© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านโมเดิร์น ที่ออกแบบและก่อสร้างให้เข้ากับบริบทมากกที่สุด โดยทำการฝังด้วยอยู่กับเนินดิน และใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาใช้ทั้งโครงสร้างเสาหินและไม้ยูคา
Uma Bulug Guest House บ้านคอนกรีตเปลือย ขนาดสองชั้นที่ตั้งอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย สร้างขึ้นบนพื้นที่ 200 ตารางเมตร กับดีไซน์ที่เอื้อต่อการพักอาศัยในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ท่ามกลางวิวทุ่งนาแบบขั้นบันไดและสวนมะพร้าว โดดเด่นด้วยตัวอาคารคอนกรีตเปลือยแบบยกใต้ถุนสูง พร้อมสร้างสรรค์แพตเทิร์นการเรียงอิฐดินเผาจนกลายเป็นฟาซาดที่สวยงามมีมิติ ยอมให้แสงธรรมชาติลอดผ่านเข้ามาได้ในเวลากลางวัน และยอมให้แสงไฟจากตัวบ้านทะลุผ่านออกมาในยามค่ำคืน ดูสุกสว่างกลางฉากหลังท้องฟ้าสีดำ ขับเน้นให้มองเห็นลวดลายของผนังอิฐอย่างชัดเจน บ้านคอนกรีตเปลือย จากแนวรั้วบล็อกช่องลมหน้าบ้านที่มีระดับความสูงมากพอ สำหรับปิดกั้นสายตาจากผู้คนภายนอก ไม่ให้มองเห็นการใช้งานบริเวณพื้นที่ชั้นล่างชัดเจนเกินไป เมื่อเข้ามาด้านใน Biombo Architects ตั้งใจออกแบบพื้นที่ใช้งานชั้นล่างให้ดูปลอดโปร่งแบบไร้ผนังกั้น ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดรับลมและอากาศบริสุทธิ์ที่เหมาะกับการพักผ่อนได้รอบทิศทาง ซึ่งประกอบด้วยมุมพักผ่อนร่วมกันอย่าง โต๊ะรับประทานอาหารขนาดใหญ่ และมุมนั่งเล่นแบบบิลท์อินจากคอนกรีตเปลือย เปิดมุมมองออกสู่วิวสระว่ายน้ำเบื้องหน้าซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของที่นี่ โดยสถาปนิกเลือกออกแบบสระว่ายน้ำให้มีรูปทรงออร์แกนิก และสีของน้ำที่ดูราวกับน้ำทะเลริมชายหาดที่ใสสะอาด ตัดกับรูปทรงของอาคารเกสต์เฮาส์ที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบ ๆ สระปลูกพรรณไม้เขตร้อน เพื่อสร้างความร่มรื่นและร่มเงาให้แก่เตียงนอนอาบแดด ขณะที่ชั้นบนออกแบบให้มีพื้นที่ยื่นยาวออกมาคลุมครึ่งหนึ่งของสระว่ายน้ำ เพื่อให้เกิดมุมมองภายนอกที่ดูเหมือนอาคารลอยอยู่เหนือน้ำ อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นหลังคาให้แก่พื้นที่ใช้งานชั้นล่างไปในตัว ชั้นสองประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง ซึ่งตกแต่งอย่างเรียบง่ายด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ พื้นหินขัด Terrazzo เพดานกรุฝ้าไม้อัดสีเข้ม ผนังหัวเตียงเป็นคอนกรีตเปลือย ส่วนอีกฝั่งเป็นผนังอิฐดินเผาที่ให้แสงส่องเข้ามาได้ โดยมีกระจกใสและม่านซ้อนอยู่อีกชั้น จัดวางของตกแต่งและโคมไฟที่ส่วนใหญ่เป็นงานหัตถกรรมของบาหลี บอกเล่าวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านการพักผ่อน ภายในที่พักที่อบอวลไปด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง […]
บ้านโมเดิร์น ที่ยอมให้ต้นไม้บุก! ทะลักออกมาจากด้านใน กับงานออกแบบที่เอาใจคนอยู่ผู้รักต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ แบบไม่ต้องเดินทางไปไหนไกล ก็สามารถโอบกอดต้นไม้ได้จากในบ้าน ให้ธรรมชาติขยับเข้ามาใกล้ตัวในระยะประชิด บำบัดจิตใจให้สุขสงบ ต่างจากบรรยากาศเมืองที่แสนวุ่นวายภายนอก จากเหตุผลที่สวนสาธารณะในโฮจิมินห์มีน้อย และไม่เพียงพอต่อความต้องการสักเท่าไหร่ ดังนั้นเพื่อเอาใจเจ้าของบ้านผู้รักธรรมชาติเป็นชีวิตจิตใจ VTN Architects(Vo TrongNghia Architects) จึงออกแบบ บ้านโมเดิร์น ที่ตั้งอยู่กลางย่านที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ของเมืองโฮจิมินห์นี้ ให้เป็นอาคารที่ราวกับปลูกครอบอยู่กลางดงไม้สีเขียว แบบไม่ต้องออกไปไหนไกล ก็สามารถมีความสุขอยู่ท่ามกลางธรรมชาติในบ้านได้ทั้งวัน ความเขียวปะทะสายตาตั้งแต่แรกเห็น กับช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมที่ถูกปกคลุมด้วยม่านไม้เลื้อย ตัดกับตัวอาคารโมเดิร์นสีขาวทรงกล่องขนาด 3 ชั้น และเมื่อเข้ามาด้านในตัวบ้าน พื้นที่ชั้น 1 จะพบกับโถงพักผ่อนที่รวมมุมนั่งเล่นและส่วนรับประทานอาหารเข้าด้วยกันแบบโอเพ่นสเปซ ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับสวนภายนอกผ่านบานเลื่อนกระจกขนาดใหญ่ที่เปิดออกได้จนสุด มีไฮไลท์คือต้นไม้ที่แทรกตัวอยู่กลางบ้าน แผ่เรือนยอดสูงชะลูดขึ้นไปตามความสูงของบันไดที่ออกแบบเป็นโถงดับเบิ้ลสเปซต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด ชั้น 2 ประกอบด้วยห้องนอนส่วนตัวที่อยู่คนละฝั่งระหว่างช่องบันได ขณะที่ทางเดินหน้าห้องยังไม่ลืมปลูกต้นไม้ไว้ด้วย เรียกว่าต้นไม้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านในทุก ๆ ชั้น ภายในห้องนอนออกแบบช่องเปิดของแต่ละห้อง ให้ปกคลุมไปด้วยไม้เลื้อยที่พร้อมเกาะไปตามแนวลวด กลายเป็นม่านธรรมชาติสีเขียวสดที่ช่วยพรางสายตาไปในตัว ดังนั้นเมื่อมองจากภายนอกจึงทำให้เห็นช่องหน้าต่างเต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียวที่แข่งกันเติบโต โผล่พุ่งออกมาจากตัวบ้านดูแปลกตาต่างจากบ้านใกล้เคียง ส่วนสุดท้ายคือชั้น 3 พื้นที่ชั้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่คล้ายกับป่า แม้จะอยู่ในร่มก็ตาม การปลูกต้นไม้ในชั้นบนของบ้านให้ความรู้สึกแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์ รอบ ๆ ทั้งลมและอากาศสามารถพัดผ่านได้สะดวก ขณะที่ด้านบนมุงด้วยหลังคาทำจากวัสดุโปร่งแสง […]
ทาวน์เฮาส์รีโนเวท หลังนี้มีการจัดการกับพื้นที่และการเข้าถึงคือหัวใจสำคัญของการรีโนเวท เพราะด้วยความที่เป็นร้านของชำติดริมถนน จึงทำให้พื้นที่ส่วนตัวและความเป็นสาธารณะนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด สถาปนิกจึงเลือกที่จะกำหนดขอบเขตของพื้นที่ขึ้นจากองค์ประกอบภายในบ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของการใช้งานแต่ละพื้นที่ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: OPH Architects อ่าน : F HOUSE บ้านไม้ที่ใช้ม่านแบ่งห้อง และมีหน้าผาจำลองให้เด็กได้ปีนป่าย ประตูบานม้วนเหล็กถูกใช้กำหนดพื้นที่ระหว่างคนเดินถนนกับภายในบ้าน เคาน์เตอร์กระจกและชั้นวางถูกใช้ในการกำหนดขอบเขตของร้านของชำ จากนั้นด้วยภาษาทางสถาปัตยกรรม การคุมโทนสีขาวและพื้นผิวไม้ที่ดูสะอาดตา พื้นที่เหล่านั้นจะกลายเป็นพื้นที่ส่วนตัวไปโดยปริยาย สร้างให้การใช้งานบ้านมีระเบียบและรู้สึกเป็นส่วนตัวมากขึ้น ผนังกระจกและบานกระทุ้งนั้นถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความหลากหลายในการใช้งาน นั่นคือการเปิดและปิดที่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด แต่มากกว่านั้น จากปัญหาที่พบก่อนการรีโนเวทนั่นคือลักษณะที่ค่อนข้างมืดและการระบายอากาศที่ถ่ายเทได้ไม่ดี ด้วยเหตุนี้เองผนังกั้นที่ชั้น 2 ของบ้านจึงถูกรื้อออกและแทนที่ด้วยบานกระจกฝ้าที่สามารถกระจายแสงธรรมชาติสู่พื้นที่กลางบ้านได้ รวมทั้งการใส่บานกระทุ้งก็สร้างให้การถ่ายเทอากาศทั่วทั้งบ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิ เมื่อพูดถึงการรีโนเวท บ่อยครั้งที่เราจะนึกภาพไปถึงการเปลี่ยนโฉมจากรูปแบบเดิมๆของอาคาร แต่สำหรับบ้านหลังนี้ สถาปนิกเลือกที่จะใส่ใจกับความคุ้นชินเดิมๆและแก้ปัญหาในการใช้งานเสียมากกว่า เพื่อให้ภาพลักษณ์เมื่อเสร็จสิ้นแล้วยังคงความเป็นมิตรที่ดูอบอุ่นสำหรับชุมชน ลูกค้า และผู้ที่เดินผ่านไปมาเมื่อเช่นเดิม ไม่ทำให้เกิดความตะขิดตะขวงใจในการเดินเข้ามาซื้อสินค้าในร้านชำ ซึ่งนี่ก็คือความใส่ใจที่มากไปกว่าแค่งานออกแบบที่น่าสนใจในรูปแบบเพียงเท่านั้น ออกแบบ : OPH Architects โดย ไพลิน หงษ์วิทยากร และ กิตติศักดิ์ ศุภคติธรรภาพ : Napat Pattrayanondเรื่อง : Wuthikorn Sut อัพเดตโลกดีไซน์ได้ทุกวันที่ facebook.com/roomfan
F-house คือ บ้านไม้ หลังน้อย ที่สร้างขึ้นในจังหวัดฮิราคาตะชิ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ในย่านที่อยู่อาศัยที่เงียบสงบและมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่กับบ่อน้ำตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง Ahmedabad ในประเทศอินเดีย ซึ่งมีปัญหาความอุดอู้ไม่น่าอยู่ และช่องแสงที่ไม่เพียงพอ ให้กลายเป็นบ้านที่โดดเด่นด้วยการออกแบบพื้นที่เพดานเหนือช่องบันไดให้มีลักษณะคล้ายกลาสเฮ้าส์ รวมถึงใช้แผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อลดต้นทุน ลดความเคร่งขรึมด้วยมุมคอร์ตยาร์ดสีเขียวกลางบ้าน ผสมกับดีเทลงานตกแต่งจากไม้ดูอบอุ่น จากข้อจำกัดของสถานที่ที่จะต้องใช้ผนังด้านข้างร่วมกับบ้านหลังอื่น มีเพียงผนังด้านหน้าและหลังเท่านั้นที่สามารถเจาะช่องแสงได้ ซึ่งนั่นอาจยังไม่เพียงพอ สถาปนิกจากบริษัท Studio Saransh จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเปิดพื้นที่ ในการ รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม หลังนี้ เพื่อนำแสงสว่างมาสู่บ้าน ด้วยการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางช่องบันได ส่วนด้านบนได้เจาะพื้นชั้นดาดฟ้าออก แล้วต่อเติมโครงสร้างเหล็กกรุกระจก ครอบเหนือช่องบันไดไว้ ให้เหมือนกับเป็นกลาสเฮ้าส์ แสงจากด้านบนจึงสามารถส่องลงมาถึงชั้นล่างได้อย่างทั่วถึง มู้ดแอนด์โทนของบรรยากาศภายในบ้าน เน้นความเรียบนิ่งด้วยวัสดุโชว์พื้นผิวอย่าง แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งมีโทนสีเทา-ดำ และใช้หิน Kota หรือหินชนวนในการปูพื้น ผสมผสานกับดีเทลงานตกแต่งไม้ในส่วนต่าง ๆ เช่น กรอบหน้าต่าง บานเปิด-ปิดตู้บิลท์อิน และชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งมีสีน้ำตาลดูตัดกันกับสีเข้มขรึมของคอนกรีต ขณะที่บันไดที่ทำหน้าที่เชื่อมกล่องอาคารด้านหน้าและหลังเข้าด้วยกัน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหลักของบ้าน ทำจากโครงเหล็กสีดำ ก่อนจะปูทับด้วยไม้บนลูกนอน ช่วยเพิ่มความนุ่มนวลเวลาเดินเท้าเปล่า เมื่อเดินเข้ามาในบ้านจะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศปลอดโปร่งและมุมพักผ่อนรับแขกที่เปิดประตูบานเลื่อนออกสู่สวนหลังบ้านได้ ชั้นต่อมาออกแบบเป็นส่วนครัว และมุมรับประทานอาหาร พร้อมระเบียงกลางแจ้งขนาดใหญ่ที่เปิดออกสู่ระเบียงหน้าบ้าน ถัดมาเป็นชั้นของห้องนอนส่วนตัว ซึ่งคุมโทนและบรรยากาศเช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน แต่มีลูกเล่นด้วยลวดลายเส้นทองเหลืองบนแผ่นคอนกรีต ให้กลิ่นอายหรูหรานิด ๆ […]
บ้านบล็อกช่องลม ที่เปลี่ยนภาพซ้ำของบ้านเรือนชั้นเดียวเหล่านั้น ด้วยการรีโนเวตบ้านขนาด 5 ห้องนอน ให้มีสีขาวเรียบ ทว่าโดดเด่นสะดุดตากว่าใคร
รีโนเวตบ้านเก่า นั้นเรียกว่าแทบจะอยู่อาศัยไม่ได้แล้วและทรุดโทรมมากที่เอกวาดอร์ให้กลับมามีชีวิตชีวาในราคาประหยัด ด้วยวัสดุทดแทนและของเหลือใช้
บ้านโมเดิร์น ที่ออกแบบมาเพื่อเจ้าของบ้านหญิงที่ปรารถนาพื้นที่ใช้สอยสะดวกสบาย เงียบสงบ และเป็นสถานที่พักผ่อนท่ามกลางนครโฮจิมินห์อันแสนวุ่นวาย
บ้านโมเดิร์น ตั้งอยู่ในเขตชุมชนหนาแน่นในเมืองเกซอน ประเทศฟิลิปปินส์ บนผืนที่ดินรูปตัวแอล (L) ออกแบบโดย Jim Caumeron Design
บ้านชนบท ดีไซน์โมเดิร์นทรงกล่องลุคเรียบง่าย ที่มาพร้อมกับโจทย์ด้านงบประมาณที่ไม่สูง พร้อมความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตั้งและสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเวียดนาม นี่คือโปรเจ็กต์งานออกแบบโดย H&P Architects กับการสร้าง บ้านชนบท ของคนรุ่นใหม่ที่อยากหันกลับไปใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุธรรมดาสามัญที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง ซึ่งมาพร้อมกับดีไซน์โมเดิร์นดูทันสมัย แถมแอบสอดแทรกฟังก์ชันการใช้งานสนุก ๆ เพื่อให้การอยู่บ้านเป็นเรื่องไม่น่าเบื่อ ทั้งยังมาพร้อมคอนเซ็ปต์ด้านการใช้พลังงานที่ยั่งยืน บ้านขนาดสองชั้นหลังนี้ โครงสร้างเสาและคานทำจากเหล็กทั้งหลัง จึงใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จได้ไว ง่ายต่อการออกแบบพื้นที่เพิ่มเติมได้อีกในอนาคต ขณะที่ผนังอาคารชั้นนอกเด่นสะดุดตาด้วยแผ่นเหล็กลอนลูกฟูกทำสีขาวที่ผ่านการเคลือบผิวป้องกันสนิมมาอย่างดีแล้ว ช่วยให้บ้านมีลุคโมเดิร์นดูทันสมัย แต่กลับไม่ร้อนอย่างที่คิดไม่ว่าจะมาจากการออกแบบหลังคาให้เป็นทรงจั่ว เพื่อถ่ายเทความร้อนจากแสงอาทิตย์ ด้านใต้ซ้อนด้วยแผ่นฉนวนกันความร้อน และฝ้าธรรมชาติอย่างไม้ไผ่อีกชั้น จนกลายเป็นแพตเทิร์นตกแต่งเพดานบ้านไปในตัว ขณะที่ช่องเปิดอย่าง ประตู และหน้าต่าง ได้รับการออกแบบเป็นบานเหล็กแบบซี่เพื่อระบายอากาศ โดยมีชายคากันแดดเหนือช่องเปิดทุกบานไม่ให้ส่องเข้าสู่พื้นที่ภายในโดยตรง จึงช่วยให้บ้านเย็นสบายและปลอดโปร่งตลอดวันช่วยให้บ้านเย็นสบายและปลอดโปร่งตลอดวันส่วนงานออกแบบตกแต่งภายใน ผนังกรุด้วยอิฐดินเผาวัสดุหาง่ายในท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนให้แก่บ้าน ซึ่งเข้ากันดีกับเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบลอยตัว ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อต้องการใช้พื้นที่แบบโล่งกว้างสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆเมื่อขึ้นมาที่ชั้น 2 ของบ้าน จะพบกับไฮไลท์อย่างเปลตาข่ายที่ขึงไว้อย่างแน่นหนาสำหรับไว้ใช้นั่งหรือนอนเล่น นอกจากจะสร้างประสบการณ์การใช้งานที่สนุกไม่น่าเบื่อแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความอึดอัดของพื้นที่ใช้งานระหว่างชั้น 1 กับชั้น 2 ซึ่งชั้นบนนี้ได้รับการออกแบบสเปซแบบโอเพ่นแปลน มีเพียงตู้เสื้อผ้าทำหน้าที่เป็นตัวกั้นเตียงนอนให้ดูเป็นสัดส่วนเท่านั้นความน่าสนใจของบ้านไม่เพียงเป็นการออกแบบที่ดูเรียบง่ายเอาใจคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมแนวคิดในการใช้พลังงานแบบยั่งยืน เห็นได้จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ในครัวเรือน โดยปริมาณไฟฟ้าที่เหลือจะถูกจัดเก็บหรือขายต่อได้ นอกจากนั้นยังมีรางระบายน้ำฝนเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในแท็งก์ สำหรับไว้ใช้รดต้นไม้และแปลงผักรอบ ๆ บ้าน […]
บ้านประหยัดพลังงาน กลางกรุงฮอยอัน ประเทศเวียดนาม ที่หลังคาปกคลุมด้วยหญ้า Cogon ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ