- Page 21 of 37
บ้านไม้

HOUSE IN KYOTO บ้านไม้สไตล์มินิมัล แก้ปัญหาพื้นที่สีเขียวมีจำกัด ด้วยการปลูกต้นไม้ไว้ในห้องนั่งเล่น

บ้านไม้ สไตล์มินิมัลสำหรับสองสามีภรรยาและลูก ๆ ที่น่ารักทั้งสามคนของพวกเขา ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบทางตอนเหนือของเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

CASA DE MADERA บ้านหลังคาซิกแซกสำหรับแปลงผักสวนครัว

บ้านไม้ สำหรับพักตากอากาศในช่วงสุดสัปดาห์ ที่ Estudio Borrachia ออกแบบมาสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน ประกอบด้วยคู่สามีภรรยา พร้อมลูกเล็กสองคน ตั้งอยู่ใน Exaltación de la Cruz ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา

KOKA HOUSE บ้านไม้กึ่งคาเฟ่สีดำทะมึนที่ซ่อนความละมุนไว้ภายใน

บ้านไม้ กึ่งคาเฟ่ ในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น หลังนี้เกิดจากความตั้งใจของเจ้าของบ้านที่วางแผนจะเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ ไปพร้อมกับการสร้างบ้านพักอาศัยส่วนตัว หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว Yoshitaka Kuga สถาปนิกซึ่งมีสตูดิโอออกแบบตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ จึงได้ลงมือออกแบบ บ้านไม้ สีดำทะมึนหลังนี้ให้มีพื้นที่รองรับกับความต้องการ ก่อนจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น กลายเป็นอาคารรูปทรงสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น  เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดทางแยกบนที่ดินที่ล้อมรอบด้วยถนนทั้งสามด้าน เด่นด้วยผนังโทนขรึมดำจากไม้ซีดาร์เผาผิว  มีมุมมองคล้ายกับอาคารสองหลังวางซ้อนกันอยู่ ซึ่งรูปทรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความตั้งใจของสถาปนิกที่อยากให้บ้านดูเหมือนกับร้านกาแฟในกระท่อมบนภูเขา เป็นเหตุผลทำให้บ้านหลังนี้มีหลังคาที่ดูโดดเด่นจนกลายเป็นไอค่อนของย่านไปโดยปริยาย   เเละอีกหนึ่งโจทย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้ คือการจัดสรรพื้นที่ส่วนตัวให้แยกส่วนกับพื้นที่สาธารณะ โดยไม่รู้สึกถึงการตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง ภายใต้พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 104.95 ตารางเมตร สามเหลี่ยมก้อนแรกที่อยู่ด้านหน้าจึงถูกแบ่งเป็นส่วนการใช้งานหลักบนชั้น 1 ของบ้าน ประกอบด้วยมุมรับประทานอาหาร ซึ่งออกแบบพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซเชื่อมต่อกับครัวเปิด เจ้าของสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ตรงนี้ เพื่อรองรับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ในอนาคตได้อย่างสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็แยกส่วนพื้นที่พักอาศัยจริงที่มอบความเป็นส่วนตัว ไว้ภายในก้อนสามเหลี่ยมก้อนที่สองซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง โดยพื้นที่ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ห้องนอนใหญ่ของเจ้าของบ้าน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ (ใช้ครัวกับมุมรับประทานอาหารร่วมกับส่วนคาเฟ่) ส่วนบนชั้นสอง เป็นห้องของเด็ก ๆ จำนวน 2 ห้อง พร้อมระเบียงเล็ก ๆ ไว้ออกไปยืนสูดอากาศในวันฟ้าแจ่มใส โดยมีสวนเล็ก ๆ […]

บ้านตึกแถว

ไทย อาคิเต็ก-เจอ รีโนเวทตึกแถวให้มีหน้าตาไทย ๆ ในบริบทกรุงเทพฯ

Everyday Architect & Design Studio บริบทกรุงเท๊พ กรุงเทพฯ ในบ้านหน้าตาบ้าน ๆ ที่ รีโนเวตจากตึกแถวเก่า ในงบประมาณสามแสนบาทเศษ ๆ

MONTE HOUSE บ้านเม็กซิโกดื่มด่ำธรรมชาติกลางผืนป่าอย่างเต็มอิ่ม

บ้านเม็กซิโก สีแดงดูร้อนแรงหลังนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ตากอากาศ ท่ามกลางราวป่าในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก โดยเกิดขึ้นจากความต้องการของคู่สามีภรรยาที่อยากอยู่อาศัยในธรรมชาติ พร้อม ๆ การได้ใช้ชีวิตในวันหยุดอย่างเรียบง่ายและเป็นส่วนตัว ทีมสถาปนิกจาก TACO taller de arquitectura contextual จึงเน้นการออกแบบที่ช่วยสร้างประสบการณ์การพักผ่อนอย่างเต็มที่ แม้ตัวบ้านจะมีขนาดเล็กกะทัดรัดเพียง 42 ตารางเมตร (452 ตารางฟุต) แต่กลับจุฟังก์ชันเพื่อความรีแลกซ์ไว้ภายในได้อย่างตอบโจทย์ ที่สำคัญยังดึงประโยชน์ของแสงและลมเข้ามาช่วยเติมเต็มการพักผ่อนให้น่าอภิรมย์ยิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่กลางป่า สถาปนิกจึงออกแบบอาคารให้ยกสูงจากพื้นดินราว 2 เมตร เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมจากฝนตกหนัก และสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนผนังสีแดงที่เห็นนั้นเกิดจากการฉาบปูนที่ผสมกับแร่ธรรมชาติในท้องถิ่น ขณะที่ประตูเเละหน้าต่างบานเฟี้ยมแบบบานเกล็ด ก็ทำมาจากไม้ซีดาร์ซึ่งหาได้ในท้องถิ่นเช่นกัน ทั้งยังลดความน่าเบื่อของอาคารทรงกล่องด้วยเส้นสายซิกแซกของลูกตั้งและลูกนอนบันได เมื่อเข้ามาด้านในตัวบ้านจะพบกับบรรยากาศที่ดูอบอุ่นและชวนผ่อนคลาย ด้วยการเลือกฉาบผนังปูนดิบที่มีส่วนผสมของปูนขาว ผสานไปกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ และของตกแต่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานทำมือจากวัสดุธรรมชาติ ดูเป็นเรื่องราวเดียวกันกับตัวอาคารและบริบทรอบ ๆ ผังพื้นที่ใช้งานชั้นล่างประกอบด้วยมุมที่เก็บของเล็ก ๆ ตรงข้ามกันคือห้องน้ำที่มีฝักบัวกลางแจ้ง มีห้องครัว และมุมรับประทานอาหารที่เปิดโล่งออกสู่ระเบียงพร้อมสระว่ายน้ำ ให้สามารถชื่นชมวิวและดื่มด่ำกับธรรมชาติรอบ ๆ ได้เต็มที่ นอกจากความชิลแบบสุด ๆ แล้วยังมีข้อดีอีกอย่างคือเมื่อลมพัดผ่านจะหอบนำความเย็นสบายเข้ามาสู่พื้นที่ภายในบ้านด้านในด้วย ส่วนพื้นที่ของห้องนอนได้รับการออกแบบให้อยู่บนชั้นลอยที่ต้องก้าวบันไดขั้นเล็ก ๆ ขึ้นไป หัวเตียงคือช่องหน้าต่างบานเฟี้ยมที่เปิดออกรับลมได้จนสุดในวันอากาศดี หรือจะปิดเข้ามาทั้งหมดเพื่อความเป็นส่วนตัว โดยที่ยังยอมให้ลมและแสงสว่างลอดผ่านเข้ามาด้านในได้ […]

HOUSE BETWEEN BLOCKS หยิบคอนกรีตบล็อกสุดธรรมดา มาประกอบเป็นบ้านแบบโปร่งโล่ง

บ้านคอนกรีตบล็อก หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองบาบาโอโย ประเทศเอกวาดอร์ เมืองที่บ้านเรือนส่วนใหญ่อาศัยในรูปแบบของตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ มีลักษณะหน้าแคบตอนลึกยาว อันเป็นสาเหตุให้แสงธรรมชาติส่องไปถึงและไม่สามารถระบายอากาศได้ จึงกลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ที่ตั้งของ House Between Blocks บ้านคอนกรีตบล็อก อยู่ในที่ดินขนาด 7×10 เมตร ซึ่งเป็นของนักออกแบบสื่อสารเกี่ยวกับเสียงและวิชวล ที่เน้นทำงานอีเว้นต์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ที่ได้รับการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบายเหมาะแก่การทำงานและอยู่อาศัย สถาปนิกเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง “คอนกรีตบล็อก” มาเรียงสับหว่างในส่วนของกำแพงด้านหน้า ส่วนประตูและหน้าต่างเลือกใช้วัสดุทั่วไปอย่าง ไม้ กระจก และเหล็ก ทั้งยังเลือกใช้ชายคาแบบโปร่งแสงเพื่อยอมให้แสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ หน้าต่างมีหน้าบานกว้างช่วยเสริมการระบายอากาศ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของพื้นที่ รวมไปถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดกะทัดรัดเพื่อประหยัดพื้นที่ เกิดการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด            บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างของการการอยู่อาศัยแบบพอดีและการออกแบบที่ยั่งยืน ด้วยการใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้น้อย และสามารถก่อสร้างได้ด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เรียกว่าเป็นการดึงศักยภาพของสิ่งที่มีในชุมชนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ออกแบบ : Natura Futura Arquitectura ภาพ : JAG Studio เรียบเรียง : BRL

MIPIBU HOUSE บ้านอิฐบล็อก ทึบนอก โปร่งใน

บ้านอิฐบล็อก หลังนี้  คือบ้านบนที่ดินที่มีพื้นที่ในลักษณะยาวและแคบ ทำให้ผู้ออกแบบต้องแก้ปัญหาพื้นที่แคบและลึกของที่ดินแปลงดังกล่าว ด้วยการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเบิ้ลเป็นสองเท่า บดบังสายตาจากภายนอกด้วยการออกแบบตัวอาคารด้านนอกให้ทึบแต่โปร่งใน ช่วยแก้ปัญหาเขตรั้วชิดบ้านเรือนเคียงให้เกิดความเป็นส่วนตัวอย่างชาญฉลาด ด้วยที่ตั้งของ บ้านอิฐบล็อก Mipibu House ซึ่งอยู่ในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล มีมูลค่าของที่ดินที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทีมออกแบบจาก Terra e Tuma | arquitetos associados จึงต้องเน้นการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีสำหรับเจ้าของบ้าน เพื่อให้พื้นที่ใช้สอยทุกตารางนิ้วเป็นไปอย่างคุ้มค่าสูงสุด  เห็นได้จากการจัดสรรพื้นที่ใช้งานขนาดแคบแค่เพียง 5.6 x 30 เมตร ให้ยกระดับพื้นที่ด้านหน้าขึ้นเล็กน้อย เพื่อตัดการรบกวนจากอาคารรอบ ๆ ในระยะประชิด ประกอบกับความท้าทายของทีมออกแบบที่ต้องพบกับโปรแกรมมากมายสำหรับพื้นที่แห่งนี้ แต่ท้ายที่สุดพวกเขาก็กำหนดพื้นที่ใช้งานออกมาได้มากถึง 170 ตารางเมตรเลยทีเดียว เมื่อพิจารณาถึงบริบทในแนวดิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากที่ตั้งของที่ดินนั้นรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนของเพื่อนบ้าน บ้านหลังนี้จึงออกแบบโดยตั้งต้นจากภายใน เปิดพื้นที่ให้โปร่งโล่ง แล้วปิดล้อมด้วยกำแพงอิฐบล็อกให้ทึบสนิทที่สุด สร้างคอร์ตยาร์ดสองจุดกลางบ้านเพื่อให้แสงสว่างที่จำเป็นส่องผ่านมายังพื้นที่ภายในอาคารอย่างทั่วถึง เพื่อการระบายอากาศที่ดี รวมถึงเพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วนและมีคุณภาพที่เหมาะกับการใช้งานจริง แต่การตัดสินใจของผู้อาศัยที่สถาปนิกไม่คาดคิดอีกหนึ่งสิ่ง ก็คือการเลือกวางตำแหน่งของห้องนอนไว้ที่ชั้นล่าง แทนที่จะยกขึ้นไปไว้บนชั้นสองตามปกติทั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นส่วนตัวและเงียบสงบ โดยตำแหน่งของห้องนอนได้ถูกวางให้เชื่อมกับคอร์ตยาร์ดที่ออกแบบให้เกิดเป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ เพิ่มความเย็นให้กับบ้าน ส่วนคอร์ตยาร์ดอีกจุดหนึ่งได้วางตำแหน่งให้เชื่อมต่อกับครัว เป็นมุมพักผ่อนกลางแจ้งที่สามารถยกเก้าอี้ไปนั่งพักผ่อนได้จริง   […]

CASA NAKASONE บ้านอิฐเปลือยผิวในบริบทเเบบเม็กซิโก

บ้านอิฐ เปลือยผิว ขนาด 100 ตารางเมตร แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชานเมืองเม็กซิโกซิตี เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่เเล้วในพื้นที่อย่าง “อิฐมอญ” มาใช้ในการสร้างบ้าน เพื่อประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง และง่ายต่อการทำงานกับช่างในท้องถิ่น เเม้อิฐมอญจะเป็นวัสดุธรรมดา ๆ แต่ผลที่ได้กลับเป็นบ้านที่สื่อถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างน่าสนใจ เอื้อต่อการอยู่อาศัยอย่างเเท้จริง ในขั้นตอนการทำงานออกเเบบ บ้านอิฐ หลังนี้สถาปนิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับช่างในท้องที่ถึงวิธีการก่อสร้าง จนได้บ้านอิฐที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบคอร์ตกลางบ้านเอาไว้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในแง่ของความเป็นส่วนตัว เผื่อว่าในอนาคตที่ดินรอบ ๆ บ้านอาจเกิดงานก่อสร้างอื่น ๆ หรือมีความพลุกพล่านวุ่นวายตามมาในอนาคต อย่างน้อยบ้านหลังนี้ก็ยังมีพื้นที่คอร์ตยาร์ดอยู่ภายในสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นของบ้านนี้นอกจากการเลือกใช้วัสดุธรรมดาที่หาได้ง่ายเเล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของเเสงเงา เห็นได้จากบันไดหลักของบ้านที่มีสกายไลต์อยู่ด้านบน ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติค่อย ๆ ฉาบไล้ลงมายังพื้นที่ภายในบ้าน ผ่านผนังหินภูเขาไฟที่สถาปนิกเลือกนำมาใช้ เกิดเป็นเฉดสีของเเสงเงาที่แบ่งจังหวะของพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากกัน ส่วนบานกระจกที่ใช้เป็นประตูบ้าน นอกจากจะเปิดให้แต่ละสวนสามารถมองเห็นกันได้สะดวกแล้ว ยังปล่อยให้แสงเข้าสู่ตัวบ้านได้ในบางจุด ช่วยให้ภาพของอิฐที่ดูหนักเกิดจังหวะที่ดูโปร่งขึ้น ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างออกแบบเป็นส่วนรับแขก ครัว คอร์ตยาร์ด และส่วนรับประทานอาหาร ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวอาทิ ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องน้ำ โดยแบ่งห้องนอนออกเป็นสองปีกล้อมคอร์ตกลางไว้ ซึ่งคอร์ตนี้ออกแบบไว้เผื่อกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการต่อเติมพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เเละนี่ก็คือบ้านอิฐเปลือยที่มีการเล่นกับพื้นที่ รวมถึงการให้แสงธรรมชาติเข้ามามีบทบาทในแต่ละจุดได้อย่างน่าสนใจ […]

La casa que crece บ้านชั้นเดียวจากอิฐบล็อกและเมทัลชีท

บ้านอิฐบล็อก ชั้นเดียว ในพื้นที่แถบชนบทของประเทศเม็กซิโก ออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เมทัลชีท และอิฐบล็อก ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ใช้งานได้ดี และประหยัดงบประมาณ เพื่อให้ที่กลายเป็น บ้านอิฐบล็อก ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างได้ ทั้งยังสอดคล้องกับภูมิอากาศ และวิถีชีวิตการอยู่อาศัยของชาวเม็กซิโกได้อย่างดี โครงสร้างหลักของ บ้านอิฐบล็อก เป็นคอนกรีตสำเร็จที่ออกแบบมาจากโรงงาน หลังจากประกอบเข้าด้วยกันเเล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการแบ่งพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ของบ้านอิฐบล็อก โดยสามารถปรับเปลี่ยนต่อขยายได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครัวเรือน พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนกลางและลานปูนหน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวตามวัฒนธรรมพื้นถิ่นของเม็กซิโก ซึ่งคล้ายคลึงกับบ้านตามต่างจังหวัดในไทยเราไม่น้อย นอกจากนี้ชานปูนยังสามารถต่อขยายพื้นที่ สำหรับรองรับสมาชิกเเบบครอบครัวขยาย ที่ยังต้องการอยู่อาศัยบนที่ดินผืนเดียวกันกับญาติพี่น้องได้ในอนาคต เกิดเป็นหมู่อาคารขนาดย่อมที่สะท้อนถึงความกลมเกลียวกันของครอบครัว ที่นี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในเเง่ของการสร้างความผูกพัน รวมถึงเป็นการเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างบ้านเเบบง่าย ๆ ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็น “วัสดุราคาถูก” หรือ “วัสดุบ้าน ๆ” เเต่เมื่ออิฐบล็อก เเละเมทัลชีทถูกผนวกเข้ากับงานออกแบบที่ดี ก็สามารถกลายเป็นบ้านที่ใช้งานได้ดี อบอุ่น และลงตัวอย่างที่เห็น         ออกแบบ : JC Arquitectura, Kiltro Polaris Arquitectura ภาพ : […]

3 GREEN SPACES HOUSE บ้านชั้นเดียวขนาดเล็ก แต่แอบซ่อนมุมพักผ่อนสีเขียวไว้ถึง 3 จุด

บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็กหลังนี้ ซ่อนความเซอร์ไพร้ส์ไว้ด้านในกับการออกแบบพื้นที่ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า แม้จะมีพื้นที่ใช้งานที่ค่อนข้างแคบและเล็ก แต่เชื่อไหมว่าที่นี่มีสวนสีเขียวอยู่ถึง 3 จุด ไม่ใช่แค่เพียงส่วนตรงหน้าบ้านเท่านั้น จะมีมุมไหนน่าตามไปเก็บไอเดียบ้าง เปิดบ้าน 3 GREEN SPACES HOUSE แล้วตามไปสำรวจด้านในพร้อมกันได้เลย 3 GREEN SPACES HOUSE เป็น บ้านชั้นเดียว ที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชีวิตได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองที่มีความพลุกพล่านอย่างเมืองไซง่อนไปราว 20 กิโลเมตร ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของคู่รักหนุ่มสาวเจ้าของบ้าน ที่อยากให้บ้านของพวกเขามีความเป็นส่วนตัว ขณะเดียวกันก็อยากมีสวนไว้พักผ่อนภายในบ้านได้อย่างเต็มที่ สวนขนาดเล็กจึงถูกแทรกให้อยู่แทบทุกมุมของการใช้ชีวิต    ด้วยพื้นที่ของบ้านที่กว้างเพียง 4.4 เมตร และมีความยาวของบ้านทั้งสองด้านไม่เท่ากันคือ 19 เมตร และ 23 เมตร สถาปนิกจึงได้แบ่งพื้นที่ใช้งานอย่างยืดหยุ่น เริ่มตั้งแต่ด้านหน้าบ้าน เมื่อมองภายนอกหลายคนอาจเห็นว่านี่คือบ้านอิฐที่มีดีไซน์ดูน่ารัก พร้อมสวนหน้าบ้านบริเวณลานจอดรถขนาดเล็ก แต่เมื่อก้าวเข้ามาด้านในพื้นที่แรกที่รอทักทายอยู่คือพื้นที่ห้องครัว ซึ่งใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางไปในตัว พิเศษด้วยมุมสวนที่จัดขนานไปตามความยาวของบ้าน เพื่อให้ได้รับแสงแดด ลม และสัมผัสกับต้นไม้ได้ตลอดเวลาที่พักผ่อนอยู่ด้านใน นอกจากสวนบริเวณพื้นที่ห้องครัวแล้ว หลังบ้านยังออกแบบสวนที่มีสระน้ำ เชื่อมพื้นที่ระหว่างห้องนอนกับห้องน้ำโดยมีฝักบัวอาบน้ำกลางแจ้ง เรียกว่าเมื่อตื่นนอนยามเช้า เจ้าของสามารถสัมผัสกับความสดชื่นของสวนที่มองเห็นวิวท้องฟ้าด้านบนได้ทันทีที่เปิดประตูกระจกบานสไลด์ออก จะนั่งห้อยขาสัมผัสน้ำเย็น […]

HOUSE IN THE ORCHARD บ้านฟาร์มของคนรักธรรมชาติ ต้นแบบการสร้างบ้านพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

บริษัท LDA.iMDA ได้สร้าง House in the Orchard หรือ บ้านฟาร์ม กลางสวนหลังนี้ขึ้นในพื้นที่กลางสวนผลไม้ของเมือง San Miniato ประเทศอิตาลี ภายใต้แนวคิดการสร้างบ้านต้นแบบที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสถาปนิกได้ให้ค่ากับการอยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยสุนทรียภาพ เชื่อมโยงและเปิดรับธรรมชาติที่อยู่รอบตัว อาทิ แปลงปลูกพืชผักผลไม้ และสัตว์เลี้ยงอย่าง ไก่ ที่เลี้ยงแบบฟาร์มเปิด House in the Orchard บ้านฟาร์ม หลังนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงเปรียบเทียบวัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้าง ท่ามกลางบริบทที่ดินที่ใช้ทำการเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลและต้องรับมือกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาล โดดเด่นด้วยตัวบ้านสีขาวตั้งตะหง่านที่มีรูปทรงน่ารัก คล้ายบ้านตามจินตนาการในภาพวาดของเด็ก ๆ โดยมีฉากหลังเป็นสีของผืนดิน สีเขียวของต้นไม้ และสีน้ำเงินของท้องฟ้า  ตัวบ้านมีขนาดหนึ่งชั้น พร้อมพื้นที่ใช้สอย 85 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วยส่วนใช้งานหลัก ๆ คือ พื้นที่นั่งเล่น และห้องนอนที่ได้รับการออกแบบให้อยู่ปลายคนละฝั่งของบ้าน กั้นตรงกลางด้วยผนังห้องครัว และห้องน้ำ ส่วนเหตุผลที่เลือกออกแบบบ้านชั้นเดียวให้มีลักษณะลอยตัวอยู่เหนือพื้นดินนี้ ก็เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อที่ดิน ทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกในอนาคต เนื่องจากตำแหน่งของบ้านวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ด้านหน้าบ้านจึงเลือกกรุกระจกใสเต็มผนังเพื่อช่วยดึงเเสงเข้ามาด้านใน ดูไม่ต่างกับเรือนกระจก แต่ก็ไม่ร้อนจนเกินไป ขณะที่ด้านหลังซึ่งเป็นส่วนของห้องนอน […]

บ้านชั้นเดียว

รวมบ้านชั้นเดียวจากทั่วโลก 5 หลัง ที่ออกแบบได้อย่างน่าอยู่มาก

บ้านชั้นเดียว จากทั่วโลก 5 หลัง ไอเดียในการนำไปประยุกต์วิธีคิดเข้ากับการออกแบบบ้าน หรือสร้างบ้านบนที่ดินของคุณให้มีฟังก์ชันที่คุ้มค่าทุกตารางเมตร