© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
คอลเล็กชั่น fall winter 2022 ที่ Madmatter ได้ปล่อยออกมาโดยต้องการให้เป็น คอลเลคชั่น Fall Winter 2022 ที่ Madmatter Studio ได้ปล่อยออกมา โดยต้องการให้เป็นคอลชั่นที่จริงจังมากขึ้น ซึ่งมีจุดเด่นคือเป็นการร่วมกันกับแบรนด์ knit circle เพื่อทดลองด้วยการนำวัสดุที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาให้เป็น full-line fashion แบบครบจบทั้งตัวในคอลเลคชั่นเดียว จนเกิดเป็นไอเท็มใหม่ ๆ อย่างเสื้อไหมพรม เสื้อโปโล และเสื้อยืดซึ่งเป็นไอเท็มที่สามารถใส่ได้ทุกวัน ทุกโอกาส แต่อะไรคือแก่นความคิดที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแบรนด์ครั้งนี้ จนได้มาถึงจุดสมดุลระหว่างธุรกิจแฟชั่น และความยั่งยืนใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก่อเกิดเป็นผลงานที่ดีไซน์มาแล้วใช้ได้จริง นี่คือบทสัมภาษณ์ผู้อยู่เบื้องหลัง Madmatter Studio ผู้สนใจธุรกิจแฟชั่นดีไซน์บนความยั่งยืน
ลิกซิล (LIXIL) ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการน้ำและที่อยู่อาศัย เปิดตัว LIXIL Experience Center หรือ LEC โชว์รูมมิติใหม่ในสไตล์การตกแต่งเรียบหรูแบบญี่ปุ่น ที่จะมอบประสบการณ์การเข้าชมที่เรียกว่า multi-sensory experience ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสทั้งผลิตภัณฑ์จริง และผ่านโลกดิจิทัลด้วยตัวเองในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน LIXIL Experience Center ได้รับการออกแบบเพื่อปลุกเร้าทุกประสาทสัมผัสด้วยดีไซน์ เสียง และกลิ่นที่ล้ำสมัยและเป็นเอกลักษณ์ โดยผู้เข้าชมจะได้สัมผัสนวัตกรรมจากพาวเวอร์แบรนด์ของลิกซิล ได้แก่ โกรเฮ่ (GROHE) อเมริกันสแตนดาร์ด(American Standard) และ อิแน็กซ์ (INAX) ที่มาพร้อมดีไซน์ที่โดดเด่นและโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเป็นไปได้แบบไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษราวกับอยู่ในสปาส่วนตัวในพื้นที่จัดแสดง GROHE SPA ที่มาพร้อม GROHE AquaSymphony ที่แสดงการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันน้ำตามความต้องการใช้งาน หรือชมการสาธิตนวัตกรรมการใช้น้ำ ณ พื้นที่จัดแสดงพิเศษหลายจุดที่กระจายอยู่ทั่วทั้ง LEC ซาโตชิ โคนาไก (Satoshi Konagai) ลีดเดอร์ LIXIL Water Technology ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเพื่อการจัดการน้ำ ลิกซิลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก ความใกล้ชิดของเรากับผู้บริโภคทำให้ได้รู้ข้อมูลตลาดเชิงลึกในส่วนที่ไม่มีใครเข้าถึงมาก่อน ซึ่งเรามองว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญหน้ากับแนวโน้มระดับมหภาค (macro trends) ที่สำคัญสามด้าน ทั้งด้านสุขภาพและความเป็นที่อยู่ที่ดี ความยั่งยืน และการขยายตัวของสังคมเมือง LEC กรุงเทพฯ จะช่วยปูทางประสบการณ์ส่วนบุคคลให้ได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์หลากหลายหมวดหมู่ และจากหลากหลายแบรนด์ภายใต้ลิกซิล […]
วัสดุเหล่านี้อาจดูเหมือนวัสดุก่อสร้างโดยทั่วไป แต่แท้จริงแล้วนี่คือวัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษเหลือวัสดุ เพื่อเกิดเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้างแนว Circular Design ในนาม loqa Loqa เป็นแบรนด์ไทยที่ก่อตั้งโดย คุณนนท์-นรฤทธิ์ วิสิฐนรภัทร และ คุณมาย-มนัสลิล มนุญพร ด้วยความหวังในการเริ่มต้น “ทำ” ในสิ่งที่ทำได้ เพื่อความยั่งยืนของโลกอย่างเป็นรูปธรรม วัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ คือสิ่งที่ทั้งสองให้ความสนใจ และด้วยพื้นฐานธุรกิจทางบ้านของคุณนนท์ที่เป็นผู้ผลิตอิฐทนไฟ การเริ่มต้นกับวัสดุประเภทอิฐจึงไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกำลัง Loqa เริ่มต้นจากการทดลองใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งหลากหลาย เช่น เซรามิก แก้วจากขวดเก่า หรือวัสดุอื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ หรือขยะทางการเกษตร ณ ปัจจุบัน Loqa แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ กลุ่มประเภท Surface เช่น วัสดุก่อผนัง ปูพื้น และอิฐช่องลม และกลุ่มประเภทงาน Casted หรือการหล่อขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน เช่น แจกัน ประติมากรรม เชิงเทียง และกระถาง จุดเด่นของ Loqa […]
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร โฉมใหม่ ที่เปลี่ยนคราบขนบอาคารราชการยุคเก่าทิ้งไป สู่สถาปัตยกรรมลุคโมเดิร์นเรียบง่ายทันสมัย ดึงดูดใจให้ผู้คนทั่วไปทุกระดับชั้น สามารถเข้ามาหาความรู้มากขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supermachine Studio อาคาร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เปิดใช้ทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 โดยตั้งใจให้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งการรวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ และสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นที่ปรึกษาและให้การอุปถัมภ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากประวัติอาคารตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพตัวอาคารที่ค่อนข้างเก่า อีกทั้งยังมีความเป็นทางการ ตามแบบประเพณีนิยมการออกแบบอาคารราชการทั่วไป ที่มักมีรายละเอียดเด่น ๆ อย่างหลังคาทรงจั่ว บันไดทางขึ้นที่สูงชัน เสาโรมันขนาดใหญ่ พื้นทรายล้าง หลังคาแบบยื่นยาว รวมถึง Drop-off ขนาดใหญ่ และฯลฯ มาวันนี้ด้วยวิสัยทัศน์ของนายแพทย์ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ท่านต้องการเปลี่ยนบรรยากาศและภาพลักษณ์ของศูนย์มานุษยวิทยาฯ ใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยมอบให้สถาปนิก Supermachine Studio เป็นผู้ออกแบบ […]
labrador ชวน Garden Atlas ลุกมาเปลี่ยนบรรยากาศใหม่ให้กับห้องเดิมๆ และต้นไม้แสนรัก ด้วยกระถางต้นไม้รักษ์โลก CURV pot hanger
ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]
“สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” คำจำกัดความที่บ่งบอกแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ EAST architects ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเด่นชัดในสถาปัตยกรรมสไตล์ทรอปิคัลโมเดิร์น ที่มีแก่นความคิดในการอยู่ร่วมกับดินฟ้าอากาศอย่างเข้าใจธรรมชาติ การออกแบบบ้านในอดีตและปัจจุบัน มีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ในเชิงความเป็นมนุษย์ คนที่อยากสร้างบ้านมีความต้องการคล้ายๆกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ เป็นบ้านที่อยู่สบาย ความสบายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนชอบ โดยภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้าน ซึ่งประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น บ้านจึงได้รับการออกแบบให้อยู่สบาย ไม่ร้อน และสั่งสมจนเป็นภูมิปัญญาไทย ส่วนรูปแบบอาคารที่มาห่อหุ้มนั้น เป็นไปตามคติความเชื่อ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ในส่วนรูปแบบบ้านที่นิยมในแต่ละสมัย เราต้องแยกกันเป็นสองส่วน คือ รสนิยม หรือ Taste เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเช่นนั้นในทุกยุคสมัย ส่วนความนิยมส่วนรวมน่าจะตรงกับความหมายของ -ism (อิส’ซึม) เช่น Modernism Minimalism คือ นิยมกันแพร่หลาย ซึ่งเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดียให้เข้าถึงความนิยมสากลอย่างรวดเร็ว ก็จะถูกคลี่คลายกลายเป็นรสนิยมส่วนบุคคล รูปแบบบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลง และมีหลายแนวคิดที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องพลังงาน […]
ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]
IBOBI SUPER SCHOOL โรงเรียนอนุบาลบนดาดฟ้ากลางเมืองเซินเจิ้น ที่เน้นออกแบบพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ให้เด็กๆ ได้ออกมาเรียนรู้การใช้ชีวิตกลางแจ้ง
room Guide Ep.25 สำรวจพิพิธภัณฑ์ที่สุดของคลังดีไซน์ The Vitra Design Museum
Module collection โปรเจ็คต์ที่เกิดจากความร่วมมือของ DEESAWAT x SCG x Jacob Jensen Design|KMUTT ที่พยายามพลิกมุมมองเพื่อสร้าง “ความยั่งยืน” ในงานออกแบบ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แม้ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการหลายรายนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งหรือลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ทำอยู่นั้น อาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และหากไม่มีการออกแบบที่ครบวงจรเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราก็คงต้องปัญหานั้นอย่างไม่มีวันจบสิ้น MODULE collection ออกแบบภายใต้การคำนึงถึงการออกแบบที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ Lifecycle แรกของตัวสินค้า และยังมีการออกแบบฟังก์ชั่นให้ Lifecycle ที่ 2 อีกด้วย ในส่วนของที่นั่งไม้สัก เป็นไม้ที่มีการใช้งานได้คงทนทั้งภายนอกภายใน จึงมีการออกแบบให้เรียบง่าย และมีกระบวนการไสไม้ให้น้อยที่สุด เผื่อว่าอนาคตสามารถนำไม้ดังกล่าวไปใช้เป็นวัสดุใหม่ในการทำผลิตภัณท์ต่างๆ และส่วนของซีเมนต์จาก SCG นั้น ผลิตด้วยกระบวนการ 3D printing เพื่อลดการทำแม่พิมพ์ในการขึ้นชิ้นงาน และยังมีการออกแบบเซาะร่องในตัวชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นสนาม หรือรั้วต้นไม้ได้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานแล้วหรือมีการแตกหักเสียหาย DEESAWAT เลือกร่วมงานกับ SCG โดยมีเป้าหมายในการทดลองนำปูนซีเมนต์กลับมารีไซเคิล ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะมีต้นทุนในการขนย้ายสูง และต้องใช้เครื่องจักรที่ใหญ่มากในการบดย่อยสลาย ดังนั้นถ้าเจ้าของสินค้าสามารถนำชิ้นงานซีเมนต์ไปใช้ใหม่ได้ด้วยตัวเอง […]
PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นไทยในเวทีโลกที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา โดย คุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา และ คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา ด้วยแนวคิดการใช้แรงขับเคลื่อนของโลกแฟชั่นเพื่อสร้างการมีส่วนรวมย้อนกลับไปช่วยเหลือชุมชน จนเกิดเป็นคอลเลคชั่น Infinitude ที่ไม่เพียงเลือกช่างฝีมือไทยในการผลิตเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุหลักของคอลเลคชั่นเป็น “พลาสติกกำพร้า” อีกด้วย Fashion for Community หรืองานออกแบบที่สร้างการมีส่วนร่วมกลับคืนสู่สังคม คือแนวทางการทำงานของ PIPATCHARA ตลอดมา เมื่อมาถึงคอลเลคชั่น Infinitude นี้ จึงเริ่มมองหามิติของความยั่งยืนที่หลากหลายออกไป ความไม่มีที่สิ้นสุดในความหมายของ Infinitude นั้นสามารถแปลออกมาได้ทั้งมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเลือกทำงานกับครูที่แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับเหล่าครู ออกแบบชิ้นส่วนต่างๆโดยคำนึงถึงการทำงานกับคนในชุมชน ตลอดจนวัตถุดิบที่เหลือใช้ก็มาจากการรวมรวบขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับเข้าระบบได้ หรือที่เรียกว่า ‘พลาสติกกำพร้า’ มาใช้เป็นวัสดุหลัก จึงเป็นที่มาของคำว่า Infinitude เราต้องการต่อยอดความเป็นไปได้เหล่านี้ให้ต่อเนื่องไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากตัวชิ้นงานเองแล้ว ก็หวังว่าคอลเลคชั่นนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆของ Circular Economy ที่จับต้องได้เช่นกัน พลาสติกกำพร้า เหมือนไร้ค่า แต่สร้างสรรค์ได้ด้วยงานออกแบบ พลาสติกที่เลือกใช้ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมดคือ ‘พลาสติกกำพร้า’ ซึ่งเป็นขยะที่ไม่มีมูลค่าในตลาด ไม่ถูกนำไปใช้ซ้ำ รีไซเคิลก็ให้กลับมาเป็นตัวมันเองก็ไม่ได้ เราใช้พลาสติกที่มาจาก Post-Consumer Waste ซึ่งคือพลาสติกที่ผ่านการใช้มาจากในครัวเรือนมาแล้ว […]