- Home
- Living
Living
ทาวน์โฮม ใต้ถุนสูง แบ่งที่ว่างให้ปอดได้หายใจด้วยคอร์ตยาร์ดเล็ก ๆ สีเขียว
ทาวน์โฮม ใต้ถุนสูง ที่แสดงความเป็นตัวตนผ่านความเรียบง่าย เด่นด้วยการออกแบบอาคารให้สลับกับคอร์ตสวน ให้ลมและแสงไหลผ่านพื้นที่โล่งแบบใต้ถุนสูง ช่วยให้เจ้าของบ้านมีมุมทางเลือกในการพักอาศัยในบ้านที่ตั้งอยู่บนที่ดินขนาดแคบ แต่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ไม่ต่างจากอยู่บ้านหลังใหญ่ ๆ เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนที่มีความหนาแน่นในเมืองดานัง ซึ่งถูกปิดกั้นด้วยกำแพงจากอาคารบ้านเรือนรอบ ๆ ทางออกที่จะทำให้บ้านที่อยู่ในที่ดินขนาด 7.5 x 14.3 เมตร หลังนี้ หลุดพ้นความอุดอู้ได้ นั่นคือการออกแบบ ทาวน์โฮม ใต้ถุนสูง มีช่องว่างให้อากาศถ่ายเทมากที่สุด สถาปนิกจาก H-H studio จึงเลือกที่จะออกพื้นที่ใช้สอยให้มีลักษณะเปิดโล่งแบบมีใต้ถุน สำหรับเป็นพื้นที่นั่งเล่นพักผ่อน เว้นช่องว่างด้วยคอร์ตยาร์ดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านสวนแบบดั้งเดิม แม้จะอากาศร้อน แต่บ้านนี้ก็ยังให้ความรู้สึกเย็นสบาย แถมประหยัดพลังงานด้วย จากการออกแบบดังกล่าวช่วยให้บ้านนี้ดูไม่เป็นก้อนอาคารทึบ เพราะมีสัดส่วนความโปร่งโล่งถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาอยู่ในที่พักอาศัยมากขึ้น ชั้นล่างถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สังสรรค์ของคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง นอกจากนั้นยังมีห้องทำงานที่เปิดโล่งสู่สวน โดยเจ้าของบ้านใช้ห้องนี้ในการประชุมบางครั้งคราว ชั้นสองเชื่อมต่อกันด้วยบันไดด้านนอกที่เปิดสู่ท้องฟ้าด้านบนได้เต็มที่ บนชั้นนี้ใกล้กับกึ่งกลางบ้านมีแท่นบูชาพร้อมการแกะสลักรูปพระพุทธรูปนูนต่ำบนผนังสีขาวขนาดสูงใหญ่ มีลูกเล่นให้แสงธรรมชาติสาดลงมาจากสกายไลท์ ก่อนตกกระทบที่ภาพแกะสลักพอดี เป็นอีกหนึ่งไอเดียเก๋ ๆ ที่สามารถหยิบไปทำตามได้ ขณะที่วัสดุก่อสร้างบ้าน เน้นใช้วัสดุอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเหลือเศษวัสดุน้อยที่สุด อีกทั้งยังใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ช่วยลดมลพิษการชนส่งและแรงงาน ละเว้นสิ่งที่ไม่จำเป็นจากองค์ประกอบงานตกแต่งลงให้เหลือแต่เพียงความเรียบง่าย เทคนิคเด่น ๆ ที่จะกล่าวถึงในการออกแบบบ้านหลังนี้ของสถาปนิก […]
CASA CLOUD บ้านที่เชื่อมโยงธรรมชาติสู่พื้นที่ภายใน
การบรรจบของ ธรรมชาติ อันสวยงามสู่พื้นที่พักอาศัยภายในสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “บ้าน” โดย BOONDESIGN เกิดเป็นเส้นสายอาคารที่งดงามบนความสงบนิ่ง สมชื่อ Casa Cloud ก้อนเมฆที่เป็นจุดบรรจบระหว่างผืนดินกับผืนฟ้า ออกแบบ: BOONDESIGN โดย คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์เจ้าของ: คุณชาลี สมุทรโคจร พื้นที่สัมพันธ์ของธรรมชาติและการอยู่อาศัย บ้านหลังนี้ใช้การยกระดับพื้นที่ขึ้นมาสู่ชั้น 2 เป็นพื้นที่หลักโดย เชื่อมโยง สวนและธรรมชาติที่นอกบ้านนั้นจะมีการไล่ระดับตามกันขึ้นมาจนถึงระเบียงห้องรับแขก การยกพื้นที่หลักมาไว้ที่ชั้นสองนั้นสร้างความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่าพื้นที่ชั้นล่าง ทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถเปิดรับธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นระดับที่พ้นจากสายตาโดยทั่วไปแล้วนั่นเอง เมื่ออยู่ในห้อง กระจกบานใหญ่สูง 4 เมตรจะสร้างบรรยากาศที่เหมือนสวนกับห้องรับแขกเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกัน ไม่มีการแบ่งกั้น พื้นที่ยาว 12 เมตรจึงให้ความรู้สึก คุณบุญเลิศตั้งใจออกแบบพื้นที่ส่วนนี้ให้มีความลื่นไหลต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นส่วนเดียวกันทั้งหมดเพราะไม่ต้องการให้พื้นที่ภายในถูกมองว่าเป็นเพียงอาคาร และพื้นที่ภายนอกเป็นเพียงแค่สวน แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นสัมพันธ์กันเกิดเป็นสถาปัตยกรรมนั่นเอง แม้แต่การเลือกวัสดุที่คำนึงถึงความการเชื่อมโยงธรรมชาติเข้ากับองค์ประกอบต่างๆเช่นเดียวกัน “ถ้านิยามว่าเป็นเพียงอาคาร นั่นอาจเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้าง แต่เราคิดไปมากกว่านั้น เราออกแบบพื้นที่ว่าง อย่างห้องนั่งเล่นนี้ที่ออกแบบเป็นพื้นที่ภายใน ดึงเอาธรรมชาติเข้ามา การยื่นชายคา การเลือกหินอ่อนดำที่จะไม่รบกวนทิวทัศน์ภายนอก ตลอดจนกรอบบานสีน้ำตาลเข้มที่กลมกลืนล้อไปกับแนวต้นไม้กิ่งไม้ก็เป็นความตั้งใจทั้งหมด เพราะธรรมชาติคือความงามที่สุดแล้ว ความโปร่งโล่งและสัมผัสได้ถึงธรรมชาติจึงเป็นการอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ที่ผมตั้งใจออกแบบให้กับเจ้าของบ้าน” อยู่สบาย เป็นส่วนตัว รับแดด ลม ฝน แม้บ้านหลังนี้จะหันหน้าทางทิศตะวันตก […]
บ้านที่ออกแบบมาให้ WFH อย่างมีความสุขภายใต้บรรยากาศแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์
บ้านหลังนี้เกิดจากไอเดียที่ต้องการให้แสงอาทิตย์เข้ามาในบ้านที่ดูคล้ายโรงเรือนปลูกต้นไม้เพื่อสร้างบรรยากาศที่สดชื่นยามต้องทำงานอยู่ บ้านในช่วง Work From Home
LA EXTRAVIADA บ้านไม้-คอนกรีต ที่ออกแบบให้กลมกลืนไปกับเนินเขา เข้ากับทะเล
La Extraviada บ้านเนินเขา ที่ตั้งอยู่ริมหาด Mermejita ประเทศเม็กซิโก โดยซ่อนตัวอยู่บนเนินเขาที่เงียบสงบและรายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันเขียวชอุ่ม
MOCOLI HOUSE เท่ราวประติมากรรม ด้วยฟาซาดคอนกรีตหล่อผืนใหญ่
Mocoli House บ้านคอนกรีต ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ซ่อนความเป็นส่วนตัวไว้หลังผนังคอนกรีต แล้วเผยตัวเองออกสู่ภายนอกราวประติมากรรม ดึงดูดความสนใจด้วยเส้นสายและโครงสร้างอาคารสไตล์โมเดิร์น ภายใต้นิยามของคำว่า “เรียบง่าย” และ “เงียบสงบ” อันเป็นผลลัพธ์ของการตามหาจุดเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับพื้นที่พักอาศัย จนออกมาเป็น บ้านคอนกรีต สถาปัตยกรรมอันบริสุทธิ์ เชื่อมต่อจิตวิญญาณที่นิ่งสงบ เพื่อเป็นดังสถานที่หลบหนีจากความวุ่นวายและความตึงเครียดระหว่างวัน ผลงานการออกแบบโดย Orense Arquitectos ได้ออกแบบบ้านหลังนี้ ภายใต้แนวคิดที่อยากให้เจ้าของบ้านมีความเป็นส่วนตัว และเลือกใช้วัสดุที่ให้ความรู้สึกเรียบง่ายดูสบายตาอย่าง คอนกรีต ไม้ และสีขาว ดังจะเห็นได้จากด้านหน้า สะดุดตากับผนังคอนกรีตสูงใหญ่ ราวกับนำมาตั้งขวางมุมมองจากสิ่งรบกวนภายนอก และอีกจุดประสงค์หนึ่งก็คือ แผ่นคอนกรีตที่ยื่นออกมานอกตัวบ้านนี้ ยังทำหน้าที่ช่วยป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ส่องปะทะเข้ามาในบ้านโดยตรง แต่ภายใต้ความดิบกระด้างของคอนกรีตและความเป็นเหลี่ยมมุมนั้น สถาปนิกเลือกใส่องค์ประกอบที่สื่อถึงธรรมชาติ ด้วยพื้นที่ทางเข้าบ้านที่ตกแต่งต้นด้วยต้นไม้ฟอร์มสวยหนึ่งต้น ซึ่งปลูกอยู่ในกระบะสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยสระน้ำตื้น ๆ โดยมีแผ่นปูนเป็นทางเดินข้ามเข้าสู่ตัวบ้าน ให้ความรู้สึกเรียบนิ่งตั้งแต่ครั้งแรกที่มาเยือน เมื่ออยู่ในบ้านบรรยากาศรอบ ๆ ดูนิ่งสงบและสะอาดตาด้วยการใช้โทนสีขาว ที่ อาบไล้ด้วยแสงธรรมชาติ ซึ่งส่องเข้ามาผ่านผนังกระจกใส ช่วยให้ห้องโถงมีความสว่างปลอดโปร่ง ก่อนนำขึ้นสู่พื้นที่พักผ่อนส่วนตัวบนชั้น 2 ผ่านบันไดสีขาว ออกแบบราวกันตกจากวัสดุโปร่งใส คล้ายประติมากรรมลอยตัว เชิญชวนให้เดินทางต่อไปยังชั้นบน ที่ตกแต่งผนังด้วยภาพวาดเรียงต่อกันไปแนวผนังเหมือนอยู่ในแกลเลอรี่ […]
FOREST HOUSE บ้านอิฐกลางป่าสน ที่ออกแบบเพื่อหลบเลี่ยงต้นไม้เดิม
บ้านอิฐ ที่ออกแบบกำแพงแบบฟรีฟอร์ม เพื่อหลบหลีกต้นไม้เดิมในพื้นที่ทั้งหมด โดยตัวบ้านใช้วัสดุอิฐ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาเป็นวัสดุหลัก
HOUSE TOKYO บ้านหลังเล็กพร้อมสเปซเพิ่มขึ้นสองเท่า บนที่ดินขนาดแค่ 26 ตารางเมตร
บ้านหลังเล็ก โครงสร้างไม้สน กรุผนังภายนอกด้วยแผ่นเหล็กลอนลูกฟูก ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยให้สอดรับปรับตัวเข้ากับความหนาแน่นของเมืองอย่างชาญฉลาด
HOA’S HOUSE บ้านคอนกรีต หลังใหญ่กลางตลาด กับการใช้งานอาคารแบบมิกซ์ยูส
Hoa’s House บ้านคอนกรีต หลังใหญ่กลางตลาดในเมืองไซง่อนที่พลุกพล่าน กับการออกแบบให้มีฟังก์ชันแบบมิกซ์ยูส ทั้งอยู่อาศัยและสร้างรายได้ไปพร้อมกัน หากสัญจรผ่านไปมาตรงหัวมุมสามแยกของตลาด สิ่งที่อดเหลียวมองขึ้นไปไม่ได้ คือภาพ บ้านคอนกรีต หลังใหญ่ที่ตั้งตระหง่านดูเคร่งขรึมโดดเด่นกว่าใครในย่าน โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ 113 ตารางเมตร กับขนาดความสูงถึง 6 ชั้น แสดงตัวตนผ่านงานดีไซน์ที่เน้นโชว์พื้นผิวคอนกรีตที่เรียบง่าย และปกคลุมด้วยต้นไม้สีเขียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบอกว่า สะท้อนตัวตนของเธอออกมาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเจ้าของอาคาร เธอต้องการสร้างที่นี่ให้แตกต่างจากตึกแถวหลังอื่น ๆ ที่อยู่แวดล้อม เพื่อให้ใครเห็นแล้วจดจำได้ง่าย บวกกับต้องการต่อยอดธุรกิจเปิดพื้นที่ชั้นล่างให้เช่า ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่พักอาศัยส่วนตัว H.2 ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบจึงต้องคิดฟังก์ชันเผื่อสำหรับการใช้งานที่หลากหลายดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ชั้น 1ที่ออกแบบให้เป็นโรงรถ และร้านค้าให้เช่า ชั้น 2 ทำเป็นอพาร์ตเมนต์ขนาดเล็ก 3 ห้อง และชั้น 3 เป็นอพาร์ตเมนต์ขนาดใหญ่ 3 ห้อง ให้เช่า ส่วนชั้น 4 ออกแบบให้มีห้องนอนใหญ่ 1 ห้อง ห้องนอนเล็ก 2 ห้อง พร้อมห้องนั่งเล่น ชั้น 5 […]
โอเอซิสส่วนตัวในบ้านโมเดิร์นของกราฟิกดีไซเนอร์ผู้รักธรรมชาติ
บ้านโมเดิร์น ที่ผสมผสานด้วยผนังอิฐดินเผาหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ Kertomenanggal ของเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย มีเจ้าของเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ที่รักในธรรมชาติ แน่นอนว่าการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา เพราะมาพร้อมตัวอาคารที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนรสนิยม แอบซ่อนพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวอย่างสวนไว้ภายใน จากคอนเซ็ปต์ Tree & Three ซึ่งหมายถึง Tree (ต้นไม้) และ Three (สมาชิกของบ้านที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ) สถาปนิกจาก Andyrahman Architect จึงขอจัดเสิร์ฟพื้นที่ให้เจ้าของบ้านได้มีช่วงเวลาการพักผ่อนอย่างเงียบสงบ ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น โดยเน้นให้เกิดการไหลเวียนและถ่ายเทอากาศได้ดี แม้อากาศภายนอกจะร้อน แต่เมื่อเข้ามาในบ้านแล้ว กลับรู้สึกได้ถึงความเย็นสบาย ด้วยการมีช่องเปิดให้แสงและลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ อย่างการเว้นพื้นที่ตรงกลางเพื่อทำเป็นคอร์ตยาร์ด สำหรับปลูกต้นไม้ฟอร์มสวยที่มีลำต้นใหญ่โตไว้เพียงต้นเดียว พื้นรอบโคนต้นโรยด้วยหินสีดำเพื่อเน้นความโดดเด่น ราวกับว่านี่คืองานศิลป์ชิ้นเยี่ยม โดยทุกมุมของบ้านจะสามารถสัมผัสได้กับความร่มรื่นของเรือนยอดสีเขียวสบายตานี้ ควบคู่ไปกับช่องว่างเหนือเพดานของขั้นบันได ช่วยให้แสงสว่างและการไหลเวียนอากาศในบ้านเป็นไปอย่างปลอดโปร่ง ขณะเดียวกันความหมายของ Three ในที่นี้ ยังปรากฏให้เห็นผ่านการคุมธีมสี 3 เฉดสี นั่นคือสีขาว เทา และดำ ที่เห็นเด่นชัดก็คือรูปสามเหลี่ยมของจั่วหลังคาบ้าน ซึ่งอยู่เคียงข้างกับผนังอิฐที่สื่อถึงการมีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนร่วม รวมถึงพื้นบ้านสีเทา […]
รีโนเวตโรงยิมเก่าให้กลายเป็น บ้านลอฟท์ สุดอบอุ่น
รีโนเวตโรงยิมกลางชุมชนเก่าในอัมสเตอร์ดัมให้กลายเป็น บ้านลอฟท์ หลังใหม่ สร้างประโยชน์ใช้สอยใหม่ให้อาคารเก่า ฝีมือการออกแบบของ Robbert de Goede สตูดิโอออกแบบชื่อดังจากเนเธอร์แลนด์ นอกจากบรรยากาศสุดอบอุ่น โปร่งสบาย และฟังก์ชั่นการใช้งานที่ลงตัวของพื้นที่พักอาศัย ที่นี่ยังเชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบได้เป็นอย่างดี ภายใต้ความเคารพในสภาพแวดล้อมของชุมชนเดิม ออกแบบ: Robbert de Goede ภาพ: Marcel van der Burg Robbert de Goede สตูดิโอออกแบบชื่อดังจากเนเธอร์แลนด์ สร้างประโยชน์ใหม่ให้อาคารโรงยิมเก่า ที่ถูกปล่อยทิ้งรกร้างมานานหลายปี ใจกลางพื้นที่ประวัติศาสตร์ของกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เดิมพื้นที่นี้มีลักษณะเป็นโกดังอินดัสเทรียล มีผนังรับน้ำหนักก่อทึบสูง มีเพียงหน้าต่างด้านบนที่เปิดรับแสงจากภายนอก รวมถึงเพดานสูงที่เผยให้เห็นโครงสร้างหลังคาเหล็กถักสไตล์ บ้านลอฟท์ ก่อนเริ่มกระบวนการรีโนเวต เจ้าของบ้านชักชวนให้สถาปนิกลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบทโดยรอบ และหารูปแบบฟังก์ชันใหม่ที่เหมาะสมสำหรับอาคารเก่านี้ เพราะหากกำหนดทิศทางฟังก์ชันของอาคารให้เป็นไปในเชิงพาณิชย์ที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะ อาจส่งผลให้ผู้คนเข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก และอาจสร้างความอึดอัดให้แก่ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เดิม ดังนั้น โรงยิมแห่งนี้จึงถูกเปลี่ยนเป็นบ้านพักอาศัย ตามข้อเสนอของสถาปนิก ที่ต้องการให้งานออกแบบอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างเป็นมิตร จากพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในโกดัง สถาปนิกได้จัดวางฟังก์ชันการใช้งานทั้งแนวราบและแนวตั้งไว้ในแต่ละตำแหน่งที่แตกต่างกันตามลำดับ ก่อนจะขมวดพื้นที่เข้าหากันด้วยคอร์ตสี่เหลี่ยมกลางบ้าน โดยมีชั้นลอยที่ต่อเติมขึ้นมาใหม่โอบรัดคอร์ตไว้ สำหรับทำหน้าที่เป็นทางสัญจรที่เชื่อมแต่ละชั้นเข้าหากัน รวมทั้งเพิ่มมิติให้กับสเปซกล่องสี่เหลี่ยมเกลี้ยง ๆ ดูเป็นสัดส่วนและน่าใช้งานมากขึ้น โดยยังคงเก็บดีเทลเหล็กของโครงสร้างหลังคาเดิมไว้ และนำมาประยุกต์ใช้กับดีเทลโครงสร้างพื้นชั้นลอยที่ต่อเติมขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างตัวอาคารเดิมกับโครงสร้างใหม่ที่คิดขึ้น ด้วยพื้นที่ภายในกว่า […]
2Hien House บ้านหน้าแคบ เด่นด้วยผนังกระเบื้องเกล็ดปลาวัสดุจากบ้านเก่าที่นำมาใช้ใหม่ได้ลุคน่ารัก
บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องที่ขอเลือกนำกระเบื้องเกล็ดปลาจากบ้านเก่า มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผนังบ้านที่มีรายละเอียดดูน่ารัก แม้จะตั้งอยู่ในที่ดินหน้าแคบและลึก แต่กลับสามารถออกแบบบ้านให้ดูปลอดโปร่ง มีช่องแสงสกายไลท์อยู่ตรงกลางระหว่างอาคารสองก้อน ช่วยให้บ้านทั้งหลังดูสว่าง ไม่มืดทึบจากผนังสูงใหญ่ซึ่งถูกขนาบข้างดูเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้านรอบ ๆ จุดเริ่มต้นของการออกแบบ บ้านหน้าแคบ หลังนี้ มาจากเจ้าของบ้าน เมื่อถึงคราวต้องขยับขยายสร้างบ้านใหม่บนที่ดินเดิมซึ่งทั้งแคบและยาว แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาของคู่สามีภรรยาเจ้าของบ้าน ผู้หลงใหลในธรรมชาติและความสงบเงียบเรียบง่าย กับบ้านที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นที่ที่ให้มีความเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้าน ด้วยผนังบ้านทั้งสองด้านที่สูงชะลูด เด่นเป็นพิเศษด้วยการนำกระเบื้องเกล็ดปลา วัสดุจากบ้านเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ ให้กลายเป็นผนังและหลังคาบ้านส่วนหน้าที่แตกต่างไม่เหมือนใคร ที่นี่ออกแบบโดย CTA | Creative Architect ทีมสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม บ้านขนาดสองชั้นที่เห็น ถูดจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านหน้าที่กำหนดให้เป็นสวนหย่อมเล็ก ๆ ก่อนเข้าสู่ตัวบ้านด้านในที่มีการแยกก้อนอาคารออกเป็นสองส่วน โดยมีเฉลียงขนาดกว้างสำหรับไว้ใช้นั่งเล่นพักผ่อน เชื่อมโยงสมาชิกให้ทุกคนมองเห็นกันและกันได้ง่าย ไม่ว่าจะใช้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารว่างร่วมกัน หรืออ่านหนังสือ ชายคาที่ลดระดับลงได้โอบล้อมพื้นที่การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทำให้เกิดพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แต่ยังคงความโปร่งและยืดหยุ่นเอาไว้ โดยมีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน และรับแสงสว่างจากหลังคาสกายไลท์ด้านบน ช่วยให้บ้านมีแสงสว่างที่ทั่วถึง ลดความมืดทึบได้อย่างดี ในแง่ของวัสดุบ้านนี้เน้นใช้อิฐสีแดง และกระเบื้องเกล็ดปลาเก่า ซึ่งใกล้เคียงกับธรรมชาติ และให้ความรู้สึกที่โดดเด่น ไร้การปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเรียบง่าย แต่ยังคงสร้างอารมณ์ที่หนักแน่นและมั่นคง นอกจากวัสดุที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติแล้ว มุมสวนสีเขียวเจ้าของบ้านก็เลือกให้ความสำคัญไม่แพ้กัน อย่างการแบ่งพื้นที่ให้มีสวนตรงพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน ขณะที่หลังบ้านก็มีมุมนั่งเล่นพักผ่อนเช่นกัน เพื่อให้คุณสามีได้ปลูกต้นไม้ […]
รีโนเวตบ้านหลังเล็กให้ ‘น้อยแต่มาก’ กลิ่นอายสแกนดิเนเวียน
บ้านหลังเล็กที่ได้รับการ รีโนเวท ให้ ‘น้อยแต่มาก’ เน้นให้สเปซและฟังก์ชันมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สร้างบรรยากาศให้โปร่งสบายด้วยแสงธรรมชาติ จัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อแสดงพื้นที่ใช้สอยแทนการกั้นผนังห้องที่ทำให้อับทึบ ทั้งยังออกแบบให้ทุกพื้นที่ในบ้านสามารถใช้เป็นที่ทำงานได้ หลายครั้งที่ความท้าทายในการออกแบบของเหล่าสถาปนิกคือการ รีโนเวท บ้านเก่าที่ทรุดโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และคงท้าทายไปอีกขั้นกับการรีโนเวตบ้านเก่าอายุร่วมสิบปีที่มีสเปซที่สวยงามอยู่แล้ว ให้ยิ่งโดดเด่นขึ้นอีก อย่างเช่นบ้านหลังนี้ ด้วยขนาดพื้นที่ใช้สอยเพียง 160 ตารางเมตร จึงถือเป็นโจทย์ท้าทาย ที่ทำให้ผู้ออกแบบต้องค้นหาคำตอบของการออกแบบ โดยมีความชอบ และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านทั้งสองที่หลงรักสไตล์การตกแต่งอย่างเรียบง่ายเป็นสมการสำคัญ เพื่อให้ทุกสเปซในบ้านขนาดกะทัดรัดนี้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เจ้าของ: คุณดุษฎี บุญชัยศรี และ คุณสริตา อุสาหพานิช ออกแบบ: คุณไธปันฬ์ นพลัดดารมย์ เเละ คุณอิทธิวัฒน์ พูนธนาทรัพย์ จาก Thaipanstudio น้อยแต่มาก ‘LESS IS MORE’ คือคำอธิบายถึงความชอบและสไตล์การตกแต่งที่เจ้าของบ้าน ส่งต่อให้กับผู้ออกแบบ เพื่อนำไปตีความให้กลายเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรมที่สามารถอยู่อาศัยได้ โดยผู้ออกแบบเริ่มจากศึกษา และค้นหาจุดเด่นเดิมของบ้านไปพร้อมกับการเปลี่ยนให้คำว่า “น้อยแต่มาก” เป็นรูปธรรมด้วยแนวคิดการออกแบบ จนมาลงตัวกับสไตล์ “สแกนดิเนเวียน” ที่เน้นให้สเปซและฟังก์ชันมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สร้างบรรยากาศการใช้พื้นที่ได้อย่างดีเยี่ยมด้วยแสงธรรมชาติ และการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อแสดงฟังก์ชันแทนการกั้นผนังห้องแบบอับทึบ ช่วยให้พื้นที่ชั้น 1 มีลักษณะคล้ายโถงขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นทุกพื้นที่ถึงกันทั้งหมด โดยมีห้องครัวขนาดใหญ่แยกออกไปชัดเจนด้วยบานประตูกั้น ช่วยป้องกันกลิ่นและควันจากการทำอาหาร ทุกพื้นที่พร้อมสำหรับทำงาน พื้นที่อื่น ๆ ของบ้านมีหัวใจสำคัญของการออกแบบอยู่ที่ […]