- Page 8 of 37

บ้านเดี่ยวท่ามกลางขุนเขาของคู่รักที่ฝันจะมีบ้านวัยเกษียณ

บ้านวัยเกษียณ ของคู่รักที่ฝันอยากมีบ้านกลางป่า โดยเน้นเป็นอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงาน ใช้วัสดุที่เป็นมิตร หาได้ในพื้นที่ และเข้ากับสภาพแวดล้อม

บ้านร่วมสมัย จากวัสดุพื้นถิ่น สไตล์อ่างทอง

ถ้าจะนิยามคำว่า "วัสดุพื้นถิ่น" แก่การออกแบบสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน คำ ๆ นี้อาจหมายถึงวัสดุที่หาได้ง่าย มีช่างในพื้นที่ที่เข้าใจวิธีการก่อสร้างได้ดี และเหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่นั้น ๆ หากเป็นเช่นนั้น บ้านหลังนี้ที่ออกแบบโดย PHTAA ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้ "วัสดุพื้นถิ่น" ได้

CASCADING HOUSE บ้านคอนกรีต หล่อพร้อมสวน 3 ระดับ

บ้านคอนกรีต ดีไซน์โมเดิร์นในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย กับการออกแบบบ้านเพื่อเอาชนะความลาดชันของที่ดิน พร้อมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการอยู่อาศัย ด้วยแทรกพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อนและนำพาแสง-ลมเข้าสู่บ้าน บ้านคอนกรีต กับการออกแบบบ้านตามระดับความลาดชันของที่ดิน ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับถนนหน้าบ้านลงไปถึง 5 เมตร ขณะที่ที่ดินของบ้านก็มีความแตกต่างกันถึง 3 เมตร แทนที่จะทำให้ตัวเองโดดเด่นจากไซต์ บ้านหลังนี้กลับเน้นการออกแบบให้กลมกลืนไปกับภูมิประเทศของไซต์ ด้วยการจัดเรียงพื้นที่ใช้งานของบ้านให้มีลักษณะแบบลดหลั่นกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบมาให้สำหรับคู่รักหนุ่มสาวที่มีลูกเล็ก ๆ 2 คน พร้อมโจทย์ที่อยากให้บ้านมีความเรียบง่าย มีพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะกับการใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย หลังจากศึกษาไซต์เรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจาก Tamara Wibowo Architects ได้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วยพื้นที่ต้อนรับ และโรงรถซึ่งถูกวางไว้ที่ระดับสูงสุดของไซต์ แล้วจึงค่อยเป็นพื้นที่นั่งเล่น และรับประทานอาหารที่วางอยู่ตรงกลาง และระดับต่ำสุดคือ ตำแหน่งห้องนอน 4 ห้อง ที่จัดเป็น 2 ระดับ มวลอาคารทั้ง 3 ระดับจึงดูลดหลั่นกันลงมาตามไซต์ เรียกง่าย ๆ คือความสูงของมวลห้องนอนจึงเท่ากับมวลพื้นที่พักผ่อนของบ้านนั่นเอง แม้จะเป็นโครงสร้างคอนกรีตหนาหนัก แต่ก็ไม่ลืมออกแบบพื้นที่สีเขียวไว้ด้วย เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้หย่อนใจ และพักสายตาไปกับสวนที่แทรกอยู่ระหว่างมวลอาคารทั้ง 3 ระดับ เช่น […]

BAAN TAI TUN ตากอากาศในทุกวันหยุดผ่านพื้นที่ใต้ถุนบ้าน

บ้านใต้ถุน ที่เข้ากับการเป็นบ้านตากอากาศในช่วงวันหยุด เพื่อใช้เวลาในการพักผ่อนและสัมผัสธรรมชาติให้มากที่สุดผ่านพื้นที่ใต้ถุนบ้าน

TACHIKAWA ANNEX HOUSE บ้านไม้หลังใหญ่ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่อยู่อาศัย โกดังเก็บสินค้า และสตูดิโอถ่ายภาพ

บ้านไม้ หลังใหญ่ ตอบโจทย์ธุรกิจเสื้อผ้าของเจ้าของบ้าน ตั้งอยู่ใน Tachikawa City เมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ของประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยการดีไซน์พื้นที่กว้างขวางสำหรับใช้เป็นโกดังและสตูดิโอถ่ายภาพ บ้านไม้ หลังคาทรงจั่งขนาดใหญ่นี้ มีโครงสร้างที่ถือเป็นเอกลักษณ์อย่าง การออกแบบให้มีเสาสองต้นขนาดใหญ่ที่โผล่ทะลุขึ้นมาถึงชั้นสอง เพื่อทำหน้าที่รองรับคานไม้ในลักษณะรูปตัววีเชื่อมต่อกับแปหลังคา ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและลวดลายดูสวยงาม ผนังและเพดานกรุด้วยแผ่นไม้อัด ส่วนพื้นกรุกระเบื้องปูพื้นพอร์ซเลนดีดำเข้ม พื้นที่ใช้สอยเป็นแบบโอเพ่นแปลนดูโล่งกว้าง และเนื่องจากทิศหน้าบ้านหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดโดยตรง ดังนั้น เพื่อให้บ้านชั้นสองได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอและลดการใช้พลังงาน สถาปนิกจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการใช้วัสดุโปร่งแสงอย่าง แผ่นพอลิคาร์บอเนตแบบสองชั้นซึ่งมีโครงสร้างกลวง (Polycarbonate with thick void layer) มากรุที่ผนังบ้านด้านหน้า จนกลายเปลือกอาคารที่เด่นกว่าใคร ซึ่งมาพร้อมคุณสมบัติที่น่าสนใจ อาทิ ช่วยกรองแสง ช่วยถ่ายเทความร้อนต่ำ และเป็นฉนวนกันความร้อน จึงช่วยประหยัดพลังงานได้ดีกว่าการกรุผนังด้วยกระจกที่มีความหนาเท่ากัน โดยเจ้าของสามารถเปิดประตูออกมารับลมและชมวิวด้านนอกที่เห็นรางรถไฟพลาดผ่าน ได้ผ่านทางเดินบนระเบียงขนาดยาว หลังคาทำจาก Galvanized color steel sheet ทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดก่อนทุกรูปแบบ ทั้งยังสะท้อนความร้อนได้ดี จึงไม่ดูดซับความร้อน ช่วยให้บ้านเย็นสบายในหน้าร้อน ชั้นล่างใช้เป็นโกดังเก็บสินค้าและสตูดิโอถ่ายภาพ สำหรับใช้งานในฐานะที่เจ้าของบ้านทำธุรกิจเสื้อผ้า แต่เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่ต่ำกว่าพื้นระดับปกติประมาณ 1 เมตร จึงต้องทำบันไดเล็ก […]

BAANLUMPHUN บ้านโมเดิร์นที่ตีความใหม่จากสถาปัตยกรรมนอร์ดิก

“บ้านลำพูน” บ้านพักอาศัย 2 ชั้น ขนาด 260 ตร.ม. ที่ได้รับการออกแบบด้วยกลิ่นอายแบบ บ้านนอร์ดิก และสร้างบนที่ดินเปล่าผืนหนึ่งในจังหวัดลำพูน

DOT HOUSE บ้านชั้นเดียวขนาดเล็ก กับพื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น

บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็ก เพียงพอสำหรับการพักอาศัยและทำงานได้อย่างยืดหยุ่น ออกแบบโดย Boano Prišmontas สตูดิโอออกแบบสัญชาติอังกฤษ นี่คืองานออกแบบ บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็ก ในกรุงลอนดอน ที่สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์พร้อมฟังก์ชันที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์พื้นที่ใช้งานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นมุมทำงาน พักผ่อน ดูหนัง อ่านหนังสือ หรือเล่นวิดีโอเกม ‘Dot House’ หลังนี้ มาพร้อมนิยามความอิสระแบบขั้นสุด เหมาะกับคนที่ต้องการปลีกวิเวก หรือแม้แต่เป็นไอเดียสำหรับการสร้างบ้านบนที่ดินขนาดจำกัด และในสวนหลังบ้าน ให้กลายเป็นบ้านที่อยู่ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงพอสำหรับพักอาศัยและใช้ทำงาน ประกอบด้วยพื้นที่หลัก 2 ส่วน คือ ห้องพัก และห้องน้ำ ห้องน้ำถูกซ่อนอยู่หลังประตูบานเลื่อนไม้อัดสั่งทำพิเศษ ด้านบนเหนืออ่างล้างมือออกแบบให้มีสกายไลท์รับแสงธรรมชาติจากด้านบน ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับบ้าน แทบไม่ต้องเปิดไฟในวันที่อากาศดี เมื่อเปิดบานเลื่อนออกยังช่วยเชื่อมพื้นที่ระหว่างภายในกับห้องน้ำให้ดูกว้างขึ้นด้วย พื้นผิวภายในบ้านประกอบด้วยไม้อัดเบิร์ช FSC แบบเปลือยบนเพดาน พื้นปูกระเบื้องคอนกรีต ผนังกรุแผ่นไม้อัดลามิเนต และผนังห้องน้ำกรุกระเบื้องหินขัด สร้างบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติผ่านผิวสัมผัสของวัสดุ และเนื่องจากเป็นเมืองหนาวจึงออกแบบให้มีระบบทำความร้อนใต้พื้น ช่วยให้บ้านหลังน้อยอบอุ่นแม้ในช่วงฤดูหนาว นอกจากใช้พื้นที่ที่จำกัดได้อย่างชาญลาดแล้ว เฟอร์นิเจอร์ยังมีฟังก์ชันพิเศษอย่าง การออกแบบผนังแบบเจาะรู ที่สามารถเสียบไม้สำหรับทำเป็นชั้นวางของได้หลากหลายระดับ แล้วแต่ความต้องการ พร้อมโต๊ะพับประหยัดพื้นที่สำหรับซ่อนคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ เหนือผนังซ่อนจอโปรเจ็กเตอร์สามารถเลื่อนลงมาได้อัตโนมัติ สำหรับใช้ชมภาพยนตร์ยามค่ำคืน […]

ITCH HOUSE บ้านประหยัดพื้นที่ ผสมความต่างให้หลอมรวม

บ้านประหยัดพื้นที่ กลางกรุงโซล โดดเด่นด้วยฟาซาดอิฐสีงาช้าง และการจัดวางแปลนใช้งานที่ชาญฉลาด แม้อยู่ในพื้นที่ที่ยาก และมีขนาดแสนจำกัด ก็สามารถสร้างบ้านออกมาได้สวย พร้อมดีไซน์ที่สะท้อนตัวตน ITCH House บ้านประหยัดพื้นที่ ของคู่รักนักออกแบบชาวเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในซอยหน้าสวนสาธารณะ Seonggwak ย่าน Sindang-dong, Jung-gu กลางกรุงโซล จากธรรมชาติของสถานที่ตั้งที่ต้องเดินผ่านบันไดที่ทั้งแคบและสูงชัน ทั้งยังรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนแออัดหลายสิบหลัง กับขนาดพื้นที่ที่จำกัด จึงไม่ง่ายเลยที่จะสร้างบ้านให้ออกมาน่าอยู่ ประหยัดพื้นที่ และโดดเด่นไปจากบริบทรอบ ๆ ดังนั้น การออกแบบบ้านบนที่ดินขนาดเล็กรูปร่างคล้ายธงสามเหลี่ยมนี้ จึงมาพร้อมความท้าทายของงานออกแบบ นอกจากนั้นยังต้องใส่สไตล์ความชอบที่แตกต่างของเจ้าของบ้าน เพื่อให้ทุกอย่างถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้คอนเซ็ปต์การออกแบบให้บ้านหลังนี้ออกมาอบอุ่นและปลอดโปร่ง เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบฟาซาด โดยเลือกนำแสงเข้ามาในบ้านผ่านกำแพงก่ออิฐสีงาช้างแบบเว้นช่อง ด้านหลังกำแพงเว้นที่ว่างให้เป็นเส้นทางสัญจรเล็ก ๆ รอบตัวบ้าน เพื่อช่วยขยายความรู้สึกของพื้นที่ให้บ้านไม่รู้สึกอึดอัดจนเกินไป เมื่อเข้ามาด้านในชั้นล่างมีพื้นที่รวม 27 ตารางเมตร ภายในจะประกอบด้วยพื้นที่ห้องครัว พร้อมโต๊ะรับประทานอาหาร ที่สามารถใช้เป็นที่นั่งทำงานได้แบบอเนกประสงค์ สดชื่นสบายตาไปกับการเปิดมุมมองออกสู่เฉลียง รับกับแนวต้นไผ่สีเขียวที่ปลูกไว้ พื้น ผนัง เพดาน และเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเป็นไม้ ช่วยสร้างความรู้สึกอบอุ่น พร้อมด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทันสมัย ที่ซ่อนอยู่ภายในผนังเพื่อไม่ให้เกะกะพื้นที่ ทำให้บ้านขนาดเล็กดูกว้าง และเป็นระเบียบยิ่งขึ้น ขณะที่ชั้น […]

ต่อเติมบ้าน จัดสรรให้เติมเต็มพื้นที่ใช้สอย

ไอเดีย ต่อเติมบ้าน จัดสรรย่านพัฒนาการ เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ตอบโจทย์การขยับขยายของครอบครัว เมื่อว่าที่คุณพ่อคุณแม่คู่แต่งงานใหม่วางแผนเตรียมบ้านให้พร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ตัวน้อย จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้วยการต่อเติมกล่องขนาด 4 x 11 เมตร ออกมาจากตัวบ้านเดิม แรกเริ่มก่อนก่อสร้าง ตั้งใจให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่นั่งเล่น และห้องเก็บของ เพื่อเติมเติมการใช้งานของบ้านหลัก ทีมสถาปนิกจาก Fatt! Studio ทำงานร่วมกับวิศวกรในการออกแบบเสาโครงสร้าง 4 ต้น เพื่อรองรับส่วนต่อเติมยาวกว่า 11 เมตร โดยมีโครงสร้างคานยื่นออกไปทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นทางเดียวที่ทำให้พื้นที่ชั้นล่างกว้างขวางเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่นั่งเล่นและทำกิจกรรมแบบกึ่งเอ้าต์ดอร์ ที่โปร่งสบายในลักษณะคล้ายใต้ถุนบ้าน นอกจากนี้ ยังออกแบบให้สะพานเชื่อมทางสัญจรกับตัวบ้านหลัก โดยไม่กระทบกับโครงสร้าง Precast เดิม ดังนั้น จึงเชื่อมต่อกับผนังเบาตามสันฐานเดิมของอาคาร จากเดิมที่ส่วนต่อเติมนี้ควรจะเป็นพื้นที่ของคุณพ่อ-คุณแม่ในช่วงสุดสัปดาห์ แต่เมื่อสมาชิกใหม่ลืมตาดูโลก พื้นที่ภายในกล่องจึงถูกปรับเปลี่ยนอีกครั้ง เพื่อให้เป็นพื้นที่ของเด็กๆ โดยเฉพาะ ส่วนพื้นที่ด้านล่างก็ได้มีการปรับบ่อน้ำโดยย้ายตำแหน่งและลดขนาดเพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านตัวน้อย พร้อมมีบันไดวนขึ้นไปสู่ชั้นสองเพื่อความเป็นส่วนตัว การต่อเติมบ้านหลังนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความเป็นไปได้ในการปรับปรุงต่อเติมบ้านจัดสรรให้กลายเป็นบ้านที่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง พื้นที่ใช้สอย: 80 ตารางเมตร ออกแบบ: FATTSTUDIOออกแบบภายใน: Surapat Puanmuangออกแบบแสงสว่าง: FATTSTUDIO collaborate with TRUELIGHTวิศวกรโครงสร้าง: Nuttapol Wangsittikulวิศวกรงานระบบ: […]

DM HOUSE บ้านโมเดิร์นรูปทรงเรขาคณิต คำนึงเรื่องแสงและลม พร้อมดีไซน์จับคู่สีสุดลงตัว

บ้านโมเดิร์น ดีไซน์น่ารัก มาพร้อมโจทย์ของการสร้างสรรค์พื้นที่ให้เหมาะกับการอยู่อาศัย ทั้งการหลบเลี่ยงแสงแดด แต่พร้อมเปิดพื้นที่เพื่อต้อนรับลมและอากาศธรรมชาติได้เต็มที่ บ้านโมเดิร์น หลังนี้ ตั้งอยู่ที่ประเทศสเปน ออกแบบโดย Horma – estudio de arquitectura เด่นด้วยการนำรูปทรงเรขาคณิตมาใช้เป็นลูกเล่นให้กับบ้าน ทั้งยังใช้แผ่กระจายสเปซใช้งานที่หลากหลาย ช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ทั้งตอบโจทย์และสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว โปรเจ็กต์นี้ออกแบบตามทิศทางที่เหมาะสม โดยตั้งใจเปิดพื้นที่ของบ้านให้หันไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก ปิดพื้นที่บางส่วนเพื่อปกป้องตัวเองจากดวงอาทิตย์ทางทิศตะวันตก ขณะที่ทิศเหนือเป็นตำแหน่งของห้องนอน ซึ่งเป็นทิศที่ไม่มีแสงแดดมารบกวน การใช้งานพื้นที่ถูกแบ่งให้แต่ละโซนมีความต่อเนื่องเชื่อมกัน ชั้นล่างใช้สำหรับรับแขก พักผ่อน และนันทนาการ ขณะที่อาคารส่วนหลัง คือพื้นที่สำหรับพักผ่อนที่มีความเป็นส่วนตัว ซึ่งถูกแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจน ดีเทลการออกแบบที่สำคัญอีกอย่าง นั่นคือกับจับคู่สีระหว่างผนังสีขาวกับผนังกรุกระเบื้องเซรามิกสีแดง ที่ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ทั้งภายใน-ภายนอก ผสมกับเฟอร์นิเจอร์ไม้เมเปิ้ลและไม้เชอร์รี่ ที่ปรากฏอยู่ในแต่ละส่วนของสถาปัตยกรรม ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันให้เกิดบรรยากาศรวมถึงสีสันที่ลงตัว ออกแบบ : Horma – estudio de arquitectura (https://hormaestudio.com/)Nacho Juan, Clara Cantó, Jose Iborra, Ana Riera, Belén Iglesias, Andrés […]

PUNTA COLORADA III SHELTER บ้านไม้ชั้นเดียว กับแนวคิด “รบกวนป่าให้น้อย สัมผัสธรรมชาติได้มาก”

บ้านไม้ชั้นเดียว กลางผืนป่าใกล้ชายหาดที่เปิดออกสู่มหาสมุทรในประเทศอุรุกวัย โดดเด่นด้วยคอนเซ็ปต์การออกแบบบ้านให้อยู่ร่วมกับป่าแบบได้ไม่เบียดเบียนของทีมสถาปนิก TATÚ Arquitectura โดย บ้านไม้ชั้นเดียว หลังนี้ มาพร้อมกับความท้าทาย เพราะมีลักษณะเป็นเนินดินลาดเทลงไป และเพื่อเอาชนะปัญหานี้ ทีมสถาปนิกจึงได้ออกแบบโครงสร้างโดยเฉพาะระบบฐานรากอาคารได้อย่างน่าสนใจ พร้อมกับแนวคิดความพยายามรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด และจากความตั้งใจที่จะรักษาระบบนิเวศรอบ ๆ บ้านให้สมบูรณ์ที่สุด ด้วยสภาพของที่ตั้งดังกล่าว ทีมสถาปนิกจึงตัดสินใจว่า จะใช้ระบบฐานรากแบบไม้ค้ำถ่อที่ประกอบด้วยเสาเข็มคอนกรีตรองรับบนพื้น ปล่อยให้โครงสร้างทั้งหมดแขวนอยู่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบของพื้นดินนั้น โดยไม่ต้องใช้วิธีการปรับหน้าดิน หรือรบกวนธรรมชาติใด ๆ เลย รูปทรงของตัวบ้านมีความเรียบง่าย สร้างขึ้นในตำแหน่งตามแนวยาว พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครัน แบ่งพื้นที่ใช้งานด้วยการบรรจุส่วนของห้องนอนให้อยู่ทางทิศเหนือ ไล่ลำดับการใช้งานจากส่วนที่ไพรเวทที่สุด ไปยังพื้นที่ครัว มุมพักผ่อนนั่งเล่น จนไปจบที่ระเบียงเปิดโล่งทางทิศใต้ ที่ออกแบบให้ยื่นออกไป เพื่อสัมผัสกับภูมิทัศน์ของราวป่าได้เต็มอิ่ม แม้จะเป็นบานทรงกล่องที่ทำจากไม้ดีไซน์เรียบง่ายขนาดเล็ก แต่ก็สร้างความเซอร์ไพร้ส์ให้ เพราะภายใต้หลังคาทรงจั่วที่ครอบอยู่นั้น ผู้ออกแบบยังออกแบบพื้นที่เผื่อไว้สำหรับเป็นห้องนอนอีกหนึ่งห้องบนชั้นสอง ซึ่งมีช่องหน้าต่างกระจกเล็ก ๆ ให้สามารถมองออกไปสัมผัสวิวสีเขียวได้จากมุมสูง สำหรับในวันที่อากาศปลอดโปร่ง หากโชคดีก็สามารถมองเห็นวิวทะเลได้ด้วย ออกแบบ : TATÚ Arquitectura (https://en.tatuarq.com/) ภาพ : Marcos Guiponi เรียบเรียง : Phattaraphon […]

NARROW BRICK HOUSE “บ้านอิฐ” สไตล์มินิมัล กับไอเดียเชิญแขกชื่อ “ธรรมชาติ” เข้าบ้าน

“บ้านอิฐ” ทรงกล่องของครอบครัวกะทัดรัด ในประเทศอินเดีย ที่อยากให้ธรรมชาติเข้ามาทายทักทุกช่วงเวลา กับการออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่าง “อิฐ” มาสร้างสรรค์เป็นบ้านดีไซน์โมเดิร์น โดย บ้านอิฐ หลังนี้ เน้นการออกแบบเพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศ และความสุนทรียภาพแห่งการอยู่อาศัย ถูกสร้างขึ้นตามสัณฐานของพื้นที่ที่ทั้งแคบ และลาดเอียง แต่กลับสามารถจัดการได้ พร้อมกันนั้นยังเติมเต็มทุกประสาทสัมผัสให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเมืองร้อน ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอยรวม 117 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตอนลึกขนาด 283 ตารางเมตร และมีหน้ากว้างเพียง 4.8 เมตรมาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบ ด้วยการบรรจุการใช้งานพื้นฐานลงไปบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงตามความยาวของไซต์ พร้อม ๆ กับต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านอยู่สบาย เปิดรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นแขกประจำได้อย่างสนิทสนม เริ่มต้นตั้งแต่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดด้านหน้าที่เกิดจากการเรียงอิฐให้มีช่องว่าง เพื่อให้แสงธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์สามารถไหลเวียนเข้ามาสู่ด้านในของบ้านได้ และทันทีที่เข้ามาจะพบกับพื้นที่นั่งเล่นด้านหน้า รับกับช่องแสงขนาดใหญ่ โดยออกแบบให้มีระดับความสูงลดหลั่นลงไปยังพื้นที่ของห้องครัวที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นไปตามลักษณะความลาดเอียงของที่ดิน การตกแต่งเป็นการผสมผสานทั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทำมาจากไม้สีอ่อน ช่วยเสริมบรรยากาศให้บ้านดูอบอุ่น มีจุดเด่น คือต้นไม้จริงในบ้านที่รับแสงจากสกายไลท์เล็ก ๆ ที่ตั้งใจให้อยู่ตรงตำแหน่งของต้นไม้พอดี เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสขนาดเล็กช่วยสร้างความสดชื่น ก่อนนำขึ้นชั้นสองด้วยบันไดทำจากคอนกรีตเปลือย ห้องนอนใหญ่ด้านหน้าบ้านได้ออกแบบให้มีระเบียง และประตูบานเลื่อนที่เปิดต้อนรับแสงและลมที่เข้ามาจากฟาซาดอิฐได้เต็มที่ จึงเรียกว่าบ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบเชิงพื้นที่อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อมอบฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครันลื่นไหล ต้อนรับธรรมชาติให้เข้ามาทายทักทุกแง่มุม ออกแบบ : Srijit […]