- Page 10 of 37

TH HOUSE บ้านหน้าแคบ ที่เว้นช่องว่างให้แสงธรรมชาติเข้าถึง

บ้านหน้าแคบ ในประเทศเวียดนาม ที่มีผืนที่ดินเล็กมากและแทบไม่มีช่องเปิดใด ๆ จึงออกแแบโดยเว้นช่องว่างให้แสงธรรมชาติเข้าถึง พร้อมระบายอากาศ

ห้องสไตล์ ปูนเปลือย ที่เรียบเนี้ยบแบบมินิมัล

ห้องพัก ปูนเปลือย ที่เห็นนี้ เดิมทีเป็นสำนักงานมาก่อน เพื่อจะเตรียมพื้นที่สำหรับพักผ่อนในบางวัน การปรับเปลี่ยนพื้นที่ชั้นบนสุดให้กลายเป็นห้องพักในสไตล์คอนโดมิเนียมจึงเกิดขึ้นเมื่อรื้อองค์ประกอบเดิมรวมทั้งฝ้าและผนังออกแล้ว ด้วยความชอบในสไตล์ดิบเท่แบบปูนเปลือยของเจ้าของ แต่ก็ยังต้องการความเรียบเนี้ยบน่าสัมผัสของภรรยา จึงผสมผสานออกรูปแบบ Brutal-Minimalist อย่างที่เห็น ออกแบบ : TOUCH Architect เมื่อเข้ามาภายในห้อง สิ่งแรกที่จะพบคือพื้นที่พักผ่อนพร้อมโซฟาและชุดโฮมเธียร์เตอร์ ที่สุดปลายของห้องจะเป็นที่นั่งรับประทานอาหารขนาด 2 ที่นั่ง พื้นที่ส่วนนี้เป็นเหมือนพื้นที่ Semi-Private ที่อาจจะชวนเพื่อนฝูงขึ้นมานั่งเล่นพูดคุยกันได้ในบางครั้ง และถูกกั้นไว้ด้วยชั้นหนังสือที่สามารถเลื่อนเปิด-ปิดได้ เป็นองค์ประกอบที่ช่วยกำหนดการใช้งานในเวลาที่ต่างกัน เช่นต้องการเปิดพื้นที่ทั้งหมดในเวลาส่วนตัว หรือปิดกั้นสำหรับแยกการใช้งานออกจากกันก็ได้ ผนังฉากกั้นนั้นเลือกใช้วัสดุโปร่งแสงที่สามารถมองเห็นภายนอกได้ เพื่อยังคงไว้ซึ่งความโปร่งโล่งไม่ทึบตันจนเกินไป และสามารถมองเห็นความเป็นไปของพื้นที่โดยรอบได้อย่างสะดวก ถัดเข้ามาคือ Walkin-Closet ที่เป็นเหมือนพื้นที่กึ่งอเนกประสงค์ ในบางเวลาอาจเปิดบานเลื่อนเพื่อใช้งานพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น หรือเตรียมไว้สำหรับปรับเป็นพื้นที่เลี้ยงเด็กในอนาคตเช่นกัน พื้นที่ด้านในสุดแบ่งออกเป็นสองด้าน ด้านหนึ่งคือห้องน้ำที่ยังคงยึดตำแหน่งเดิมไว้ ด้วยว่าเป็นงานรีโนเวต ดังนั้นการจัดการระบบห้องน้ำใหม่อาจสร้างปัญหาและความยุ่งยากขึ้นได้ การจัดการผังใหม่ให้สอดคล้องกับระบบเก่าจึงเป็นวิธีที่ดีกว่า ส่วนสุดท้าย คือห้องนอนที่ซ่อนบานประตูไว้ด้านในสุดของ Walkin-Closet เพราะเป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างแท้จริง จึงออกแบบให้เป็นพื้นที่สุดสงบที่อยู่ลึกเข้าไปในห้องแห่งนี้ มีการเปิดรับแสงเป็นจังหวะพอเหมาะพอดี โดยมีช่องแสงหันไปทางทิศเหนือ ทำให้การเปิดรับแสงเข้ามาในห้องแบบไม่ก่อให้เกิดความร้อนที่มากเกินไปนัก อย่างที่แสดงให้เห็นในภาพ แสงสว่างและช่องเปิดขนาดใหญ่ ช่วยสร้างความสดชื่นให้กับพื้นที่ภายในได้อย่างมาก และในส่วนอื่น ๆ ก็ยังมีกิมมิกในการสร้างความเชื่อมโยงของแสงสว่างอีก เช่น […]

เปลี่ยนทาวน์เฮ้าส์อายุ 10 ปีให้อุ่นละมุนปนดิบเท่

รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ อายุ 10 ปีให้อุ่นละมุนปนดิบเท่สไตล์อินดัสเทรียล ของช่างภาพที่ชื่นชอบในการแคมป์ปิ้ง นำมาสู่บ้านที่ดูโปร่งโล่ง แสงดี ถ่ายสวย

GAWTHORNE’S HUT กระท่อมที่ออกแบบให้พึ่งพาธรรมชาติและลดการใช้พลังงาน

บ้านประหยัดพลังงาน ที่ออกแบบให้พึ่งพาธรรมชาติและลดใช้พลังงาน โดยอ้างอิงอาคารเดิมในพื้นที่อย่างโรงเก็บหญ้าแห้งจึงห่อหุ้มอาคารด้วยสังกะสี

BAAN PREEDEE 26 มอบความเป็นส่วนตัวท่ามกลางความวุ่นวายของเมือง

แบบบ้านโมเดิร์น ที่ตั้งอยู่ในซอยปรีดีพนมยงค์ 26 หนึ่งในซอยที่มีความพลุกพล่านและถนนกว้างไม่ถึง 4 เมตร จึงออกแบบเพื่อตอบโจทย์เรื่องความเป็นส่วนตัวพร้อมความสงบ เจ้าของ: คุณยงยุทธ องค์วัฒนะพัฒน์ และ คุณมนัญญา วณิชวิศิษฎ์กุล ออกแบบ: Gooseberry design บ้านที่เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งอย่างซอยปรีดีพนมยงค์ 26 หรือสุขุมวิท 71 ซึ่งหากใครเคยขับผ่านไปซอยนี้จะรู้ว่ายิ่งขับเข้าไปถนนยิ่งค่อย ๆ แคบลง แคบชนิดที่เรียกว่ากว้างไม่ถึง 4 เมตรเลยด้วยซ้ำส่งผลให้การสัญจรในซอยไม่สะดวกเท่าไหร่ พอตัดสินใจจะสร้างบ้านบนผืนที่ดินซึ่งซื้อไว้นานแล้วในซอยนี้  ซึ่งมีขนาดหน้ากว้าง 10 เมตร ลึก 40 เมตร เจ้าของบ้านอย่าง คุณยงยุทธ องค์วัฒนะพัฒน์ และ คุณมนัญญา วณิชวิศิษฎ์กุล จึงวางให้ใจสถาปนิกจาก Gooseberry design มารับหน้าที่ออกแบบสเปซที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งคู่ โดยโจทย์แรกที่สถาปนิกได้รับคือต้องการที่จอดรถสำหรับรองรับรถ 4 คัน นำมาสู่การออกแบบประตูแบบบานม้วนขึ้นเหมือนประตูการาจให้กว้างเต็มพื้นที่ โดยใช้โครงสร้างแบบ Long Span ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ ง่ายต่อการถอยรถเข้า-ออก พร้อมกับร่นระยะหน้าบ้านเข้าไปเป็นเวิ้งพักคอยประมาณ 3 เมตร […]

PORTABLE CABIN บ้านตู้คอนเทนเนอร์กลางสวนหลังน้อย

เอาใจคนมองหาไอเดีย บ้านตู้คอนเทนเนอร์ หลังน้อยกลางสวน เพื่อสร้างไว้สำหรับพักผ่อน หรือตากอากาศในต่างจังหวัด ด้วยการใช้ตู้คอนเทนเนอร์สองหลัง

ปิดล้อมสู่ความสงบใน พื้นที่สีเขียว ส่วนตัว

บ้านหลังนี้โดดเด่นด้วยการสร้างพื้นที่ส่วนตัวในแบบ พื้นที่สีเขียว ซึ่งมีต้นไม้และช่องเปิดสำหรับแสงธรรมชาติอยู่ภายใน การออกแบบพื้นที่ใช้สอยจากพื้นที่เล็กๆให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติโดยรอบ จึงเป็นตัวอย่างที่ดีมากอีกหลังหนึ่งของการอยู่อาศัยในเขตเมืองอย่างเช่นกรุงเทพในทุกวันนี้ และผู้ที่ออกแบบบ้านหลังนี้ก็คือ TOUCH ARCHITECTS นั่นเอง เจ้าของ: คุณกายแก้ว อัมพรวิวัฒน์ และคุณสิริยศ ภูนุชออกแบบ: TOUCH ARCHITECT ความเป็นส่วนตัวที่ยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ด้วยความที่เดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรค์ ที่ดินของบ้านแต่ละหลังจึงค่อนข้างอยู่ติดกันไปเสียหมด การออกแบบพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัว จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปิดกั้นพื้นที่ภายในจากพื้นที่ภายนอกเสีย แต่หากปิดกั้นไปเสียหมดแล้วก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด ขาดการรับรู้ถึงบริบท และคงทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในรู้สึกไม่ดีเป็นแน่ การออกแบบ facade skin หรือเปลือกอาคาร จึงเป็นสร้างองค์ประกอบที่จะช่วยพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัวได้โดยที่ผู้ที่อยู่ภายในยังรู้สึกสัมผัสกับธรรมชาติและบริบทรอบด้านได้อยู่ ผู้ออกแบบ เลือกที่จะใช้ระแนงเหล็กกล่องเพื่อพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัว แสงธรรมชาติที่ลอดผ่านซี่ระแนงนั้นยังคงทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนไปของบริบทโดยรอบอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การใช้ระแนงโลหะเป็นเปลือกอาคารยังทำให้ผู้ที่อยู่ภายนอกไม่สามารถมองเห็นผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ภายในยังสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวบ้านได้โดยทั่วเช่นเดิม พื้นที่จตุรัส ใช้งานได้คุ้มค่า สำหรับบ้านพื้นที่น้อย พื้นที่ของบ้านหลังนี้นั้นตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 50 ตารางวา หลังจากรื้อถอนบ้านเดิมออกแล้ว การออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานใหม่จึงต้องมีการจัดวางผังเสียใหม่ ผู้ออกแบบเลือกวางผังบนกริดตารางแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส เพื่อให้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ต่างๆได้ครบถ้วนกว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า(ในขนาดพื้นที่เดียวกันที่ดินแบบจตุรัสจะใช้งานได้มากกว่าแบบผืนผ้า) โดยที่เลือกให้ห้องรับแขกนั้นอยู่ด้านในจากหน้าบ้านเข้ามา และแบ่งพื้นที่ด้านหน้าออกเป็นห้องทำงานแบบ WFH ที่ต่อไปจะใช้เป็นห้องนอนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในอนาคต และพื้นที่ชั้นสองที่เป็นห้องนอนทั้งสองฝั่ง การเลือกให้ห้องนั่งเล่นอยู่ด้านในของตัวบ้านนั้นก็เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวจากถนนหน้าบ้านด้วยเช่นกัน โดยที่ห้องนั่งเล่นนี้จะสามารถเปิดออกไปยังชานหลังบ้านและรับกับสวนกลางบ้านได้พร้อมๆกัน ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด พื้นที่สัญจรภายในบ้านจึงเลือกที่จะหยิบยืมเอาจากพื้นที่ใช้งานต่างๆ […]

บ้านตอบโจทย์ครอบครัวต่างวัย เปิดสเปซเชื่อมต่อความสุข

เมื่อถึงคราวต้องปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัย จากบ้านที่เป็นอาคารพาณิชย์ในตัวเมืองเชียงใหม่ สู่การสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งเป็นอีกบทหนึ่งของชีวิต แน่นอนว่าต้องเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ เหนืออื่นใดคือต้องเติมเต็มความสุขให้สมาชิกทุกคน แม้จะต่างวัยกันแค่ไหน แต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างอบอุ่น จากทำเลที่มองเห็นวิวดอยคำ ดอยสุเทพ และใกล้กับอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ ครอบครัวขยายของสองทันตแพทย์ ทพ. วัลลภ ธีรเวชกุล และ ทพญ. สรินภรณ์ ธีรเวชกุล ได้ไว้วางใจให้ทีมสถาปนิกจาก STUDIO SATi มารับหน้าที่ออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับบริบท และความต้องการของสมาชิก 3 เจเนอเรชั่นที่ย้ายเข้ามาอยู่พร้อมหน้ากันถึง 7 คน โดยมีคุณยาย 2 ท่าน คุณพ่อคุณแม่ ลูกชาย ลูกสาว และหลาน ความท้าทายจึงอยู่ที่การออกแบบให้ทุกคนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กัน ไปพร้อม ๆ กับมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมส่วนตัว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ในบ้านด้วย เนื่องจากตัวบ้านหันไปทางทิศใต้กึ่งตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่รับแดดบ่ายโดยตรง การออกแบบสถาปัตยกรรมจึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงและความร้อนเป็นพิเศษ สถาปนิกออกแบบผนังด้านหน้าบ้านเป็นลักษณะแนวผนังทึบก่ออิฐมอญบิดมุมให้เกิดองศาที่พอเหมาะเพื่อช่วยบังสายตาและกันแสงแดด โดยมีช่องเปิดให้ลมพัดผ่านและมองเห็นวิวได้ “เราออกแบบให้ตัวโถงบันไดและสระว่ายน้ำอยู่ด้านหน้าบ้าน ให้เป็นส่วนรับแดดช่วงบ่าย การใช้น้ำมาเป็นองค์ประกอบจะช่วยให้บ้านไม่ร้อนมาก และมีโถงบันไดด้านหน้าซึ่งเป็นจุดรับความร้อนได้ดี ออกแบบให้มีผนังอิฐเฉียงเพื่อบังแดดและบิดมุม […]

บ้านไม้ไผ่ อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติในกาลาปากอส

บ้านไม้ไผ่ รูปทรงโมเดิร์นตั้งอยู่ที่เกาะซานกริสโตบาล ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอส ในประเทศเอกวาดอร์ ก่อสร้างขึ้นโดยใช้ทรัพยากร พลังงาน แรงงาน และการขนส่งในพื้นที่ โดยพยายามให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด Dany และ Jenny คู่สามีภรรยาเจ้าของ บ้านไม้ไผ่ ตั้งใจสร้างที่นี่ขึ้น หลังจากที่ทั้งคู่มีลูกคนแรก แล้วต้องการพื้นที่พักอาศัยที่กว้างขึ้น โดยได้รับคำปรึกษาจาก ESEcolectivo ก่อนออกมาเป็นบ้านที่ใช้โครงสร้างไม้ไผ่ทั้งหลัง โดยใช้แรงงานและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้งบประมาณที่ไม่สูงนัก เพื่อให้เข้ากันดีกับบริบททางธรรมชาติอันเปราะบางของหมู่เกาะกาลาปากอส บ้านทั้งหลังจึงต้องออกแบบให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล ลดการใช้พลังงาน และพึ่งพาตนเองได้ เห็นได้จากการแบ่งพื้นที่รอบบ้านสำหรับทำแปลงปลูกผักใช้รับประทานในครอบครัว ขณะที่พื้นที่ใช้สอยภายในขนาด 120 ตารางเมตร สถาปนิกได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนห้องน้ำ ส่วนซักล้าง และห้องพักสำหรับผู้สูงอายุ แบ่งพื้นที่รอบแกนบันไดให้มีขนาดกว้าง เพื่อทำหน้าที่เป็นทางเดินไปขึ้นสู่ชั้นบนสุดมองเห็นวิวทะเลได้ ทั้งยังช่วยในการไหลเวียนอากาศทั่วทั้งบ้าน ชั้น 2 มีห้องพัก 2 ห้อง คือ ห้องนอนใหญ่ และห้องเด็กเล่น เผื่อสำหรับในอนาคตเมื่อลูกเติบโตขึ้น เขาสามารถย้ายมาพักที่ห้องนี้ได้เพื่อความเป็นส่วนตัว ส่วนชั้น 3 มีห้องสตูดิโอขนาดเล็ก และจุดชมวิวที่สามารถทอดสายตาชมวิวทะเล และพระอาทิตย์ตกดินได้อย่างโรแมนติก ด้านการตกแต่งเน้นเฟอร์นิเจอร์และส่วนต่าง ๆ […]

MP HOUSE บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ฟาซาดสวยด้วยบล็อกช่องลม

บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ส่วนผสมระหว่างออฟฟิศกับบ้านของคู่รักนักออกแบบ ปลอดโปร่งด้วยเพดานสูง และฟาซาดบล็อกช่องลม MP HOUSE หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองตาเงรัง (Tangerang) ประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันในบ้านที่นี่จึงได้รับการออกแบบให้มี 2 หน้าที่หลัก โดยแบ่งเป็นสำนักงานที่อยู่ชั้นหนึ่งและกึ่งชั้นใต้ดิน ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขาและพ่อแม่อยู่ชั้นบน ในส่วนของพื้นที่อยู่อาศัยมวลอาคารถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยพื้นที่กึ่งส่วนตัว ซึ่งรวมถึงมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร โดยออกแบบให้อยู่ด้านหน้าของบ้าน ขณะที่พื้นที่ส่วนตัวอย่าง ห้องนอน จะอยู่ที่ด้านหลังของอาคาร ทั้งสองส่วนถูกคั่นด้วยสวนหิน ซึ่งมีการระบายอากาศที่เพียงพอ และได้รับแสงธรรมชาติจากฟาซาดบล็อกช่องลม ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีหน้าที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและโฮมออฟฟิศ แยกส่วนพักผ่อนให้อยู่ชั้นบน ดังนั้นผู้สูงอายุในบ้านที่มีปัญหาการเดินขึ้นบันไดจึงอาจเกิดความยุ่งยากได้ เจ้าของจึงออกแบบให้มีทางลาดเพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นแทนบันได สิ่งท้าทายและน่าสนใจที่สุดของบ้านหลังนี้ คือบริเวณมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สมาชิกในบ้านมักมาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกัน ดังนั้นเพื่อให้เอื้อต่อการใช้งานจึงต้องออกแบบให้มีขนาดกว้างขวาง และมีเพดานยกสูงดูสว่างปลอดโปร่ง ช่วยระบายอากาศได้ดี การออกแบบบ้านให้มีหลังคาทรงจั่ว และใช้บล็อกรับลมสร้างลวดลายฟาซาดให้กับบ้าน ได้เอื้อให้พื้นที่พักผ่อนส่วนหน้าบ้านนี้ มีบรรยากาศที่ปลอดโปร่งจากฝ้าเพดานขนาดสูง และแสงแดดสามารถส่องเข้ามาถึงภายในได้อย่างเพียงพอผ่านบล็อกช่องลม ผลพลอยได้ที่ตามมาคือเอฟเฟ็กต์ของแสงเงาที่ลอดผ่านบล็อกช่องลม ช่วยตกแต่งให้ห้องดูสวยงามระหว่างวัน ขณะที่การตกแต่งใช้ธีมสีขาว เทา และดำ ล้อไปกับวัสดุส่วนใหญ่ที่ไร้การปรุงแต่ง ดูเป็นธรรมชาติ ก่อนสร้างมิติของบรรยากาศด้วยการออกแบบไลท์ติ้งตามส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการขับเน้นและนำสายตา เป็นอีกดีเทลที่ช่วยให้บ้านบรรยากาศเรียบนิ่งดูมีชีวิตชีวาขึ้น   ออกแบบ […]

รีโนเวตทาวน์โฮม ในเชียงใหม่ให้ขาวละมุน

บ้านทาวน์โฮม สองชั้นในเมืองเชียงใหม่ถูกแปลงโฉมรีโนเวตให้กลายเป็นพื้นที่สุดพิเศษนุ่มละมุนในแบบ White and Wood DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO ออกแบบโดย INLY STUDIO ผู้เคยฝากลงงานไว้ใน Cheeva Spa ซึ่งนอกจากผลงานบ้านอิงธรรรมชาติที่ผ่านหลาย ๆ หลังแล้วนั้น ผลงานตกแต่งภายในในแบบเรียบง่าย แต่อ่อนโยนของพวกเขาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เติมจังหวะนุ่มนวลให้กับบ้านทาวน์โฮม การเลือกใช้สีขาวเป็นสีหลักนั้น มาจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่ชอบสะสมเฟอร์นิเจอร์มีดีไซน์ ประกอบกับแนวทางการตกแต่งที่เน้นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เผื่อการปรับเปลี่ยนตามใจได้ในภายหลัง สีขาวของบ้านหลังนี้จึงเป็นเหมือนกับฉากหลังให้ชีวิตชีวาของการใช้ชีวิต ตลอดจนช่วยให้เฟอร์นิเจอร์ดูโดดเด่นขึ้น เมื่อผสมเข้ากับสีไม้โทนกลาง ๆ อย่างโอ๊ก และบีช ก็ทำให้พื้นที่ทั้งหมดดูอบอุ่นขึ้น ไม่เพียงแค่สีสันแบบ White and Wood ที่สร้างให้บ้านหลังนี้ดูละมุนตาไปทุกสัดส่วน แต่หากสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเกือบทุกพื้นที่จะมีเส้นโค้งมารับอยู่ทุกมุมมอง เส้นโค้งเหล่านี้สร้างให้บ้านสี่เหลี่ยมดูมีมิติน่าค้นหา ลดความแข็งกระด้างของพื้นที่สี่เหลี่ยมลง แก้ปัญหาบ้านหน้าแคบอย่างบ้านทาวน์โฮมได้อย่างดี เกิดเป็นพื้นที่พิเศษที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของบ้าน ปรับพื้นที่เปิดโล่งให้ลงตัวแบบพอดี หนึ่งในปัญหาของบ้านทาวน์โฮมโดยมาก คือการที่พื้นที่ทั้งหมดต่อเชื่อมเป็นพื้นที่เดียวกันแบบ Open Plan จะกั้นห้องก็ทำให้เสียพื้นที่ จะใช้แบบเดิม ๆ ก็ขาดความเป็นสัดส่วน ผู้ออกแบบจึงเลือกการแบ่งพื้นที่ผ่านซุ้มโค้งที่แตกต่างกันสองซุ้ม แบ่งเป็น 3 พื้นที่ […]

บ้านไม้ ขนาด Compact อยู่สบายแบบเบาๆ ที่ แคลิฟอร์เนียร์

ออกแบบ: Peter Jenny และ Scott Graf บ้านไม้ หลังนี้ ตั้งอยู่ในเมือง Sea Ranch รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกแบบและเป็นเจ้าของโดยคุณ Peter Jenny และ Scott Graf ซึ่งแรกเริ่มเดิมที่พื้นที่ส่วนนี้ของบ้านเป็นโรงจอดรถที่ตั้งใจสร้างให้มี Facilities เพียงพอต่อการมาแวะค้างคืนได้โดยสะดวก ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นบ้านหลังน้อยแบบ Studio Type กลางป่าที่น่าสนใจมากที่เดียว ตัวบ้านออกแบบให้สวยงามแบบโมเดิร์นตามสมัย แต่คงเอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมในพื้นที่ Sea Ranch เอาไว้ นั่นคือการเปิดเปลือยพื้นผิวไม้นอกอาคารและทาฉาบปิดป้องกันสภาพอากาศเพียงบางๆเท่านั้ น ดูสวยงามเข้ากับบริบทไปอีกแบบ ห้องสตูดิโอที่เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์บิวท์อินออกแบบโดยเจ้าของบ้าน สร้างให้พื้นที่เล็กๆมีการใช้งานที่ดีและลงตัวจากความเข้าใจในพฤติกรรมและความต้องการการใช้งานต่างๆ แต่บางส่วนของบ้านก็เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่เป็นของสะสมของเจ้าของบ้านเอง ผนังภายในเลือกปล่อยเปลือยโชว์คอนกรีตหล่อในที่ในชั้นล่าง และกรุไม้วีเนียร์ที่ชั้นบน ให้ความรู้สึกบางเบาเรียบง่าย ภายในผนังเสริมฉนวนกักอุณภูมิเอาไว้เพื่อรับกับอากาศหนาวแบบประเทศเขตอบอุ่น การใช้งานเรียบง่าย กะทัดรัด เพิ่มเติมคือพื้นที่รอบบ้านที่เหมือนเป็นส่วนเชื่อมโยงกับบริบทป่ารอบบ้านก็ทำให้บ้านหลังนี้เหมือนกระท่อมหย่อนใจในฝันของใครหลายๆคนเลยทีเดียว ภาพ: ฤทธิรงค์ จันทองสุขเรื่อง: รณภา นิตย์