© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
Ursa คือบ้านรถพ่วงหลังเล็กขนาด 17 ตารางเมตร ที่ออกแบบโดย Madeiguincho สตูดิโอออกแบบจากโปรตุเกส โปรเจ็กต์ท้าทายการใช้ชีวิตในพื้นที่ขนาดเล็ก Tiny On Wheels (TOW) นี้ผสมผสานระหว่างศาสตร์ของการออกแบบสถาปัตยกรรมเข้ากับงานไม้ ผ่านการสร้างสรรค์บ้านติดล้อหลังเล็ก 3 ขนาด (ยาว 4 เมตร 5 เมตร และ 7 เมตร) ด้วยความกว้าง 2.5 เมตร และความสูงไม่เกิน 4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ Ursa มีความยาว 7 เมตร ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องใช้ระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางอย่างสมบูรณ์ (off-grid) จึงมีระบบรองรับครบครันทั้งระบบน้ำ ระบบไฟ ผังพื้นของบ้านประกอบด้วยพื้นที่นอน 2 จุด สำหรับ 2 คน พื้นที่ทำงาน พื้นที่ครัว ห้องอาบน้ำ และดาดฟ้ากลางแจ้ง โดยยึดตามแนวคิดของการออกพื้นที่ขนาดเล็กให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อประหยัดพลังงาน (Passive design) ในส่วนของระบบน้ำ เน้นการใช้น้ำฝนเป็นหลัก […]
จะเป็นอย่างไรหากเราเปลี่ยนผนังบ้านที่มีหน้าต่างทรงสี่เหลี่ยมแบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นบ้านที่มีเปลือกอาคารเท่ ๆ ดูสดใส จาก แผ่นเหล็กเจาะรู ทำสีฟ้าพาสเทล ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและปลอดภัย ไปพร้อม ๆ กับช่วยเพิ่มความปลอดโปร่งให้บ้านหายใจได้ JP House หลังนี้ ตั้งอยู่ในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นอพาร์ตเมนต์ 2 ห้อง เชื่อมติดกัน สร้างขึ้นบนพื้นที่ขนาด 180 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น สำหรับใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทำงาน และห้องสตูดิโอวาดภาพและทำเพลง ขณะที่ชั้นล่างเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อแม่ผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากหน้าบ้านต้องหันออกสู่ถนน ซึ่งอยู่ตรงกับทิศตะวันออกแบบพอดี สถาปนิกจาก Kumar La Noce จึงออกแบบเปลือกอาคารด้วยแผงเหล็กแผ่นเจาะรูที่เปิด-ปิดได้ เพื่อช่วยกรองแสงแดดไม่ให้ส่องมายังพื้นที่ภายในบ้านโดยตรง จนกลายเป็นองค์ประกอบช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้บ้านดูสวยงามแตกต่างไปจากอาคารทั่วไป พร้อมกันนั้นยังมีความแข็งแรง และสามารถเชื่อมมุมมองและมีปฏิสัมพันธ์กับบรรยากาศภายนอกได้ การตกแต่งภายในของบ้านเน้นทำผนังสีขาว ผสมผสานกับซีเมนต์ขัดมัน และไม้แบบมินิมอล ยกเว้นพื้นที่ที่ต้องการสร้างความโดดเด่นอย่าง บันไดสีฟ้า ที่ค่อย ๆ พาไต่ระดับขึ้นไปยังชั้นต่าง ๆ ของบ้าน โดยพื้นที่ชั้น 2 โซนด้านหน้าออกแบบให้เป็นครัว […]
บ้านสำเร็จรูป ขนาด 64 ตารางเมตร ที่มีฟังก์ชันครบครัน พร้อมปรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย รีสอร์ต บ้านในสวน พื้นที่ทำงาน หรือศาลาโยคะ Tetra Pod Studio บ้านสำเร็จรูป หลังนี้ ตั้งอยู่ที่อูลูวาตู บนเกาะบาหลี สร้างสรรค์จากวัสดุรีไซเคิล ทั้งในส่วนของผนังและหลังคามาผสมผสานให้เข้ากับความเป็นพื้นถิ่น มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ตัวบ้านยกลอยจากพื้น 40 เซนติเมตร ใช้วัสดุไม้ เหล็ก กระจก และวัสดุรีไซเคิลในการก่อสร้าง สถาปนิกหาวิธีการผสานตัวบ้านให้เข้ากับบริบทโดยรอบผ่านการใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อสะท้อนตัวตน ในขณะที่บ้านต้องเปิดช่องเปิดเพื่อเชื่อมกับธรรมชาติ แปลนบ้านถูกแบ่งสเปซด้วยแกนแนวทะแยงซึ่งช่วยสร้างมุมมองที่แปลกใหม่ และช่วยให้บ้านดูกว้างอย่างไม่น่าเชื่อ“เราคิดว่าโปรเจ็กต์นี้มีความท้าทายในหลายแง่มุม ทั้งการสร้างสรรค์ดีไซน์ที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ในขณะที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ที่สำคัญคือต้องทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้สเปซได้อย่างเต็มที่ จะเป็นอย่างไรถ้าเราไม่เพียงแต่ลดปริมาณการใช้วัสดุ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยราคาการก่อสร้างที่เอื้อมถึง” เริ่มจากส่วนของหลังคาแบบหน้าจั่วที่เอื้อให้น้ำฝนระบายลงได้ง่าย แล้วนำไปกักเก็บเพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ต่อไป ช่องว่างใต้หลังคาช่วยให้อากาศสามารถไหลเวียนเป็นการลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกขั้นหนึ่ง ภายในพื้นที่เพียง 64 ตารางเมตรประกอบไปด้วยห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัว ครัวเปิด และห้องนั่งเล่นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์เสมือนพื้นที่ชานบ้าน สอดคล้องกับความสูงของบ้านที่ยกขึ้น 40 เซนติเมตร เป็นระดับที่พอดีกับการนั่งห้อยขาเป็นพื้นที่ระเบียงบานฟาซาดขนาดใหญ่สามารถเปิดได้เพื่อระบายอากาศที่ดีและทำให้พื้นที่ภายในบ้านดูโปร่งโล่ง แล้วใช้ผ้าม่านในการสร้างความเป็นส่วนตัวแทน ในส่วนของเฟอร์นิเจอร์เลือกที่ให้ความรู้สึกสะดวกสบายในส่วนของห้องนั่งเล่นและรับประทานอาหาร Tetra Pod […]
หจก.อมรยนต์ จากธุรกิจของครอบครัวที่ก่อตั้งมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ถึงคราวจำเป็นจะต้องย้ายมายังที่ตั้งแห่งใหม่ในย่านหัวลำโพง จึงถือเป็นโอกาสดีที่เจ้าของรุ่นลูกจะได้ รีโนเวทตึกแถว ให้เหมาะสมกับการทำงาน พร้อมกับพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิตของครอบครัวในอาคารพาณิชย์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ออกแบบ: Lynk Architect โดย คุณณัฐศิษฐ์ วงบุญ โปรเจ็คต์ รีโนเวทตึกแถว แห่งนี้ เกิดขึ้นภายใต้โจทย์ที่มาจากความต้องการอันหลากหลายของเจ้าของ แตกแขนงออกเป็นพื้นที่ขายปลีก พื้นที่คลังสินค้า และพื้นที่พักอาศัย ซึ่งอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน ก่อนนำทุกอย่างมาเรียบเรียงใหม่ให้เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยใช้งานดีไซน์เป็นเครื่องมือจัดการทั้งเรื่องฟังก์ชันและความงาม เปลือกอาคารและการเลือกใช้สี จุดโดดเด่นและสะดุดตาที่สุดของอาคารแห่งนี้ คือเปลือกอาคารที่เป็นแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรูพับเป็นแพตเทิร์น เว้นจังหวะช่องเปิดของอาคารตามฟังก์ชันการใช้งานภายใน ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้วัสดุนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเริ่มต้น ที่ต้องการให้อยู่ในบรรทัดฐานของความเรียบง่ายและใช้งานได้จริง “เปลือกอาคารเป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามคิดถึงเรื่องวัสดุ และการตีความทุกอย่างแบบตรงไปตรงมา คำตอบที่ตรงโจทย์ที่สุดก็คือแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรู ซึ่งมีข้อดีเรื่องน้ำหนักเบาจึงเหมาะกับงานรีโนเวตอาคารเก่า ทั้งยังช่วยในเรื่องการควบคุมปริมาณแสงและความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะพื้นที่ภายในที่ต้องการแสงไม่เท่ากัน ถ้ามองจากด้านในจะเหมือนกับการมองผ่านผ้าม่านโปร่ง แต่คนที่อยู่ภายนอกมองเข้าไปจะทึบหมด ช่วยปกปิดส่วนที่ไม่อยากให้มองเห็น เช่น พื้นที่เก็บสินค้า ส่วนรีเทลก็จะเปิดมากหน่อยเพื่อต้อนรับ และส่วนที่พักอาศัยก็เปิดกลาง ๆ กำลังดี” เพราะแผ่นอะลูมิเนียมมีความแข็งแรงน้อย จึงต้องใช้การพับเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับตัวมันเองให้มากที่สุด แพตเทิร์นที่เลือกใช้ในการพับจึงร้อยเรียงมาจากบริบทของอาคารที่อยู่ในย่าน ไม่ว่าจะเป็นหัวลำโพง หรือเส้นสายของอาคารเพื่อนบ้านให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน แม้จะเกิดใหม่ในยุคสมัยที่แตกต่างกันก็ตาม ส่วนเรื่องการใช้สี แม้สีเขียวเป็นสีหลักของแบรนด์ แต่คุณแบงค์กลับที่จะเลี่ยงใช้สีนี้ แล้วหันไปใช้การจับคู่สีเพื่อมองหาสีอื่นที่จะมาเป็นแบ็กกราวน์ให้กับสีเขียวแทน เพื่อช่วยเน้นอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น […]
บ้านชั้นเดียว ที่เลือกทำเลที่มีพื้นที่สีเขียวหลังบ้านให้นึกถึงบ้านต่างจังหวัดในวัยเด็ก พร้อมกับออกแบบตัวบ้านให้สามารถมองเห็นต้นไม้ได้ทุกมุม
รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ โดยยังคงรูปแบบเดิมของตัวบ้านเอาไว้แล้วเพิ่มความดึงดูดใจด้วยฟาซาดอิฐที่แบ่งออกเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ
โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]
ตึกแถว ที่สมาชิกอยากให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการอยู่อาศัย นำไปสู่ฟาซาดอาคารที่สามารถปลูกต้นไม้ได้อย่างเต็มที่รวมถึงแทรกเข้าไปยังภายใน
รีโนเวทตึกแถว อายุ 30 ปี สำหรับรองรับชีวิตประจำวันที่เอื้อต่อการใช้งานของผู้สูงอายุไปพร้อม ๆ กับการสร้างความเชื่อมโยงของฟังก์ชันแต่ละห้อง
ในเมื่อผืนน้ำกินพื้นที่กว่า 70% ของโลก ถ้าเรามองหาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อในเขตเมืองนับวันยิ่งมีอัตราการอยู่อาศัยที่หนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ Schoonschip จึงเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ออกแบบทางเลือกใหม่ของการใช้ชีวิตบนน้ำของผู้คนสำหรับโลกยุคอนาคต Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ตั้งอยู่ในคลอง Johan van Hasselt ทางเหนือของกรุงอัมสเตอร์ดัม ออกแบบโดย Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ด้วยความตั้งใจที่จะออกแบบผังเมืองที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยยุคใหม่ พวกเขาร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา และผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วย 30 ยูนิตลอยน้ำ โดยแต่ละยูนิตอยู่ร่วมกัน 2 ครอบครัว รวมบ้าน 46 หลังสำหรับสมาชิกชุมชนกว่าร่วม 100 คน โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2011 และบ้านหลังสุดท้ายจะแล้วเสร็จในปีนี้ เจ้าของบ้านสามารถร่วมออกแบบกับสถาปนิกที่ตนเลือก ส่งผลให้บ้านแต่ละหลังแตกต่างกัน ทั้งด้วยวัสดุ และรูปแบบเฉพาะตัว นอกจากนี้ แต่ละยูนิตของบ้านลอยน้ำ Schoonschip สามารถใช้เรือเคลื่อนย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่อื่น โดยไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง รบกวนเพื่อนบ้านรอบข้าง Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ที่ทำงานออกแบบมากกว่าแค่งานสถาปัตยกรรม แต่ยังรวมไปถึงงานผังเมือง และการวางแผนพัฒนา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น […]
รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ เก่าอายุกว่า 40 ปี กลางเมืองโฮจิมินห์ ให้รองรับสมาชิกที่เพิ่มขึ้นของคนสามเจเนอเรชั่น โดยเน้นให้ได้แสงแดด สายลมอย่างทั่วถึง
บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น สำหรับครอบครัวพ่อแม่ลูกหลังนี้จึงมีความพิเศษในเส้นสายที่บางเบา และมีบรรยากาศคล้ายพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แม้จะอยู่ภายในบ้านก็ตาม ตอบรับกับแสงแดดและสายลมธรรมชาติอย่างพอดิบพอดี โดยบริษัทสถาปนิกที่รับหน้าที่รังสรรค์โจทย์นี้ได้อย่างลงตัวและน่าสนใจก็คือ Junsekino Architect and Design นั่นเอง ด้วยความที่คุณเติร์ท-ศักรภพน์ และคุณโจ-บุญสิตา จารยะพันธุ์ เจ้าของบ้านทำอาชีพเกี่ยวกับการบิน จึงทำให้โจทย์ของบ้านหลังนี้เริ่มต้นที่ความเบาสบายและกลมกลืนไปกับธรรมชาติตามสไตล์ที่อยากสร้างให้เป็นพื้นที่ซึ่งสื่อแทนความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งยังต้องดูแลรักษาได้ง่ายและสามารถมองเห็นกันและกันได้จากทุกจุดภายในบ้าน การจัดวางพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้จึงใช้พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นดับเบิ้ลวอลลุ่มสร้างเป็นพื้นที่หลัก จากหน้าบ้านนั้น เมื่อเดินผ่านพื้นที่จอดรถและประตูหน้าบ้านเข้ามา จะพบกับโถงบันไดที่มองเห็นต้นซิลเวอร์โอ๊คโดดเด่นอยู่กลางบ้าน ก่อนจะหันกลับไปพบกับพื้นที่หลักของบ้านที่เป็นทั้งพื้นที่นั่งเล่น ทานข้าว และห้องครัว ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่เดียวแบบดับเบิ้ลสเปซ โดยมีทางเชื่อมไปยังบ้านเดิมที่ฝั่งซ้าย และสระว่ายน้ำที่อยู่ติดกับต้นซิลเวอร์โอ๊คที่ฝั่งขวา จนเมื่อขึ้นไปยังชั้น 2 บ้าน จะเป็นห้องนอน 3 ห้อง และทางเชื่อมออกไปยังระเบียงขนาดใหญ่ที่หน้าบ้าน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้ถูกห่อหุ้มอยู่ในฟาซาดเหล็กฉีก ซึ่งทั้งเป็นส่วนกรองแสงแดดและสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ในบ้านไปในตัว ความโดดเด่นของพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้คือการออกแบบที่ใส่ใจกับแสงธรรมชาติและการเปิดรับลมให้ไหลผ่านบ้านอย่างพอดี การวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในบ้านจึงต้องออกแบบให้เป็นเส้นสายที่บางเบาของบ้านออกแบบเพื่อสร้างให้อาคารนั้นไม่ปิดกั้นผู้อยู่อาศัยกับธรรมชาติโดยรอบ ซึ่งนอกจากมุมมองแล้ว ยังมีการเปิดรับแสงธรรมชาติผ่านสกายไลท์ในหลายส่วน รวมทั้งการใช้เหล็กปรุเป็น ฟาซาด โดยรอบบ้านที่ช่วยกรองแสงแดดให้เบาบางลง แต่ไม่ปิดกั้นลมที่ไหลเวียน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้กับบ้านในแบบ ทรอปิคัลโมเดิร์นอย่างพอดี พื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมโยงกับบ้านเดิม ทางด้านซ้ายของบ้านหลังนี้คือบ้านเดิมที่พ่อและแม่ของคุณเติร์ท ยังอาศัยอยู่ การออกแบบระเบียงรอบบ้านจึงไม่ใช่เพียงพื้นที่ที่ร่นเข้ามาเพื่อสร้างระยะชายคาที่พอดีกับร่มเงา เปรียบเสมือนหน้าบ้านอีกฝั่งหนึ่งที่เชื่อมโยงยุคสมัยของครอบครัวเข้าหากัน โดยที่หน้าบ้านฝั่งนี้จะตั้งอยู่ในแกนเดียวกับโต๊ะทานข้าว และสระว่ายน้ำ […]