brewing Project x Benxblues ลายเส้นเอกลักษณ์ที่สะท้อน รส และ เรื่อง

The Brewing Project จึงเริ่มต้นสร้างสรรค์ฉลากที่ถ่ายทอดเรื่องราวและสื่อสารถึงรสชาติผ่านลายเส้นภาพประกอบ โดยยึดไอเดียความเป็นไทย และแนวคิดที่ว่าฉลากของบรรจุภัณฑ์นั้นสำคัญไม่ต่างจากตัวผลิตภัณฑ์เลย

CityFresh คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ ที่เหมือนยกเรือนเพาะชำมาไว้กลางกรุง!

ต่างประเทศ มีความตั้งใจที่จะเปิดหน้าร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปในไร่ผลไม้เสิร์ฟความสดใหม่และความสดชื่น หน้าร้านแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกของ CityFresh ตั้งอยู่บนโลเคชั่นดีๆ อย่างปรีดีพนมยงค์ 26 บนอาคารพาณิชย์ 3 คูหาที่รีโนเวทใหม่เพื่อคนรักสุขภาพและผลไม้ที่แท้จริง!

O BUILDING รีโนเวทตึกเก่า พร้อมกับเปลี่ยนซอกตึกให้น่าเดินด้วยวิวสีเขียวสะท้อนมิติของกระจก

เมื่อถึงคราว รีโนเวทตึกเก่า ใหม่ ก็ต้องมาพร้อมการปรับปรุงพื้นที่ใช้งานทั้งภายในและภายนอกให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ กับไอเดียการเปลี่ยนมุมอับของซอกตึกให้น่าเดิน อีกหนึ่งงานดีไซน์ที่ช่วยแก้ปัญหาความอึดอัดคับแคบของพื้นที่ในเขตเมือง O Building คือผลงานการ รีโนเวทตึกเก่า ขนาด 3 ชั้น ในเมืองมูซาชิโนะ (Musashino) ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ให้กลายเป็นอาคารหลังใหม่ที่มาพร้อมการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานใหม่ ออกแบบโดย Yohei Kawashima architects ที่นี่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ขนาดจำกัดที่ต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายการรีโนเวทอาคารของญี่ปุ่น โดยสถาปนิกได้นำแผนการถอยอาคารออกจากอาคารหลังอื่นที่อยู่ในพื้นที่ติดกัน ด้วยการออกแบบให้มีบันไดอยู่ภายนอกไว้ด้านข้าง แล้วสร้างทางเดินด้านล่าง เป็นผลพื้นที่แต่ละชันของอาคารมีองค์ประกอบที่เรียบง่ายและเท่าเทียมกันทั้ง 3 ชั้น สำหรับทางเดินด้านล่างของอาคาร ได้ออกแบบให้สามารถทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างถนน 2 สาย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเดินเข้าอาคารได้จากถนนทั้งสองฝั่ง ผ่านช่องว่าง หรือซอกตึกที่คับแคบ แต่เนื่องจากไซต์นี้อยู่ในพื้นที่เชิงพาณิชย์และมีอาคารหลังอื่น ๆ ที่สร้างอยู่ก่อนแล้ว ตั้งขนาบข้างจนชิดขอบของพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางเดินระหว่างซอกตึกที่ทั้งมืด คับแคบ และค่อนข้างอึดอัด ด้วยการสร้างกระจกครึ่งบานตามทางเดิน และปลูกต้นไม้ตลอดแนวทางเดินทั้งสองฝั่ง นำพาผู้คนไปสัมผัสกับธรรมชาติและเป็นประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่สบายตาและผ่อนคลาย ท่ามกลางชุมชนและตึกสูงของเมืองใหญ่ โดยรั้วกระจกนี้จะช่วยสะท้อนมิติการเปลี่ยนแปลงของแสงและเงา และสะท้อนมิติด้านข้างของอาคารและด้านหลังของอาคารที่อยู่ติดกัน บางครั้งก็จะสังเกตเห็นการซ้อนทับของมุมมองทั้งสอง เป็นวิธีการง่าย ๆ แต่ได้ผล […]

รถเกษตรอเนกประสงค์ไฟฟ้าพลัง Ai ลุคมินิมัล KIBB BY CAKE

เกษตรสายเท่เตรียมรับแรงกระแทก! เพราะนี่คือรถอเนกประสงค์ไฟฟ้าที่จะมาเขย่าวงการรถไถ! เพราะนี่คือรถเกษตรอเนกประสงค์ มันใช้ไฟฟ้า และมันมีระบบ ai อัตโนมัติ และนี่คือ “Project Kibb”งานออกแบบรถอเนกประสงค์ไฟฟ้าที่ตั้งใจให้สามารถเดินทางได้ในทุกสภาวะเพื่อส่งเสริมการทำงานเกษตรในที่ทุรกันดารได้มากกว่าที่เคย “ความยั่งยืนทางอาหาร และการทำเกษตรกรรมนั้นเป็นอีกสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม และแม้แต่บริษัทรถไฟฟ้าอย่างเรา ก็มีส่วนช่วยให้สิ่งเหล่านี้ยั่งยืนขึ้นได้เช่นกัน”- Stefan Ytterborn, CEO and founder of CAKE ไม่เพียงแต่รูปลักษณ์ที่ดูสมบุกสมบัน และการเชื่อมต่อปรับแต่งการใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะใช้นั่ง ใช้ลาก หรือขนของแบบกระบะบรรทุก แต่ Kibb ยังมาพร้อมกับฮาร์ดแวร์ที่สามารถอัพเดตการทำงานร่วมกับการทำเกษตร ทั้งวิธีการหว่าน ไถ และเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันไป ถ้ายังนึกไม่ออกให้นึกว่าเรามีโดรนอัตโนมัติที่สามารถช่วยเราทำงานเกษตรได้นั่นเอง ใกล้เคียงมาก! จากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาฝึกงานที่บริษัท Fanny Jonsson สู่การได้รับโอกาสในการเป็นดีไซเนอร์ ของ Cake และสานต่อโครงการที่น่าสนใจนี้ “มันเป็นเหมือนการทดแทนความเป็นไปได้ที่ดีกว่า สู่อนาคตที่ดีกว่าด้วยเทคโนโลยี และการคิดคำนึงถึงวันข้างหน้าที่จะลดการเผาไหม้ และมลพิษลง รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของความยั่งยืนทางการเกษตรไปพร้อมกัน” แน่นอนว่า Kibb มาพร้อมกับระบบไฟฟ้า และการชาร์จทั้งแบบ On-Grid และ Off-Grid Solarcell จาก […]

Oliver Lin พานักออกแบบไทยเจาะตลาดเอเชียด้วย Golden Pin Design Award

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของนโยบายเศรษฐกิจทั่วโลก เช่นเดียวกันกับที่ไต้หวัน สถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวัน หรือ Taiwan Design Research Institute (TDRI) ได้รับการก่อตั้งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไต้หวันผ่าน “พลังแห่งการออกแบบ” ที่เข้มแข็ง รวมถึงเป็นแพลตฟอร์ม ที่สร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนผ่านการเป็นผู้จัดการมอบรางวัลด้านการออกแบบระดับนานาชาติอย่าง Golden Pin Design Award (GPDA) ตามไปฟัง Oliver Lin รองประธาน TDRI เชิญชวนนักออกแบบไทยก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติกับ Golden Pin Design Award เวทีประกวดที่ได้จัดต่อเนื่องมายาวนานกว่า 40 ปี พร้อมบอกเล่าถึงการมาเยือนกรุงเทพฯในครั้งนี้ นำทีมนักออกแบบที่ได้รับรางวัล GPDA ในปีก่อนมาร่วมนำเสนอแนวคิดด้านการออกแบบที่น่าสนใจในงานสัมมนา Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2023 “การจัด Salon หรืองานสัมมนาในครั้งนี้ เรามุ่งไปที่ประเทศที่นักออกแบบมีศักยภาพสูง มีกระแสความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบที่น่าสนใจ และแน่นอนว่าไทยคือหนึ่งในนั้น เรามองว่าไทยมีศักยภาพทั้งในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านงานโฆษณา […]

Ashui Pavilion พาวิเลียนผ้า บอกเล่าจิตวิญญาณแห่งสายน้ำ

Ashui Pavilion 2023 พาวิเลียนผ้า สื่อความหมายสถาปัตยกรรมความเป็นเมืองจากแม่น้ำสายชีวิตของชาวโฮจิมินห์ เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ของเมืองโฮจิมินห์และแม่น้ำไซง่อนผ่านความงามของพาวิเลียนผ้าพลิ้ว

WYNDHAM CLUBHOUSE อาคารอิฐทรงกล่อง ประตูสู่ดินแดนรีสอร์ตส่วนตัวสไตล์ทรอปิคัล

“Wyndham Clubhouse” อาคารอิฐ ที่ถูกใช้เป็นคลับเฮ้าส์ หรือส่วนต้อนรับ ซึ่งเกิดจากวัสดุสามัญ นำพาทุกคนเข้าสู่ดินแดนรีสอร์ตส่วนตัวที่มีชื่อว่า Wyndham Garden Phú Quốc ในพื้นที่ชายฝั่งของฟูโกว๊ก (Phú Quốc) เมืองท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามของเวียดนามใต้ ในฐานะที่ใช้เป็นจุดติดต่อแรกสำหรับรับแขก บทบาทของ อาคารอิฐ ซึ่งใช้เป็นส่วนต้อนรับก่อนนำสู่รีสอร์ตสุดชิลที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้ราวกับเป็นป่าสีเขียวในกล่องคอนกรีตนี้ สถาปนิกจาก MIA Design Studio ได้เน้นการออกแบบอาคารให้เป็นสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ สำหรับมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่า ในบทบาทที่เปรียบเสมือนปราการด่านแรกก่อนเข้าสู่พื้นที่รีสอร์ส่วนตัว ภายใต้รูปลักษณ์อาคารอิฐทรงลูกบาศก์เรียบง่ายสีแดงเอิร์ธโทน ซึ่งก่อสร้างจากอิฐจำนวนมหาศาลที่ดึงดูดความสนใจของผู้มาเยือนได้ในทันที โดยมาจากความปรารถนาในการนำเสนอมุมมองใหม่ ผ่านสถาปัตยกรรมอิฐที่หลอมรวมทั้งรูปแบบโมเดิร์นและความดั้งเดิมไว้ด้วยกัน สำหรับความดั้งเดิมที่ถูกนำมาใช้นี้ ผู้ออกแบบหมายถึงการเน้นใช้ “อิฐ” วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นำมาสร้างสรรค์เป็นเปลือกอาคารที่สะท้อนถึงความประณีต และความแม่นยำของช่างประจำท้องถิ่น ในการนำอิฐมาเรียงต่อกันจนเกิดแพตเทิร์นสวยงาม.แม้ตัวอาคารจะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น แต่ก็มีความเข้าใจในภูมิอากาศเขตร้อนได้อย่างดี ด้านหน้า หรือทางเข้าหลัก จึงออกแบบให้มี Canopy ขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ช่วยบังแดดและฝนก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคาร พื้นที่ภายในอาคารช่วงเวลากลางวันให้ความรู้สึกปลอดโปร่งและเย็นสบาย เพราะมีชั้นอิฐช่วยป้องกันความร้อน ขณะเดียวกันก็เป็นช่องแสง นำพาแสงสว่างได้อย่างทั่วถึง เกิดการระบายอากาศและลมตามธรรมชาติได้ดีเยี่ยม ส่วนในเวลากลางคืนอาคารอิฐหลังนี้จะให้ภาพลักษณ์ที่เป็นเหมือนกล่องไฟขนาดใหญ่ สาดแสงเงาของไฟสีส้มให้ลอดผ่านออกมาตามช่องอิฐ ซึ่งเกิดจากการเรียงก้อนอิฐแบบเว้นช่องตามแพตเทิร์นที่ออกแบบไว้ ภายในมีการสร้างพื้นที่พักผ่อนแยกเป็นสัดส่วน ชั้นล่างใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยแบ่งเป็นโซนล็อบบี้ […]