- Page 5 of 37

DHY HOUSE เท่อย่าง บ้านคอนกรีต อยู่สบายอย่าง บ้านทรอปิคัล

บ้านคอนกรีต ของนักออกแบบแฟชั่นชาวบ้านเวียดนาม ที่แอบซ่อนพื้นที่ชีวิตไว้หลังผนังคอนกรีต กับบ้านที่เปิดต้อนรับลมและสวนเขียวขจี ความพิเศษของ บ้านคอนกรีต หลังนี้ คือการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนหลัก คือมีร้านกาแฟอยู่ในส่วนหน้าบ้านซึ่งเปิดเป็นแบบ Private coffee shop ก่อนจะคั่นแบ่งด้วยผนังคอนกรีตสูงตระหง่าน มีช่องประตูไม้เล็ก ๆ พาเดินเข้าสู่พื้นที่ของบ้านพักที่ปิดล้อมมิดชิด ก่อนจะค่อย ๆ เผยให้พบกับพื้นที่ชีวิตที่ส่งเสริมการระบายอากาศตามธรรมชาติ พร้อมพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ ที่แซมด้วยร่มเงาของต้นไม้ ช่วยในเรื่องการไหลเวียนของอากาศ ทำให้มั่นใจได้ว่าพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดของบ้านจะเย็นสบาย แม้ในวันที่มีอากาศร้อนที่สุด เป็นงานออกแบบที่ตอบรับโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ไปพร้อมกับบ้านดีไซน์โมเดิร์นทันสมัยแปลกตาด้วยรูปทรงแบบเรขาคณิต แต่กลับส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยแนวคิดตามวิถีทรอปิคัล ผลงานออกแบบโดย AHL Architects ที่มีแรงบันดาลใจการดีไซน์มาจากรูปทรงของ Japanese knot bag หรือถุงผ้าแบบคล้องมือสไตล์ญี่ปุ่น เน้นแนวคิดการปรับตัวทางสถาปัตยกรรมเพื่อให้บ้านโมเดิร์นยุคใหม่ เข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการใช้ชีวิต โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ มาช่วย อาทิ การวางตำแหน่งของบ้านเพื่อรับลม ออกแบบระเบียงให้มีขนาดกว้าง ใช้ระแนง กำแพงขนาดหนาเพื่อกันความร้อน และการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงา ผสานกับองค์ประกอบของวัสดุที่มาจากธรรมชาติอย่างไม้เพื่อให้บ้านมีความอบอุ่น แนวคิดเรื่องพื้นที่กันชนได้รับการถ่ายทอดผ่านการออกแบบพื้นที่ระเบียงบ้านทั้งลึกและมีขนาดใหญ่ เป็นวิธีที่สถาปนิกเล่าว่า เขาได้หยิบยกมาจากภูมิปัญญาการสร้างบ้านดั้งเดิมของเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมเข้ามาใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งลักษณะพิเศษของบ้านพื้นถิ่นของเวียดนามเหนือ กับการสร้างบ้านส่วนใหญ่ให้มีระเบียงขนาดกว้างคอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องเข้ามาถึงภายในโดยตรง […]

Breathing House รีโนเวต ทาวน์โฮม เก่าให้โปร่งหายใจได้

ทาวน์โฮม เก่าที่ตกแต่งสไตล์โคโลเนียลในเมืองเซินเจิ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สู่การรีโนเวตใหม่ให้เป็นบ้านที่มีสภาพแวดล้อมผ่อนคลายเหมาะกับการพักผ่อนมากขึ้น ด้วยการเปิดรับธรรมชาติทั้งแสงและลมให้เข้ามาสู่ภายในบ้าน ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยถึงสามเจเนอเรชั่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

PINN’N PAN HOUSE บ้านฟาร์ม ดีไซน์โมเดิร์น

บ้านฟาร์ม ดีไซน์โมเดิร์นกลางแปลงเกษตร และฟาร์มสุกร อีกหนึ่งตัวอย่างพื้นที่ใช้ชีวิต ที่ผสานกับพื้นที่ธุรกิจอย่างลงตัว พร้อมบรรยากาศการอยู่อาศัยที่โปร่งสบายท่ามกลางธรรมชาติเรียบง่าย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Forx Design Studio บ้านฟาร์ม หลังนี้ได้แรงบันดาลใจจากคู่สามี-ภรรยาเจ้าของบ้าน ที่ท่านหนึ่งทำงานด้านวิศวกรรมอากาศยาน และอีกท่านเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น การออกแบบบ้านหลังนี้เกิดขึ้นภายใต้โจทย์ ที่ต้องการให้ 10% ของที่ดินเป็นที่พักอาศัย 40% เป็นพื้นที่ของฟาร์มสุกร และ 50% ที่เหลือเป็นพื้นที่เกษตรกรรมแบบยั่งยืน ตัวบ้าน 2 ชั้นหลังคาจั่ว ดีไซน์เฉียบเรียบตั้งอยู่อย่างโดดเด่นกลางที่ดินผืนใหญ่ ขนาบข้างด้วยทุ่งนา และสระน้ำ ผังที่ดินผืนนี้ถูกจัดสรรออกเป็น 7 ส่วน ประกอบด้วยโรงเตรียมอาหารสำหรับสุกร โรงเรือนเลี้ยงสุกร โรงเพาะชำพันธุ์ไม้ สนามหญ้า ต้วบ้าน สระน้ำ ทุ่งนา และแปลงเพาะปลูก พื้นที่ใช้สอยภายในออกแบบให้ตอบโจทย์สมาชิกครอบครัว 6 คน โดยชั้นล่างประกอบด้วยที่จอดรถ 4 คัน พื้นที่ส่วนกลาง ที่เชื่อมกับส่วนรับประทานอาหารภายใต้บรรยากาศโปร่งโล่งของสเปซดับเบิ้ลวอลุ่ม ต่อเนื่องกับส่วนครัว และโซนห้องแม่บ้าน ส่วนอีกด้านคือพื้นที่ส่วนตัวของคุณพ่อ-คุณแม่ ซึ่งทั้ง 2 ห้องนอนเชื่อมต่อกับสวนคอร์ตส่วนตัว พื้นที่ใช้ชีวิตชั้นล่างมาพร้อมวิวนาข้าว […]

บ้านมินิมัล ในบรรยากาศแสงสลัว ที่มีพื้นที่ร่วมให้ครอบครัว

DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Path บ้านขนาดสองชั้นสำหรับสมาชิกครอบครัว 3 คน พ่อ แม่ ลูกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สมุทรปราการหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่รายล้อมไปด้วยบ้าน และอาคารอื่น ๆ โดยรอบ จึงทำให้การออกแบบจำเป็นที่จะต้องสร้างให้เกิดความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ต้องเปิดรับบริบท แสง และลมให้เข้าสู่ตัวบ้านได้สะดวกด้วยเช่นกัน บ่อยครั้งที่ความโปร่ง โล่ง มักมาพร้อมกับแสงที่สว่างสดใส แต่แสงที่เจิดจ้าเกินไปก็อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ยาก โดยเฉพาะกับประเทศไทย ประเทศที่แดดช่างร้อนแรง สภาวะน่าสบายของบ้านหลังนี้ จึงเป็นการเปิดรับแสงธรรมชาติแต่พอดี ในเงาสลัวที่อบอุ่น และผ่อนคลาย ผสานพื้นที่พิเศษของครอบครัว การออกแบบฟาซาดทางทิศเหนือที่สูงจากพื้นจรดเพดานชั้นสองในพื้นที่แบบ Double Volume นั้น จึงทำหน้าที่ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติและลมให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ภายในได้สะดวก อีกทั้งระแนงไม้ที่ยึดติดไว้กับบานเปิดที่มีบานกระจกนั้น ยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดรับลมธรรมชาติ หรือใช้การปรับอากาศ แต่ระแนงไม้เหล่านี้ ก็ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และกรองแสงภายนอกให้พอดีกับบรรยากาศผ่อนคลายภายในไปพร้อมกัน พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโถงสูงแบบ Double Volume ที่รวมพื้นที่ส่วนกลางเพื่อให้สมาชิกครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทั้งยังเป็นการปรับใช้พื้นที่ของบ้านที่ไม่มากนักให้เกิดเป็นพื้นที่ซ้อนทับที่ลงตัวระหว่างห้องนั่งเล่น ส่วนรับประทานอาหาร และพื้นที่ห้องครัว เช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนตัวที่ชั้นบนก็ยังสามารถเปิดเชื่อมถึงกันเป็นพื้นที่เดียวได้อีกด้วย การเลือกใช้วัสดุหลักอย่าง ไม้ และองค์ประกอบสีขาว ตัดกับคอนกรีตเปลือยผิวที่โครงสร้างบันได ยังช่วยให้แสงธรรมชาติที่เข้ามาสู่ภายในดูสว่างไสวโปร่งสบายตา นอกจากนี้พื้นผิวของวัสดุไม้ และคอนกรีตเปลือยยังสร้างความรู้สึกที่เชื่อมโยงสู่ธรรมชาติ รับกันดีกับแสงและเงาที่ส่องผ่านเข้ามาจากภายนอก […]

ความรื่นรมย์ในบ้านตึกกลางเมืองที่ออกแบบไว้อย่างแยบยล

บ้านหลังนี้เป็นบ้านในที่ดินหน้าแคบเพียง 8 เมตร ตั้งอยู่ในย่านสาทรลึกเข้าไปในพื้นที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ แต่ด้วยลักษณะที่ดิน และความต้องการพื้นที่ใช้สอย การออกแบบให้บ้านหลังนี้มีลักษณะแบบตึกสูง 4 ชั้น จึงเป็นคำตอบ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan Atelier ด้วยฝีมือการออกแบบของ INchan Atelier บ้านหลังนี้ จึงไม่ใช่เพียงบ้านตึกหน้าแคบธรรมดา แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยสุนทรียะ และความรื่นรมย์ ผ่านการผสานธรรมชาติ และการสร้างองค์ประกอบของความเป็นบ้านให้สอดประสานไปในทุกพื้นที่อย่างลงตัว บ้านที่หายใจได้ เพราะการออกแบบบ้านที่มีลักษณะแคบลึกยาวเข้าไปถึงด้านในของที่ดินนั้น มักประสบกับการที่ลักษณะของผังการใช้งานจะมีช่องเปิดที่ด้านหน้า และด้านหลัง แต่สำหรับบ้านหลังนี้นั้น มีการคิดคำนึงถึงการสร้างช่องเปิดที่สอดคล้องไปกับการใช้งาน จากชั้นล่างที่เป็นส่วนต้อนรับ และพื้นที่ส่วนกลางของตัวบ้าน ผู้ออกแบบได้เลือกใช้พื้นที่หลังบ้านเป็นโต๊ะกลางที่สามารถใช้รับแขก และเป็นพื้นที่รับประทานอาหารได้ พื้นที่ส่วนนี้มีการเปิดพื้นที่โดยรอบเป็นสวนขนาดเล็กที่ริมบ้าน ได้ทั้งความสงบ และความร่มรื่น ประกอบกับการออกแบบพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น Double Volume จึงทำให้พื้นที่ชั้นล่าง และชั้นลอยที่เป็นพื้นที่นั่งเล่นของบ้านหลังนี้มีความเชื่อมโยง และยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ต่อกัน คำว่า “หายใจได้” นั้น ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การเปิดรับลมธรรมชาติเพียงเท่านั้น แต่จังหวะของมวลที่ว่าง ภายในบ้านจะช่วยลดความอึดอัดของการเป็นบ้านแบบอาคารหลายชั้นลง สร้างความรู้สึกสบายอย่างที่บ้านควรจะเป็นได้มากขึ้น นอกจากนี้ในชั้น 3 และ 4 ของบ้านหลังนี้ ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างห้องนอนนั้น […]

บ้านคอนกรีตเปลือย ที่สร้างจังหวะสอดประสานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมให้รับกับบรรยากาศกึ่งเอาต์ดอร์อย่างลงตัว

DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: D KWA Architect บ้านคอนกรีตเปลือย หลังนี้ เป็น โฮม+ออฟฟิศ นั่นคือการมีพื้นที่สำนักงานอยู่ด้านหน้าบ้าน และตัวบ้านจริงจะซ่อนตัวอยู่หลังสำนักงานนั้นอีกที จึงทำให้บ้านหลังนี้มีบรรยากาศที่เงียบสงบ และมีความเป็นส่วนตัวที่สอดประสานกับองค์ประกอบกึ่งเอาต์ดอร์ภายในบริเวณบ้านได้อย่างน่าสนใจ #สำนักงานหน้าบ้านสะดวกธุรกิจสบายใจความเป็นส่วนตัวพื้นที่ด้านหน้าถูกออกแบบให้เป็นอาคารโกดัง และพื้นที่สำนักงานสำหรับผู้ที่มาติดต่อธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งข้อดีของการวางตัวอาคารเช่นนี้คือความสะดวกในการเข้าถึง และสำนักงานนี้ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนพื้นที่ Buffer ที่จะช่วยซ่อนความเป็นส่วนตัวของตัวบ้านเอาไว้ที่ด้านหลังอีกด้วย ซึ่งผลพลอยได้จึงทำให้การออกแบบพื้นที่ต่างๆภายในบ้าน สามารถมีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ที่โปร่ง โล่ง ได้มากขึ้นนั่นเอง #บ้านคอนกรีตเปลือยผสานความโมเดิร์นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างสัจจะวัสดุ ความดิบ และความเนี๊ยบ ที่จัดวางองค์ประกอบร่วมกันเอาไว้อย่างน่าสนใจ ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้งานนั้นจะเป็นผนังฉาบเรียบขาว และไม้สีอ่อนที่ดูเรียบร้อย น่าสัมผัส แต่ในมุมที่ใกล้กับธรรมชาติหรือพื้นที่ภายนอกนั้น จะเริ่มใช้องค์ประกอบที่ปล่อยเปลือยผิววัสดุ หยาบกร้าน แต่งดงาม คล้ายเป็นการสร้างบทสนทนาที่เชื่อมโยงความเป็นสถาปัตยกรรมให้ค่อยๆเปลี่ยนไปสู่วัสดุตามธรรมชาติที่มีเสน่ห์ในร่องรอย และกาลเวลา #การเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยระนาบ และมุมมองจากโถงทางเข้านั้น เราจะรู้สึกถึงการเป็นห้องระนาบที่วางตัวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ก่อนจะมีการเปลี่ยนถ่ายระดับที่ส่วนทานอาหาร ในส่วนนี้ ระนาบของห้องนั่งเล่นที่วางตัวขวางกับแกนทางเข้าจะทำหน้าที่เชื่อมโยงเข้ามาเป็นอีกพื้นที่ที่มีมวลพื้นที่สร้างให้เกิดความรู้สึกที่หยุดนิ่ง เพดาน Double Volumn ในห้องนั่งเล่นนั้น ทำงานร่วมกับระนาบของทางเข้าที่แตกต่างกันทั้งวัสดุ และ Volume ของพื้นที่ได้อย่างดี เมื่อเราเดินเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน ความรู้สึกของการ “พักผ่อน” จะเป็นสิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเราเอนตัวลงนั่งบนโซฟา ชายคา และระนาบแนวนอนที่ต่อเนื่องไปทั้งอาคารจะสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงออกไปสู่สระว่ายน้ำ […]

บ้านคอนกรีตเปลือย ที่ผสานสู่พื้นที่ของครอบครัว

บ้านคอนกรีตเปลือย ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ ผสานคนต่างวัยให้อยู่ร่วมกันอย่างสบายและมีความสุข ที่นี่เป็นบ้านของสองทันตแพทย์ที่อยู่อาศัยร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ โดดเด่นด้วยการออกแบบที่แสดงออกถึงสัจวัสดุ ด้วยการเลือกใช้คอนกรีตเปลือยผิว ภายใต้รูปลักษณ์ของ บ้านคอนกรีตเปลือย พร้อมกับการกำหนดช่องเปิดของอาคารให้สอดคล้องกับธรรมชาติโดยรอบ รวมไปถึงการใช้องค์ประกอบที่ยอมให้แสงธรรมชาติเข้ามาเติมเต็มในพื้นที่ของบ้านวิวดอยสุเทพ ช่วยให้บ้านของคนต่างวัยหลังนี้ มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเปิดรับธรรมชาติอย่างลงตัว #พื้นที่ส่วนกลางพื้นที่ของครอบครัวพื้นที่หลักของบ้านหลังนี้ คือโต๊ะตัวใหญ่ที่อยู่ติดกับครัวเปิดของบ้าน พื้นที่นี้ตั้งอยู่กลางโถงที่รับแสงธรรมชาติจากสกายไลท์ด้านบน ช่วยให้บรรยากาศของพื้นที่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่สอดรับกับธรรมชาติโดยรอบตลอดทั้งวัน การมีพื้นที่อเนกประสงค์ที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นที่ของทุกคน ช่วยให้ความสัมพันธ์ของทุกคนในครอบครัวมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เพราะในทุกครั้งที่สมาชิกในบ้านเดินผ่านพื้นที่นี้จะต้องได้พบกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยเช่นนี้ การได้ทักทายและมีพื้นที่ร่วมกันนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง #สัจวัสดุที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติพื้นที่เกือบทั้งหมดของบ้านเป็นเนื้อแท้ของตัววัสดุเอง ไล่มาตั้งแต่ผิวภายนอกที่เป็นคอนกรีตเปิดเปลือยผิวไม้แบบ ผนังด้านในที่ฉาบเรียบโชว์พื้นผิว พื้นหิวขัด ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ไม้ในหลากหลายส่วนของบ้าน ความตั้งใจของการออกแบบนี้ คือการเปิดโอกาสให้ความงามของธรรมชาติบนตัววัสดุได้แสดงตัวตนออกมาอย่างเต็มที่ผ่านการออกแบบทางภาษาสถาปัตยกรรม โดยวัสดุเปลือยผิวเหล่านี้จะทำงานได้ดีในยามต้องกับแสงธรรมชาติ ให้ความรู้สึกที่คล้อยตาม และเชื่อมโยงไปกับบริบทสวนโดยรอบ ตลอดไปจนถึงธรรมชาติและวิวเขาดอยสุเทพ ทั้งหมดคือการออกแบบที่ตั้งใจให้ผู้อยู่อาศัยสัมผัสได้ถึงความผ่อนคลาย และไม่อยู่ในพื้นที่ที่มีความประดิษฐ์ แข็งเกร็งจนเกินไป #รับรู้ความสัมพันธ์ผ่านองค์ประกอบโปร่งแสงจุดเด่นของบ้านหลังนี้ คือการเปิดรับแสงธรรมชาติ ด้วยทิศของบ้านที่ไม่ได้รับแสงเจิดจ้าจนเกินความสบาย ผู้ออกแบบจึงได้เลือกเปิดเพดานสกายไลท์ที่โถงกลางของบ้าน เพื่อให้บรรยากาศภายในของบ้านเป็นไปตามบรรยากาศโดยรอบ เป็นการเลือกใช้ข้อดีของบริบทธรรมชาติในเมืองเชียงใหม่มาเสริมบรรยากาศให้กับบ้านได้อย่างน่าสนใจ ผนังบล็อกแก้วได้รับการออกแบบเพื่อการจัดสรรพื้นที่ภายใน ในขณะที่ตัวผนังเองก็ยังสร้างการรับรู้ทั้งต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงสามารถมองเห็นสมาชิกในบ้านที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆได้โดยสะดวกอีกด้วย องค์ประกอบผนังบล็อกแก้วนี้จึงเหมือนกับเป็นส่วนที่ช่วยเชื่อมโยงทุกพื้นที่เข้าด้วยกันไปพร้อม ๆ กัน #บ้านที่พร้อมสำหรับก้าวต่อไปของชีวิตอีกไฮไลท์ที่โดดเด่นของบ้าน คือห้องกระจกโค้งที่ปัจจุบันถูกใช้เป็นห้องออกกำลังกาย ในอนาคตอันใกล้เจ้าของบ้านบอกว่า […]

TREE HOUSE BY THE LAKE บ้านต่างจังหวัด ในเวียดนาม หวนสู่ธรรมชาติกลางป่าริมทะเลสาบ

บ้านต่างจังหวัด หลังนี้ เกิดจากการเก็บเกี่ยวช่วงเวลา และความทรงจำอันน่าประทับใจ ทุกครั้งเมื่อหวนนึกถึงช่วงเวลาและภาพวัยเยาว์ ที่เจ้าของบ้านได้เล่นสนุกไปตามจินตนาการ ท่ามกลางธรรมชาติ และร่มไม้ใหญ่ “ภาพจำในวัยเยาว์ ผมยังจำวันนั้นได้เต็มตา ทุก ๆ ฤดูร้อน เราจะมารวมกันใต้ร่มไม้ใหญ่ แล้วกางเต็นท์เล็ก ๆ ร่วมกัน บ้างก็นำใบไม้มาทำเป็นกระโจมตกแต่งให้สวยงาม ซึ่งเราเรียกมันว่า “บ้าน” เพื่อหลบแดดและใช้เล่นสนุก” จากประสบการณ์และความทรงจำสมัยยังเด็กของเจ้าของบ้าน นำมาสู่การสร้าง บ้านต่างจังหวัด ในฝัน ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม H2 architects บ้านต่างจังหวัด หรือบ้านต้นไม้ตามอย่างที่สถาปนิกเรียก ถูกสร้างขึ้นโดยแทรกตัวเองไปกับป่าริมทะเลสาบ Da Bang Lake อันเงียบสงบ ซึ่งเกิดจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากให้ลูกสาวได้เติบโตและมีประสบการณ์วัยเด็กที่น่าจดจำ แถมยังเสมือนเป็นการได้ปลุกจิตวิญญาณเล็ก ๆ ของตนเองที่เคยสนุกไปกับชีวิตชนบทในวันนั้นให้หวนคืนมาอีกครั้ง บ้านหลังนี้จึงได้รับการสร้างขึ้นให้อยู่ภายใต้ร่มไม้ริมทะเลสาบอันสวยงามและเงียบสงบ กับขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 120 ตารางเมตร โดดเด่นด้วยการสร้างขึ้นจาก “เศษวัสดุ” ที่หาได้ในท้องถิ่น ใต้ถุนชั้นล่างทำจากคอนกรีตเปิดโล่งรับวิวทะเลสาบ ลม และแสงแดดที่ปลอดโปร่ง มีบันไดวนหมุนไปตามลำต้นของต้นไม้เพื่อนำทางสู่ชั้น 2 แนวคิดหลักคือการเน้นใช้วัสดุประเภทเหล็กรีไซเคิลหลากหลายรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ด้วยสีสนิมซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยนำมาใช้เป็นโครงสร้างที่ช่วยสร้างจุดเด่นให้แก่บ้าน เหล็กเหล่านี้ผู้ออกแบบเล่าว่าเป็นเศษเหล็กที่รื้อจากงานเก่า หรือนำมาจากร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ใกล้เคียง […]

ARIOSA APARTMENTS เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ในเวียดนาม เสิร์ฟการพักผ่อนเหมือนอยู่บ้านส่วนตัว

เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ หน้าแคบ กับแนวคิดที่รับรองว่าถูกใจคนเมือง กับการแทรกพื้นที่สีเขียวและความเป็นส่วนตัวเอาไว้ด้านใน บนทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดย เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ แห่งนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาดจำกัด 210 ตารางเมตร โดยมีหน้ากว้างแค่ 5 เมตร ยาว 42 เมตร จากที่ตั้งดังกล่าวทำให้ต้องเจอกับปัญหาอย่างบ้านตึกแถวในเขตเมืองที่คับคั่ง ที่ส่วนใหญ่มักขาดช่องแสง และการระบายอากาศที่ดี แต่กลับไม่ใช่ปัญหาของที่นี่แม้แต่น้อย ด้วยการแก้ปัญหาและออกแบบโดยทีมจาก K.A Studio เพราะภาษาการออกแบบของที่นี่ได้รับการออกแบบให้รับมือต่อการระบายอากาศ และช่วยประหยัดพลังงานไปในตัว ด้วยการผลักด้านหน้าของอาคาร หรือเฉลียงขนาดใหญ่ออกไปด้านนอก ขณะที่ห้องพักส่วนตัวถูกผลักให้หลบอยู่ด้านใน เพื่อลดการปะทะกับความร้อนและมลภาวะ ริมระเบียงของทุกห้องได้รับการดีไซน์ให้คล้ายกับเป็นบ้านไม้หลังน้อย ๆ เรียงสับหว่างกันในแต่ละชั้นจนกลายเป็นฟาซาด หรือเปลือกอาคารให้แก่อพาร์ตเมนต์แห่งนี้ดูน่ารักอบอุ่น บ่งบอกถึงการพักผ่อนที่แสนสงบของที่นี่ว่าไม่ต่างจากบ้านจริง ๆ โดยแผงไม้ระแนงที่เห็นจะทำหน้าที่ช่วยกรองแสง ร่วมกับแหล่าต้นไม้ที่ปลูกประดับอยู่ด้านหน้าของทุกห้องเพื่อลดปริมาณฝุ่น ควัน และเสียงจากถนนที่พลุกพล่าน รวมถึงหลีกเลี่ยงแสงแดดจากทิศตะวันตกโดยตรง นับเป็นรายละเอียดที่ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเพิ่มสุนทรียภาพด้วยการที่ผู้เข้าพักสามารถเดินออกมาชมวิวความเขียวขจีของต้นไม้เก่าแก่ขนาดใหญ่ริมถนน ที่มุ่งตรงไปยัง The Independence Palace ซึ่งเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในนครโฮจิมินห์ได้ด้วย การออกแบบที่ช่วยสร้างสภาวะน่าสบาย จะเห็นว่ามีการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาอาคารทึบด้วยการเพิ่มพื้นที่คอร์ตยาร์ดตรงกลางอาคาร 2 ตำแหน่ง เพื่อให้อากาศหมุนเวียดถ่ายเทได้ดี อีกทั้งยังจะได้ใกล้ชิดกับสวนในทุกห้อง […]

บ้านตึก กลางเมือง เฟอร์นิเจอร์เก่าร่วมสมัยที่สานต่อเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่น

บ้านหลังนี้เกิดจากความต้องการในการสร้างพื้นที่ที่ครอบครัวของพ่อแม่ และลูกๆทั้ง 3 คน จะได้อยู่รวมกันในพื้นที่ที่เรียกว่า บ้าน ได้อย่างลงตัว แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางเมืองในย่านพระราม 3 ทำให้การออกแบบนั้นต้องมีการคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย เพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อม ไปจนถึงการตอบสนองต่อบรรยากาศแห่งสุนทรียะที่ บ้าน หลังหนึ่งพึงจะมีให้กับผู้อยู่อาศัยได้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design #เฟอร์ฯเก่าในบ้านใหม่ โจทย์ข้อหนึ่งที่เป็นเหมือนคีย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้เลยก็คือ การที่เจ้าของบ้านมีความตั้งใจที่จะนำเอาเฟอร์นิเจอร์จากบ้านเดิมที่สะสมเอาไว้ตั้งแต่รุ่นตายายมาใช้ต่อในบ้านหลังนี้ บรรยากาศร่วมสมัยของเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้ม จึงทำให้การจัดวาง และเลือกใช้วัสดุภายในบ้านมีความสนใจมากขึ้นตามไปด้วย เฟอร์นิเจอร์หลายตัวนั้นถูกทำสีใหม่ โดยคำนึงถึงบรรยากาศดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด บางตัวถูกบุผ้าใหม่ บางตัวมีการย้อมสีใหม่ให้ลงตัวเข้ากันกับตัวอื่น และบางตัวก็ได้มีการปรับโทนสีให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์เก่าคือความที่เป็นไม้จริง วัสดุจริง มีความคงทนถาวร จึงทำให้สามารถซ่อมแซม หรือปรับปรุงให้สามารถไปต่อกับแนวทางการออกแบบสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อีกสิ่งที่เฟอร์นิเจอร์เก่าสามารถช่วยได้อย่างมากก็คือ บรรยากาศของความเป็นบ้าน ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้น 3 ที่มีบรรยากาศอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้านเดี่ยวแบบดั้งเดิมเลยทีเดียว ทั้งยังสานต่อเรื่องราว ความทรงจำ ไปสู่สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปได้อย่างดีอีกด้วย เคล็ดลับหนึ่งที่ PHTAA ได้ใช้กับการผสานเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเข้ากับงานออกแบบร่วมสมัยของบ้านหลังนี้คือ การเลือกใช้วัสดุที่ให้สีสันออกไปทางโทนสีเบจ และน้ำตาล โทนสีในโทนพาสเทลนี้จะช่วยลดความแข็งของไม้สีเข้มลง สร้างความรู้สึกที่นุ่มนวลอบอุ่นให้กับพื้นที่ได้อย่างดีเลยทีเดียว หากใครมีเฟอร์นิเจอร์เก่าสีเข้มเช่น ไม้สัก ไม้แดง ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็น่าสนใจไม่ใช้น้อย #บ้านทรงกล่องที่ไม่กล่องจากภายใน […]

ปรับ พื้นที่ใต้บันได ให้เป็นมากกว่า ที่เก็บของ

พื้นที่ใต้บันได บ้านส่วนใหญ่มักเป็นพื้นที่สำหรับเก็บของ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สุมของเลยก็ว่าได้ ทุกครั้งที่มีข้าวของเข้าบ้านแต่ไม่มีที่วาง...

บ้านเดี่ยว สไตล์ ตึกแถว ในประเทศ เวียดนาม เปิดรับบริบทภูมิอากาศ และเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวผ่านการใช้พื้นที่ในแนวตั้ง

โจทย์หลักของเจ้าของบ้านคือการเติมพื้นที่โล่ง และแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในของอาคารในรูปแบบตึกแถวที่มักมีปัญหาในด้านความทึบตัน โดยบ้านหน้าแคบเช่นนี้ โดยกฎหมายแล้วจะไม่มีหน้าต่างในด้านข้าง จึงทำให้ต้องมีการออกแบบช่องเปิดในหน้าบ้านและหลังบ้านแทน การเลือกใช้สีขาว ถูกใช้เพื่อให้แสงธรรมชาติที่ผ่านเข้ามาจากช่องเปิดของระเบียง สามารถสะท้อนเข้าไปถึงพื้นที่ภายในได้ทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกัน ระยะร่นของระเบียงก็ช่วยให้แสงที่ส่องเข้ามาไม่เจิดจ้าจนเกินไป แม้บ้านหลังนี้จะมีสไตล์ที่ดูเรียบเกลี้ยงแบบมินิมัล แต่การเติมพื้นผิวจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การใช้เสื่อสานในการสร้างพื้นผิวให้กับเพดาน และการเลือกใช้พรรณไม้ รวมทั้งการจัดวางให้ต้นไม้มีการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละชั้นด้วย ในส่วนของการจัดการสภาพอากาศภายในนั้น มีการทำช่องเปิดให้เกิดการไหลเวียนในแนวตั้งได้ โดยมีสกายไลท์เพื่อสร้างให้ลมร้อนที่ชั้นบนของอาคารช่วยดึงอากาศทั้งหมดให้ไหลเวียนได้โดยสะดวก บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศ และเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบบ้านหน้าแคบอย่างตึกแถวไปพร้อมกัน ออกแบบ: S+Na. – Sanuki + Nishizawa architects ภาพ: Hiroyuki Oki เรียบเรียง: Wuthikorn Sut #roomHouses#roomBooks#บ้านเวียดนาม