© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
“Y/A/O Residence” แบบบ้านโมเดิร์น สีดำหลังใหญ่สะดุดตา บนที่ดินโล่งกว้างในถนนสุขาภิบาล 5 ซอย 70 ถูกตั้งชื่อตามหนึ่งในชื่อเจ้าของบ้าน คุณนงเยาว์ เณวิลัย กับสามี คุณสมชาย เณวิลัย โดยคุณนงเยาว์ เล่าให้ฟังถึงแนวคิดก่อนการสร้างบ้านว่า “เราเป็นคนชอบเที่ยว ทั้งต่างประเทศ ทั้งต่างจังหวัด ชอบไปตามรีสอร์ทเก๋ๆ ทั้งตามธรรมชาติ ทั้งในเมืองต่างๆ คือเที่ยวหมด ปีหนึ่งคือเที่ยวบ่อยมาก เราก็เลยอยากได้บ้านที่มีอารมณ์ประมาณว่า ถ้าเราอยู่บ้าน ให้รู้สึกเหมือนอยู่รีสอร์ทได้ไหม ให้เหมือนเราได้เที่ยวอยู่ตลอดเวลา” DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: WARchitect ภาพ แบบบ้านโมเดิร์น ในฝันแบบรีสอร์ทที่เจ้าของบ้านต้องการ จึงได้รับการออกแบบให้ตั้งอยู่บนผืนดินขนาดราว 1 ไร่ครึ่ง ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง อันได้แก่ ที่จอดรถ อาคารรับรองแขก และอาคารอยู่อาศัยหลัก กระจายอยู่ทั่วเนินสนามหญ้าสีเขียวสด บ้านเปรียบเหมือนเป็นกลุ่มอาคารที่แตกแขนงพื้นที่ใช้สอยออกจากกัน ไม่ถูกจับรวมเป็นบ้านใหญ่หลังเดียว อันเป็นแนวคิดการจัดวางอาคารที่สถาปนิก คุณธาวิน หาญบุญเศรษฐ สถาปนิกจากทีม Octane architect & design เป็นผู้นำเสนอ “เราเคยลองจับรวมอาคารเป็นก้อนเดียวก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งวางไว้ที่มุมบ้าน เมื่อเสร็จแล้ว […]
Soi Sam: Shone Puipia’s Space แกลเลอรี่ ซึ่งได้รับการออกแบบให้งานสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นเสมือนผืนผ้าใบ ช่วยดึงความงามของงานศิลปะให้โดดเด่นขึ้น
“สตูดิโอเค” บ้านกึ่งสตูดิโอ ที่แฝงตัวอย่างสงบอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่มริมแม่น้ำปิง ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก บนผืนดินกว่า 1 ไร่ แห่งนี้ คืออาณาจักรศิลปะของ คุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย เจ้าของรางวัลศิลปาธรสาขาทัศนศิลป์ปี 2553 ผู้รังสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยเปี่ยมเอกลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Materior Studio เดิมอาณาจักรศิลปะแห่งนี้ มีเพียงตัวอาคารปูนเปลือยดั้งเดิมที่ได้รับการออกแบบโดย สำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ เมื่อหลายปีก่อน เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของบริษัท นาวินโปรดักชั่น จำกัด รองรับการผลิตผลงานศิลปะของเขา แต่เมื่อโปรเจ็กต์การสร้างสรรค์มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงมาพร้อมความต้องการพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนสำหรับทีมงาน คุณนาวินจึงตัดสินใจขยับขยายสร้างพื้นที่สตูดิโอขึ้นใหม่ให้เชื่อมต่อกับอาคารเดิม พร้อม ๆ กับปรับปรุงต่อเติมพื้นที่บางส่วนบนชั้นสองของอาคารเดิมให้เป็นที่พักอาศัยในคราวเดียวกัน โดยงานนี้มี คุณสุเมธ กล้าหาญ จาก Materior Studio มารับหน้าที่ช่วยดูแลด้านการออกแบบให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ แห่งนี้ “คุณนาวินตั้งใจจะขยายพื้นที่เวิร์กช็อปให้เป็นกิจลักษณะและมีที่จอดรถ โดยให้ชั้นล่างเป็นส่วนเวิร์กช็อป และชั้นบนเป็นสตูดิโอวาดภาพขนาดใหญ่ และพื้นที่จัดแสดงผลงาน เราทดลองออกแบบกับวัสดุหลายอย่างมาก ตั้งแต่อิฐดิบ ๆ ผนังปูน จนสุดท้ายมาจบที่เมทัลชีทสีดำ ผนังด้านในกรุยิปซัม และไม้อัด พร้อมกับทำช่องเปิดดูปลอดโปร่งเพราะต้องการใช้แสงธรรมชาติมากกว่าการควบคุมแสงไฟแบบในแกลเลอรี่ทั่วไป” อาคารโครงสร้างเหล็กทรงกล่องกรุเมทัลชีตสีดำจึงได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ […]
บ้านไทยโมเดิร์น หลังนี้คือบ้านที่ออกแบบมาเพื่อ “มิตรสหาย” ซึ่งเกิดจากความต้องการให้บ้านมีความเป็น “มิตร” กับธรรมชาติ ได้รับการออกแบบโดยสตูดิโอออกแบบนามว่า Mitr Architects
“อยู่อย่างเป็นศิลปะ” คือนิยามการอยู่อาศัยในฝันของใครหลายคนในยุคนี้ หากแต่ความหมายของคำนี้ได้ถูกแปลภาพแตกต่างกันไปอย่างอิสระ ตามแต่การตีความจากประสบการณ์และรสนิยมของแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมที่แม้หลายชิ้นจะได้รับการพูดถึงว่าเป็นงานนอกกรอบ แต่จุดประสงค์ของผู้ใช้งานเองต่างหากที่เป็นปลายทางสำคัญ โดยมีวิธีการทางสถาปัตยกรรมเข้ามาช่วยส่งเสริมให้ปลายทางนั้นเป็นไปตามความตั้งใจ เช่นเดียวกันกับ บ้านกึ่งแกลเลอรี่ หลังนี้ Zimmermann Private Contemporary Art Collection คือตัวอย่างที่ดีของการใช้เนื้อหาจากผลงานศิลปะของเจ้าของ อย่าง คุณคริสตอฟ – คุณรานี ซิมเมอร์มานน์ ซึ่งเป็นนักสะสมผลงานศิลปะร่วมสมัย มาเป็นหัวใจสำคัญเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับส่งเสริมงานศิลปะทุกชิ้นได้อย่างเท่าเทียม ตามที่ คุณศิริศักดิ์ ธรรมะศิริ สถาปนิกผู้ออกแบบที่นี่ได้กล่าวกับเราไว้ว่า “ไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะทำอาคารให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม แต่มีเจตนาคืออยากให้ภาพทุกภาพที่อยู่ในนี้มีความเสมอภาคกัน เพราะศิลปินแต่ละคนมีแพสชั่นและความตั้งใจเหมือนกัน แต่วิธีการอาจจะแตกต่างกัน ผมว่ามันไม่มีดัชนีชี้วัดว่ารูปนี้สวยกว่ารูปนี้เพราะอะไร” ความต้องการแรกของเจ้าของคือ ต้องการแกลเลอรี่มากกว่าบ้าน จึงเลือกส่วนพักอาศัยเป็นเรื่องรอง แล้วไปโฟกัสเรื่องการออกแบบสเปซสำหรับผลงานศิลปะ และเพราะงานศิลปะส่วนใหญ่เป็นงานร่วมสมัย สถาปนิกจึงนำความเป็นนามธรรมของงานศิลปะมาถ่ายทอดผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่มีลำดับขั้น ไม่มีฟอร์ม หรือมิติซับซ้อน “ผมเลือกฝีแปรงของการ stroke งานแบบแอ๊บสแตร็กต์ที่เน้นความรู้สึกล้วน ๆ มาเป็นต้นแบบ โดยทดลองตัดแปะฟังก์ชันและความต้องการต่าง ๆ เข้าไปตามขอบเขตของที่ดิน แบ่งตามโปรแกรมได้ 2 อาคาร หลังหนึ่งใช้เป็นแกลเลอรี่เพื่อเปิดเป็นสาธารณะ อีกหลังเป็นที่พักอาศัยและแกลเลอรี่ส่วนตัวสำหรับเก็บภาพที่มีมูลค่าสูง” อาคารหลังแรกที่เปิดเป็นแกลเลอรี่สาธารณะ รูปลักษณ์การออกแบบเปรียบเหมือนการทดลองปาดฝีแปรงลงกระดาษในน้ำหนักที่หนาหนักและรุนแรง จนเกิดเป็นอาคารที่มีแต่ละด้านไม่เท่ากันเลย […]
Studio mahutsachan ออกแบบบ้านโดยตีความความสัมพันธ์ และความต้องการของคนในครอบครัวออกมาในรูปแบบกลุ่มก้อนฟังก์ชัน คลี่คลายสู่แนวคิดการออกแบบที่สอดรับกับพฤติกรรมการใช้งานได้อย่างตอบโจทย์และครบถ้วน
บ้านอันอบอุ่นของ คุณแอนดี้ สิริวิชชา และ คุณธนัชพร รัชตะชาติ ที่ใช้การเชื่อมต่อความสุขด้วยสเปซ พร้อมกับการรับรู้ถึงกันและกัน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของบ้าน
บ้านกล่องรูปทรงเรขาคณิตดีไซน์แปลกที่สร้างจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติป่าเขาและสายน้ำแม่คาวที่ไหลผ่านที่ดิน...
ค้นหาแรงบันดาลใจในการแต่งบ้าน กับบ้านที่มีการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วน ครบครัน ใน แบบบ้านชั้นเดียว 10 หลังนี้
Hypothesis ออกแบบบ้านทรงกล่องริมสนามกอล์ฟ ให้เด่นด้วยฟาซาดอะลูมิเนียมฉีก ช่วยเป็นเกราะป้องกันบ้านจากลูกกอล์ฟ และกรองแสงแดดในตัว แถมสามารถเลื่อนออกเพื่อเปิดรับวิวได้
รวม 12 บ้านปูนเปลือยดีไซน์เท่มาฝากคนมองหาไอเดียสดใหม่ เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งบ้าน หรือถ้ายังไม่จุใจลองพิมพ์คำค้นหาว่า “บ้านปูนเปลือย” ในเว็บไซต์ baanlaesuan.com ก็ยังมีให้ชมอีกเพียบ!
จากความคิดแรกเริ่มที่จะสร้างบ้านชั่วคราวด้วยตู้คอนเทนเนอร์เก่าเก็บ 3 ใบ ผสมกับมิตรภาพระหว่างเจ้าของบ้านและสถาปนิก กลายเป็นบ้านสองหลังที่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์รวมไปทั้งหมด 15 ใบบนที่ดินกว่าสองงาน ในจังหวัดขอนแก่นหลังนี้