SoA+D เปิดแล็บเรียนรู้วัฒนธรรม สร้างนักออกแบบเพื่อสังคม

‘วัฒนธรรม’ กับ ‘การศึกษาไทย’ เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานาน เปรียบได้กับสมการที่พยายามหาคำตอบในการเชื่อมต่ออดีตสู่อนาคต คงเพราะวัฒนธรรมคือรากเหง้าความเป็นเรา และคือรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมในวันหน้า การรักษาสมดุลระหว่างการออกแบบร่วมสมัยบนพื้นฐานความเข้าใจทางวัฒนธรรมดั้งเดิมถือเป็นประเด็นสำคัญ และ SoA+D ได้เปิดห้องทดลองแห่งการเรียนรู้ เพื่อชวนคนรุ่นใหม่มาเป็นนักออกแบบเพื่อสังคมรุ่นต่อไป  SoA+D Social and Cultural Innovation Lab คือห้องทดลองแห่งการเรียนรู้ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การนำของ ผศ.นันทนา บุญละออ ที่นี่คือพื้นที่แห่งการศึกษาค้นคว้า แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ ‘บ่มเพาะ’ นักออกแบบรุ่นใหม่ ให้พรั่งพร้อมด้วยศักยภาพด้านการออกแบบ ภายใต้ความเข้าใจในเชิงสังคม และวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในทุกมิติของสังคมได้อย่างยั่งยืน  “เริ่มแรกโครงการนี้เป็นนโยบายของทางคณะฯ ที่อยากจะหลอมรวมการทำงานวิจัย การเรียนการสอน และการลงพื้นที่ทำงานจริงนอกรั้วมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน ภายใต้ประเด็นทางด้านสังคมและวัฒนธรรม จึงได้จัดตั้งเป็นแล็บวิจัยเพื่อสร้างขอบเขตการทำงานที่ชัดเจน และเข้มข้นขึ้น”  อาจารย์นันทนาบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการ โดยกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดล้วนเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจทุกแง่มุมของปัญหาในบริบทชุมชน มากกว่าแค่การเรียนรู้ผ่านทฤษฎี “ในการลงพื้นที่ชุมชนในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่ชุมชนจะขอความช่วยเหลือทางด้านการออกแบบ เช่น การออกแบบโลโก้สำหรับสินค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์  อย่างกรณีชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่จังหวัดราชบุรี ก็เริ่มต้นจากการเข้าไปพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของเครื่องจักสานไม้ไผ่ ซึ่งตอนนั้นชาวบ้านสานแต่เข่งเพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ดีในพื้นที่นั้น เราอยากลองทำงานกับชุมชนหนึ่ง ๆ ให้นานขึ้น เพื่อเข้าใจวงจรปัญหาภายในอย่างแท้จริง […]

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ      จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”  คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง      “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย      “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”      โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ      ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้      “ถ้าเปรียบเทียบกับ
ขั้นตอนการออกแบบปกติ 
เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา 
ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว
ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ
ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ
หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร 
ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา 
จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” 
คุณภคชาติ เตชะอำนวย-
วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว      “แต่การทำงานของเรา
จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ 
อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่
โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ
ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ
เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา 
เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง 
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง
กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ
เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย      “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่
เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ
เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี
เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร”      ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ      “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ
ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก
ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป
อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์
เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ 
เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ
ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า
นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ
ภคชาติกล่าว      “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”      จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง      “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”      เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง      ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย      “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย      “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ

P7 ศิลปินที่ไม่พึ่งคอมพิวเตอร์ ทำแต่งานแฮนด์เมด ที่ไม่มีชิ้นไหนซ้ำกัน

P7 ศิลปินมากความสามารถ ซึ่งงานที่เขาถนัดที่สุดคืองานแนว Realistic ที่ใส่ความคลาสสิกเข้าไป จนออกมาเป็น Contemporary Painting ผ่านรูปแบบของงานศิลป์ที่หลากหลาย

คุยกับ ญารินดา บุนนาค แห่ง IMAGINARY OBJECTS ผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

สนทนากับคุณวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล อดีตนายกสมาคมมัณฑนากรฯ TIDA (2016-2023)

บ้านและสวน ได้มีโอกาสสนทนากับมัณฑนากรมากฝีมือผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการมานาน นั่นคือคุณเป้า-วิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท P49 Deesign and Associates และอดีตนายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) (2016-2023) โดยสิ่งที่ได้พูดคุยนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาพของวงการที่คุณเป้าได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงมาตลอด เรื่องของรางวัล TIDA Awards ที่ได้กลับมาจัดอีกครั้งในรอบ 10 ปี ไปจนถึงเรื่องของผลกระทบจาก Covid-19 ที่มีต่อวงการมัณฑนากร รวมไปถึงบทบาทของ TIDA ว่าอะไรคือสิ่งที่สมาคมมัณฑนากรฯ ตั้งใจพัฒนาและผลักดันต่อไปในอนาคต (*บทสัมภาษณ์ในปี 2020) อ่าน : TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย “สำหรับ TIDA Awards ในอนาคต  เราได้ขยายสาขารางวัลขึ้นมาเพิ่มเติม เพราะอยากให้ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็ตาม อยากให้เขามีเป้าหมาย ได้รับการพูดถึงมากขึ้น มีรางวัลให้กับเขา ในทางกลับกันพอประเภทของรางวัลมีเยอะขึ้น ความหลากหลายของงานที่จะเข้ามาและความน่าสนใจดี ๆ ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน” Q. อยากให้พี่เป้าช่วยเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการมัณฑนากรที่มองเห็นจากสายตาของพี่ ว่ามีอะไรที่แตกต่างไปบ้างจากอดีตจนถึงปัจจุบัน? […]

we!park แพลทฟอร์มที่ชวนให้ทุกคนเป็นเจ้าของสวนในเมือง

we!park องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เชิญชวนทุกคนมามีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวด้วยการหยิบพื้นที่ว่าง หรือยกพื้นที่รกร้างในเมืองกรุงมาพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเชื่อว่าพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่า เมืองนั้นมีคุณภาพที่ดีหรือไม่?  แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก หรือ Pocket Garden ได้ในทุก ๆ 400 เมตร โดยแพลตฟอร์มนี้เกิดจาก คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง ที่ตั้งข้อสงสัยว่า หากเรามีองค์ความรู้เรื่องการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และความรู้สึกอยากช่วยเหลือหน่วยงานรัฐในการสร้างสวน หรือพื้นที่สาธารณะ จะต้องมีขั้นตอน และกระบวนการอย่างไร หรือหากองค์กรไหนมีเงินทุนที่สนใจจะสร้างสวนสาธารณะ เขาต้องเดินเข้าไปติดต่อหน่วยงานไหน  นำมาสู่การสร้างสรรค์แพลตฟอร์มเพื่อทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเชื่อม “หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน” เข้าหากัน โดยปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหลัก wepark “เราทำหน้าที่เป็นกลไกกลางในการเชื่อม เช่น ใครมีที่ดินว่างเอามา เดี๋ยวเราเชื่อมกับหน่วยงานรัฐให้ หานักออกแบบมาให้ หรือใครมีเงินอยากบริจาคเพื่อทำสวน เราก็ดูว่าทางกทม.กำลังมีโครงการแบบนี้อยู่ไหม กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการช่วยดึงทรัพยากร โดยเราใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคือคุยกับชุมชน คุยกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อนำความรู้กลางมาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมจริง ๆ” เริ่มต้นจากสวนขนาดเล็ก “ตอนนี้เราเน้นขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่สวนขนาดเล็ก หรือ Pocket Park […]

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์

สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]

ฮ่องเต้ กนต์ธร พิธีกรช่างประจำบ้านที่เริ่มวาดรูปตั้งแต่สองขวบ จวบจนมีนิทรรศการเป็นของตัวเอง

ฮ่องเต้ กนต์ธร ทำความรู้จักชายมากความสามารถที่เป็นทั้งศิลปิน นักออกแบบนิทรรศการ พิธีกร ภัณฑารักษ์ และอีกหลายบทบาท ผ่านงานศิลปะที่บอกเล่าเรื่องความเท่าเทียม

แก่นแท้ทางความคิด และสนามซ้อมใหญ่ของ TRIMODE

ชินภานุ อธิชาธนบดี, ภิรดา และภารดี เสนีย์วงษ์ ณ อยุธยา ตัดสินใจย้ายสำนักงานของ Trimode Studio ออกจากบ้านพักอาศัยในซอยลึกมาอยู่บนตึกริมถนนเจริญกรุง ช่วงบรรจบระหว่างถนนตก และถนนพระรามที่ 3 ซึ่งไม่ไกลนักจากละแวกของบ้านและย่านที่พวกเขารู้สึกผูกพันด้วยหลายปัจจัย

BAMBUNIQUE แบรนด์ไทยที่พาไม้ไผ่ก้าวข้ามขีดจำกัดไปสู่เฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งระดับลักชัวรี่

“ไม้ไผ่เป็นวัสดุใช้งานชั่วคราว ราคาถูก มอดกิน” กลายเป็นความท้าทายของ อมรเทพ คัชชานนท์ แห่ง Bambunique พัฒนาวัสดุให้ตอบโจทย์ด้านคุณภาพ ทนทาน และใช้งานได้ดี

ศรัณย์ เย็นปัญญา และ 56thStudio กับ 7 ปีของบทบาทที่มากกว่าการเป็นนักออกแบบ

ทำความรู้จักการทำงานของ ศรัณย์ เย็นปัญญา และ 56thStudio ให้มากขึ้น รวมถึงแนวคิดต่อแนวทางการออกแบบที่ไม่เหมือนใครกับ 7 ปี ที่เขานำงานออกแบบสีสันจัดจ้าและรูปลักษณ์สุดแสบ และทำงานสร้างสรรค์อื่น ๆ อย่างการสร้างแบรนด์ สไตลิ่ง หรือออกแบบภาพลักษณ์ มาผลักดันวงการออกแบบให้สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น

กาแฟไทย AKHA AMA COFFEE สาขาใหม่ที่โตเกียว

กาแฟไทย Akha Ama Coffee สาขาใหม่ ที่โตเกียว กาแฟอาข่าอาม่ากับการเดินทางครั้งใหม่ของการเปิดร้านที่โตเกียวร่วมกับหุ้นส่วนชาวญี่ปุ่น

เรียนรู้จาก Covid19 กับแนวทางวางผังพื้นที่อาหารของเมือง โดย UDDC

Covid19 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของคนทั้งโลกไปในเวลาเพียงแค่ไม่กี่เดือน และไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกนั้นต้องบอกเลยว่าทุกๆคนต่างก็รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก อ่าน :  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มดีขึ้น  เราก็ได้เห็นว่ามีหน่วยงานหนึ่งได้นำเสนอ “มาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง” ให้ร้านอาหารและแหล่งอาหารได้นำไปใช้ ด้วยรูปแบบและวิธีคิดที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงได้ขอพูดคุยถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ Covid19 โดย คุณปูน ปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย urban design and development ของ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center) หรือที่เรามักจะได้ยินในชื่อ UDDC นั่นเอง room : จากตัวอย่างแนวทางมาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง 4 รูปแบบนั้น อยากทราบถึงแนวคิดเบื้องหลัง หลักคิด ก่อนที่จะกลายมาเป็นแนวทางทั้ง 4 ของ UDDC UDDC : ต้องเกริ่นก่อนว่า UDDC นั้นมีความสนใจในการออกแบบเมืองอยู่แล้ว  มันคือการออกแบบเพื่อคนที่อยู่อาศัยในนั้นจริงๆ […]

NPDA STUDIO เมื่อสถาปนิกเชื่อว่าสถาปัตยกรรมต้อง “ไม่ดัดจริต”

ตามไปรู้จัก npda Studio สตูดิโอออกแบบขนาดย่อมเจ้าของผลงานการออกแบบที่ได้รับการยอมรับในเวทีระดับสากล ซึ่งมาพร้อมแนวคิดที่เชื่อมโยงธรรมชาติเข้ากับสถาปัตยกรรม

SALT AND PEPPER นักสำรวจงานดีไซน์ที่มองหาความเป็นไปได้ใหม่อยู่เสมอ

Salt and Pepper Studio สตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์

ศุภพงศ์ สอนสังข์ ดีไซเนอร์ผู้หักดิบจากโลกของดีไซน์ มาลงมือปลูกป่าด้วยตัวเองกว่า 70 ไร่

เยี่ยมห้องทำงานกลางป่าของ คุณตั้ม-ศุภพงศ์ สอนสังข์ นักออกแบบมือรางวัล DEmark และ Designer of the Year ผู้หันหลังให้วงการออกแบบมาปลูกป่าเป็นฐานผลิตให้กับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ Jird Design Gallery

กระตุ้นเศรษฐกิจ (ความคิด) เมือง และผู้คน ด้วยทางเดินสีเขียวจากพื้นที่รกร้างไร้ประโยชน์ในกทม.

เดินคุยกับ ยศพล บุญสม ที่ใต้ทางด่วน ซึ่งเขาเป็นผู้ริเริ่มโครงการ “BKK Green Link ทางเชื่อมสีเขียวมหานคร” พลิกโฉมพื้นที่รกร้างกลางกรุงให้น่าเข้ามาใช้งาน ปลอดภัยขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้คนในชุมชนในพื้นที่โดยรอบเข้ามามีส่วนในการดูเเล พัฒนา และกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่ย่านเหล่านั้นไปพร้อมกัน

คุยกับ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย ใน 6 ประเด็นคัดค้านทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา

room ขอร่วมไขประเด็นการคัดค้านโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คุยกับรศ.ดร.พนิต ภู่จินดา เพื่อหาคำตอบว่าเหตุใดเราจึงไม่ควรสร้างทางเลียบฯ แท้จริงแล้วทางเลียบฯ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้จริงหรือไม่ รวมถึงคำถามที่ไร้คนตอบว่าทำไมไม่เริ่มต้นจากการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ของรัฐที่อยู่ริมแม่น้ำให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยวที่ดีเสียก่อน